คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 21
เปิดสาระสำคัญ พ.ร.บ.คู่ชีวิต เพศเดียวกันจดทะเบียนกันได้
ผ่านแล้ว! ร่าง พ.ร.บ. คู่ชีวิต คู่รักเพศเดียวกันสามารถจดทะเบียนได้
#ไทยคู่ฟ้า ใกล้เป็นจริงแล้วครับสำหรับอนาคตบ้านเราที่จะเปิดรับความหลากหลายทางเพศอย่างเท่าเทียม ล่าสุด ครม. ได้เห็นชอบร่าง พ.ร.บ. คู่ชีวิต และร่าง พ.ร.บ. แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ เพื่อให้กลุ่มบุคคลที่มีความหลากหลายทางเพศได้รับการคุ้มครองอย่างเป็นธรรม เท่าเทียม ไม่เลือกปฏิบัติ และสามารถดำรงชีวิตในสังคมได้อย่างมีศักดิ์ศรี
สาระสำคัญ ของร่าง พ.ร.บ. คู่ชีวิต มีดังนี้
1. “คู่ชีวิต” หมายถึง บุคคลสองคนซึ่งเป็นเพศเดียวกันโดยกำเนิด และได้จดทะเบียนคู่ชีวิตตาม พ.ร.บ. นี้
2. กำหนดให้ศาลที่มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีเยาวชนและครอบครัว มีอำนาจ พิจารณาพิพากษาคดีตาม พ.ร.บ. นี้
3. กำหนดให้การจดทะเบียนคู่ชีวิตจะทำได้ต่อเมื่อบุคคลทั้งสองฝ่ายยินยอม มีอายุ 17 ปีบริบูรณ์ และทั้งสองฝ่ายมีสัญชาติไทย หรือฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งมีสัญชาติไทย
4. กำหนดให้ในกรณีที่ผู้เยาว์จะจดทะเบียนคู่ชีวิต ต้องได้รับความยินยอมของบิดา มารดา ผู้รับบุตรบุญธรรม ผู้ปกครอง หรือศาล รวมทั้งกำหนดให้ผู้เยาว์ย่อมบรรลุ นิติภาวะเมื่อจดทะเบียนคู่ชีวิต
5. กำหนดให้คู่ชีวิตมีอำนาจจัดการแทนผู้เสียหายเช่นเดียวกับสามีหรือภริยา (มาตรา 3 และ 5 (2) และมีอำนาจดำเนินคดีต่างผู้ตายต่อไปเช่นเดียวกับสามีหรือภริยา (มาตรา 29 วรรคหนึ่ง) ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
6. กำหนดบทบัญญัติเกี่ยวกับทรัพย์สินระหว่างคู่ชีวิต แบ่งเป็นสินส่วนตัว และทรัพย์สินร่วมกัน
7. คู่ชีวิตสามารถรับบุตรบุญธรรมได้ รวมถึงคู่ชีวิตฝ่ายหนึ่งจะจดทะเบียนรับผู้เยาว์ซึ่งเป็นบุตรบุญธรรมของคู่ชีวิตอีกฝ่ายหนึ่งมาเป็นบุตรบุญธรรมของตนด้วยก็ได้
8. เมื่อคู่ชีวิตฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งตาย ให้คู่ชีวิตอีกฝ่ายหนึ่งมีสิทธิและหน้าที่เช่นเดียวกับคู่สมรสตามบทบัญญัติในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ว่าด้วยมรดก
9. กำหนดให้นำบทบัญญัติในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ว่าด้วยคู่สมรส (มาตรา1606 1652 1563) ครอบครัว และบุตรบุญธรรม มาใช้บังคับแก่คู่ชีวิตด้วยโดยอนุโลม
สำหรับร่าง พ.ร.บ. แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มีสาระสำคัญ ดังนี้
1. กำหนดให้ชายหรือหญิงจะทำการสมรสในขณะที่ตนมี “คู่สมรส” หรือ “คู่ชีวิต” อยู่ไม่ได้
2. กำหนดให้เหตุฟ้องหย่า รวมถึงกรณีสามีหรือภริยาอุปการะเลี้ยงดูหรือยกย่องผู้อื่น ฉัน “คู่ชีวิต”
3. กำหนดให้สิทธิรับค่าเลี้ยงชีพในกรณีหย่าหมดไป ถ้าฝ่ายที่รับค่าเลี้ยงชีพสมรสใหม่ หรือจดทะเบียนคู่ชีวิต
ร่าง พ.ร.บ. คู่ชีวิต ถือเป็นก้าวสำคัญของสังคมไทยในการส่งเสริมความเสมอภาคเท่าเทียมของคนทุกเพศ เป็นการรับรองสิทธิ์ในการก่อตั้งครอบครัวของคู่รักที่มีเพศเดียวกันให้เป็นคู่ชีวิต เสริมสร้างความเข้มแข็งของครอบครัวที่มีความหลากหลายทางเพศให้สอดคล้องกับสภาพสังคมในปัจจุบัน รวมถึงสอดคล้องกับเป้าหมายตามแผนสิทธิมนุษยชนแห่งชาติอีกด้วย
https://www.facebook.com/ThaigovSpokesman/posts/954460758353064
ผ่านแล้ว! ร่าง พ.ร.บ. คู่ชีวิต คู่รักเพศเดียวกันสามารถจดทะเบียนได้
#ไทยคู่ฟ้า ใกล้เป็นจริงแล้วครับสำหรับอนาคตบ้านเราที่จะเปิดรับความหลากหลายทางเพศอย่างเท่าเทียม ล่าสุด ครม. ได้เห็นชอบร่าง พ.ร.บ. คู่ชีวิต และร่าง พ.ร.บ. แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ เพื่อให้กลุ่มบุคคลที่มีความหลากหลายทางเพศได้รับการคุ้มครองอย่างเป็นธรรม เท่าเทียม ไม่เลือกปฏิบัติ และสามารถดำรงชีวิตในสังคมได้อย่างมีศักดิ์ศรี
สาระสำคัญ ของร่าง พ.ร.บ. คู่ชีวิต มีดังนี้
1. “คู่ชีวิต” หมายถึง บุคคลสองคนซึ่งเป็นเพศเดียวกันโดยกำเนิด และได้จดทะเบียนคู่ชีวิตตาม พ.ร.บ. นี้
2. กำหนดให้ศาลที่มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีเยาวชนและครอบครัว มีอำนาจ พิจารณาพิพากษาคดีตาม พ.ร.บ. นี้
3. กำหนดให้การจดทะเบียนคู่ชีวิตจะทำได้ต่อเมื่อบุคคลทั้งสองฝ่ายยินยอม มีอายุ 17 ปีบริบูรณ์ และทั้งสองฝ่ายมีสัญชาติไทย หรือฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งมีสัญชาติไทย
4. กำหนดให้ในกรณีที่ผู้เยาว์จะจดทะเบียนคู่ชีวิต ต้องได้รับความยินยอมของบิดา มารดา ผู้รับบุตรบุญธรรม ผู้ปกครอง หรือศาล รวมทั้งกำหนดให้ผู้เยาว์ย่อมบรรลุ นิติภาวะเมื่อจดทะเบียนคู่ชีวิต
5. กำหนดให้คู่ชีวิตมีอำนาจจัดการแทนผู้เสียหายเช่นเดียวกับสามีหรือภริยา (มาตรา 3 และ 5 (2) และมีอำนาจดำเนินคดีต่างผู้ตายต่อไปเช่นเดียวกับสามีหรือภริยา (มาตรา 29 วรรคหนึ่ง) ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
6. กำหนดบทบัญญัติเกี่ยวกับทรัพย์สินระหว่างคู่ชีวิต แบ่งเป็นสินส่วนตัว และทรัพย์สินร่วมกัน
7. คู่ชีวิตสามารถรับบุตรบุญธรรมได้ รวมถึงคู่ชีวิตฝ่ายหนึ่งจะจดทะเบียนรับผู้เยาว์ซึ่งเป็นบุตรบุญธรรมของคู่ชีวิตอีกฝ่ายหนึ่งมาเป็นบุตรบุญธรรมของตนด้วยก็ได้
8. เมื่อคู่ชีวิตฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งตาย ให้คู่ชีวิตอีกฝ่ายหนึ่งมีสิทธิและหน้าที่เช่นเดียวกับคู่สมรสตามบทบัญญัติในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ว่าด้วยมรดก
9. กำหนดให้นำบทบัญญัติในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ว่าด้วยคู่สมรส (มาตรา1606 1652 1563) ครอบครัว และบุตรบุญธรรม มาใช้บังคับแก่คู่ชีวิตด้วยโดยอนุโลม
สำหรับร่าง พ.ร.บ. แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มีสาระสำคัญ ดังนี้
1. กำหนดให้ชายหรือหญิงจะทำการสมรสในขณะที่ตนมี “คู่สมรส” หรือ “คู่ชีวิต” อยู่ไม่ได้
2. กำหนดให้เหตุฟ้องหย่า รวมถึงกรณีสามีหรือภริยาอุปการะเลี้ยงดูหรือยกย่องผู้อื่น ฉัน “คู่ชีวิต”
3. กำหนดให้สิทธิรับค่าเลี้ยงชีพในกรณีหย่าหมดไป ถ้าฝ่ายที่รับค่าเลี้ยงชีพสมรสใหม่ หรือจดทะเบียนคู่ชีวิต
ร่าง พ.ร.บ. คู่ชีวิต ถือเป็นก้าวสำคัญของสังคมไทยในการส่งเสริมความเสมอภาคเท่าเทียมของคนทุกเพศ เป็นการรับรองสิทธิ์ในการก่อตั้งครอบครัวของคู่รักที่มีเพศเดียวกันให้เป็นคู่ชีวิต เสริมสร้างความเข้มแข็งของครอบครัวที่มีความหลากหลายทางเพศให้สอดคล้องกับสภาพสังคมในปัจจุบัน รวมถึงสอดคล้องกับเป้าหมายตามแผนสิทธิมนุษยชนแห่งชาติอีกด้วย
https://www.facebook.com/ThaigovSpokesman/posts/954460758353064
แสดงความคิดเห็น
❤❤❤/มาลาริน/ต้องการความเท่าเทียมทางเพศแต่เยอะไปค่ะ.. "สส.ก้าวไกล"ลั่นไม่เอา"พรบ.คู่ชีวิต"ชี้แบ่งแยกความเป็นมนุษย์
นายธัญญ์วาริน สุขะพิสิษฐ์ ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคก้าวไกล ส.ส.ผู้มีความหลากหลายทางเพศ โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กว่า ไม่เอา พ.ร.บ.คู่ชีวิต เพราะ พ.ร.บ.คู่ชีวิตจะยิ่งทำให้เกิดความแปลกและแตกต่างกับผู้มีความหลากหลายทางเพศ ลองคิดดูว่า เมื่อเราจะจดทะเบียนสมรสแล้วทำไมเราต้องใช้กฏหมายคนละตัวกัน แค่นี้ก็เห็นแล้วว่า พ.ร.บ.คู่ชีวิต ไม่ทำให้เกิดความเท่าเทียมเลยแม้แต่น้อย ซึ่งต่างจาก แก้ปพพ.1448 #สมรสเท่าเทียม ที่ #พรรคก้าวไกล เสนอเข้าสภา
ด้าน นายธัญวัจน์ กมลวงศ์วัฒน์ ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคก้าวไกล กล่าวว่า พ.ร.บ.คู่ชีวิตฉบับนี้นั้นยังไม่นำไปสู่ความเท่าเทียมที่แท้จริง เพราะยังขาดโอกาสในการเข้าถึงสิทธิประโยชน์บางอย่าที่รัฐได้กำหนดไว้ให้ “คู่สมรส” เช่น ยังรับสวัสดิการของคู่ชีวิตที่เป็นพนักงานของรัฐไม่ได้ และขอสัญชาติให้กับคู่ชีวิตไม่ได้
โดยทางพรรคก้าวไกลนั้นได้ทำการยื่นร่าง พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ม.1448 เพื่อแก้กฎหมายสมรสจากคำว่า “ชาย” หรือ “หญิง” เป็น “บุคคล” เพื่อให้คนไทยได้เข้าถึงการสมรสที่เท่าเทียมในการเข้าถึงสิทธิต่างๆ โดยร่างฉบับนี้กำลังเปิดให้ร่วมแสดงความคิดเห็นกันอยู่
นายธัญวัจน์ กล่าวว่า พ.ร.บ. คู่ชีวิต ผ่านมติเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรีแล้วก็จริง แต่จะต้องผ่านกระบวนการรับฟังความคิดเห็น ตามมาตรา 77 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยปีพุทธศักราช2560 ในสภาผู้แทนราษฎร เสียก่อน จึงขอเชิญชวนประชาชนร่วมแสดงฟังความเห็นต่อร่างพระราชบัญญัติแก้ไขประมวลกฎหมายแพ่งเเละพาณิชย์ มาตรา 1448 “สมรสเท่าเทียม” ที่พรรคก้าวไกลเป็นผู้เสนอ ในเว็บไซต์ของสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ตั้งเเต่วันนี้ จนถึงวันที่ 17 ส.ค. 63 เพราะเสียงของประชาชนที่จะเข้าสู่ในสภาผู้แทนราษฎรมีความสำคัญเราในฐานะผู้แทนราษฎรอยากเชิญชวนประชาชนมีส่วนร่วมและมีบทบาทในการแก้ไข ก่อนที่ร่างกฎหมายดังกล่าวจะบรรจุเข้าวาระในที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎร เเละผลักดันใช้เป็นกฎหมาย เพื่อความเท่าเทียมลดความเหลื่อมล้ำในสิทธิขั้นพื้นฐานของมนุษย์
สุดท้าย “กฎหมายของไทยห้ามแบ่งเเยกดินเเดน เหตุใดจึงมีกฎหมายแบ่งแยกความเป็นมนุษย์”
https://siamrath.co.th/n/168258
ส.ฟ้าสีรุ้ง เห็นด้วย พ.ร.บ.คู่ชีวิต แม้ให้สิทธิไม่เท่าคู่ชายหญิง
หลังจากมีข่าวว่า ครม.ได้เห็นชอบ ร่าง พ.ร.บ.คู่ชีวิต ออกมาเมื่อวานนี้ ก็มีกระแสวิพากษ์วิจารณ์จำนวนมากว่า แม้จะให้เพศที่สามแต่งงานกันได้ แต่กฎหมายฉบับนี้ยังไม่ให้ความเท่าเทียมแบบเต็มร้อยเหมือนคู่สมรสชาย-หญิงทั่วไป ขณะที่บางส่วนมองว่าอย่างน้อยนี่ถือเป็นจุดเริ่มต้นที่ดีที่กฎหมายจะให้สิทธิความเท่าเทียมกับคนกลุ่มนี้มากขึ้น
เสียงขับร้องของ เจินเจิน บุญสูงเนิน นักร้องหญิงข้ามเพศ วัย 63 ปี ยังคงไพเราะกินใจใครหลายคน โดยเฉพาะเมื่อไรก็ตามที่ได้ร้องเพลง "ฉันก็เป็นผู้หญิงคนหนึ่ง" ที่เนื้อหาบาดลึกสะท้อนถึงความไม่เท่าเทียมในสังคมที่กระทำต่อกลุ่มคนเพศที่สาม
เจินเจินบอกว่า สมัยก่อน หากสาวประเภทสอง หรือกลุ่มชายรักชาย จะครองรักกันเป็นคู่ ก็จะต้องอยู่แบบหลบๆซ่อนๆ ต่างจากสมัยนี้ที่สังคมเปิดกว้างขึ้น และยิ่งมีข่าวว่าคณะรัฐมนตรีเห็นชอบร่าง พ.ร.บ.คู่ชีวิต ส่วนตัวเธอรู้สึกดีใจมาก เพราะยิ่งสะท้อนให้เห็นว่าสังคมให้การยอมรับมากขึ้นแล้ว
แม้คนบางส่วนจะเห็นด้วยกับ พ.ร.บ.คู่ชีวิตฉบับนี้ แต่ยังมีอีกหลายคนที่มองว่ากฎหมายฉบับนี้ไม่ได้ให้ความเท่าเทียมกับเพศที่สามอย่างแท้จริง เพราะ พ.ร.บ. คู่ชีวิต ไม่ได้ให้สิทธิ์บางอย่างเทียบเท่า คู่สมรส เช่นสวัสดิการคู่สมรสข้าราชการ และการแยกกฎหมายออกมาใหม่ แทนการแก้จากกฎหมายการสมรสฉบับเดิม ก็เหมือนกับการขีดเส้นตอกย้ำถึงความแปลกแยก จนเกิดกระแสวิพากษ์วิจารณ์ติดเทรนด์ทวิตเตอร์ ด้วยแฮชแท็ค "ไม่เอา พ.ร.บ.คู่ชีวิต"
กิตตินันท์ ธรมธัช นายกสมาคมฟ้าสีรุ้ง หนึ่งในผู้ขับเคลื่อนกฎหมายฉบับนี้ ชี้แจงว่า จริงๆแล้ว พ.ร.บ.คู่ชีวิต เนื้อหาไม่ได้ขัดแย้งกับ การแก้กฎหมาย "สมรสเท่าเทียม" ที่เสนอโดย ส.ส.พรรคก้าวไกล ตามที่ถูกโซเชียลวิจารณ์ และแม้การให้สิทธิ์คู่ชีวิตจะยังไม่เท่าเทียมกับคู่สมรสชายหญิงร้องเปอร์เซ็นต์ก็จริง แต่อย่างน้อยก็ได้สิทธิ์บางประการมาเพิ่มขึ้น และน่าจะเป็นประโยชน์ต่อการแก้กฎหมายอย่างค่อยเป็นค่อยไปในอนาคต
นายกสมาคมฟ้าสีรุ้งยังบอกด้วยว่าในบางประเทศ เช่นไต้หวัน แม้จะมีการแก้กฎหมายเรื่องสมรสเท่าเทียมไปแล้ว แต่ก็ไม่ได้ให้สิทธิ์กับเพศที่สามอย่างเท่าเทียมจริงๆ เช่นการรับเลี้ยงบุตรบุญธรรม จะต้องเป็นลูกติดฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเท่านั้น ต่างจากคู่สมรสชายหญิง ดังนั้นจึงอยากให้ประชาชนมอง พ.ร.บ.คู่ชีวิตฉบับนี้ใหม่ด้วยความเข้าใจ เพราะไม่อยากให้ถอยหลังกลับไปเริ่มต้นใหม่ ซึ่ง พ.ร.บ.ฉบับนี้ยังไม่ได้ประกาศใช้ ต้องผ่านการพิจารณาจากรัฐสภาอีกที
https://www.pptvhd36.com/news/ประเด็นร้อน/129104
ต้องการความเท่าเทียมทุกอย่าง....แต่ไม่สามารถเป็นเหมือนคนส่วนใหญ่ได้
ดิฉันว่าแยกไปแบบนี้นี้เหมาะสมแล้วค่ะ คุณส.ส.ก้าวไกล