ประวัติศาสตร์ 14 ตุลาคม 2516
“เหตุการณ์ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2516 หรือ วันมหาวิปโยค เป็นเหตุการณ์ที่นักศึกษาและประชาชนในประเทศไทย มากกว่า 5 แสนคน ได้รวมตัวกันเพื่อเรียกร้องรัฐธรรมนูญจากรัฐบาลเผด็จการ จอมพลถนอม กิตติขจร โดยในเหตุการณ์นี้มีรายงานผู้เสียชีวิต 77 ราย บาดเจ็บ 857 ราย และสูญหายอีกจำนวนมาก”
ก่อนเหตุการณ์ 14 ตุลาคม 2516 ประเทศไทยอยู่ภายใต้ความกดดันทางด้านสิทธิและเสรีภาพ เป็นเวลากว่า 16 ปีภายใต้ระบอบ สฤษดิ์-ถนอม-ประภาส โครงสร้างทางการเมืองแบบเผด็จการและระบบเจ้าขุนมูลนายแบบราชการดำรงอยู่ อย่างหยุดนิ่ง ในขณะที่โครงสร้างทางเศรษฐกิจและสังคมของไทยได้เปลี่ยนแปลงไปอย่างไพศาล การแผ่ขยายระบบอภิสิทธิ์ของกลุ่มข้าราชการ นักการเมือง และกลุ่มธุรกิจเพื่อกอบโกยผลประโยชน์ ก็ได้ก่อให้เกิดปัญหาความขัดแย้งทางเศรษฐกิจสังคมมากมาย เกิดช่องว่างระหว่างคนจนกับคนรวย ระหว่างชนบทกับเมือง ระหว่างภาคเกษตรกรรมกับภาคอุตสาหกรรม ส่งผลให้รัฐบาลเผด็จการเสื่อมถอยลงเรื่อย ๆ
เหตุการณ์เริ่มมาจากการที่จอมพลถนอม กิตติขจร ทำการรัฐประหารตัวเองในวันที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2514 โดยนักศึกษาและประชาชนมองว่าเป็นการสืบทอดอำนาจตนเองจาก จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ซึ่งในขณะนั้นจอมพลถนอมจะต้องเกษียณอายุราชการเนื่องจากอายุครบ 60 ปี อีกทั้ง จอมพลประภาส จารุเสถียร บุคคลสำคัญในรัฐบาล ก็มิได้รับการยอมรับเหมือนจอมพลถนอม แต่กลับต่ออายุราชการให้ตนเอง ประกอบกับข่าวคราวเรื่องทุจริตคอร์รัปชั่นในวงราชการต่าง ๆ สร้างความไม่พอใจอย่างมากแก่ประชาชน
29 เมษายน พ.ศ. 2516 เฮลิคอปเตอร์ทหารหมายเลข ทบ.6102 เกิดอุบัติเหตุตกที่ อ.บางเลน จ.นครปฐม มีดาราหญิงชื่อดังในขณะนั้นคือ เมตตา รุ่งรัตน์ โดยสารไปด้วย มีผู้เสียชีวิตทั้งหมด 6 คน ในซากเฮลิคอปเตอร์นั้นพบซากสัตว์เป็นจำนวนมาก ส่วนใหญ่เป็นซากกระทิง ที่ถูกล่ามาจากทุ่งใหญ่นเรศวรซึ่งเป็นพื้นที่ป่าสงวน สร้างกระแสไม่พอใจ และเกิดคำถามในหมู่นิสิตมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และประชาชนทั่วไปเป็นอย่างมาก แต่ก็ไม่ได้รับคำตอบที่กระจ่าง เพียงอ้างว่าไปสืบราชการลับเพื่ออารักขานายพล เนวิน จากพม่า
หลังจากนั้นปลายเดือนพฤษภาคมและต้นเดือนมิถุนายน นิสิตนักศึกษากลุ่มอนุรักษ์ธรรมชาติฯ 4 มหาวิทยาลัยได้ออกหนังสือชื่อ "บันทึกลับจากทุ่งใหญ่" เปิดโปงเกี่ยวกับกรณีนี้ ผลการตอบรับออกมาดีมาก จำหน่ายได้กว่า 200,000 เล่ม ใน 2 สัปดาห์ และถูกจนขยายผลโดยนักศึกษามหาวิทยาลัยรามคำแหงกลุ่มหนึ่งออกหนังสือชื่อ "มหาวิทยาลัยที่ไม่มีคำตอบ" เป็นผลให้ ดร.ศักดิ์ ผาสุขนิรันดร์ อธิการบดีฯ สั่งลบชื่อนักศึกษาแกนนำทั้ง 9 คนออก ซึ่งทำให้เกิดการประท้วงจนนำไปสู่การชุมนุมในวันที่ 21 และ 22 มิถุนายน ที่อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย
ในระยะแรก การชุมนุมเพียงต้องการให้มหาวิทยาลัยรามคำแหงรับนักศึกษาทั้ง 9 คนเข้าเป็นนักศึกษาดังเดิม และเรียกร้องให้อธิการบดีลาออก แต่ต่อมาได้มีการเรียกร้องให้รัฐบาลคืนอำนาจการปกครองแก่ประชาชน และ เรียกร้องให้ประกาศใช้รัฐธรรมนูญภายในหกเดือน จนอธิการบดีต้องยอมลาออกและมีการรับทั้ง 9 คนเข้าเรียนตามเดิมเท่านั้น ทำให้กลุ่มผู้นำของศูนย์กลางนิสิตนักศึกษาฯ ตลอดจนอาจารย์มหาวิทยาลัยและผู้สนใจ ร่วมกันก่อตั้ง “ กลุ่มเรียกร้องรัฐธรรมนูญ” ขึ้น นำทีมโดย นายธีรยุทธ บุญมี นายประสาร มฤคพิทักษ์ นายประพันธ์ศักดิ์ กมลเพชร นายธัญญา ชุนชฎาธาร และ ในวันศุกร์ที่ 5 ตุลาคม 2516 กลุ่มเรียกร้องรัฐธรรมนูญได้นัดสื่อมวลชน เพื่อแถลงข่าวเกี่ยวกับวัตถุประสงค์การดำเนินงานของกลุ่ม คือ
1. เรียกร้องให้รัฐบาลเร่งร่างรัฐธรรมนูญ และประกาศใช้โดยเร็วที่สุดด้วยสันติวิธี
2. ให้การศึกษาทางการเมืองเกี่ยวกับรัฐธรรมนูญตามระบอบ ประชาธิปไตยแก่ประชาชน
3. กระตุ้นเตือนให้ประชาชนเกิดความสำนึกและหวงแหนในสิทธิ เสรีภาพของมนุษยชน โดยดำเนินการอย่างเปิดเผย
และ เพื่อกระตุ้นให้ประชาชนเกิดความสำนึกและหวงแหนในสิทธิเสรีภาพของตน โดยจะใช้เวลาติดต่อกันสองเดือน ในการรณรงค์ และในระยะแรกจะแจกหนังสือและใบปลิวตามย่านชุมชนต่าง ๆ ตลอดเวลาสองวัน
"กลุ่ม เรียกร้องรัฐธรรมนูญ" ที่ประกอบด้วยสมาชิกจากบุคคลหลายสาขาอาชีพ ทั้งอดีตรัฐมนตรี อดีตสมาชิกสภาผู้แทน นักการเมือง ข้าราชการ นิสิต นักศึกษา นักหนังสือพิมพ์ นักร้อง ฯลฯ โดยบุคคลทั้งหมดนี้มีความเห็นตรงกันว่า ถึงเวลาแล้วที่ประเทศไทยควรจะปกครองด้วยระบอบประชาธิปไตยที่แท้จริงเสียที รัฐบาลจะต้องรีบดำเนินการมอบรัฐธรรมนูญ ให้ประชาชนผู้เป็นเจ้าของประเทศโดยเร็ว จึงได้รวบรวมผู้ที่มีความเห็นพ้องกันมาลงนามจำนวน 100 คน
ซึ่งก่อนหน้านั้น ในเดือนพฤศจิกายน 2514 ดร. ป๋วย อึ้งภากรณ์ ได้เขียนจดหมายฉบับประวัติศาสตร์ จากอังกฤษในนามของ เข้ม เย็นยิ่ง (ชื่อรหัสในขบวนการเสรีไทย) ส่งถึง ผู้ใหญ่บ้าน เข้ม เกียรติก้อง (หมายถึง จอมพล ถนอม กิตติขจร นายกฯในตอนนั้น) มีใจความเรียกร้องให้รัฐบาลจัดการให้มีรัฐธรรมนูญภายในปี 2515 หรืออย่างช้าข้ามมาปี 2516 อันเป็นการกระทำที่ท้าทายผู้มีอำนาจ จน จอมพลถนอม ต้องลาออกจากการเป็นคณะบดี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
วันที่ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2516 ในตอนเช้า สมาชิกของกลุ่มเรียกร้องรัฐธรรมนูญทั้งหญิงและชายประมาณ 20 คน นัดชุมนุมกันที่ลานอนุสาวรีย์ทหารอาสา และเริ่มเดินแจกใบปลิวเชิญชวนให้ประชาชนร่วมกันต่อเรียกร้องรัฐธรรมนูญ พร้อมทั้งแจกหนังสือ กลุ่มเรียกร้องรัฐธรรมนูญ ฉบับที่ 1 เรียกร้องให้รัฐบาลคืนอำนาจแก่ประชาชนด้วยการประกาศใช้รัฐธรรมนูญ โดยบนปกหลังของหนังสือมีรายชื่อของผู้เรียกร้องรัฐธรรมนูญ 100 คนด้วย กลุ่มเรียกร้องรัฐธรรมนูญกระจายกำลังออกเดินแจกใบปลิวและหนังสือกลุ่มเรียก ร้องรัฐธรรมนูญ จากบริเวณตลาดนัดสนามหลวง ริมคลองหลอด หน้ากรมประชาสัมพันธ์ ไปจนถึงตลาดบางลำภู ถนนสิบสามห้าง หลังจากนั้นก็รวมตัวกันมุ่งหน้าสู่ศูนย์การค้าปทุมวัน (สยามสแควร์)
จนเมื่อถึงประตูน้ำเวลาประมาณ 14.00 น. ขณะกำลังจะแยกย้ายกันแจกใบปลิว ตำรวจสันติบาลและนครบาลก็เข้าจับกุมกลุ่มเรียกร้องรัฐธรรมนูญทันที โดยจับกุมได้ 11 คน ทั้งหมดถูกแจ้งข้อหา “มั่วสุมชักชวนให้มีการชุมนุมทางการเมืองเกินกว่า 5 คน” ตามประกาศคณะปฏิวัติฉบับที่ 4 โดยจับขังนักศึกษาทั้ง 11 คนนี้ไว้ที่โรงเรียนตำรวจนครบาลบางเขนและนำไปขังต่อที่เรือนจำกลางบางเขน จากนั้นจึงได้มีการประกาศจับ นายก้องเกียรติ คงคา นักศึกษามหาวิทยาลัยรามคำแหง และตามจับ นายไขแสง สุกใส อดีต ส.ส.จ.นครพนม เพิ่มขึ้นอีกในภายหลัง รวมทั้งหมดเป็น 13 คน ภายหลังได้เพิ่มข้อหาร้ายแรงว่า เป็นการกระทำอันเป็นคอมมิวนิสต์ และมีความผิดในลักษณะกบฏต่อราชอาณาจักร โดยห้ามเยี่ยม ห้ามประกันเด็ดขาด ซึ่งบุคคลทั้ง 13 นี้ ได้ถูกเรียกขานว่าเป็น 13 ขบถรัฐธรรมนูญ มีดังนี้
1. นายธีรยุทธ บุญมี อดีตเลขานุการ ศูนย์กลางนิสิตนักศึกษา แห่งประเทศไทย
2. นายบัณฑิต เฮงนิลรัตน์ นักศึกษาคณะศิลปศาสตร์ ปี4 มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
3. นายบุญส่ง ชโลธร นักศึกษาคณะนิติศาสตร์ ปี2 มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
4. นายวิสา คัญทัพ นักศึกษาคณะมนุษยศาสตร์ ปี3 มหาวิทยาลัยรามคำแหง
5. นายธัญญา ชุนชฎาธาร นักศึกษาคณะรัฐศาสตร์ ปี4 มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
6. นายปรีดี บุญซื่อ นักศึกษาคณะรัฐศาสตร์ ปี4 มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
7. นายทวี หมื่นนิกร อาจารย์คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
8. นายชัยวัฒน์ สุระวิชัย อดีตอาจารย์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย อดีตกรรมการบริหารศูนย์กลางนิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทย
9. นายนพพร สุวรรณพานิช นักหนังสือพิมพ์ "มหาราษฎร์"
10. นายมนตรี จึงศิริอารักษ์ นักศึกษาคณะนิติศาสตร์ ปี ๑ มหาวิทยาลัยรามคำแหง นักหนังสือพิมพ์สังคมศาสตร์ปริทัศน์
11. นายประพันธุ์ศักดิ์ กมลเพชร อดีตอาจารย์คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยและอดีตนักการเมืองแห่งขบวนการรัฐบุรุษ
จับเพิ่มภายหลัง
12. ก้องเกียรติ คงคา นักศึกษา คณะนิติศาสตร์ ปี ๓ มหาวิทยาลัยรามคำแหง
13. นายไขแสง สุกใส นักการเมือง (ขอเข้ามอบตัวจากหมายจับ) โดยกล่าวหาว่า นายไขแสงเป็นผู้ที่อยู่เบื้องหลังการแจกใบปลิวครั้งนี้ ซึ่งเหตุการณ์เหล่านี้สร้างความไม่พอใจให้เกิดขึ้นครั้งใหญ่แก่มวลนักศึกษา และประชาชนอย่างมาก จนนำไปสู่การชุมนุมใหญ่ที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ในวันที่ 8 ตุลาคม ซึ่งในขณะนั้นเป็นช่วงของการสอบกลางภาคด้วย แต่ทางองค์กรนักศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (อมธ.) ได้ประกาศและติดป้ายขนาดใหญ่ไว้ว่า งดสอบ
เวลา 15.00 น. ที่ประชุมกระทรวงมหาดไทย ครั้งที่ 28/2516 เรื่อง “การจับกุมกลุ่มบุคคลผู้เรียกร้องให้มีกฎหมายรัฐธรรมนูญ” จอมพลประภาส ประธานในที่ประชุม ชี้แจงว่า มีคอมมิวนิสต์จากต่างประเทศเข้ามาแทรกแซงการเคลื่อนไหวของนิสิตนักศึกษา และ “เชื่อว่านิสิตนักศึกษาจะสูญเสียไปราว 2 % จากจำนวนเป็นแสนคน จำต้องเสียสละเพื่อความอยู่รอดของบ้านเมือง”
วันที่ 9 ตุลาคม เหตุการณ์ นิสิตนักศึกษาหลายสถาบันเริ่มชุมนุม ด้านวิทยาลัยวิชาการศึกษาประสานมิตร (ต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็นมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ) นักศึกษาประมาณ 1,000 กว่าคน ที่มหาวิทยาลัยรามคำแหง นักศึกษาราว 2,000 คน ทางมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ “กลุ่มนักศึกษาผู้รักชาติ” ออกแถลงการณ์เรียกร้องรัฐธรรมนูญและโจมตีรัฐบาล มีการติดโปสเตอร์ว่า “เราจะพบกันที่กรุงเทพฯ” ส่วนที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สโมสรนิสิตจุฬาฯ ได้แถลงว่า จะร่วมต่อสู้กับองค์การนักศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ในวันที่ 12 ตุลาคม 2516 ซึ่งนิสิตส่วนใหญ่จะสอบเสร็จ นักศึกษาแพทย์ศาสตร์ศิริราชได้ข้ามแม่น้ำเจ้าพระยามาสมทบที่ธรรมศาสตร์ พร้อมกับมาตั้งหน่วยแพทย์
บ่ายวันเดียวกันสภานักศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ประชุมฉุกเฉิน มีมติให้ยื่นหนังสือถึงจอมพล ถนอมให้ปล่อย 13 กบฏ และประกาศประท้วงถึงที่สุด เวลา 20.00 น. สถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทยได้ออกแถลงการณ์ของรัฐบาลระบุว่า บุคคลทั้ง 13 คน ที่ถูกตำรวจจับกุมมีแผนล้มล้างรัฐบาล และเหตุผลในการจับกุมไม่ใช่เพราะเรียกร้องรัฐธรรมนูญ แต่จับกุมในฐานะที่มีการกระทำอันเป็นภัยต่อความสงบสุขของพี่น้องประชาชน โดยตลอดคืนที่บริเวณลานโพธิ์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ นักศึกษาประมาณหมื่นคนยังคงชุมนุมอยู่ท่ามกลางสายฝน เพื่อฟังการอภิปรายโจมตีรัฐบาล สลับกับชมการแสดงละครเสียดสีการเมือง จนเกือบเที่ยงคืนฝนตกหนักอากาศหนาว ผู้ชุมนุมจึงย้ายจากลานโพธิ์เข้าไปในหอประชุมใหญ่
วันที่ 10 ตุลาคม ตลอดทั้งวัน นักเรียน นักเรียนอาชีวะ นิสิต นักศึกษาในกรุงเทพฯ จากหลายสถาบันเริ่มทยอยกันมาชุมนุมที่ลานโพธิ์ แต่ละสถาบันได้ส่งตัวแทนขึ้นพูดอภิปราย ยืนยันหนักแน่นว่าจะหยุดเรียนจนกว่าจะต่อสู้สำเร็จ ขณะเดียวกัน อาจารย์จากหลายมหาวิทยาลัย เช่น ม. รามคำแหง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ก็ออกแถลงการณ์ โดยเห็นว่าการจับกุมและตั้งข้อหาร้ายแรงเกินกว่าความเป็นจริงเป็นการละเมิด สิทธิขั้นมูลฐานของประชาชน ทางด้านนักศึกษาในต่างจังหวัดก็มีการชุมนุมประท้วงรัฐบาลเช่นกัน เช่น ที่มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ จังหวัดปัตตานีและสงขลา วิทยาลัยครูนครราชสีมาและวิทยาลัยเทคนิคภาคตะวันออกเฉียงเหนือที่จังหวัด นครราชสีมา วิทยาลัยครูจังหวัดเชียงใหม่ วิทยาลัยวิชาการศึกษาบางแสนที่จังหวัดชลบุรี
14.00 พร้อมกันนั้น จอมพลถนอม กิตติขจร ได้เรียกประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) เป็นการฉุกเฉินที่ศูนย์ปฏิบัติการทหารบก (ศ.ป.ก.ท.บ.) สวนรื่นฤดี ซึ่งเป็นที่ตั้งของกองอำนวยการปราบปรามคอมมิวนิสต์ (ก.อ.ป.ค.) และกองบัญชาการทหารสำรอง ที่ประชุม ครม. มีมติแต่งตั้งให้จอมพลประภาส จารุเสถียร รองผู้บัญชาการทหารสูงสุด เป็นผู้อำนวยการกองอำนวยการรักษาความสงบ
ต่อมาองค์การนิสิตมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ได้ออกแถลงการณ์ว่า จะดำเนินการประท้วงร่วมกับศูนย์ฯ จนกว่าข้อเรียกร้องจะได้รับการปฏิบัติตาม สโมสรนักศึกษามหาวิทยาลัยมหิดลก็ออกแถลงการณ์ถึงมติของสโมสรฯ ว่าจะยืนหยัดต่อสู้ถึงที่สุด
ประวัติศาสตร์ 14 ตุลาคม 2516
“เหตุการณ์ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2516 หรือ วันมหาวิปโยค เป็นเหตุการณ์ที่นักศึกษาและประชาชนในประเทศไทย มากกว่า 5 แสนคน ได้รวมตัวกันเพื่อเรียกร้องรัฐธรรมนูญจากรัฐบาลเผด็จการ จอมพลถนอม กิตติขจร โดยในเหตุการณ์นี้มีรายงานผู้เสียชีวิต 77 ราย บาดเจ็บ 857 ราย และสูญหายอีกจำนวนมาก”
ก่อนเหตุการณ์ 14 ตุลาคม 2516 ประเทศไทยอยู่ภายใต้ความกดดันทางด้านสิทธิและเสรีภาพ เป็นเวลากว่า 16 ปีภายใต้ระบอบ สฤษดิ์-ถนอม-ประภาส โครงสร้างทางการเมืองแบบเผด็จการและระบบเจ้าขุนมูลนายแบบราชการดำรงอยู่ อย่างหยุดนิ่ง ในขณะที่โครงสร้างทางเศรษฐกิจและสังคมของไทยได้เปลี่ยนแปลงไปอย่างไพศาล การแผ่ขยายระบบอภิสิทธิ์ของกลุ่มข้าราชการ นักการเมือง และกลุ่มธุรกิจเพื่อกอบโกยผลประโยชน์ ก็ได้ก่อให้เกิดปัญหาความขัดแย้งทางเศรษฐกิจสังคมมากมาย เกิดช่องว่างระหว่างคนจนกับคนรวย ระหว่างชนบทกับเมือง ระหว่างภาคเกษตรกรรมกับภาคอุตสาหกรรม ส่งผลให้รัฐบาลเผด็จการเสื่อมถอยลงเรื่อย ๆ
เหตุการณ์เริ่มมาจากการที่จอมพลถนอม กิตติขจร ทำการรัฐประหารตัวเองในวันที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2514 โดยนักศึกษาและประชาชนมองว่าเป็นการสืบทอดอำนาจตนเองจาก จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ซึ่งในขณะนั้นจอมพลถนอมจะต้องเกษียณอายุราชการเนื่องจากอายุครบ 60 ปี อีกทั้ง จอมพลประภาส จารุเสถียร บุคคลสำคัญในรัฐบาล ก็มิได้รับการยอมรับเหมือนจอมพลถนอม แต่กลับต่ออายุราชการให้ตนเอง ประกอบกับข่าวคราวเรื่องทุจริตคอร์รัปชั่นในวงราชการต่าง ๆ สร้างความไม่พอใจอย่างมากแก่ประชาชน
29 เมษายน พ.ศ. 2516 เฮลิคอปเตอร์ทหารหมายเลข ทบ.6102 เกิดอุบัติเหตุตกที่ อ.บางเลน จ.นครปฐม มีดาราหญิงชื่อดังในขณะนั้นคือ เมตตา รุ่งรัตน์ โดยสารไปด้วย มีผู้เสียชีวิตทั้งหมด 6 คน ในซากเฮลิคอปเตอร์นั้นพบซากสัตว์เป็นจำนวนมาก ส่วนใหญ่เป็นซากกระทิง ที่ถูกล่ามาจากทุ่งใหญ่นเรศวรซึ่งเป็นพื้นที่ป่าสงวน สร้างกระแสไม่พอใจ และเกิดคำถามในหมู่นิสิตมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และประชาชนทั่วไปเป็นอย่างมาก แต่ก็ไม่ได้รับคำตอบที่กระจ่าง เพียงอ้างว่าไปสืบราชการลับเพื่ออารักขานายพล เนวิน จากพม่า
หลังจากนั้นปลายเดือนพฤษภาคมและต้นเดือนมิถุนายน นิสิตนักศึกษากลุ่มอนุรักษ์ธรรมชาติฯ 4 มหาวิทยาลัยได้ออกหนังสือชื่อ "บันทึกลับจากทุ่งใหญ่" เปิดโปงเกี่ยวกับกรณีนี้ ผลการตอบรับออกมาดีมาก จำหน่ายได้กว่า 200,000 เล่ม ใน 2 สัปดาห์ และถูกจนขยายผลโดยนักศึกษามหาวิทยาลัยรามคำแหงกลุ่มหนึ่งออกหนังสือชื่อ "มหาวิทยาลัยที่ไม่มีคำตอบ" เป็นผลให้ ดร.ศักดิ์ ผาสุขนิรันดร์ อธิการบดีฯ สั่งลบชื่อนักศึกษาแกนนำทั้ง 9 คนออก ซึ่งทำให้เกิดการประท้วงจนนำไปสู่การชุมนุมในวันที่ 21 และ 22 มิถุนายน ที่อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย
ในระยะแรก การชุมนุมเพียงต้องการให้มหาวิทยาลัยรามคำแหงรับนักศึกษาทั้ง 9 คนเข้าเป็นนักศึกษาดังเดิม และเรียกร้องให้อธิการบดีลาออก แต่ต่อมาได้มีการเรียกร้องให้รัฐบาลคืนอำนาจการปกครองแก่ประชาชน และ เรียกร้องให้ประกาศใช้รัฐธรรมนูญภายในหกเดือน จนอธิการบดีต้องยอมลาออกและมีการรับทั้ง 9 คนเข้าเรียนตามเดิมเท่านั้น ทำให้กลุ่มผู้นำของศูนย์กลางนิสิตนักศึกษาฯ ตลอดจนอาจารย์มหาวิทยาลัยและผู้สนใจ ร่วมกันก่อตั้ง “ กลุ่มเรียกร้องรัฐธรรมนูญ” ขึ้น นำทีมโดย นายธีรยุทธ บุญมี นายประสาร มฤคพิทักษ์ นายประพันธ์ศักดิ์ กมลเพชร นายธัญญา ชุนชฎาธาร และ ในวันศุกร์ที่ 5 ตุลาคม 2516 กลุ่มเรียกร้องรัฐธรรมนูญได้นัดสื่อมวลชน เพื่อแถลงข่าวเกี่ยวกับวัตถุประสงค์การดำเนินงานของกลุ่ม คือ
1. เรียกร้องให้รัฐบาลเร่งร่างรัฐธรรมนูญ และประกาศใช้โดยเร็วที่สุดด้วยสันติวิธี
2. ให้การศึกษาทางการเมืองเกี่ยวกับรัฐธรรมนูญตามระบอบ ประชาธิปไตยแก่ประชาชน
3. กระตุ้นเตือนให้ประชาชนเกิดความสำนึกและหวงแหนในสิทธิ เสรีภาพของมนุษยชน โดยดำเนินการอย่างเปิดเผย
และ เพื่อกระตุ้นให้ประชาชนเกิดความสำนึกและหวงแหนในสิทธิเสรีภาพของตน โดยจะใช้เวลาติดต่อกันสองเดือน ในการรณรงค์ และในระยะแรกจะแจกหนังสือและใบปลิวตามย่านชุมชนต่าง ๆ ตลอดเวลาสองวัน
"กลุ่ม เรียกร้องรัฐธรรมนูญ" ที่ประกอบด้วยสมาชิกจากบุคคลหลายสาขาอาชีพ ทั้งอดีตรัฐมนตรี อดีตสมาชิกสภาผู้แทน นักการเมือง ข้าราชการ นิสิต นักศึกษา นักหนังสือพิมพ์ นักร้อง ฯลฯ โดยบุคคลทั้งหมดนี้มีความเห็นตรงกันว่า ถึงเวลาแล้วที่ประเทศไทยควรจะปกครองด้วยระบอบประชาธิปไตยที่แท้จริงเสียที รัฐบาลจะต้องรีบดำเนินการมอบรัฐธรรมนูญ ให้ประชาชนผู้เป็นเจ้าของประเทศโดยเร็ว จึงได้รวบรวมผู้ที่มีความเห็นพ้องกันมาลงนามจำนวน 100 คน
ซึ่งก่อนหน้านั้น ในเดือนพฤศจิกายน 2514 ดร. ป๋วย อึ้งภากรณ์ ได้เขียนจดหมายฉบับประวัติศาสตร์ จากอังกฤษในนามของ เข้ม เย็นยิ่ง (ชื่อรหัสในขบวนการเสรีไทย) ส่งถึง ผู้ใหญ่บ้าน เข้ม เกียรติก้อง (หมายถึง จอมพล ถนอม กิตติขจร นายกฯในตอนนั้น) มีใจความเรียกร้องให้รัฐบาลจัดการให้มีรัฐธรรมนูญภายในปี 2515 หรืออย่างช้าข้ามมาปี 2516 อันเป็นการกระทำที่ท้าทายผู้มีอำนาจ จน จอมพลถนอม ต้องลาออกจากการเป็นคณะบดี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
วันที่ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2516 ในตอนเช้า สมาชิกของกลุ่มเรียกร้องรัฐธรรมนูญทั้งหญิงและชายประมาณ 20 คน นัดชุมนุมกันที่ลานอนุสาวรีย์ทหารอาสา และเริ่มเดินแจกใบปลิวเชิญชวนให้ประชาชนร่วมกันต่อเรียกร้องรัฐธรรมนูญ พร้อมทั้งแจกหนังสือ กลุ่มเรียกร้องรัฐธรรมนูญ ฉบับที่ 1 เรียกร้องให้รัฐบาลคืนอำนาจแก่ประชาชนด้วยการประกาศใช้รัฐธรรมนูญ โดยบนปกหลังของหนังสือมีรายชื่อของผู้เรียกร้องรัฐธรรมนูญ 100 คนด้วย กลุ่มเรียกร้องรัฐธรรมนูญกระจายกำลังออกเดินแจกใบปลิวและหนังสือกลุ่มเรียก ร้องรัฐธรรมนูญ จากบริเวณตลาดนัดสนามหลวง ริมคลองหลอด หน้ากรมประชาสัมพันธ์ ไปจนถึงตลาดบางลำภู ถนนสิบสามห้าง หลังจากนั้นก็รวมตัวกันมุ่งหน้าสู่ศูนย์การค้าปทุมวัน (สยามสแควร์)
จนเมื่อถึงประตูน้ำเวลาประมาณ 14.00 น. ขณะกำลังจะแยกย้ายกันแจกใบปลิว ตำรวจสันติบาลและนครบาลก็เข้าจับกุมกลุ่มเรียกร้องรัฐธรรมนูญทันที โดยจับกุมได้ 11 คน ทั้งหมดถูกแจ้งข้อหา “มั่วสุมชักชวนให้มีการชุมนุมทางการเมืองเกินกว่า 5 คน” ตามประกาศคณะปฏิวัติฉบับที่ 4 โดยจับขังนักศึกษาทั้ง 11 คนนี้ไว้ที่โรงเรียนตำรวจนครบาลบางเขนและนำไปขังต่อที่เรือนจำกลางบางเขน จากนั้นจึงได้มีการประกาศจับ นายก้องเกียรติ คงคา นักศึกษามหาวิทยาลัยรามคำแหง และตามจับ นายไขแสง สุกใส อดีต ส.ส.จ.นครพนม เพิ่มขึ้นอีกในภายหลัง รวมทั้งหมดเป็น 13 คน ภายหลังได้เพิ่มข้อหาร้ายแรงว่า เป็นการกระทำอันเป็นคอมมิวนิสต์ และมีความผิดในลักษณะกบฏต่อราชอาณาจักร โดยห้ามเยี่ยม ห้ามประกันเด็ดขาด ซึ่งบุคคลทั้ง 13 นี้ ได้ถูกเรียกขานว่าเป็น 13 ขบถรัฐธรรมนูญ มีดังนี้
1. นายธีรยุทธ บุญมี อดีตเลขานุการ ศูนย์กลางนิสิตนักศึกษา แห่งประเทศไทย
2. นายบัณฑิต เฮงนิลรัตน์ นักศึกษาคณะศิลปศาสตร์ ปี4 มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
3. นายบุญส่ง ชโลธร นักศึกษาคณะนิติศาสตร์ ปี2 มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
4. นายวิสา คัญทัพ นักศึกษาคณะมนุษยศาสตร์ ปี3 มหาวิทยาลัยรามคำแหง
5. นายธัญญา ชุนชฎาธาร นักศึกษาคณะรัฐศาสตร์ ปี4 มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
6. นายปรีดี บุญซื่อ นักศึกษาคณะรัฐศาสตร์ ปี4 มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
7. นายทวี หมื่นนิกร อาจารย์คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
8. นายชัยวัฒน์ สุระวิชัย อดีตอาจารย์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย อดีตกรรมการบริหารศูนย์กลางนิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทย
9. นายนพพร สุวรรณพานิช นักหนังสือพิมพ์ "มหาราษฎร์"
10. นายมนตรี จึงศิริอารักษ์ นักศึกษาคณะนิติศาสตร์ ปี ๑ มหาวิทยาลัยรามคำแหง นักหนังสือพิมพ์สังคมศาสตร์ปริทัศน์
11. นายประพันธุ์ศักดิ์ กมลเพชร อดีตอาจารย์คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยและอดีตนักการเมืองแห่งขบวนการรัฐบุรุษ
จับเพิ่มภายหลัง
12. ก้องเกียรติ คงคา นักศึกษา คณะนิติศาสตร์ ปี ๓ มหาวิทยาลัยรามคำแหง
13. นายไขแสง สุกใส นักการเมือง (ขอเข้ามอบตัวจากหมายจับ) โดยกล่าวหาว่า นายไขแสงเป็นผู้ที่อยู่เบื้องหลังการแจกใบปลิวครั้งนี้ ซึ่งเหตุการณ์เหล่านี้สร้างความไม่พอใจให้เกิดขึ้นครั้งใหญ่แก่มวลนักศึกษา และประชาชนอย่างมาก จนนำไปสู่การชุมนุมใหญ่ที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ในวันที่ 8 ตุลาคม ซึ่งในขณะนั้นเป็นช่วงของการสอบกลางภาคด้วย แต่ทางองค์กรนักศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (อมธ.) ได้ประกาศและติดป้ายขนาดใหญ่ไว้ว่า งดสอบ
เวลา 15.00 น. ที่ประชุมกระทรวงมหาดไทย ครั้งที่ 28/2516 เรื่อง “การจับกุมกลุ่มบุคคลผู้เรียกร้องให้มีกฎหมายรัฐธรรมนูญ” จอมพลประภาส ประธานในที่ประชุม ชี้แจงว่า มีคอมมิวนิสต์จากต่างประเทศเข้ามาแทรกแซงการเคลื่อนไหวของนิสิตนักศึกษา และ “เชื่อว่านิสิตนักศึกษาจะสูญเสียไปราว 2 % จากจำนวนเป็นแสนคน จำต้องเสียสละเพื่อความอยู่รอดของบ้านเมือง”
วันที่ 9 ตุลาคม เหตุการณ์ นิสิตนักศึกษาหลายสถาบันเริ่มชุมนุม ด้านวิทยาลัยวิชาการศึกษาประสานมิตร (ต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็นมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ) นักศึกษาประมาณ 1,000 กว่าคน ที่มหาวิทยาลัยรามคำแหง นักศึกษาราว 2,000 คน ทางมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ “กลุ่มนักศึกษาผู้รักชาติ” ออกแถลงการณ์เรียกร้องรัฐธรรมนูญและโจมตีรัฐบาล มีการติดโปสเตอร์ว่า “เราจะพบกันที่กรุงเทพฯ” ส่วนที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สโมสรนิสิตจุฬาฯ ได้แถลงว่า จะร่วมต่อสู้กับองค์การนักศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ในวันที่ 12 ตุลาคม 2516 ซึ่งนิสิตส่วนใหญ่จะสอบเสร็จ นักศึกษาแพทย์ศาสตร์ศิริราชได้ข้ามแม่น้ำเจ้าพระยามาสมทบที่ธรรมศาสตร์ พร้อมกับมาตั้งหน่วยแพทย์
บ่ายวันเดียวกันสภานักศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ประชุมฉุกเฉิน มีมติให้ยื่นหนังสือถึงจอมพล ถนอมให้ปล่อย 13 กบฏ และประกาศประท้วงถึงที่สุด เวลา 20.00 น. สถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทยได้ออกแถลงการณ์ของรัฐบาลระบุว่า บุคคลทั้ง 13 คน ที่ถูกตำรวจจับกุมมีแผนล้มล้างรัฐบาล และเหตุผลในการจับกุมไม่ใช่เพราะเรียกร้องรัฐธรรมนูญ แต่จับกุมในฐานะที่มีการกระทำอันเป็นภัยต่อความสงบสุขของพี่น้องประชาชน โดยตลอดคืนที่บริเวณลานโพธิ์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ นักศึกษาประมาณหมื่นคนยังคงชุมนุมอยู่ท่ามกลางสายฝน เพื่อฟังการอภิปรายโจมตีรัฐบาล สลับกับชมการแสดงละครเสียดสีการเมือง จนเกือบเที่ยงคืนฝนตกหนักอากาศหนาว ผู้ชุมนุมจึงย้ายจากลานโพธิ์เข้าไปในหอประชุมใหญ่
วันที่ 10 ตุลาคม ตลอดทั้งวัน นักเรียน นักเรียนอาชีวะ นิสิต นักศึกษาในกรุงเทพฯ จากหลายสถาบันเริ่มทยอยกันมาชุมนุมที่ลานโพธิ์ แต่ละสถาบันได้ส่งตัวแทนขึ้นพูดอภิปราย ยืนยันหนักแน่นว่าจะหยุดเรียนจนกว่าจะต่อสู้สำเร็จ ขณะเดียวกัน อาจารย์จากหลายมหาวิทยาลัย เช่น ม. รามคำแหง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ก็ออกแถลงการณ์ โดยเห็นว่าการจับกุมและตั้งข้อหาร้ายแรงเกินกว่าความเป็นจริงเป็นการละเมิด สิทธิขั้นมูลฐานของประชาชน ทางด้านนักศึกษาในต่างจังหวัดก็มีการชุมนุมประท้วงรัฐบาลเช่นกัน เช่น ที่มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ จังหวัดปัตตานีและสงขลา วิทยาลัยครูนครราชสีมาและวิทยาลัยเทคนิคภาคตะวันออกเฉียงเหนือที่จังหวัด นครราชสีมา วิทยาลัยครูจังหวัดเชียงใหม่ วิทยาลัยวิชาการศึกษาบางแสนที่จังหวัดชลบุรี
14.00 พร้อมกันนั้น จอมพลถนอม กิตติขจร ได้เรียกประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) เป็นการฉุกเฉินที่ศูนย์ปฏิบัติการทหารบก (ศ.ป.ก.ท.บ.) สวนรื่นฤดี ซึ่งเป็นที่ตั้งของกองอำนวยการปราบปรามคอมมิวนิสต์ (ก.อ.ป.ค.) และกองบัญชาการทหารสำรอง ที่ประชุม ครม. มีมติแต่งตั้งให้จอมพลประภาส จารุเสถียร รองผู้บัญชาการทหารสูงสุด เป็นผู้อำนวยการกองอำนวยการรักษาความสงบ
ต่อมาองค์การนิสิตมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ได้ออกแถลงการณ์ว่า จะดำเนินการประท้วงร่วมกับศูนย์ฯ จนกว่าข้อเรียกร้องจะได้รับการปฏิบัติตาม สโมสรนักศึกษามหาวิทยาลัยมหิดลก็ออกแถลงการณ์ถึงมติของสโมสรฯ ว่าจะยืนหยัดต่อสู้ถึงที่สุด