'เลขาพท.'หวัง'บิ๊กป้อม'เปิดหน้าทำการเมืองสร้างสรรค์
https://www.dailynews.co.th/politics/782137
“อนุดิษฐ์” ยินดี “บิ๊กป้อม” เปิดหน้าเสียที
เมื่อวันที่ 27 มิ.ย. น.อ.อนุดิษฐ์ นาครทรรพ เลขาธิการพรรคเพื่อไทย กล่าวถึงกรณี พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกฯ ได้รับเลือกให้เป็นหัวหน้าพรรคพลังประชารัฐ (พปชร.) ว่า
ก็ต้องแสดงความยินดีกับพล.อ.ประวิตร ที่ได้รับความไว้วางใจจากสมาชิกพรรคพลังประชารัฐเลือกให้มาเป็นหัวหน้าพรรค ซึ่งก่อนหน้านี้สังคมก็ตั้งคำถาม อยู่เสมอว่า หัวหน้าพรรคพปชร.ที่แท้จริงคือใคร เป็นพล.อ.ประวิตรใช่หรือไม่ แต่วันนี้เมื่อมารับตำแหน่งแล้วสังคมก็จะได้คลายความสงสัย และบุคคลที่ทุกคนคิดกันว่า เป็นผู้อยู่เบื้องหลัง จะได้ออกมาอยู่เบื้องหน้าทำหน้าที่เต็มตัว และต้องรับผิดรับชอบการกระทำของพรรคแบบเต็มตัวเสียที ต่อไปถ้าพรรคพลังประชารัฐเล่นเกมในสภาฯ จนเดินต่อไม่ได้เหมือนที่ผ่านมา หากประชาชนอยากจะวิจารณ์ก็จะได้รู้เสียทีว่าต้องสื่อสารไปถึงใคร แต่ก็หวังว่าเมื่อออกมาอยู่เบื้องหน้าแล้วจะทำการเมืองอย่างสร้างสรรค์ตามที่เคยบอกว่าอยากปฏิรูปการเมืองเสียที.
ลงทุนรัฐวิสาหกิจทะลุแสนล้าน แต่รถไฟสายสีแดง-สุวรรณภูมิยังอืด
https://www.dailynews.co.th/economic/782077
นาย
ประภาศ คงเอียด ผู้อำนวยการสำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (สคร.) เปิดเผยว่า สคร. ได้ติดตามการเบิกจ่ายงบลงทุนในปี 63 ของรัฐวิสาหกิจ 44 แห่ง ที่ สคร. กำกับดูแลอย่างใกล้ชิด ช่วยการฟื้นฟูเศรษฐกิจจากโควิด
โดยในภาพรวมรัฐวิสาหกิจยังสามารถเบิกจ่ายงบลงทุนให้เป็นไปตามเป้าหมาย ณ สิ้นเดือนพ.ค.63 มีผลการเบิกจ่ายงบลงทุนสะสม 104,214 ล้านบาท หรือคิดเป็น 101% ของแผนการเบิกจ่ายสะสม และสูงกว่าช่วงเวลาเดียวกันในปี 62 สำหรับรัฐวิสาหกิจที่มีงบลงทุนขนาดใหญ่และสามารถเบิกจ่ายได้ตามเป้าหมายที่กำหนด ได้แก่ การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) และการไฟฟ้าทั้ง 3 แห่ง
ด้านนางสาว
ปิยวรรณ ล่ามกิจจา รองผู้อำนวยการ สคร. รักษาการในตำแหน่งที่ปรึกษาด้านพัฒนารัฐวิสาหกิจ กล่าวเพิ่มเติมว่า โครงการลงทุนขนาดใหญ่ที่สามารถเบิกจ่ายได้เกินกว่าเป้าหมาย เช่น โครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงศูนย์วัฒนธรรม – มีนบุรี และโครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียวช่วงหมอชิต – สะพานใหม่ – คูคต ของ รฟม.
โครงการปรับปรุงระบบส่งไฟฟ้าภาคตะวันตกและภาคใต้เพื่อสร้างความมั่นคงของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย และงานก่อสร้างปรับปรุงขยายระบบท่อส่งน้ำของการประปาส่วนภูมิภาค
ส่วนโครงการลงทุนขนาดใหญ่ที่เบิกจ่ายได้ต่ำกว่าเป้าหมาย เช่น โครงการระบบขนส่งมวลชนทางรางในพื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑลช่วงบางซื่อ – รังสิต (รถไฟชานเมืองสายสีแดง) ของการรถไฟแห่งประเทศไทย โครงการพัฒนาท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ (ปีงบประมาณ 2554 – 2560) ของบริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) และโครงการทางพิเศษสายพระราม 3 – ดาวคะนอง– วงแหวนรอบนอกตะวันตกของการทางพิเศษแห่งประเทศไทย ซึ่งเป็นโครงการเดิมที่ดำเนินการล่าช้าต่อเนื่องมา
เศรษฐกิจโลกดิ่งลึก-จีดีพีไทยหดแรง ไม่มีวัคซีน-โอกาสฟื้นลากยาวเกิน 2 ปี
https://www.prachachat.net/finance/news-483251
สถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ที่ยังไม่มีจุดสิ้นสุด หลายประเทศในโลกต้องเผชิญกับการระบาดรอบ 2 ขณะที่ประเทศไทยแม้ยังไม่ถึงขั้นนั้น แต่ผลกระทบที่เกิดขึ้นก็ทำให้เศรษฐกิจไทยปี 2563 นี้หดตัวแรงมากขึ้น แม้ว่ากิจกรรมทางด้านเศรษฐกิจหลาย ๆ อย่างจะเริ่มกลับมาหลังรัฐมีมาตรการคลายล็อกดาวน์แล้วก็ตาม
“ไอเอ็มเอฟ” ชี้เศรษฐกิจโลกทรุด -4.9%
ล่าสุดกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (ไอเอ็มเอฟ) ได้ปรับลดคาดการณ์อัตราเติบโตเศรษฐกิจโลกปี 2563 จะหดตัวถึง -4.9% รุนแรงกว่าที่เคยคาดไว้เมื่อเดือน เม.ย.คาดไว้ -3% เนื่องจากการระบาดของโควิด-19 ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจรุนแรงกว่าที่คาด อีกทั้งการฟื้นตัวก็เป็นไปอย่างล่าช้า ทั้งนี้ ไอเอ็มเอฟคาดว่าเศรษฐกิจสหรัฐจะหดตัว -8% ขณะที่ยูโรโซนหดตัวถึง -10.5% ส่วนเศรษฐกิจจีนโต 1% ดีขึ้นเล็กน้อยจากคาดการณ์เดิมที่ -1.2%
ส่วนเศรษฐกิจโลกปี 2564 คาดว่าจะโต 5.4% แต่หากสถานการณ์โควิด-19 ยังคงรุนแรงลากยาวไปถึงปี 2564 เศรษฐกิจโลกปีหน้าโตเพียง 0.5% ขณะที่ “ประเทศไทย” ไอเอ็มเอฟคาดการณ์จีดีพีปีนี้ติดลบ -7.7% ต่ำสุดในภูมิภาคเอเชีย
จีดีพีไทยลบหนักกว่า “ต้มยำกุ้ง”
ขณะที่การประชุม
“คณะกรรมการนโยบายการเงิน” (กนง.) เมื่อวันที่ 24 มิ.ย. 2563 ก็มีมติเป็นเอกฉันท์ให้คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ 0.50% ต่อปี โดย นายทิตนันทิ์ มัลลิกะมาส ผู้ช่วยผู้ว่าการสายนโยบายการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) และเลขานุการ กนง. เปิดเผยว่า กนง.ประเมินเศรษฐกิจไทยปีนี้ว่ามีแนวโน้มหดตัวกว่าประมาณการเดิม เนื่องจากผลกระทบของโควิด-19 รุนแรงกว่าที่คาด และได้มีการปรับลดประมาณการเศรษฐกิจปีนี้ว่าจะหดตัว -8.1% จากเดิม -5.3%
ผลกระทบหลัก ๆ มาจากมูลค่าการส่งออกสินค้าปีนี้คาดจะหดตัว -10.3% มากกว่าเดิมที่คาดหดตัว -8.8% การบริโภคภาคเอกชนคาดจะหดตัว -3.6% ลงทุนภาคเอกชนหดตัว -13% จากเดิมคาด -4.3% และการลงทุนภาครัฐทรงตัวที่ 5.8%
นาย
ดอน นาครทรรพ ผู้อำนวยการอาวุโสฝ่ายเศรษฐกิจมหภาค ธปท.กล่าวว่า จีดีพีที่คาดว่าจะหดตัว -8% ถือว่าต่ำสุดในประวัติศาสตร์ และรุนแรงกว่าวิกฤตต้มยำกุ้งปี 2540 ที่จีดีพีหดตัว -7.6% และในไตรมาส 2 ปีนี้มีโอกาสติดลบเป็นตัวเลข 2 หลัก เป็นไตรมาสที่หดตัวลึกสุดของปี หลังจากนั้น จะทยอยกลับฟื้นตัวอย่างช้า ๆ เป็นการติดลบที่น้อยลง และคาดว่าในปี 2564 เศรษฐกิจไทยจะกลับมาขยายตัวเป็นบวกอยู่ที่ 5% จากประมาณการเดิมขยายตัวอยู่ที่ 3%
ขณะที่กระทรวงพาณิชย์แถลงมูลค่าการส่งออกสินค้าไทยในเดือน พ.ค. 2563 หดตัว -22.5% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน นับเป็นการหดตัวลึกที่สุดในรอบกว่า 10 ปี ซึ่งเป็นผลจากมาตรการปิดเมืองของหลายประเทศทั่วโลก ส่งผลให้ 5 เดือนแรกส่งออกไทยหดตัว -3.7%
กนง.เหลือกระสุนลด ดบ.อีกแค่ 0.25%
ด้านศูนย์วิจัยเศรษฐกิจและธุรกิจ (EIC) ธนาคารไทยพาณิชย์ คาดการณ์ว่า กนง.จะคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ 0.5% ในช่วงที่เหลือของปีนี้ เพื่อรอประเมินแนวโน้มเศรษฐกิจหลังจากที่เริ่มส่งสัญญาณฟื้นตัวจากจุดต่ำสุดในไตรมาส 2 โดยประเมินว่าเศรษฐกิจไทยจะเริ่มกลับมาฟื้นตัวได้อย่างช้า ๆ ในไตรมาส 3 ตามสถานการณ์โควิด-19 ที่มีจำนวนผู้ติดเชื้อลดลงและเริ่มมีการเปิดเมืองมากขึ้น
นอกจากนี้ EIC ประเมินว่า กนง.เหลือขีดความสามารถในการปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายได้อีกอย่างมาก 1 ครั้ง (25 bps) เหลือ 0.25% หากเศรษฐกิจไทยมีแนวโน้มหดตัวมากกว่าที่ กนง.ประเมินไว้
หวั่นเศรษฐกิจฟุบลากยาวเกิน 2 ปี
นาย
สมประวิณ มันประเสริฐ ผู้บริหารสายงานวิจัยและหัวหน้าเศรษฐกิจ ธนาคารกรุงศรีอยุธยากล่าวว่า กรุงศรีจะมีการปรับประมาณการเศรษฐกิจลงอีก จากเดิมที่คาดไว้ -5% หลังจาก ธปท.ประเมินจีดีพีปีนี้หดตัว -8.1% อย่างไรก็ดี มองว่าความลึกของการหดตัวไม่น่ากลัว เมื่อเทียบกับการลากยาวของการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจ ซึ่งเดิมกรุงศรีคาดว่าเศรษฐกิจหลังโควิดจะใช้เวลาฟื้นตัวราว 2 ปีจึงจะกลับสู่ระดับปกติ อย่างไรก็ดีหลังธปท.ประเมินเศรษฐกิจลงแรงกว่าคาด จึงอาจจะต้องรอประเมินนโยบายการเงินและการคลังอีกครั้ง
หนุนรัฐขาดดุลพุ่ง “จำเป็น” ต้องอุ้มเศรษฐกิจ
ด้าน นาย
เชาว์ เก่งชน กรรมการผู้จัดการศูนย์วิจัยกสิกรไทย กล่าวว่า เศรษฐกิจไทยขณะนี้อยู่ในภาวะหดตัวแรงตามประมาณการของ ธปท. ขณะที่ไอเอ็มเอฟก็ปรับลดประมาณการเศรษฐกิจโลกหดตัว -4.9% ต่อปี มากกว่าที่คาดไว้เดิม นอกจากนี้ ไวรัสโควิด-19 ก็ยังมีการระบาดรอบ 2 โดยเฉพาะในสหรัฐ ดังนั้น ผลกระทบน่าจะเป็นระยะยาว มาตรการทางด้านการเงินการคลังจึงเป็นกลไกสำคัญที่ยังช่วยประคองเศรษฐกิจไม่ให้แย่ลงไป
“เมื่อเศรษฐกิจยังไม่กลับมาเป็นปกติ การจัดเก็บภาษี รายได้ต่าง ๆ ของรัฐบาลก็คงยังไม่กลับมา การขาดดุลงบประมาณก็จะสูง ซึ่งเป็นเรื่องที่คาดไว้อยู่แล้วว่าจะเกิดขึ้น เพราะการขาดดุลที่เพิ่มขึ้น สะท้อนว่าเราเจอสถานการณ์เศรษฐกิจที่ต่ำและยังไม่ฟื้นกลับมาจึงต้องมีการใช้จ่ายงบประมาณจำนวนมากเพื่อประคอง รัฐบาลยังไม่อยู่ในฐานะที่จะรัดเข็มขัดได้ เพราะถ้ารัดเข็มขัดเศรษฐกิจก็จะแย่ลง คนตกงานก็จะไม่ได้รับความช่วยเหลือ” นาย
เชาว์กล่าวและว่า
ดังนั้น ในแง่ฐานะการคลังก็คงต้องยอมให้หนี้สาธารณะต่อจีดีพีเพิ่มขึ้นไปเกินกรอบวินัยการเงินการคลัง หรือเกิน 60% ของจีดีพีได้เป็นการชั่วคราว แล้วเมื่อเศรษฐกิจเริ่มกลับมาปกติก็ค่อยทยอยลดการขาดดุลงบประมาณลงไป
ชี้ไม่มี “วัคซีน” เศรษฐกิจไม่ฟื้น
“ช่วงนี้รัฐบาลต้องช่วยประคองให้เศรษฐกิจประเทศผ่านจุดวิกฤตนี้ไปให้ได้ก่อน ซึ่งคิดว่ากว่าเศรษฐกิจจะกลับมาเป็นปกติได้อาจจะเป็นปี 2565 ในกรณีที่มีวัคซีนในปี 2564 สามารถแจกจ่ายให้ประชากรในประเทศได้ในวงกว้าง แต่หากไม่มีวัคซีนก็อาจจะไม่ฟื้นยาว เพราะเชื้อโรคจะกลับมา ซึ่งเราก็จะอยู่ในภาวะแบบนี้ไปเรื่อย ๆ จะเปิดการท่องเที่ยวก็ทำไม่ได้”
แม้ ธปท.จะประเมินว่าเศรษฐกิจปีหน้าจะขยายตัวได้ 5% ซึ่งตัวเลขดังกล่าวมาจากฐานที่ต่ำในปีนี้ แต่ในแง่การฟื้นตัวคงยังไม่เต็มที่เพราะกิจกรรมทางเศรษฐกิจจะยังไม่กลับมาเป็นปกติ หรือกลับมาเท่ากับช่วงไตรมาสสุดท้ายปี 2562
แนะปรับงบฯปี’64 เน้นเข้าระบบเร็ว
อย่างไรก็ดี ในจังหวะที่งบประมาณปี 2564 กำลังเข้าสู่การพิจารณาในสภาผู้แทนราษฎร นาย
เชาว์กล่าวว่า ภาคเอกชนมองว่า เมื่อต้องอยู่ในภาวะที่เศรษฐกิจโลกไม่แน่นอน เต็มไปด้วยความยากลำบาก เศรษฐกิจในประเทศก็ถูกกระทบ ดังนั้น รัฐบาลคงต้องเลือกรายจ่ายที่มีเม็ดเงินเข้าระบบให้เร็วที่สุด
“หากเป็นไปได้ก็อยากให้รัฐบาลเลือกใช้เงินกับโครงการที่เบิกจ่ายได้เร็วกว่า เพื่อให้มีเงินหมุนในระบบได้หลายรอบคือ เอาเศรษฐกิจให้รอดก่อน นี่คือโจทย์เฉพาะหน้า” นาย
เชาว์กล่าว
JJNY : 4in1 พท.หวังป้อมทำการเมืองสร้างสรรค์/ลงทุนแสนล.รถไฟสายสีแดงยังอืด/ศก.โลกดิ่งลึก-gdpไทยหดแรง/เตือน37จว.เสี่ยงท่วม
https://www.dailynews.co.th/politics/782137
“อนุดิษฐ์” ยินดี “บิ๊กป้อม” เปิดหน้าเสียที
ลงทุนรัฐวิสาหกิจทะลุแสนล้าน แต่รถไฟสายสีแดง-สุวรรณภูมิยังอืด
https://www.dailynews.co.th/economic/782077
นายประภาศ คงเอียด ผู้อำนวยการสำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (สคร.) เปิดเผยว่า สคร. ได้ติดตามการเบิกจ่ายงบลงทุนในปี 63 ของรัฐวิสาหกิจ 44 แห่ง ที่ สคร. กำกับดูแลอย่างใกล้ชิด ช่วยการฟื้นฟูเศรษฐกิจจากโควิด
โดยในภาพรวมรัฐวิสาหกิจยังสามารถเบิกจ่ายงบลงทุนให้เป็นไปตามเป้าหมาย ณ สิ้นเดือนพ.ค.63 มีผลการเบิกจ่ายงบลงทุนสะสม 104,214 ล้านบาท หรือคิดเป็น 101% ของแผนการเบิกจ่ายสะสม และสูงกว่าช่วงเวลาเดียวกันในปี 62 สำหรับรัฐวิสาหกิจที่มีงบลงทุนขนาดใหญ่และสามารถเบิกจ่ายได้ตามเป้าหมายที่กำหนด ได้แก่ การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) และการไฟฟ้าทั้ง 3 แห่ง
ด้านนางสาวปิยวรรณ ล่ามกิจจา รองผู้อำนวยการ สคร. รักษาการในตำแหน่งที่ปรึกษาด้านพัฒนารัฐวิสาหกิจ กล่าวเพิ่มเติมว่า โครงการลงทุนขนาดใหญ่ที่สามารถเบิกจ่ายได้เกินกว่าเป้าหมาย เช่น โครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงศูนย์วัฒนธรรม – มีนบุรี และโครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียวช่วงหมอชิต – สะพานใหม่ – คูคต ของ รฟม.
โครงการปรับปรุงระบบส่งไฟฟ้าภาคตะวันตกและภาคใต้เพื่อสร้างความมั่นคงของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย และงานก่อสร้างปรับปรุงขยายระบบท่อส่งน้ำของการประปาส่วนภูมิภาค
ส่วนโครงการลงทุนขนาดใหญ่ที่เบิกจ่ายได้ต่ำกว่าเป้าหมาย เช่น โครงการระบบขนส่งมวลชนทางรางในพื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑลช่วงบางซื่อ – รังสิต (รถไฟชานเมืองสายสีแดง) ของการรถไฟแห่งประเทศไทย โครงการพัฒนาท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ (ปีงบประมาณ 2554 – 2560) ของบริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) และโครงการทางพิเศษสายพระราม 3 – ดาวคะนอง– วงแหวนรอบนอกตะวันตกของการทางพิเศษแห่งประเทศไทย ซึ่งเป็นโครงการเดิมที่ดำเนินการล่าช้าต่อเนื่องมา
เศรษฐกิจโลกดิ่งลึก-จีดีพีไทยหดแรง ไม่มีวัคซีน-โอกาสฟื้นลากยาวเกิน 2 ปี
https://www.prachachat.net/finance/news-483251
สถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ที่ยังไม่มีจุดสิ้นสุด หลายประเทศในโลกต้องเผชิญกับการระบาดรอบ 2 ขณะที่ประเทศไทยแม้ยังไม่ถึงขั้นนั้น แต่ผลกระทบที่เกิดขึ้นก็ทำให้เศรษฐกิจไทยปี 2563 นี้หดตัวแรงมากขึ้น แม้ว่ากิจกรรมทางด้านเศรษฐกิจหลาย ๆ อย่างจะเริ่มกลับมาหลังรัฐมีมาตรการคลายล็อกดาวน์แล้วก็ตาม
“ไอเอ็มเอฟ” ชี้เศรษฐกิจโลกทรุด -4.9%
ล่าสุดกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (ไอเอ็มเอฟ) ได้ปรับลดคาดการณ์อัตราเติบโตเศรษฐกิจโลกปี 2563 จะหดตัวถึง -4.9% รุนแรงกว่าที่เคยคาดไว้เมื่อเดือน เม.ย.คาดไว้ -3% เนื่องจากการระบาดของโควิด-19 ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจรุนแรงกว่าที่คาด อีกทั้งการฟื้นตัวก็เป็นไปอย่างล่าช้า ทั้งนี้ ไอเอ็มเอฟคาดว่าเศรษฐกิจสหรัฐจะหดตัว -8% ขณะที่ยูโรโซนหดตัวถึง -10.5% ส่วนเศรษฐกิจจีนโต 1% ดีขึ้นเล็กน้อยจากคาดการณ์เดิมที่ -1.2%
ส่วนเศรษฐกิจโลกปี 2564 คาดว่าจะโต 5.4% แต่หากสถานการณ์โควิด-19 ยังคงรุนแรงลากยาวไปถึงปี 2564 เศรษฐกิจโลกปีหน้าโตเพียง 0.5% ขณะที่ “ประเทศไทย” ไอเอ็มเอฟคาดการณ์จีดีพีปีนี้ติดลบ -7.7% ต่ำสุดในภูมิภาคเอเชีย
จีดีพีไทยลบหนักกว่า “ต้มยำกุ้ง”
ขณะที่การประชุม “คณะกรรมการนโยบายการเงิน” (กนง.) เมื่อวันที่ 24 มิ.ย. 2563 ก็มีมติเป็นเอกฉันท์ให้คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ 0.50% ต่อปี โดย นายทิตนันทิ์ มัลลิกะมาส ผู้ช่วยผู้ว่าการสายนโยบายการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) และเลขานุการ กนง. เปิดเผยว่า กนง.ประเมินเศรษฐกิจไทยปีนี้ว่ามีแนวโน้มหดตัวกว่าประมาณการเดิม เนื่องจากผลกระทบของโควิด-19 รุนแรงกว่าที่คาด และได้มีการปรับลดประมาณการเศรษฐกิจปีนี้ว่าจะหดตัว -8.1% จากเดิม -5.3%
ผลกระทบหลัก ๆ มาจากมูลค่าการส่งออกสินค้าปีนี้คาดจะหดตัว -10.3% มากกว่าเดิมที่คาดหดตัว -8.8% การบริโภคภาคเอกชนคาดจะหดตัว -3.6% ลงทุนภาคเอกชนหดตัว -13% จากเดิมคาด -4.3% และการลงทุนภาครัฐทรงตัวที่ 5.8%
นายดอน นาครทรรพ ผู้อำนวยการอาวุโสฝ่ายเศรษฐกิจมหภาค ธปท.กล่าวว่า จีดีพีที่คาดว่าจะหดตัว -8% ถือว่าต่ำสุดในประวัติศาสตร์ และรุนแรงกว่าวิกฤตต้มยำกุ้งปี 2540 ที่จีดีพีหดตัว -7.6% และในไตรมาส 2 ปีนี้มีโอกาสติดลบเป็นตัวเลข 2 หลัก เป็นไตรมาสที่หดตัวลึกสุดของปี หลังจากนั้น จะทยอยกลับฟื้นตัวอย่างช้า ๆ เป็นการติดลบที่น้อยลง และคาดว่าในปี 2564 เศรษฐกิจไทยจะกลับมาขยายตัวเป็นบวกอยู่ที่ 5% จากประมาณการเดิมขยายตัวอยู่ที่ 3%
ขณะที่กระทรวงพาณิชย์แถลงมูลค่าการส่งออกสินค้าไทยในเดือน พ.ค. 2563 หดตัว -22.5% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน นับเป็นการหดตัวลึกที่สุดในรอบกว่า 10 ปี ซึ่งเป็นผลจากมาตรการปิดเมืองของหลายประเทศทั่วโลก ส่งผลให้ 5 เดือนแรกส่งออกไทยหดตัว -3.7%
กนง.เหลือกระสุนลด ดบ.อีกแค่ 0.25%
ด้านศูนย์วิจัยเศรษฐกิจและธุรกิจ (EIC) ธนาคารไทยพาณิชย์ คาดการณ์ว่า กนง.จะคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ 0.5% ในช่วงที่เหลือของปีนี้ เพื่อรอประเมินแนวโน้มเศรษฐกิจหลังจากที่เริ่มส่งสัญญาณฟื้นตัวจากจุดต่ำสุดในไตรมาส 2 โดยประเมินว่าเศรษฐกิจไทยจะเริ่มกลับมาฟื้นตัวได้อย่างช้า ๆ ในไตรมาส 3 ตามสถานการณ์โควิด-19 ที่มีจำนวนผู้ติดเชื้อลดลงและเริ่มมีการเปิดเมืองมากขึ้น
นอกจากนี้ EIC ประเมินว่า กนง.เหลือขีดความสามารถในการปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายได้อีกอย่างมาก 1 ครั้ง (25 bps) เหลือ 0.25% หากเศรษฐกิจไทยมีแนวโน้มหดตัวมากกว่าที่ กนง.ประเมินไว้
หวั่นเศรษฐกิจฟุบลากยาวเกิน 2 ปี
นายสมประวิณ มันประเสริฐ ผู้บริหารสายงานวิจัยและหัวหน้าเศรษฐกิจ ธนาคารกรุงศรีอยุธยากล่าวว่า กรุงศรีจะมีการปรับประมาณการเศรษฐกิจลงอีก จากเดิมที่คาดไว้ -5% หลังจาก ธปท.ประเมินจีดีพีปีนี้หดตัว -8.1% อย่างไรก็ดี มองว่าความลึกของการหดตัวไม่น่ากลัว เมื่อเทียบกับการลากยาวของการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจ ซึ่งเดิมกรุงศรีคาดว่าเศรษฐกิจหลังโควิดจะใช้เวลาฟื้นตัวราว 2 ปีจึงจะกลับสู่ระดับปกติ อย่างไรก็ดีหลังธปท.ประเมินเศรษฐกิจลงแรงกว่าคาด จึงอาจจะต้องรอประเมินนโยบายการเงินและการคลังอีกครั้ง
หนุนรัฐขาดดุลพุ่ง “จำเป็น” ต้องอุ้มเศรษฐกิจ
ด้าน นายเชาว์ เก่งชน กรรมการผู้จัดการศูนย์วิจัยกสิกรไทย กล่าวว่า เศรษฐกิจไทยขณะนี้อยู่ในภาวะหดตัวแรงตามประมาณการของ ธปท. ขณะที่ไอเอ็มเอฟก็ปรับลดประมาณการเศรษฐกิจโลกหดตัว -4.9% ต่อปี มากกว่าที่คาดไว้เดิม นอกจากนี้ ไวรัสโควิด-19 ก็ยังมีการระบาดรอบ 2 โดยเฉพาะในสหรัฐ ดังนั้น ผลกระทบน่าจะเป็นระยะยาว มาตรการทางด้านการเงินการคลังจึงเป็นกลไกสำคัญที่ยังช่วยประคองเศรษฐกิจไม่ให้แย่ลงไป
“เมื่อเศรษฐกิจยังไม่กลับมาเป็นปกติ การจัดเก็บภาษี รายได้ต่าง ๆ ของรัฐบาลก็คงยังไม่กลับมา การขาดดุลงบประมาณก็จะสูง ซึ่งเป็นเรื่องที่คาดไว้อยู่แล้วว่าจะเกิดขึ้น เพราะการขาดดุลที่เพิ่มขึ้น สะท้อนว่าเราเจอสถานการณ์เศรษฐกิจที่ต่ำและยังไม่ฟื้นกลับมาจึงต้องมีการใช้จ่ายงบประมาณจำนวนมากเพื่อประคอง รัฐบาลยังไม่อยู่ในฐานะที่จะรัดเข็มขัดได้ เพราะถ้ารัดเข็มขัดเศรษฐกิจก็จะแย่ลง คนตกงานก็จะไม่ได้รับความช่วยเหลือ” นายเชาว์กล่าวและว่า
ดังนั้น ในแง่ฐานะการคลังก็คงต้องยอมให้หนี้สาธารณะต่อจีดีพีเพิ่มขึ้นไปเกินกรอบวินัยการเงินการคลัง หรือเกิน 60% ของจีดีพีได้เป็นการชั่วคราว แล้วเมื่อเศรษฐกิจเริ่มกลับมาปกติก็ค่อยทยอยลดการขาดดุลงบประมาณลงไป
ชี้ไม่มี “วัคซีน” เศรษฐกิจไม่ฟื้น
“ช่วงนี้รัฐบาลต้องช่วยประคองให้เศรษฐกิจประเทศผ่านจุดวิกฤตนี้ไปให้ได้ก่อน ซึ่งคิดว่ากว่าเศรษฐกิจจะกลับมาเป็นปกติได้อาจจะเป็นปี 2565 ในกรณีที่มีวัคซีนในปี 2564 สามารถแจกจ่ายให้ประชากรในประเทศได้ในวงกว้าง แต่หากไม่มีวัคซีนก็อาจจะไม่ฟื้นยาว เพราะเชื้อโรคจะกลับมา ซึ่งเราก็จะอยู่ในภาวะแบบนี้ไปเรื่อย ๆ จะเปิดการท่องเที่ยวก็ทำไม่ได้”
แม้ ธปท.จะประเมินว่าเศรษฐกิจปีหน้าจะขยายตัวได้ 5% ซึ่งตัวเลขดังกล่าวมาจากฐานที่ต่ำในปีนี้ แต่ในแง่การฟื้นตัวคงยังไม่เต็มที่เพราะกิจกรรมทางเศรษฐกิจจะยังไม่กลับมาเป็นปกติ หรือกลับมาเท่ากับช่วงไตรมาสสุดท้ายปี 2562
แนะปรับงบฯปี’64 เน้นเข้าระบบเร็ว
อย่างไรก็ดี ในจังหวะที่งบประมาณปี 2564 กำลังเข้าสู่การพิจารณาในสภาผู้แทนราษฎร นายเชาว์กล่าวว่า ภาคเอกชนมองว่า เมื่อต้องอยู่ในภาวะที่เศรษฐกิจโลกไม่แน่นอน เต็มไปด้วยความยากลำบาก เศรษฐกิจในประเทศก็ถูกกระทบ ดังนั้น รัฐบาลคงต้องเลือกรายจ่ายที่มีเม็ดเงินเข้าระบบให้เร็วที่สุด
“หากเป็นไปได้ก็อยากให้รัฐบาลเลือกใช้เงินกับโครงการที่เบิกจ่ายได้เร็วกว่า เพื่อให้มีเงินหมุนในระบบได้หลายรอบคือ เอาเศรษฐกิจให้รอดก่อน นี่คือโจทย์เฉพาะหน้า” นายเชาว์กล่าว