10 กว่าปีที่แล้ว ในตอนที่เสื้อแดงยังเป็นกลุ่มก้อนใหญ่ทางการเมืองกลุ่มหนึ่งอยู่ ด้วยความที่เป็นเด็กจบใหม่ อุดมการณ์แรง ยอมรับว่าตัวเองไม่ค่อยถูกกับความคิดที่ว่าเป็นกลางสักเท่าไหร่ เพราะคิดว่าพวกเขาไม่ค่อยกล้าแสดงออก หรือไม่ก็แอบเป็นอีกฝั่งแต่เนียนว่าตัวเองเป็นกลาง
แต่วันนี้ ผมรู้สึกว่า ความเป็นกลาง (ที่ไม่แฝงเจตนาร้ายกับฝ่ายใด และยังมีความเคารพต่อสถาบันหลักของชาติอยู่) อาจจะเป็นสิ่งที่ดีที่สุดในตอนนี้
เหตุผลก็คือ ตั้งแต่ตอนที่พรรคอนาคตใหม่ถูกยุบมา (จากความผิดพลาดของตัวเอง) ผมเห็นแววว่าต้องมีการโต้กลับแน่ๆ แต่ผมไม่คิดว่า จะมีการจัดชุมนุมในแต่ละมหาวิทยาลัย เพียงเพราะพรรคอนาคตใหม่ถูกยุบไปเพียงพรรคเดียวๆ ขณะที่หัวหอกใหญ่อย่างเพื่อไทย ยังสามารถถกเถียง อภิปราย เรื่องราวในรัฐบาลได้ต่อไปอย่างไม่เปลี่ยน ผมคิดว่า สมาชิกพรรคที่ยังเป็น ส.ส. อยู่ อาจจะเปลี่ยนมาอยู่กับเพื่อไทย ซึ่งกลายเป็นว่าพวกเขาเปลี่ยนมาอยู่กับพรรคก้าวหน้าแทน ซึ่งจริงๆ ผมว่าไม่ผิดอะไรเพราะคิดว่าพวกเขาก็ยังทำหน้าในสภาได้ต่อ
อย่างไรก็ตาม ปัญหาของผมที่ผมมองเห็นก็คือ การที่มีนักศึกษาในแต่ละมหาลัยประกาศจัดชุมนุม (ซึ่งน่าจะนำโดยกลุ่มสายการเมืองในแต่ละมหาลัย) ในตอนนั้น ผมเข้าใจว่าเป็นการแสดงเชิงสัญลักษณ์ และไม่น่าจะมีอะไรมาก แต่พอถึงกลางเดือนมีนาคม มันก็มีแท็กที่น่าตกใจขึ้นมาในทวิตเตอร์ แม้ว่าสื่อส่วนใหญ่จะไม่ได้ทำข่าว แต่ในตอนนั้น ผมวิเคราะห์ตั้งแต่ตอนนั้นเลยว่า อาจจะมีบางอย่างปะทุขึ้นในไม่ช้า
และสิ่งที่มันเกิดขึ้นก็เป็นจริง หลังจากที่รัฐบาลยกเลิกเคอร์ฟิวไม่นาน มีข่าวทหารจากอียิปต์แล้วมีการวิจารณ์รัฐบาลกัน จากนั้นก็มีคนประกาศชุมนุมทันทีทันใด ในนามเยาวชนปลดแอก ซึ่งบางอย่าง หลายๆ ท่านอาจจะอ่านข่าวไปแล้วจึงไม่ขยายความมาก แต่ประเด็นที่ทำให้ผมต้องเริ่มคิดถึงก็คือ มันจะเกินเลยประท้วงขับไล่รัฐบาลหรือเปล่า เพราะนับตั้งแต่เรื่องราว 10 ข้อที่ถูกประกาศที่ มธ. รังสิต ผมรู้ตั้งแต่ตอนที่อ่านครั้งแรกเลยว่านั้นคือ 8 ข้อที่ถูกเสนอมาเมื่อ 10 กว่าปีที่แล้ว เพียงแต่ถูกเพิ่มเติมมาอีก 2 ข้อเท่านั้น นั้นทำให้ผมเริ่มรู้สึกไม่สบายใจ และมันก็ยิ่งไม่สบายใจเมื่อเด็กมัธยมเอง ก็ถูกจัดให้เข้าร่วมกิจกรรมในโรงเรียนด้วย และเมื่อปะทะกับครูอาจารย์ในโรงเรียน ผมก็ยิ่งไม่สบายใจมากขึ้น และทำให้นึกถึงช่วงเลือกตั้งปีที่แล้วที่พ่อแม่ต้องทะเลาะกับลูก
ผมเชื่อว่า หลายๆ คนที่อย่างน้อยอาจจะทันช่วงพฤษภาทมิฬ รู้สึกไม่ดีกับเผด็จการทหารที่มาจากรัฐประหาร ซึ่งมีหลายยุคหลายสมัย นับตั้งแต่ช่วงอภิวัฒน์สยามไม่นานจนตอนนี้ก็เกือบ 90 ปีแล้ว มีประมาณหลายครั้งมาก ทั้งในนามรัฐประหาร และการก่อกบฏ แต่การทำรัฐประหารในช่วงหลัง กลุ่มนายพลมักอ้างว่ามีสาเหตุมาจากความไม่สงบเรียบร้อยของบ้านเมือง หรือไม่ก็มีบางอย่างที่อาจจะกระทบต่อความมั่นคง ซึ่งในมุมมองของฝ่ายสนับสนุน มองว่าเป็นการรักษาความสงบสุขของบ้านเมืองไว้ อีกฝ่ายมองว่าเป็นการฉกฉวยโอกาส
สิ่งที่ผมกังวลมากขึ้นในตอนนี้ก็คือ เมื่อสถานการณ์รุนแรงขึ้นถึงขั้นกระทบกระเทือนไปถึงเยาวชนซึ่งควรจะใช้เวลาศึกษาเล่าเรียนหรือเพลิดเพลินไปกับชีวิตวัยเด็กวัยรุ่นของตัวเอง ทั้งยังลุกลามไปทั่วประเทศและกระทบถึงสิ่งที่ไม่ควรดึงลงต่ำ ผมกลัวว่านั้นอาจจะเป็นโอกาสที่ทำให้เกิดรัฐประหารซ้ำอีกครั้งได้เสียมากกว่า ด้วยเหตุผลจากเรื่องราวดังกล่าว ในมุมมองของผมที่พยายามจะเป็นกลางที่สุดก็คือ ผมอยากให้มีการตรวจสอบการเลือกตั้งเมื่อปีก่อน ซึ่งถ้าพบว่ามันอาจจะยังมีกลิ่นอยู่ หรือมีปัญหาสะดุดเหมือนที่เคยเกิดขึ้นกับคุณอภิสิทธิ์ อย่างน้อยมันก็พอเป็นเหตุชอบธรรมที่จะยุบสภาได้โดยไม่มีความขัดแย้งรุนแรงเกิดขึ้น แต่ถ้าตรวจสอบแล้วว่าไม่มี ผมก็ต้องยอมรับว่า ส.ส. ทุกคนมาจากประชาชน และก็ต้องยอมรับเกมในสภา และรอเลือกตั้งใหม่เท่านั้น ส่วนเรื่องรัฐธรรมนูญ ผมมองว่าไม่จำเป็นต้องเอาฉบับ 2540 มาใช้ใหม่ เพียงแค่ให้แก้ส่วนที่ถูกมองว่าเสริมสร้างอำนาจของรัฐบาลมากไปเสียดีกว่า
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้แต่ในมุมมองส่วนตัวของผม ผมมองว่า การเมืองไทย ยังมีกลิ่นของคณะราษฎรอยู่มาก เพราะไม่ควรลืมว่าคณะราษฎรนั้น เริ่มมาจากทหาร ซึ่งการรัฐประหารครั้งแล้วครั้งเล่า ผมเชื่อว่าน่าจะเป็นการอ้างความชอบธรรมเพื่อประเทศ ในรูปแบบที่คล้ายกับอาณัติสวรรค์ของจีน ส่วนสายพลเรือนของท่านปรีดีเองก็เป็นปัญหาไม่ต่างกัน เปรียบดังหนูและแมว เช่น ช่วงรัฐประหารปี 2519 ที่ทหารต้องเข้ามารัฐประหารหลังจากเหตุการณ์ก่อนหน้านั้นเพราะมองว่าอาจจะมีเรื่องกระทบกระเทือนความมั่นคงซึ่งมาจากกลุ่มนักศึกษาที่ถูกมองว่าฝักใฝ่สังคมนิยม แต่ตรงนี้ผมจะไม่พูดมากเพราะมันซับซ้อน ดังนั้นจะค่อยๆ อธิบายสำหรับท่านที่ตั้งคำถามมา (ถ้ากระทู้ไม่ถูกลบซะก่อน) แต่ผมขอสรุปสั้นๆ ว่า ผมต้องการให้กลิ่นของคณะราษฎรหายไปจากการเมืองไทย เพราะแม้พวกเขาจะเป็นผู้อภิวัฒน์เพื่อเบิกทางประชาธิปไตย แต่ผลเสียโดยรวมจนถึงตอนนี้นั้น มีมากกว่าดี ดังนั้นผมจึงต้องการลบล้างไปเพื่อให้ความขัดแย้งหายไปเสียที รวมถึงการมีอคติต่อสิ่งที่เราเคารพรักด้วยเช่นกัน
ที่ผมพูดมาทั้งหมด ผมแค่ต้องการให้ประเทศเดินไปในทางที่ดีขึ้นเท่านั้น โดยไม่จำเป็นต้องมีปัญหาใดๆ อีก หากสงสัยกันจริงๆ ก็ถามกันมาได้ แต่ผมไม่สะดวกจะโต้เถียงกับใครนะครับ ผมแค่ต้องการให้ครอบครัวรักกันเหมือนเดิม ครูอาจารย์ลูกศิษย์รักกันเหมือนเดิม ไม่อยากให้เป็นเหมือนเมืองไทยยุค 70 หรือจีนยุค 70 เท่านั้นเอง
คุณคิดว่า เด็กๆ ถูกบังคับ เกินไปหรือเปล่า
แต่วันนี้ ผมรู้สึกว่า ความเป็นกลาง (ที่ไม่แฝงเจตนาร้ายกับฝ่ายใด และยังมีความเคารพต่อสถาบันหลักของชาติอยู่) อาจจะเป็นสิ่งที่ดีที่สุดในตอนนี้
เหตุผลก็คือ ตั้งแต่ตอนที่พรรคอนาคตใหม่ถูกยุบมา (จากความผิดพลาดของตัวเอง) ผมเห็นแววว่าต้องมีการโต้กลับแน่ๆ แต่ผมไม่คิดว่า จะมีการจัดชุมนุมในแต่ละมหาวิทยาลัย เพียงเพราะพรรคอนาคตใหม่ถูกยุบไปเพียงพรรคเดียวๆ ขณะที่หัวหอกใหญ่อย่างเพื่อไทย ยังสามารถถกเถียง อภิปราย เรื่องราวในรัฐบาลได้ต่อไปอย่างไม่เปลี่ยน ผมคิดว่า สมาชิกพรรคที่ยังเป็น ส.ส. อยู่ อาจจะเปลี่ยนมาอยู่กับเพื่อไทย ซึ่งกลายเป็นว่าพวกเขาเปลี่ยนมาอยู่กับพรรคก้าวหน้าแทน ซึ่งจริงๆ ผมว่าไม่ผิดอะไรเพราะคิดว่าพวกเขาก็ยังทำหน้าในสภาได้ต่อ
อย่างไรก็ตาม ปัญหาของผมที่ผมมองเห็นก็คือ การที่มีนักศึกษาในแต่ละมหาลัยประกาศจัดชุมนุม (ซึ่งน่าจะนำโดยกลุ่มสายการเมืองในแต่ละมหาลัย) ในตอนนั้น ผมเข้าใจว่าเป็นการแสดงเชิงสัญลักษณ์ และไม่น่าจะมีอะไรมาก แต่พอถึงกลางเดือนมีนาคม มันก็มีแท็กที่น่าตกใจขึ้นมาในทวิตเตอร์ แม้ว่าสื่อส่วนใหญ่จะไม่ได้ทำข่าว แต่ในตอนนั้น ผมวิเคราะห์ตั้งแต่ตอนนั้นเลยว่า อาจจะมีบางอย่างปะทุขึ้นในไม่ช้า
และสิ่งที่มันเกิดขึ้นก็เป็นจริง หลังจากที่รัฐบาลยกเลิกเคอร์ฟิวไม่นาน มีข่าวทหารจากอียิปต์แล้วมีการวิจารณ์รัฐบาลกัน จากนั้นก็มีคนประกาศชุมนุมทันทีทันใด ในนามเยาวชนปลดแอก ซึ่งบางอย่าง หลายๆ ท่านอาจจะอ่านข่าวไปแล้วจึงไม่ขยายความมาก แต่ประเด็นที่ทำให้ผมต้องเริ่มคิดถึงก็คือ มันจะเกินเลยประท้วงขับไล่รัฐบาลหรือเปล่า เพราะนับตั้งแต่เรื่องราว 10 ข้อที่ถูกประกาศที่ มธ. รังสิต ผมรู้ตั้งแต่ตอนที่อ่านครั้งแรกเลยว่านั้นคือ 8 ข้อที่ถูกเสนอมาเมื่อ 10 กว่าปีที่แล้ว เพียงแต่ถูกเพิ่มเติมมาอีก 2 ข้อเท่านั้น นั้นทำให้ผมเริ่มรู้สึกไม่สบายใจ และมันก็ยิ่งไม่สบายใจเมื่อเด็กมัธยมเอง ก็ถูกจัดให้เข้าร่วมกิจกรรมในโรงเรียนด้วย และเมื่อปะทะกับครูอาจารย์ในโรงเรียน ผมก็ยิ่งไม่สบายใจมากขึ้น และทำให้นึกถึงช่วงเลือกตั้งปีที่แล้วที่พ่อแม่ต้องทะเลาะกับลูก
ผมเชื่อว่า หลายๆ คนที่อย่างน้อยอาจจะทันช่วงพฤษภาทมิฬ รู้สึกไม่ดีกับเผด็จการทหารที่มาจากรัฐประหาร ซึ่งมีหลายยุคหลายสมัย นับตั้งแต่ช่วงอภิวัฒน์สยามไม่นานจนตอนนี้ก็เกือบ 90 ปีแล้ว มีประมาณหลายครั้งมาก ทั้งในนามรัฐประหาร และการก่อกบฏ แต่การทำรัฐประหารในช่วงหลัง กลุ่มนายพลมักอ้างว่ามีสาเหตุมาจากความไม่สงบเรียบร้อยของบ้านเมือง หรือไม่ก็มีบางอย่างที่อาจจะกระทบต่อความมั่นคง ซึ่งในมุมมองของฝ่ายสนับสนุน มองว่าเป็นการรักษาความสงบสุขของบ้านเมืองไว้ อีกฝ่ายมองว่าเป็นการฉกฉวยโอกาส
สิ่งที่ผมกังวลมากขึ้นในตอนนี้ก็คือ เมื่อสถานการณ์รุนแรงขึ้นถึงขั้นกระทบกระเทือนไปถึงเยาวชนซึ่งควรจะใช้เวลาศึกษาเล่าเรียนหรือเพลิดเพลินไปกับชีวิตวัยเด็กวัยรุ่นของตัวเอง ทั้งยังลุกลามไปทั่วประเทศและกระทบถึงสิ่งที่ไม่ควรดึงลงต่ำ ผมกลัวว่านั้นอาจจะเป็นโอกาสที่ทำให้เกิดรัฐประหารซ้ำอีกครั้งได้เสียมากกว่า ด้วยเหตุผลจากเรื่องราวดังกล่าว ในมุมมองของผมที่พยายามจะเป็นกลางที่สุดก็คือ ผมอยากให้มีการตรวจสอบการเลือกตั้งเมื่อปีก่อน ซึ่งถ้าพบว่ามันอาจจะยังมีกลิ่นอยู่ หรือมีปัญหาสะดุดเหมือนที่เคยเกิดขึ้นกับคุณอภิสิทธิ์ อย่างน้อยมันก็พอเป็นเหตุชอบธรรมที่จะยุบสภาได้โดยไม่มีความขัดแย้งรุนแรงเกิดขึ้น แต่ถ้าตรวจสอบแล้วว่าไม่มี ผมก็ต้องยอมรับว่า ส.ส. ทุกคนมาจากประชาชน และก็ต้องยอมรับเกมในสภา และรอเลือกตั้งใหม่เท่านั้น ส่วนเรื่องรัฐธรรมนูญ ผมมองว่าไม่จำเป็นต้องเอาฉบับ 2540 มาใช้ใหม่ เพียงแค่ให้แก้ส่วนที่ถูกมองว่าเสริมสร้างอำนาจของรัฐบาลมากไปเสียดีกว่า
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
ที่ผมพูดมาทั้งหมด ผมแค่ต้องการให้ประเทศเดินไปในทางที่ดีขึ้นเท่านั้น โดยไม่จำเป็นต้องมีปัญหาใดๆ อีก หากสงสัยกันจริงๆ ก็ถามกันมาได้ แต่ผมไม่สะดวกจะโต้เถียงกับใครนะครับ ผมแค่ต้องการให้ครอบครัวรักกันเหมือนเดิม ครูอาจารย์ลูกศิษย์รักกันเหมือนเดิม ไม่อยากให้เป็นเหมือนเมืองไทยยุค 70 หรือจีนยุค 70 เท่านั้นเอง