นายไพบูลย์ กิตติศรีกังวาน ผู้ช่วยผู้ว่าการสายนโยบายการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) แถลงว่า
คณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ได้เผยแพร่รายงานนโยบายการเงิน1 ฉบับแรกเดือนมกราคม 2556 โดยมี
วัตถุประสงค์เพื่อเสริมสร้างความเข้าใจของสาธารณชนเกี่ยวกับแนวทางการดำเนินนโยบายการเงินของ ธปท.
สาระสำคัญสรุปได้ดังนี้
1. ทิศทางเศรษฐกิจ
เศรษฐกิจไทยในช่วงครึ่งหลังของปี 2555 ขยายตัวได้ดีกว่าคาด จากอุปสงค์ภาคเอกชนที่มีแรงส่ง
ต่อเนื่องและไม่ได้รับผลกระทบมากนักจากการส่งออกที่ชะลอตัว การขยายตัวที่สูงกว่าคาดมาจากการลงทุนเพื่อ
ซ่อมสร้างที่มีต่อเนื่อง การลงทุนของผู้ประกอบการในช่วงปลายปีหลังรอดูความชัดเจนเกี่ยวกับสถานการณ์น้ำท่วม
รวมทั้งผลจากมาตรการรถคันแรกที่สูงกว่าที่ประเมินไว้ ส่งผลให้เศรษฐกิจไทยทั้งปี 2555 มีแนวโน้มขยายตัวได้
สูงกว่าประมาณการเดิมเล็กน้อย
คณะกรรมการฯ ประเมินว่าอุปสงค์ภาคเอกชนยังมีแนวโน้มขยายตัวได้ดีต่อเนื่องในระยะต่อไป
โดยเฉพาะการลงทุนมีแนวโน้มดีกว่าที่ประเมินไว้ครั้งก่อน จากการลงทุนของภาคธุรกิจเพื่อรองรับการขยายตัว
ของอุปสงค์ในประเทศ การลงทุนปรับโครงสร้างการผลิตเพื่อทดแทนแรงงาน รวมทั้งการขยายตลาดไปยังประเทศ
เพื่อนบ้าน โดยมีแรงสนับสนุนต่อเนื่องจากความเชื่อมั่นของภาคธุรกิจ ภาวะการเงินที่เอื้ออำนวย รวมทั้งการลงทุน
ภาครัฐที่คาดว่าจะช่วยกระตุ้นการลงทุนภาคเอกชนได้ส่วนหนึ่ง นอกจากนี้ การบริโภคภาคเอกชนยังมีแนวโน้มที่
จะเติบโตสูงกว่าระดับปกติต่อไปอีกระยะหนึ่ง จากผลต่อเนื่องของมาตรการรถคันแรกและการปรับโครงสร้าง
อัตราภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาที่จะเริ่มบังคับใช้ โดยรายได้ภาคครัวเรือน ความเชื่อมั่นผู้บริโภค ผลจากมาตรการ
กระตุ้นการบริโภคของภาครัฐ และภาวะการเงินที่ผ่อนคลาย จะช่วยรักษาแรงส่งของการบริโภคให้มีต่อเนื่อง
ในระยะต่อไป สำหรับภาคการส่งออกยังคงได้รับผลกระทบจากเศรษฐกิจโลก แต่คาดว่าได้ผ่านจุดต่ำสุดไปแล้ว
และเริ่มมีสัญญาณปรับดีขึ้นอย่างค่อยเป็นค่อยไป โดยการส่งออกสินค้าอุตสาหกรรมจะยังขยายตัวต่ำกว่าปกติ
ในช่วงครึ่งแรกของปี 2556 ก่อนจะปรับดีขึ้นในช่วงครึ่งปีหลังพร้อมกับอุปสงค์ในตลาดโลกที่จะทยอยปรับดีขึ้น
ส่วนภาคการท่องเที่ยวขยายตัวดีต่อเนื่อง
เศรษฐกิจโลกที่มีความเปราะบางยังเป็นปัจจัยเสี่ยงสำคัญต่อเศรษฐกิจไทย โดยยังมีแนวโน้มอ่อนแอจาก
เศรษฐกิจกลุ่มประเทศยูโรและญี่ปุ่น ขณะที่เศรษฐกิจสหรัฐฯ และจีนมีสัญญาณการปรับตัวที่ดีขึ้น ซึ่งจะช่วย
สนับสนุนให้เศรษฐกิจโลกฟื้นตัวเป็นลำดับ อย่างไรก็ดี ความเสี่ยงจากเศรษฐกิจโลกในกรณีเลวร้าย (Worse Case)
ปรับลดลงจากครั้งก่อน เนื่องจากความเสี่ยงที่กรีซจะต้องออกจากกลุ่มประเทศยูโรลดลง ประกอบกับการแก้ปัญหา
ทางการคลังในสหรัฐฯ มีความชัดเจนมากขึ้น
1 เปลี่ยนชื่อจากรายงานแนวโน้มเงินเฟ้อ ซึ่งใช้มาตั้งแต่ ธปท. เริ่มดำเนินนโยบายการเงินภายใต้กรอบเป้าหมายเงินเฟ้อแบบยืดหยุ่น
(Flexible Inflation Targeting) ในปี 2543
2. แรงกดดันเงินเฟ้อ
แรงกดดันเงินเฟ้อในภาพรวมมีแนวโน้มทรงตัวใกล้เคียงกับประมาณการครั้งก่อน แม้แรงกดดัน
ด้านอุปสงค์เพิ่มขึ้นเล็กน้อยตามเศรษฐกิจในประเทศที่ขยายตัวดีกว่าคาด แต่แรงกดดันด้านต้นทุนมีแนวโน้ม
ชะลอลงกว่าที่เคยประเมินไว้เดิม ส่วนหนึ่งจากราคาสินค้าโภคภัณฑ์ที่มิใช่เชื้อเพลิงในตลาดโลกที่ต่ำกว่าคาด
ในช่วงปลายปี 2555 ขณะที่ราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกมีแนวโน้มทรงตัวตลอดช่วงประมาณการ เนื่องจาก
ปัจจัยพื้นฐานทั้งด้านอุปสงค์และอุปทานยังอยู่ในระดับที่ค่อนข้างสมดุลไม่ต่างจากครั้งก่อน
3. ประมาณการเศรษฐกิจและเงินเฟ้อ
คณะกรรมการฯ ประเมินว่าเศรษฐกิจไทยในปี2556 จะขยายตัวได้ดีกว่าที่ประเมินไว้เดิม จากการใช้จ่าย
ในประเทศที่มีแรงสนับสนุนที่ดีต่อเนื่องจากปี 2555ส่วนภาคการส่งออกคาดว่าจะทยอยฟื้นตัวจนกลับมามี
บทบาทต่อการขยายตัวทางเศรษฐกิจมากขึ้นตั้งแต่ช่วงครึ่งหลังของปี 2556 เป็นต้นไป ซึ่งจะช่วยรักษาแรงส่ง
ของเศรษฐกิจไทยให้มีต่อเนื่องหลังจากที่มาตรการภาครัฐบางส่วนสิ้นสุดลง ทั้งนี้ คณะกรรมการฯ ประเมินว่า
ความเสี่ยงด้านต่ำจากเศรษฐกิจโลกแม้จะลดลงแต่ยังอยู่ในระดับสูง แผนภาพรูปพัด (Fan Chart) ของประมาณ
การเศรษฐกิจไทยจึงยังคงเบ้ลงแต่ในขนาดที่ต่ำกว่าครั้งก่อนขณะเดียวกัน คณะกรรมการฯ คงประมาณการอัตราเงินเฟ้อในปี
2556 และประเมินว่าอัตราเงินเฟ้อจะทรงตัวต่อเนื่องในปี 2557 สำหรับความเสี่ยงต่อเงินเฟ้อในระยะข้างหน้าคาดว่าจะกลับมาสมดุล
จากเดิมที่ให้โน้มไปทางด้านต่ำ เนื่องจากความเสี่ยงด้านต่ำจากเศรษฐกิจในประเทศลดลงจากครั้งก่อน แผนภาพรูปพัด
(Fan Chart) ของประมาณการอัตราเงินเฟ้อจึงปรับจากเบ้ลงเป็นสมดุล
4. การดำเนินนโยบายการเงิน
ในการประชุมเมื่อวันที่ 28 พฤศจิกายน 2555 คณะกรรมการฯ ประเมินว่าเศรษฐกิจโลกมีเสถียรภาพและ
มีแนวโน้มดีขึ้น ขณะที่เศรษฐกิจไทยขยายตัวได้ดีโดยอาศัยแรงส่งจากอุปสงค์ในประเทศ กอปรกับผลกระทบจาก
เศรษฐกิจโลกยังจำกัดอยู่เฉพาะในภาคเศรษฐกิจที่เกี่ยวข้องกับการส่งออกสินค้าเท่านั้น คณะกรรมการฯ เห็นว่า
ในภาวะที่ความเสี่ยงด้านการขยายตัวทางเศรษฐกิจลดลง ขณะที่แรงกดดันเงินเฟ้อยังทรงตัวอยู่ในระดับต่ำ
อัตราดอกเบี้ยนโยบายในปัจจุบันยังอยู่ในระดับผ่อนปรนและเหมาะสมต่อการเติบโตของเศรษฐกิจ จึงมีมติเป็น
เอกฉันท์ให้คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ร้อยละ 2.75 ต่อปี และพร้อมจะดำเนินนโยบายที่เหมาะสมตาม
ความจำเป็นต่อไป
ต่อมาในการประชุมเมื่อวันที่ 9 มกราคม 2556 คณะกรรมการฯ ประเมินว่าเศรษฐกิจโลกในภาพรวม
ฟื้นตัวอย่างค่อยเป็นค่อยไปตามที่คาดไว้และมีสัญญาณดีขึ้นจากการประชุมครั้งก่อน โดยความเสี่ยงที่เศรษฐกิจโลก
จะถดถอยมีน้อยลง ขณะที่เศรษฐกิจไทยมีแนวโน้มขยายตัวได้สูงกว่าที่เคยคาดไว้ทั้งในปี 2555 และ 2556 โดยมี
อุปสงค์ภาคเอกชนเป็นแรงขับเคลื่อนสำคัญและเริ่มเห็นสัญญาณการฟื้นตัวของภาคการส่งออกในวงกว้าง
สรุปผลประมาณการ
ร้อยละต่อปี 2555 2556 2557
อัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจ 5.9 4.9 4.8
(5.7) (4.6)
อัตราเงินเฟ้อทั่วไป 3.0* 2.8 2.6
(3.0) (2.8)
อัตราเงินเฟ้อพื้นฐาน 2.1* 1.7 1.6
(2.1) (1.7)
หมายเหตุ: * ข้อมูลจริง
( ) รายงานแนวโน้มเงินเฟ้อฉบับตุลาคม 2555
ที่มา: สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
และประมาณการโดยธนาคารแห่งประเทศไทย
ส่วนแรงกดดันเงินเฟ้อยังทรงตัวใกล้เคียงกับการประชุมครั้งก่อน แต่ต้องติดตามผลกระทบจากการปรับขึ้นค่าจ้าง
แรงงานขั้นต่ำเพิ่มเติมในรอบที่สอง คณะกรรมการฯ เห็นว่า ภายใต้ภาวะที่เศรษฐกิจโลกยังมีความไม่แน่นอนและ
แนวโน้มอัตราเงินเฟ้อยังอยู่ในกรอบเป้าหมาย การคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายในระดับปัจจุบันยังเป็นนโยบายที่
เหมาะสมในการสนับสนุนเศรษฐกิจ จึงมีมติเป็นเอกฉันท์ให้คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ร้อยละ 2.75 ต่อปี โดยที่
ยังต้องติดตามความเสี่ยงด้านเสถียรภาพการเงินที่อาจเกิดขึ้นจากการเร่งตัวของสินเชื่อและหนี้ภาคครัวเรือน
รวมทั้งความผันผวนของเงินทุนเคลื่อนย้ายอย่างใกล้ชิดต่อไป
ธนาคารแห่งประเทศไทย
18 มกราคม 2556
ข้อมูลเพิ่มเติม: บดินทร์ ศิวิลัย โทร. 0 2356 7876 E-mail: bodinc@bot.or.th
แถลงการณ์ ธนาคารแห่งประเทศไทย
คณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ได้เผยแพร่รายงานนโยบายการเงิน1 ฉบับแรกเดือนมกราคม 2556 โดยมี
วัตถุประสงค์เพื่อเสริมสร้างความเข้าใจของสาธารณชนเกี่ยวกับแนวทางการดำเนินนโยบายการเงินของ ธปท.
สาระสำคัญสรุปได้ดังนี้
1. ทิศทางเศรษฐกิจ
เศรษฐกิจไทยในช่วงครึ่งหลังของปี 2555 ขยายตัวได้ดีกว่าคาด จากอุปสงค์ภาคเอกชนที่มีแรงส่ง
ต่อเนื่องและไม่ได้รับผลกระทบมากนักจากการส่งออกที่ชะลอตัว การขยายตัวที่สูงกว่าคาดมาจากการลงทุนเพื่อ
ซ่อมสร้างที่มีต่อเนื่อง การลงทุนของผู้ประกอบการในช่วงปลายปีหลังรอดูความชัดเจนเกี่ยวกับสถานการณ์น้ำท่วม
รวมทั้งผลจากมาตรการรถคันแรกที่สูงกว่าที่ประเมินไว้ ส่งผลให้เศรษฐกิจไทยทั้งปี 2555 มีแนวโน้มขยายตัวได้
สูงกว่าประมาณการเดิมเล็กน้อย
คณะกรรมการฯ ประเมินว่าอุปสงค์ภาคเอกชนยังมีแนวโน้มขยายตัวได้ดีต่อเนื่องในระยะต่อไป
โดยเฉพาะการลงทุนมีแนวโน้มดีกว่าที่ประเมินไว้ครั้งก่อน จากการลงทุนของภาคธุรกิจเพื่อรองรับการขยายตัว
ของอุปสงค์ในประเทศ การลงทุนปรับโครงสร้างการผลิตเพื่อทดแทนแรงงาน รวมทั้งการขยายตลาดไปยังประเทศ
เพื่อนบ้าน โดยมีแรงสนับสนุนต่อเนื่องจากความเชื่อมั่นของภาคธุรกิจ ภาวะการเงินที่เอื้ออำนวย รวมทั้งการลงทุน
ภาครัฐที่คาดว่าจะช่วยกระตุ้นการลงทุนภาคเอกชนได้ส่วนหนึ่ง นอกจากนี้ การบริโภคภาคเอกชนยังมีแนวโน้มที่
จะเติบโตสูงกว่าระดับปกติต่อไปอีกระยะหนึ่ง จากผลต่อเนื่องของมาตรการรถคันแรกและการปรับโครงสร้าง
อัตราภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาที่จะเริ่มบังคับใช้ โดยรายได้ภาคครัวเรือน ความเชื่อมั่นผู้บริโภค ผลจากมาตรการ
กระตุ้นการบริโภคของภาครัฐ และภาวะการเงินที่ผ่อนคลาย จะช่วยรักษาแรงส่งของการบริโภคให้มีต่อเนื่อง
ในระยะต่อไป สำหรับภาคการส่งออกยังคงได้รับผลกระทบจากเศรษฐกิจโลก แต่คาดว่าได้ผ่านจุดต่ำสุดไปแล้ว
และเริ่มมีสัญญาณปรับดีขึ้นอย่างค่อยเป็นค่อยไป โดยการส่งออกสินค้าอุตสาหกรรมจะยังขยายตัวต่ำกว่าปกติ
ในช่วงครึ่งแรกของปี 2556 ก่อนจะปรับดีขึ้นในช่วงครึ่งปีหลังพร้อมกับอุปสงค์ในตลาดโลกที่จะทยอยปรับดีขึ้น
ส่วนภาคการท่องเที่ยวขยายตัวดีต่อเนื่อง
เศรษฐกิจโลกที่มีความเปราะบางยังเป็นปัจจัยเสี่ยงสำคัญต่อเศรษฐกิจไทย โดยยังมีแนวโน้มอ่อนแอจาก
เศรษฐกิจกลุ่มประเทศยูโรและญี่ปุ่น ขณะที่เศรษฐกิจสหรัฐฯ และจีนมีสัญญาณการปรับตัวที่ดีขึ้น ซึ่งจะช่วย
สนับสนุนให้เศรษฐกิจโลกฟื้นตัวเป็นลำดับ อย่างไรก็ดี ความเสี่ยงจากเศรษฐกิจโลกในกรณีเลวร้าย (Worse Case)
ปรับลดลงจากครั้งก่อน เนื่องจากความเสี่ยงที่กรีซจะต้องออกจากกลุ่มประเทศยูโรลดลง ประกอบกับการแก้ปัญหา
ทางการคลังในสหรัฐฯ มีความชัดเจนมากขึ้น
1 เปลี่ยนชื่อจากรายงานแนวโน้มเงินเฟ้อ ซึ่งใช้มาตั้งแต่ ธปท. เริ่มดำเนินนโยบายการเงินภายใต้กรอบเป้าหมายเงินเฟ้อแบบยืดหยุ่น
(Flexible Inflation Targeting) ในปี 2543
2. แรงกดดันเงินเฟ้อ
แรงกดดันเงินเฟ้อในภาพรวมมีแนวโน้มทรงตัวใกล้เคียงกับประมาณการครั้งก่อน แม้แรงกดดัน
ด้านอุปสงค์เพิ่มขึ้นเล็กน้อยตามเศรษฐกิจในประเทศที่ขยายตัวดีกว่าคาด แต่แรงกดดันด้านต้นทุนมีแนวโน้ม
ชะลอลงกว่าที่เคยประเมินไว้เดิม ส่วนหนึ่งจากราคาสินค้าโภคภัณฑ์ที่มิใช่เชื้อเพลิงในตลาดโลกที่ต่ำกว่าคาด
ในช่วงปลายปี 2555 ขณะที่ราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกมีแนวโน้มทรงตัวตลอดช่วงประมาณการ เนื่องจาก
ปัจจัยพื้นฐานทั้งด้านอุปสงค์และอุปทานยังอยู่ในระดับที่ค่อนข้างสมดุลไม่ต่างจากครั้งก่อน
3. ประมาณการเศรษฐกิจและเงินเฟ้อ
คณะกรรมการฯ ประเมินว่าเศรษฐกิจไทยในปี2556 จะขยายตัวได้ดีกว่าที่ประเมินไว้เดิม จากการใช้จ่าย
ในประเทศที่มีแรงสนับสนุนที่ดีต่อเนื่องจากปี 2555ส่วนภาคการส่งออกคาดว่าจะทยอยฟื้นตัวจนกลับมามี
บทบาทต่อการขยายตัวทางเศรษฐกิจมากขึ้นตั้งแต่ช่วงครึ่งหลังของปี 2556 เป็นต้นไป ซึ่งจะช่วยรักษาแรงส่ง
ของเศรษฐกิจไทยให้มีต่อเนื่องหลังจากที่มาตรการภาครัฐบางส่วนสิ้นสุดลง ทั้งนี้ คณะกรรมการฯ ประเมินว่า
ความเสี่ยงด้านต่ำจากเศรษฐกิจโลกแม้จะลดลงแต่ยังอยู่ในระดับสูง แผนภาพรูปพัด (Fan Chart) ของประมาณ
การเศรษฐกิจไทยจึงยังคงเบ้ลงแต่ในขนาดที่ต่ำกว่าครั้งก่อนขณะเดียวกัน คณะกรรมการฯ คงประมาณการอัตราเงินเฟ้อในปี
2556 และประเมินว่าอัตราเงินเฟ้อจะทรงตัวต่อเนื่องในปี 2557 สำหรับความเสี่ยงต่อเงินเฟ้อในระยะข้างหน้าคาดว่าจะกลับมาสมดุล
จากเดิมที่ให้โน้มไปทางด้านต่ำ เนื่องจากความเสี่ยงด้านต่ำจากเศรษฐกิจในประเทศลดลงจากครั้งก่อน แผนภาพรูปพัด
(Fan Chart) ของประมาณการอัตราเงินเฟ้อจึงปรับจากเบ้ลงเป็นสมดุล
4. การดำเนินนโยบายการเงิน
ในการประชุมเมื่อวันที่ 28 พฤศจิกายน 2555 คณะกรรมการฯ ประเมินว่าเศรษฐกิจโลกมีเสถียรภาพและ
มีแนวโน้มดีขึ้น ขณะที่เศรษฐกิจไทยขยายตัวได้ดีโดยอาศัยแรงส่งจากอุปสงค์ในประเทศ กอปรกับผลกระทบจาก
เศรษฐกิจโลกยังจำกัดอยู่เฉพาะในภาคเศรษฐกิจที่เกี่ยวข้องกับการส่งออกสินค้าเท่านั้น คณะกรรมการฯ เห็นว่า
ในภาวะที่ความเสี่ยงด้านการขยายตัวทางเศรษฐกิจลดลง ขณะที่แรงกดดันเงินเฟ้อยังทรงตัวอยู่ในระดับต่ำ
อัตราดอกเบี้ยนโยบายในปัจจุบันยังอยู่ในระดับผ่อนปรนและเหมาะสมต่อการเติบโตของเศรษฐกิจ จึงมีมติเป็น
เอกฉันท์ให้คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ร้อยละ 2.75 ต่อปี และพร้อมจะดำเนินนโยบายที่เหมาะสมตาม
ความจำเป็นต่อไป
ต่อมาในการประชุมเมื่อวันที่ 9 มกราคม 2556 คณะกรรมการฯ ประเมินว่าเศรษฐกิจโลกในภาพรวม
ฟื้นตัวอย่างค่อยเป็นค่อยไปตามที่คาดไว้และมีสัญญาณดีขึ้นจากการประชุมครั้งก่อน โดยความเสี่ยงที่เศรษฐกิจโลก
จะถดถอยมีน้อยลง ขณะที่เศรษฐกิจไทยมีแนวโน้มขยายตัวได้สูงกว่าที่เคยคาดไว้ทั้งในปี 2555 และ 2556 โดยมี
อุปสงค์ภาคเอกชนเป็นแรงขับเคลื่อนสำคัญและเริ่มเห็นสัญญาณการฟื้นตัวของภาคการส่งออกในวงกว้าง
สรุปผลประมาณการ
ร้อยละต่อปี 2555 2556 2557
อัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจ 5.9 4.9 4.8
(5.7) (4.6)
อัตราเงินเฟ้อทั่วไป 3.0* 2.8 2.6
(3.0) (2.8)
อัตราเงินเฟ้อพื้นฐาน 2.1* 1.7 1.6
(2.1) (1.7)
หมายเหตุ: * ข้อมูลจริง
( ) รายงานแนวโน้มเงินเฟ้อฉบับตุลาคม 2555
ที่มา: สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
และประมาณการโดยธนาคารแห่งประเทศไทย
ส่วนแรงกดดันเงินเฟ้อยังทรงตัวใกล้เคียงกับการประชุมครั้งก่อน แต่ต้องติดตามผลกระทบจากการปรับขึ้นค่าจ้าง
แรงงานขั้นต่ำเพิ่มเติมในรอบที่สอง คณะกรรมการฯ เห็นว่า ภายใต้ภาวะที่เศรษฐกิจโลกยังมีความไม่แน่นอนและ
แนวโน้มอัตราเงินเฟ้อยังอยู่ในกรอบเป้าหมาย การคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายในระดับปัจจุบันยังเป็นนโยบายที่
เหมาะสมในการสนับสนุนเศรษฐกิจ จึงมีมติเป็นเอกฉันท์ให้คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ร้อยละ 2.75 ต่อปี โดยที่
ยังต้องติดตามความเสี่ยงด้านเสถียรภาพการเงินที่อาจเกิดขึ้นจากการเร่งตัวของสินเชื่อและหนี้ภาคครัวเรือน
รวมทั้งความผันผวนของเงินทุนเคลื่อนย้ายอย่างใกล้ชิดต่อไป
ธนาคารแห่งประเทศไทย
18 มกราคม 2556
ข้อมูลเพิ่มเติม: บดินทร์ ศิวิลัย โทร. 0 2356 7876 E-mail: bodinc@bot.or.th