วันนี้ (22 เมษายน) พ.อ. วินธัย สุวารี โฆษกกองทัพบก กล่าวถึงกรณีมีการเผยแพร่เอกสารของกรมสรรพาวุธ เกี่ยวกับการเดินหน้าโครงการจัดซื้อรถยานเกราะสไตรเกอร์ติดอาวุธ 50 คัน ด้วยงบประมาณ 4.5 พันล้าน โดยเป็นการจัดซื้อตามโครงการความช่วยเหลือทางการทหาร Foreign Military Sales (FMS) จากสหรัฐอเมริกานั้น
เรียนว่าจากนโยบายรัฐบาลโดยกระทรวงกลาโหม ได้ขอให้ทุกหน่วยงานในสังกัดพิจารณาปรับลดงบประมาณของปี 2563 เพื่อนำไปเข้างบกลางให้รัฐบาลนำแก้ปัญหาสถานการณ์โควิด-19 นั้น
ภาพรวมของกระทรวงกลาโหมมีปรับลดไปจำนวนทั้งสิ้น จาก 7 หน่วยงาน มียอดเงินงบประมาณรวม 1.8 หมื่นล้าน ถูกนำกลับไปผ่าน พ.ร.บ. การโอนงบประมาณของกระทรวงกลาโหม ซึ่งเป็นตัวเลขที่สูงเมื่อเทียบกับหลายๆ กระทรวง ซึ่งขอเรียนว่าจาก ยอด 1.8 หมื่นล้านบาทนั้น จะเป็นงบฯ ในส่วนของกองทัพบก (ทบ.) หน่วยเดียวเกือบ 1 หมื่นล้านบาท
ซึ่งในการดำเนินการปรับลดนั้น ภายใต้หลักเกณฑ์การพิจารณาคือ โครงการไหนที่ยังไม่ผูกพันให้ชะลอตัดออกไปทั้งหมด ส่วนโครงการไหนผูกพันแล้วให้ตัดเหลือเพียงครึ่งเดียว ทำให้โครงการขนาดใหญ่ 4 โครงการ เช่น โครงการรถถัง ปืนใหญ่ หรือ เรดาร์ รวมถึงโครงการปกติอื่นๆ อีกประมาณ 26 โครงการ จำเป็นต้องถูกชะลอตัดออกไป
ส่วนกรณีเรื่องของยานเกราะล้อยางสไตรเกอร์ ที่มีสื่อบางสำนักได้นำเสนอไปนั้น อาจมีข้อมูลไม่ครบถ้วน เนื่องจากโครงการนี้เป็นหนึ่งในโครงการที่ผูกพันแล้ว โดยแผนเดิมจะมีใช้งบประมาณของปี 2563 จำนวน 900 ล้านบาท แต่ด้วยหลักเกณฑ์ตามนโยบายของกระทรวงกลาโหมในข้างต้น ทำให้ต้องมีการตัดลดงบประมาณออกไปครึ่งหนึ่ง ทำให้โครงการนี้เหลือใช้งบปี 2563 อยู่เพียง 450 ล้านเท่านั้น
ซึ่งเรียนว่าโครงการฯ นี้จัดซื้อด้วยระบบ FMS เป็นไปตามความช่วยเหลือทางทหารระหว่างไทยกับสหรัฐอเมริกา ได้รับอนุมัติงบประมาณไว้ 4,515 ล้าน ได้จำนวนยานเกราะรวมแล้วกว่า 100 คัน รวมที่ทางสหรัฐฯ ได้ช่วยเหลือในลักษณะให้เปล่า
โดยลักษณะการใช้งบฯ เป็นแบบผูกพันข้ามปี ตั้งแต่ปี 2563-2565 ทำให้ในปี 2563 เดิมก่อนถูกปรับลด จึงมีแผนใช้เพียง 900 ล้านบาท
อีกทั้งด้วยความสัมพันธ์ที่ดีระหว่าง 2 กองทัพ ในจำนวนงบประมาณที่ตั้งไว้สำหรับโครงการนี้ ไม่ใช่เป็นการจัดหาเฉพาะรถเท่านั้น ยังรวมถึงที่ทางสหรัฐฯ จัดชุดครูฝึกมาฝึกการขับรถ การใช้รถทางยุทธวิธี เทคนิคต่างๆ ของรถ รวมทั้งชิ้นส่วนในการซ่อมบำรุง ที่นั่งการศึกษาในต่างประเทศ การสร้างโรงซ่อม และอาคารที่จอดรถจำนวนหนึ่งด้วย ล่าสุด ทบ. สหรัฐฯ ยังได้มอบกระสุนชนิดต่างๆ ให้กับ ทบ. มูลค่า 600,000 ดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มเติมให้มา และล่าสุดทาง ทบ. สหรัฐฯ เป็นผู้จัดเที่ยวบินอนุญาตให้นำนักเรียนทุนในสหรัฐฯ กลับมาไทยเมื่อสัปดาห์ที่แล้วโดยไม่คิดค่าใช้จ่าย
https://thestandard.co/army-confirmed-purchasing-striker-car/
ทบ. แจงซื้อรถสไตรเกอร์ 4.5 พันล้าน เป็นงบผูกพันปี 2563 ใช้งบเพียง 900 ล้าน ตัดออกแล้วครึ่งหนึ่งเหลือ 450 ล้าน
เรียนว่าจากนโยบายรัฐบาลโดยกระทรวงกลาโหม ได้ขอให้ทุกหน่วยงานในสังกัดพิจารณาปรับลดงบประมาณของปี 2563 เพื่อนำไปเข้างบกลางให้รัฐบาลนำแก้ปัญหาสถานการณ์โควิด-19 นั้น
ภาพรวมของกระทรวงกลาโหมมีปรับลดไปจำนวนทั้งสิ้น จาก 7 หน่วยงาน มียอดเงินงบประมาณรวม 1.8 หมื่นล้าน ถูกนำกลับไปผ่าน พ.ร.บ. การโอนงบประมาณของกระทรวงกลาโหม ซึ่งเป็นตัวเลขที่สูงเมื่อเทียบกับหลายๆ กระทรวง ซึ่งขอเรียนว่าจาก ยอด 1.8 หมื่นล้านบาทนั้น จะเป็นงบฯ ในส่วนของกองทัพบก (ทบ.) หน่วยเดียวเกือบ 1 หมื่นล้านบาท
ซึ่งในการดำเนินการปรับลดนั้น ภายใต้หลักเกณฑ์การพิจารณาคือ โครงการไหนที่ยังไม่ผูกพันให้ชะลอตัดออกไปทั้งหมด ส่วนโครงการไหนผูกพันแล้วให้ตัดเหลือเพียงครึ่งเดียว ทำให้โครงการขนาดใหญ่ 4 โครงการ เช่น โครงการรถถัง ปืนใหญ่ หรือ เรดาร์ รวมถึงโครงการปกติอื่นๆ อีกประมาณ 26 โครงการ จำเป็นต้องถูกชะลอตัดออกไป
ส่วนกรณีเรื่องของยานเกราะล้อยางสไตรเกอร์ ที่มีสื่อบางสำนักได้นำเสนอไปนั้น อาจมีข้อมูลไม่ครบถ้วน เนื่องจากโครงการนี้เป็นหนึ่งในโครงการที่ผูกพันแล้ว โดยแผนเดิมจะมีใช้งบประมาณของปี 2563 จำนวน 900 ล้านบาท แต่ด้วยหลักเกณฑ์ตามนโยบายของกระทรวงกลาโหมในข้างต้น ทำให้ต้องมีการตัดลดงบประมาณออกไปครึ่งหนึ่ง ทำให้โครงการนี้เหลือใช้งบปี 2563 อยู่เพียง 450 ล้านเท่านั้น
ซึ่งเรียนว่าโครงการฯ นี้จัดซื้อด้วยระบบ FMS เป็นไปตามความช่วยเหลือทางทหารระหว่างไทยกับสหรัฐอเมริกา ได้รับอนุมัติงบประมาณไว้ 4,515 ล้าน ได้จำนวนยานเกราะรวมแล้วกว่า 100 คัน รวมที่ทางสหรัฐฯ ได้ช่วยเหลือในลักษณะให้เปล่า
โดยลักษณะการใช้งบฯ เป็นแบบผูกพันข้ามปี ตั้งแต่ปี 2563-2565 ทำให้ในปี 2563 เดิมก่อนถูกปรับลด จึงมีแผนใช้เพียง 900 ล้านบาท
อีกทั้งด้วยความสัมพันธ์ที่ดีระหว่าง 2 กองทัพ ในจำนวนงบประมาณที่ตั้งไว้สำหรับโครงการนี้ ไม่ใช่เป็นการจัดหาเฉพาะรถเท่านั้น ยังรวมถึงที่ทางสหรัฐฯ จัดชุดครูฝึกมาฝึกการขับรถ การใช้รถทางยุทธวิธี เทคนิคต่างๆ ของรถ รวมทั้งชิ้นส่วนในการซ่อมบำรุง ที่นั่งการศึกษาในต่างประเทศ การสร้างโรงซ่อม และอาคารที่จอดรถจำนวนหนึ่งด้วย ล่าสุด ทบ. สหรัฐฯ ยังได้มอบกระสุนชนิดต่างๆ ให้กับ ทบ. มูลค่า 600,000 ดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มเติมให้มา และล่าสุดทาง ทบ. สหรัฐฯ เป็นผู้จัดเที่ยวบินอนุญาตให้นำนักเรียนทุนในสหรัฐฯ กลับมาไทยเมื่อสัปดาห์ที่แล้วโดยไม่คิดค่าใช้จ่าย
https://thestandard.co/army-confirmed-purchasing-striker-car/