ข่าวจากผู้จัดการออนไลน์
https://mgronline.com/business/detail/9620000061066
การประมูลสนามบินอู่ตะเภา มีผู้เข้ายื่นประมูล 3 กลุ่มหลัก ซึ่งหนึ่งในนั้นคือกลุ่มซีพี ที่มาพร้อมคอนเซ็ปต์การดึงมืออาชีพตัวจริงเสียงจริงจากทั่วโลกมาเสริมแกร่งในการบริหารงาน และในการประมูลสนามบินครั้งนี้ ทำให้เราได้ยินชื่อขององค์กรระดับโลกที่ชื่อว่า “ฟราพอร์ท”
เวลาเราเดินทางไปประเทศต่างๆ ทั่วโลก เราอาจจะได้เห็นสนามบินที่สะดวกสบาย การบริการต่างๆ มีประสิทธิภาพ แม้ว่าจะมีผู้โดยสารใช้บริการจำนวนมาก หรือบางสนามบินแม้ว่าจะมีขนาดใหญ่โต ทันสมัย แต่การให้บริการและความสะดวกสบายยังไม่เป็นที่น่าพอใจ
ประสบการณ์และความพึงพอใจของผู้โดยสารที่มีต่อสนามบินแต่ละแห่งนั้นย่อมขึ้นอยู่กับหลายๆ ปัจจัย ทั้งการออกแบบตัวอาคารสถานที่ ความมีประสิทธิภาพของผู้ให้บริการ ความหนาแน่นคับคั่ง รวมถึงปัจจัยเสี่ยงที่ส่งผลกระทบต่อความล่าช้าของการเดินทาง อย่างสภาพภูมิอากาศ แต่หัวใจสำคัญของคุณภาพการให้บริการ คือ ความสามารถของผู้บริหารสนามบินนั้นๆ
ถ้าเป็นสนามบินในประเทศไทย เราคงคุ้นเคยกับ AOT หรือบริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) ที่ทำหน้าที่บริหารจัดการท่าอากาศยานนานาชาติสุวรรณภูมิ และท่าอากาศยานหลักในประเทศไทยอีก 5 แห่ง ได้แก่ ดอนเมือง เชียงใหม่ ภูเก็ต หาดใหญ่ และเชียงราย ในขณะที่สนามบินอื่นๆ ของไทยที่มีการให้บริการเชิงพาณิชย์ ก็จะมีหน่วยงานบริหารจัดการอื่นๆ เช่น กรมท่าอากาศยาน บริษัทการบินกรุงเทพ จำกัด (บางกอกแอร์เวย์ส) เป็นต้น
โดยบริษัทที่ทำหน้าที่เหมือน AOT ในโลกนี้ มีอยู่มากมายหลายบริษัท ส่วนมากบริษัทเหล่านี้จะบริหารจัดการสนามบินในประเทศหรือภูมิภาคของตนเอง และมีลักษณะเป็นหน่วยงานของรัฐหรือรัฐวิสาหกิจ เช่น MASSPORT ที่บริหารสนามบิน 3 แห่ง และท่าเรือ 1 แห่ง ในรัฐ Massachusetts สหรัฐอเมริกา แต่ก็มีอีกหลายๆ บริษัท ไม่เพียงแต่ดูแลสนามบินในประเทศของตัวเอง แต่ยังบริหารสนามบินในประเทศอื่นๆ ทั่วโลก บริษัทที่เป็นผู้นำในอุตสาหกรรมนี้รายหนึ่ง ได้แก่ ฟราพอร์ท (Fraport) จากประเทศเยอรมนี
สำหรับคนที่เดินทางไปประเทศในแถบยุโรปบ่อยๆ เชื่อว่ามีจำนวนไม่น้อย ที่เคยมีประสบการณ์กับสนามบินแฟรงค์เฟิร์ท ในเยอรมนี เราอาจจะประทับใจกับประสิทธิภาพของสนามบินแห่งนี้ ที่สามารถให้บริการแก่ผู้โดยสาร ทั้งที่มาแวะเปลี่ยนเที่ยวบิน และผู้โดยสารที่เดินทางเข้าออกจากเมืองแฟรงค์เฟิร์ทเอง รวมถึงปีละกว่า 70 ล้านคน นับเป็นสนามบินที่มีจำนวนผู้โดยสารจำนวนมากที่สุดในเยอรมนี และติดเป็นอันดับท้อป 10 ของโลก บริษัทที่บริหารจัดการสนามบินระดับโลกนี้ได้ ต้องมีฝีมือและประสบการณ์ไม่น้อยทีเดียว
ฟราพอร์ท มีประสบการณ์ในธุรกิจบริหารสนามบินมายาวนาน ก่อตั้งในปี 1924 เพื่อดำเนินกิจการสนามบินแฟรงก์เฟิร์ตที่เดิม และย้ายมาดูแลสนามบินแฟรงก์เฟิร์ตที่ใหม่ ซึ่งเป็นบริเวณเดียวกับสนามบินในปัจจุบัน เมื่อปี 1936 จนกระทั่งบริษัทได้จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ในปี 2001 ปัจจุบันมีผู้ถือหุ้นรายใหญ่สามรายแรก ได้แก่ รัฐบาลของรัฐ Hesse ที่เป็นที่ตั้งของเมืองแฟรงก์เฟิร์ต บริษัท Stadtwerke Frankfurt am Main Holding GmbH ซึ่งเป็นบริษัทสาธารณูปโภคที่ให้บริการในภูมิภาคนั้น และสายการบินลุฟท์ฮันซ่า สายการบินประจำชาติของเยอรมนีนั่นเอง ส่วนผู้ถือหุ้นรายอื่นๆ ก็เป็นกองทุนของนักลงทุนระดับโลก เช่น Lazard และ Black Rock ซึ่งฟราพอร์ทก็สร้างผลประกอบการที่ดี ในปี 2018 ที่ผ่านมา ทำรายได้ประมาณ 3,478 ล้านยูโร มีกำไร 474 ล้านยูโร
นอกจากจะบริหารสนามบินแฟรงก์เฟิร์ตแล้ว ฟราพอร์ทยังบริหารสนามบินอื่นๆ ทั้งในทวีปยุโรป และภูมิภาคอื่นๆ ทั่วโลก รวม 26 แห่ง เช่น สนามบินอินทิรา คานธี เมืองเดลฮี ประเทศอินเดีย สนามบินซีอาน ประเทศจีน สนามบินต่างๆ รวม 14 แห่งในกรีซ รวมถีงการบริหารพื้นที่เช่าสำหรับร้านค้าและร้านอาหารในสนามบินต่างๆ ในสหรัฐอเมริกา เป็นต้น นอกจากนี้ ฟราพอร์ท ยังเชี่ยวชาญการบริหารในรูปแบบ aviation hub แบบครบวงจร และให้บริการเฉพาะทางกับสนามบินอื่นๆ ที่ตนเองไม่ได้บริหารเอง เช่น การให้คำแนะนำและวางแผนการปรับปรุงพัฒนาสนามบินต่างๆ ให้ทันสมัยและพร้อมรองรับปริมาณเที่ยวบินและผู้โดยสารที่มากขึ้น ให้บริการจัดการสัมภาระและบริการภาคพื้นดินอื่นๆ
ย้อนกลับไปที่กรีซ ฟราพอร์ทและบริษัท Copelouzos ซึ่งทำธุรกิจพลังงานในประเทศกรีซ ได้รับสัมปทานมูลค่า 1,200 ล้านยูโร ทำการเช่าและบริหารสนามบิน 14 แห่งเป็นเวลา 40 ปี เริ่มตั้งแต่ปี 2017 นอกจากจะบริหารงานสนามบินทั้ง 14 แห่งนี้แล้ว ฟราพอร์ทยังต้องพัฒนาสนามบินทั้งหมดให้ได้มาตรฐาน รองรับผู้โดยสารและนักท่องเที่ยวด้วย
เป็นที่น่าสนใจว่า ในขณะที่ธุรกิจการขนส่งทางอากาศ ยังเติบโตขึ้นเรื่อยๆ ทั้งจำนวนผู้โดยสารและการขนส่งสินค้า โดยเฉพาะในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ฟราพอร์ท และบริษัทร่วมอุตสาหกรรมนี้จะมีโอกาสเข้ามามีส่วนร่วมในการบริหารสนามบินในประเทศไทยหรือไม่ คงขึ้นกับผลการประมูลสนามบินอู่ตะเภา ผลการแข่งขันในการประมูลจะเป็นอย่างไรต่อไป การจับมือกับพันธมิตรอย่างซีพี จะทำให้ไทยกลายเป็นฮับด่านการบินของภูมิภาคได้หรือไม่ คงต้องลุ้นที่ผลการประมูล อย่างไรก็ดี ในมุมมองของประเทศที่ต้องการเครื่องจักรเศรษฐกิจในการพัฒนาเฉกเช่นประเทศไทย หากบริษัทต่างชาติที่มีประสบการณ์บริหารงานสนามบินระดับโลก เข้ามายกระดับมาตรฐาน และพัฒนาศักยภาพผู้ประกอบการในประเทศ ก็น่าจะเป็นสิ่งที่ดี แต่จะทำให้เกิดการถ่ายทอดองค์ความรู้ การพัฒนาอย่างยั่งยืนได้อย่างไร ก็ต้องติดตามกันต่อไป
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
เจาะประมูลอู่ตะเภา กับมืออาชีพที่มีชื่อว่า “ฟราพอร์ท”
การประมูลสนามบินอู่ตะเภา มีผู้เข้ายื่นประมูล 3 กลุ่มหลัก ซึ่งหนึ่งในนั้นคือกลุ่มซีพี ที่มาพร้อมคอนเซ็ปต์การดึงมืออาชีพตัวจริงเสียงจริงจากทั่วโลกมาเสริมแกร่งในการบริหารงาน และในการประมูลสนามบินครั้งนี้ ทำให้เราได้ยินชื่อขององค์กรระดับโลกที่ชื่อว่า “ฟราพอร์ท”
เวลาเราเดินทางไปประเทศต่างๆ ทั่วโลก เราอาจจะได้เห็นสนามบินที่สะดวกสบาย การบริการต่างๆ มีประสิทธิภาพ แม้ว่าจะมีผู้โดยสารใช้บริการจำนวนมาก หรือบางสนามบินแม้ว่าจะมีขนาดใหญ่โต ทันสมัย แต่การให้บริการและความสะดวกสบายยังไม่เป็นที่น่าพอใจ
ประสบการณ์และความพึงพอใจของผู้โดยสารที่มีต่อสนามบินแต่ละแห่งนั้นย่อมขึ้นอยู่กับหลายๆ ปัจจัย ทั้งการออกแบบตัวอาคารสถานที่ ความมีประสิทธิภาพของผู้ให้บริการ ความหนาแน่นคับคั่ง รวมถึงปัจจัยเสี่ยงที่ส่งผลกระทบต่อความล่าช้าของการเดินทาง อย่างสภาพภูมิอากาศ แต่หัวใจสำคัญของคุณภาพการให้บริการ คือ ความสามารถของผู้บริหารสนามบินนั้นๆ
ถ้าเป็นสนามบินในประเทศไทย เราคงคุ้นเคยกับ AOT หรือบริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) ที่ทำหน้าที่บริหารจัดการท่าอากาศยานนานาชาติสุวรรณภูมิ และท่าอากาศยานหลักในประเทศไทยอีก 5 แห่ง ได้แก่ ดอนเมือง เชียงใหม่ ภูเก็ต หาดใหญ่ และเชียงราย ในขณะที่สนามบินอื่นๆ ของไทยที่มีการให้บริการเชิงพาณิชย์ ก็จะมีหน่วยงานบริหารจัดการอื่นๆ เช่น กรมท่าอากาศยาน บริษัทการบินกรุงเทพ จำกัด (บางกอกแอร์เวย์ส) เป็นต้น
โดยบริษัทที่ทำหน้าที่เหมือน AOT ในโลกนี้ มีอยู่มากมายหลายบริษัท ส่วนมากบริษัทเหล่านี้จะบริหารจัดการสนามบินในประเทศหรือภูมิภาคของตนเอง และมีลักษณะเป็นหน่วยงานของรัฐหรือรัฐวิสาหกิจ เช่น MASSPORT ที่บริหารสนามบิน 3 แห่ง และท่าเรือ 1 แห่ง ในรัฐ Massachusetts สหรัฐอเมริกา แต่ก็มีอีกหลายๆ บริษัท ไม่เพียงแต่ดูแลสนามบินในประเทศของตัวเอง แต่ยังบริหารสนามบินในประเทศอื่นๆ ทั่วโลก บริษัทที่เป็นผู้นำในอุตสาหกรรมนี้รายหนึ่ง ได้แก่ ฟราพอร์ท (Fraport) จากประเทศเยอรมนี
สำหรับคนที่เดินทางไปประเทศในแถบยุโรปบ่อยๆ เชื่อว่ามีจำนวนไม่น้อย ที่เคยมีประสบการณ์กับสนามบินแฟรงค์เฟิร์ท ในเยอรมนี เราอาจจะประทับใจกับประสิทธิภาพของสนามบินแห่งนี้ ที่สามารถให้บริการแก่ผู้โดยสาร ทั้งที่มาแวะเปลี่ยนเที่ยวบิน และผู้โดยสารที่เดินทางเข้าออกจากเมืองแฟรงค์เฟิร์ทเอง รวมถึงปีละกว่า 70 ล้านคน นับเป็นสนามบินที่มีจำนวนผู้โดยสารจำนวนมากที่สุดในเยอรมนี และติดเป็นอันดับท้อป 10 ของโลก บริษัทที่บริหารจัดการสนามบินระดับโลกนี้ได้ ต้องมีฝีมือและประสบการณ์ไม่น้อยทีเดียว
ฟราพอร์ท มีประสบการณ์ในธุรกิจบริหารสนามบินมายาวนาน ก่อตั้งในปี 1924 เพื่อดำเนินกิจการสนามบินแฟรงก์เฟิร์ตที่เดิม และย้ายมาดูแลสนามบินแฟรงก์เฟิร์ตที่ใหม่ ซึ่งเป็นบริเวณเดียวกับสนามบินในปัจจุบัน เมื่อปี 1936 จนกระทั่งบริษัทได้จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ในปี 2001 ปัจจุบันมีผู้ถือหุ้นรายใหญ่สามรายแรก ได้แก่ รัฐบาลของรัฐ Hesse ที่เป็นที่ตั้งของเมืองแฟรงก์เฟิร์ต บริษัท Stadtwerke Frankfurt am Main Holding GmbH ซึ่งเป็นบริษัทสาธารณูปโภคที่ให้บริการในภูมิภาคนั้น และสายการบินลุฟท์ฮันซ่า สายการบินประจำชาติของเยอรมนีนั่นเอง ส่วนผู้ถือหุ้นรายอื่นๆ ก็เป็นกองทุนของนักลงทุนระดับโลก เช่น Lazard และ Black Rock ซึ่งฟราพอร์ทก็สร้างผลประกอบการที่ดี ในปี 2018 ที่ผ่านมา ทำรายได้ประมาณ 3,478 ล้านยูโร มีกำไร 474 ล้านยูโร
นอกจากจะบริหารสนามบินแฟรงก์เฟิร์ตแล้ว ฟราพอร์ทยังบริหารสนามบินอื่นๆ ทั้งในทวีปยุโรป และภูมิภาคอื่นๆ ทั่วโลก รวม 26 แห่ง เช่น สนามบินอินทิรา คานธี เมืองเดลฮี ประเทศอินเดีย สนามบินซีอาน ประเทศจีน สนามบินต่างๆ รวม 14 แห่งในกรีซ รวมถีงการบริหารพื้นที่เช่าสำหรับร้านค้าและร้านอาหารในสนามบินต่างๆ ในสหรัฐอเมริกา เป็นต้น นอกจากนี้ ฟราพอร์ท ยังเชี่ยวชาญการบริหารในรูปแบบ aviation hub แบบครบวงจร และให้บริการเฉพาะทางกับสนามบินอื่นๆ ที่ตนเองไม่ได้บริหารเอง เช่น การให้คำแนะนำและวางแผนการปรับปรุงพัฒนาสนามบินต่างๆ ให้ทันสมัยและพร้อมรองรับปริมาณเที่ยวบินและผู้โดยสารที่มากขึ้น ให้บริการจัดการสัมภาระและบริการภาคพื้นดินอื่นๆ
ย้อนกลับไปที่กรีซ ฟราพอร์ทและบริษัท Copelouzos ซึ่งทำธุรกิจพลังงานในประเทศกรีซ ได้รับสัมปทานมูลค่า 1,200 ล้านยูโร ทำการเช่าและบริหารสนามบิน 14 แห่งเป็นเวลา 40 ปี เริ่มตั้งแต่ปี 2017 นอกจากจะบริหารงานสนามบินทั้ง 14 แห่งนี้แล้ว ฟราพอร์ทยังต้องพัฒนาสนามบินทั้งหมดให้ได้มาตรฐาน รองรับผู้โดยสารและนักท่องเที่ยวด้วย
เป็นที่น่าสนใจว่า ในขณะที่ธุรกิจการขนส่งทางอากาศ ยังเติบโตขึ้นเรื่อยๆ ทั้งจำนวนผู้โดยสารและการขนส่งสินค้า โดยเฉพาะในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ฟราพอร์ท และบริษัทร่วมอุตสาหกรรมนี้จะมีโอกาสเข้ามามีส่วนร่วมในการบริหารสนามบินในประเทศไทยหรือไม่ คงขึ้นกับผลการประมูลสนามบินอู่ตะเภา ผลการแข่งขันในการประมูลจะเป็นอย่างไรต่อไป การจับมือกับพันธมิตรอย่างซีพี จะทำให้ไทยกลายเป็นฮับด่านการบินของภูมิภาคได้หรือไม่ คงต้องลุ้นที่ผลการประมูล อย่างไรก็ดี ในมุมมองของประเทศที่ต้องการเครื่องจักรเศรษฐกิจในการพัฒนาเฉกเช่นประเทศไทย หากบริษัทต่างชาติที่มีประสบการณ์บริหารงานสนามบินระดับโลก เข้ามายกระดับมาตรฐาน และพัฒนาศักยภาพผู้ประกอบการในประเทศ ก็น่าจะเป็นสิ่งที่ดี แต่จะทำให้เกิดการถ่ายทอดองค์ความรู้ การพัฒนาอย่างยั่งยืนได้อย่างไร ก็ต้องติดตามกันต่อไป
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้