เหตุที่เกิด
ผู้เขียนได้ฟังคลิปบรรยายแสดงความเห็นเกี่ยวกับการอุปสมบทภิกษุณี บรรยายโดยโดยภิกษุรูปหนึ่งปรากฎบนเฟสบุ๊คชื่อ Wat Pan Ken ดังที่ปรากฏในลิงค์ที่แนบมาด้วยนี้ ผู้เขียนได้ฟังแล้วก็เกิดความเคลือบแคลงหลายประการ ซึ่งจะได้นำมาเขียนวิเคราะห์ต่อไป
ผู้เผยแพร่คลิปท่านตั้งค่าเป็นสาธารณะ ทุกคนสามารถเข้าถึงข้อมูลนี้ได้
การวิพากษ์วิจารณ์ที่ผู้เขียนวิพากษ์เกี่ยวกับกับข้อมูลพระพุทธศาสนาในครั้งนี้
อยู่บนพื้นฐานที่ประชาชนคนไทยทุกคนมีสิทธิที่สามารถนำมาวิพากษ์วิจารณ์ได้ ตามกฎหมายรัฐธรรมนูญ ๒๕๖๐ มาตรา ๓๔
บทนำ (ของผู้เขียน)
การอุปสมบทภิกษุณีในครั้งพุทธกาล พระพุทธเจ้าทรงอนุญาตการอุปสมบทและมีพระบัญญัติ
ลำดับขั้นตอนการอุปสมบทเริ่มประมาณพรรษาที่ ๕ ภิกษุณีรูปแรกคือนางมหาปชาบดี โดยการยอมรับครุธรรม ๘ ประการที่ได้พูดยอมรับต่อหน้าพระอานนท์ ปรากฏข้อความในพระไตรปิฎก
พระบัญญัติการอุปสมบทมีการปรับเปลี่ยนไปตามที่พระพุทธเจ้าทรงบัญญัติ
สรุปมีลำดับการบวช วิธีการบวชที่เปลี่ยนแปลงไปตามที่พระพุทธเจ้าทรงบัญญัติไว้ คือ
๑.การอุปสมบทของนางมหาปชาบดีโดยการยอมรับครุธรรม ๘ ภิกษุณีรูปแรกในพระพุทธศาสนาเถรวาท พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
“อานนท์ ในเวลาที่พระนางมหาปชาบดีโคตมีรับครุธรรม ๘ ก็ชื่อว่าได้อุปสมบทแล้ว”
๒. การอุปสมบทของภิกษุณีรูปอื่นในเวลาที่ใกล้เคียงกับนางมหาปชาบดี ภิกษุณีรูปอื่นอุปสมบทโดยพระภิกษุเถระ ปรากฏหลักฐานคือ
ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคทรงแสดงธรรมีกถาเพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ รับสั่งกับภิกษุทั้งหลายว่า
ภควตา ปญฺญตฺตํ ภิกฺขูหิ ภิกฺขุนิโย อุปสมฺปาเทตพฺพาติ ฯ
“ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ภิกษุทั้งหลายอุปสมบทภิกษุณีทั้งหลาย” (มจร.๗/๔๐๔/๓๒๑)
นี่คือการอุปสมบทภิกษุณีครั้งแรก ๆ มีการอุปสมบทจากภิกษุสงฆ์ฝ่ายเดียวซึ่งเป็นพุทธานุญาตของพระพุทธเจ้า
๓. การอุปสมบทโดยภิกษุทั้ง ๒ ฝ่ายคือฝ่ายภิกษุณีสงฆ์และพระภิกษุสงฆ์ ปฏิบัติตามตามครุธรรม ๘
๔. การอุปสมบทโดยภิกษุ ๒ ฝ่าย โดยให้ผ่านการอุปสมบทจากภิกษุณีมาก่อน
โดยมีการสอบถามอันตรายิกธรรมของผู้ที่จะอุปสมบทเป็นภิกษุณี ฯ
ผ่านการอุปสมบทจากภิกษุณีมาก่อน แล้วหลังจากนั้นจึงอุปสมบทโดยภิกษุสงฆ์ ดังมีพระบัญญัติว่า
.
อนุชานามิ ภิกฺขเว เอกโตอุปสมฺปนฺนาย ภิกฺขุนีสงฺเฆ วิสุทฺธาย ภิกฺขุสงฺเฆ อุปสมฺปาเทตุนฺติ
“ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้สตรีอุปสัมปทาเปกขาผู้อุปสมบทแล้วในสงฆ์ฝ่ายเดียว บริสุทธิ์ในภิกษุณีสงฆ์แล้ว ไปอุปสมบทในฝ่ายภิกษุสงฆ์ได้” (มจร.๗/๔๒๓/๓๔๖)
ข้อสังเกต หลังจากที่มีพระบัญญัติลำดับที่ ๔ แล้ว (ที่ผู้เขียนลำดับไว้)
ไม่มีตัวอย่างในครั้งพุทธกาลว่า มีการอุปสมบทภิกษุณีโดยรับครุธรรม ๘
นั่นคือการอุปสมบทโดยรับครุธรรม ๘ ก็มีเพียงนางมหาปชาบดีเพียงรูปเดียว
และไม่มีตัวอย่างการอุปสมบทจากภิกษุสงฆ์ฝ่ายเดียว นั่นคือ มีหลักฐานการอนุญาตให้อุปสมบทโดยภิกษุสงฆ์เพียงครั้งเดียวดังที่ผู้เขียนได้ยกตัวอย่างมาในลำดับที่ ๒ ต่อจากนั้นจึงอุปสมบทโดยภิกษุ ๒ ฝ่าย และต่อมาหลังจากที่มีพระบัญญัติตามลำดับที่ ๔ การอุปสมบทภิกษุณีในพระพุทธศาสนา (เถรวาท) ก็ถือเอา ปฏิบัติตามพระบัญญัตินี้สืบต่อกันมา
.
หลักฐานที่แสดงไว้ว่าภิกษุณีเถรวาทได้ขาดสูญไปแล้ว แม้ในประเทศศรีลังกาก็ไม่มีภิกษุณีเถรวาทเหลืออยู่
.
การบัญญัติพระวินัย สิกขาบท เป็นพระปัญญาเฉพาะของพระพุทธเจ้า ดังที่ได้แสดงไว้กับพระสารีบุตรว่า
“[๒๑] ลำดับนั้น ท่านพระสารีบุตรลุกขึ้นห่มผ้าเฉวียงบ่าประนมมือไปทางพระผู้มีพระภาค กราบทูลว่า “ถึงเวลาแล้วพระพุทธเจ้าข้า ที่พระผู้มีพระภาคจะทรงบัญญัติสิกขาบท ทรงยกปาติโมกข์ขึ้นแสดงแก่พระสาวกอันจะเป็นเหตุให้พรหมจรรย์ดำรงอยู่ได้ยืนนาน”
“จงรอไปก่อนเถิดสารีบุตร ตถาคตรู้เวลาในเรื่องที่จะบัญญัติสิกขาบทนั้นศาสดาจะยังไม่บัญญัติสิกขาบทแก่สาวก ไม่ยกปาติโมกข์ขึ้นแสดง ตลอดเวลาที่ยังไม่เกิดอาสวัฏฐานิยธรรม๑- บางอย่างในสงฆ์ เมื่อเกิดอาสวัฏฐานิยธรรมบางอย่างในสงฆ์ ตถาคตจึงจะบัญญัติสิกขาบท จะยกปาติโมกข์ขึ้นแสดงแก่สาวก เพื่อขจัดธรรมเหล่านั้น” (มจร วิ.มหา.๑/๒๑/๑๓)
**
เหตุการณ์ในเวรัญชกัณฑ์นี้เกิดขึ้นประมาณพรรษาที่ ๑๒
การอุปสมบทของภิกษุณีครั้งแรกเกิดขึ้นประมาณพรรษาที่ ๕ มีพระบัญญัติเรื่องการอุปสมบทภิกษุณี
นั่นคือ เมื่อครั้งพรรษาที่ ๕ ยังไม่มีคำว่าสิกขาบท
**
ผู้เขียนเรียบเรียงให้เห็นความแตกต่างระหว่างคำว่าสิกขาบทและพระวินัย กล่าวคือ
สิกขาบท ต้องนำขึ้นแสดงในวันอุโบสถ
ส่วน พระวินัยบัญญัติทั่วไป ว่าด้วยระเบียบวิธี การปฏิบัติอื่น ๆ ของพระภิกษุ ภิกษุณี ไม่ต้องนำขึ้นสวดในวันอุโบสถ
**
ความแตกต่างที่ผู้เขียนนำมาแสดงให้เห็นนี้เพื่อให้เข้าใจว่าวิธีการอุปสมบทของพระภิกษุและภิกษุณีไม่เรียกว่าสิกขาบทแต่คือพระวินัยบัญญัติ
**
การบัญญัติสิกขาบทและพระวินัยนั้น ในบางพระบัญญัติมีการผ่อนปรน บางพระบัญญัติมีความเข้มงวดยิ่งขึ้น
เมื่อครั้งปฐมสังคายนา ปรากฏหลักฐานพระอรหันต์เถระ ๕๐๐ รูป ร่วมกันสังคายนา(สวดพร้อมกันเพื่อสอบทานความถูกต้องพร้อมกัน)
เห็นพ้องต้องกันไม่ตัดไม่ลดสิกขาบท ไม่บัญญัตใหม่ รวมถึงพระวินัยบัญญัติต่าง ๆ ก็ยังคงนำมาปฏิบัติสืบต่อกันมา
**
คราวใดที่มีภิกษุบางรูป หรือ หมู่ภิกษุสงฆ์ (รวมถึงภิกษุณี) ไม่ยอมรับพระวินัย ไม่ยอมรับสิกขาบท
ก็มีการแยกกลุ่มออกไป เป็นนานาสังวาสทำสังฆกรรมร่วมกันไม่ได้ เป็นที่ทราบกันแน่ชัดว่าปัจจุบันมีหลายนิกาย
**
ผู้เขียน เขียนบทนำไว้พอสังเขปเพื่อที่จะได้ทำความเข้าใจเกี่ยวกับการอุปสมบทภิกษุณี
---
ต่อไป ผู้เขียนจะนำเสนอเรื่อง(เหตุที่เกิด) เพื่อที่จะนำมาวิเคราะห์
ภาพคลิปจากเฟสบุ๊ค
https://www.facebook.com/wattana.panadipo/posts/pfbid0DJbJRtibj5yZRsUqLGJjChCuu5tsM6Z7FKmByyNmD4WbYxovSat4BntTJEYRKRbKl
**
วันที่ 28 กันยายน 2566 เวลา 22: 44 น.
การอธิบายของพระภิกษุ Wat Pan Ken
ถามว่าทุกวันนี้ยังมีภิกษุณีได้ไหม ตอบว่าได้
เหมือนกับจำพรรษารูปเดียว รับกฐินได้นั่นแหละ
โดยถูกพระวินัยด้วย ก็คือ
1.ไปตั้งญัตติ ยกเลิกญัตติทุติยกรรมวาจาที่ พระมหากัสสปะทำเอาไว้
ที่ว่าจะไม่เพิกถอนที่พระพุทธเจ้าบัญญัติไว้ และก็ไม่บัญญัตสิกขาบทอันใหม่ ไปยกเลิกอันนั้น
เพราะว่าตอนนั้นท่านให้เหตุผลว่า กลัวว่าโยม คฤหัสถ์ในยุคนั้นจะเสื่อมศรัทธา
ดังนั้นเราต้องทำญัตติ ทุติยกรรมวาจาในยุคนั้นก่อน อ่า ยกเลิกญัตตินั้นก่อน
(2) เสร็จแล้วก็สร้างญัตติใหม่
ญัตติ ทุติยกรรมวาจา ประชุมสงฆ์ อ่า 4 รูป หรือ 100 รูป หรือมากกว่า 500 รูปก็ได้
ตั้งญัตติใหม่ว่า ต่อไปนี้
เมื่อ มีมาตุคามอยากจะบวช ให้บวชจากภิกษุสงฆ์ก่อน 20 รูป 15 รูป ก็ว่าไป
เมื่อบวชแล้วเมื่อครบจำนวน ถ้าภิกษุณี อ่าถ้ามาตุคามอยากจะบวชภิกษุณี
ก็ให้บวชจากสงฆ์ 2 ฝ่าย ทำญัตติใหม่
แค่นี้ ก็มีภิกษุณีสงฆ์แล้ว ถูกต้องตามพระวินัยด้วย
ที่มา :
https://www.facebook.com/reel/1474406366462646
-----------
ต่อมาเมื่อวันที่ 29 กันยายน 2566
ได้เขียนแสดงไว้ ในเฟสบุ๊ค #วินิจฉัยการบวชภิกษุณี (ตอน 2)
https://www.facebook.com/wattana.panadipo/posts/pfbid09PDg3MCRuANwRkMBJaaTu3SjVias3C7LN49fvBX39nsrwSeSww6wwT4set4wVWUzl
คำสำคัญ
“ในเรื่องนี้ ผู้เขียนก็ได้ให้ความเห็นว่า สามารถแก้ไขกฎเกณฑ์นี้ได้ ด้วยการประชุมพระสงฆ์ และสวดถอนญัตติทุติยกรรม ที่พระมหากัสสปะทำไว้เมื่อคราวสังคายนาครั้งที่ ๑ ว่าจะไม่บัญญัติ หรือไม่ถอนสิกขาบท เมื่อถอนญัตติ ข้อตกลงนั้นแล้ว ก็สร้างญัตติใหม่ขึ้น ให้บวชภิกษุณีได้จากภิกษุสงฆ์ และเมื่อมีจำนวนมากพอ ก็จึงให้บวชจากสงฆ์สองฝ่าย
วิธีการนี้ เป็นวิธีการที่ชอบด้วยพระธรรมวินัย เมื่อระบบถูกล๊อคด้วยพระวินัยก็ต้องแก้ไขด้วยพระวินัยจึงจะถูกต้องชอบธรรม”
****
1 ตุลาคม 2566 เวลา 12.02 น ได้เขียนแสดงความคิดเห็นเพิ่มเติมลงในเฟสบุ๊ค
การบวชภิกษุณี (ตอน ๓)
https://www.facebook.com/wattana.panadipo/posts/pfbid02FQMtDszFGaNoTELRkGbADeWC8FmKVHj6CE57c5WLf6CooewBDn3VdmNvaknexn7fl
สองครั้งที่แล้ว ได้พูดถึงวิธีการบวชเป็นภิกษุณีโดยถูกต้องตามพระวินัยในปัจจุบัน ผู้เขียนมีวิธีบวชภิกษุณี 4 วิธี กล่าวไปแล้วสอง ต่อไปนี้ จะกล่าวถึงวิธีที่ 3 ซึ่งเป็นวิธีที่ไม่ซับซ้อน ปฏิบัติได้ทันที Anytime anywhere
เพื่อความเข้าใจหลักการนี้ ขอสมมติเรื่องเพื่อประกอบการตัดสินใจ ดังนี้
(ข้อความที่เขียนมากเกินกำหนดของพันทิป จึงนำมาลงในนี้ไม่ได้ให้อ่านเรื่องสมมติจากลิงค์ที่นำมาอ้างอิง)
อ้างอิง
https://www.facebook.com/saibanmuong/posts/pfbid02Ka9kKMLAqbwTmV9UYdhhmjaVWdXF5pC8mafoJjCnfWbhrWX1ZzKxD3Vqb4TVmGoxl
********
*****
คำถาม ชวนวิเคราะห์
๑ เมื่อครั้งปฐมสังคายนา พระอรหันต์ ๕๐๐ รูป มีมติร่วมกันรักษา พระวินัยบัญญัติ ไม่เพิกถอน จึงเรียกว่า เถรวาท ครั้นต่อมาถึงสมัยนี้ท่านเจ้าของเฟสบุ๊คนามว่า Wat Pan Ken ได้แนะนำให้สงฆ์ทำมติสวดยกเลิกมติของพระอรหันต์ ๕๐๐ รูปนั้น เพื่อตอบสนองความต้องการอุปสมบทให้กับมาตุคามเป็นภิกษุณี (เถรวาท)
ควรหรือไม่ ที่จะทำเช่นนี้
ข้อสังเกตคือ ถ้าทำเช่นนี้ได้ ในอนาคตก็จะมีมติสวดยกเลิกวินัยบัญญัติ สิกขาบทบัญญัติอื่น ๆ ได้ไม่มีที่สิ้นสุด
โดยยกอ้างพุทธานุญาตว่า ‘อานนท์ เมื่อเราล่วงไปสงฆ์หวังอยู่ก็พึงถอนสิกขาบทเล็กน้อยได้”
อ้างพระพุทธพจน์นี้ แล้วภิกษุปุถุชนก็พากันสวดยกเลิก ???!!!
***
การทำยกเลิกมติของพระอรหันต์ ๕๐๐ รูป แล้วตั้งมติขึ้มาใหม่ ก็จะเข้าข่ายทำสังฆเภทหรือไม่ ?
นั่นคือ ภิกษุฝ่ายเดิมที่รักษาการปฏิบัติแบบเถรวาทท่านไม่ยอมรับ นำไปสู่นานาสังวาส การทำเช่นนี้ ควรเรียกว่า ภิกษุเถรวาทหรือไม่?
เราอาจได้ภิกษุณีนิกายใหม่ชื่อว่า นิกาย Wat Pan Ken หรือไม่ ?
๒. ถ้ามีการยอมรับมติดังที่ ท่าน Wat Pan Ken นำเสนอ แล้วอนุญาตให้อุปสมบทภิกษุณีโดยภิกษุฝ่ายเดียว อ้างว่าสมัยพระพุทธเจ้าทำ ในครั้งนั้นเป็นพุทธานุญาต ครั้งต้นพุทธกาล(สันนิษฐาว่ามีครั้งแรกครั้งเดียว) และต่อมาก็ไม่ปรากฏหลักฐานการอุปสมบทโดยภิกษุฝ่ายเดียว พระบัญญัติข้อนี้พิจารณาว่าคือข้อที่เข้มงวด (มิใช่การผ่อนปรน) จึงไม่สามารถที่จะกลับไปใช้วิธีการอุปสมบทโดยสงฆ์ฝ่ายเดียวได้อีก
**
มีข้อเคลือบแคลงสงสัยว่า
การที่ภิกษุ "ปุถุชน" แนะนำให้ยกเลิกมติพระอรหันต์ ๕๐๐ รูป (ตามที่เขียนไว้ในเฟสบุ๊ค) นั้น
๑. เป็นไปตามพระธรรมวินัยในพระพุทธศาสนาเถรวาทหรือไม่ ?
๒ ทำเพื่อรักษาเอื้อเฟื้อพระธรรมวินัยจริงหรือ ?
๓ แนะนำไปเพื่อเห็นแก่มาตุคามหรือไม่ ?
๔ แนะนำไปเพื่อเห็นแก่ลาภปัจจัยอื่น ๆ ที่จะตามมาหรือไม่ ?
๕ การแนะนำเช่นนี้ ในอนาคตจะเกิดความวุ่นวาย หรือความสงบ กับพระพุทธศาสนาเถรวาท
ขอเชิญสมาชิกวิเคราะห์โดยอิงอรรถอิงธรรม อิงวินัย อิงหลักฐาน
ภิกษุWat Pan Kenแนะนำให้ยกเลิกมติของพระอรหันต์ ๕๐๐ รูปเมื่อครั้งปฐมสังคายนาเพื่ออุปสมบทภิกษุณีแนะนำเช่นนี้เหมาะสมหรือไม่
ผู้เขียนได้ฟังคลิปบรรยายแสดงความเห็นเกี่ยวกับการอุปสมบทภิกษุณี บรรยายโดยโดยภิกษุรูปหนึ่งปรากฎบนเฟสบุ๊คชื่อ Wat Pan Ken ดังที่ปรากฏในลิงค์ที่แนบมาด้วยนี้ ผู้เขียนได้ฟังแล้วก็เกิดความเคลือบแคลงหลายประการ ซึ่งจะได้นำมาเขียนวิเคราะห์ต่อไป
ผู้เผยแพร่คลิปท่านตั้งค่าเป็นสาธารณะ ทุกคนสามารถเข้าถึงข้อมูลนี้ได้
การวิพากษ์วิจารณ์ที่ผู้เขียนวิพากษ์เกี่ยวกับกับข้อมูลพระพุทธศาสนาในครั้งนี้
อยู่บนพื้นฐานที่ประชาชนคนไทยทุกคนมีสิทธิที่สามารถนำมาวิพากษ์วิจารณ์ได้ ตามกฎหมายรัฐธรรมนูญ ๒๕๖๐ มาตรา ๓๔
บทนำ (ของผู้เขียน)
การอุปสมบทภิกษุณีในครั้งพุทธกาล พระพุทธเจ้าทรงอนุญาตการอุปสมบทและมีพระบัญญัติ
ลำดับขั้นตอนการอุปสมบทเริ่มประมาณพรรษาที่ ๕ ภิกษุณีรูปแรกคือนางมหาปชาบดี โดยการยอมรับครุธรรม ๘ ประการที่ได้พูดยอมรับต่อหน้าพระอานนท์ ปรากฏข้อความในพระไตรปิฎก
พระบัญญัติการอุปสมบทมีการปรับเปลี่ยนไปตามที่พระพุทธเจ้าทรงบัญญัติ
สรุปมีลำดับการบวช วิธีการบวชที่เปลี่ยนแปลงไปตามที่พระพุทธเจ้าทรงบัญญัติไว้ คือ
๑.การอุปสมบทของนางมหาปชาบดีโดยการยอมรับครุธรรม ๘ ภิกษุณีรูปแรกในพระพุทธศาสนาเถรวาท พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
“อานนท์ ในเวลาที่พระนางมหาปชาบดีโคตมีรับครุธรรม ๘ ก็ชื่อว่าได้อุปสมบทแล้ว”
๒. การอุปสมบทของภิกษุณีรูปอื่นในเวลาที่ใกล้เคียงกับนางมหาปชาบดี ภิกษุณีรูปอื่นอุปสมบทโดยพระภิกษุเถระ ปรากฏหลักฐานคือ
ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคทรงแสดงธรรมีกถาเพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ รับสั่งกับภิกษุทั้งหลายว่า
ภควตา ปญฺญตฺตํ ภิกฺขูหิ ภิกฺขุนิโย อุปสมฺปาเทตพฺพาติ ฯ
“ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ภิกษุทั้งหลายอุปสมบทภิกษุณีทั้งหลาย” (มจร.๗/๔๐๔/๓๒๑)
นี่คือการอุปสมบทภิกษุณีครั้งแรก ๆ มีการอุปสมบทจากภิกษุสงฆ์ฝ่ายเดียวซึ่งเป็นพุทธานุญาตของพระพุทธเจ้า
๓. การอุปสมบทโดยภิกษุทั้ง ๒ ฝ่ายคือฝ่ายภิกษุณีสงฆ์และพระภิกษุสงฆ์ ปฏิบัติตามตามครุธรรม ๘
๔. การอุปสมบทโดยภิกษุ ๒ ฝ่าย โดยให้ผ่านการอุปสมบทจากภิกษุณีมาก่อน
โดยมีการสอบถามอันตรายิกธรรมของผู้ที่จะอุปสมบทเป็นภิกษุณี ฯ
ผ่านการอุปสมบทจากภิกษุณีมาก่อน แล้วหลังจากนั้นจึงอุปสมบทโดยภิกษุสงฆ์ ดังมีพระบัญญัติว่า
.
อนุชานามิ ภิกฺขเว เอกโตอุปสมฺปนฺนาย ภิกฺขุนีสงฺเฆ วิสุทฺธาย ภิกฺขุสงฺเฆ อุปสมฺปาเทตุนฺติ
“ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้สตรีอุปสัมปทาเปกขาผู้อุปสมบทแล้วในสงฆ์ฝ่ายเดียว บริสุทธิ์ในภิกษุณีสงฆ์แล้ว ไปอุปสมบทในฝ่ายภิกษุสงฆ์ได้” (มจร.๗/๔๒๓/๓๔๖)
ข้อสังเกต หลังจากที่มีพระบัญญัติลำดับที่ ๔ แล้ว (ที่ผู้เขียนลำดับไว้)
ไม่มีตัวอย่างในครั้งพุทธกาลว่า มีการอุปสมบทภิกษุณีโดยรับครุธรรม ๘
นั่นคือการอุปสมบทโดยรับครุธรรม ๘ ก็มีเพียงนางมหาปชาบดีเพียงรูปเดียว
และไม่มีตัวอย่างการอุปสมบทจากภิกษุสงฆ์ฝ่ายเดียว นั่นคือ มีหลักฐานการอนุญาตให้อุปสมบทโดยภิกษุสงฆ์เพียงครั้งเดียวดังที่ผู้เขียนได้ยกตัวอย่างมาในลำดับที่ ๒ ต่อจากนั้นจึงอุปสมบทโดยภิกษุ ๒ ฝ่าย และต่อมาหลังจากที่มีพระบัญญัติตามลำดับที่ ๔ การอุปสมบทภิกษุณีในพระพุทธศาสนา (เถรวาท) ก็ถือเอา ปฏิบัติตามพระบัญญัตินี้สืบต่อกันมา
.
หลักฐานที่แสดงไว้ว่าภิกษุณีเถรวาทได้ขาดสูญไปแล้ว แม้ในประเทศศรีลังกาก็ไม่มีภิกษุณีเถรวาทเหลืออยู่
.
การบัญญัติพระวินัย สิกขาบท เป็นพระปัญญาเฉพาะของพระพุทธเจ้า ดังที่ได้แสดงไว้กับพระสารีบุตรว่า
“[๒๑] ลำดับนั้น ท่านพระสารีบุตรลุกขึ้นห่มผ้าเฉวียงบ่าประนมมือไปทางพระผู้มีพระภาค กราบทูลว่า “ถึงเวลาแล้วพระพุทธเจ้าข้า ที่พระผู้มีพระภาคจะทรงบัญญัติสิกขาบท ทรงยกปาติโมกข์ขึ้นแสดงแก่พระสาวกอันจะเป็นเหตุให้พรหมจรรย์ดำรงอยู่ได้ยืนนาน”
“จงรอไปก่อนเถิดสารีบุตร ตถาคตรู้เวลาในเรื่องที่จะบัญญัติสิกขาบทนั้นศาสดาจะยังไม่บัญญัติสิกขาบทแก่สาวก ไม่ยกปาติโมกข์ขึ้นแสดง ตลอดเวลาที่ยังไม่เกิดอาสวัฏฐานิยธรรม๑- บางอย่างในสงฆ์ เมื่อเกิดอาสวัฏฐานิยธรรมบางอย่างในสงฆ์ ตถาคตจึงจะบัญญัติสิกขาบท จะยกปาติโมกข์ขึ้นแสดงแก่สาวก เพื่อขจัดธรรมเหล่านั้น” (มจร วิ.มหา.๑/๒๑/๑๓)
**
เหตุการณ์ในเวรัญชกัณฑ์นี้เกิดขึ้นประมาณพรรษาที่ ๑๒
การอุปสมบทของภิกษุณีครั้งแรกเกิดขึ้นประมาณพรรษาที่ ๕ มีพระบัญญัติเรื่องการอุปสมบทภิกษุณี
นั่นคือ เมื่อครั้งพรรษาที่ ๕ ยังไม่มีคำว่าสิกขาบท
**
ผู้เขียนเรียบเรียงให้เห็นความแตกต่างระหว่างคำว่าสิกขาบทและพระวินัย กล่าวคือ
สิกขาบท ต้องนำขึ้นแสดงในวันอุโบสถ
ส่วน พระวินัยบัญญัติทั่วไป ว่าด้วยระเบียบวิธี การปฏิบัติอื่น ๆ ของพระภิกษุ ภิกษุณี ไม่ต้องนำขึ้นสวดในวันอุโบสถ
**
ความแตกต่างที่ผู้เขียนนำมาแสดงให้เห็นนี้เพื่อให้เข้าใจว่าวิธีการอุปสมบทของพระภิกษุและภิกษุณีไม่เรียกว่าสิกขาบทแต่คือพระวินัยบัญญัติ
**
การบัญญัติสิกขาบทและพระวินัยนั้น ในบางพระบัญญัติมีการผ่อนปรน บางพระบัญญัติมีความเข้มงวดยิ่งขึ้น
เมื่อครั้งปฐมสังคายนา ปรากฏหลักฐานพระอรหันต์เถระ ๕๐๐ รูป ร่วมกันสังคายนา(สวดพร้อมกันเพื่อสอบทานความถูกต้องพร้อมกัน)
เห็นพ้องต้องกันไม่ตัดไม่ลดสิกขาบท ไม่บัญญัตใหม่ รวมถึงพระวินัยบัญญัติต่าง ๆ ก็ยังคงนำมาปฏิบัติสืบต่อกันมา
**
คราวใดที่มีภิกษุบางรูป หรือ หมู่ภิกษุสงฆ์ (รวมถึงภิกษุณี) ไม่ยอมรับพระวินัย ไม่ยอมรับสิกขาบท
ก็มีการแยกกลุ่มออกไป เป็นนานาสังวาสทำสังฆกรรมร่วมกันไม่ได้ เป็นที่ทราบกันแน่ชัดว่าปัจจุบันมีหลายนิกาย
**
ผู้เขียน เขียนบทนำไว้พอสังเขปเพื่อที่จะได้ทำความเข้าใจเกี่ยวกับการอุปสมบทภิกษุณี
---
ต่อไป ผู้เขียนจะนำเสนอเรื่อง(เหตุที่เกิด) เพื่อที่จะนำมาวิเคราะห์
ภาพคลิปจากเฟสบุ๊ค
https://www.facebook.com/wattana.panadipo/posts/pfbid0DJbJRtibj5yZRsUqLGJjChCuu5tsM6Z7FKmByyNmD4WbYxovSat4BntTJEYRKRbKl
**
วันที่ 28 กันยายน 2566 เวลา 22: 44 น.
การอธิบายของพระภิกษุ Wat Pan Ken
ถามว่าทุกวันนี้ยังมีภิกษุณีได้ไหม ตอบว่าได้
เหมือนกับจำพรรษารูปเดียว รับกฐินได้นั่นแหละ
โดยถูกพระวินัยด้วย ก็คือ
1.ไปตั้งญัตติ ยกเลิกญัตติทุติยกรรมวาจาที่ พระมหากัสสปะทำเอาไว้
ที่ว่าจะไม่เพิกถอนที่พระพุทธเจ้าบัญญัติไว้ และก็ไม่บัญญัตสิกขาบทอันใหม่ ไปยกเลิกอันนั้น
เพราะว่าตอนนั้นท่านให้เหตุผลว่า กลัวว่าโยม คฤหัสถ์ในยุคนั้นจะเสื่อมศรัทธา
ดังนั้นเราต้องทำญัตติ ทุติยกรรมวาจาในยุคนั้นก่อน อ่า ยกเลิกญัตตินั้นก่อน
(2) เสร็จแล้วก็สร้างญัตติใหม่
ญัตติ ทุติยกรรมวาจา ประชุมสงฆ์ อ่า 4 รูป หรือ 100 รูป หรือมากกว่า 500 รูปก็ได้
ตั้งญัตติใหม่ว่า ต่อไปนี้
เมื่อ มีมาตุคามอยากจะบวช ให้บวชจากภิกษุสงฆ์ก่อน 20 รูป 15 รูป ก็ว่าไป
เมื่อบวชแล้วเมื่อครบจำนวน ถ้าภิกษุณี อ่าถ้ามาตุคามอยากจะบวชภิกษุณี
ก็ให้บวชจากสงฆ์ 2 ฝ่าย ทำญัตติใหม่
แค่นี้ ก็มีภิกษุณีสงฆ์แล้ว ถูกต้องตามพระวินัยด้วย
ที่มา : https://www.facebook.com/reel/1474406366462646
-----------
ต่อมาเมื่อวันที่ 29 กันยายน 2566
ได้เขียนแสดงไว้ ในเฟสบุ๊ค #วินิจฉัยการบวชภิกษุณี (ตอน 2)
https://www.facebook.com/wattana.panadipo/posts/pfbid09PDg3MCRuANwRkMBJaaTu3SjVias3C7LN49fvBX39nsrwSeSww6wwT4set4wVWUzl
คำสำคัญ
“ในเรื่องนี้ ผู้เขียนก็ได้ให้ความเห็นว่า สามารถแก้ไขกฎเกณฑ์นี้ได้ ด้วยการประชุมพระสงฆ์ และสวดถอนญัตติทุติยกรรม ที่พระมหากัสสปะทำไว้เมื่อคราวสังคายนาครั้งที่ ๑ ว่าจะไม่บัญญัติ หรือไม่ถอนสิกขาบท เมื่อถอนญัตติ ข้อตกลงนั้นแล้ว ก็สร้างญัตติใหม่ขึ้น ให้บวชภิกษุณีได้จากภิกษุสงฆ์ และเมื่อมีจำนวนมากพอ ก็จึงให้บวชจากสงฆ์สองฝ่าย
วิธีการนี้ เป็นวิธีการที่ชอบด้วยพระธรรมวินัย เมื่อระบบถูกล๊อคด้วยพระวินัยก็ต้องแก้ไขด้วยพระวินัยจึงจะถูกต้องชอบธรรม”
****
1 ตุลาคม 2566 เวลา 12.02 น ได้เขียนแสดงความคิดเห็นเพิ่มเติมลงในเฟสบุ๊ค
การบวชภิกษุณี (ตอน ๓)
https://www.facebook.com/wattana.panadipo/posts/pfbid02FQMtDszFGaNoTELRkGbADeWC8FmKVHj6CE57c5WLf6CooewBDn3VdmNvaknexn7fl
สองครั้งที่แล้ว ได้พูดถึงวิธีการบวชเป็นภิกษุณีโดยถูกต้องตามพระวินัยในปัจจุบัน ผู้เขียนมีวิธีบวชภิกษุณี 4 วิธี กล่าวไปแล้วสอง ต่อไปนี้ จะกล่าวถึงวิธีที่ 3 ซึ่งเป็นวิธีที่ไม่ซับซ้อน ปฏิบัติได้ทันที Anytime anywhere
เพื่อความเข้าใจหลักการนี้ ขอสมมติเรื่องเพื่อประกอบการตัดสินใจ ดังนี้
(ข้อความที่เขียนมากเกินกำหนดของพันทิป จึงนำมาลงในนี้ไม่ได้ให้อ่านเรื่องสมมติจากลิงค์ที่นำมาอ้างอิง)
อ้างอิง https://www.facebook.com/saibanmuong/posts/pfbid02Ka9kKMLAqbwTmV9UYdhhmjaVWdXF5pC8mafoJjCnfWbhrWX1ZzKxD3Vqb4TVmGoxl
********
*****
คำถาม ชวนวิเคราะห์
๑ เมื่อครั้งปฐมสังคายนา พระอรหันต์ ๕๐๐ รูป มีมติร่วมกันรักษา พระวินัยบัญญัติ ไม่เพิกถอน จึงเรียกว่า เถรวาท ครั้นต่อมาถึงสมัยนี้ท่านเจ้าของเฟสบุ๊คนามว่า Wat Pan Ken ได้แนะนำให้สงฆ์ทำมติสวดยกเลิกมติของพระอรหันต์ ๕๐๐ รูปนั้น เพื่อตอบสนองความต้องการอุปสมบทให้กับมาตุคามเป็นภิกษุณี (เถรวาท)
ควรหรือไม่ ที่จะทำเช่นนี้
ข้อสังเกตคือ ถ้าทำเช่นนี้ได้ ในอนาคตก็จะมีมติสวดยกเลิกวินัยบัญญัติ สิกขาบทบัญญัติอื่น ๆ ได้ไม่มีที่สิ้นสุด
โดยยกอ้างพุทธานุญาตว่า ‘อานนท์ เมื่อเราล่วงไปสงฆ์หวังอยู่ก็พึงถอนสิกขาบทเล็กน้อยได้”
อ้างพระพุทธพจน์นี้ แล้วภิกษุปุถุชนก็พากันสวดยกเลิก ???!!!
***
การทำยกเลิกมติของพระอรหันต์ ๕๐๐ รูป แล้วตั้งมติขึ้มาใหม่ ก็จะเข้าข่ายทำสังฆเภทหรือไม่ ?
นั่นคือ ภิกษุฝ่ายเดิมที่รักษาการปฏิบัติแบบเถรวาทท่านไม่ยอมรับ นำไปสู่นานาสังวาส การทำเช่นนี้ ควรเรียกว่า ภิกษุเถรวาทหรือไม่?
เราอาจได้ภิกษุณีนิกายใหม่ชื่อว่า นิกาย Wat Pan Ken หรือไม่ ?
๒. ถ้ามีการยอมรับมติดังที่ ท่าน Wat Pan Ken นำเสนอ แล้วอนุญาตให้อุปสมบทภิกษุณีโดยภิกษุฝ่ายเดียว อ้างว่าสมัยพระพุทธเจ้าทำ ในครั้งนั้นเป็นพุทธานุญาต ครั้งต้นพุทธกาล(สันนิษฐาว่ามีครั้งแรกครั้งเดียว) และต่อมาก็ไม่ปรากฏหลักฐานการอุปสมบทโดยภิกษุฝ่ายเดียว พระบัญญัติข้อนี้พิจารณาว่าคือข้อที่เข้มงวด (มิใช่การผ่อนปรน) จึงไม่สามารถที่จะกลับไปใช้วิธีการอุปสมบทโดยสงฆ์ฝ่ายเดียวได้อีก
**
มีข้อเคลือบแคลงสงสัยว่า
การที่ภิกษุ "ปุถุชน" แนะนำให้ยกเลิกมติพระอรหันต์ ๕๐๐ รูป (ตามที่เขียนไว้ในเฟสบุ๊ค) นั้น
๑. เป็นไปตามพระธรรมวินัยในพระพุทธศาสนาเถรวาทหรือไม่ ?
๒ ทำเพื่อรักษาเอื้อเฟื้อพระธรรมวินัยจริงหรือ ?
๓ แนะนำไปเพื่อเห็นแก่มาตุคามหรือไม่ ?
๔ แนะนำไปเพื่อเห็นแก่ลาภปัจจัยอื่น ๆ ที่จะตามมาหรือไม่ ?
๕ การแนะนำเช่นนี้ ในอนาคตจะเกิดความวุ่นวาย หรือความสงบ กับพระพุทธศาสนาเถรวาท
ขอเชิญสมาชิกวิเคราะห์โดยอิงอรรถอิงธรรม อิงวินัย อิงหลักฐาน