“เพื่อไทย” จ่อจัดเสวนาถอดบทเรียนโควิด จี้ รบ.ยกเลิก พ.ร.ก.ฉุกเฉิน อย่าหาทางซื้อเวลา
https://www.matichon.co.th/politics/news_2182059
“เพื่อไทย” จี้ รบ.ยกเลิก พ.ร.ก.ฉุกเฉิน ชี้ ทำโพลแค่ซื้อเวลา พร้อมเผย พรรคเตรียมจัดเสวนา “ถอดบทเรียนการแก้ปัญหาโควิด-19 ของรัฐบาล เรามาถึงจุดนี้ได้อย่างไร” ผ่านไลฟ์สด 14 พ.ย.นี้
เมื่อเวลา 13.00 น. วันที่ 12 พฤษภาคม ที่พรรคเพื่อไทย (พท.) นาย
อนุสรณ์ เอี่ยมสะอาด โฆษกพรรคพท. พร้อมด้วยนาย
ชุมสาย ศรียาภัย รองโฆษกพรรคพท. ร่วมกันแถลงข่าวประจำสัปดาห์
โดยนาย
ชุมสาย กล่าวว่า เราขอเรียกร้องรัฐบาลยกเลิก พ.ร.ก.ฉุกเฉินในทันที เพราะได้สร้างความเดือดร้อน และสร้างภาระให้กับพี่น้องประชาชนยิ่งเกินกว่าความจำเป็นในการควบคุมโรค โดยเริ่มแรกเรามีความเข้าใจถึงสถานการณ์ แต่วันนี้ความเดือดร้อนของพี่น้องประชาชนหนักกว่าแล้ว โดยพ.ร.ก.ฉุกเฉินนั้นไม่สอดคล้อง และขัดแย้งกันเองกับมาตรการผ่อนปรนของ ศบค. และการใช้ชีวิตประจำวันของพี่น้องประชาชน ศบค.จะทยอยให้เปิดศูนย์การค้า ซึ่งจะปิดประมาณ 4 ทุ่ม ประชาชนที่ไปห้าง หรือพนักงานภายในต้องออกจากห้างในช่วงเวลานั้น แต่ไปติดกับเคอร์ฟิวซึ่งเป็นเงื่อนไขหนึ่งของ พ.ร.ก.ฉุกเฉิน ตนมองว่ามีปัญหาเรื่องการจัดการกับเวลา และประชาชนได้รับความเดือดร้อน ทั้งนี้ ตนเชื่อว่า พ.ร.บ.ควบคุมโรคติดต่อเอาอยู่ เพราะได้มีการกำหนดห้าม การกำหนดให้ ไปจนถึงให้อำนาจเจ้าหน้าที่ จึงสงสัยว่ารัฐบาลมีวารซ่อนเร้นอย่างไรหรือไม่จึงคง พ.ร.ก.ไว้ เพราะวันที่ 19 พฤษภาคมนี้เองก็เป็นวันครบรอบ 10 ปี การสลายการชุมนุมม็อบเสื้อแดงที่ราชประสงค์ แน่นอนว่าต้องมีการจัดกิจกรรมรำลึก เป็นไปได้หรือไม่ว่า การคงพ.ร.ก.ฉุกเฉินไว้นี้เป็นเพียงการต่อเวลา หรือยืดเวลาไว้ให้รัฐบาลที่ไม่ต้องการให้มีการเคลื่อนไหวใดๆของคนในสังคม นอกจากนี้ เราไม่เห็นด้วยกับการทำโพลสอบถามประชาชนว่าอยากให้ยกเลิกพ.ร.ก.ฉุกเฉินหรือไม่ เพราะน่าจะมีเจตนาแอบแผงเป็นการซื้อเวลา เพราะการควบคุมประชาชนนั้นง่ายต่อการบริหารอำนาจ วันนี้ประชาชนอยากให้ยกเลิกพ.ร.กก.ฉุกเฉินอยู่แล้ว และการให้ กอ.รมน.เป็นผู้ทำโพลก็ไม่มีความน่าเชื่อถือ
ด้านนาย
อนุสรณ์ กล่าวว่า วันนี้ประชาชนอยากเชื่อข่าวรัฐบาล แต่ไม่รู้จะเชื่อท่านไหน วันนี้บอกให้ กอ.รมน.ทำโพลก็ไม่รู้ พล.อ.
ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกฯ และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมสั่งหรือไม่ เพราะตอนหลังเลขาสมช. และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องก็ไม่ชดเจนว่าจะรับคำสั่ง พล.อ.
ประยุทธ์ไปทำได้หรือไม่ พร้อมออกมาปฏิเสธว่าพล.อ.
ประยุทธ์ไม่เคยสั่งให้กอ.รมน.ทำโพล ซึ่งก็ทำให้มีการวิเคราะห์กันว่านี่อาจจะเป็นแท็กติกของพล.อ.
ประยุทธ์ที่เปิดประเด็นใหม่เพื่อให้คนตามมาแก้ข่าวเป็นระยะๆ เช่น การจ่ายเงินเยียวยาทั้ง จ่าย 5,000 บาทได้ 3 เดือน ก่อนออกมาบอกว่าเดือนเดียว เป็นต้น และเรื่องนี้ก็เช่นเดียวกัน ทำให้เห็นความพยายามที่จะซื้อเวลาเพื่อคงพ.ร.ก.ฉุกเฉินไว้ให้นานที่สุดเท่าที่จะนานได้ เพราะคนที่ได้ประโยชน์มากที่สุดคือ พล.อ.ประยุทธ์ ทั้งนี้ ถ้าพล.อ.ประยุทธ์มีความจริงใจที่จะรับฟังเสียงของพี่น้องประชาชน ไม่ต้องเสียเงินเสียทอง หรือให้หน่วยงานใดทำ เพราะสำนักข่าวแทบทุกสำนักทำกันออกมา ส่วนใหญ่ก็เป็นไปในทิศทางเดียวกันที่ประชาชนกว่า 80% อยากให้ยกเลิก พ.ร.ก.ฉุกเฉิน ประชาชนสะท้อนผ่านช่องทางต่างๆอยู่แล้ว อยู่ที่รัฐบาลอยากฟังหรือไม่
นาย
อนุสรณ์ กล่าวอีกว่า พรรคพท.มีความพยายามที่จะทำหน้าที่สะท้อนความคิดเห็นของประชาชน แต่การขอเปิดสภาเพื่อถกปัญหาเรื่องโควิดไม่ได้รับการตอบสนองจากรัฐบาล แต่เจตจำนงในการดำรงเป้ามายที่จะทำเพื่อประชาชนทำให้พรรคพท. เตรียมจัดเสวนาสำคัญๆหลายหัวข้อต่อจากนี้ โดยในวันที่ 14 พฤษภาคมนี้ เวลา 14.00-16.00 น. จะเป็นการเสวนาในหัวข้อ “ถอดบทเรียนการแก้ปัญหาโควิด-19 ของรัฐบาล เรามาถึงจุดนี้ได้อย่างไร” ซึ่งจะเป็นเสนวนาทางออนไลน์ ท่านสามารถติดตามการถ่ายทอดสดผ่านเพจ “พรรคเพื่อไทย” ได้ โดยจะมีวิทยากรที่ครบถ้วน ครอบคุมในทุกมิติ นำโดยนายสมพงษ์ อมรวิวัฒน์ หัวหน้าพรรค คุณหญิงสุดารัตน์ เกยุราพันธุ์ ประธานยุทธศาสตร์พรรค
"ก้าวไกล"หวั่นรบ.กดดันสภาเร่งผ่านกม.โอนงบฯ เผยหลายหน่วยไม่ยอมตัดงบไม่จำเป็นทิ้ง
https://www.matichon.co.th/politics/news_2182104
‘ศิริกัญญา’ หวั่นรัฐบาลกดดันสภาเร่งผ่าน พ.ร.บ.โอนงบฯ รวดเดียว เผย หลายหน่วยงานไม่ยอมตัดงบไม่จำเป็นทิ้ง
เมื่อวันที่ 12 พฤษภาคม น.ส.
ศิริกัญญา ตันสกุล ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคก้าวไกล และประธานคณะกรรมาธิการการพัฒนาเศรษฐกิจ สภาผู้แทนราษฎร โพสต์เฟซบุ๊กตั้งข้อสังเกตเกี่ยวกับการจัดทำร่างพระราชบัญญัติโอนงบประมาณที่กำลังจะเข้าสู่การพิจารณาของสภา ว่า
1. จำนวน 1 ใน 3 ของงบที่ปรับลดเป็นเงินใช้หนี้ งบที่ถูกปรับลด 1 แสนกว่าล้านบาทนั้นอาจดูเหมือนเยอะ แต่จริงๆ แล้วงบกว่า 1 ใน 3 จำนวนกว่า 36,612 ล้านบาทเป็นงบชำระหนี้ โดยแบ่งเป็นชำระต้นเงินกู้ 35,693 ล้านบาท และชำระดอกเบี้ย 919 ล้านบาท ส่วนที่เป็นงบประมาณที่ถูกคืนจากแต่ละกระทรวง และแผนบูรณาการ จำนวน 61,161 ล้านบาทนั้น เราก็ไม่ทราบว่าแต่ละหน่วยงานได้ส่งคืนงบถึงเป้า 10% ของวงเงินคงเหลือที่ไม่มีข้อผูกพันตามมติ ครม. หรือไม่ เพราะไม่สามารถสืบค้นได้ว่าวงเงินคงเหลือที่ไม่มีข้อผูกพัน ณ ปัจจุบันมีเท่าใด จึงคาดหวังว่าหน่วยงานต่างๆ ควรจะปรับลดงบประมาณของตัวเองได้มากกว่านี้
น.ส.
ศิริกัญญา กล่าวว่า
2. กระทรวงก่อสร้าง-จัดซื้อครุภัณฑ์คืนงบเยอะที่สุด กระทรวงที่โอนงบคืนมากที่สุด คือกระทรวงกลาโหม กระทรวงคมนาคม กระทรวงมหาดไทย และกระทรวงศึกษาธิการ ซึ่งเป็นกระทรวงที่ได้งบประมาณเป็นจำนวนมาก และงบส่วนใหญ่เป็นงบประมาณที่เกี่ยวข้องกับการก่อสร้างและจัดซื้อครุภัณฑ์ รวมถึงอาวุธยุทโธปกรณ์ต่างๆ ส่วนรัฐวิสาหกิจที่โอนงบเยอะส่วนใหญ่เป็นรัฐวิสาหกิจที่ได้รับการจัดสรรงบเพื่อเป็นงบลงทุนเช่นเดียวกัน โดย 3 อันดับแรกคือ การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) รองลงมาคือการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) และองค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.) ที่น่าสนใจคือ การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย โอนงบคืนเพียง 124 ล้านบาท จากที่ได้รับการจัดสรรงบ 6,437 ล้านบาท หรือคิดเป็น 2% เท่านั้น ทั้งที่ช่วงเวลานี้ไม่เหมาะสมกับการจัดกิจกรรมส่งเสริมการท่องเที่ยว
3. หน่วยงานไหนไม่คืนงบบ้าง ถึงแม้จะเป็นมติ ครม. ให้ทุกหน่วยรับงบประมาณคืนงบ 10% ของวงเงินคงเหลือที่ไม่มีข้อผูกพัน แต่ไม่ใช่ทุกหน่วยงานที่เข้าร่วมมหกรรมคืนงบ ไม่นับกองทุนและรัฐวิสาหกิจ ยังมีอีก 16 หน่วยงานที่ไม่มีการคืนงบประมาณ นอกจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการแพทย์และสาธารณสุขแล้ว ก็ต้องตั้งคำถามต่อไปถึงสาเหตุที่หน่วยงานเหล่านี้ไม่คืนงบประมาณ ตัวอย่างเช่น สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล (DEPA) ที่ในการตั้งงบประมาณมีจำนวนมากที่เป็นกิจกรรมจัดอีเวนท์ แต่สถานการณ์ปัจจุบันไม่สามารถจัดกิจกรรมได้ ทำไมจึงไม่มีการคืนงบประมาณในส่วนนี้
4. ตัดโครงการไม่หมด ไว้ผ่อนจ่ายปีหน้า เมื่อทีมงานได้ลงไปเจาะดูในรายละเอียดรายรายการ พบว่าเป็นการตัดงบประมาณโครงการที่ผูกพันไปหลายๆ ปี หรือเป็นผ่อนจ่ายเป็นงวดๆ โครงการละ 5% แทนที่จะตัดงบโครงการที่ไม่จำเป็นและที่ไม่สามารถทำได้ทั้งโครงการออกทั้งหมด การลดงบประมาณบางส่วน เฉพาะงวดที่ต้องจ่ายปี 63 ทำให้ทำให้ถ้าเรามองอย่างผิวเผินในปีเดียวเราจะคิดว่างบประมาณที่ใช้ลดลง แต่ความจริงแล้วงบยอดงบประมาณเหล่านี้ก็จะไปพอกพูนเป็นงบที่ต้องผูกพันในปีต่อๆ ไปอยู่ดี
“โดยเฉพาะงบปี 64 ซึ่งจะต้องรื้อแก้ไขให้สอดคล้องกับสถานการณ์โควิดที่จะยังคงอยู่กับเรา ถ้าส่วนราชการจะพิจารณาให้ถี่ถ้วนว่าโครงการใดมีความจำเป็นเร่งด่วน หรือต้องพักเอาไว้ก่อนในช่วงเวลานี้ เพื่อไม่ให้โครงการนั้นไม่เป็นภาระกับงบประมาณในอนาคต หวังว่าข้อสังเกตบางประการตรงนี้จะส่งถึงรัฐบาลให้ปรับปรุงร่าง พ.ร.บ. โอนงบ 63 ให้มีความสมบูรณ์และสมเหตุสมผลมากกว่านี้ และช่วยกรุณาแนบข้อมูลผลการเบิกจ่ายมาให้พิจารณาร่วมด้วย ยิ่งมีข่าวมาว่าจะกดดันให้สภาต้องพิจารณา 3 วาระรวด ก็ควรจะอำนวยความสะดวกในด้านข้อมูลเพื่อให้การพิจารณาเป็นได้อย่างราบรื่น”
น.ส.
ศิริกัญญา กล่าวว่า เราเข้าใจดีว่างบประมาณส่วนนี้จะเป็นส่วนสำคัญที่จะนำไปใช้เพื่อช่วยเหลือเยียวยาประชาชนที่ทุกข์ร้อน แต่อย่าเอาประชาชนมาเป็นตัวประกันให้เราเร่งผ่านกฎหมายโดยไม่ได้พิจารณาอย่างถี่ถ้วน ขอให้ผู้แทนราษฎรได้ปฏิบัติหน้าที่ของเราได้อย่างเต็มที่เพื่อพิทักษ์ผลประโยชน์ของประชาชน
JJNY : พท.จ่อจัดเสวนาถอดบทเรียน/ก้าวไกลหวั่นกดดันสภาเร่งผ่านกม./ส.เกษตรฯชี้แบนสารเอื้อนายทุน/ผู้เลี้ยงไก่ไข่เตรียมบุกพณ.
https://www.matichon.co.th/politics/news_2182059
“เพื่อไทย” จี้ รบ.ยกเลิก พ.ร.ก.ฉุกเฉิน ชี้ ทำโพลแค่ซื้อเวลา พร้อมเผย พรรคเตรียมจัดเสวนา “ถอดบทเรียนการแก้ปัญหาโควิด-19 ของรัฐบาล เรามาถึงจุดนี้ได้อย่างไร” ผ่านไลฟ์สด 14 พ.ย.นี้
เมื่อเวลา 13.00 น. วันที่ 12 พฤษภาคม ที่พรรคเพื่อไทย (พท.) นายอนุสรณ์ เอี่ยมสะอาด โฆษกพรรคพท. พร้อมด้วยนายชุมสาย ศรียาภัย รองโฆษกพรรคพท. ร่วมกันแถลงข่าวประจำสัปดาห์
โดยนายชุมสาย กล่าวว่า เราขอเรียกร้องรัฐบาลยกเลิก พ.ร.ก.ฉุกเฉินในทันที เพราะได้สร้างความเดือดร้อน และสร้างภาระให้กับพี่น้องประชาชนยิ่งเกินกว่าความจำเป็นในการควบคุมโรค โดยเริ่มแรกเรามีความเข้าใจถึงสถานการณ์ แต่วันนี้ความเดือดร้อนของพี่น้องประชาชนหนักกว่าแล้ว โดยพ.ร.ก.ฉุกเฉินนั้นไม่สอดคล้อง และขัดแย้งกันเองกับมาตรการผ่อนปรนของ ศบค. และการใช้ชีวิตประจำวันของพี่น้องประชาชน ศบค.จะทยอยให้เปิดศูนย์การค้า ซึ่งจะปิดประมาณ 4 ทุ่ม ประชาชนที่ไปห้าง หรือพนักงานภายในต้องออกจากห้างในช่วงเวลานั้น แต่ไปติดกับเคอร์ฟิวซึ่งเป็นเงื่อนไขหนึ่งของ พ.ร.ก.ฉุกเฉิน ตนมองว่ามีปัญหาเรื่องการจัดการกับเวลา และประชาชนได้รับความเดือดร้อน ทั้งนี้ ตนเชื่อว่า พ.ร.บ.ควบคุมโรคติดต่อเอาอยู่ เพราะได้มีการกำหนดห้าม การกำหนดให้ ไปจนถึงให้อำนาจเจ้าหน้าที่ จึงสงสัยว่ารัฐบาลมีวารซ่อนเร้นอย่างไรหรือไม่จึงคง พ.ร.ก.ไว้ เพราะวันที่ 19 พฤษภาคมนี้เองก็เป็นวันครบรอบ 10 ปี การสลายการชุมนุมม็อบเสื้อแดงที่ราชประสงค์ แน่นอนว่าต้องมีการจัดกิจกรรมรำลึก เป็นไปได้หรือไม่ว่า การคงพ.ร.ก.ฉุกเฉินไว้นี้เป็นเพียงการต่อเวลา หรือยืดเวลาไว้ให้รัฐบาลที่ไม่ต้องการให้มีการเคลื่อนไหวใดๆของคนในสังคม นอกจากนี้ เราไม่เห็นด้วยกับการทำโพลสอบถามประชาชนว่าอยากให้ยกเลิกพ.ร.ก.ฉุกเฉินหรือไม่ เพราะน่าจะมีเจตนาแอบแผงเป็นการซื้อเวลา เพราะการควบคุมประชาชนนั้นง่ายต่อการบริหารอำนาจ วันนี้ประชาชนอยากให้ยกเลิกพ.ร.กก.ฉุกเฉินอยู่แล้ว และการให้ กอ.รมน.เป็นผู้ทำโพลก็ไม่มีความน่าเชื่อถือ
ด้านนายอนุสรณ์ กล่าวว่า วันนี้ประชาชนอยากเชื่อข่าวรัฐบาล แต่ไม่รู้จะเชื่อท่านไหน วันนี้บอกให้ กอ.รมน.ทำโพลก็ไม่รู้ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกฯ และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมสั่งหรือไม่ เพราะตอนหลังเลขาสมช. และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องก็ไม่ชดเจนว่าจะรับคำสั่ง พล.อ.ประยุทธ์ไปทำได้หรือไม่ พร้อมออกมาปฏิเสธว่าพล.อ.ประยุทธ์ไม่เคยสั่งให้กอ.รมน.ทำโพล ซึ่งก็ทำให้มีการวิเคราะห์กันว่านี่อาจจะเป็นแท็กติกของพล.อ.ประยุทธ์ที่เปิดประเด็นใหม่เพื่อให้คนตามมาแก้ข่าวเป็นระยะๆ เช่น การจ่ายเงินเยียวยาทั้ง จ่าย 5,000 บาทได้ 3 เดือน ก่อนออกมาบอกว่าเดือนเดียว เป็นต้น และเรื่องนี้ก็เช่นเดียวกัน ทำให้เห็นความพยายามที่จะซื้อเวลาเพื่อคงพ.ร.ก.ฉุกเฉินไว้ให้นานที่สุดเท่าที่จะนานได้ เพราะคนที่ได้ประโยชน์มากที่สุดคือ พล.อ.ประยุทธ์ ทั้งนี้ ถ้าพล.อ.ประยุทธ์มีความจริงใจที่จะรับฟังเสียงของพี่น้องประชาชน ไม่ต้องเสียเงินเสียทอง หรือให้หน่วยงานใดทำ เพราะสำนักข่าวแทบทุกสำนักทำกันออกมา ส่วนใหญ่ก็เป็นไปในทิศทางเดียวกันที่ประชาชนกว่า 80% อยากให้ยกเลิก พ.ร.ก.ฉุกเฉิน ประชาชนสะท้อนผ่านช่องทางต่างๆอยู่แล้ว อยู่ที่รัฐบาลอยากฟังหรือไม่
นายอนุสรณ์ กล่าวอีกว่า พรรคพท.มีความพยายามที่จะทำหน้าที่สะท้อนความคิดเห็นของประชาชน แต่การขอเปิดสภาเพื่อถกปัญหาเรื่องโควิดไม่ได้รับการตอบสนองจากรัฐบาล แต่เจตจำนงในการดำรงเป้ามายที่จะทำเพื่อประชาชนทำให้พรรคพท. เตรียมจัดเสวนาสำคัญๆหลายหัวข้อต่อจากนี้ โดยในวันที่ 14 พฤษภาคมนี้ เวลา 14.00-16.00 น. จะเป็นการเสวนาในหัวข้อ “ถอดบทเรียนการแก้ปัญหาโควิด-19 ของรัฐบาล เรามาถึงจุดนี้ได้อย่างไร” ซึ่งจะเป็นเสนวนาทางออนไลน์ ท่านสามารถติดตามการถ่ายทอดสดผ่านเพจ “พรรคเพื่อไทย” ได้ โดยจะมีวิทยากรที่ครบถ้วน ครอบคุมในทุกมิติ นำโดยนายสมพงษ์ อมรวิวัฒน์ หัวหน้าพรรค คุณหญิงสุดารัตน์ เกยุราพันธุ์ ประธานยุทธศาสตร์พรรค
"ก้าวไกล"หวั่นรบ.กดดันสภาเร่งผ่านกม.โอนงบฯ เผยหลายหน่วยไม่ยอมตัดงบไม่จำเป็นทิ้ง
https://www.matichon.co.th/politics/news_2182104
‘ศิริกัญญา’ หวั่นรัฐบาลกดดันสภาเร่งผ่าน พ.ร.บ.โอนงบฯ รวดเดียว เผย หลายหน่วยงานไม่ยอมตัดงบไม่จำเป็นทิ้ง
เมื่อวันที่ 12 พฤษภาคม น.ส.ศิริกัญญา ตันสกุล ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคก้าวไกล และประธานคณะกรรมาธิการการพัฒนาเศรษฐกิจ สภาผู้แทนราษฎร โพสต์เฟซบุ๊กตั้งข้อสังเกตเกี่ยวกับการจัดทำร่างพระราชบัญญัติโอนงบประมาณที่กำลังจะเข้าสู่การพิจารณาของสภา ว่า
1. จำนวน 1 ใน 3 ของงบที่ปรับลดเป็นเงินใช้หนี้ งบที่ถูกปรับลด 1 แสนกว่าล้านบาทนั้นอาจดูเหมือนเยอะ แต่จริงๆ แล้วงบกว่า 1 ใน 3 จำนวนกว่า 36,612 ล้านบาทเป็นงบชำระหนี้ โดยแบ่งเป็นชำระต้นเงินกู้ 35,693 ล้านบาท และชำระดอกเบี้ย 919 ล้านบาท ส่วนที่เป็นงบประมาณที่ถูกคืนจากแต่ละกระทรวง และแผนบูรณาการ จำนวน 61,161 ล้านบาทนั้น เราก็ไม่ทราบว่าแต่ละหน่วยงานได้ส่งคืนงบถึงเป้า 10% ของวงเงินคงเหลือที่ไม่มีข้อผูกพันตามมติ ครม. หรือไม่ เพราะไม่สามารถสืบค้นได้ว่าวงเงินคงเหลือที่ไม่มีข้อผูกพัน ณ ปัจจุบันมีเท่าใด จึงคาดหวังว่าหน่วยงานต่างๆ ควรจะปรับลดงบประมาณของตัวเองได้มากกว่านี้
น.ส.ศิริกัญญา กล่าวว่า
2. กระทรวงก่อสร้าง-จัดซื้อครุภัณฑ์คืนงบเยอะที่สุด กระทรวงที่โอนงบคืนมากที่สุด คือกระทรวงกลาโหม กระทรวงคมนาคม กระทรวงมหาดไทย และกระทรวงศึกษาธิการ ซึ่งเป็นกระทรวงที่ได้งบประมาณเป็นจำนวนมาก และงบส่วนใหญ่เป็นงบประมาณที่เกี่ยวข้องกับการก่อสร้างและจัดซื้อครุภัณฑ์ รวมถึงอาวุธยุทโธปกรณ์ต่างๆ ส่วนรัฐวิสาหกิจที่โอนงบเยอะส่วนใหญ่เป็นรัฐวิสาหกิจที่ได้รับการจัดสรรงบเพื่อเป็นงบลงทุนเช่นเดียวกัน โดย 3 อันดับแรกคือ การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) รองลงมาคือการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) และองค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.) ที่น่าสนใจคือ การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย โอนงบคืนเพียง 124 ล้านบาท จากที่ได้รับการจัดสรรงบ 6,437 ล้านบาท หรือคิดเป็น 2% เท่านั้น ทั้งที่ช่วงเวลานี้ไม่เหมาะสมกับการจัดกิจกรรมส่งเสริมการท่องเที่ยว
3. หน่วยงานไหนไม่คืนงบบ้าง ถึงแม้จะเป็นมติ ครม. ให้ทุกหน่วยรับงบประมาณคืนงบ 10% ของวงเงินคงเหลือที่ไม่มีข้อผูกพัน แต่ไม่ใช่ทุกหน่วยงานที่เข้าร่วมมหกรรมคืนงบ ไม่นับกองทุนและรัฐวิสาหกิจ ยังมีอีก 16 หน่วยงานที่ไม่มีการคืนงบประมาณ นอกจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการแพทย์และสาธารณสุขแล้ว ก็ต้องตั้งคำถามต่อไปถึงสาเหตุที่หน่วยงานเหล่านี้ไม่คืนงบประมาณ ตัวอย่างเช่น สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล (DEPA) ที่ในการตั้งงบประมาณมีจำนวนมากที่เป็นกิจกรรมจัดอีเวนท์ แต่สถานการณ์ปัจจุบันไม่สามารถจัดกิจกรรมได้ ทำไมจึงไม่มีการคืนงบประมาณในส่วนนี้
4. ตัดโครงการไม่หมด ไว้ผ่อนจ่ายปีหน้า เมื่อทีมงานได้ลงไปเจาะดูในรายละเอียดรายรายการ พบว่าเป็นการตัดงบประมาณโครงการที่ผูกพันไปหลายๆ ปี หรือเป็นผ่อนจ่ายเป็นงวดๆ โครงการละ 5% แทนที่จะตัดงบโครงการที่ไม่จำเป็นและที่ไม่สามารถทำได้ทั้งโครงการออกทั้งหมด การลดงบประมาณบางส่วน เฉพาะงวดที่ต้องจ่ายปี 63 ทำให้ทำให้ถ้าเรามองอย่างผิวเผินในปีเดียวเราจะคิดว่างบประมาณที่ใช้ลดลง แต่ความจริงแล้วงบยอดงบประมาณเหล่านี้ก็จะไปพอกพูนเป็นงบที่ต้องผูกพันในปีต่อๆ ไปอยู่ดี
“โดยเฉพาะงบปี 64 ซึ่งจะต้องรื้อแก้ไขให้สอดคล้องกับสถานการณ์โควิดที่จะยังคงอยู่กับเรา ถ้าส่วนราชการจะพิจารณาให้ถี่ถ้วนว่าโครงการใดมีความจำเป็นเร่งด่วน หรือต้องพักเอาไว้ก่อนในช่วงเวลานี้ เพื่อไม่ให้โครงการนั้นไม่เป็นภาระกับงบประมาณในอนาคต หวังว่าข้อสังเกตบางประการตรงนี้จะส่งถึงรัฐบาลให้ปรับปรุงร่าง พ.ร.บ. โอนงบ 63 ให้มีความสมบูรณ์และสมเหตุสมผลมากกว่านี้ และช่วยกรุณาแนบข้อมูลผลการเบิกจ่ายมาให้พิจารณาร่วมด้วย ยิ่งมีข่าวมาว่าจะกดดันให้สภาต้องพิจารณา 3 วาระรวด ก็ควรจะอำนวยความสะดวกในด้านข้อมูลเพื่อให้การพิจารณาเป็นได้อย่างราบรื่น”
น.ส.ศิริกัญญา กล่าวว่า เราเข้าใจดีว่างบประมาณส่วนนี้จะเป็นส่วนสำคัญที่จะนำไปใช้เพื่อช่วยเหลือเยียวยาประชาชนที่ทุกข์ร้อน แต่อย่าเอาประชาชนมาเป็นตัวประกันให้เราเร่งผ่านกฎหมายโดยไม่ได้พิจารณาอย่างถี่ถ้วน ขอให้ผู้แทนราษฎรได้ปฏิบัติหน้าที่ของเราได้อย่างเต็มที่เพื่อพิทักษ์ผลประโยชน์ของประชาชน