ยุทธพงศ์ บี้ บิ๊กตู่ ลาออกเหมือนนายกฯสิงคโปร์ อัดคนไทยไม่มีจะกินยังซื้อเรือดำน้ำ
https://www.khaosod.co.th/politics/news_4422640
ยุทธพงศ์ บี้ บิ๊กตู่ ลาออกเหมือนนายกฯสิงคโปร์ อัดคนไทยไม่มีจะกินยังซื้อเรือดำน้ำ ตั้งฉายานายกฯ เรือดำน้ำจีน ถามจะเอาเรือไปรบกับใคร
เมื่อเวลา 18.30 น. วันที่ 1 ก.ค. ที่รัฐสภา นายยุทธพงศ์ จรัสเสถียร ส.ส.มหาสารคาม พรรคเพื่อไทย อภิปรายว่า งบปี 64 ที่ตั้งไว้ 3.30 ล้านล้านบาท มาจากรายได้ที่จะจัดเก็บได้สุทธิ 2.67 ล้านล้านบาท มาจากการกู้เงินชดเชย 6.2 แสนล้านบาท อยากฝากไปถึงรมว.คลังว่า สำนักงานเศรษฐกิจการคลังได้ไปชี้แจงที่พรรคพท.ว่ารายได้ที่จัดเก็บคาดการณ์ว่าต่ำกว่าเป้า 2 แสนล้านบาท รัฐบาลต้องหาวิธีแก้ไข เพราะจะกู้เพิ่มคงไม่ได้แล้ว เนื่องจากติดเพดานแล้ว
ทั้งนี้ งบประมาณปี 64 ไม่ตอบโจทย์การแก้ไขโควิดและปัญหาเศรษฐกิจของประเทศ แทนที่จะเอาไปกระตุ้นเศรษฐกิจ ช่วยคนตกงาน กลับเอาไปซื้อเรือดำน้ำ ซื้ออาวุธ แล้วรัฐบาลบริหหารไม่ได้ แค่บริหารหน้ากากอนามัยถึงวันนี้ยังแก้ปัญหาไม่ได้ นอกจากนี้ยังปล่อยให้เอกชนช่วยเหลือตัวเอง ทำให้ไม่สามารถแข่งขันกับต่างประเทศได้
นาย
ยุทธพงศ์ อภิปรายต่อว่า ขอยกตัวอย่างประเทศสิงคโปร์ที่โควิดหนักมาก แต่รัฐบาลช่วยเหลือภาคเอกชนอย่างเต็มที่ นายกฯ สิงคโปร์แสดงความรับผิดชอบด้วยการลาออก แล้วนายกฯ ไทยไม่แสดงความรับผิดชอบบ้างหรือ วันนี้มีคนฆ่าตัวตาย ไปร้องไห้ที่กระทรวงการคลัง แล้วนายกฯ ไทยไปทำอะไรอยู่ ไม่แสดงความรับผิดชอบเหมือนประเทศสิงคโปร์บ้างหรือ ขนาดมีโควิด งบกองทัพเรือยังเพิ่มขึ้นจากปีที่แล้วอีกพันกว่าล้าน
เฉพาะปีนี้ได้งบ 4.8 หมื่นล้านบาท โดยเฉพาะเรือดำน้ำ 2 ลำ ก็ไม่ได้หยุดซื้อ นึกว่านายกฯ จะเห็นแก่ความเดือดร้อนประเทศชาติและประชาชน แล้วตัดงบออก แต่นายกฯ ก็ยังไม่ยอมหยุดซื้อ เพียงแค่ชะลอไม่ซื้อปี 63 แต่จะมาซื้อในปี 64 ทั้งที่งบเรือดำน้ำตัดทิ้งได้ แต่ทำไม่ไม่ตัด ทั้งนี้ ในหนังสืองบประมาณของกองทัพเรือ หน้า 722 ข้อ 2.3.1 โครงการผูกพันตามสัญญาตามมาตรา 41 จำนวน 4 โครงการ มูลค่า 4.7 หมื่นล้านบาท ไม่มีรายละเอียด
โครงการ หมกเม็ด ขนาดงบกองทัพเรือปี 64 จำนวน 8.9 พันล้านบาท ท่านไม่แจ้งต่อสภาฯ ให้รู้ แต่เอาเรือดำน้ำซ่อนอยู่ในงบนี้ ทั้งที่ประชาชนประสบภัยแล้งและโควิด แต่กลับไม่มีเงินช่วยเหลือ แต่ท่านเอางบไปซื้อเรือดำน้ำ มันหมายความว่าอย่างไร
“หากนายกฯ เห็นแก่ประเทศชาติ ท่านต้องเลิกเอางบ 2.2 หมื่นล้านไปซื้อเรือดำน้ำ เอางบมาช่วยประชาชน ถามว่าท่านจะเอาเรือดำน้ำไปรบกับใคร โควิดยังแก้ไม่ได้เลย รัฐมนตรีที่นั่งอยู่พากันใส่หน้ากากอนามัยกันหมด เพราะกลัวโควิด และเมื่อพิจารณาในหลักเกณฑ์และวิธีการปรับปรุงงบปี 64 เพื่อนำไปใช้ในการแก้โควิดในข้อ 3 เขียนชัด ซึ่งเรือดำน้ำเข้าหลักเกณฑ์เต็มๆ ว่ารอได้
ดังนั้นท่านยังไม่ต้องซื้อ ปีที่แล้วก็ไม่ตัดงบซื้อเรือดำน้ำออก ปีนี้ตั้งงบไว้ 3.9 พันล้านบาท แล้วผูกพันงบปีต่อๆไปที่เหลือ สุดท้ายท่านก็ได้เรือดำน้ำอยู่ดี และในวันที่ 8 ก.ค.ที่จะมีการประชุม ครม. หากนายกฯ และ ครม.เอารถไฟฟ้าสายสีเขียวเข้าไปต่อสัญญาอีก 40 ปี ผมร้อง ป.ป.ช.แน่ เจอกันแน่ที่ ป.ป.ช.ทั้ง ครม. ผมขอตั้งเลยว่างบปี 64 เป็นงบเรือดำน้ำ ไม่ใช่งบโควิด นายกฯ ที่ชื่อประยุทธ์คือนายกฯ เรือดำน้ำจีน ไม่ใช่นายกฯ เพื่อคนไทย” นาย
ยุทธพงศ์ กล่าว
จากนั้นพล.อ.
ชัยชาญ ช้างมงคล รมช.กลาโหม ชี้แจงว่า โครงการจัดซื้อเรือดำน้ำเป็นโครงการปี 2563 แต่ต้องชะลอไว้ เพื่อโอนงบเข้าสู่งบกลางเพื่อนำไปช่วยโควิด จึงต้องมาดำเนินการในปี 2564 แทน อย่างไรก็ตาม สำหรับความมั่นคงทางเศรษฐกิจทางทะเลของประเทศที่มีอาณาเขตติดต่อกันถือว่า มีความสำคัญอย่างมาก ประเทศในภูมิภาคให้ความสำคัญในการเพิ่มดุลอำนาจทางทะเล โดยมีถึง 4 ประเทศอาเซียนแล้วที่มีเรือดำน้ำเข้าประจำการ ซึ่งการจัดซื้อแต่ละครั้งมีระยะเวลาในการดำเนินการ ซื้อปีนี้กว่าจะเสร็จเข้าประจำการณ์ได้ใช้เวลาอีก 6-7 ปี หากเริ่มโครงการในปีงบประมาณ 2564 จะได้เรือในปี 2569 เลยทีเดียว
ซึ่งเรื่องนี้จะทำให้เราเสียเปรียบดุลทางทะเลกับประเทศอาเซียนถึง 8-10 ปี แม้ว่าจะไม่ได้เอาไปรับกับใคร แต่เป็นการรักษาความมั่นคงทางทะเล เป็นยุทธศาสตร์ของกองทัพเรือในการรักษาผลประโยชน์ทางทะเลของประเทศที่มีสูงถึง 24 ล้านล้านบาท โดย 95 % ของสินค้าล้วนเป็นการขนส่งทางทะเล โดยขณะนี้มีเรือผ่านน่านน้ำไทยสูงถึง 15,000 ลำต่อปี และมีแนวโน้มมากขึ้นทุกปีด้วย ดังนั้นการจัดซื้อเรือดำน้ำจึงเป็นเรื่องการรักษาผลประโยชน์ทางทะเล เป็นยุทธศาตร์ของกองทัพเรืออย่างโปร่งใส่ในการจัดซื้อ สามารถตรวจสอบได้
“พิจารณ์”บี้กลาโหมเปิดรายได้ธุรกิจกองทัพ
https://www.innnews.co.th/politics/news_712676/
นาย
พิจารณ์ เชาวพัฒนวงศ์ ส.ส. บัญชีรายชื่อ พรรคก้าวไกล กล่าวว่า ตอนนี้ประเทศกำลังเจอกับภัยคุกคามทางโรคระบาด ไม่ใช่ภัยคุกคามทางทหาร รัฐบาลจำเป็นต้องปรับความคิดเรื่องความมั่นคงจากทางทหารเป็นความมั่นคงในชีวิตของพี่น้องประชาชน การจัดทำงบประมาณต้องปรับงบกองทัพลงและเพื่อให้มีงบประมาณรองรับปัญหาเศรษฐกิจ สาธารณสุข และเยียวยาประชาชนมากขึ้น และเมื่อมาดูงบประมาณกระทรวงกลาโหม ตนขอเรียกว่า “
งบ ลวง พราง” ซึ่งมีข้อสังเกต 3 ข้อ คือ
1. ลวงว่าลดแต่ไม่ได้ลด จากงบประมาณของกระทรวง 2.23 แสนล้านบาท เหมือนกับสัดส่วนของปีก่อนๆ แต่เพิ่มสูงขึ้นเรื่อยๆ ตั้งแต่ปี 2557 แม้ว่าปีนี้จะดูเหมือนว่าลดลงไป 8,200 ล้านบาท ขณะเดียวกัน เมื่อไปดูที่การโอนงบประมาณจากปี 2563 จำนวน 17,700 ล้านบาท เหลืองบประมาณของกระทรวงกลาโหมเดิมเหลือ 2.13 แสนล้านบาท เมื่อเทียบกับงบประมาณปี 2564 ก็จะเห็นว่าได้เพิ่มขึ้นจากงบประมาณที่ใช้ไปเมื่อปีที่แล้วหลักหมื่นล้านบาท ขณะเดียวกัน งบประมาณเรือดำน้ำ งบซื้อเครื่องบินของกองทัพอากาศ ก็ยังมีอยู่ ทั้งที่ถูกตัดงบโอนคืนไปเมื่อปีที่แล้ว
2. การตัดงบอำพราง กระทรวงกลาโหมก่อหนี้ผูกพันข้ามปีถึง 173,144 ล้านบาทหรือ 77.46% ของงบประมาณ ขณะที่ทั้งรัฐบาลมีหนี้ผูกพัน 1,199,000 ล้านบาท หรือเพียง 36.33% ซึ่งน้อยกว่าเท่าตัว นั่นหมายความว่ารัฐบาลไหนเข้ามาก็ต้องใช้หนี้ส่วนนี้ ซึ่งงบผูกพันเหล่านี้ยังเบียดบังโครงการที่จำเป็น ซึ่งงบผูกพันเหล่านี้มี 22 โครงการเป็นงบการจัดซื้ออาวุธ และ 2 โครงการบำรุงและซ่อมอากาศยาน ซึ่งควรชะลอออกไปก่อน
3. เงินนอกงบประมาณที่ไม่ได้รายงานจากรายได้ที่เป็นธุรกิจของกองทัพ เช่น ปั้มน้ำมัน, สนามม้า, สนามมวย ฯลฯ ทั้งที่เคยบอกว่าจะปฏิรูปกองทัพแต่ไม่น้ำเงินจำนวนนี้ขึ้นมาบนโต๊ะ ทำธุรกิจโดยไม่เปิดเผยรายได้ งบการเงิน หรือผลการตอบแทนให้ใคร หรือว่าเป็นธุรกิจผิดกฎหมาย
นาย
พิจารณ์ กล่าวต่อว่าจาก 3 ข้อสังเกตในเบื้องต้น นำมาสู่ 3 ข้อเสนอ คือ
1. ตัดลดงบประมาณ 11,840 ล้านบาทจากการะชะลอ 6 โครงการผูกพันใหม่ 22 โครงการซื้ออาวุธใหม่ และ 2 โครงการซ่อมบำรุงอากาศยาน
2. ลดหนี้ผูกพันให้เหลือไม่เกิน 30% ของงบประมาณประจำปี
3. เปิดเผยผลการดำเนินงานธุรกิจทุกอย่างของกองทัพ เพื่อให้รายได้กลับมาสมทบคลังเพื่อไปใช้จ่ายในด้านที่จำเป็น แล้วค่อยทำโครงการขอมาหากมีโครงการที่จำเป็นเหมือนกระทรวงอื่นๆ
'สหรัฐฯ' คะแนนแย่กว่า 'จีน' ในดัชนีสันติภาพโลก - ส่วน 'ไทย' ร่วง 1 อันดับ
https://voicetv.co.th/read/L_1m3WMJI
แม้หลายประเทศจะไร้สงคราม ก็ไม่ได้หมายความว่าจะมี 'สันติภาพเชิงบวก' เพราะความเงียบสงบอาจเกิดจากความหวาดกลัว - ดัชนีสันติภาพโลกปี 63 ชี้ 'ไอซ์แลนด์' ติดอันดับ 1 อีกปี ขณะที่ไทยร่วงลงมา 1 จุด - ส่วนอีก 96 ประเทศเจอเหตุจลาจล-ก่อความไม่สงบตลอดปีที่ผ่านมา
สถาบันเศรษฐกิจและสันติภาพ (IEP) เผยแพร่ดัชนีสันติภาพโลก (GPI) ประจำปี 2020 (พ.ศ.2563) เมื่อต้นเดือน มิ.ย.ที่ผ่านมา อ้างอิงการสำรวจสถานการณ์ใน 163 ประเทศและรัฐทั่วโลก พบว่า 81 ประเทศมีคะแนนสันติภาพเพิ่มขึ้น แต่อีก 80 ประเทศมีคะแนนลดลง
เนื้อหาในรายงานสรุปดัชนีสันติภาพโลกระบุด้วยว่า 96 ประเทศและเขตปกครองทั่วโลกเจอกับเหตุการณ์ไม่สงบและการจลาจลที่นำไปสู่การใช้ความรุนแรงตลอดปี 2562 และต้นปี 2563 ที่ผ่านมา จึงไม่ใช่เรื่องน่าแปลกใจที่ภาพรวมคะแนนสันติภาพทั่วโลกจะลดลงอย่างมาก
ส่วนการประเมินคะแนนของแต่ละประเทศต่างๆ ในดัชนีสันติภาพโลก พิจารณาจากเกณฑ์หลัก 3 ประการ คือ ความมั่นคงปลอดภัยทางสังคม ความขัดแย้งที่ยังไม่ยุติ และการเติบโตของกองทัพ พร้อมทั้งแบ่งกลุ่มประเทศตามคะแนนที่ได้รับ โดยเรียงจากคะแนนสูงมาก สูง ปานกลาง ต่ำ ต่ำมาก และไม่ติดกลุ่มใด
10 ประเทศที่มีคะแนนสันติภาพสูงสุดจากการประเมินของผู้จัดทำดัชนีสันติภาพโลก ได้แก่ ไอซ์แลนด์ นิวซีแลนด์ โปรตุเกส ออสเตรีย เดนมาร์ก แคนาดา สิงคโปร์ สาธารณรัฐเชก ญี่ปุ่น และสวิตเซอร์แลนด์ ขณะที่ '
อัฟกานิสถาน' เป็นประเทศที่มีคะแนนสันติภาพน้อยที่สุด
ส่วน '
ไทย' ติดอันดับ 114 ตกลงมา 1 อันดับจากปีที่แล้ว และอยู่ในกลุ่มประเทศที่มีสันติภาพปานกลาง เช่นเดียวกับสหรัฐอเมริกา จีน และประเทศสมาชิกอาเซียนอื่นๆ ยกเว้น '
สิงคโปร์' ที่อยู่ในกลุ่มประเทศสันติภาพสูง และ '
เมียนมา' ซึ่งอยู่ในกลุ่มประเทศสันติภาพต่ำ
ผู้จัดทำดัชนีดังกล่าวระะบุว่า สันติภาพมีทั้งเชิงบวกและเชิงลบ โดยกล่าวว่า '
สันติภาพเชิงบวก' หมายถึง ทัศนคติ สถาบัน และโครงสร้างที่ก่อเกิดและบำรุงรักษาความสงบสุขภายในสังคม แต่ '
สันติภาพเชิงลบ' จะทำให้เกิดความสงบที่มาจากการเงียบหรือภาวะปราศจากความรุนแรงเพราะสังคมหวาดกลัว ด้วยเหตุนี้ แม้หลายประเทศจะไม่มีสงครามกลางเมืองหรือเกิดความขัดแย้งนองเลือด ก็ไม่ได้หมายความว่าจะต้องมีคะแนนสันติภาพสูง
ขณะที่เว็บไซต์ Common Dreams สื่อทางเลือกของสหรัฐอเมริกา รายงานว่า ไม่ใช่เรื่องน่าแปลกใจที่สหรัฐฯ ได้คะแนนดัชนีสันติภาพน้อยกว่าประเทศพัฒนาแล้วอื่นๆ ทั้งยังมีคะแนนรวมต่ำกว่าจีน เป็นเพราะสหรัฐฯ เผชิญกับสถานการณ์แพร่ระบาดของโรคโควิด-19 และลุกลามไปถึงการชุมนุมประท้วงต่อต้านการเลือกปฏิบัติต่อคนผิวดำ กลายเป็นจลาจลรุนแรงในบางพื้นที่ในช่วงเดือนที่ผ่านมา
รายงานของคอมมอนดรีมส์ระบุด้วยว่า ประเทศที่สนับสนุนการเติบโตของกองทัพหรือสถาบันทางการทหารมากกว่าการทุ่มเทงบประมาณสนับสนุนด้านสาธารณสุข ที่อยู่อาศัย หรือการศึกษา แบบที่รัฐบาลสหรัฐฯ กำลังทำ ย่อมส่งผลให้ประชาชนไม่ไว้วางใจในรัฐ หรือไว้วางใจน้อยลง เพราะรู้สึกว่าไม่ได้รับการดูแลที่ดีเพียงพอ
http://visionofhumanity.org/app/uploads/2020/06/GPI_2020_web.pdf
JJNY : 5in1 ยุทธพงศ์บี้ตู่ลาออก/พิจารณ์บี้กห.เปิดรายได้/ดัชนีสันติภาพไทยร่วง/ไทยเทียร์2อีกปี/เชื่อมั่นเพิ่มแต่ห่วงรายได้
https://www.khaosod.co.th/politics/news_4422640
ยุทธพงศ์ บี้ บิ๊กตู่ ลาออกเหมือนนายกฯสิงคโปร์ อัดคนไทยไม่มีจะกินยังซื้อเรือดำน้ำ ตั้งฉายานายกฯ เรือดำน้ำจีน ถามจะเอาเรือไปรบกับใคร
เมื่อเวลา 18.30 น. วันที่ 1 ก.ค. ที่รัฐสภา นายยุทธพงศ์ จรัสเสถียร ส.ส.มหาสารคาม พรรคเพื่อไทย อภิปรายว่า งบปี 64 ที่ตั้งไว้ 3.30 ล้านล้านบาท มาจากรายได้ที่จะจัดเก็บได้สุทธิ 2.67 ล้านล้านบาท มาจากการกู้เงินชดเชย 6.2 แสนล้านบาท อยากฝากไปถึงรมว.คลังว่า สำนักงานเศรษฐกิจการคลังได้ไปชี้แจงที่พรรคพท.ว่ารายได้ที่จัดเก็บคาดการณ์ว่าต่ำกว่าเป้า 2 แสนล้านบาท รัฐบาลต้องหาวิธีแก้ไข เพราะจะกู้เพิ่มคงไม่ได้แล้ว เนื่องจากติดเพดานแล้ว
ทั้งนี้ งบประมาณปี 64 ไม่ตอบโจทย์การแก้ไขโควิดและปัญหาเศรษฐกิจของประเทศ แทนที่จะเอาไปกระตุ้นเศรษฐกิจ ช่วยคนตกงาน กลับเอาไปซื้อเรือดำน้ำ ซื้ออาวุธ แล้วรัฐบาลบริหหารไม่ได้ แค่บริหารหน้ากากอนามัยถึงวันนี้ยังแก้ปัญหาไม่ได้ นอกจากนี้ยังปล่อยให้เอกชนช่วยเหลือตัวเอง ทำให้ไม่สามารถแข่งขันกับต่างประเทศได้
นายยุทธพงศ์ อภิปรายต่อว่า ขอยกตัวอย่างประเทศสิงคโปร์ที่โควิดหนักมาก แต่รัฐบาลช่วยเหลือภาคเอกชนอย่างเต็มที่ นายกฯ สิงคโปร์แสดงความรับผิดชอบด้วยการลาออก แล้วนายกฯ ไทยไม่แสดงความรับผิดชอบบ้างหรือ วันนี้มีคนฆ่าตัวตาย ไปร้องไห้ที่กระทรวงการคลัง แล้วนายกฯ ไทยไปทำอะไรอยู่ ไม่แสดงความรับผิดชอบเหมือนประเทศสิงคโปร์บ้างหรือ ขนาดมีโควิด งบกองทัพเรือยังเพิ่มขึ้นจากปีที่แล้วอีกพันกว่าล้าน
เฉพาะปีนี้ได้งบ 4.8 หมื่นล้านบาท โดยเฉพาะเรือดำน้ำ 2 ลำ ก็ไม่ได้หยุดซื้อ นึกว่านายกฯ จะเห็นแก่ความเดือดร้อนประเทศชาติและประชาชน แล้วตัดงบออก แต่นายกฯ ก็ยังไม่ยอมหยุดซื้อ เพียงแค่ชะลอไม่ซื้อปี 63 แต่จะมาซื้อในปี 64 ทั้งที่งบเรือดำน้ำตัดทิ้งได้ แต่ทำไม่ไม่ตัด ทั้งนี้ ในหนังสืองบประมาณของกองทัพเรือ หน้า 722 ข้อ 2.3.1 โครงการผูกพันตามสัญญาตามมาตรา 41 จำนวน 4 โครงการ มูลค่า 4.7 หมื่นล้านบาท ไม่มีรายละเอียด
โครงการ หมกเม็ด ขนาดงบกองทัพเรือปี 64 จำนวน 8.9 พันล้านบาท ท่านไม่แจ้งต่อสภาฯ ให้รู้ แต่เอาเรือดำน้ำซ่อนอยู่ในงบนี้ ทั้งที่ประชาชนประสบภัยแล้งและโควิด แต่กลับไม่มีเงินช่วยเหลือ แต่ท่านเอางบไปซื้อเรือดำน้ำ มันหมายความว่าอย่างไร
“หากนายกฯ เห็นแก่ประเทศชาติ ท่านต้องเลิกเอางบ 2.2 หมื่นล้านไปซื้อเรือดำน้ำ เอางบมาช่วยประชาชน ถามว่าท่านจะเอาเรือดำน้ำไปรบกับใคร โควิดยังแก้ไม่ได้เลย รัฐมนตรีที่นั่งอยู่พากันใส่หน้ากากอนามัยกันหมด เพราะกลัวโควิด และเมื่อพิจารณาในหลักเกณฑ์และวิธีการปรับปรุงงบปี 64 เพื่อนำไปใช้ในการแก้โควิดในข้อ 3 เขียนชัด ซึ่งเรือดำน้ำเข้าหลักเกณฑ์เต็มๆ ว่ารอได้
ดังนั้นท่านยังไม่ต้องซื้อ ปีที่แล้วก็ไม่ตัดงบซื้อเรือดำน้ำออก ปีนี้ตั้งงบไว้ 3.9 พันล้านบาท แล้วผูกพันงบปีต่อๆไปที่เหลือ สุดท้ายท่านก็ได้เรือดำน้ำอยู่ดี และในวันที่ 8 ก.ค.ที่จะมีการประชุม ครม. หากนายกฯ และ ครม.เอารถไฟฟ้าสายสีเขียวเข้าไปต่อสัญญาอีก 40 ปี ผมร้อง ป.ป.ช.แน่ เจอกันแน่ที่ ป.ป.ช.ทั้ง ครม. ผมขอตั้งเลยว่างบปี 64 เป็นงบเรือดำน้ำ ไม่ใช่งบโควิด นายกฯ ที่ชื่อประยุทธ์คือนายกฯ เรือดำน้ำจีน ไม่ใช่นายกฯ เพื่อคนไทย” นายยุทธพงศ์ กล่าว
จากนั้นพล.อ.ชัยชาญ ช้างมงคล รมช.กลาโหม ชี้แจงว่า โครงการจัดซื้อเรือดำน้ำเป็นโครงการปี 2563 แต่ต้องชะลอไว้ เพื่อโอนงบเข้าสู่งบกลางเพื่อนำไปช่วยโควิด จึงต้องมาดำเนินการในปี 2564 แทน อย่างไรก็ตาม สำหรับความมั่นคงทางเศรษฐกิจทางทะเลของประเทศที่มีอาณาเขตติดต่อกันถือว่า มีความสำคัญอย่างมาก ประเทศในภูมิภาคให้ความสำคัญในการเพิ่มดุลอำนาจทางทะเล โดยมีถึง 4 ประเทศอาเซียนแล้วที่มีเรือดำน้ำเข้าประจำการ ซึ่งการจัดซื้อแต่ละครั้งมีระยะเวลาในการดำเนินการ ซื้อปีนี้กว่าจะเสร็จเข้าประจำการณ์ได้ใช้เวลาอีก 6-7 ปี หากเริ่มโครงการในปีงบประมาณ 2564 จะได้เรือในปี 2569 เลยทีเดียว
ซึ่งเรื่องนี้จะทำให้เราเสียเปรียบดุลทางทะเลกับประเทศอาเซียนถึง 8-10 ปี แม้ว่าจะไม่ได้เอาไปรับกับใคร แต่เป็นการรักษาความมั่นคงทางทะเล เป็นยุทธศาสตร์ของกองทัพเรือในการรักษาผลประโยชน์ทางทะเลของประเทศที่มีสูงถึง 24 ล้านล้านบาท โดย 95 % ของสินค้าล้วนเป็นการขนส่งทางทะเล โดยขณะนี้มีเรือผ่านน่านน้ำไทยสูงถึง 15,000 ลำต่อปี และมีแนวโน้มมากขึ้นทุกปีด้วย ดังนั้นการจัดซื้อเรือดำน้ำจึงเป็นเรื่องการรักษาผลประโยชน์ทางทะเล เป็นยุทธศาตร์ของกองทัพเรืออย่างโปร่งใส่ในการจัดซื้อ สามารถตรวจสอบได้
“พิจารณ์”บี้กลาโหมเปิดรายได้ธุรกิจกองทัพ
https://www.innnews.co.th/politics/news_712676/
นายพิจารณ์ เชาวพัฒนวงศ์ ส.ส. บัญชีรายชื่อ พรรคก้าวไกล กล่าวว่า ตอนนี้ประเทศกำลังเจอกับภัยคุกคามทางโรคระบาด ไม่ใช่ภัยคุกคามทางทหาร รัฐบาลจำเป็นต้องปรับความคิดเรื่องความมั่นคงจากทางทหารเป็นความมั่นคงในชีวิตของพี่น้องประชาชน การจัดทำงบประมาณต้องปรับงบกองทัพลงและเพื่อให้มีงบประมาณรองรับปัญหาเศรษฐกิจ สาธารณสุข และเยียวยาประชาชนมากขึ้น และเมื่อมาดูงบประมาณกระทรวงกลาโหม ตนขอเรียกว่า “งบ ลวง พราง” ซึ่งมีข้อสังเกต 3 ข้อ คือ
1. ลวงว่าลดแต่ไม่ได้ลด จากงบประมาณของกระทรวง 2.23 แสนล้านบาท เหมือนกับสัดส่วนของปีก่อนๆ แต่เพิ่มสูงขึ้นเรื่อยๆ ตั้งแต่ปี 2557 แม้ว่าปีนี้จะดูเหมือนว่าลดลงไป 8,200 ล้านบาท ขณะเดียวกัน เมื่อไปดูที่การโอนงบประมาณจากปี 2563 จำนวน 17,700 ล้านบาท เหลืองบประมาณของกระทรวงกลาโหมเดิมเหลือ 2.13 แสนล้านบาท เมื่อเทียบกับงบประมาณปี 2564 ก็จะเห็นว่าได้เพิ่มขึ้นจากงบประมาณที่ใช้ไปเมื่อปีที่แล้วหลักหมื่นล้านบาท ขณะเดียวกัน งบประมาณเรือดำน้ำ งบซื้อเครื่องบินของกองทัพอากาศ ก็ยังมีอยู่ ทั้งที่ถูกตัดงบโอนคืนไปเมื่อปีที่แล้ว
2. การตัดงบอำพราง กระทรวงกลาโหมก่อหนี้ผูกพันข้ามปีถึง 173,144 ล้านบาทหรือ 77.46% ของงบประมาณ ขณะที่ทั้งรัฐบาลมีหนี้ผูกพัน 1,199,000 ล้านบาท หรือเพียง 36.33% ซึ่งน้อยกว่าเท่าตัว นั่นหมายความว่ารัฐบาลไหนเข้ามาก็ต้องใช้หนี้ส่วนนี้ ซึ่งงบผูกพันเหล่านี้ยังเบียดบังโครงการที่จำเป็น ซึ่งงบผูกพันเหล่านี้มี 22 โครงการเป็นงบการจัดซื้ออาวุธ และ 2 โครงการบำรุงและซ่อมอากาศยาน ซึ่งควรชะลอออกไปก่อน
3. เงินนอกงบประมาณที่ไม่ได้รายงานจากรายได้ที่เป็นธุรกิจของกองทัพ เช่น ปั้มน้ำมัน, สนามม้า, สนามมวย ฯลฯ ทั้งที่เคยบอกว่าจะปฏิรูปกองทัพแต่ไม่น้ำเงินจำนวนนี้ขึ้นมาบนโต๊ะ ทำธุรกิจโดยไม่เปิดเผยรายได้ งบการเงิน หรือผลการตอบแทนให้ใคร หรือว่าเป็นธุรกิจผิดกฎหมาย
นายพิจารณ์ กล่าวต่อว่าจาก 3 ข้อสังเกตในเบื้องต้น นำมาสู่ 3 ข้อเสนอ คือ
1. ตัดลดงบประมาณ 11,840 ล้านบาทจากการะชะลอ 6 โครงการผูกพันใหม่ 22 โครงการซื้ออาวุธใหม่ และ 2 โครงการซ่อมบำรุงอากาศยาน
2. ลดหนี้ผูกพันให้เหลือไม่เกิน 30% ของงบประมาณประจำปี
3. เปิดเผยผลการดำเนินงานธุรกิจทุกอย่างของกองทัพ เพื่อให้รายได้กลับมาสมทบคลังเพื่อไปใช้จ่ายในด้านที่จำเป็น แล้วค่อยทำโครงการขอมาหากมีโครงการที่จำเป็นเหมือนกระทรวงอื่นๆ
'สหรัฐฯ' คะแนนแย่กว่า 'จีน' ในดัชนีสันติภาพโลก - ส่วน 'ไทย' ร่วง 1 อันดับ
https://voicetv.co.th/read/L_1m3WMJI
แม้หลายประเทศจะไร้สงคราม ก็ไม่ได้หมายความว่าจะมี 'สันติภาพเชิงบวก' เพราะความเงียบสงบอาจเกิดจากความหวาดกลัว - ดัชนีสันติภาพโลกปี 63 ชี้ 'ไอซ์แลนด์' ติดอันดับ 1 อีกปี ขณะที่ไทยร่วงลงมา 1 จุด - ส่วนอีก 96 ประเทศเจอเหตุจลาจล-ก่อความไม่สงบตลอดปีที่ผ่านมา
สถาบันเศรษฐกิจและสันติภาพ (IEP) เผยแพร่ดัชนีสันติภาพโลก (GPI) ประจำปี 2020 (พ.ศ.2563) เมื่อต้นเดือน มิ.ย.ที่ผ่านมา อ้างอิงการสำรวจสถานการณ์ใน 163 ประเทศและรัฐทั่วโลก พบว่า 81 ประเทศมีคะแนนสันติภาพเพิ่มขึ้น แต่อีก 80 ประเทศมีคะแนนลดลง
เนื้อหาในรายงานสรุปดัชนีสันติภาพโลกระบุด้วยว่า 96 ประเทศและเขตปกครองทั่วโลกเจอกับเหตุการณ์ไม่สงบและการจลาจลที่นำไปสู่การใช้ความรุนแรงตลอดปี 2562 และต้นปี 2563 ที่ผ่านมา จึงไม่ใช่เรื่องน่าแปลกใจที่ภาพรวมคะแนนสันติภาพทั่วโลกจะลดลงอย่างมาก
ส่วนการประเมินคะแนนของแต่ละประเทศต่างๆ ในดัชนีสันติภาพโลก พิจารณาจากเกณฑ์หลัก 3 ประการ คือ ความมั่นคงปลอดภัยทางสังคม ความขัดแย้งที่ยังไม่ยุติ และการเติบโตของกองทัพ พร้อมทั้งแบ่งกลุ่มประเทศตามคะแนนที่ได้รับ โดยเรียงจากคะแนนสูงมาก สูง ปานกลาง ต่ำ ต่ำมาก และไม่ติดกลุ่มใด
10 ประเทศที่มีคะแนนสันติภาพสูงสุดจากการประเมินของผู้จัดทำดัชนีสันติภาพโลก ได้แก่ ไอซ์แลนด์ นิวซีแลนด์ โปรตุเกส ออสเตรีย เดนมาร์ก แคนาดา สิงคโปร์ สาธารณรัฐเชก ญี่ปุ่น และสวิตเซอร์แลนด์ ขณะที่ 'อัฟกานิสถาน' เป็นประเทศที่มีคะแนนสันติภาพน้อยที่สุด
ส่วน 'ไทย' ติดอันดับ 114 ตกลงมา 1 อันดับจากปีที่แล้ว และอยู่ในกลุ่มประเทศที่มีสันติภาพปานกลาง เช่นเดียวกับสหรัฐอเมริกา จีน และประเทศสมาชิกอาเซียนอื่นๆ ยกเว้น 'สิงคโปร์' ที่อยู่ในกลุ่มประเทศสันติภาพสูง และ 'เมียนมา' ซึ่งอยู่ในกลุ่มประเทศสันติภาพต่ำ
ผู้จัดทำดัชนีดังกล่าวระะบุว่า สันติภาพมีทั้งเชิงบวกและเชิงลบ โดยกล่าวว่า 'สันติภาพเชิงบวก' หมายถึง ทัศนคติ สถาบัน และโครงสร้างที่ก่อเกิดและบำรุงรักษาความสงบสุขภายในสังคม แต่ 'สันติภาพเชิงลบ' จะทำให้เกิดความสงบที่มาจากการเงียบหรือภาวะปราศจากความรุนแรงเพราะสังคมหวาดกลัว ด้วยเหตุนี้ แม้หลายประเทศจะไม่มีสงครามกลางเมืองหรือเกิดความขัดแย้งนองเลือด ก็ไม่ได้หมายความว่าจะต้องมีคะแนนสันติภาพสูง
ขณะที่เว็บไซต์ Common Dreams สื่อทางเลือกของสหรัฐอเมริกา รายงานว่า ไม่ใช่เรื่องน่าแปลกใจที่สหรัฐฯ ได้คะแนนดัชนีสันติภาพน้อยกว่าประเทศพัฒนาแล้วอื่นๆ ทั้งยังมีคะแนนรวมต่ำกว่าจีน เป็นเพราะสหรัฐฯ เผชิญกับสถานการณ์แพร่ระบาดของโรคโควิด-19 และลุกลามไปถึงการชุมนุมประท้วงต่อต้านการเลือกปฏิบัติต่อคนผิวดำ กลายเป็นจลาจลรุนแรงในบางพื้นที่ในช่วงเดือนที่ผ่านมา
รายงานของคอมมอนดรีมส์ระบุด้วยว่า ประเทศที่สนับสนุนการเติบโตของกองทัพหรือสถาบันทางการทหารมากกว่าการทุ่มเทงบประมาณสนับสนุนด้านสาธารณสุข ที่อยู่อาศัย หรือการศึกษา แบบที่รัฐบาลสหรัฐฯ กำลังทำ ย่อมส่งผลให้ประชาชนไม่ไว้วางใจในรัฐ หรือไว้วางใจน้อยลง เพราะรู้สึกว่าไม่ได้รับการดูแลที่ดีเพียงพอ
http://visionofhumanity.org/app/uploads/2020/06/GPI_2020_web.pdf