นัดใหญ่! ถึงเวลาประชาชน ล่า 50,000 ชื่อ แก้รัฐธรรมนูญ เริ่มพรุ่งนี้
ilaw นัดใหญ่! ถึงเวลาประชาชน รวบรวม ห้าหมื่นรายชื่อ แก้รัฐธรรมนูญ เปิดทางร่างรัฐธรรมนูญใหม่ ให้มีความเป็นประชาธิปไตยมากขึ้น 13.00 น. ธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์
จากกระแสข้อเรียกร้อง และกดดันอย่างหนัก ของนักเรียน นักศึกษา ประชาชน พรรคการเมือง และกลุ่มการเมืองต่างๆ ทั่วประเทศไทย ที่ผลักดันให้เกิดการ แก้ไขรัฐธรรมนูญ ฉบับปัจจุบัน ซึ่งรัฐธรรมนูญฉบับดังกล่าวนั้น ถูกมองว่า เป็นการสืบทอดอำนาจ และมีความไม่เป็นประชาธิปไตย หรือแม้แต่ฝ่ายรัฐบาลเอง ก็ยังยอมรับว่าต้องมีการแก้ไขเกิดขึ้น
ล่าสุด วันนี้ (6 ส.ค.)
โครงการอินเทอร์เน็ตเพื่อกฎหมายประชาชน หรือ
iLaw ได้ประกาศจัดแคมเปญ ล่ารายชื่อประชาชนกว่า 50,000 รายชื่อ ให้เกิดการแก้ไขรัฐธรรมนูญ เพื่อนำไปสู่การร่างรัฐธรรมนูญใหม่ ที่มีความเป็นประชาธิปไตย โดยมีรายละเอียด ดังนี้
แถลงข่าวเปิดตัวแคมเปญเข้าชื่อ 50,000 ชื่อ #ร่วมรื้อร่วมสร้างร่วมร่างรัฐธรรมนูญ
ทุกคนรู้มั้ยว่า ประชาชนสามารถ เข้าชื่อร่วมกัน 50,000 คน เพื่อเสนอร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญได้ และเชื่อว่าทุกคน ก็ต้องคิดว่า ถึงเวลาแล้ว! ที่เราต้องลุกขึ้นมาทำอะไรสักอย่างเพื่อขับเคลื่อนประเทศให้เดินหน้าสู่ประชาธิปไตยเสียที ดังนั้น เราขอประกาศว่า นับตั้งแต่เวลานี้เป็นต้นไป ไอลอว์จะเริ่มรณรงค์ล่าชื่อเพื่อเสนอร่างรัฐธรรมนูญฉบับประชาชน
โดยเราจะไปตั้งโต๊ะในที่ต่างๆ เพื่อเปิดรับรายชื่อจากทั่วทุกสารทิศ อย่าลืม! ทุกลายเซ็นมีความหมายและสถานที่แรกที่เราจะไปเปิดรับรายชื่อ ณ ห้องจิ๊ด เศรษฐบุตร LT.1 คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ เตรียมบัตรประชาชนแล้วมาพบกับเราได้ ในวันศุกร์ที่ 7 สิงหาคม 2563 เวลา 13.00 - 16.00 น.
กำหนดการ
13.00 - 13.15 น. กล่าวชี้แจงที่มาและความสำคัญของการแก้รัฐธรรมนูญ โดย จอน อึ๊งภากรณ์ ผู้อำนวยการโครงการอินเทอร์เน็ตเพื่อกฎหมายประชาชน (iLaw)
13.15 - 13.45 น. กล่าวชี้แจงรายละเอียดร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญที่ชวนประชาชนเข้าชื่อ โดย ยิ่งชีพ อัชฌานนท์ ผู้จัดการ iLaw
13.45 - 15.45 ตัวแทนเครือข่ายประชาชน ร่วมกันแถลงเหตุผลที่ต้องเข้าชื่อแก้รัฐธรรมนูญ เช่น
๐ เครือข่าย People Go
๐ เครือข่าย Constitution Advocacy Alliance (CALL)
๐ เครือข่ายคณะรณรงค์เพื่อรัฐธรรมนูญฉบับประชาชน (ครช.)
๐ คณะกรรมการประสานงานองค์กรพัฒนาเอกชน (กป.อพช.) ฯลฯ
https://www.facebook.com/events/1247081585635123/permalink/1247081638968451/
รัฐบาลหน้าซีด 8 เดือนแรกปีงบ'63 เก็บรายได้ต่ำเป้าเฉียด 1.9 แสนล้านบาท
https://voicetv.co.th/read/Nz2ucwA1D
สศค.เผย 8 เดือนแรกปีงบประมาณ 2563 จัดเก็บรายได้ต่ำกว่าประมาณการ 11.2% พลาดเป้าทั้ง 3 กรมภาษี เหตุออกมาตรการการคลัง 'ยืดเวลาเสียภาษี-ลดภาษี' ช่วย ปชช.รับมือโควิด-19 ฟาก สคร.จี้รัฐวิสาหกิจเร่งเบิกจ่ายงบลงทุนกระตุ้นเศรษฐกิจ
ลวรณ แสงสนิท ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) ในฐานะโฆษกกระทรวงการคลัง เปิดเผยผลการจัดเก็บรายได้รัฐบาลสุทธิในช่วง 8 เดือนแรกของปีงบประมาณ 2563 (ต.ค. 2562 – พ.ค. 2563) พบว่า รัฐบาลจัดเก็บรายได้สุทธิ จำนวน 1,500,261 ล้านบาท ต่ำกว่าประมาณการตามเอกสารงบประมาณ 189,695 ล้านบาท หรือต่ำกว่าประมาณการ 11.2% เนื่องจากผลกระทบจากการแพร่ระบาดโควิด-19 และการผ่อนปรนมาตรการทางภาษีเพื่อบรรเทาภาระให้แก่ประชาชนและเพิ่มสภาพคล่องให้แก่ผู้ประกอบการด้วยการขยายเวลาการยื่นแบบแสดงรายการและชำระภาษีต่าง ๆ ออกไปเป็นภายในเดือนก.ค. – ก.ย. 2563 รวมทั้งการลดอัตราภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย
ด้วยเหตุผลดังกล่าวจึงส่งผลให้การจัดเก็บรายได้รัฐบาลสุทธิในช่วง 8 เดือนแรกของปีงบประมาณ 2563 ซึ่งเป็นปีที่ไม่ปกติ จึงไม่สามารถนำมาเปรียบเทียบกับผลการจัดเก็บรายได้ในช่วงสถานการณ์ปกติได้ พร้อมกับย้ำว่า ขอให้ระมัดระวังในการนำข้อมูลไปใช้ในการวิเคราะห์ด้วย โดยผลการจัดเก็บรายได้ของหน่วยงานจัดเก็บมีดังนี้
กรมสรรพากร จัดเก็บรายได้รวม 1,086,974 ล้านบาท ต่ำกว่าประมาณการ 139,113 ล้านบาท หรือ 11.3% โดยภาษีที่จัดเก็บได้ต่ำกว่าประมาณการที่สำคัญ ได้แก่
•
ภาษีมูลค่าเพิ่ม จัดเก็บได้ต่ำกว่าประมาณการ เป็นผลกระทบจากภาวะเศรษฐกิจและการค้าที่หดตัวเนื่องจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 ประกอบกับมีการขยายเวลาการยื่นแบบแสดงรายการและชำระภาษีผ่านระบบอินเทอร์เน็ตในเดือน เม.ย. และพ.ค. 2563 ออกไปเป็นภายในวันที่ 1 มิ.ย. 2563
•
ภาษีเงินได้นิติบุคคล จัดเก็บได้ต่ำกว่าประมาณการ เนื่องจากมีการขยายเวลาการยื่นแบบแสดงรายการและชำระภาษีสำหรับภาษีเงินได้นิติบุคคลจากกำไรสุทธิของปี 2562 (ภ.ง.ด. 50) ออกไปเป็นภายในเดือน ส.ค. 2563 และสำหรับภาษีเงินได้นิติบุคคลจากประมาณการกำไรสุทธิในช่วงครึ่งแรกของปี 2563 (ภ.ง.ด. 51) ออกไปจนถึงเดือน ก.ย. 2563 และการลดอัตราภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย (ภ.ง.ด. 53) จาก 3% เหลือ 1.5% ตั้งแต่เดือนเม.ย. – ก.ย. 2563
•
ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา จัดเก็บได้ต่ำกว่าประมาณการ เนื่องจากมีการขยายเวลาการยื่นแบบแสดงรายการและชำระภาษีสำหรับเงินได้พึงประเมินประจำปีภาษี พ.ศ. 2562 (ภ.ง.ด. 90 และ ภ.ง.ด. 91) ออกไปเป็นภายในเดือนส.ค. 2563
กรมสรรพสามิต จัดเก็บรายได้รวม 362,122 ล้านบาท ต่ำกว่าประมาณการ 70,960 ล้านบาท หรือ 16.4% โดยภาษีที่จัดเก็บได้ต่ำกว่าประมาณการที่สำคัญ ได้แก่
• ภาษีสรรพสามิตรถยนต์ จัดเก็บได้ต่ำกว่าประมาณการ เนื่องจากปริมาณรถยนต์ที่ชำระภาษีขยายตัวต่ำกว่าที่ประมาณการไว้ ซึ่งเป็นผลกระทบจากภาวะเศรษฐกิจและโควิด-19 ประกอบกับมีการขยายเวลาการยื่นแบบแสดงรายการและชำระภาษีสำหรับภาษีที่ต้องชำระในเดือน พ.ค. และมิ.ย. 2563 ออกไปเป็นภายในวันที่ 15 ก.ค. 2563
• ภาษีน้ำมันและผลิตภัณฑ์น้ำมัน จัดเก็บได้ต่ำกว่าประมาณการ เนื่องจากมีการขยายเวลาการยื่นแบบแสดงรายการและชำระภาษีให้แก่ผู้ประกอบอุตสาหกรรมสินค้าน้ำมันฯ ที่ผลิตในราชอาณาจักรในเดือนเม.ย. – มิ.ย. 2563
กรมศุลกากร จัดเก็บรายได้รวม 64,384 ล้านบาท ต่ำกว่าประมาณการ 8,516 ล้านบาท หรือ 11.7% เนื่องจากได้รับผลกระทบจากการหดตัวของมูลค่าการนำเข้า
อย่างไรก็ดี การจัดเก็บรายได้ของหน่วยงานอื่นและการนำส่งรายได้ของรัฐวิสาหกิจ สูงกว่าประมาณการ 11,929 และ 4,747 ล้านบาท หรือคิดเป็น 10.1% และ 3.3% ตามลำดับ
สคร.จี้รัฐวิสาหกิจเบิกจ่ายลงทุนปลุกเศรษฐกิจ-ล่าสุดคืบหน้า 85%
ประภาศ คงเอียด ผู้อำนวยการสำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (สคร.) เปิดเผยผลการติดตามการเบิกจ่ายงบลงทุนในปี 2563 ของรัฐวิสาหกิจ 44 แห่ง ที่ สคร. กำกับดูแล พบว่า ณ สิ้นเดือน มิ.ย. 2563 มีการเบิกจ่ายงบลงทุนสะสมจำนวน 125,458 ล้านบาท หรือคิดเป็น 85% ของแผนการเบิกจ่ายสะสม
โดยรัฐวิสาหกิจที่มีงบลงทุนขนาดใหญ่และสามารถเบิกจ่ายได้ตามเป้าหมายที่กำหนด ได้แก่ การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) และการไฟฟ้าทั้ง 3 แห่ง (กฟน., กฟภ. และ กฟผ.)
อย่างไรก็ตาม จากสถานการณ์การแพร่ระบาดโควิด-19 ได้ส่งผลกระทบกับการเบิกจ่ายงบลงทุนของรัฐวิสาหกิจในโครงการที่จำเป็นต้องใช้บุคลากรและการนำเข้าอุปกรณ์จากต่างประเทศ ดังนั้น สคร. จึงมีการกำกับดูแลรัฐวิสาหกิจอย่างใกล้ชิดมากขึ้นและเร่งให้มีการเบิกจ่ายที่เร็วขึ้น (Front – loaded) เพื่อลดผลกระทบข้างต้น เช่น การเร่งรัดการเบิกจ่ายเงินล่วงหน้าให้กับผู้รับจ้าง การจ่ายค่าชดเชยของโครงการลงทุนต่างๆ ให้กับประชาชน ซึ่งการเบิกจ่ายงบลงทุนของรัฐวิสาหกิจก็จะสามารถช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจได้อีกทางหนึ่ง
• โครงการลงทุนขนาดใหญ่ด้านคมนาคมขนส่งที่มีการเบิกจ่ายเกินเป้าหมาย เช่น โครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียวส่วนต่ขยาย, โครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงศูนย์วัฒนธรรม – มีนบุรี
ปิยวรรณ ล่ามกิจจา รองผู้อำนวยการ สคร. รักษาการในตำแหน่งที่ปรึกษาด้านพัฒนารัฐวิสาหกิจ กล่าวเพิ่มเติมว่า ผลการเบิกจ่ายงบลงทุนสะสมของรัฐวิสาหกิจ 44 แห่ง แบ่งเป็น
• การเบิกจ่ายของรัฐวิสาหกิจปีงบประมาณ (ก.ย.2562-มิ.ย.2563) 34 แห่ง จำนวน 71,325 ล้านบาท หรือ 72% ของแผนการเบิกจ่ายงบลงทุนสะสม 9 เดือน
• การเบิกจ่ายของรัฐวิสาหกิจปีปฏิทิน (ม.ค.-มิ.ย.2563) 10 แห่ง จำนวน 54,133 ล้านบาท หรือ 112% ของแผนการเบิกจ่ายงบลงทุนสะสม 6 เดือน
ทั้งนี้ มีโครงการลงทุนขนาดใหญ่ที่สามารถเบิกจ่ายได้เกินกว่าเป้าหมาย เช่น โครงการปรับปรุงระบบส่งไฟฟ้าภาคใต้ตอนล่างและภาคตะวันตกของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย โครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงศูนย์วัฒนธรรม – มีนบุรี และโครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียว ช่วงหมอชิต – สะพานใหม่ – คูคต ของ รฟม. และแผนปรับปรุงและขยายระบบจำหน่ายพลังไฟฟ้าของการไฟฟ้านครหลวง สำหรับโครงการลงทุนขนาดใหญ่ที่เบิกจ่ายได้ต่ำกว่าเป้าหมาย เช่น โครงการรถไฟความเร็วสูงไทย – จีน ระยะที่ 1 (ช่วงกรุงเทพมหานคร - นครราชสีมา) ของการรถไฟแห่งประเทศไทย โครงการพัฒนาท่าอากาศยานสุวรรณภูมิของบริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) และโครงการทางพิเศษสายพระราม 3 – ดาวคะนอง – วงแหวนรอบนอกตะวันตกของการทางพิเศษแห่งประเทศไทย ซึ่งเป็นโครงการเดิมที่ดำเนินการล่าช้าต่อเนื่องมาโดยตลอด
JJNY : นัดใหญ่! ล่า 50,000ชื่อ แก้ รธน.เริ่มพรุ่งนี้/รบ.หน้าซีดเก็บรายได้ต่ำเป้า/ทั่วโลกติดโควิดรวม18.9ล./ติดเชื้อเพิ่ม2
จากกระแสข้อเรียกร้อง และกดดันอย่างหนัก ของนักเรียน นักศึกษา ประชาชน พรรคการเมือง และกลุ่มการเมืองต่างๆ ทั่วประเทศไทย ที่ผลักดันให้เกิดการ แก้ไขรัฐธรรมนูญ ฉบับปัจจุบัน ซึ่งรัฐธรรมนูญฉบับดังกล่าวนั้น ถูกมองว่า เป็นการสืบทอดอำนาจ และมีความไม่เป็นประชาธิปไตย หรือแม้แต่ฝ่ายรัฐบาลเอง ก็ยังยอมรับว่าต้องมีการแก้ไขเกิดขึ้น
ล่าสุด วันนี้ (6 ส.ค.) โครงการอินเทอร์เน็ตเพื่อกฎหมายประชาชน หรือ iLaw ได้ประกาศจัดแคมเปญ ล่ารายชื่อประชาชนกว่า 50,000 รายชื่อ ให้เกิดการแก้ไขรัฐธรรมนูญ เพื่อนำไปสู่การร่างรัฐธรรมนูญใหม่ ที่มีความเป็นประชาธิปไตย โดยมีรายละเอียด ดังนี้
แถลงข่าวเปิดตัวแคมเปญเข้าชื่อ 50,000 ชื่อ #ร่วมรื้อร่วมสร้างร่วมร่างรัฐธรรมนูญ
ทุกคนรู้มั้ยว่า ประชาชนสามารถ เข้าชื่อร่วมกัน 50,000 คน เพื่อเสนอร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญได้ และเชื่อว่าทุกคน ก็ต้องคิดว่า ถึงเวลาแล้ว! ที่เราต้องลุกขึ้นมาทำอะไรสักอย่างเพื่อขับเคลื่อนประเทศให้เดินหน้าสู่ประชาธิปไตยเสียที ดังนั้น เราขอประกาศว่า นับตั้งแต่เวลานี้เป็นต้นไป ไอลอว์จะเริ่มรณรงค์ล่าชื่อเพื่อเสนอร่างรัฐธรรมนูญฉบับประชาชน
โดยเราจะไปตั้งโต๊ะในที่ต่างๆ เพื่อเปิดรับรายชื่อจากทั่วทุกสารทิศ อย่าลืม! ทุกลายเซ็นมีความหมายและสถานที่แรกที่เราจะไปเปิดรับรายชื่อ ณ ห้องจิ๊ด เศรษฐบุตร LT.1 คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ เตรียมบัตรประชาชนแล้วมาพบกับเราได้ ในวันศุกร์ที่ 7 สิงหาคม 2563 เวลา 13.00 - 16.00 น.
กำหนดการ
13.00 - 13.15 น. กล่าวชี้แจงที่มาและความสำคัญของการแก้รัฐธรรมนูญ โดย จอน อึ๊งภากรณ์ ผู้อำนวยการโครงการอินเทอร์เน็ตเพื่อกฎหมายประชาชน (iLaw)
13.15 - 13.45 น. กล่าวชี้แจงรายละเอียดร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญที่ชวนประชาชนเข้าชื่อ โดย ยิ่งชีพ อัชฌานนท์ ผู้จัดการ iLaw
13.45 - 15.45 ตัวแทนเครือข่ายประชาชน ร่วมกันแถลงเหตุผลที่ต้องเข้าชื่อแก้รัฐธรรมนูญ เช่น
๐ เครือข่าย People Go
๐ เครือข่าย Constitution Advocacy Alliance (CALL)
๐ เครือข่ายคณะรณรงค์เพื่อรัฐธรรมนูญฉบับประชาชน (ครช.)
๐ คณะกรรมการประสานงานองค์กรพัฒนาเอกชน (กป.อพช.) ฯลฯ
https://www.facebook.com/events/1247081585635123/permalink/1247081638968451/
รัฐบาลหน้าซีด 8 เดือนแรกปีงบ'63 เก็บรายได้ต่ำเป้าเฉียด 1.9 แสนล้านบาท
https://voicetv.co.th/read/Nz2ucwA1D
สศค.เผย 8 เดือนแรกปีงบประมาณ 2563 จัดเก็บรายได้ต่ำกว่าประมาณการ 11.2% พลาดเป้าทั้ง 3 กรมภาษี เหตุออกมาตรการการคลัง 'ยืดเวลาเสียภาษี-ลดภาษี' ช่วย ปชช.รับมือโควิด-19 ฟาก สคร.จี้รัฐวิสาหกิจเร่งเบิกจ่ายงบลงทุนกระตุ้นเศรษฐกิจ
ลวรณ แสงสนิท ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) ในฐานะโฆษกกระทรวงการคลัง เปิดเผยผลการจัดเก็บรายได้รัฐบาลสุทธิในช่วง 8 เดือนแรกของปีงบประมาณ 2563 (ต.ค. 2562 – พ.ค. 2563) พบว่า รัฐบาลจัดเก็บรายได้สุทธิ จำนวน 1,500,261 ล้านบาท ต่ำกว่าประมาณการตามเอกสารงบประมาณ 189,695 ล้านบาท หรือต่ำกว่าประมาณการ 11.2% เนื่องจากผลกระทบจากการแพร่ระบาดโควิด-19 และการผ่อนปรนมาตรการทางภาษีเพื่อบรรเทาภาระให้แก่ประชาชนและเพิ่มสภาพคล่องให้แก่ผู้ประกอบการด้วยการขยายเวลาการยื่นแบบแสดงรายการและชำระภาษีต่าง ๆ ออกไปเป็นภายในเดือนก.ค. – ก.ย. 2563 รวมทั้งการลดอัตราภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย
ด้วยเหตุผลดังกล่าวจึงส่งผลให้การจัดเก็บรายได้รัฐบาลสุทธิในช่วง 8 เดือนแรกของปีงบประมาณ 2563 ซึ่งเป็นปีที่ไม่ปกติ จึงไม่สามารถนำมาเปรียบเทียบกับผลการจัดเก็บรายได้ในช่วงสถานการณ์ปกติได้ พร้อมกับย้ำว่า ขอให้ระมัดระวังในการนำข้อมูลไปใช้ในการวิเคราะห์ด้วย โดยผลการจัดเก็บรายได้ของหน่วยงานจัดเก็บมีดังนี้
กรมสรรพากร จัดเก็บรายได้รวม 1,086,974 ล้านบาท ต่ำกว่าประมาณการ 139,113 ล้านบาท หรือ 11.3% โดยภาษีที่จัดเก็บได้ต่ำกว่าประมาณการที่สำคัญ ได้แก่
• ภาษีมูลค่าเพิ่ม จัดเก็บได้ต่ำกว่าประมาณการ เป็นผลกระทบจากภาวะเศรษฐกิจและการค้าที่หดตัวเนื่องจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 ประกอบกับมีการขยายเวลาการยื่นแบบแสดงรายการและชำระภาษีผ่านระบบอินเทอร์เน็ตในเดือน เม.ย. และพ.ค. 2563 ออกไปเป็นภายในวันที่ 1 มิ.ย. 2563
• ภาษีเงินได้นิติบุคคล จัดเก็บได้ต่ำกว่าประมาณการ เนื่องจากมีการขยายเวลาการยื่นแบบแสดงรายการและชำระภาษีสำหรับภาษีเงินได้นิติบุคคลจากกำไรสุทธิของปี 2562 (ภ.ง.ด. 50) ออกไปเป็นภายในเดือน ส.ค. 2563 และสำหรับภาษีเงินได้นิติบุคคลจากประมาณการกำไรสุทธิในช่วงครึ่งแรกของปี 2563 (ภ.ง.ด. 51) ออกไปจนถึงเดือน ก.ย. 2563 และการลดอัตราภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย (ภ.ง.ด. 53) จาก 3% เหลือ 1.5% ตั้งแต่เดือนเม.ย. – ก.ย. 2563
• ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา จัดเก็บได้ต่ำกว่าประมาณการ เนื่องจากมีการขยายเวลาการยื่นแบบแสดงรายการและชำระภาษีสำหรับเงินได้พึงประเมินประจำปีภาษี พ.ศ. 2562 (ภ.ง.ด. 90 และ ภ.ง.ด. 91) ออกไปเป็นภายในเดือนส.ค. 2563
กรมสรรพสามิต จัดเก็บรายได้รวม 362,122 ล้านบาท ต่ำกว่าประมาณการ 70,960 ล้านบาท หรือ 16.4% โดยภาษีที่จัดเก็บได้ต่ำกว่าประมาณการที่สำคัญ ได้แก่
• ภาษีสรรพสามิตรถยนต์ จัดเก็บได้ต่ำกว่าประมาณการ เนื่องจากปริมาณรถยนต์ที่ชำระภาษีขยายตัวต่ำกว่าที่ประมาณการไว้ ซึ่งเป็นผลกระทบจากภาวะเศรษฐกิจและโควิด-19 ประกอบกับมีการขยายเวลาการยื่นแบบแสดงรายการและชำระภาษีสำหรับภาษีที่ต้องชำระในเดือน พ.ค. และมิ.ย. 2563 ออกไปเป็นภายในวันที่ 15 ก.ค. 2563
• ภาษีน้ำมันและผลิตภัณฑ์น้ำมัน จัดเก็บได้ต่ำกว่าประมาณการ เนื่องจากมีการขยายเวลาการยื่นแบบแสดงรายการและชำระภาษีให้แก่ผู้ประกอบอุตสาหกรรมสินค้าน้ำมันฯ ที่ผลิตในราชอาณาจักรในเดือนเม.ย. – มิ.ย. 2563
กรมศุลกากร จัดเก็บรายได้รวม 64,384 ล้านบาท ต่ำกว่าประมาณการ 8,516 ล้านบาท หรือ 11.7% เนื่องจากได้รับผลกระทบจากการหดตัวของมูลค่าการนำเข้า
อย่างไรก็ดี การจัดเก็บรายได้ของหน่วยงานอื่นและการนำส่งรายได้ของรัฐวิสาหกิจ สูงกว่าประมาณการ 11,929 และ 4,747 ล้านบาท หรือคิดเป็น 10.1% และ 3.3% ตามลำดับ
สคร.จี้รัฐวิสาหกิจเบิกจ่ายลงทุนปลุกเศรษฐกิจ-ล่าสุดคืบหน้า 85%
ประภาศ คงเอียด ผู้อำนวยการสำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (สคร.) เปิดเผยผลการติดตามการเบิกจ่ายงบลงทุนในปี 2563 ของรัฐวิสาหกิจ 44 แห่ง ที่ สคร. กำกับดูแล พบว่า ณ สิ้นเดือน มิ.ย. 2563 มีการเบิกจ่ายงบลงทุนสะสมจำนวน 125,458 ล้านบาท หรือคิดเป็น 85% ของแผนการเบิกจ่ายสะสม
โดยรัฐวิสาหกิจที่มีงบลงทุนขนาดใหญ่และสามารถเบิกจ่ายได้ตามเป้าหมายที่กำหนด ได้แก่ การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) และการไฟฟ้าทั้ง 3 แห่ง (กฟน., กฟภ. และ กฟผ.)
อย่างไรก็ตาม จากสถานการณ์การแพร่ระบาดโควิด-19 ได้ส่งผลกระทบกับการเบิกจ่ายงบลงทุนของรัฐวิสาหกิจในโครงการที่จำเป็นต้องใช้บุคลากรและการนำเข้าอุปกรณ์จากต่างประเทศ ดังนั้น สคร. จึงมีการกำกับดูแลรัฐวิสาหกิจอย่างใกล้ชิดมากขึ้นและเร่งให้มีการเบิกจ่ายที่เร็วขึ้น (Front – loaded) เพื่อลดผลกระทบข้างต้น เช่น การเร่งรัดการเบิกจ่ายเงินล่วงหน้าให้กับผู้รับจ้าง การจ่ายค่าชดเชยของโครงการลงทุนต่างๆ ให้กับประชาชน ซึ่งการเบิกจ่ายงบลงทุนของรัฐวิสาหกิจก็จะสามารถช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจได้อีกทางหนึ่ง
• โครงการลงทุนขนาดใหญ่ด้านคมนาคมขนส่งที่มีการเบิกจ่ายเกินเป้าหมาย เช่น โครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียวส่วนต่ขยาย, โครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงศูนย์วัฒนธรรม – มีนบุรี
ปิยวรรณ ล่ามกิจจา รองผู้อำนวยการ สคร. รักษาการในตำแหน่งที่ปรึกษาด้านพัฒนารัฐวิสาหกิจ กล่าวเพิ่มเติมว่า ผลการเบิกจ่ายงบลงทุนสะสมของรัฐวิสาหกิจ 44 แห่ง แบ่งเป็น
• การเบิกจ่ายของรัฐวิสาหกิจปีงบประมาณ (ก.ย.2562-มิ.ย.2563) 34 แห่ง จำนวน 71,325 ล้านบาท หรือ 72% ของแผนการเบิกจ่ายงบลงทุนสะสม 9 เดือน
• การเบิกจ่ายของรัฐวิสาหกิจปีปฏิทิน (ม.ค.-มิ.ย.2563) 10 แห่ง จำนวน 54,133 ล้านบาท หรือ 112% ของแผนการเบิกจ่ายงบลงทุนสะสม 6 เดือน
ทั้งนี้ มีโครงการลงทุนขนาดใหญ่ที่สามารถเบิกจ่ายได้เกินกว่าเป้าหมาย เช่น โครงการปรับปรุงระบบส่งไฟฟ้าภาคใต้ตอนล่างและภาคตะวันตกของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย โครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงศูนย์วัฒนธรรม – มีนบุรี และโครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียว ช่วงหมอชิต – สะพานใหม่ – คูคต ของ รฟม. และแผนปรับปรุงและขยายระบบจำหน่ายพลังไฟฟ้าของการไฟฟ้านครหลวง สำหรับโครงการลงทุนขนาดใหญ่ที่เบิกจ่ายได้ต่ำกว่าเป้าหมาย เช่น โครงการรถไฟความเร็วสูงไทย – จีน ระยะที่ 1 (ช่วงกรุงเทพมหานคร - นครราชสีมา) ของการรถไฟแห่งประเทศไทย โครงการพัฒนาท่าอากาศยานสุวรรณภูมิของบริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) และโครงการทางพิเศษสายพระราม 3 – ดาวคะนอง – วงแหวนรอบนอกตะวันตกของการทางพิเศษแห่งประเทศไทย ซึ่งเป็นโครงการเดิมที่ดำเนินการล่าช้าต่อเนื่องมาโดยตลอด