หากดูเจตนาในวิถีแห่งสังฆะและภิกษุณี แม้จะอนุโลมตามสังคมปิตาธิปไตยในอินเดียสมัยนั้น แต่ทรงให้สิทธิ บทบาท และส่งเสริมสตรีเพศอย่างมาก หากยังทรงพระชนม์อยู่ก็จะทรงให้มีภิกษุณีแน่แท้
อันที่จริง ภิกษุณีนั้นก็ยังไม่สูญวงศ์ไปในโลก แต่คงเหลือเพียงสายธรรมคุปตกวินัย (ของมหายานจารีตตะวันออกคือ จีน เวียดนาม เกาหลี) เท่านั้นที่ยังสืบทอดมาอย่างต่อเนื่อง
ส่วนการรื้อฟื้นภิกษุณีเถรวาทนั้นเชื่อกันในสังคมไทยทั่วไปว่าไม่อาจทำได้เพราะสูญวงศ์ไปแล้ว ทว่า ในข้อนี้ควรพิจารณาเพิ่มเติมถึงมติของพระนักวิชาการสายเถรวาทของต่างประเทศหลายท่าน ทั้งพม่า ลังกา และฝรั่ง ซึ่งเคยวิจัยความเป็นไปได้ในการฟื้นวงศ์ภิกษุณีเถรวาทที่มาในพระบาลีเอง อันจะเป็นประโยชน์ให้พุทธบริษัทสี่ได้เต็ม ลดภาระของภิกษุในกรณีอุบาสิกา และให้โอกาสแก่กุลสตรีในการประพฤติพรหมจรรย์ตามสัตถุสาสนา ประเด็นที่พิจารณากันนั้นได้แก่
(1) ประเด็นการบวชโดยสงฆ์สองฝ่าย
ศากิยานี ๕๐๐ รูปที่ติดตามพระนางโคตมีมาก็ออกบวชโดยสงฆ์ฝ่ายเดียว โดยพระศาสดาบัญญัติว่า "เราอนุญาตให้ภิกษุทำการอุปสมบทภิกษุณี" และเป็นเช่นนี้เรื่อยมาจนกระทั่งอุปสัมปทาเปกขานางหนึ่งเขินอายเมื่อจะต้องตอบอันตรายิกธรรมในเรื่องส่วนตัวกับภิกษุ จึงทรงให้สอบถามอันตรายิกธรรมและญัตติในจบในภิกษุณีสงฆ์ฝ่ายเดียวก่อน จึงมาญัตติต่อในภิกษุทีหลัง เป็นเหตุในภิกษุณีต้องบวชในสงฆ์สองฝ่าย แต่ไม่ได้ทรงถอนพระบัญญัติเดิมที่อนุญาตให้ภิกษุสงฆ์บวชภิกษุณี (ตามปกติหากทรงใช้วิธีใหม่จะทรงล้มวิธีเดิม แต่ในที่นี้มิได้ปรากฏว่าทรงห้ามแบบเดิม) คณาจารย์สายจีนและทิเบตเคยใช้วิธีนี้ก็คงด้วยตระหนักในข้อนี้ มิใช่ละเลยพระวินัย
(2) ประเด็นข้ามนิกาย
ตามประวัติภิกษุณีสงฆ์จีน เคยอุปสมบทฝ่ายเดียวมาก่อน จนกระทั่งมาใช้วิธีอุปสมบทสองฝ่าย ก็ดวยอาราธนาคณะจากลังกา นัยว่าเป็นสายเถรวาทมาบวชได้ จึงมีรอยโยงได้ แต่นอกจากนั้น คณะสงฆ์มหายานทั้งภิกษุ-ภิกษุณีปัจจุบันใช้วินัยของนิกาย "ธรรมคุปตกะ" ซึ่งต้นกำเนิดของนิกายนี้สืบทราบว่า มิใช่นานาสังวาส มิได้ปรากฏการแยกตัวหรือสังฆเภท (schism) ใดๆกับเถรวาท แต่น่าจะเป็นสายหนึ่งในตติยสังคายนาที่ไปรุ่งเรืองในแดนคันธาระและกรีก โดยพระ "ธัมมรักขิต" จึงควรถือเป็นสายพี่น้องกับเถรวาทลังกาแห่งคณะมหาวิหารวาสินที่ถือกันอยู่ในปัจจุบันได้
(3) อุปสมบทกรรมที่การรื้อฟื้นภิกษุณีเถรวาทรุ่นแรกกระทำ โดยนิมนต์คณะภิกษุณีของธรรมคุปตกะ หากไม่มั่นใจประเด็นเรื่องนิกาย ก็ไม่นับว่าเสียหายหากมองที่พุทธบัญญัติในข้อแรกนั้น
(4) ในสมัยพุทธกาล พระพุทธะอำนวยความสะดวกการบวชภิกษุณี แม้แต่การใช้ทูตสื่อความ (ทูเตนอุปสัมปทา) ดังนั้น ขั้นตอนวิธีในการบวชภิกษุณีจึงดูจะถูกกำหนดมาเพื่อให้เกิดความสะดวกแก่กุลสตรีได้ออกบวช มากกว่าจะเป็นการกีดกัน
เหล่านี้เป็นประเด็นที่พระภิกษุเถรวาทในต่างประเทศ โดยเฉพาะชาวตะวันตกจำนวนมากให้ความใส่ใจ แม้แต่นักวิชาการชั้นนำอย่าง ภิกขุโพธิ, ภิกขุอนาลโย, ภิกขุสุชาโต ซึ่งมิใช่แต่ลำพังการคำนึงสิทธิสตรี และประโยชน์สุขแก่กุลธิดาที่ศรัทธาในพระศาสนาเท่านั้น หากยังเป็นเจตนาดั้งเดิมของพระพุทธองค์หรือไม่? และแนวทางที่ให้ความเป็นไปได้ตามพระวินัยนั้นก็ยังมีอยู่เช่นกัน
กรณีถกเถียงเรื่อง ภิกษุณีสงฆ์ในไทย
อันที่จริง ภิกษุณีนั้นก็ยังไม่สูญวงศ์ไปในโลก แต่คงเหลือเพียงสายธรรมคุปตกวินัย (ของมหายานจารีตตะวันออกคือ จีน เวียดนาม เกาหลี) เท่านั้นที่ยังสืบทอดมาอย่างต่อเนื่อง
ส่วนการรื้อฟื้นภิกษุณีเถรวาทนั้นเชื่อกันในสังคมไทยทั่วไปว่าไม่อาจทำได้เพราะสูญวงศ์ไปแล้ว ทว่า ในข้อนี้ควรพิจารณาเพิ่มเติมถึงมติของพระนักวิชาการสายเถรวาทของต่างประเทศหลายท่าน ทั้งพม่า ลังกา และฝรั่ง ซึ่งเคยวิจัยความเป็นไปได้ในการฟื้นวงศ์ภิกษุณีเถรวาทที่มาในพระบาลีเอง อันจะเป็นประโยชน์ให้พุทธบริษัทสี่ได้เต็ม ลดภาระของภิกษุในกรณีอุบาสิกา และให้โอกาสแก่กุลสตรีในการประพฤติพรหมจรรย์ตามสัตถุสาสนา ประเด็นที่พิจารณากันนั้นได้แก่
(1) ประเด็นการบวชโดยสงฆ์สองฝ่าย
ศากิยานี ๕๐๐ รูปที่ติดตามพระนางโคตมีมาก็ออกบวชโดยสงฆ์ฝ่ายเดียว โดยพระศาสดาบัญญัติว่า "เราอนุญาตให้ภิกษุทำการอุปสมบทภิกษุณี" และเป็นเช่นนี้เรื่อยมาจนกระทั่งอุปสัมปทาเปกขานางหนึ่งเขินอายเมื่อจะต้องตอบอันตรายิกธรรมในเรื่องส่วนตัวกับภิกษุ จึงทรงให้สอบถามอันตรายิกธรรมและญัตติในจบในภิกษุณีสงฆ์ฝ่ายเดียวก่อน จึงมาญัตติต่อในภิกษุทีหลัง เป็นเหตุในภิกษุณีต้องบวชในสงฆ์สองฝ่าย แต่ไม่ได้ทรงถอนพระบัญญัติเดิมที่อนุญาตให้ภิกษุสงฆ์บวชภิกษุณี (ตามปกติหากทรงใช้วิธีใหม่จะทรงล้มวิธีเดิม แต่ในที่นี้มิได้ปรากฏว่าทรงห้ามแบบเดิม) คณาจารย์สายจีนและทิเบตเคยใช้วิธีนี้ก็คงด้วยตระหนักในข้อนี้ มิใช่ละเลยพระวินัย
(2) ประเด็นข้ามนิกาย
ตามประวัติภิกษุณีสงฆ์จีน เคยอุปสมบทฝ่ายเดียวมาก่อน จนกระทั่งมาใช้วิธีอุปสมบทสองฝ่าย ก็ดวยอาราธนาคณะจากลังกา นัยว่าเป็นสายเถรวาทมาบวชได้ จึงมีรอยโยงได้ แต่นอกจากนั้น คณะสงฆ์มหายานทั้งภิกษุ-ภิกษุณีปัจจุบันใช้วินัยของนิกาย "ธรรมคุปตกะ" ซึ่งต้นกำเนิดของนิกายนี้สืบทราบว่า มิใช่นานาสังวาส มิได้ปรากฏการแยกตัวหรือสังฆเภท (schism) ใดๆกับเถรวาท แต่น่าจะเป็นสายหนึ่งในตติยสังคายนาที่ไปรุ่งเรืองในแดนคันธาระและกรีก โดยพระ "ธัมมรักขิต" จึงควรถือเป็นสายพี่น้องกับเถรวาทลังกาแห่งคณะมหาวิหารวาสินที่ถือกันอยู่ในปัจจุบันได้
(3) อุปสมบทกรรมที่การรื้อฟื้นภิกษุณีเถรวาทรุ่นแรกกระทำ โดยนิมนต์คณะภิกษุณีของธรรมคุปตกะ หากไม่มั่นใจประเด็นเรื่องนิกาย ก็ไม่นับว่าเสียหายหากมองที่พุทธบัญญัติในข้อแรกนั้น
(4) ในสมัยพุทธกาล พระพุทธะอำนวยความสะดวกการบวชภิกษุณี แม้แต่การใช้ทูตสื่อความ (ทูเตนอุปสัมปทา) ดังนั้น ขั้นตอนวิธีในการบวชภิกษุณีจึงดูจะถูกกำหนดมาเพื่อให้เกิดความสะดวกแก่กุลสตรีได้ออกบวช มากกว่าจะเป็นการกีดกัน
เหล่านี้เป็นประเด็นที่พระภิกษุเถรวาทในต่างประเทศ โดยเฉพาะชาวตะวันตกจำนวนมากให้ความใส่ใจ แม้แต่นักวิชาการชั้นนำอย่าง ภิกขุโพธิ, ภิกขุอนาลโย, ภิกขุสุชาโต ซึ่งมิใช่แต่ลำพังการคำนึงสิทธิสตรี และประโยชน์สุขแก่กุลธิดาที่ศรัทธาในพระศาสนาเท่านั้น หากยังเป็นเจตนาดั้งเดิมของพระพุทธองค์หรือไม่? และแนวทางที่ให้ความเป็นไปได้ตามพระวินัยนั้นก็ยังมีอยู่เช่นกัน