รูปแบบการสอนพระธรรมในพระพุทธศาสนาเมื่อครั้งพุทธกาล ตามที่ปรากฏหลักฐานในพระไตรปิฎก มีอยู่ 4 รูปแบบใหญ่ๆ ดังนี้
๑. แบบสากัจฉา หรือสนทนา วิธีนี้น่าจะเป็นวิธีที่พระพุทธเจ้าทรงใช้บ่อยไม่น้อยกว่าวิธีใดๆ โดยเฉพาะในเมื่อผู้มาเฝ้าหรือทรงพบนั้น ยังไม่ได้เลื่อมใสศรัทธาในพระศาสนา ยังไม่รู้ ไม่เข้าใจหลักธรรม
ในการสนทนา พระพุทธเจ้ามักจะทรงเป็นฝ่ายถาม นำคู่สนทนาเข้าสู่ความเข้าใจธรรมและความเลื่อมใสศรัทธาในที่สุด
แม้ในหมู่พระสาวก พระองค์ก็ทรงใช้วิธีนี้ไม่น้อย และทรงส่งเสริมให้สาวกสนทนาธรรมกัน อย่างในมงคลสูตรว่า "กาเลน ธมฺมสากจฺฉา เอตมฺมงฺคลมุตฺตมํ - การสนทนาธรรมตามกาล เป็นมงคลอันอุดม” ดังนี้
๒. แบบบรรยาย วิธีสอนแบบนี้ น่าจะทรงใช้ในที่ประชุมใหญ่ ในการแสดงธรรมประจำวัน ซึ่งมีประชาชน หรือพระสงฆ์จำนวนมาก และส่วนมากเป็นผู้มีพื้นความรู้ความเข้าใจ กับมีความเลื่อมใสศรัทธาอยู่แล้ว มาฟังเพื่อหาความรู้ความเข้าใจเพิ่มเติม และหาความสงบสุขทางจิตใจ นับได้ว่าเป็นคนประเภทและระดับใกล้เคียงกัน พอจะใช้วิธีบรรยายอันเป็นแบบกว้างๆ ได้
ลักษณะพิเศษของพุทธวิธีสอนแบบนี้ ที่พบในคัมภีร์บอกว่า ทุกคนที่ฟังพระองค์แสดงธรรมอยู่ในที่ประชุมนั้น แต่ละคนรู้สึกว่า พระพุทธเจ้าตรัสอยู่กับตัวเองโดยเฉพาะ ซึ่งนับว่าเป็นความสามารถอัศจรรย์อีกอย่างหนึ่งของพระพุทธเจ้า
๓. แบบตอบปัญหา ผู้ที่มาถามปัญหานั้น นอกจากผู้ที่มีความสงสัยข้องใจในข้อธรรมต่างๆ แล้ว โดยมากเป็นผู้นับถือลัทธิศาสนาอื่น บ้างก็มาถามเพื่อต้องการรู้คำสอนทางฝ่ายพระพุทธศาสนา หรือเทียบเคียงกับคำสอนในลัทธิของตน บ้างก็มาถามเพื่อลองภูมิ บ้างก็เตรียมมาถามเพื่อข่มปราบให้จน หรือให้ได้รับความอับอาย
ในการตอบ พระพุทธองค์ทรงสอนให้พิจารณาดูลักษณะของปัญหา และใช้วิธีตอบให้เหมาะกัน
ในสังคีติสูตร1 ท่านแยกประเภทปัญหาไว้ตามลักษณะวิธีตอบเป็น ๔ อย่าง คือ
๑) เอกังสพยากรณียปัญหา ปัญหาที่พึงตอบตรงไปตรงมาตายตัว พระอรรถกถาจารย์ยกตัวอย่างเช่น ถามว่า “จักษุเป็นอนิจจังหรือ” พึงตอบตรงไปได้ทีเดียวว่า “ถูกแล้ว”
๒) ปฏิปุจฉาพยากรณียปัญหา ปัญหาที่พึงย้อนถามแล้วจึงแก้ ท่านยกตัวอย่าง เช่นเขาถามว่า “โสตะก็เหมือนจักษุหรือ” พึงย้อนถามก่อนว่า “ที่ถามนั้นหมายถึงแง่ใด” ถ้าเขาว่า “ในแง่เป็นเครื่องมองเห็น” พึงตอบว่า “ไม่เหมือน” ถ้าเขาว่า “ในแง่เป็นอนิจจัง” จึงควรตอบรับว่า “เหมือน”
๓) วิภัชชพยากรณียปัญหา ปัญหาที่จะต้องแยกแยะตอบ เช่นเมื่อเขาถามว่า “สิ่งที่เป็นอนิจจัง ได้แก่ จักษุใช่ไหม?” พึงจำแนกความออกแยกแยะตอบว่า “ไม่เฉพาะจักษุเท่านั้น ถึงโสตะ ฆานะ ฯลฯ ก็เป็นอนิจจัง"
หรือปัญหาว่า “พระตถาคตตรัสวาจาซึ่งไม่เป็นที่รักที่ชอบใจของคนอื่นไหม?” ก็ต้องแยกตอบตามหลักการตรัสวาจา ๖ หรือปัญหาว่า "พระพุทธเจ้าทรงติเตียนตบะทั้งหมดจริงหรือ”2 ก็ต้องแยกตอบว่าชนิดใดติเตียน ชนิดใดไม่ติเตียน ดังนี้เป็นต้น
๔) ฐปนียปัญหา ปัญหาที่พึงยับยั้งเสีย ได้แก่ ปัญหาที่ถามนอกเรื่อง ไร้ประโยชน์ อันจักเป็นเหตุให้เขว ยืดเยื้อ สิ้นเปลืองเวลาเปล่า พึงยับยั้งเสีย แล้วชักนำผู้ถามกลับเข้าสู่แนวหรือเรื่องที่ประสงค์ต่อไป
ท่านยกตัวอย่าง เมื่อถามว่า “ชีวะอันใด สรีระก็อันนั้นหรือ?” อย่างนี้เป็นคำถามประเภทเก็งความจริง ซึ่งถึงอธิบายอย่างไร ผู้ถามก็ไม่อาจเข้าใจหรือพบข้อยุติ เพราะไม่อยู่ในฐานะที่เขาจะเข้าใจได้ พิสูจน์ไม่ได้ ทั้งไม่เกิดประโยชน์อะไรแก่เขาด้วย
นอกจากนี้ ท่านยังสอนให้คำนึงถึงเหตุแห่งการถามปัญหาด้วย ในเรื่องนี้ พระสารีบุตร อัครสาวก เคยแสดงเหตุแห่งการถามปัญหาไว้ว่า
“บุคคลผู้ใดผู้หนึ่ง ย่อมถามปัญหากะผู้อื่น ด้วยเหตุ ๕ อย่าง อย่างใดอย่างหนึ่งหรือทั้ง ๕ อย่าง คือ
๑) บางคน ย่อมถามปัญหาเพราะความโง่เขลา เพราะความไม่เข้าใจ
๒) บางคน มีความปรารถนาลามก เกิดความอยากได้ จึงถามปัญหา
๓) บางคน ย่อมถามปัญหา ด้วยต้องการอวดเด่นข่มเขา
๔) บางคน ย่อมถามปัญหาด้วยประสงค์จะรู้
๕) บางคน ย่อมถามปัญหาด้วยมีความดำริว่า เมื่อเราถามแล้ว ถ้าเขาตอบได้ถูกต้องก็เป็นการดี แต่ถ้าเราถามแล้ว เขาตอบไม่ถูกต้อง เราจะได้ช่วยแก้ให้เขาโดยถูกต้อง”
ในการตอบปัญหา นอกจากรู้วิธีตอบแล้ว ถ้าได้รู้ซึ้งถึงจิตใจของผู้ถามด้วยว่า เขาถามด้วยความประสงค์อย่างใด ก็จะสามารถกล่าวแก้ได้เหมาะแก่การ และตอบปัญหาได้ตรงจุด ทำให้การสอนได้ผลดียิ่งขึ้น
๔. แบบวางกฎข้อบังคับ เมื่อเกิดเรื่องมีภิกษุกระทำความผิดอย่างใดอย่างหนึ่งขึ้นเป็นครั้งแรก พระสงฆ์หรือประชาชนเล่าลือโพนทนาติเตียนกันอยู่ มีผู้นำความมากราบทูลพระพุทธเจ้า พระองค์ก็จะทรงเรียกประชุมสงฆ์ สอบถามพระภิกษุผู้กระทำความผิด
เมื่อเจ้าตัวรับได้ความเป็นสัตย์จริงแล้ว ก็จะทรงตำหนิ ชี้แจงผลเสียหายที่เกิดแก่ส่วนรวม พรรณนาผลร้ายของความประพฤติไม่ดี และคุณประโยชน์ของความประพฤติที่ดีงาม แล้วทรงแสดงธรรมกถาที่สมควรเหมาะสมกันกับเรื่องนั้น
จากนั้นจะตรัสให้สงฆ์ทราบว่า จะทรงบัญญัติสิกขาบท โดยทรงแถลงวัตถุประสงค์ในการบัญญัติให้ทราบ แล้วทรงบัญญัติสิกขาบทข้อนั้นๆ ไว้ โดยความเห็นชอบพร้อมกันของสงฆ์ ในท่ามกลางสงฆ์ และโดยความรับทราบร่วมกันของสงฆ์
ในการสอนแบบนี้ พึงสังเกตว่าพระพุทธเจ้าทรงบัญญัติสิกขาบทโดยความเห็นชอบของสงฆ์ ซึ่งบาลีใช้คำว่า “สงฺฆสุฏฺฐุตาย” แปลว่า “เพื่อความรับว่าดีแห่งสงฆ์”
ท่านอธิบายความหมายว่า ทรงบัญญัติโดยชี้แจงให้เห็นแล้วว่า ถ้าไม่รับจะเกิดผลเสียอย่างไร เมื่อรับจะมีผลดีอย่างไร จนสงฆ์รับคำของพระองค์ว่า ดีแล้ว ไม่ทรงบังคับเอาโดยพลการ
*****************************************
ในปัจจุบัน ไม่ว่าจะเป็นวัดไหน หรือสำนักไหน แทบจะหาได้ยากที่พระอาจารย์หรืออาจารย์ผู้สอน จะใช้วิธีการสอนแบบดั้งเดิมในพระพุทธศาสนา โดยเฉพาะวิธีสากัจฉา หรือการสนทนาธรรม ที่มีการเปิดโอกาสให้ถามตอบ (ปุจฉา-วิสัชชณา) แบบกว้างขวาง (อาจจะมีบางทีที่พอมีเป็นพิธี นิดๆ หน่อยๆ) หรือเวลาที่มีผู้ถามปัญหา ก็แทบจะไม่เห็นอาจารย์ผู้สอนที่จะใช้วิธี "ปฏิปุจฉาพยากรณียปัญหา" สำหรับปัญหาที่พึงย้อนถามแล้วจึงแก้
ถ้ามีท่านใดรู้ กรุณาช่วยแนะนำให้ด้วย จักขอบพระคุณมากครับ (ช่วยยกเป็นคลิปตัวอย่าง จะดีมาก)
ปัจจุบัน ยังมีวัดไหนหรือสำนักสอนธรรมที่ไหนที่ยังคงรูปแบบการสอนในพระพุทธศาสนาเมื่อครั้งพุทธกาลไว้อย่างสมบูรณ์
๑. แบบสากัจฉา หรือสนทนา วิธีนี้น่าจะเป็นวิธีที่พระพุทธเจ้าทรงใช้บ่อยไม่น้อยกว่าวิธีใดๆ โดยเฉพาะในเมื่อผู้มาเฝ้าหรือทรงพบนั้น ยังไม่ได้เลื่อมใสศรัทธาในพระศาสนา ยังไม่รู้ ไม่เข้าใจหลักธรรม
ในการสนทนา พระพุทธเจ้ามักจะทรงเป็นฝ่ายถาม นำคู่สนทนาเข้าสู่ความเข้าใจธรรมและความเลื่อมใสศรัทธาในที่สุด
แม้ในหมู่พระสาวก พระองค์ก็ทรงใช้วิธีนี้ไม่น้อย และทรงส่งเสริมให้สาวกสนทนาธรรมกัน อย่างในมงคลสูตรว่า "กาเลน ธมฺมสากจฺฉา เอตมฺมงฺคลมุตฺตมํ - การสนทนาธรรมตามกาล เป็นมงคลอันอุดม” ดังนี้
๒. แบบบรรยาย วิธีสอนแบบนี้ น่าจะทรงใช้ในที่ประชุมใหญ่ ในการแสดงธรรมประจำวัน ซึ่งมีประชาชน หรือพระสงฆ์จำนวนมาก และส่วนมากเป็นผู้มีพื้นความรู้ความเข้าใจ กับมีความเลื่อมใสศรัทธาอยู่แล้ว มาฟังเพื่อหาความรู้ความเข้าใจเพิ่มเติม และหาความสงบสุขทางจิตใจ นับได้ว่าเป็นคนประเภทและระดับใกล้เคียงกัน พอจะใช้วิธีบรรยายอันเป็นแบบกว้างๆ ได้
ลักษณะพิเศษของพุทธวิธีสอนแบบนี้ ที่พบในคัมภีร์บอกว่า ทุกคนที่ฟังพระองค์แสดงธรรมอยู่ในที่ประชุมนั้น แต่ละคนรู้สึกว่า พระพุทธเจ้าตรัสอยู่กับตัวเองโดยเฉพาะ ซึ่งนับว่าเป็นความสามารถอัศจรรย์อีกอย่างหนึ่งของพระพุทธเจ้า
๓. แบบตอบปัญหา ผู้ที่มาถามปัญหานั้น นอกจากผู้ที่มีความสงสัยข้องใจในข้อธรรมต่างๆ แล้ว โดยมากเป็นผู้นับถือลัทธิศาสนาอื่น บ้างก็มาถามเพื่อต้องการรู้คำสอนทางฝ่ายพระพุทธศาสนา หรือเทียบเคียงกับคำสอนในลัทธิของตน บ้างก็มาถามเพื่อลองภูมิ บ้างก็เตรียมมาถามเพื่อข่มปราบให้จน หรือให้ได้รับความอับอาย
ในการตอบ พระพุทธองค์ทรงสอนให้พิจารณาดูลักษณะของปัญหา และใช้วิธีตอบให้เหมาะกัน
ในสังคีติสูตร1 ท่านแยกประเภทปัญหาไว้ตามลักษณะวิธีตอบเป็น ๔ อย่าง คือ
๑) เอกังสพยากรณียปัญหา ปัญหาที่พึงตอบตรงไปตรงมาตายตัว พระอรรถกถาจารย์ยกตัวอย่างเช่น ถามว่า “จักษุเป็นอนิจจังหรือ” พึงตอบตรงไปได้ทีเดียวว่า “ถูกแล้ว”
๒) ปฏิปุจฉาพยากรณียปัญหา ปัญหาที่พึงย้อนถามแล้วจึงแก้ ท่านยกตัวอย่าง เช่นเขาถามว่า “โสตะก็เหมือนจักษุหรือ” พึงย้อนถามก่อนว่า “ที่ถามนั้นหมายถึงแง่ใด” ถ้าเขาว่า “ในแง่เป็นเครื่องมองเห็น” พึงตอบว่า “ไม่เหมือน” ถ้าเขาว่า “ในแง่เป็นอนิจจัง” จึงควรตอบรับว่า “เหมือน”
๓) วิภัชชพยากรณียปัญหา ปัญหาที่จะต้องแยกแยะตอบ เช่นเมื่อเขาถามว่า “สิ่งที่เป็นอนิจจัง ได้แก่ จักษุใช่ไหม?” พึงจำแนกความออกแยกแยะตอบว่า “ไม่เฉพาะจักษุเท่านั้น ถึงโสตะ ฆานะ ฯลฯ ก็เป็นอนิจจัง"
หรือปัญหาว่า “พระตถาคตตรัสวาจาซึ่งไม่เป็นที่รักที่ชอบใจของคนอื่นไหม?” ก็ต้องแยกตอบตามหลักการตรัสวาจา ๖ หรือปัญหาว่า "พระพุทธเจ้าทรงติเตียนตบะทั้งหมดจริงหรือ”2 ก็ต้องแยกตอบว่าชนิดใดติเตียน ชนิดใดไม่ติเตียน ดังนี้เป็นต้น
๔) ฐปนียปัญหา ปัญหาที่พึงยับยั้งเสีย ได้แก่ ปัญหาที่ถามนอกเรื่อง ไร้ประโยชน์ อันจักเป็นเหตุให้เขว ยืดเยื้อ สิ้นเปลืองเวลาเปล่า พึงยับยั้งเสีย แล้วชักนำผู้ถามกลับเข้าสู่แนวหรือเรื่องที่ประสงค์ต่อไป
ท่านยกตัวอย่าง เมื่อถามว่า “ชีวะอันใด สรีระก็อันนั้นหรือ?” อย่างนี้เป็นคำถามประเภทเก็งความจริง ซึ่งถึงอธิบายอย่างไร ผู้ถามก็ไม่อาจเข้าใจหรือพบข้อยุติ เพราะไม่อยู่ในฐานะที่เขาจะเข้าใจได้ พิสูจน์ไม่ได้ ทั้งไม่เกิดประโยชน์อะไรแก่เขาด้วย
นอกจากนี้ ท่านยังสอนให้คำนึงถึงเหตุแห่งการถามปัญหาด้วย ในเรื่องนี้ พระสารีบุตร อัครสาวก เคยแสดงเหตุแห่งการถามปัญหาไว้ว่า
“บุคคลผู้ใดผู้หนึ่ง ย่อมถามปัญหากะผู้อื่น ด้วยเหตุ ๕ อย่าง อย่างใดอย่างหนึ่งหรือทั้ง ๕ อย่าง คือ
๑) บางคน ย่อมถามปัญหาเพราะความโง่เขลา เพราะความไม่เข้าใจ
๒) บางคน มีความปรารถนาลามก เกิดความอยากได้ จึงถามปัญหา
๓) บางคน ย่อมถามปัญหา ด้วยต้องการอวดเด่นข่มเขา
๔) บางคน ย่อมถามปัญหาด้วยประสงค์จะรู้
๕) บางคน ย่อมถามปัญหาด้วยมีความดำริว่า เมื่อเราถามแล้ว ถ้าเขาตอบได้ถูกต้องก็เป็นการดี แต่ถ้าเราถามแล้ว เขาตอบไม่ถูกต้อง เราจะได้ช่วยแก้ให้เขาโดยถูกต้อง”
ในการตอบปัญหา นอกจากรู้วิธีตอบแล้ว ถ้าได้รู้ซึ้งถึงจิตใจของผู้ถามด้วยว่า เขาถามด้วยความประสงค์อย่างใด ก็จะสามารถกล่าวแก้ได้เหมาะแก่การ และตอบปัญหาได้ตรงจุด ทำให้การสอนได้ผลดียิ่งขึ้น
๔. แบบวางกฎข้อบังคับ เมื่อเกิดเรื่องมีภิกษุกระทำความผิดอย่างใดอย่างหนึ่งขึ้นเป็นครั้งแรก พระสงฆ์หรือประชาชนเล่าลือโพนทนาติเตียนกันอยู่ มีผู้นำความมากราบทูลพระพุทธเจ้า พระองค์ก็จะทรงเรียกประชุมสงฆ์ สอบถามพระภิกษุผู้กระทำความผิด
เมื่อเจ้าตัวรับได้ความเป็นสัตย์จริงแล้ว ก็จะทรงตำหนิ ชี้แจงผลเสียหายที่เกิดแก่ส่วนรวม พรรณนาผลร้ายของความประพฤติไม่ดี และคุณประโยชน์ของความประพฤติที่ดีงาม แล้วทรงแสดงธรรมกถาที่สมควรเหมาะสมกันกับเรื่องนั้น
จากนั้นจะตรัสให้สงฆ์ทราบว่า จะทรงบัญญัติสิกขาบท โดยทรงแถลงวัตถุประสงค์ในการบัญญัติให้ทราบ แล้วทรงบัญญัติสิกขาบทข้อนั้นๆ ไว้ โดยความเห็นชอบพร้อมกันของสงฆ์ ในท่ามกลางสงฆ์ และโดยความรับทราบร่วมกันของสงฆ์
ในการสอนแบบนี้ พึงสังเกตว่าพระพุทธเจ้าทรงบัญญัติสิกขาบทโดยความเห็นชอบของสงฆ์ ซึ่งบาลีใช้คำว่า “สงฺฆสุฏฺฐุตาย” แปลว่า “เพื่อความรับว่าดีแห่งสงฆ์”
ท่านอธิบายความหมายว่า ทรงบัญญัติโดยชี้แจงให้เห็นแล้วว่า ถ้าไม่รับจะเกิดผลเสียอย่างไร เมื่อรับจะมีผลดีอย่างไร จนสงฆ์รับคำของพระองค์ว่า ดีแล้ว ไม่ทรงบังคับเอาโดยพลการ
*****************************************
ในปัจจุบัน ไม่ว่าจะเป็นวัดไหน หรือสำนักไหน แทบจะหาได้ยากที่พระอาจารย์หรืออาจารย์ผู้สอน จะใช้วิธีการสอนแบบดั้งเดิมในพระพุทธศาสนา โดยเฉพาะวิธีสากัจฉา หรือการสนทนาธรรม ที่มีการเปิดโอกาสให้ถามตอบ (ปุจฉา-วิสัชชณา) แบบกว้างขวาง (อาจจะมีบางทีที่พอมีเป็นพิธี นิดๆ หน่อยๆ) หรือเวลาที่มีผู้ถามปัญหา ก็แทบจะไม่เห็นอาจารย์ผู้สอนที่จะใช้วิธี "ปฏิปุจฉาพยากรณียปัญหา" สำหรับปัญหาที่พึงย้อนถามแล้วจึงแก้
ถ้ามีท่านใดรู้ กรุณาช่วยแนะนำให้ด้วย จักขอบพระคุณมากครับ (ช่วยยกเป็นคลิปตัวอย่าง จะดีมาก)