14 ตุลาคม 2516 คือชัยชนะของพลังจารีตนิยมไทย
Fri, 2013-10-11 14:49
พิชิต ลิขิตกิจสมบูรณ์
ในที่สุด การรำลึกเหตุการณ์ 14 ตุลาคม 2516 ก็ได้เวียนมาบรรจบครบรอบ 40 ปีในเดือนนี้
ในช่วง 20-30 ปีแรก ได้มีความพยายามที่จะลบเลือนเหตุการณ์ดังกล่าวแม้จะมีข้อเรียกร้องให้รื้อฟื้นความทรงจำและสร้างอนุสาวรีย์แก่ผู้ที่เสียชีวิต จนกระทั่งพรรคไทยรักไทยชนะเลือกตั้งในปี 2544 อดีตนักเคลื่อนไหว 14 ตุลาฯในพรรคไทยรักไทยและรัฐบาลขณะนั้นจึงสามารถผลักดันให้มีการเฉลิมฉลองวาระครบรอบ 30 ปี 14 ตุลาฯ ในปี 2546 อย่างยิ่งใหญ่โดยมีรัฐบาลเป็นเจ้าภาพ มีการบรรจุคำอธิบายเหตุการณ์ไว้ในตำราของกระทรวงศึกษาธิการ และสถาปนาอนุสรณ์สถานขึ้น ในเวลานั้น ดูเหมือนทุกฝ่ายจะมีฉันทามติตรงกันว่า การเคลื่อนไหว 14 ตุลาคม 2516 คือชัยชนะอันยิ่งใหญ่ครั้งแรก (และครั้งเดียว) ของพลังประชาธิปไตยของประเทศไทย
แต่ทว่า รัฐประหาร 19 กันยายน 2549 และความขัดแย้งทางการเมืองที่ยืดเยื้อถึงปัจจุบันได้ทำให้ “ฉันทามติ” ดังกล่าวสิ้นสุดลง ดังจะเห็นได้จากความเห็นที่แตกต่างกันระหว่างปัญญาชนเดือนตุลาฯที่อยู่ฝ่ายประชาธิปไตยกับมวลชนเสื้อแดงในการประเมินเหตุการณ์ 14 ตุลาคม 2516 แม้ปัญญาชนเดือนตุลาฯ ได้เพียรพยายามทั้งโดยการปราศรัยบนเวทีการชุมนุมของเสื้อแดง บนเวทีเสวนา กระทั่งในโรงเรียนการเมืองของแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) โดยพยายามที่จะนำเอาการเคลื่อนไหว 14 ตุลาคม 2516 มาเชื่อมต่อกับขบวนประชาธิปไตยเสื้อแดงในปัจจุบัน ด้วยการเชิดชูให้เป็นต้นแบบของขบวนประชาธิปไตยของประชาชน เป็นต้นธารของขบวนประชาธิปไตยเสื้อแดงในปัจจุบัน
แต่การตอบรับจากมวลชนคนเสื้อแดงจำนวนมากคือ ความเย็นชา กระทั่งปัญญาชนเดือนตุลาฯหลายคนปรารภด้วยความน้อยใจว่า คนเสื้อแดงไม่เอา 14 ตุลาคม 2516 บางคนอธิบายปฏิกิริยาดังกล่าวว่า เป็นเพราะอดีตผู้นำนิสิตนักศึกษา 14 ตุลา 2516 เกือบทั้งหมดปัจจุบันเป็นพวกนิยมกษัตริย์และสนับสนุนรัฐประหาร 19 กันยายน 2549 นัยหนึ่ง มองว่า คนเสื้อแดงสับสนปะปนกันระหว่างความไม่พอใจในตัวบุคคล (ที่รับใช้เผด็จการในปัจจุบัน) กับเหตุการณ์ 14 ตุลาคม 2516 (ซึ่งเป็นชัยชนะของประชาธิปไตย)
ความจริงคือ มวลชนคนเสื้อแดงจำนวนมากมีความเย็นชาต่อการรำลึกเหตุการณ์ 14 ตุลาฯ มิใช่เพียงแค่เพราะไม่พอใจอดีตผู้นำนิสิตนักศึกษา 14 ตุลาฯ หากแต่เพราะพวกเขามองปริบททางประวัติศาสตร์จากเหตุการณ์นั้นถึงปัจจุบันแล้วสรุปด้วยตัวเองว่า เหตุการณ์ 14 ตุลาคม 2516 เป็นการเคลื่อนไหวของขบวนการที่นิยมกษัตริย์
เราจะเข้าใจปริบทประวัติศาสตร์ของการเคลื่อนไหว 14 ตุลาคม 2516 จากแง่มุมของฝ่ายจารีตนิยมได้นั้น จะต้องเข้าใจปัญหาพื้นฐานประการหนึ่งของพวกจารีตนิยมนับแต่การปฏิวัติ 2475 เป็นต้นมา นั่นคือ ปัญหา “การจัดการกับกองทัพ” สาเหตุสำคัญประการหนึ่งของการปฏิวัติ 2475 ก็คือ รัฐบาลสมบูรณาญาสิทธิราชย์ล้มเหลวในการบริหารจัดการ “ความจงรักภักดีในกองทัพ” จนเป็นเหตุให้เกิดการก่อกบฏโดยทหารครั้งแรกเมื่อ รศ. 130 ตามมาด้วยการปฏิวัติ 2475 และนี่ได้กลายเป็นบทเรียนสำคัญที่พวกเขาจะไม่มีวันลืม
เมื่อกลุ่มจารีตนิยมร่วมมือกับสฤษดิ์ ธนะรัชต์โค่นล้มรัฐบาลจอมพล ป.พิบูลสงครามด้วยรัฐประหารปี 2500แทนที่ด้วยเผด็จการทหารเต็มรูปซึ่งก็คือ ระบอบขุนศึก กลุ่มจารีตนิยมก็อาศัยเผด็จการสฤษดิ์เร่งรื้อฟื้นจารีตและพระราชอำนาจของสถาบันพระมหากษัตริย์ขึ้นมาอย่างเป็นระบบ แต่ทว่า รัฐประหาร 17 พฤศจิกายน 2514 โดยกลุ่มถนอม-ประภาสที่ทำการรวบอำนาจไว้ในกลุ่มตระกูลของตนกลับได้ทำลายดุลความร่วมมือดังกล่าวลง รัฐประหารครั้งนี้ทำให้ประเด็น “การจัดการความจงรักภักดีในกองทัพ” กลายเป็นปัญหาขึ้นมาอีกครั้งหนึ่งเมื่อกลุ่มจารีตนิยมเห็นว่า เผด็จการถนอม-ประภาสอาจเป็นภัยต่อสถานะและอำนาจของตน วาระเฉพาะหน้าจึงเป็นการขจัดกลุ่มถนอม-ประภาสออกไป และหนทางหนึ่งก็คือ การสนับสนุนการเคลื่อนไหวของนิสิตนักศึกษาที่กำลังก่อตัวขึ้นในเวลานั้น
นิสิตนักศึกษาปัญญาชนที่เคลื่อนไหวต่อต้านเผด็จการถนอม-ประภาสในเวลานั้นประกอบด้วยผู้คนที่หลากหลาย ตั้งแต่ฝ่ายขวาที่เป็นกษัตริย์นิยมไปจนถึงพวกเสรีนิยมและพวกสังคมนิยม พวกเขามีจุดร่วมกันเพียงประการเดียวคือ ต่อต้านกลุ่มถนอม-ประภาส แต่แกนนำสำคัญของขบวนในเวลานั้นส่วนใหญ่เป็นพวกนิยมกษัตริย์ มีสัมพันธ์เกื้อหนุนส่วนบุคคลกับเครือข่ายจารีตนิยมมาตั้งแต่ต้น จนสิ้นสุดลงเมื่อกลุ่มสังคมนิยมสามารถเข้ายึดกุมการนำขบวนการนิสิตนักศึกษาไว้ได้ในต้นปี 2518
บทเรียนจากการปฏิวัติ 2475 และจากการต่อสู้กับกลุ่มจอมพลป.พิบูลสงคราม เป็นเครื่องเตือนใจว่า ความมั่นคงของสถาบันกษัตริย์ขึ้นอยู่กับการจัดการ “ความจงรักภักดีในหมู่กองทัพ” และถึงอย่างไรก็ไม่อาจไว้วางใจพวกขุนศึกทหารใหญ่ที่โลภโมโทสันและกระหายอำนาจได้ รัฐประหาร 17 พฤศจิกายน 2514 โดยกลุ่มถนอม-ประภาสเป็นการย้ำบทเรียนนี้อีกครั้ง การโค่นล้มกลุ่มถนอม-ประภาสในเหตุการณ์ 14 ตุลาคม 2516 จึงนับเป็นชัยชนะสำคัญครั้งแรกของกลุ่มจารีตนิยมในการจัดการกับขุนศึกในกองทัพ นี่เป็นครั้งแรกที่พวกเขาพยายาม “จัดการ” กับระบอบขุนศึก แปรเปลี่ยนกองทัพให้เป็น “ม้าในคอก” ที่ว่านอนสอนง่าย แต่พวกเขาก็ต้องใช้เวลานานถึง 7 ปีที่จะทำให้ชัยชนะเมื่อ 14 ตุลาคม 2516 มั่นคงเป็นจริง โดยในระหว่างทาง พวกเขายังต้องจัดการกับกฤษณ์ สีวะรา สังหารหมู่นิสิตนักศึกษา 6 ตุลาคม 2519 และโค่นล้มเกรียงศักดิ์ ชมะนันท์ กระทั่งประสบความสำเร็จในท้ายสุดเมื่อพลเอกเปรม ติณสูลานนท์ ผู้บัญชาการทหารบกขึ้นควบตำแหน่งนายกรัฐมนตรีในต้นปี 2523 แม้ภายหลังจะมีนายทหาร (เช่น อาทิตย์ กำลังเอก และกลุ่มสุจินดา คราประยูร) ที่พยายามตั้งต้นเป็นขุนศึกขึ้นมาอีก แต่ก็ไม่สำเร็จ
การเคลื่อนไหว 14 ตุลาคม 2516 โดยทิศทางประวัติศาสตร์จึงเป็นการเคลื่อนไหวต่อต้านระบอบขุนศึกและมุ่งสถาปนา “อำนาจครอบงำเด็ดขาด” ของกลุ่มจารีตนิยมเหนือกองทัพ ทิศทางของการเคลื่อนไหวนอกจากเรียกร้องรัฐธรรมนูญแล้วจึงเป็นการเสริมสร้างและขยายพระราชอำนาจของสถาบันพระมหากษัตริย์ การเคลื่อนไหว 14 ตุลาคม 2516 ถูกมองว่าเป็น “นิยมกษัตริย์” จากแง่มุมนี้ การเคลื่อนไหว 14 ตุลาคม 2516 จึงไม่อยู่ในกระแสธารของการปฏิวัติ 2475 และกระแสธารประชาธิปไตยของคณะราษฎร ในขณะที่ขบวนเสื้อแดงในปัจจุบันมองว่า ตนเองคือผู้สืบทอดอุดมการณ์ของคณะราษฎร และความขัดแย้งทางการเมืองปัจจุบันคือการต่อเนื่องของการปฏิวัติ 2475 ที่ยังไม่สิ้นสุดเด็ดขาด
แน่นอนว่า มุมมองนี้มิได้ลดคุณูปการของนิสิตนักศึกษาประชาชนที่เข้าร่วมการเคลื่อนไหว 14 ตุลาคม 2516 และคุณค่าของผู้ที่บาดเจ็บเสียชีวิตในครั้งนั้น พวกเขาเกลียดชังเผด็จการทหาร เรียกร้องรัฐธรรมนูญ และไม่หวั่นกลัวต่อการปราบปรามด้วยกำลังอาวุธในครั้งนั้น ซึ่งมีส่วนอย่างสำคัญให้เผด็จการถนอม-ประภาสต้องสิ้นสุดลง แต่ประวัติศาสตร์ก็ได้ให้บทเรียนแก่เราว่า ทิศทางการคลี่คลายขยายตัวของประวัติศาสตร์อาจไม่เป็นไปตามเจตจำนงส่วนตัวของบุคคลในเหตุการณ์นั้น ๆ เสมอไป
ในทางตรงข้าม มวลชนฝ่ายประชาธิปไตยกลับแสดงความสนใจและเจ็บแค้นต่อเหตุการณ์ 6 ตุลาคม 2519 มาตั้งแต่เกิดรัฐประหาร 19 กันยายน 2549 ใหม่ ๆ ความรู้สึกดังกล่าวแสดงออกเข้มข้นยิ่งขึ้นเมื่อมวลชนเหล่านี้ได้ขยายตัวและวิวัฒน์เป็นขบวนคนเสื้อแดงในปี 2551 ผ่านการสังหารหมู่เมื่อเมษายน-พฤษภาคม 2553 ถึงปัจจุบัน ปัญญาชนเดือนตุลาฯในขบวนคนเสื้อแดงก็อธิบายว่า นี่เป็นเพราะคนเสื้อแดงถูกกระทำอย่างอยุติธรรมและถูกปราบปรามเหมือน 6 ตุลาคม 2519 พวกเขาจึงมีอารมณ์ร่วมกับเหตุการณ์นี้มากกว่า
http://prachatai.com/journal/2013/10/49197?utm_source=feedburner&utm_medium=feed&utm_campaign=Feed%3A+prachatai+%28%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%8A%E0%B8%B2%E0%B9%84%E0%B8%97+Prachatai.com%29
หมายเหตุ: เผยแพร่ครั้งแรกใน “โลกวันนี้วันสุข”
11 ตุลาคม 2556
@@@ บทความ ยาวหน่อย เเต่น่าอ่าน 14 ตุลาคม2516 คือชัยชนะ ของ ??? @@@
Fri, 2013-10-11 14:49
พิชิต ลิขิตกิจสมบูรณ์
ในที่สุด การรำลึกเหตุการณ์ 14 ตุลาคม 2516 ก็ได้เวียนมาบรรจบครบรอบ 40 ปีในเดือนนี้
ในช่วง 20-30 ปีแรก ได้มีความพยายามที่จะลบเลือนเหตุการณ์ดังกล่าวแม้จะมีข้อเรียกร้องให้รื้อฟื้นความทรงจำและสร้างอนุสาวรีย์แก่ผู้ที่เสียชีวิต จนกระทั่งพรรคไทยรักไทยชนะเลือกตั้งในปี 2544 อดีตนักเคลื่อนไหว 14 ตุลาฯในพรรคไทยรักไทยและรัฐบาลขณะนั้นจึงสามารถผลักดันให้มีการเฉลิมฉลองวาระครบรอบ 30 ปี 14 ตุลาฯ ในปี 2546 อย่างยิ่งใหญ่โดยมีรัฐบาลเป็นเจ้าภาพ มีการบรรจุคำอธิบายเหตุการณ์ไว้ในตำราของกระทรวงศึกษาธิการ และสถาปนาอนุสรณ์สถานขึ้น ในเวลานั้น ดูเหมือนทุกฝ่ายจะมีฉันทามติตรงกันว่า การเคลื่อนไหว 14 ตุลาคม 2516 คือชัยชนะอันยิ่งใหญ่ครั้งแรก (และครั้งเดียว) ของพลังประชาธิปไตยของประเทศไทย
แต่ทว่า รัฐประหาร 19 กันยายน 2549 และความขัดแย้งทางการเมืองที่ยืดเยื้อถึงปัจจุบันได้ทำให้ “ฉันทามติ” ดังกล่าวสิ้นสุดลง ดังจะเห็นได้จากความเห็นที่แตกต่างกันระหว่างปัญญาชนเดือนตุลาฯที่อยู่ฝ่ายประชาธิปไตยกับมวลชนเสื้อแดงในการประเมินเหตุการณ์ 14 ตุลาคม 2516 แม้ปัญญาชนเดือนตุลาฯ ได้เพียรพยายามทั้งโดยการปราศรัยบนเวทีการชุมนุมของเสื้อแดง บนเวทีเสวนา กระทั่งในโรงเรียนการเมืองของแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) โดยพยายามที่จะนำเอาการเคลื่อนไหว 14 ตุลาคม 2516 มาเชื่อมต่อกับขบวนประชาธิปไตยเสื้อแดงในปัจจุบัน ด้วยการเชิดชูให้เป็นต้นแบบของขบวนประชาธิปไตยของประชาชน เป็นต้นธารของขบวนประชาธิปไตยเสื้อแดงในปัจจุบัน
แต่การตอบรับจากมวลชนคนเสื้อแดงจำนวนมากคือ ความเย็นชา กระทั่งปัญญาชนเดือนตุลาฯหลายคนปรารภด้วยความน้อยใจว่า คนเสื้อแดงไม่เอา 14 ตุลาคม 2516 บางคนอธิบายปฏิกิริยาดังกล่าวว่า เป็นเพราะอดีตผู้นำนิสิตนักศึกษา 14 ตุลา 2516 เกือบทั้งหมดปัจจุบันเป็นพวกนิยมกษัตริย์และสนับสนุนรัฐประหาร 19 กันยายน 2549 นัยหนึ่ง มองว่า คนเสื้อแดงสับสนปะปนกันระหว่างความไม่พอใจในตัวบุคคล (ที่รับใช้เผด็จการในปัจจุบัน) กับเหตุการณ์ 14 ตุลาคม 2516 (ซึ่งเป็นชัยชนะของประชาธิปไตย)
ความจริงคือ มวลชนคนเสื้อแดงจำนวนมากมีความเย็นชาต่อการรำลึกเหตุการณ์ 14 ตุลาฯ มิใช่เพียงแค่เพราะไม่พอใจอดีตผู้นำนิสิตนักศึกษา 14 ตุลาฯ หากแต่เพราะพวกเขามองปริบททางประวัติศาสตร์จากเหตุการณ์นั้นถึงปัจจุบันแล้วสรุปด้วยตัวเองว่า เหตุการณ์ 14 ตุลาคม 2516 เป็นการเคลื่อนไหวของขบวนการที่นิยมกษัตริย์
เราจะเข้าใจปริบทประวัติศาสตร์ของการเคลื่อนไหว 14 ตุลาคม 2516 จากแง่มุมของฝ่ายจารีตนิยมได้นั้น จะต้องเข้าใจปัญหาพื้นฐานประการหนึ่งของพวกจารีตนิยมนับแต่การปฏิวัติ 2475 เป็นต้นมา นั่นคือ ปัญหา “การจัดการกับกองทัพ” สาเหตุสำคัญประการหนึ่งของการปฏิวัติ 2475 ก็คือ รัฐบาลสมบูรณาญาสิทธิราชย์ล้มเหลวในการบริหารจัดการ “ความจงรักภักดีในกองทัพ” จนเป็นเหตุให้เกิดการก่อกบฏโดยทหารครั้งแรกเมื่อ รศ. 130 ตามมาด้วยการปฏิวัติ 2475 และนี่ได้กลายเป็นบทเรียนสำคัญที่พวกเขาจะไม่มีวันลืม
เมื่อกลุ่มจารีตนิยมร่วมมือกับสฤษดิ์ ธนะรัชต์โค่นล้มรัฐบาลจอมพล ป.พิบูลสงครามด้วยรัฐประหารปี 2500แทนที่ด้วยเผด็จการทหารเต็มรูปซึ่งก็คือ ระบอบขุนศึก กลุ่มจารีตนิยมก็อาศัยเผด็จการสฤษดิ์เร่งรื้อฟื้นจารีตและพระราชอำนาจของสถาบันพระมหากษัตริย์ขึ้นมาอย่างเป็นระบบ แต่ทว่า รัฐประหาร 17 พฤศจิกายน 2514 โดยกลุ่มถนอม-ประภาสที่ทำการรวบอำนาจไว้ในกลุ่มตระกูลของตนกลับได้ทำลายดุลความร่วมมือดังกล่าวลง รัฐประหารครั้งนี้ทำให้ประเด็น “การจัดการความจงรักภักดีในกองทัพ” กลายเป็นปัญหาขึ้นมาอีกครั้งหนึ่งเมื่อกลุ่มจารีตนิยมเห็นว่า เผด็จการถนอม-ประภาสอาจเป็นภัยต่อสถานะและอำนาจของตน วาระเฉพาะหน้าจึงเป็นการขจัดกลุ่มถนอม-ประภาสออกไป และหนทางหนึ่งก็คือ การสนับสนุนการเคลื่อนไหวของนิสิตนักศึกษาที่กำลังก่อตัวขึ้นในเวลานั้น
นิสิตนักศึกษาปัญญาชนที่เคลื่อนไหวต่อต้านเผด็จการถนอม-ประภาสในเวลานั้นประกอบด้วยผู้คนที่หลากหลาย ตั้งแต่ฝ่ายขวาที่เป็นกษัตริย์นิยมไปจนถึงพวกเสรีนิยมและพวกสังคมนิยม พวกเขามีจุดร่วมกันเพียงประการเดียวคือ ต่อต้านกลุ่มถนอม-ประภาส แต่แกนนำสำคัญของขบวนในเวลานั้นส่วนใหญ่เป็นพวกนิยมกษัตริย์ มีสัมพันธ์เกื้อหนุนส่วนบุคคลกับเครือข่ายจารีตนิยมมาตั้งแต่ต้น จนสิ้นสุดลงเมื่อกลุ่มสังคมนิยมสามารถเข้ายึดกุมการนำขบวนการนิสิตนักศึกษาไว้ได้ในต้นปี 2518
บทเรียนจากการปฏิวัติ 2475 และจากการต่อสู้กับกลุ่มจอมพลป.พิบูลสงคราม เป็นเครื่องเตือนใจว่า ความมั่นคงของสถาบันกษัตริย์ขึ้นอยู่กับการจัดการ “ความจงรักภักดีในหมู่กองทัพ” และถึงอย่างไรก็ไม่อาจไว้วางใจพวกขุนศึกทหารใหญ่ที่โลภโมโทสันและกระหายอำนาจได้ รัฐประหาร 17 พฤศจิกายน 2514 โดยกลุ่มถนอม-ประภาสเป็นการย้ำบทเรียนนี้อีกครั้ง การโค่นล้มกลุ่มถนอม-ประภาสในเหตุการณ์ 14 ตุลาคม 2516 จึงนับเป็นชัยชนะสำคัญครั้งแรกของกลุ่มจารีตนิยมในการจัดการกับขุนศึกในกองทัพ นี่เป็นครั้งแรกที่พวกเขาพยายาม “จัดการ” กับระบอบขุนศึก แปรเปลี่ยนกองทัพให้เป็น “ม้าในคอก” ที่ว่านอนสอนง่าย แต่พวกเขาก็ต้องใช้เวลานานถึง 7 ปีที่จะทำให้ชัยชนะเมื่อ 14 ตุลาคม 2516 มั่นคงเป็นจริง โดยในระหว่างทาง พวกเขายังต้องจัดการกับกฤษณ์ สีวะรา สังหารหมู่นิสิตนักศึกษา 6 ตุลาคม 2519 และโค่นล้มเกรียงศักดิ์ ชมะนันท์ กระทั่งประสบความสำเร็จในท้ายสุดเมื่อพลเอกเปรม ติณสูลานนท์ ผู้บัญชาการทหารบกขึ้นควบตำแหน่งนายกรัฐมนตรีในต้นปี 2523 แม้ภายหลังจะมีนายทหาร (เช่น อาทิตย์ กำลังเอก และกลุ่มสุจินดา คราประยูร) ที่พยายามตั้งต้นเป็นขุนศึกขึ้นมาอีก แต่ก็ไม่สำเร็จ
การเคลื่อนไหว 14 ตุลาคม 2516 โดยทิศทางประวัติศาสตร์จึงเป็นการเคลื่อนไหวต่อต้านระบอบขุนศึกและมุ่งสถาปนา “อำนาจครอบงำเด็ดขาด” ของกลุ่มจารีตนิยมเหนือกองทัพ ทิศทางของการเคลื่อนไหวนอกจากเรียกร้องรัฐธรรมนูญแล้วจึงเป็นการเสริมสร้างและขยายพระราชอำนาจของสถาบันพระมหากษัตริย์ การเคลื่อนไหว 14 ตุลาคม 2516 ถูกมองว่าเป็น “นิยมกษัตริย์” จากแง่มุมนี้ การเคลื่อนไหว 14 ตุลาคม 2516 จึงไม่อยู่ในกระแสธารของการปฏิวัติ 2475 และกระแสธารประชาธิปไตยของคณะราษฎร ในขณะที่ขบวนเสื้อแดงในปัจจุบันมองว่า ตนเองคือผู้สืบทอดอุดมการณ์ของคณะราษฎร และความขัดแย้งทางการเมืองปัจจุบันคือการต่อเนื่องของการปฏิวัติ 2475 ที่ยังไม่สิ้นสุดเด็ดขาด
แน่นอนว่า มุมมองนี้มิได้ลดคุณูปการของนิสิตนักศึกษาประชาชนที่เข้าร่วมการเคลื่อนไหว 14 ตุลาคม 2516 และคุณค่าของผู้ที่บาดเจ็บเสียชีวิตในครั้งนั้น พวกเขาเกลียดชังเผด็จการทหาร เรียกร้องรัฐธรรมนูญ และไม่หวั่นกลัวต่อการปราบปรามด้วยกำลังอาวุธในครั้งนั้น ซึ่งมีส่วนอย่างสำคัญให้เผด็จการถนอม-ประภาสต้องสิ้นสุดลง แต่ประวัติศาสตร์ก็ได้ให้บทเรียนแก่เราว่า ทิศทางการคลี่คลายขยายตัวของประวัติศาสตร์อาจไม่เป็นไปตามเจตจำนงส่วนตัวของบุคคลในเหตุการณ์นั้น ๆ เสมอไป
ในทางตรงข้าม มวลชนฝ่ายประชาธิปไตยกลับแสดงความสนใจและเจ็บแค้นต่อเหตุการณ์ 6 ตุลาคม 2519 มาตั้งแต่เกิดรัฐประหาร 19 กันยายน 2549 ใหม่ ๆ ความรู้สึกดังกล่าวแสดงออกเข้มข้นยิ่งขึ้นเมื่อมวลชนเหล่านี้ได้ขยายตัวและวิวัฒน์เป็นขบวนคนเสื้อแดงในปี 2551 ผ่านการสังหารหมู่เมื่อเมษายน-พฤษภาคม 2553 ถึงปัจจุบัน ปัญญาชนเดือนตุลาฯในขบวนคนเสื้อแดงก็อธิบายว่า นี่เป็นเพราะคนเสื้อแดงถูกกระทำอย่างอยุติธรรมและถูกปราบปรามเหมือน 6 ตุลาคม 2519 พวกเขาจึงมีอารมณ์ร่วมกับเหตุการณ์นี้มากกว่า
http://prachatai.com/journal/2013/10/49197?utm_source=feedburner&utm_medium=feed&utm_campaign=Feed%3A+prachatai+%28%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%8A%E0%B8%B2%E0%B9%84%E0%B8%97+Prachatai.com%29
หมายเหตุ: เผยแพร่ครั้งแรกใน “โลกวันนี้วันสุข”
11 ตุลาคม 2556