เปิดงบทหารโลก ปี 2016 สหรัฐฯ ครองแชมป์

กระทู้ข่าว
สถาบันวิจัยสันติภาพระหว่างประเทศสตอกโฮล์ม (SIPRI) เผยแพร่รายงานประมาณการใช้จ่ายด้านการทหารของรัฐบาลประเทศต่าง ๆ ทั่วโลกเมื่อปีที่แล้ว พบมีวงเงินรวมกันราว 1.686 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐฯ หรือประมาณ 58.8 ล้านล้านบาท หรือเพิ่มขึ้นจากปีก่อนหน้า 0.4% โดย 15 ประเทศที่ใช้จ่ายงบด้านนี้สูงสุดรวมกันเป็น 81% ของงบการทหารทั้งโลก ขณะที่ 2 ชาติมหาอำนาจสหรัฐฯ และจีนมีงบการทหารสูงสุดตามลำดับ

โดยงบด้านการทหารของสหรัฐฯ เมื่อปีที่แล้วอยู่ที่ 611,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ หรือราว 1 ใน 3 ของงบการทหารทั้งโลก และคิดเป็นประมาณเกือบ 3 เท่าของงบการทหารของจีนซึ่งรั้งอันดับสอง โดย SIPRI คาดว่าจีนใช้งบด้านนี้ 215,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ หรือประมาณ 7.5 ล้านล้านบาท คิดเป็น 13% ของงบการทหารทั้งโลก ส่วนรัสเซียเพิ่มงบด้านการทหารอย่างเกินความคาดหมายในช่วงปลายปี 2016 จนเป็นประเทศที่ใช้งบด้านนี้มากเป็นอันดับสาม ตามมาด้วยซาอุดีอาระเบียที่ปรับลดงบการทหารลงจำนวนมากจนตกมาอยู่ในอันดับที่ 4 ส่วนอินเดียอันดับที่ 5

รายละเอียด มีตารางตัวเลข
http://www.bbc.com/thai/international-39734417?ocid=socialflow_facebook

ทั้งนี้ ไม่เฉพาะซาอุดีอาระเบียที่ต้องลดงบการทหารลง แต่ปัญหาราคาน้ำมันตกต่ำส่งผลให้ประเทศผู้ส่งออกน้ำมันหลายประเทศที่เคยเพิ่มการใช้จ่ายด้านการทหารในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา ต้องต้องปรับลดงบประมาณทุกด้าน รวมถึงค่าใช้จ่ายด้านการทหารด้วย
SIPRI ระบุด้วยว่างบการทหารของสหรัฐฯ ที่ปรับเพิ่มขึ้น 1.7% จากปีก่อนหน้า ถือเป็นครั้งแรกในรอบ 5 ปี สาเหตุส่วนหนึ่งเป็นเพราะเมื่อปี 2013 และ 2015 สหรัฐฯ ได้ผ่านกฎหมายผ่อนคลายข้อจำกัดด้านงบประมาณที่เคยบังคับใช้ในปี 2011

งบการทหารทั่วโลกปี 2016
1.686 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐฯ
2.2% ของจีดีพีโลก
36% เป็นของสหรัฐฯ
เพิ่ม 0.4% จากปีก่อนหน้า
81% เป็นของ 15 ชาติแรกที่ใช้งบการทหารสูงสุด
ที่มา: สถาบันวิจัยสันติภาพระหว่างประเทศสตอกโฮล์ม (SIPRI)

จากข้อมูลของ SIPRI พบว่าในส่วนของชาติสมาชิกอาเซียนไม่รวมลาวและเมียนมา มีสัดส่วนงบด้านการทหารรวมกันในปีที่แล้ว 37,872 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ หรือประมาณ 1.3 ล้านล้านบาท หรือราว 2.2% ของทั้งโลก โดยสิงคโปร์ซึ่งรั้งอันดับ 1 ตลอด 10 ปีที่ผ่านมา ใช้จ่ายงบการทหารที่ 9,986 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ หรือประมาณ 348,400 ล้านบาท คิดเป็น 17.3% ของงบประมาณทั้งหมดของรัฐบาล และคิดเป็น 3.4% ของผลผลิตมวลรวมภายในประเทศ หรือจีดีพี ตามมาด้วยอินโดนีเซียใช้จ่ายไป 7,783 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ หรือประมาณ 271,500 ล้านบาท คิดเป็น 5.2% ของงบประมาณรัฐบาล และ 0.9% ของจีดีพี

โดยสิงคโปร์ ครองสัดส่วนงบการทหารในบรรดาชาติอาเซียนไม่รวมเมียนมาและลาวสูงสุดที่ 26% ตามมาด้วยอินโดนีเซีย 21% ไทย 16% และเวียดนาม 13%


ส่วนไทยใช้งบด้านการทหารเมื่อปีที่แล้วประมาณ 211,000 ล้านบาท สูงสุดเป็นอันดับ 3 ในอาเซียน รองจากสิงคโปร์และอินโดนีเซีย งบการทหารของไทยเมื่อปีที่แล้ว มีสัดส่วน 6.5% ของงบประมาณโดยรวม หรือราว 1.5% ของจีดีพี โดยไทยปรับเพิ่มงบการทหารติดต่อกันเป็นปีที่ 5

เปิดงบกองทัพไทย
1.77 ล้านล้านบาท คืองบการทหารระหว่างปี 2007-2016
2.11 แสนล้านบาท คืองบการทหารของไทยในปี 2016
5 ปี ที่งบการทหารไทยเพิ่มขึ้นติดต่อกัน อันดับ 3 ของชาติอาเซียนที่ใช้งบการทหารสูงสุด
16% ของงบการทหารในอาเซียนปี 2016 เป็นของไทย
ที่มา: สถาบันวิจัยสันติภาพระหว่างประเทศสตอกโฮล์ม (SIPRI)

SIPRI ชี้ว่าแต่ละภูมิภาคมีแนวโน้มและรูปแบบการใช้จ่ายด้านการทหารที่แตกต่างกันออกไป โดยเอเชีย โอเชียเนีย ยุโรป แอฟริกาเหนือ และอเมริกาเหนือ ใช้งบการทหารเพิ่มขึ้น ส่วนภูมิภาคที่ใช้งบลดลงได้แก่อเมริกาใต้ อเมริกากลาง คาริบเบียน และตะวันออกกลางเมื่อพิจารณาเฉพาะข้อมูลที่ได้มาจากประเทศในภูมิภาคนี้

ส่องงบกองทัพไทย เพิ่มกว่า 2 เท่าในรอบ 12 ปี  http://www.bbc.com/thai/thailand-38656190

เปิดโครงการซื้ออาวุธยุค คสช. ที่หลายคนอาจไม่รู้  คร่าวๆ --->รายละเอียด http://www.bbc.com/thai/thailand-39716273
กองทัพบก
ปี 2558 โครงการจัดซื้อรถถังหลัก VT-4 จากจีน ไม่ระบุจำนวน รวมมูลค่า 4,985 ล้านบาท
ปี 2559 โครงการจัดซื้อเฮลิคอปเตอร์ Mi7VS จากรัสเซีย จำนวน 2 ลำ รวมมูลค่า 1,698 ล้านบาท
ปี 2559 โครงการจัดซื้อเฮลิคอปเตอร์จากรัสเซีย ไม่ระบุรุ่น จำนวน 4 ลำ รวมมูลค่า 3,385 ล้านบาท
ปี 2560 โครงการจัดซื้อรถถังหลัก VT-4 จากจีน ไม่ระบุจำนวน รวมมูลค่า 2,017 ล้านบาท

กองทัพเรือ
ปี 2558 โครงการจัดซื้อเรือตรวจการณ์ไกลฝั่ง ไม่ระบุรุ่นและจำนวน มูลค่า 2,850 ล้านบาท
ปี 2558 โครงการจัดซื้อเรือตรวจการณ์ชายฝั่ง ไม่ระบุรุ่น จำนวน 4 ลำ รวมมูลค่า 490 ล้านบาท
ปี 2559 โครงการจัดซื้อเรือตรวจการณ์ชายฝั่ง ไม่ระบุรุ่น จำนวน 5 ลำ รวมมูลค่า 627 ล้านบาท
ปี 2560 โครงการจัดซื้อเรือดำน้ำ S26T จากจีน จำนวน 1 ลำ มูลค่า 13,500 ล้านบาท

กองทัพอากาศ
ปี 2560 โครงการจัดซื้อเครื่องบินฝึกนักบินขับไล่เบื้องต้นจากเกาหลีใต้ จำนวน 8 ลำ รวมมูลค่า 8,997 ล้านบาท
เหล่านี้คือข้อมูลเบื้องต้นเกี่ยวกับโครงการจัดซื้ออาวุธยุทโธปกรณ์ในยุครัฐบาล คสช. ซึ่งบางโครงการจำเป็นจะต้องให้ที่ประชุม ครม. อนุมัติ แต่ก็ยากที่ตรวจสอบได้ว่ามีการอนุมัติไปแล้วหรือไม่ เนื่องจากใช้ "เอกสารลับ"

ยกเว้นแต่บางโครงการที่สื่อมวลชนตรวจสอบพบ จนผู้เกี่ยวข้องต้องออกมายอมรับ อย่างโครงการจัดซื้อรถถัง VT-4 จากจีนทั้งสองล็อต หรือโครงการจัดซื้อเรือดำน้ำ S26T จากจีน ล่าสุด
ทั้งนี้ ยังมีอีกสิ่งที่น่าสนใจก็คือ รัฐบาลนี้หันไปซื้ออาวุธยุทโธปกรณ์จากจีนและรัสเซียหลายโครงการ ภายหลัง "มหามิตร" เก่าอย่างสหรัฐอเมริกาหรือหลายประเทศในยุโรปต่างลดระดับความสัมพันธ์ ภายหลังการรัฐประหารโดย คสช. เมื่อปี 2557



ที่มาข่าวทั้งหมด http://www.bbc.com/thai/international-39734417?ocid=socialflow_facebook
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่