มีความสงสัย และอยากทราบว่าท่านอื่นคิดอย่างไร มองอย่างไร
ในขณะที่ภิกษุณีจีนและไต้หวัน ได้มีการวิจัยมาแล้วว่า เป็นไปไม่ได้ที่การสืบสายของภิกษุณีไม่เคยขาด มีประวัติศาสตร์ยืนยันแน่นอนว่าในราชวงศ์หมิง การสืบสายภิกษุณีในจีนนั้นขาดหาย ในไต้หวันมีการบวชภิกษุณีมากก็ด้วยภิกษุ ที่ท่านมาจากจีนแผ่นดินใหญ่ จึงพอจะอนุมานได้ว่า ภิกษุณีปัจจุบันที่เราเห็นนั้น ถ้าเอากันตามพระวินัยจริงๆ ก็.... แต่ทีนี้ด้วยระบบมหายาน การอบรม ฝึกฝน และการบวช(ที่ขาดการสืบสาย)อย่างมีขั้นตอน และภิกษุณีไต้หวันมีผลงานการเผยแผ่มากมาย จนทำให้ได้ภิกษุณีเป็นที่น่าเลื่อมใส ซึ่งเมื่อมาปรากฏตัวที่เมืองไทย กับ แม่ชีไทย ที่ตั้งใจบวชเป็นนักบวชหญิงเหมือนภิกษุณีไต้หวันและจีน แต่ว่าไม่ได้ผ่านการบวชภิกษุณี และ ทำงานตามวัดต่างๆ ผลงานอาจจะไม่ชัดเจน องค์กรก็ไม่ชัดเจน
ซึ่งนักบวชหญิงจีน ส่วนใหญ่ก็ไม่ได้ทำตามกฏครุธรรม ๘ คือไม่ได้ลงปาฏิโมกข์ ทุกกึ่งเดือน ไม่ได้รับโอวาทจากภิกษุ ไม่ได้ปวารณาในสงฆ์สองฝ่าย เป็นต้น แต่ถือศีล ๓๕๐ ตามพระวินัยสี่ส่วนของนิกายธรรมคุปต์
คือ ความรู้สึกของคนไทย กราบภิกษุณีได้ กราบแม่ชีได้ไหม ? เคารพภิกษุณีไต้หวันจีน แล้วเคารพแม่ชีไทย เหมือนกันไหม ? อยากรู้ว่า ความรู้สึกที่มีต่อนักบวชหญิง ๒ ประเภทนี้ มีความเหมือนหรือต่างกันอย่างไร ในสายตาคนไทย? ทำไมแม่ชีไม่เป็นที่ยอมรับในสังคมไทยเท่าไหร่ ? สุดท้ายอยากให้แม่ชีไทยเป็นยังไง ทำอย่างไร เราถึงจะรู้สึกว่ายอมรับท่านได้ในฐานะนักบวชหญิง ที่แม้ไม่ใช่เป็นภิกษุณี แต่มีหัวใจเหมือนภิกษุณีต่างชาติ ( ที่ประเทศมหายานระบบของเขารับได้กับการสืบสายเกือบต่อได้ของการบวชภิกษุณี และขณะที่ไทยคงรับไม่ได้หากทำอะไรเช่นนั้นที่ขัดกับพระวินัย )
ภิกษุณีจีนกับแม่ชีไทย คนไทยรู้สึกเคารพต่างกันไหม
ในขณะที่ภิกษุณีจีนและไต้หวัน ได้มีการวิจัยมาแล้วว่า เป็นไปไม่ได้ที่การสืบสายของภิกษุณีไม่เคยขาด มีประวัติศาสตร์ยืนยันแน่นอนว่าในราชวงศ์หมิง การสืบสายภิกษุณีในจีนนั้นขาดหาย ในไต้หวันมีการบวชภิกษุณีมากก็ด้วยภิกษุ ที่ท่านมาจากจีนแผ่นดินใหญ่ จึงพอจะอนุมานได้ว่า ภิกษุณีปัจจุบันที่เราเห็นนั้น ถ้าเอากันตามพระวินัยจริงๆ ก็.... แต่ทีนี้ด้วยระบบมหายาน การอบรม ฝึกฝน และการบวช(ที่ขาดการสืบสาย)อย่างมีขั้นตอน และภิกษุณีไต้หวันมีผลงานการเผยแผ่มากมาย จนทำให้ได้ภิกษุณีเป็นที่น่าเลื่อมใส ซึ่งเมื่อมาปรากฏตัวที่เมืองไทย กับ แม่ชีไทย ที่ตั้งใจบวชเป็นนักบวชหญิงเหมือนภิกษุณีไต้หวันและจีน แต่ว่าไม่ได้ผ่านการบวชภิกษุณี และ ทำงานตามวัดต่างๆ ผลงานอาจจะไม่ชัดเจน องค์กรก็ไม่ชัดเจน
ซึ่งนักบวชหญิงจีน ส่วนใหญ่ก็ไม่ได้ทำตามกฏครุธรรม ๘ คือไม่ได้ลงปาฏิโมกข์ ทุกกึ่งเดือน ไม่ได้รับโอวาทจากภิกษุ ไม่ได้ปวารณาในสงฆ์สองฝ่าย เป็นต้น แต่ถือศีล ๓๕๐ ตามพระวินัยสี่ส่วนของนิกายธรรมคุปต์
คือ ความรู้สึกของคนไทย กราบภิกษุณีได้ กราบแม่ชีได้ไหม ? เคารพภิกษุณีไต้หวันจีน แล้วเคารพแม่ชีไทย เหมือนกันไหม ? อยากรู้ว่า ความรู้สึกที่มีต่อนักบวชหญิง ๒ ประเภทนี้ มีความเหมือนหรือต่างกันอย่างไร ในสายตาคนไทย? ทำไมแม่ชีไม่เป็นที่ยอมรับในสังคมไทยเท่าไหร่ ? สุดท้ายอยากให้แม่ชีไทยเป็นยังไง ทำอย่างไร เราถึงจะรู้สึกว่ายอมรับท่านได้ในฐานะนักบวชหญิง ที่แม้ไม่ใช่เป็นภิกษุณี แต่มีหัวใจเหมือนภิกษุณีต่างชาติ ( ที่ประเทศมหายานระบบของเขารับได้กับการสืบสายเกือบต่อได้ของการบวชภิกษุณี และขณะที่ไทยคงรับไม่ได้หากทำอะไรเช่นนั้นที่ขัดกับพระวินัย )