คำสั่งมหาเถรสมาคม เรื่อง ห้ามพระภิกษุสามเณรเกี่ยวข้องกับการเมือง พ.ศ.2538

กระทู้สนทนา

สั่ง ณ วันที่ 2 มกราคม พ.ศ.2538
(สมเด็จพระญาณสังวร)
สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก
ประธานกรรมการมหาเถรสมาคม

ใน ท้ายบันทึกคำสั่งมหาเถรสมาคม เรื่อง ห้ามพระภิกษุสามเณรเกี่ยวข้องกับการเมือง พ.ศ.2538 ทางมหาเถรสมาคมได้ให้เหตุผลของการออกคำสั่งดังกล่าวไว้ดังนี้…..

เหตุผลในการใช้คำสั่งมหาเถรสมาคมฉบับนี้ คือ โดยที่พระภิกษุสงฆ์ได้นามว่า สมณะ แปลว่า ผู้สงบ ได้นามว่า บรรพชิต แปลว่า ผู้เว้นกิจกรรมอันเศร้าหมองมีโทษ สมควรเป็นผู้สังวรระวังการกระทำของตนให้เป็นไปแต่ในทางสงบ ปราศจากโทษ ทั้งแก่คน ทั้งแก่หมู่คณะ

ด้วยเหตุนี้ พระบรมศาสดาจึงทรงบัญญัติสิกขาบท ห้ามพระภิกษุสงฆ์มิให้ประพฤตินอกทางของสมณะบรรพชิต ทรงปรับโทษแก่ผู้ฝ่าฝืนละเมิด

ใน การที่บ้านเมืองมีการเลือกตั้งผู้แทนราษฎรเข้าเป็นสมาชิกแห่งสภาผู้แทนราษฎร ซึ่งเป็นธุรกิจฝ่ายบ้านเมือง เป็นหน้าที่ของฆราวาสผู้มีสิทธิตามกฎหมายโดยเฉพาะ ไม่ใช่หน้าที่ของพระภิกษุสามเณรผู้อยู่นอกเหนือการเมือง ไม่มีสิทธิลงคะแนนเลือกตั้ง ไม่มีสิทธิสมัครรับเลือกตั้ง แม้ผู้ได้รับเลือกเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแล้ว หากบวชเป็นพระภิกษุสามเณรในพระพุทธศาสนาก็ขาดจากสมาชิกภาพแห่งสภาผู้แทน ราษฎรทันที

ข้อ นี้แสดงว่า ความเป็นพระภิกษุสามเณรไม่ควรแก่การเมืองโดยประการทั้งปวง การที่พระภิกษุสามเณรเข้าไปเกี่ยวข้องช่วยสนับสนุนการเลือกตั้งบุคคลใดๆ เพื่อเป็นสมาชิกแห่งสภาผู้แทนราษฎร หรือสภาเทศบาล เป็นต้น ย่อมเป็นการประพฤติผิดวิสัยของสมณะบรรพชิต นำความเสื่อมเสียมาสู่ตนเองและหมู่คณะ ตลอดถึงพระศาสนา เป้นที่ติเตียนของสาธุชน ทั้งในและนอกพระศาสนา เพราะสมณะบรรพชิตสมควรวางตนเป็นกลาง ทำจิตให้กว้างขวาง ด้วยเมตตาทั่วไปแก่ชนทั้งปวง

ผู้ ทำนุบำรุงพระพุทธศาสนาโดยไม่เลือกหน้า ในตำแหน่งที่มีผู้แข่งขันช่วงชิงกันมากคน พระภิกษุสามเณรเข้าช่วยให้ผู้ใดได้ ย่อมเป็นที่พอใจของผู้นั้น แต่ผู้ที่ไม่ได้อีกเป็นจำนวนมากกับพวกพ้องย่อมไม่พอใจ เสื่อมคลายความเคารพนับถือ ความเป็นอยู่ของพระสงฆ์และความดำรงอยู่แห่งพระศาสนาขึ้นอยู่กับความเคารพ นับถือของประชาชน พระภิกษุสามเณรจึงควรทำตนให้เป็นที่เคารพนับถือของประชาชนทั่วไป ไม่ควรทำตนให้เป็นพวกเป็นฝ่ายของผู้ใดผู้หนึ่ง ซึ่งจะทำให้ชนทั้งหลายเห็นว่าไม่ตั้งอยู่ในธรรม เกิดความเบื่อหน่ายคลายความเคารพนับถือและติเตียนต่างๆ ดังเคยมีตัวอย่างปรากฎมาแล้วมากราย

เพื่อ สงวนและเชิดชูพระภิกษุสงฆ์ให้ตั้งอยู่ในฐานะอันน่าเคารพนับถือไม่เป็นที่ดู หมิ่นติเตียนของมหาชนและป้องกันความเสื่อมเสียของคณะสงฆ์และพระศาสนาอันมี พระภิกษุสงฆ์เป็นผู้ดำรงรักษาไว้เช่นเดียวกับบูรพาจารย์ได้เคยปฎิบัติมา จึงออกคำสั่งมหาเถรสมาคาไว้เพื่อให้พระภิกษุสามเณรถือปฎิบัติต่อไป
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่