สติ เป็นสิ่งสำคัญที่พ่อแม่ต้องมีเมื่อลูกเกิดอาการลมชัก... เพราะอาการลมชักจะเกิดขึ้นเมื่อไหร่ก็ได้ เราไม่มีทางรู้ล่วงหน้าได้เลย เรามาทำความรู้จักเกี่ยวกับโรคนี้กันก่อน เพื่อเตรียมรับมืออย่างถูกต้องและเหมาะสมกันค่ะ
เมื่อไรจึงจะเรียกว่าเป็นโรคลมชัก?
เด็กที่มีอาการชัก ที่เกิดขึ้นซ้ำตั้งแต่ 2 ครั้งขึ้นไปโดยเป็นการชักแบบไม่มีสิ่งกระตุ้น คือ ไม่ได้เกิดจากการติดเชื้อ ไม่สบายหรือมีไข้ ระหว่างชักเด็กอาจจะไม่รู้สึกตัวหรือไม่มีสติ
อาการของโรคลมชัก
มีลักษณะอาการที่พบบ่อยๆ 2 แบบ ดังนี้
1. แบบทั้งตัว จะมีอาการเกร็งทั้งตัว กระตุกทั้งตัว ชักแบบนี้เด็กมักไม่รู้สึกตัว
2. แบบเฉพาะที่ จะเกิดอาการด้านใดด้านหนึ่ง หรือส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกาย เด็กอาจรู้สึกตัวหรือไม่รู้สึกตัวก็ได้
อาการชักจากโรคลมชัก มักหยุดเองได้ภายใน 5 นาที แต่มีบางส่วนที่อาจชักนานกว่า 5 นาที และมากกว่า 70% โรคลมชักในเด็กมักเป็นแบบไม่ทราบสาเหตุ มีประมาณ 30% ที่หาสาเหตุของโรคลมชักในเด็กได้
วิธีดูแลเบื้องต้น ขณะเด็กชัก
1. จับให้เด็กนอนตะแคง ศีรษะต่ำ เพื่อไม่ให้สำลัก
2. คลายเสื้อผ้าที่รัดแน่นออกจากตัวเด็ก
3. ถ้ามีไข้ ให้รีบเช็ดตัวลดไข้ด้วย
4. ห้ามใช้วัสดุใดๆใส่เข้าไปในปาก เพราะจะไปอุดตันทางเดินหายใจได้ หรือทำให้เกิดฟันหักแล้วหลุดเข้าไปในหลอดลมได้
5. ถ้าสามารถบันทึก VDO ได้ แนะนำให้บันทึกลักษณะอาการชักไว้ เพื่อให้แพทย์ดูลักษณะการชัก
6. รีบนำเด็กส่งโรงพยาบาลที่ใกล้ที่สุด
วิธีการรักษาโรคลมชักในเด็ก
ยากันชักเป็นวิธีหลักในการรักษาโรคลมชัก ในปัจจุบันมียากันชักหลายชนิด การจะเลือกใช้ตัวใดขึ้นกับหลายปัจจัยเช่น ประสิทธิภาพของยา อายุ ผลข้างเคียง และราคา ซึ่งการกินยากันชัก นั้นต้องกินต่อเนื่องอย่างน้อย 2 ปี ไม่ควรหยุดยาเอง ในกรณีที่ผู้ป่วยไม่ตอบสนองต่อยากันชักหลายชนิด อาจพิจารณารักษาด้วยวิธีอื่น ในเด็กที่มีอาการชักหรือเป็นโรคลมชักควรปรึกษาแพทย์เฉพาะทางเพื่อให้เด็กได้รับการดูแลที่เหมาะสม ลดอาการชักที่เกิดบ่อยๆได้
อ่านรายละเอียดได้ที่ .. คลิก
https://bit.ly/2ZA7zTU
#โรงพยาบาลสินแพทย์
#โรงพยาบาลเด็กสินแพทย์
#เบื้องหลังทุกการรักษาคือความใส่ใจ
ลูกเป็นลมชัก พ่อแม่ต้องมีสติ !!!
เด็กที่มีอาการชัก ที่เกิดขึ้นซ้ำตั้งแต่ 2 ครั้งขึ้นไปโดยเป็นการชักแบบไม่มีสิ่งกระตุ้น คือ ไม่ได้เกิดจากการติดเชื้อ ไม่สบายหรือมีไข้ ระหว่างชักเด็กอาจจะไม่รู้สึกตัวหรือไม่มีสติ
อาการของโรคลมชัก
มีลักษณะอาการที่พบบ่อยๆ 2 แบบ ดังนี้
1. แบบทั้งตัว จะมีอาการเกร็งทั้งตัว กระตุกทั้งตัว ชักแบบนี้เด็กมักไม่รู้สึกตัว
2. แบบเฉพาะที่ จะเกิดอาการด้านใดด้านหนึ่ง หรือส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกาย เด็กอาจรู้สึกตัวหรือไม่รู้สึกตัวก็ได้
อาการชักจากโรคลมชัก มักหยุดเองได้ภายใน 5 นาที แต่มีบางส่วนที่อาจชักนานกว่า 5 นาที และมากกว่า 70% โรคลมชักในเด็กมักเป็นแบบไม่ทราบสาเหตุ มีประมาณ 30% ที่หาสาเหตุของโรคลมชักในเด็กได้
วิธีดูแลเบื้องต้น ขณะเด็กชัก
1. จับให้เด็กนอนตะแคง ศีรษะต่ำ เพื่อไม่ให้สำลัก
2. คลายเสื้อผ้าที่รัดแน่นออกจากตัวเด็ก
3. ถ้ามีไข้ ให้รีบเช็ดตัวลดไข้ด้วย
4. ห้ามใช้วัสดุใดๆใส่เข้าไปในปาก เพราะจะไปอุดตันทางเดินหายใจได้ หรือทำให้เกิดฟันหักแล้วหลุดเข้าไปในหลอดลมได้
5. ถ้าสามารถบันทึก VDO ได้ แนะนำให้บันทึกลักษณะอาการชักไว้ เพื่อให้แพทย์ดูลักษณะการชัก
6. รีบนำเด็กส่งโรงพยาบาลที่ใกล้ที่สุด
วิธีการรักษาโรคลมชักในเด็ก
ยากันชักเป็นวิธีหลักในการรักษาโรคลมชัก ในปัจจุบันมียากันชักหลายชนิด การจะเลือกใช้ตัวใดขึ้นกับหลายปัจจัยเช่น ประสิทธิภาพของยา อายุ ผลข้างเคียง และราคา ซึ่งการกินยากันชัก นั้นต้องกินต่อเนื่องอย่างน้อย 2 ปี ไม่ควรหยุดยาเอง ในกรณีที่ผู้ป่วยไม่ตอบสนองต่อยากันชักหลายชนิด อาจพิจารณารักษาด้วยวิธีอื่น ในเด็กที่มีอาการชักหรือเป็นโรคลมชักควรปรึกษาแพทย์เฉพาะทางเพื่อให้เด็กได้รับการดูแลที่เหมาะสม ลดอาการชักที่เกิดบ่อยๆได้
อ่านรายละเอียดได้ที่ .. คลิก https://bit.ly/2ZA7zTU
#โรงพยาบาลสินแพทย์
#โรงพยาบาลเด็กสินแพทย์
#เบื้องหลังทุกการรักษาคือความใส่ใจ