อย่างสมัยพระเจ้าอโศกมหาราชกระทำคุณูปการยิ่งแก่พระพุทธศาสนาด้วยการจับสึกภิกษุทุศีล ไปถึงหลายหมื่นรูป
ในสมัยรัชกาลที่ 1 ก็มีกฎหมายสงฆ์ที่เข้มงวดเด็ดขาด ห้ามฆราวาสถวายเงินแก่พระภิกษุเด็ดขาด ถ้าฆราวาสผู้ใดฝ่าฝืน จะโดนลงโทษถึงข้นริบราชบาทว์ ขับเฆี่ยนจงหนักโดยโทษานุโทษ (เข้าใจว่าในประเทศลาว ก็ยังคงใช้กฎหมายสงฆ์ที่เหมือนกับในสมัยรัชกาลที่หนึ่งของไทย โดยยังคงใช้มาจนถึงทุกวันนี้ที่ห้ามฆราวาสถวายเงินทองแก่พระภิกษุ ถ้าใครฝ่าฝืน ก็โทษอาญา ต้องถูกปรับ)
กฎหมายพระสงฆ์
สมัยรัชกาลที่ ๑
ฉบับ (๒) (อ้างอิง :
https://www.watmoli.com/wittaya-one/1169/ )
۞ กฎให้ไว้แก่สังฆการีธรรมการ พระสงฆ์ราชาคณะ อธิการฝ่ายคันธธุระวิปัศนาธุระนอกกรุงในกรุงหัวเมือง ๑-๒-๓-๔ ตะวันตก ตะวันออก ปากใต้ ฝ่ายเหนือจงทั่ว
ด้วยสมเด็จบรมนารถบรมบพิตรพระพุทธเจ้าอยู่หัว ผู้ทรงพระคุณธรรมอนันตาสัมภาราดิเรกเอกพิบูลยสุนธรราชศรัทธา เปนอัคมหาสาสะนุปถัมภกพระพุทธสาสนา จำเริญศรีสวัสดิ์ทั้งพระบริญัติปฏิปติสาสนาให้ถาวรารุ่งเรืองไปเปนที่เลื่อมไสยนมัศการบูชาแก่เทพยดามนุษยทั้งปวง เสด็จออก ณ พระที่นั่งดุสิตมหาปราสาทโดยบูรพาภิมุข พร้อมด้วยอัคมหามนตรีกระวีชาติราชปะโรหิตาโหราราชบัณฑิตเฝ้าพระบาทบงกชมาศ จึ่งมีพระราชโองการดำหรัสเหนือเกล้า ฯ สั่งว่า มีพระราชอุษาห มิได้คิดแก่พระกายแลพระชนมชีพจนได้ศรีราชสมบัติ ทั้งนี้ ด้วยตั้งพระไทยจะบำรุงพระบวรพุทธสาสนา ตามพระพุทธฎีกว่าพระปาฏิโมกขสังวรวินัยนี้ ซื่อว่าพระสาสนา ถ้าพระภิกษุยังทรงพระปาฏิโมกขบริบูรณอยู่ตราบใด ชื่อว่าพระสาสนายังตั้งอยู่ตราบนั้น เหตุฉะนี้ จึงทรงพระราชศรัทธาบริจาคพระราชทรัพยเปนอันมากเปนจัตุปัจจัยทานถวายพระสงฆ์ แลมีพระราชโอวาทานุสาศน์ตักเตือน เพื่อจะให้พระสงฆ์ทั้งปวงในกรุงนอกกรุงเทพ และนานาประเทศให้ทรงพระปาฎิโมกขสังวรศีลบริสุทธิ์ ให้เปนเนื้อนาบุญแก่สัตวโลกย หว่านพืชศรัทธาทำทานลงในเนื้อนาอันเลิศ จะได้เกิดผลเปนอันมาก ด้วยภูมพระภิกษุเปนภูมอันประเสริฐ ทรงพระวินัยบรรเทาโทษในกายจิตรแลวาจา มิได้คิดอาไลยด้วยญาติโยม จนแต่ว่า มารดามีปรารถนาจะใคร่ภบยังส้อนตัวเสียมิให้มารดารู้จักตัว กลัวจะเปนตัณหาสัณฐวะเนื่องเข้ากับกามคุณ เปนนิวรณกั้นมัคจิตรแลผลจิตร จึ่งหน่ายจากโกรธจากโลภจากหลงให้เกิดสมุทเฉทวิมุตนิพานศุขได้ จึ่งจักเปนที่ไหว้ที่บูชาแก่เทพยดามนุษยทั้งปวง ฝ่ายฆราวาสแต่ก่อนก็มีศรัทธา มิได้กระทำให้เปนเสน่หาอาไลย ทำให้เจ้ากูเสียศีลสิกขาบท บริสุทธิ์ด้วยกันทั้งสองฝ่าย พระสาศนาก็รุ่งเรืองสืบมา แลภิกษุสงฆ์ทุกวันนี้ตั้งอยู่ในภูมอันประเสริฐแล้ว มิได้รักษาพระปาฏิโมกขตามอริยวงษประเพณี ปฏิบัติเข้าระคลคบหาฆราวาศติดด้วยเบญจกามคุณ มิได้เหนแก่พระสาศนา เหนแก่หน้าบุทคนรับของฝากเงินทองของฆราวาศ ๆ ก็มิได้คิดแก่สาศนา เข้าเป็นญาตโยมปรฏิบัติด้วยเสน่หาอาไลยให้กัปปิยจังหันแก่ภิกษุโดยคุณปติคุณแก่กัน ให้เสียศีลสิกขาบทไปดุจหนึ่งสมีรักวัดบางหว้าใหญ่รับเข้าของเงินทองของอีเพงไว้เปนอันมาก อีเพงเปนขบถโทษถึงตาย สิ่งของอีเพงเปนของหลวงตามบทพระอัยการาชอาณาจักรสืบมาโดยบุราณราชประเพณี เนื้อความทั้งนี้ ก็ปรากฏทั่วพระนคร แขวง จังหวัด ถ้าสมีรักรักษสิกขาบทจริง ก็จะขวนขวายเอาของฝากนั้นมาแจ้งแก่สมเด็จพระสังฆราชแลพระราชาคณะผู้ใหญ่ทั้งปวง ให้ปฤกษาตามบทพระวินัยว่า ทรัพย์นี้จะเปนของ ๆ หลวง ฤายังเปนของอีเพงอยู่จึ่งควรแก่สมณะ นี่สมีรักปิดบังไว้มิได้ให้ราชาคณะทั้งปวงรู้
อนึ่ง ก็ได้โปรดให้ป่าวร้องเปนหลายครั้ง สมีรักก็มิได้บอกแก่ผู้ใด ต่ออ้ายมีซื่อให้การออกว่า ของอีเพงฝากไว้แก่สมีรักเปนอันมาก จะตรัสใช้ให้ราชบุรุษมา สมีรักจึ่งสำแดงออกให้แก่ราชบุรุษ ของนั้นจะมากน้อยประการใดมิได้รู้ ราชาคณะทั้งปวงจึ่งแจ้งต่อภายหลังฉนี้ ก็เหนใจสมีรักว่า สมีรักองอาจอยาบช้าหาอาไลยต่อสิกขาบทไม่หลายครั้งมาแล้ว กลัวสมีรักแกล้งบังเอาของ ๆเขาไว้ เจ้าของขาดอาไลย ก็ขาดสิกขาบทอยู่ก่อนแล้ว แต่หากสมี รักกลัวไภยในประจุบันกว่ากลัวไภยอนาคต จึ่งสู้สบถสาบาลให้การต่อพระราชาคณะ ๆ พิภาคษาว่าต้องแต่อาบัติปาจิตตีย์ สมีรักเปนโลกีย์มีไภยคติยังกลัวความตายอยู่ จะเชื่อเอาสบถสาบาลสมีรักมิได้ ก็เหนว่าสมีรักยังหาปราษจากมลทินโทษไม่ โดยกระแสทางความพิจารณาเนื้อความใหญ่ทั้งสองข้อ ฝ่ายพุทธจักรอาณาจักรเปนปัจจัยถึงกันติดพันสมีรักอยู่ แต่หากทรงพระกรุณาว่า ยังหามีพระราชกำหนดกฎหมายไม่ จึงงดโทษสมีรักไว้
แต่นี้สืบไปเมื่อน่า อย่าให้ภิกษุสามเณรดูเยี่ยงอย่างสมีรัก ห้ามอย่าให้ภิกษุสามเณรทั้งปวงจงรับของฝากฆราวาศ จะเสียพระวินัยพระสาศนาไป ถ้าภิกษุไม่รับฝาก ห้ามปรามผู้ฝาก ผู้ฝากมิฟังกลัวไภยขืนทิ้งไว้ในกุฎีในทันใดนั้น เจ้ากูจงเดือดร้อนเร่งเอาเพื่อนพรหมจรรย์ที่ใกล้กันให้หลายองค์รู้เหนเปนพยานในรายสิ่งของทั้งนั้นให้แน่ไว้ อย่าให้ผู้อื่นมีความแคลงสงไสยตน ในทันใดนั้น จึ่งภาสงฆ์ซึ่งรู้เหนนั้นไปแจ้งเนื้อความแลสิ่งของแก่พระราชาคณะเจ้าอธิการจงประชุมนุมกันปฤกษาจงเลอียดให้ต้องตามพระวินัยบัญญัติ อย่าให้เสียสิกขาบท ถ้าพระสงฆ์ราชาคณะผู้ใหญ่ผู้น้อยจะปฤกษาประการใด จงประพฤติ์ตามให้สงฆ์เปนอันมากรู้เหนเปนพยานไว้ ถ้าพระสงฆ์ราชาคณะปฤกษาให้ช่วยเก็บไว้ ๆ ด้วยเคลือบแคลงอยู่มิรู้ว่าเปนของ ๆ หลวง ฤาของผู้ฝาก ๆ เปนโทษตายไป สงฆ์ทั้งปวงจะนิ่งไว้ ก็จะเปนที่แคลงแก่ฆราวาศทั้งปวง จงชวนกันร้อนใจ ดูพระวินัยบัญญัติปฤกษากันควรจะมอบทรัพยสิ่งของให้แก่ผู้ใด ที่จะพ้นจากธุระอาบัติ ก็เร่งเดือดร้อนปฤกษาจงได้ อย่าให้ผู้อื่นแคลงในพระพุทธสาศนา
แลห้ามฝ่ายฆราวาสอย่าให้เอาของเงินทองไปฝากภิกษุสามเณรไว้ ทำให้เจ้ากูเสียวินัยสิกขาบทเปนอันขาดทีเดียว
ถ้าผู้ใดมิได้กระทำตามพระราชกำหนดกฎมหมายนี้ ฝ่ายภิกษุสามเณรจะลงพระราชอาญาโทษ ดุจโทษอทินนาทานปาราชิก จะศึกออกขับเฆี่ยนจนษาหัศ
ฝ่ายฆราวาสจะให้ริบราชบาทว์ ขับเฆี่ยนจงหนักโดยโทษานุโทษ
อนึ่ง เหตุอ้ายเมือง อ้ายเกิด อ้ายเหลือ อ้ายมา ผู้พวกประทุษฐร้ายแผ่นดิน ทั้งนี้ แต่พื้นเปนเณรใหญ่ แลให้พระราชาคณะจัดแจงดู ถ้าสามเณรรูปใดมีอายุควรจะอุปะสมบทแล้ว ก็ให้บวชเข้าร่ำเรียนคันธธุระวิปัศนาธุระ อย่าให้เที่ยวไปมาเรียนความรู้อิทธิฤทธิให้ผิดธุระทั้งสองไป น้ำใจก็จะกำเริบได้เพื่อนฝูงแล้ว จะคบกันทำร้ายแผ่นดินดุจครั้งนี้ ถ้าแลสามเณรรูปใดอายุถึงอุปสมบทแล้ว มิได้บวชเที่ยวเล่นโว้เว้อยู่ จับได้จะเอาตัวสามเณรแลซีต้นอาจาริยญาติโยมเปนโทษจงหนัก
กฎให้ไว้ ณ วันจันทร์ เดือนหก ขึ้นห้าค่ำ จุลศักราช ๑๑๔๕ ปีเถาะ นักษัตรเบญจศก ฯ
สมควรให้เอากฎหมายสงฆ์สมัยรัชกาลที่ 1 กลับมาใช้บังคับห้ามฆราวาสถวายเงินให้พระภิกษุดีมั้ยครับ
ในสมัยรัชกาลที่ 1 ก็มีกฎหมายสงฆ์ที่เข้มงวดเด็ดขาด ห้ามฆราวาสถวายเงินแก่พระภิกษุเด็ดขาด ถ้าฆราวาสผู้ใดฝ่าฝืน จะโดนลงโทษถึงข้นริบราชบาทว์ ขับเฆี่ยนจงหนักโดยโทษานุโทษ (เข้าใจว่าในประเทศลาว ก็ยังคงใช้กฎหมายสงฆ์ที่เหมือนกับในสมัยรัชกาลที่หนึ่งของไทย โดยยังคงใช้มาจนถึงทุกวันนี้ที่ห้ามฆราวาสถวายเงินทองแก่พระภิกษุ ถ้าใครฝ่าฝืน ก็โทษอาญา ต้องถูกปรับ)
กฎหมายพระสงฆ์
สมัยรัชกาลที่ ๑
ฉบับ (๒) (อ้างอิง : https://www.watmoli.com/wittaya-one/1169/ )
۞ กฎให้ไว้แก่สังฆการีธรรมการ พระสงฆ์ราชาคณะ อธิการฝ่ายคันธธุระวิปัศนาธุระนอกกรุงในกรุงหัวเมือง ๑-๒-๓-๔ ตะวันตก ตะวันออก ปากใต้ ฝ่ายเหนือจงทั่ว ด้วยสมเด็จบรมนารถบรมบพิตรพระพุทธเจ้าอยู่หัว ผู้ทรงพระคุณธรรมอนันตาสัมภาราดิเรกเอกพิบูลยสุนธรราชศรัทธา เปนอัคมหาสาสะนุปถัมภกพระพุทธสาสนา จำเริญศรีสวัสดิ์ทั้งพระบริญัติปฏิปติสาสนาให้ถาวรารุ่งเรืองไปเปนที่เลื่อมไสยนมัศการบูชาแก่เทพยดามนุษยทั้งปวง เสด็จออก ณ พระที่นั่งดุสิตมหาปราสาทโดยบูรพาภิมุข พร้อมด้วยอัคมหามนตรีกระวีชาติราชปะโรหิตาโหราราชบัณฑิตเฝ้าพระบาทบงกชมาศ จึ่งมีพระราชโองการดำหรัสเหนือเกล้า ฯ สั่งว่า มีพระราชอุษาห มิได้คิดแก่พระกายแลพระชนมชีพจนได้ศรีราชสมบัติ ทั้งนี้ ด้วยตั้งพระไทยจะบำรุงพระบวรพุทธสาสนา ตามพระพุทธฎีกว่าพระปาฏิโมกขสังวรวินัยนี้ ซื่อว่าพระสาสนา ถ้าพระภิกษุยังทรงพระปาฏิโมกขบริบูรณอยู่ตราบใด ชื่อว่าพระสาสนายังตั้งอยู่ตราบนั้น เหตุฉะนี้ จึงทรงพระราชศรัทธาบริจาคพระราชทรัพยเปนอันมากเปนจัตุปัจจัยทานถวายพระสงฆ์ แลมีพระราชโอวาทานุสาศน์ตักเตือน เพื่อจะให้พระสงฆ์ทั้งปวงในกรุงนอกกรุงเทพ และนานาประเทศให้ทรงพระปาฎิโมกขสังวรศีลบริสุทธิ์ ให้เปนเนื้อนาบุญแก่สัตวโลกย หว่านพืชศรัทธาทำทานลงในเนื้อนาอันเลิศ จะได้เกิดผลเปนอันมาก ด้วยภูมพระภิกษุเปนภูมอันประเสริฐ ทรงพระวินัยบรรเทาโทษในกายจิตรแลวาจา มิได้คิดอาไลยด้วยญาติโยม จนแต่ว่า มารดามีปรารถนาจะใคร่ภบยังส้อนตัวเสียมิให้มารดารู้จักตัว กลัวจะเปนตัณหาสัณฐวะเนื่องเข้ากับกามคุณ เปนนิวรณกั้นมัคจิตรแลผลจิตร จึ่งหน่ายจากโกรธจากโลภจากหลงให้เกิดสมุทเฉทวิมุตนิพานศุขได้ จึ่งจักเปนที่ไหว้ที่บูชาแก่เทพยดามนุษยทั้งปวง ฝ่ายฆราวาสแต่ก่อนก็มีศรัทธา มิได้กระทำให้เปนเสน่หาอาไลย ทำให้เจ้ากูเสียศีลสิกขาบท บริสุทธิ์ด้วยกันทั้งสองฝ่าย พระสาศนาก็รุ่งเรืองสืบมา แลภิกษุสงฆ์ทุกวันนี้ตั้งอยู่ในภูมอันประเสริฐแล้ว มิได้รักษาพระปาฏิโมกขตามอริยวงษประเพณี ปฏิบัติเข้าระคลคบหาฆราวาศติดด้วยเบญจกามคุณ มิได้เหนแก่พระสาศนา เหนแก่หน้าบุทคนรับของฝากเงินทองของฆราวาศ ๆ ก็มิได้คิดแก่สาศนา เข้าเป็นญาตโยมปรฏิบัติด้วยเสน่หาอาไลยให้กัปปิยจังหันแก่ภิกษุโดยคุณปติคุณแก่กัน ให้เสียศีลสิกขาบทไปดุจหนึ่งสมีรักวัดบางหว้าใหญ่รับเข้าของเงินทองของอีเพงไว้เปนอันมาก อีเพงเปนขบถโทษถึงตาย สิ่งของอีเพงเปนของหลวงตามบทพระอัยการาชอาณาจักรสืบมาโดยบุราณราชประเพณี เนื้อความทั้งนี้ ก็ปรากฏทั่วพระนคร แขวง จังหวัด ถ้าสมีรักรักษสิกขาบทจริง ก็จะขวนขวายเอาของฝากนั้นมาแจ้งแก่สมเด็จพระสังฆราชแลพระราชาคณะผู้ใหญ่ทั้งปวง ให้ปฤกษาตามบทพระวินัยว่า ทรัพย์นี้จะเปนของ ๆ หลวง ฤายังเปนของอีเพงอยู่จึ่งควรแก่สมณะ นี่สมีรักปิดบังไว้มิได้ให้ราชาคณะทั้งปวงรู้
อนึ่ง ก็ได้โปรดให้ป่าวร้องเปนหลายครั้ง สมีรักก็มิได้บอกแก่ผู้ใด ต่ออ้ายมีซื่อให้การออกว่า ของอีเพงฝากไว้แก่สมีรักเปนอันมาก จะตรัสใช้ให้ราชบุรุษมา สมีรักจึ่งสำแดงออกให้แก่ราชบุรุษ ของนั้นจะมากน้อยประการใดมิได้รู้ ราชาคณะทั้งปวงจึ่งแจ้งต่อภายหลังฉนี้ ก็เหนใจสมีรักว่า สมีรักองอาจอยาบช้าหาอาไลยต่อสิกขาบทไม่หลายครั้งมาแล้ว กลัวสมีรักแกล้งบังเอาของ ๆเขาไว้ เจ้าของขาดอาไลย ก็ขาดสิกขาบทอยู่ก่อนแล้ว แต่หากสมี รักกลัวไภยในประจุบันกว่ากลัวไภยอนาคต จึ่งสู้สบถสาบาลให้การต่อพระราชาคณะ ๆ พิภาคษาว่าต้องแต่อาบัติปาจิตตีย์ สมีรักเปนโลกีย์มีไภยคติยังกลัวความตายอยู่ จะเชื่อเอาสบถสาบาลสมีรักมิได้ ก็เหนว่าสมีรักยังหาปราษจากมลทินโทษไม่ โดยกระแสทางความพิจารณาเนื้อความใหญ่ทั้งสองข้อ ฝ่ายพุทธจักรอาณาจักรเปนปัจจัยถึงกันติดพันสมีรักอยู่ แต่หากทรงพระกรุณาว่า ยังหามีพระราชกำหนดกฎหมายไม่ จึงงดโทษสมีรักไว้
แต่นี้สืบไปเมื่อน่า อย่าให้ภิกษุสามเณรดูเยี่ยงอย่างสมีรัก ห้ามอย่าให้ภิกษุสามเณรทั้งปวงจงรับของฝากฆราวาศ จะเสียพระวินัยพระสาศนาไป ถ้าภิกษุไม่รับฝาก ห้ามปรามผู้ฝาก ผู้ฝากมิฟังกลัวไภยขืนทิ้งไว้ในกุฎีในทันใดนั้น เจ้ากูจงเดือดร้อนเร่งเอาเพื่อนพรหมจรรย์ที่ใกล้กันให้หลายองค์รู้เหนเปนพยานในรายสิ่งของทั้งนั้นให้แน่ไว้ อย่าให้ผู้อื่นมีความแคลงสงไสยตน ในทันใดนั้น จึ่งภาสงฆ์ซึ่งรู้เหนนั้นไปแจ้งเนื้อความแลสิ่งของแก่พระราชาคณะเจ้าอธิการจงประชุมนุมกันปฤกษาจงเลอียดให้ต้องตามพระวินัยบัญญัติ อย่าให้เสียสิกขาบท ถ้าพระสงฆ์ราชาคณะผู้ใหญ่ผู้น้อยจะปฤกษาประการใด จงประพฤติ์ตามให้สงฆ์เปนอันมากรู้เหนเปนพยานไว้ ถ้าพระสงฆ์ราชาคณะปฤกษาให้ช่วยเก็บไว้ ๆ ด้วยเคลือบแคลงอยู่มิรู้ว่าเปนของ ๆ หลวง ฤาของผู้ฝาก ๆ เปนโทษตายไป สงฆ์ทั้งปวงจะนิ่งไว้ ก็จะเปนที่แคลงแก่ฆราวาศทั้งปวง จงชวนกันร้อนใจ ดูพระวินัยบัญญัติปฤกษากันควรจะมอบทรัพยสิ่งของให้แก่ผู้ใด ที่จะพ้นจากธุระอาบัติ ก็เร่งเดือดร้อนปฤกษาจงได้ อย่าให้ผู้อื่นแคลงในพระพุทธสาศนา แลห้ามฝ่ายฆราวาสอย่าให้เอาของเงินทองไปฝากภิกษุสามเณรไว้ ทำให้เจ้ากูเสียวินัยสิกขาบทเปนอันขาดทีเดียว
ถ้าผู้ใดมิได้กระทำตามพระราชกำหนดกฎมหมายนี้ ฝ่ายภิกษุสามเณรจะลงพระราชอาญาโทษ ดุจโทษอทินนาทานปาราชิก จะศึกออกขับเฆี่ยนจนษาหัศ ฝ่ายฆราวาสจะให้ริบราชบาทว์ ขับเฆี่ยนจงหนักโดยโทษานุโทษ
อนึ่ง เหตุอ้ายเมือง อ้ายเกิด อ้ายเหลือ อ้ายมา ผู้พวกประทุษฐร้ายแผ่นดิน ทั้งนี้ แต่พื้นเปนเณรใหญ่ แลให้พระราชาคณะจัดแจงดู ถ้าสามเณรรูปใดมีอายุควรจะอุปะสมบทแล้ว ก็ให้บวชเข้าร่ำเรียนคันธธุระวิปัศนาธุระ อย่าให้เที่ยวไปมาเรียนความรู้อิทธิฤทธิให้ผิดธุระทั้งสองไป น้ำใจก็จะกำเริบได้เพื่อนฝูงแล้ว จะคบกันทำร้ายแผ่นดินดุจครั้งนี้ ถ้าแลสามเณรรูปใดอายุถึงอุปสมบทแล้ว มิได้บวชเที่ยวเล่นโว้เว้อยู่ จับได้จะเอาตัวสามเณรแลซีต้นอาจาริยญาติโยมเปนโทษจงหนัก
กฎให้ไว้ ณ วันจันทร์ เดือนหก ขึ้นห้าค่ำ จุลศักราช ๑๑๔๕ ปีเถาะ นักษัตรเบญจศก ฯ