พนักงานบริษัทเอกชน รัฐวิสาหกิจ ข้าราชการ หน่วยงาน องค์กรต่างๆ ทุกแห่งจะมีกฏระเบียบ กติกา ต่างๆ
ของตนเอง ทั้งนี้เพื่อเป็นแนวทางในการประพฤติปฏิบัติของบุคลากรของตน ให้เป็นไปในแนวทางเดียวกัน
เพื่อความเป็นระเบียบเรียบร้อย และเป็นเครื่องสมัครสมานสามัคคีต่อกัน
พุทธศาสนาก็เช่นเดียวกัน...พระศาสดาได้ทรงบัญญัติ อาทิพรหมจาริกาสิกขา ...และ อภิสมาจาริกาสิกขา
เพื่อเป็นทั้ง ข้อห้าม และข้ออนุญาตให้พระภิกษุ สามเณรได้ประพฤติปฏิบัติตาม
ที่ใดมีมนุษย์ตั้งแต่สองคนขึ้นไป...ที่นั้นย่อมมีความขัดแย้งเกิดขึ้น
สังคมของฆราวาส และพระภิกษุสงฆ์ก็ไม่ต่างกันนัก
เพราะพระภิกษุสงฆ์ ซึ่งจัดเป็นสมมติสงฆ์นั้น ก็ยังเป็นพระเสขะบุคคล อันต้องศึกษาอยู่ต่อไปเข่นเดียวกับฆราวาส
บางคนที่ทำงานในองค์กรบางแห่ง อาจจะรู้สึกว่าองค์กรของตนเองมีกฏระเบียบมากมาย หยุมหยิมยิบย่อยไปหมด
อ่านดูแล้วเครียดตั้งแต่ยังไม่ได้เริ่มงานด้วยซ้ำ บางคนถึงกับเตรียมหางานใหม่เลยก็มี
ลองจินตนาการดูว่า...ในอดีตนานมาแล้ว...เมื่อเริ่มมีองค์กรเหล่านี้เกิดขึ้นใหม่ๆ ยังไม่มีกฏระเบียบใดๆแม้สักข้อหนึ่ง
ต่อมามีพนักงานคนหนึ่ง ทำสิ่งที่ไม่สมควรขึ้นมา...อันส่งผลด้านลบต่อองค์กร หรือการทำงานขององค์กรเกิดขึ้น
หลังจากนั้น...องค์กรแห่งนั้นจึงเริ่มออกกฏระเบียบข้อที่ ๑ ขึ้นมา
เมื่อเวลาผ่านไป...ก็มีเหตุการณ์ทำนองนี้เกิดขึ้นมาเรื่อยๆ...ทำให้มีกฏระเบียบเพิ่มจำนวนข้อมากขึ้นตามไปด้วย
พระวินัยก็เช่นเดียวกัน...
พระศาสดาทรงบัญญัติพระวินัยขึ้น...จากการที่มีพระสงฆ์สาวกประพฤติปฏิบัติในสิ่งที่ไม่สมควร
หรือสิ่งที่ชาวบ้านพากันติเตียน แล้วมาเข้าเฝ้าร้องเรียนต่อพระองค์
พระศาสดาไม่ได้ทรงบัญญัติสิกขาบทไว้ล่วงหน้าแต่อย่างใด
ต่อเมื่อเกิดเหตุการณ์ขึ้นแล้ว จึงทรงบัญญัติสิกขาบทตามหลัง...เรียกว่า " มูลบัญญัติ "
หากปรากฏภายหลังว่า สิกขาบทใดควรเพิ่มเติมแก้ไข...ก็เป็น " อนุบัญญัติ " ไป
องค์กรต่างๆก็เฉกเช่นเดียวกัน...
เหตุที่องค์กรต่างๆต้องเพิ่มกฏระเบียบใหม่ๆเข้าไป ก็เนื่องจากว่า
ไม่มีใครที่สามารถจะรู้ล่วงหน้าได้ว่าอะไรจะเกิดขึ้นในอนาคต
มักมีสิ่งที่นอกเหนือความคาดหมายเกิดขึ้นได้ตลอดเวลา
เช่น สถานการณ์โควิด - ๑๙ นี้ ก็ต้องเพิ่มข้อบังคับต่างๆขึ้นมาใหม่มากมาย เป็นต้น
แต่เหตุใดพระศาสดาซึ่งทรงสัพพัญญู สามารถทราบเหตุการณ์ล่วงหน้าได้ จึงไม่ทรงบัญญัติสิกขาบทไว้ล่วงหน้าเล่า ?
จะมีก็แต่ มหาปเทส ๔ ...ซึ่งให้เอาไว้ใช้เทียบเคียงเท่านั้น
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้ใส่ข้อความ
มหาปเทส 4 หมวดที่ 2 เฉพาะในทางพระวินัย (great authorities; principal references)
1. สิ่งใดไม่ได้ทรงห้ามไว้ว่าไม่ควร แต่เข้ากันกับสิ่งที่ไม่ควร (อกัปปิยะ) ขัดกับสิ่งที่ควร (กัปปิยะ) สิ่งนั้นไม่ควร
( Whatever has not been objected to as not allowable, if it fits in with what is not allowable
and goes against what is allowable, that is not allowable.)
2. สิ่งใดไม่ได้ทรงห้ามไว้ว่าไม่ควร แต่เข้ากันกับสิ่งที่ควร (กัปปิยะ) ขัดกับสิ่งที่ไม่ควร (อกัปปิยะ) สิ่งนั้นควร
(Whatever has not been objected to as not allowable, if it fits in with what is allowable
and goes against what is not allowable, that is allowable.)
3. สิ่งใดไม่ได้ทรงอนุญาตไว้ว่าควร แต่เข้ากันกับสิ่งที่ไม่ควร (อกัปปิยะ) ขัดกับสิ่งที่ควร (กัปปิยะ) สิ่งนั้นไม่ควร
(Whatever has not been permitted as allowable, if it fits in with what is not allowable
and goes against what is allowable, that is not allowable.)
4. สิ่งใดไม่ได้ทรงอนุญาตไว้ว่าควร แต่เข้ากันกับสิ่งที่ควร(กัปปิยะ) ขัดกับสิ่งที่ไม่ควร(อกัปปิยะ) สิ่งนั้นควร
(Whatever has not been permitted as allowable, of it fits in with what is allowable
and goes against what is not allowable, that is allowable.)
อ้างอิง : https://84000.org/tipitaka/dic/d_item.php?i=167
เมื่อไม่มีสิกขาบทที่ทรงบัญญัติไว้ล่วงหน้า
ทำให้บางเรื่องก็เป็นข้อถกเถียงกันไม่รู้จบรู้สิ้น
ทั้งในหมู่ฆราวาส และหมู่พระภิกษุสงฆ์ด้วยกันเอง
เช่น การใช้มือถือ สื่อโซเชียลต่างๆ การขับรถของพระสงฆ์ เป็นต้น
ฝ่ายที่เคร่งครัดในพระวินัย...ก็ไม่เห็นด้วยที่จะไปเสพ ไปบริโภค
ฝ่ายที่อาจไม่เคร่งครัดนัก และอาจเสพ อาจบริโภคในสิ่งเหล่านั้นอยู่
ก็มีแนวโน้มที่จะตีความตามหลักมหาปเทส ๔ เอื้อประโยชน์แก่ตนได้
เหล่านี้...อาจมีสาเหตุมาจากการที่ทั้งฆราวาส และพระภิกษุสงฆ์เอง บางคน บางรูป
ไม่รอบรู้แตกฉานในพระวินัยมากพอก็ได้
การที่ไม่ทรงบัญญัติสิกขาบทไว้ล่วงหน้า ก่อนที่เหตุการณ์จะเกิดขึ้น...
ทำให้บางคนอาจครหาได้ว่า...พระองค์ไม่ใช่สัพพัญญู
ยกตัวอย่างเช่น ยาเสพติดชนิดต่างๆในปัจจุบัน การใช้มือถือ หรือ คอมพิวเตอร์ เป็นต้น
ซึ่งในสมัยพุทธกาล ยังไม่มีสิ่งเหล่านี้เกิดขึ้น
หากทรงบัญญัติสิกขาบทไว้ล่วงหน้า ก่อนที่เหตุการณ์จะเกิดขึ้น...
ก็ไม่พ้นทำให้บางคนอาจครหาได้ว่า...พระองค์ไม่ใช่สัพพัญญู ได้เช่นเดียวกัน
เพราะยังไม่มีพระภิกษุกระทำความเสียหายให้เห็นเป็นตัวอย่าง
ยกตัวอย่างเช่น ในอนาคตต่อไปข้างหน้า อาจจะมีเหตุการณ์ใหม่ๆเกิดขึ้นมา
ถึงจะมีพระบัญญัติไว้ ก็อาจจะไม่เข้าใจกันอยู่ดี เพราะไม่รู้ว่าคืออะไร
หากทรงบัญญัติสิกขาบทมากมายป้องกันไว้ล่วงหน้า...
ก็คงมีสิกขาบทในพระวินัยมากมาย จนยากที่จะหาผู้มาบวชได้ เพราะถือพระวินัยกันไม่ไหว
ส่งผลให้อายุของพระพุทธศาสนาไม่ยืนยาว...
ท่านคิดว่ามีความนัยอย่างอื่นหรือไม่ อย่างไร ...
เหตุใด...พระพุทธเจ้าจึงไม่ทรงบัญญัติสิกขาบทไว้ล่วงหน้าทั้งหมดในพระวินัย ?
ของตนเอง ทั้งนี้เพื่อเป็นแนวทางในการประพฤติปฏิบัติของบุคลากรของตน ให้เป็นไปในแนวทางเดียวกัน
เพื่อความเป็นระเบียบเรียบร้อย และเป็นเครื่องสมัครสมานสามัคคีต่อกัน
พุทธศาสนาก็เช่นเดียวกัน...พระศาสดาได้ทรงบัญญัติ อาทิพรหมจาริกาสิกขา ...และ อภิสมาจาริกาสิกขา
เพื่อเป็นทั้ง ข้อห้าม และข้ออนุญาตให้พระภิกษุ สามเณรได้ประพฤติปฏิบัติตาม
ที่ใดมีมนุษย์ตั้งแต่สองคนขึ้นไป...ที่นั้นย่อมมีความขัดแย้งเกิดขึ้น
สังคมของฆราวาส และพระภิกษุสงฆ์ก็ไม่ต่างกันนัก
เพราะพระภิกษุสงฆ์ ซึ่งจัดเป็นสมมติสงฆ์นั้น ก็ยังเป็นพระเสขะบุคคล อันต้องศึกษาอยู่ต่อไปเข่นเดียวกับฆราวาส
บางคนที่ทำงานในองค์กรบางแห่ง อาจจะรู้สึกว่าองค์กรของตนเองมีกฏระเบียบมากมาย หยุมหยิมยิบย่อยไปหมด
อ่านดูแล้วเครียดตั้งแต่ยังไม่ได้เริ่มงานด้วยซ้ำ บางคนถึงกับเตรียมหางานใหม่เลยก็มี
ลองจินตนาการดูว่า...ในอดีตนานมาแล้ว...เมื่อเริ่มมีองค์กรเหล่านี้เกิดขึ้นใหม่ๆ ยังไม่มีกฏระเบียบใดๆแม้สักข้อหนึ่ง
ต่อมามีพนักงานคนหนึ่ง ทำสิ่งที่ไม่สมควรขึ้นมา...อันส่งผลด้านลบต่อองค์กร หรือการทำงานขององค์กรเกิดขึ้น
หลังจากนั้น...องค์กรแห่งนั้นจึงเริ่มออกกฏระเบียบข้อที่ ๑ ขึ้นมา
เมื่อเวลาผ่านไป...ก็มีเหตุการณ์ทำนองนี้เกิดขึ้นมาเรื่อยๆ...ทำให้มีกฏระเบียบเพิ่มจำนวนข้อมากขึ้นตามไปด้วย
พระวินัยก็เช่นเดียวกัน...
พระศาสดาทรงบัญญัติพระวินัยขึ้น...จากการที่มีพระสงฆ์สาวกประพฤติปฏิบัติในสิ่งที่ไม่สมควร
หรือสิ่งที่ชาวบ้านพากันติเตียน แล้วมาเข้าเฝ้าร้องเรียนต่อพระองค์
พระศาสดาไม่ได้ทรงบัญญัติสิกขาบทไว้ล่วงหน้าแต่อย่างใด
ต่อเมื่อเกิดเหตุการณ์ขึ้นแล้ว จึงทรงบัญญัติสิกขาบทตามหลัง...เรียกว่า " มูลบัญญัติ "
หากปรากฏภายหลังว่า สิกขาบทใดควรเพิ่มเติมแก้ไข...ก็เป็น " อนุบัญญัติ " ไป
องค์กรต่างๆก็เฉกเช่นเดียวกัน...
เหตุที่องค์กรต่างๆต้องเพิ่มกฏระเบียบใหม่ๆเข้าไป ก็เนื่องจากว่า
ไม่มีใครที่สามารถจะรู้ล่วงหน้าได้ว่าอะไรจะเกิดขึ้นในอนาคต
มักมีสิ่งที่นอกเหนือความคาดหมายเกิดขึ้นได้ตลอดเวลา
เช่น สถานการณ์โควิด - ๑๙ นี้ ก็ต้องเพิ่มข้อบังคับต่างๆขึ้นมาใหม่มากมาย เป็นต้น
แต่เหตุใดพระศาสดาซึ่งทรงสัพพัญญู สามารถทราบเหตุการณ์ล่วงหน้าได้ จึงไม่ทรงบัญญัติสิกขาบทไว้ล่วงหน้าเล่า ?
จะมีก็แต่ มหาปเทส ๔ ...ซึ่งให้เอาไว้ใช้เทียบเคียงเท่านั้น
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
เมื่อไม่มีสิกขาบทที่ทรงบัญญัติไว้ล่วงหน้า
ทำให้บางเรื่องก็เป็นข้อถกเถียงกันไม่รู้จบรู้สิ้น
ทั้งในหมู่ฆราวาส และหมู่พระภิกษุสงฆ์ด้วยกันเอง
เช่น การใช้มือถือ สื่อโซเชียลต่างๆ การขับรถของพระสงฆ์ เป็นต้น
ฝ่ายที่เคร่งครัดในพระวินัย...ก็ไม่เห็นด้วยที่จะไปเสพ ไปบริโภค
ฝ่ายที่อาจไม่เคร่งครัดนัก และอาจเสพ อาจบริโภคในสิ่งเหล่านั้นอยู่
ก็มีแนวโน้มที่จะตีความตามหลักมหาปเทส ๔ เอื้อประโยชน์แก่ตนได้
เหล่านี้...อาจมีสาเหตุมาจากการที่ทั้งฆราวาส และพระภิกษุสงฆ์เอง บางคน บางรูป
ไม่รอบรู้แตกฉานในพระวินัยมากพอก็ได้
การที่ไม่ทรงบัญญัติสิกขาบทไว้ล่วงหน้า ก่อนที่เหตุการณ์จะเกิดขึ้น...
ทำให้บางคนอาจครหาได้ว่า...พระองค์ไม่ใช่สัพพัญญู
ยกตัวอย่างเช่น ยาเสพติดชนิดต่างๆในปัจจุบัน การใช้มือถือ หรือ คอมพิวเตอร์ เป็นต้น
ซึ่งในสมัยพุทธกาล ยังไม่มีสิ่งเหล่านี้เกิดขึ้น
หากทรงบัญญัติสิกขาบทไว้ล่วงหน้า ก่อนที่เหตุการณ์จะเกิดขึ้น...
ก็ไม่พ้นทำให้บางคนอาจครหาได้ว่า...พระองค์ไม่ใช่สัพพัญญู ได้เช่นเดียวกัน
เพราะยังไม่มีพระภิกษุกระทำความเสียหายให้เห็นเป็นตัวอย่าง
ยกตัวอย่างเช่น ในอนาคตต่อไปข้างหน้า อาจจะมีเหตุการณ์ใหม่ๆเกิดขึ้นมา
ถึงจะมีพระบัญญัติไว้ ก็อาจจะไม่เข้าใจกันอยู่ดี เพราะไม่รู้ว่าคืออะไร
หากทรงบัญญัติสิกขาบทมากมายป้องกันไว้ล่วงหน้า...
ก็คงมีสิกขาบทในพระวินัยมากมาย จนยากที่จะหาผู้มาบวชได้ เพราะถือพระวินัยกันไม่ไหว
ส่งผลให้อายุของพระพุทธศาสนาไม่ยืนยาว...
ท่านคิดว่ามีความนัยอย่างอื่นหรือไม่ อย่างไร ...