ลฑุกิโกปมสูตร
โทษแม้เพียงเล็กน้อยของภิกษุทั้งหลายผู้ใคร่ในสิกขานั้น
ย่อมเป็นเครื่องผูกอันมีกำลัง มั่น แน่นแฟ้น ไม่เปื่อย เป็นเหมือนท่อนไม้ใหญ่
ปรารภคดีรถเลี่ยงภาษี , ภิกษุมีชื่อเป็นผู้ครอบครองรถ , วัดสร้างพิพิธภัณฑ์ทางโลก
ปรากฏมีความเห็นทำนองว่า เรื่องเล็กๆ น้อยๆ ทำไมจะต้องทำให้เป็นเรื่องใหญ่
จขกท นึกถึงบทความหนึ่ง เรื่องสิกขาบทเล็กน้อย
ขออนุญาตนำมาแชร์ ดังข้างล่างนี้
------------------------------------------
(คัดลอกมาจาก facebook นาวาเอกทองย้อย แสงสินชัย)
เรื่อง “สิกขาบทเล็กน้อย” (บาลีว่า “ขุทฺทานุขุทฺทกสิกฺขาปท”) นี้มีที่มาจากพระพุทธดำรัสตอนใกล้จะเสด็จดับขันธปรินิพพาน
ปรากฏใน
มหาปรินิพพานสูตร พระไตรปิฎกเล่ม ๑๐
==>
มหาปรินิพพานสูตร
ควรทราบด้วยว่า ในวันที่จะเสด็จดับขันธปรินิพพานนั้น พระพุทธเจ้าได้ตรัสเรื่องต่างๆ อันเป็นเสมือน “พินัยกรรม”
หรือคำสั่งเสียหลายเรื่อง กล่าวคือ - (ตัวเลขในวงเล็บหมายถึงข้อในมหาปรินิพพานสูตร)
เรื่องปฏิบัติบูชามีผลมากกว่าอามิสบูชา (๑๒๙)
เรื่องสังเวชนียสถาน (๑๓๑)
เรื่องวิธีปฏิบัติต่อสตรีเพศ (๑๓๒)
เรื่องการจัดการพระพุทธสรีระ (๑๓๓)
เรื่องบุคคลที่ควรสร้างสถูปไว้เป็นที่ระลึก (๑๓๔)
เรื่องศาสนาอื่นไม่มีอริยบุคคล (๑๓๘-๑๓๙)
เรื่องพระธรรมวินัยเป็นพระศาสดาแทน (๑๔๑)
เรื่องให้ภิกษุใช้คำเรียกกันและกันให้ถูกต้อง (๑๔๑)
เรื่องพุทธานุญาตให้ถอน (ยกเลิก) สิกขาบทเล็กน้อย (๑๔๑)
เรื่องลงพรหมทัณฑ์แก่พระฉันนะ (๑๔๑)
แต่ละเรื่องควรแก่การนำขึ้นมาศึกษาเป็นอย่างยิ่ง
เฉพาะเรื่องพุทธานุญาตให้ถอนสิกขาบทเล็กน้อย มีข้อความว่า -
อากงขมาโน อานนฺท สงฺโฆ มมจฺจเยน ขุทฺทานุขุทฺทกานิ สิกฺขาปทานิ สมูหนตุ
ดูก่อนอานนท์ โดยล่วงไปแห่งเรา สงฆ์จำนงอยู่ ก็จงถอนสิกขาบทเล็กน้อยเสียบ้างได้
ในคราวทำปฐมสังคายนา (ปฐมสังคายนาทำเมื่อพระพุทธเจ้าปรินิพพานแล้ว ๓ เดือน) เมื่อที่ประชุมสังคายนาพระธรรมวินัยจบลง
พระอานนท์ได้แจ้งเรื่องสิกขาบทเล็กน้อยให้ที่ประชุมทราบ ที่ประชุมซักว่าพระอานนท์ได้ทูลถามหรือเปล่าว่า
สิกขาบทเล็กน้อยนั้นคือสิกขาบทอะไรบ้าง
พระอานนท์ตอบว่าไม่ได้ทูลถาม ที่ประชุมอภิปรายกันอย่างกว้างขวาง
แล้วลงมติว่า “ไม่ถอน”
เหตุผลที่ไม่ถอน
ทำไมที่ประชุมจึงลงมติไม่ถอนสิกขาบทเล็กน้อยตามที่มีพุทธานุญาตไว้
เหตุผลปรากฏอยู่ในคำเสนอญัตติของพระมหากัสสปะ
(ประธานในที่ประชุม) ขอยกข้อความมาเพื่อพิจารณา (พระไตรปิฎกเล่ม ๗ ข้อ ๖๒๑) ดังนี้ -
(๑)
ท่านทั้งหลาย ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า สิกขาบทของพวกเราที่ปรากฏแก่คฤหัสถ์ก็มีอยู่
แม้พวกคฤหัสถ์ก็รู้ว่า สิ่งนี้ควรแก่พระสมณะเชื้อสายพระศากยบุตร สิ่งนี้ไม่ควร
ถ้าพวกเราจักถอนสิกขาบทเล็กน้อยเสีย จักมีผู้กล่าวว่า พระสมณโคดมบัญญัติสิกขาบทแก่สาวกทั้งหลายเป็นกาลชั่วคราว
พระศาสดาของพระสมณะเหล่านี้ยังดำรงอยู่ตราบใด สาวกเหล่านี้ยังศึกษาในสิกขาบททั้งหลายตราบนั้น
เพราะเหตุที่พระศาสดาของพระสมณะเหล่านี้ปรินิพพานแล้ว พระสมณะเหล่านี้จึงไม่ศึกษาในสิกขาบททั้งหลายในบัดนี้
สรุปเหตุผลที่ไม่ถอน ก็คือ
๑. ชาวบ้านเขารู้กันมากแล้วว่าสิกขาบทของพระมีอะไรบ้าง (พระทำอะไรได้ ทำอะไรไม่ได้ ชาวบ้านเขารู้)
๒. ถ้าถอน ก็จะเกิดเสียงตำหนิว่า พระพวกนี้รักษาศีลเคร่งครัดเฉพาะเวลาที่พระศาสดายังอยู่ พอพระศาสดาล่วงลับไปแล้ว ก็เลิก
เมื่อเสนอเหตุผลแล้ว พระมหากัสสปะได้เสนอญัตติดังนี้ -
(๒)
ถ้าความพร้อมพรั่งของสงฆ์ถึงที่แล้ว สงฆ์ไม่พึงบัญญัติสิ่งที่ไม่ทรงบัญญัติ ไม่พึงถอนพระบัญญัติที่ทรงบัญญัติไว้แล้ว
พึงสมาทานประพฤติในสิกขาบททั้งหลายตามที่ทรงบัญญัติแล้ว นี้เป็นญัตติ
ที่ประชุมมีมติเห็นชอบตามญัตติ
จากสิกขาบทเล็กน้อย ถึงภิกขุอปริหานิยธรรม
โปรดสังเกตว่า พุทธานุญาตอันเป็นที่มาของการเสนอญัตตินี้มีเพียงประเด็นเดียวว่า ให้ถอนสิกขาบทเล็กน้อยได้
แต่ญัตติที่พระมหากัสสปะเสนอมี ๓ ประเด็น (ท่านนำมาจาก
ภิกขุอปริหานิยธรรม--- จขกท) คือ -
๑ สงฆ์ไม่พึงบัญญัติสิ่งที่มิได้ทรงบัญญัติไว้
๒ ไม่พึงถอนพระบัญญัติที่ทรงบัญญัติไว้แล้ว
๓ พึงสมาทานประพฤติในสิกขาบททั้งหลายตามที่ทรงบัญญัติแล้ว
นั่นแปลว่า ผู้เสนอญัตติมิได้เพ่งเล็งเฉพาะพุทธานุญาตให้ถอนสิกขาบทเล็กน้อย แต่พิจารณาไปถึงแนวปฏิบัติในวงกว้าง
โดยไม่ต้องมานั่งสงสัยกันอีกว่า ไม่ถอนก็ส่วนไม่ถอน แต่จะบัญญัติสิกขาบทใหม่ๆ ขึ้นมาได้หรือไม่
และสิกขาบทที่มีอยู่แล้วนั้น จะละเลย ทำย่อๆ หย่อนๆ เสียบ้างได้หรือไม่
ญัตตินี้ให้คำตอบครอบคลุมครบถ้วน
ญัตติของพระมหากัสสปะนั้นไม่ใช่สิ่งที่ท่านคิดขึ้นเองเลย แต่เป็นแนวทางการปฏิบัติที่พระพุทธองค์ตรัสไว้ในอปริหานิยธรรมสำหรับภิกษุ
ซึ่งมีอยู่หลายชุด เฉพาะชุดที่ท่านนำมาเป็นญัตตินี้ตรัสไว้เป็นชุดแรกในมหาปรินิพพานสูตร
ภิกขุอปริหานิยธรรมชุดนี้มี ๗ ข้อ ข้อที่ท่านนำมาเป็นญัตติคือข้อที่ ๓ ซึ่งมีข้อความดังนี้
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พวกภิกษุจักไม่บัญญัติสิ่งที่มิได้บัญญัติไว้แล้ว
จักไม่ถอนสิ่งที่ได้บัญญัติไว้แล้ว
จักสมาทานประพฤติอยู่ในสิกขาบททั้งหลายตามที่ได้บัญญัติไว้แล้วอยู่เพียงใด
พึงหวังได้ซึ่งความเจริญอย่างเดียว ไม่มีเสื่อมเพียงนั้น
เรื่องสิกขาบทเล็กน้อยกับอปริหานิยธรรม เกี่ยวข้องกันในกรณีที่ว่า
มติไม่ถอนสิกขาบทตั้งอยู่บนพื้นฐานแห่งอปริหานิยธรรมข้อที่ ๓ หมายความว่าที่ประชุมปฐมสังคายนามุ่งมั่นที่จะปฏิบัติตาม
อปริหานิยธรรม จึงมีมติไม่ถอนสิกขาบทใดๆ ทั้งสิ้น นอกจากจะไม่ถอนแล้วยังจะไม่บัญญัติสิกขาบทใดๆ ขึ้นมาใหม่
แต่จะตั้งใจประพฤติปฏิบัติตามสิกขาบทที่ทรงบัญญัติไว้แล้ว
มติเช่นนี้ย่อมสอดคล้องกับอปริหานิยธรรมข้อ ๓ และสนองวัตถุประสงค์ของการทำปฐมสังคายนาได้เป็นอย่างดี
ทั้งนี้เพราะการปฏิบัติตามอปริหานิยธรรมแต่ละข้อย่อมมีอานิสงส์ดังที่ตรัสไว้ว่า “พึงหวังได้ซึ่งความเจริญอย่างเดียว ไม่มีเสื่อม”
ซึ่งสอดคล้องกับวัตถุประสงค์แห่งปฐมสังคายนาที่มุ่งจะรวบรวมหลักพระธรรมวินัยไว้เป็นแบบแผน
เพื่อป้องกันฝ่ายอธรรมวาทีอวินยวาที (พวกอลัชชี) ที่จะเกิดขึ้นย่ำยีหลักธรรมวินัยให้เสื่อมลงไปในอนาคต
ในทางตรงกันข้าม ถ้าที่ประชุมลงมติให้ถอนสิกขาบทเล็กน้อยได้
มติเช่นนั้นจะขัดแย้งกับอปริหานิยธรรมข้อ ๓ ทันที และความเสื่อมก็จะเกิดขึ้นทันทีเหมือนกัน
นั่นคือสิกขาบทหรือศีลของบรรพชิตในพระพุทธศาสนาจำนวนหนึ่งจะถูกยกเลิกเพิกถอนทันที
ถ้ามีความชัดเจนในพุทธานุญาตว่าสิกขาบทเล็กน้อยคืออะไรบ้าง สิกขาบทเหล่านั้นจะถูกยกเลิกเพิกถอนตั้งแต่คราวทำปฐมสังคายนานั่นแล้ว
>> ถ้าสงฆ์เป็นฝ่ายธรรมวาที วินยวาที (ยึดมั่นในพระธรรมวินัย)
การยกเลิกเพิกถอนสิกขาบทใด ๆ ก็แน่นอนว่าย่อมมุ่งจะให้เกิดผลดีหรือประสิทธิภาพในการบริหารงานพระศาสนา
นั่นคือเล็งถึงประโยชน์สุขแก่ชนหมู่มากที่จะพึงมีพึงได้จากพระศาสนา หรือเพื่อเกื้อกูลแก่การปฏิบัติธรรม
เหมือนคนเดินทาง พบสิ่งเกะกะกีดขวางซึ่งทำขึ้นในคราวหนึ่งโอกาสหนึ่งด้วยเหตุผลอย่างหนึ่ง แต่เมื่อพ้นคราวพ้นโอกาสนั้นๆ มาแล้ว
อาจไม่มีประโยชน์อีกต่อไป ถ้าสามารถยกออกถอนออกเสียบ้าง ก็จะเป็นการเปิดทางสะดวกให้แก่ผู้เดินทางนั้นในภายหลังได้รุดหน้าไปเร็วขึ้น
>> แต่ถ้ามีอธรรมวาทีอวินยวาที คือพวกอลัชชี เกิดขึ้นในสงฆ์
และเป็นฝ่ายมีกำลังมากขึ้น พุทธานุญาตนี้ก็จะเป็นช่องทางให้บุคคลจำพวกนั้น รวมกำลังเป็น “สงฆ์” แล้วยกเลิกเพิกถอนสิกขาบท
ได้ตามอำเภอใจ เพื่อให้ตนสามารถกระทำสิ่งที่ต้องการได้โดยไม่มีข้อขัดข้อง อลัชชีก็จะเข้ามากระทำย่ำยีต่อพระธรรมวินัย
ได้อย่างสบายนั่นเอง
แต่ไม่ว่าจะเล็งผลอย่างไรหรือคิดอย่างไร ก็จะต้องคำนึงถึงข้อเท็จจริงที่อาจเกิดขึ้นได้และเป็นไปได้อยู่ด้วยเสมอไป เช่น
ถ้าตกลงกันว่าให้ถอนสิกขาบทเล็กน้อย แล้วเกิดอธรรมวาทีอวินยวาทีมีกำลังตีความให้สิกขาบทต่างๆ
เป็นสิกขาบทเล็กน้อยไปเสียหมด จะทำอย่างไร
ส่วนกรณีความไม่ทันสมัย ไม่เข้ากับสภาพแวดล้อม ของสิกขาบทต่างๆ ก็ต้องมาพิจารณาด้วยเหตุผลว่าไม่ทันสมัยจริงๆ
หรือเป็นแต่เพียงคิดว่าไม่ทันสมัย หรือเป็นเพราะตัวบุคคลพัฒนาตัวเองไม่ถึงระดับของระเบียบวินัย
จึงคิดจะแก้ไขระเบียบวินัยลงมาหาความอ่อนด้อยของตัวเอง
นอกจากนี้ยังมีหลัก
“มหาปเทส” เป็นเครื่องมืออันทรงประสิทธิภาพในการวินิจฉัยว่า อะไรควร อะไรไม่ควร อะไรทำได้ อะไรทำไม่ได้
ดังที่มีบางท่านกล่าวปรารภว่า ถ้าพระพุทธเจ้ายังทรงพระชนม์อยู่จนถึงบัดนี้ สิกขาบทของภิกษุสงฆ์คงจะมีมากกว่า ๒๒๗ ข้อ
ไปอีกหลายเท่า นี่ก็เพราะผู้ปรารภมองเห็นหลักของมหาปเทสที่ว่า แม้จะไม่มีสิกขาบทบัญญัติห้ามไว้ แต่ถ้าสิ่งนั้นไม่เหมาะสม ผู้รู้ตำหนิ ก็ไม่ควรทำ
ถ้าเทียบกับทางบ้านเมือง การยกเลิกกฎหมายเก่าอาจจำเป็นเพราะสถานการณ์บ้านเมืองเปลี่ยนไป
แต่พระธรรมวินัยโดยเฉพาะสิกขาบทต่างๆ นั้น ยากที่จะตัดสินได้ว่าข้อไหนขัดต่อการปฏิบัติธรรม และจะใช้เกณฑ์อะไรเป็นมาตรฐาน
ตัวอย่างเช่น นายดำ อุปสมบทเป็นภิกษุดำ ไม่ฉันภัตตาหารหลังเที่ยง ร่างกายสามารถดำรงอยู่ได้
และสามารถปฏิบัติบำเพ็ญสมณธรรมได้อย่างสบาย
ส่วนนายแดงอุปสมบทเป็นภิกษุแดง ไม่ฉันอาหารตอนเย็นแล้วเกิดอาการไม่สบาย เช่น ป่วยเป็นโรคกระเพาะ ไม่อาจปฏิบัติธรรมได้
ถ้ามีผู้เสนอให้สงฆ์ถอนสิกขาบทข้อที่ว่าด้วยห้ามฉันอาหารในเวลาวิกาลออกไป
สงฆ์จะใช้เกณฑ์ของภิกษุดำหรือภิกษุแดงเป็นมาตรฐานในการพิจารณา ?
ถ้าใช้ภิกษุดำเป็นเกณฑ์ ก็ไม่ต้องถอน แต่ขัดกับความจำเป็นของภิกษุแดง
ถ้าจะรักษาประโยชน์ของภิกษุแดง ก็ต้องถอน แต่จะทำให้เกณฑ์ของภิกษุดำลดต่ำลงไป
ภิกษุดำอาจนึกรังเกียจภิกษุแดงตลอดจนภิกษุอื่นๆ ที่ฉันอาหารในเวลาวิกาล (เพราะสงฆ์ถอนสิกขาบทข้อนี้ออกไปแล้ว)
ฝ่ายภิกษุแดงก็อาจนึกหมั่นไส้ภิกษุดำที่เคร่งครัดกว่า แล้วก็จะเกิดการกระทบกระทั่งกันอยู่เรื่อยๆ
แล้วถ้าอยู่ไปๆ เกิดมีภิกษุอะไรสักรูปหนึ่งหรือหลายรูป อ้างว่าตนหรือพวกตนมีความจำเป็น
คือถ้าไม่ได้เสพเมถุนวันละครั้งจะเกิดอาการไม่สบาย ไม่สามารถปฏิบัติธรรมได้ จึงเสนอขอให้สงฆ์ลงมติถอนสิกขาบทข้อนี้
สงฆ์จะใช้อะไรเป็นเกณฑ์ในการพิจารณา
แน่นอนว่าปัญหาจะย้อนกลับไปตั้งต้นถามกันใหม่ว่า อะไรบ้างคือสิกขาบทเล็กน้อย
ปัญหานี้ที่ประชุมปฐมสังคายนาท่านไม่ตัดสินชี้ขาดมาแล้ว – แล้วใครจะตัดสิน ?
นี่คือปรากฏการณ์จริงที่อาจเกิดขึ้นเป็นได้ ถ้าที่ประชุมปฐมสังคายนาลงมติให้ถอนสิกขาบทเล็กน้อยได้
และของจริงที่เกิดมีขึ้นแล้วก็ไม่ต้องดูอื่นไกล - ก็พระภิกษุในนิกายมหายานทุกวันนี้นั่นยังไง ถ้าเปรียบเทียบกับพระภิกษุนิกายเถรวาท ก็แทบจะเป็นคนละศาสนาอยู่แล้วมิใช่หรือ นั่นแหละผลงานของสงฆ์ฝ่ายที่ถือสิทธิ์ตามพุทธานุญาตถอนสิกขาบทเล็กน้อย
---------------
(มีต่อ)
เรื่องเล็กๆ น้อยๆ ทำไมจะต้องทำให้เป็นเรื่องใหญ่ !
โทษแม้เพียงเล็กน้อยของภิกษุทั้งหลายผู้ใคร่ในสิกขานั้น
ย่อมเป็นเครื่องผูกอันมีกำลัง มั่น แน่นแฟ้น ไม่เปื่อย เป็นเหมือนท่อนไม้ใหญ่
ปรารภคดีรถเลี่ยงภาษี , ภิกษุมีชื่อเป็นผู้ครอบครองรถ , วัดสร้างพิพิธภัณฑ์ทางโลก
ปรากฏมีความเห็นทำนองว่า เรื่องเล็กๆ น้อยๆ ทำไมจะต้องทำให้เป็นเรื่องใหญ่
จขกท นึกถึงบทความหนึ่ง เรื่องสิกขาบทเล็กน้อย
ขออนุญาตนำมาแชร์ ดังข้างล่างนี้
------------------------------------------
(คัดลอกมาจาก facebook นาวาเอกทองย้อย แสงสินชัย)
เรื่อง “สิกขาบทเล็กน้อย” (บาลีว่า “ขุทฺทานุขุทฺทกสิกฺขาปท”) นี้มีที่มาจากพระพุทธดำรัสตอนใกล้จะเสด็จดับขันธปรินิพพาน
ปรากฏในมหาปรินิพพานสูตร พระไตรปิฎกเล่ม ๑๐
==> มหาปรินิพพานสูตร
ควรทราบด้วยว่า ในวันที่จะเสด็จดับขันธปรินิพพานนั้น พระพุทธเจ้าได้ตรัสเรื่องต่างๆ อันเป็นเสมือน “พินัยกรรม”
หรือคำสั่งเสียหลายเรื่อง กล่าวคือ - (ตัวเลขในวงเล็บหมายถึงข้อในมหาปรินิพพานสูตร)
เรื่องปฏิบัติบูชามีผลมากกว่าอามิสบูชา (๑๒๙)
เรื่องสังเวชนียสถาน (๑๓๑)
เรื่องวิธีปฏิบัติต่อสตรีเพศ (๑๓๒)
เรื่องการจัดการพระพุทธสรีระ (๑๓๓)
เรื่องบุคคลที่ควรสร้างสถูปไว้เป็นที่ระลึก (๑๓๔)
เรื่องศาสนาอื่นไม่มีอริยบุคคล (๑๓๘-๑๓๙)
เรื่องพระธรรมวินัยเป็นพระศาสดาแทน (๑๔๑)
เรื่องให้ภิกษุใช้คำเรียกกันและกันให้ถูกต้อง (๑๔๑)
เรื่องพุทธานุญาตให้ถอน (ยกเลิก) สิกขาบทเล็กน้อย (๑๔๑)
เรื่องลงพรหมทัณฑ์แก่พระฉันนะ (๑๔๑)
แต่ละเรื่องควรแก่การนำขึ้นมาศึกษาเป็นอย่างยิ่ง
เฉพาะเรื่องพุทธานุญาตให้ถอนสิกขาบทเล็กน้อย มีข้อความว่า -
ดูก่อนอานนท์ โดยล่วงไปแห่งเรา สงฆ์จำนงอยู่ ก็จงถอนสิกขาบทเล็กน้อยเสียบ้างได้
ในคราวทำปฐมสังคายนา (ปฐมสังคายนาทำเมื่อพระพุทธเจ้าปรินิพพานแล้ว ๓ เดือน) เมื่อที่ประชุมสังคายนาพระธรรมวินัยจบลง
พระอานนท์ได้แจ้งเรื่องสิกขาบทเล็กน้อยให้ที่ประชุมทราบ ที่ประชุมซักว่าพระอานนท์ได้ทูลถามหรือเปล่าว่า
สิกขาบทเล็กน้อยนั้นคือสิกขาบทอะไรบ้าง
พระอานนท์ตอบว่าไม่ได้ทูลถาม ที่ประชุมอภิปรายกันอย่างกว้างขวาง แล้วลงมติว่า “ไม่ถอน”
เหตุผลที่ไม่ถอน
ทำไมที่ประชุมจึงลงมติไม่ถอนสิกขาบทเล็กน้อยตามที่มีพุทธานุญาตไว้ เหตุผลปรากฏอยู่ในคำเสนอญัตติของพระมหากัสสปะ
(ประธานในที่ประชุม) ขอยกข้อความมาเพื่อพิจารณา (พระไตรปิฎกเล่ม ๗ ข้อ ๖๒๑) ดังนี้ -
(๑) ท่านทั้งหลาย ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า สิกขาบทของพวกเราที่ปรากฏแก่คฤหัสถ์ก็มีอยู่
แม้พวกคฤหัสถ์ก็รู้ว่า สิ่งนี้ควรแก่พระสมณะเชื้อสายพระศากยบุตร สิ่งนี้ไม่ควร
ถ้าพวกเราจักถอนสิกขาบทเล็กน้อยเสีย จักมีผู้กล่าวว่า พระสมณโคดมบัญญัติสิกขาบทแก่สาวกทั้งหลายเป็นกาลชั่วคราว
พระศาสดาของพระสมณะเหล่านี้ยังดำรงอยู่ตราบใด สาวกเหล่านี้ยังศึกษาในสิกขาบททั้งหลายตราบนั้น
เพราะเหตุที่พระศาสดาของพระสมณะเหล่านี้ปรินิพพานแล้ว พระสมณะเหล่านี้จึงไม่ศึกษาในสิกขาบททั้งหลายในบัดนี้
สรุปเหตุผลที่ไม่ถอน ก็คือ
๑. ชาวบ้านเขารู้กันมากแล้วว่าสิกขาบทของพระมีอะไรบ้าง (พระทำอะไรได้ ทำอะไรไม่ได้ ชาวบ้านเขารู้)
๒. ถ้าถอน ก็จะเกิดเสียงตำหนิว่า พระพวกนี้รักษาศีลเคร่งครัดเฉพาะเวลาที่พระศาสดายังอยู่ พอพระศาสดาล่วงลับไปแล้ว ก็เลิก
เมื่อเสนอเหตุผลแล้ว พระมหากัสสปะได้เสนอญัตติดังนี้ -
(๒) ถ้าความพร้อมพรั่งของสงฆ์ถึงที่แล้ว สงฆ์ไม่พึงบัญญัติสิ่งที่ไม่ทรงบัญญัติ ไม่พึงถอนพระบัญญัติที่ทรงบัญญัติไว้แล้ว
พึงสมาทานประพฤติในสิกขาบททั้งหลายตามที่ทรงบัญญัติแล้ว นี้เป็นญัตติ
ที่ประชุมมีมติเห็นชอบตามญัตติ
จากสิกขาบทเล็กน้อย ถึงภิกขุอปริหานิยธรรม
โปรดสังเกตว่า พุทธานุญาตอันเป็นที่มาของการเสนอญัตตินี้มีเพียงประเด็นเดียวว่า ให้ถอนสิกขาบทเล็กน้อยได้
แต่ญัตติที่พระมหากัสสปะเสนอมี ๓ ประเด็น (ท่านนำมาจาก ภิกขุอปริหานิยธรรม--- จขกท) คือ -
๑ สงฆ์ไม่พึงบัญญัติสิ่งที่มิได้ทรงบัญญัติไว้
๒ ไม่พึงถอนพระบัญญัติที่ทรงบัญญัติไว้แล้ว
๓ พึงสมาทานประพฤติในสิกขาบททั้งหลายตามที่ทรงบัญญัติแล้ว
นั่นแปลว่า ผู้เสนอญัตติมิได้เพ่งเล็งเฉพาะพุทธานุญาตให้ถอนสิกขาบทเล็กน้อย แต่พิจารณาไปถึงแนวปฏิบัติในวงกว้าง
โดยไม่ต้องมานั่งสงสัยกันอีกว่า ไม่ถอนก็ส่วนไม่ถอน แต่จะบัญญัติสิกขาบทใหม่ๆ ขึ้นมาได้หรือไม่
และสิกขาบทที่มีอยู่แล้วนั้น จะละเลย ทำย่อๆ หย่อนๆ เสียบ้างได้หรือไม่
ญัตตินี้ให้คำตอบครอบคลุมครบถ้วน
ญัตติของพระมหากัสสปะนั้นไม่ใช่สิ่งที่ท่านคิดขึ้นเองเลย แต่เป็นแนวทางการปฏิบัติที่พระพุทธองค์ตรัสไว้ในอปริหานิยธรรมสำหรับภิกษุ
ซึ่งมีอยู่หลายชุด เฉพาะชุดที่ท่านนำมาเป็นญัตตินี้ตรัสไว้เป็นชุดแรกในมหาปรินิพพานสูตร
ภิกขุอปริหานิยธรรมชุดนี้มี ๗ ข้อ ข้อที่ท่านนำมาเป็นญัตติคือข้อที่ ๓ ซึ่งมีข้อความดังนี้
จักไม่ถอนสิ่งที่ได้บัญญัติไว้แล้ว
จักสมาทานประพฤติอยู่ในสิกขาบททั้งหลายตามที่ได้บัญญัติไว้แล้วอยู่เพียงใด
พึงหวังได้ซึ่งความเจริญอย่างเดียว ไม่มีเสื่อมเพียงนั้น
เรื่องสิกขาบทเล็กน้อยกับอปริหานิยธรรม เกี่ยวข้องกันในกรณีที่ว่า
มติไม่ถอนสิกขาบทตั้งอยู่บนพื้นฐานแห่งอปริหานิยธรรมข้อที่ ๓ หมายความว่าที่ประชุมปฐมสังคายนามุ่งมั่นที่จะปฏิบัติตาม
อปริหานิยธรรม จึงมีมติไม่ถอนสิกขาบทใดๆ ทั้งสิ้น นอกจากจะไม่ถอนแล้วยังจะไม่บัญญัติสิกขาบทใดๆ ขึ้นมาใหม่
แต่จะตั้งใจประพฤติปฏิบัติตามสิกขาบทที่ทรงบัญญัติไว้แล้ว
มติเช่นนี้ย่อมสอดคล้องกับอปริหานิยธรรมข้อ ๓ และสนองวัตถุประสงค์ของการทำปฐมสังคายนาได้เป็นอย่างดี
ทั้งนี้เพราะการปฏิบัติตามอปริหานิยธรรมแต่ละข้อย่อมมีอานิสงส์ดังที่ตรัสไว้ว่า “พึงหวังได้ซึ่งความเจริญอย่างเดียว ไม่มีเสื่อม”
ซึ่งสอดคล้องกับวัตถุประสงค์แห่งปฐมสังคายนาที่มุ่งจะรวบรวมหลักพระธรรมวินัยไว้เป็นแบบแผน
เพื่อป้องกันฝ่ายอธรรมวาทีอวินยวาที (พวกอลัชชี) ที่จะเกิดขึ้นย่ำยีหลักธรรมวินัยให้เสื่อมลงไปในอนาคต
ในทางตรงกันข้าม ถ้าที่ประชุมลงมติให้ถอนสิกขาบทเล็กน้อยได้
มติเช่นนั้นจะขัดแย้งกับอปริหานิยธรรมข้อ ๓ ทันที และความเสื่อมก็จะเกิดขึ้นทันทีเหมือนกัน
นั่นคือสิกขาบทหรือศีลของบรรพชิตในพระพุทธศาสนาจำนวนหนึ่งจะถูกยกเลิกเพิกถอนทันที
ถ้ามีความชัดเจนในพุทธานุญาตว่าสิกขาบทเล็กน้อยคืออะไรบ้าง สิกขาบทเหล่านั้นจะถูกยกเลิกเพิกถอนตั้งแต่คราวทำปฐมสังคายนานั่นแล้ว
>> ถ้าสงฆ์เป็นฝ่ายธรรมวาที วินยวาที (ยึดมั่นในพระธรรมวินัย)
การยกเลิกเพิกถอนสิกขาบทใด ๆ ก็แน่นอนว่าย่อมมุ่งจะให้เกิดผลดีหรือประสิทธิภาพในการบริหารงานพระศาสนา
นั่นคือเล็งถึงประโยชน์สุขแก่ชนหมู่มากที่จะพึงมีพึงได้จากพระศาสนา หรือเพื่อเกื้อกูลแก่การปฏิบัติธรรม
เหมือนคนเดินทาง พบสิ่งเกะกะกีดขวางซึ่งทำขึ้นในคราวหนึ่งโอกาสหนึ่งด้วยเหตุผลอย่างหนึ่ง แต่เมื่อพ้นคราวพ้นโอกาสนั้นๆ มาแล้ว
อาจไม่มีประโยชน์อีกต่อไป ถ้าสามารถยกออกถอนออกเสียบ้าง ก็จะเป็นการเปิดทางสะดวกให้แก่ผู้เดินทางนั้นในภายหลังได้รุดหน้าไปเร็วขึ้น
>> แต่ถ้ามีอธรรมวาทีอวินยวาที คือพวกอลัชชี เกิดขึ้นในสงฆ์
และเป็นฝ่ายมีกำลังมากขึ้น พุทธานุญาตนี้ก็จะเป็นช่องทางให้บุคคลจำพวกนั้น รวมกำลังเป็น “สงฆ์” แล้วยกเลิกเพิกถอนสิกขาบท
ได้ตามอำเภอใจ เพื่อให้ตนสามารถกระทำสิ่งที่ต้องการได้โดยไม่มีข้อขัดข้อง อลัชชีก็จะเข้ามากระทำย่ำยีต่อพระธรรมวินัย
ได้อย่างสบายนั่นเอง
แต่ไม่ว่าจะเล็งผลอย่างไรหรือคิดอย่างไร ก็จะต้องคำนึงถึงข้อเท็จจริงที่อาจเกิดขึ้นได้และเป็นไปได้อยู่ด้วยเสมอไป เช่น
ถ้าตกลงกันว่าให้ถอนสิกขาบทเล็กน้อย แล้วเกิดอธรรมวาทีอวินยวาทีมีกำลังตีความให้สิกขาบทต่างๆ
เป็นสิกขาบทเล็กน้อยไปเสียหมด จะทำอย่างไร
ส่วนกรณีความไม่ทันสมัย ไม่เข้ากับสภาพแวดล้อม ของสิกขาบทต่างๆ ก็ต้องมาพิจารณาด้วยเหตุผลว่าไม่ทันสมัยจริงๆ
หรือเป็นแต่เพียงคิดว่าไม่ทันสมัย หรือเป็นเพราะตัวบุคคลพัฒนาตัวเองไม่ถึงระดับของระเบียบวินัย
จึงคิดจะแก้ไขระเบียบวินัยลงมาหาความอ่อนด้อยของตัวเอง
นอกจากนี้ยังมีหลัก “มหาปเทส” เป็นเครื่องมืออันทรงประสิทธิภาพในการวินิจฉัยว่า อะไรควร อะไรไม่ควร อะไรทำได้ อะไรทำไม่ได้
ดังที่มีบางท่านกล่าวปรารภว่า ถ้าพระพุทธเจ้ายังทรงพระชนม์อยู่จนถึงบัดนี้ สิกขาบทของภิกษุสงฆ์คงจะมีมากกว่า ๒๒๗ ข้อ
ไปอีกหลายเท่า นี่ก็เพราะผู้ปรารภมองเห็นหลักของมหาปเทสที่ว่า แม้จะไม่มีสิกขาบทบัญญัติห้ามไว้ แต่ถ้าสิ่งนั้นไม่เหมาะสม ผู้รู้ตำหนิ ก็ไม่ควรทำ
ถ้าเทียบกับทางบ้านเมือง การยกเลิกกฎหมายเก่าอาจจำเป็นเพราะสถานการณ์บ้านเมืองเปลี่ยนไป
แต่พระธรรมวินัยโดยเฉพาะสิกขาบทต่างๆ นั้น ยากที่จะตัดสินได้ว่าข้อไหนขัดต่อการปฏิบัติธรรม และจะใช้เกณฑ์อะไรเป็นมาตรฐาน
ตัวอย่างเช่น นายดำ อุปสมบทเป็นภิกษุดำ ไม่ฉันภัตตาหารหลังเที่ยง ร่างกายสามารถดำรงอยู่ได้
และสามารถปฏิบัติบำเพ็ญสมณธรรมได้อย่างสบาย
ส่วนนายแดงอุปสมบทเป็นภิกษุแดง ไม่ฉันอาหารตอนเย็นแล้วเกิดอาการไม่สบาย เช่น ป่วยเป็นโรคกระเพาะ ไม่อาจปฏิบัติธรรมได้
ถ้ามีผู้เสนอให้สงฆ์ถอนสิกขาบทข้อที่ว่าด้วยห้ามฉันอาหารในเวลาวิกาลออกไป
สงฆ์จะใช้เกณฑ์ของภิกษุดำหรือภิกษุแดงเป็นมาตรฐานในการพิจารณา ?
ถ้าใช้ภิกษุดำเป็นเกณฑ์ ก็ไม่ต้องถอน แต่ขัดกับความจำเป็นของภิกษุแดง
ถ้าจะรักษาประโยชน์ของภิกษุแดง ก็ต้องถอน แต่จะทำให้เกณฑ์ของภิกษุดำลดต่ำลงไป
ภิกษุดำอาจนึกรังเกียจภิกษุแดงตลอดจนภิกษุอื่นๆ ที่ฉันอาหารในเวลาวิกาล (เพราะสงฆ์ถอนสิกขาบทข้อนี้ออกไปแล้ว)
ฝ่ายภิกษุแดงก็อาจนึกหมั่นไส้ภิกษุดำที่เคร่งครัดกว่า แล้วก็จะเกิดการกระทบกระทั่งกันอยู่เรื่อยๆ
แล้วถ้าอยู่ไปๆ เกิดมีภิกษุอะไรสักรูปหนึ่งหรือหลายรูป อ้างว่าตนหรือพวกตนมีความจำเป็น
คือถ้าไม่ได้เสพเมถุนวันละครั้งจะเกิดอาการไม่สบาย ไม่สามารถปฏิบัติธรรมได้ จึงเสนอขอให้สงฆ์ลงมติถอนสิกขาบทข้อนี้
สงฆ์จะใช้อะไรเป็นเกณฑ์ในการพิจารณา
แน่นอนว่าปัญหาจะย้อนกลับไปตั้งต้นถามกันใหม่ว่า อะไรบ้างคือสิกขาบทเล็กน้อย
ปัญหานี้ที่ประชุมปฐมสังคายนาท่านไม่ตัดสินชี้ขาดมาแล้ว – แล้วใครจะตัดสิน ?
นี่คือปรากฏการณ์จริงที่อาจเกิดขึ้นเป็นได้ ถ้าที่ประชุมปฐมสังคายนาลงมติให้ถอนสิกขาบทเล็กน้อยได้
และของจริงที่เกิดมีขึ้นแล้วก็ไม่ต้องดูอื่นไกล - ก็พระภิกษุในนิกายมหายานทุกวันนี้นั่นยังไง ถ้าเปรียบเทียบกับพระภิกษุนิกายเถรวาท ก็แทบจะเป็นคนละศาสนาอยู่แล้วมิใช่หรือ นั่นแหละผลงานของสงฆ์ฝ่ายที่ถือสิทธิ์ตามพุทธานุญาตถอนสิกขาบทเล็กน้อย
---------------
(มีต่อ)