เลขาครป.-ญาติพฤษภา'35 วอน ผบ.ตร.ดูแลม็อบ 19 ก.ย. อย่าเลือกสลายชุมนุม
https://www.matichon.co.th/politics/news_2344566
เมื่อวันที่ 11 กันยายน ที่ชั้นแอล หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหนาคร นาย
เมธา มาสขาว เลขาธิการคณะกรรมการรณรงค์เพื่อประชาธิปไตย (ครป.) และเลขาธิการคณะกรรมการญาติวีรชนพฤษภา 35 เข้าร่วมลงชื่อแก้ไขรัฐธรรมนูญซึ่งโครงการอินเทอร์เนตเพื่อกฎหมายประชาชน (ไอลอว์) ตั้งโต๊ะในงาน
‘กรุงเทพในฝัน กับงบประมาณ ’64’
นาย
เมธา กล่าวว่า ตนขอเรียกร้องให้สมาชิกพรรคการเมืองต่างๆ เสนอทั้งการแก้ไขมาตรา 256 เพื่อจัดตั้ง ส.ส.ร. ขึ้นมาร่างใหม่ทั้งฉบับไปพร้อมๆ กับเสนอแก้ไขมาตราอื่นๆ ที่เป็นปัญหาและอุปสรรคในการพัฒนาประชาธิปไตย โดยเฉพาะมาตรา 272 ที่อนุญาตให้ ส.ว.มีสิทธิ์เลือกนายกรัฐมนตรีได้ เพื่อให้ ส.ส.และพรรคการเมือง เลือกนายกรัฐมนตรีจากสภาผู้แทนราษฎรซึ่งมาจากการเลือกตั้งโดยตรง จึงจะไม่เกิดปัญหาความขัดแย้งพื้นฐานในระบอบประชาธิปไตยเหมือนเช่นทุกวันนี้ ส่วนร่างฉบับใหม่ใช้เวลานานในการจัดทำ ซึ่งจะแก้ไขปัญหาความขัดแย้งในระยะสั้นนี้ไม่ได้
สำหรับการชุมนุมในวันที่ 19 กันยายนนำโดยแนวร่วมธรรมศาสตร์และการชุมนุมนั้น ตน เห็นว่าเป็นสิทธิการชุมนุมทางการเมืองที่กระทำได้ภายใต้รัฐธรรมนูญและสิทธิมนุษยชนพื้นฐาน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์และรัฐบาลจะไปปิดกั้นไม่ได้ ตราบใดที่ไม่มีการใช้ความรุนแรงไปละเมิดสิทธิของผู้อื่น ซึ่งเจ้าหน้าที่ตำรวจต้องอำนวยความสะดวกในการใช้สิทธิพลเมืองและไม่ใช้กฎหมายมาตรา 116 ไปรอนสิทธิทางการเมือง
“ผมขอให้ ผบ.ตร.ได้จัดประชุมร่วมกับแกนนำการชุมนุมในเรื่องเฉพาะบทบาทหน้าที่และกลไกการประสานงานฉุกเฉิน เพื่ออำนวยความสะดวกในการบริหารจัดการชุมนุมและรักษาความปลอดภัยให้แก่ประชาชนทุกคน และออกแบบกระบวนการคลี่คลายความขัดแย้งระหว่างเจ้าหน้าที่รัฐและผู้ชุมนุม รวมถึงบุคคลที่สาม โดยเฉพาะการเปิดช่องทางการสื่อสารระหว่างกันและความไว้ใจระหว่างเจ้าหน้าที่ตำรวจที่มาอำนวยความสะดวกและแกนนำจัดการชุมนุมตามมาตรฐานสากล
โดยกำหนดคณะบุคคลที่เป็นตัวแทนฝ่ายต่างๆ เพื่อประสานงาน ดำเนินสื่อสารและปฏิบัติตามวิธีการบริหารจัดการตามข้อตกลงร่วม เพื่อแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าต่างๆ ป้องกันความเสี่ยงจากการเกิดเหตุการณ์เฉพาะหน้า ร่วมกันบริหารสถานการณ์และสร้างหลักประกันในการป้องกันไม่ให้เกิดสถานการณ์ความรุนแรงต่อผู้ชุมนุมและผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นกับประชาชนในพื้นที่รอบข้าง รวมถึงการจัดเตรียมทรัพยากรเพื่อการอำนวยการด้านการคมนาคม ความปลอดภัย ด้านสาธารสุข การจัดการขยะและรถสุขา เป็นต้น
รัฐบาลต้องไม่เลือกใช้วิธีการสลายการชุมนุมโดยเด็ดขาด เพราะจะเป็นการโหมไฟแห่งความรุนแรงเกินยากควบคุมสถานการณ์ได้ และนำมาสู่ความสูญเสียไม่มีที่สิ้นสุดหากประชาชนลุกฮือขึ้นต่อต้านในพื้นที่ต่างๆ ตามทฤษฎีมวลชนที่ว่า ตายสิบเกิดแสน” นาย
เมธากล่าว
นาย
เมธากล่าวว่า ในสถานการณ์ปัจจุบันฝ่ายรัฐควรหลีกเลี่ยงการบังคับใช้กฎหมายหรือการใช้มาตรการกดดันต่างๆ ทั้งทางตรงและทางอ้อมไว้ออกไปก่อน เพื่อแสดงความจริงใจให้สาธารณชนได้เห็นว่าฝ่ายรัฐเปิดโอกาสให้กลุ่มนิสิตนักศึกษาได้ใช้สิทธิทางการเมืองและการแสดงความคิดเห็นได้อย่างเสรี ขณะเดียวกัน หากมีการกระทำที่มีการละเมิดกฎหมายในระหว่างการชุมนุมก็ควรใช้มาตรการแจ้งเตือนต่อฝ่ายผู้ชุมนุมผ่านตัวแทนการชุมนุมรวมทั้งสาธารณชนให้ทราบเป็นระยะ
ทั้งนี้ คณะกรรมการญาติวีรชนพฤษภา’ 35 คณะกรรมการรณรงค์เพื่อประชาธิปไตย (ครป.) มูลนิธิผสานวัฒนธรรม และหอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร จะร่วมกันจัดเวทีถอดบทเรียนประสบการณ์การชุมนุมทางการเมืองและข้อเสนอทางสังคม โดยแกนนำการชุมนุมในเหตุการณ์ประวัติศาสตร์ทางการเมืองร่วมแบ่งปันประสบการณ์ในการจัดการชุมนุมเพื่อประชาธิปไตยและสันติภาพ ในวันพฤหัสบดีที่ 17 กันยายน 2563 เวลา 16.00-18.00 น. ณ หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร เพื่อสรุปบทเรียนร่วมกันจากการบริหารจัดการการชุมนุมเหตุการณ์ทางการเมืองในอดีต
'ไอลอว์' เฉียดเส้นชัย อีก 3,517 ชื่อครบ 5 หมื่น! ต่อคิวคึกคักหอศิลป์กทม.
https://www.matichon.co.th/politics/news_2344221
‘ไอลอว์’ เฉียดเส้นชัย อีก 3,517 ชื่อครบ 5 หมื่น! ต่อคิวคึกคักหอศิลป์กทม.
เมื่อวันที่ 11 กันยายน ที่ชั้นแอล หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ มีการจัดงาน ‘กรุงเทพในฝันกับงบประมาณ ’64 อนาคตเมืองในฝันของคนกรุงเทพ’ โดยภายในงานดังกล่าว โครงการอินเทอร์เนตเพื่อกฎหมายประชาชน หรือ ไอลอว์ ตั้งโต๊ะรวบรวม 50,000 ชื่อเพื่อแก้ไขรัฐธรรมนูญ
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ในช่วงเวลาประมาณ 15.30 น. มีนักเรียน นิสิต นักศึกษาและประชาชนร่วมต่อแถวลงชื่ออย่างต่อเนื่อง
สำหรับความคืบหน้าล่าสุดตามที่ปรากฎในเวปไซต์
http://50000con.ilaw.or.th ระบุว่าเหลือเพียง 3,517 ชื่อจะครบ 50,000 รายตามเป้าหมาย โดยในวันที่ 19 กันยายน ไอลอว์ประกาศตั้งซุ้มรวบรวมรายชื่อที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ด้วย
ทั้งนี้ กิจกรรม ‘
เข้าชื่อ 5 หมื่นชื่อ ร่วมรื้อ ร่วมสร้าง ร่างรัฐธรรมนูญ’ เปิดตัวเมื่อวันที่ 7 สิงหาคม ที่ผ่านมา ที่คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ เพื่อเชิญชวนประชาชนร่วมลงชื่อเสนอร่างรัฐธรรมนูญฉบับประชาชน โดยประเด็นการแก้ไข มีหลักสำคัญได้แก่ 1. นายกรัฐมนตรีต้องเป็น ส.ส. , ส.ว. ต้องมาจากการเลือกตั้งโดยประชาชน,แก้กระบวนการสรรหาคนในองค์กรอิสระ, ปลดล็อกกลไกรัฐธรรมนูญ และมีสภาร่างรัฐธรรมนูญที่มาจากการเลือกตั้ง 200 คน โดยต้องจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ให้เสร็จใน 360 วันนับแต่มี ส.ส.ร.
สำหรับวันที่มีการลงชื่อมากที่สุดนับแต่เปิดตัวโครงการ คือวันที่ 16 สิงหาคม ซึ่งมีการชุมนุมที่อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย นำโดยคณะประชาชนปลดแอก โดยรวบรวมได้ ‘
10,521 ‘ ชื่อ โดยมีแม่ค้าผัดไทย ลงชื่อเป็นรายสุดท้ายก่อนปิดซุ้ม
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ในงานเดียวกัน ไอลอว์ ยังตั้งโต๊ะรวบรวม 10,000 ชื่อ แก้ไขมาตรา 32 ของพรบ. ควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอลล์ พ.ศ.2551 ซึ่งหากโพสต์ภาพเครื่องดื่มแอลกอฮอลล์อาจมีโทษปรับ 50,000 บาท
ซัด แก้วสรร ต้านม็อบนักศึกษาชุมนุม มธ. ถามกลับทำไมปี 57 ใช้เป่านกหวีดได้!
https://www.khaosod.co.th/politics/news_4890149
ซัด แก้วสรร ต้านม็อบนักศึกษาชุมนุม มธ. ถามกลับทำไมปี 57 ใช้เป่านกหวีดได้!
กรณี นาย
แก้วสรร อติโพธิ์ อดีตรองอธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ อดีตแนวร่วม กปปส. ในฐานะศิษย์เก่ารุ่น 12 และ ศิษย์เก่ามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ แถลงข่าวเห็นด้วยที่มหาวิทยาลัยไม่อนุญาตให้ใช้สถานที่จัดชุมนุมในวันที่ 19 กันยายน นี้ พร้อมกับแจกคิวอาร์โค้ด เชิญชวนให้เข้ามาร่วมในไลน์ กรุ๊ป ที่ใช้ชื่อว่า "
ปิด มธ. พอกันที วีรชน" เพื่อเชิญชวนศิษย์เก่าที่ไม่เห็นด้วย กับการชุมนุมในวันที่ 19 ก.ย.ออกมาแสดงพลัง
ต่อเรื่องดังกล่าว นาย
วิโรจน์ ลักขณาอดิศร ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคก้าวไกล แสดงความคิดเห็นผ่านทางทวิตเตอร์ ความว่า
อยากให้คุณแก้วสรรช่วยอธิบาย การใช้พื้นที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ในการเป่านกหวีด และการชุมนุมของศิษย์เก่า มธ. บางกลุ่ม ที่นำมาซึ่งการก่อกบฏทำรัฐประหาร ในปี 2557 ด้วยครับ ถ้าปี 56-57 ทำได้ ผมว่าการชุมนุมในครั้งนี้เรียบร้อยกว่าด้วยซ้ำไป ทำไมจะทำไม่ได้
https://twitter.com/wirojlak/status/1304342263414185984
ผมคิดว่าศิษย์เก่ามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์บางคน ที่ยอมตกเป็นเครื่องมือให้กับ ....ในการทำรัฐประหาร ในปี 2557 ควรจะสำนึกผิดได้แล้ว และควรจะขอขมาต่ออาจารย์ปรีดี และอาจารย์ป๋วยด้วยซ้ำครับ
https://twitter.com/wirojlak/status/1304343918813745158
ศึกรุ่นใหญ่! ไตรรงค์ ห่วงชุมนุม มธ.นองเลือด เหมือน 6 ตุลา เจอสุธรรม สวนเจ็บ
https://www.khaosod.co.th/politics/news_4889455
ศึกรุ่นใหญ่! ไตรรงค์ ห่วงชุมนุม มธ.นองเลือด เหมือน 6 ตุลา เจอสุธรรม สวนเจ็บ ลากไส้ประวัติศาสตร์ ย้อนถาม ความรุนแรง เกิดขึ้นจากใคร?
จากกรณีการชุมนุมของกลุ่มนิสิตนักศึกษาที่เกิดขึ้นเพื่อต่อต้านการบริหารงานของรัฐบาลพล.อ.
ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และนำเสนอข้อเรียกร้องทางการเมืองในประเด็นต่างๆ ล่าสุดมีการนัดชุมนุมที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ ในวันที่ 19 กันยายน ต่อมาเกิดปัญหาเนื่องจาก มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มีคำสั่งไม่อนุญาตให้มีการจัดชุมนุม
ล่าสุดมีข้อคิดเห็นจาก
ไตรรงค์ สุวรรณคีรี สมาชิกพรรคประชาธิปัตย์ อดีตรองนายกรัฐมนตรี อดีตแนวร่วมกลุ่ม กปปส. และอดีตเลขานุการส่วนตัวของ ศาสตราจารย์ ดร.
ป๋วย อึ๊งภากรณ์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และอยู่ในมหาวิทยาลัยในเช้าวันเกิดเหตุการณ์ 6 ตุลาฯ 2519 ด้วย
ซึ่งต่อมามีข้อเขียนตอบโต้จาก
สุธรรม แสงประทุม อดีตรัฐมนตรีหลายกระทรวง ผู้ก่อตั้งพรรคไทยรักไทย อดีตแนวร่วมกลุ่ม นปช. และเป็นอดีตเลขาธิการศูนย์กลางนิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทย โดยเป็นแกนนำชุมนุมขับไล่ พระ
ถนอม สุกิตติขจโร ออกจากประเทศไทย ซึ่งนำไปสู่เหตุนองเลือด เมื่อวันที่ 6 ตุลาคม 2519 โดย
ไตรรงค์ สุวรรณคีรี ระบุว่า
ผมเป็นห่วงครับ ขออย่าให้ประวัติศาสตร์ซ้ำรอยอีก
เดือนตุลาคมปีพ.ศ. 2519 เมื่อจอมพลถนอม กิตติขจร บวชสามเณรกลับเข้ามาอยู่ในประเทศไทยหลังจากที่ถูกให้ออกไปอยู่นอกประเทศเพื่อให้เกิดความสงบภายในประเทศ ศูนย์กลางนิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทย (ศนท.) นำโดย นายสุธรรม แสงประทุม เลขาธิการศูนย์ฯ ได้นัดกรรมการศูนย์ฯ ซึ่งมีตัวแทนนักศึกษาจากทุกมหาวิทยาลัยมาประชุมกัน
ณ ที่ทำการของสโมสรนักศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ โดยประกาศล่วงหน้าว่าเพื่อขอมติจากกรรมการศูนย์ฯ เพื่อประกาศชุมนุมอย่างยืดเยื้อ จนกว่าสามเณรถนอมจะออกไปนอกประเทศ โดยกำหนดจะใช้สนามฟุตบอลของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์เป็นสถานที่ชุมนุม
ดร. ป๋วย อึ๊งภากรณ์ อธิการบดีในขณะนั้นเรียกผมเข้าพบ ขอให้ไปเจรจากับนายสุธรรมว่า ดร.ป๋วยไม่เห็นด้วยและไม่อนุญาตให้ใช้มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์เป็นที่ชุมนุม เพราะจะเกิดอันตรายทั้งกับผู้ที่มาชุมนุมและชื่อเสียงของมหาวิทยาลัย
ผมได้ไปเจรจากับคุณสุธรรม ซึ่งคุณสุธรรมก็ให้เกียรติออกจากที่ประชุมมาพบกับผมนอกห้องประชุม หลังจากผมได้แจ้งให้คุณสุธรรมทราบถึงจุดยืนของดร.ป๋วยแล้ว คุณสุธรรมก็ได้ฝากผมให้ไปบอกดร. ป๋วยว่า “พวกผมเป็นลูกของประชาชน จะไม่มีอันตรายใดๆ เกิดขึ้นเพราะประชาชนจะเป็นประตูแดงกำแพงเหล็กคุ้มครองพวกผม…อย่าไปกลัวอะไรให้มากเกินไป”
หลังจากพูดเสร็จ คุณสุธรรมก็กลับเข้าไปประชุมกับคณะกรรมการต่ออีกประมาณ 30 นาที ก็เลิกประชุม แล้วคุณสุธรรมออกมาประกาศต่อสื่อมวลชน ว่าคณะกรรมการมีมติเป็นเอกฉันท์ให้ชุมนุมอย่างยืดเยื้อ โดยใช้มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์เป็นสถานที่จัดชุมนุม
ผมกลับไปพบดร.ป๋วย และรายงานให้ท่านฟังว่าอะไรเกิดขึ้น ดร.ป๋วยบอกผมว่า “มันต้องมีเรื่องร้ายแรงเกิดขึ้นอย่างแน่นอน ผมไม่ขอรับผิดชอบ และผมจะขอลาออกจากการเป็นอธิการบดี” ซึ่งท่านก็ลาออกจริงๆ… และเหตุร้ายก็เกิดขึ้นจริงๆ ที่ผมเล่าให้ฟังนี้… เพราะผมเป็นห่วงจริง ๆ ครับ
ดร.ไตรรงค์ สุวรรณคีรี
10 กันยายน 2563
JJNY : 6in1 วอนอย่าสลายชุมนุม/ไอลอว์เฉียดเส้นชัย/ซัดแก้วสรรต้านม็อบ/ศึกรุ่นใหญ่/มารีญาคาใจรถเมล์เก่า/ข้อพิพาทแรงงานพุ่ง
https://www.matichon.co.th/politics/news_2344566
นายเมธา กล่าวว่า ตนขอเรียกร้องให้สมาชิกพรรคการเมืองต่างๆ เสนอทั้งการแก้ไขมาตรา 256 เพื่อจัดตั้ง ส.ส.ร. ขึ้นมาร่างใหม่ทั้งฉบับไปพร้อมๆ กับเสนอแก้ไขมาตราอื่นๆ ที่เป็นปัญหาและอุปสรรคในการพัฒนาประชาธิปไตย โดยเฉพาะมาตรา 272 ที่อนุญาตให้ ส.ว.มีสิทธิ์เลือกนายกรัฐมนตรีได้ เพื่อให้ ส.ส.และพรรคการเมือง เลือกนายกรัฐมนตรีจากสภาผู้แทนราษฎรซึ่งมาจากการเลือกตั้งโดยตรง จึงจะไม่เกิดปัญหาความขัดแย้งพื้นฐานในระบอบประชาธิปไตยเหมือนเช่นทุกวันนี้ ส่วนร่างฉบับใหม่ใช้เวลานานในการจัดทำ ซึ่งจะแก้ไขปัญหาความขัดแย้งในระยะสั้นนี้ไม่ได้
สำหรับการชุมนุมในวันที่ 19 กันยายนนำโดยแนวร่วมธรรมศาสตร์และการชุมนุมนั้น ตน เห็นว่าเป็นสิทธิการชุมนุมทางการเมืองที่กระทำได้ภายใต้รัฐธรรมนูญและสิทธิมนุษยชนพื้นฐาน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์และรัฐบาลจะไปปิดกั้นไม่ได้ ตราบใดที่ไม่มีการใช้ความรุนแรงไปละเมิดสิทธิของผู้อื่น ซึ่งเจ้าหน้าที่ตำรวจต้องอำนวยความสะดวกในการใช้สิทธิพลเมืองและไม่ใช้กฎหมายมาตรา 116 ไปรอนสิทธิทางการเมือง
“ผมขอให้ ผบ.ตร.ได้จัดประชุมร่วมกับแกนนำการชุมนุมในเรื่องเฉพาะบทบาทหน้าที่และกลไกการประสานงานฉุกเฉิน เพื่ออำนวยความสะดวกในการบริหารจัดการชุมนุมและรักษาความปลอดภัยให้แก่ประชาชนทุกคน และออกแบบกระบวนการคลี่คลายความขัดแย้งระหว่างเจ้าหน้าที่รัฐและผู้ชุมนุม รวมถึงบุคคลที่สาม โดยเฉพาะการเปิดช่องทางการสื่อสารระหว่างกันและความไว้ใจระหว่างเจ้าหน้าที่ตำรวจที่มาอำนวยความสะดวกและแกนนำจัดการชุมนุมตามมาตรฐานสากล
โดยกำหนดคณะบุคคลที่เป็นตัวแทนฝ่ายต่างๆ เพื่อประสานงาน ดำเนินสื่อสารและปฏิบัติตามวิธีการบริหารจัดการตามข้อตกลงร่วม เพื่อแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าต่างๆ ป้องกันความเสี่ยงจากการเกิดเหตุการณ์เฉพาะหน้า ร่วมกันบริหารสถานการณ์และสร้างหลักประกันในการป้องกันไม่ให้เกิดสถานการณ์ความรุนแรงต่อผู้ชุมนุมและผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นกับประชาชนในพื้นที่รอบข้าง รวมถึงการจัดเตรียมทรัพยากรเพื่อการอำนวยการด้านการคมนาคม ความปลอดภัย ด้านสาธารสุข การจัดการขยะและรถสุขา เป็นต้น
รัฐบาลต้องไม่เลือกใช้วิธีการสลายการชุมนุมโดยเด็ดขาด เพราะจะเป็นการโหมไฟแห่งความรุนแรงเกินยากควบคุมสถานการณ์ได้ และนำมาสู่ความสูญเสียไม่มีที่สิ้นสุดหากประชาชนลุกฮือขึ้นต่อต้านในพื้นที่ต่างๆ ตามทฤษฎีมวลชนที่ว่า ตายสิบเกิดแสน” นายเมธากล่าว
นายเมธากล่าวว่า ในสถานการณ์ปัจจุบันฝ่ายรัฐควรหลีกเลี่ยงการบังคับใช้กฎหมายหรือการใช้มาตรการกดดันต่างๆ ทั้งทางตรงและทางอ้อมไว้ออกไปก่อน เพื่อแสดงความจริงใจให้สาธารณชนได้เห็นว่าฝ่ายรัฐเปิดโอกาสให้กลุ่มนิสิตนักศึกษาได้ใช้สิทธิทางการเมืองและการแสดงความคิดเห็นได้อย่างเสรี ขณะเดียวกัน หากมีการกระทำที่มีการละเมิดกฎหมายในระหว่างการชุมนุมก็ควรใช้มาตรการแจ้งเตือนต่อฝ่ายผู้ชุมนุมผ่านตัวแทนการชุมนุมรวมทั้งสาธารณชนให้ทราบเป็นระยะ
ทั้งนี้ คณะกรรมการญาติวีรชนพฤษภา’ 35 คณะกรรมการรณรงค์เพื่อประชาธิปไตย (ครป.) มูลนิธิผสานวัฒนธรรม และหอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร จะร่วมกันจัดเวทีถอดบทเรียนประสบการณ์การชุมนุมทางการเมืองและข้อเสนอทางสังคม โดยแกนนำการชุมนุมในเหตุการณ์ประวัติศาสตร์ทางการเมืองร่วมแบ่งปันประสบการณ์ในการจัดการชุมนุมเพื่อประชาธิปไตยและสันติภาพ ในวันพฤหัสบดีที่ 17 กันยายน 2563 เวลา 16.00-18.00 น. ณ หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร เพื่อสรุปบทเรียนร่วมกันจากการบริหารจัดการการชุมนุมเหตุการณ์ทางการเมืองในอดีต
'ไอลอว์' เฉียดเส้นชัย อีก 3,517 ชื่อครบ 5 หมื่น! ต่อคิวคึกคักหอศิลป์กทม.
https://www.matichon.co.th/politics/news_2344221
‘ไอลอว์’ เฉียดเส้นชัย อีก 3,517 ชื่อครบ 5 หมื่น! ต่อคิวคึกคักหอศิลป์กทม.
เมื่อวันที่ 11 กันยายน ที่ชั้นแอล หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ มีการจัดงาน ‘กรุงเทพในฝันกับงบประมาณ ’64 อนาคตเมืองในฝันของคนกรุงเทพ’ โดยภายในงานดังกล่าว โครงการอินเทอร์เนตเพื่อกฎหมายประชาชน หรือ ไอลอว์ ตั้งโต๊ะรวบรวม 50,000 ชื่อเพื่อแก้ไขรัฐธรรมนูญ
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ในช่วงเวลาประมาณ 15.30 น. มีนักเรียน นิสิต นักศึกษาและประชาชนร่วมต่อแถวลงชื่ออย่างต่อเนื่อง
สำหรับความคืบหน้าล่าสุดตามที่ปรากฎในเวปไซต์ http://50000con.ilaw.or.th ระบุว่าเหลือเพียง 3,517 ชื่อจะครบ 50,000 รายตามเป้าหมาย โดยในวันที่ 19 กันยายน ไอลอว์ประกาศตั้งซุ้มรวบรวมรายชื่อที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ด้วย
ทั้งนี้ กิจกรรม ‘เข้าชื่อ 5 หมื่นชื่อ ร่วมรื้อ ร่วมสร้าง ร่างรัฐธรรมนูญ’ เปิดตัวเมื่อวันที่ 7 สิงหาคม ที่ผ่านมา ที่คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ เพื่อเชิญชวนประชาชนร่วมลงชื่อเสนอร่างรัฐธรรมนูญฉบับประชาชน โดยประเด็นการแก้ไข มีหลักสำคัญได้แก่ 1. นายกรัฐมนตรีต้องเป็น ส.ส. , ส.ว. ต้องมาจากการเลือกตั้งโดยประชาชน,แก้กระบวนการสรรหาคนในองค์กรอิสระ, ปลดล็อกกลไกรัฐธรรมนูญ และมีสภาร่างรัฐธรรมนูญที่มาจากการเลือกตั้ง 200 คน โดยต้องจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ให้เสร็จใน 360 วันนับแต่มี ส.ส.ร.
สำหรับวันที่มีการลงชื่อมากที่สุดนับแต่เปิดตัวโครงการ คือวันที่ 16 สิงหาคม ซึ่งมีการชุมนุมที่อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย นำโดยคณะประชาชนปลดแอก โดยรวบรวมได้ ‘10,521 ‘ ชื่อ โดยมีแม่ค้าผัดไทย ลงชื่อเป็นรายสุดท้ายก่อนปิดซุ้ม
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ในงานเดียวกัน ไอลอว์ ยังตั้งโต๊ะรวบรวม 10,000 ชื่อ แก้ไขมาตรา 32 ของพรบ. ควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอลล์ พ.ศ.2551 ซึ่งหากโพสต์ภาพเครื่องดื่มแอลกอฮอลล์อาจมีโทษปรับ 50,000 บาท
ซัด แก้วสรร ต้านม็อบนักศึกษาชุมนุม มธ. ถามกลับทำไมปี 57 ใช้เป่านกหวีดได้!
https://www.khaosod.co.th/politics/news_4890149
ซัด แก้วสรร ต้านม็อบนักศึกษาชุมนุม มธ. ถามกลับทำไมปี 57 ใช้เป่านกหวีดได้!
กรณี นายแก้วสรร อติโพธิ์ อดีตรองอธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ อดีตแนวร่วม กปปส. ในฐานะศิษย์เก่ารุ่น 12 และ ศิษย์เก่ามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ แถลงข่าวเห็นด้วยที่มหาวิทยาลัยไม่อนุญาตให้ใช้สถานที่จัดชุมนุมในวันที่ 19 กันยายน นี้ พร้อมกับแจกคิวอาร์โค้ด เชิญชวนให้เข้ามาร่วมในไลน์ กรุ๊ป ที่ใช้ชื่อว่า "ปิด มธ. พอกันที วีรชน" เพื่อเชิญชวนศิษย์เก่าที่ไม่เห็นด้วย กับการชุมนุมในวันที่ 19 ก.ย.ออกมาแสดงพลัง
ต่อเรื่องดังกล่าว นายวิโรจน์ ลักขณาอดิศร ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคก้าวไกล แสดงความคิดเห็นผ่านทางทวิตเตอร์ ความว่า
อยากให้คุณแก้วสรรช่วยอธิบาย การใช้พื้นที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ในการเป่านกหวีด และการชุมนุมของศิษย์เก่า มธ. บางกลุ่ม ที่นำมาซึ่งการก่อกบฏทำรัฐประหาร ในปี 2557 ด้วยครับ ถ้าปี 56-57 ทำได้ ผมว่าการชุมนุมในครั้งนี้เรียบร้อยกว่าด้วยซ้ำไป ทำไมจะทำไม่ได้
https://twitter.com/wirojlak/status/1304342263414185984
ผมคิดว่าศิษย์เก่ามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์บางคน ที่ยอมตกเป็นเครื่องมือให้กับ ....ในการทำรัฐประหาร ในปี 2557 ควรจะสำนึกผิดได้แล้ว และควรจะขอขมาต่ออาจารย์ปรีดี และอาจารย์ป๋วยด้วยซ้ำครับ
https://twitter.com/wirojlak/status/1304343918813745158
ศึกรุ่นใหญ่! ไตรรงค์ ห่วงชุมนุม มธ.นองเลือด เหมือน 6 ตุลา เจอสุธรรม สวนเจ็บ
https://www.khaosod.co.th/politics/news_4889455
ศึกรุ่นใหญ่! ไตรรงค์ ห่วงชุมนุม มธ.นองเลือด เหมือน 6 ตุลา เจอสุธรรม สวนเจ็บ ลากไส้ประวัติศาสตร์ ย้อนถาม ความรุนแรง เกิดขึ้นจากใคร?
จากกรณีการชุมนุมของกลุ่มนิสิตนักศึกษาที่เกิดขึ้นเพื่อต่อต้านการบริหารงานของรัฐบาลพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และนำเสนอข้อเรียกร้องทางการเมืองในประเด็นต่างๆ ล่าสุดมีการนัดชุมนุมที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ ในวันที่ 19 กันยายน ต่อมาเกิดปัญหาเนื่องจาก มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มีคำสั่งไม่อนุญาตให้มีการจัดชุมนุม
ล่าสุดมีข้อคิดเห็นจาก ไตรรงค์ สุวรรณคีรี สมาชิกพรรคประชาธิปัตย์ อดีตรองนายกรัฐมนตรี อดีตแนวร่วมกลุ่ม กปปส. และอดีตเลขานุการส่วนตัวของ ศาสตราจารย์ ดร.ป๋วย อึ๊งภากรณ์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และอยู่ในมหาวิทยาลัยในเช้าวันเกิดเหตุการณ์ 6 ตุลาฯ 2519 ด้วย
ซึ่งต่อมามีข้อเขียนตอบโต้จาก สุธรรม แสงประทุม อดีตรัฐมนตรีหลายกระทรวง ผู้ก่อตั้งพรรคไทยรักไทย อดีตแนวร่วมกลุ่ม นปช. และเป็นอดีตเลขาธิการศูนย์กลางนิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทย โดยเป็นแกนนำชุมนุมขับไล่ พระถนอม สุกิตติขจโร ออกจากประเทศไทย ซึ่งนำไปสู่เหตุนองเลือด เมื่อวันที่ 6 ตุลาคม 2519 โดย ไตรรงค์ สุวรรณคีรี ระบุว่า
ผมเป็นห่วงครับ ขออย่าให้ประวัติศาสตร์ซ้ำรอยอีก
เดือนตุลาคมปีพ.ศ. 2519 เมื่อจอมพลถนอม กิตติขจร บวชสามเณรกลับเข้ามาอยู่ในประเทศไทยหลังจากที่ถูกให้ออกไปอยู่นอกประเทศเพื่อให้เกิดความสงบภายในประเทศ ศูนย์กลางนิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทย (ศนท.) นำโดย นายสุธรรม แสงประทุม เลขาธิการศูนย์ฯ ได้นัดกรรมการศูนย์ฯ ซึ่งมีตัวแทนนักศึกษาจากทุกมหาวิทยาลัยมาประชุมกัน
ณ ที่ทำการของสโมสรนักศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ โดยประกาศล่วงหน้าว่าเพื่อขอมติจากกรรมการศูนย์ฯ เพื่อประกาศชุมนุมอย่างยืดเยื้อ จนกว่าสามเณรถนอมจะออกไปนอกประเทศ โดยกำหนดจะใช้สนามฟุตบอลของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์เป็นสถานที่ชุมนุม
ดร. ป๋วย อึ๊งภากรณ์ อธิการบดีในขณะนั้นเรียกผมเข้าพบ ขอให้ไปเจรจากับนายสุธรรมว่า ดร.ป๋วยไม่เห็นด้วยและไม่อนุญาตให้ใช้มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์เป็นที่ชุมนุม เพราะจะเกิดอันตรายทั้งกับผู้ที่มาชุมนุมและชื่อเสียงของมหาวิทยาลัย
ผมได้ไปเจรจากับคุณสุธรรม ซึ่งคุณสุธรรมก็ให้เกียรติออกจากที่ประชุมมาพบกับผมนอกห้องประชุม หลังจากผมได้แจ้งให้คุณสุธรรมทราบถึงจุดยืนของดร.ป๋วยแล้ว คุณสุธรรมก็ได้ฝากผมให้ไปบอกดร. ป๋วยว่า “พวกผมเป็นลูกของประชาชน จะไม่มีอันตรายใดๆ เกิดขึ้นเพราะประชาชนจะเป็นประตูแดงกำแพงเหล็กคุ้มครองพวกผม…อย่าไปกลัวอะไรให้มากเกินไป”
หลังจากพูดเสร็จ คุณสุธรรมก็กลับเข้าไปประชุมกับคณะกรรมการต่ออีกประมาณ 30 นาที ก็เลิกประชุม แล้วคุณสุธรรมออกมาประกาศต่อสื่อมวลชน ว่าคณะกรรมการมีมติเป็นเอกฉันท์ให้ชุมนุมอย่างยืดเยื้อ โดยใช้มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์เป็นสถานที่จัดชุมนุม
ผมกลับไปพบดร.ป๋วย และรายงานให้ท่านฟังว่าอะไรเกิดขึ้น ดร.ป๋วยบอกผมว่า “มันต้องมีเรื่องร้ายแรงเกิดขึ้นอย่างแน่นอน ผมไม่ขอรับผิดชอบ และผมจะขอลาออกจากการเป็นอธิการบดี” ซึ่งท่านก็ลาออกจริงๆ… และเหตุร้ายก็เกิดขึ้นจริงๆ ที่ผมเล่าให้ฟังนี้… เพราะผมเป็นห่วงจริง ๆ ครับ
ดร.ไตรรงค์ สุวรรณคีรี
10 กันยายน 2563