ขั้นตอนกู้ซื้อคอนโดมือสอง และการเตรียมเอกสาร

สิ่งสำคัญในการซื้อบ้านมือสอง นอกจากเช็กสภาพห้องแล้ว ยังต้องเช็กประวัติผู้ขาย รวมถึงเหตุผลในการขายด้วย
การมีสัญญาซื้อ-ขาย บ้านและคอนโด จะช่วยลดความเสี่ยงในขั้นตอนการซื้อขาย
ดังนั้นการเปลี่ยนมือเจ้าของของคอนโดมือสองจึงเป็นเรื่องที่มีรายละเอียดเยอะพอสมควร สำหรับคนที่กำลังมองหาคอนโดบนทำเลดีดีที่สร้างเสร็จพร้อมอยู่ จึงต้องทำการศึกษาให้ดีเพื่อป้องกันความผิดพลาดที่จะเกิดขึ้นภายหลัง

ขั้นตอนในการซื้อขายคอนโดมือสอง สิ่งที่ควรศึกษานอกจากการตรวจเช็คสภาพห้องก็คือเรื่องของเอกสารสำคัญต่างๆ ซึ่งปกติแล้วการซื้อขายคอนโดมือสองจะมีการทำสัญญาจะซื้อจะขายไว้ก่อนจะทำการตกลงซื้อขายจริง ซึ่งภายในสัญญาส่วนใหญ่จะเป็นรายละเอียดเกี่ยวกับระยะเวลาในการซื้อขาย การวางมัดจำ และข้อตกลงระหว่างผู้ซื้อผู้ขายที่ระบุวันเวลาชัดเจน เพื่อให้ผู้ขายไม่มีสิทธิ์ที่จะนำคอนโดไปขายให้ผู้อื่นในช่วงเวลาที่ผู้ซื้อทำการกู้เงินกับสถาบันทางการเงิน ส่วนใหญ่จะกำหนดเวลาอยู่ที่ประมาณ 1-3 เดือน
ทั้งนี้สำหรับใครที่ไม่ได้ใช้เงินสดในการซื้อคอนโดมือสอง ก็จำเป็นจะต้องยื่นเรื่องขอกู้สินเชื่อที่อยู่อาศัยกับสถาบันทางการเงิน ซึ่งต้องใช้เอกสารประกอบการขอสินเชื่อเยอะพอสมควรไม่ว่าจะเป็น
-สำเนาบัตรประชาชน
-สำเนาทะเบียนบ้าน
-บัตรประชาชนของผู้จะขาย
-สำเนาทะเบียนบ้านของผู้จะขาย
-สำเนาโฉนดห้อง
-หนังสือรับรองเงินเดือนที่ขอกับทางบริษัท
-สลิปเงินเดือน 3 เดือนย้อนหลัง
-สัญญาจะซื้อจะขาย

คุณจขกท. สามารถศึกษารายละเอียดเรื่องเอกสารอีกครั้งได้ที่ "เตรียมเอกสารให้พร้อม ขอสินเชื่อบ้านไม่ยาก" : https://www.ddproperty.com/คู่มือซื้อขาย/เตรียมเอกสารให้พร้อม-ขอสินเชื่อบ้านไม่ยาก-4363

จากนั้นเมื่อเรายื่นเรื่องขอสินเชื่อแล้ว สถาบันทางการเงินจะติดต่อกลับมาทางผู้กู้เพื่อจะทำการประเมินราคาคอนโดที่เราจะซื้อ และรอผลอนุมัติ โดยส่วนใหญ่จะมีระยะเวลาไม่เกิน 1 เดือน โดยเมื่อสถาบันทางการเงินแจ้งผลอนุมัติแล้วผู้กู้ต้องแจ้งกับผู้จะขายด้วย เพื่อผู้จะขายจะได้ดำเนินการปลดหนี้กับทางสถาบันทางการเงินที่ผู้จะซื้อได้ขอสินเชื่อเพื่อซื้อคอนโดที่จะขายนั้นไว้

เมื่อผลการกู้ผ่าน และผู้จะขายได้มีการดำเนินการปลดสินเชื่อที่อยู่อาศัยเดิมแล้ว ก็มาถึงเรื่องของการโอนกรรมสิทธิ์ และมอบกุญแจของคอนโดมือสองที่กำลังจะเปลี่ยนเจ้าของ ซึ่งจะมีขั้นตอน ดังนี้

ตามสัญญาจะซื้อจะขาย หากมีการกำหนดวันนัดโอน เมื่อถึงวันนั้น ให้เดินทางไปที่กรมที่ดินเขตที่ผู้จะซื้อนัดกับผู้จะขายนัดไว้ โดยทั้งนี้จะมีเจ้าหน้าที่จากสถาบันทางการเงินที่เราไปขอสินเชื่อไว้เอาเอกสารทางการเงินมาให้เราลงนาม ส่วนทางฝั่งผู้จะขายก็จะมีเจ้าหน้าที่จากสถาบันทางการเงินที่ผู้จะขายเคยขอสินเชื่อไว้นำเอกสารทางการเงินมาให้ลงนามเช่นกัน

"รู้จักสัญญาจะซื้อจะขายคอนโด" : https://www.ddproperty.com/คู่มือซื้อขาย/รู้จักสัญญาจะซื้อจะขายคอนโด-4326

จากนั้นเจ้าหน้าที่จากกรมที่ดินจะเรียกให้ผู้จะซื้อไปลงนามในเอกสารสำคัญ และเจ้าหน้าที่ธนาคารฝั่งผู้ที่จะขายจำนะโฉนดฉบับจริงมาให้เจ้าหน้าที่กรมที่ดินไปเปลี่ยนชื่อโฉนดห้องชุดคอนโดมือสองนั้นให้เป็นชื่อของผู้ซื้อ ซึ่งในขั้นตอนนี้ผู้จะขายจำเป็นต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะ รวมไปถึงค่าธรรมเนียมการโอน ค่าอากรต่างๆ ตามที่กฎหมายกำหนด

"รู้เรื่องค่าธรรมเนียมและภาษี ซื้อขายอสังหาฯ ได้ไม่ยาก" : https://www.ddproperty.com/คู่มือซื้อขาย/ค่าธรรมเนียม-ภาษี-ซื้อขายบ้าน-คอนโด-4268

หลังจากที่มีการลงนามการโอนกรรมสิทธิ์กันเรียบร้อยแล้ว เจ้าหน้าที่ธนาคารฝั่งผู้ที่จะซื้อจะเป็นคนนำเช็คสินเชื่อที่ผู้จะซื้อกู้ผ่านไปให้กับเจ้าหน้าที่ของสถาบันทางการเงินฝั่งของผู้จะขาย ซึ่งถือเป็นการจ่ายเงินเพื่อซื้อขายคอนโดกันเรียบร้อย ซึ่งผู้จะซื้อจะได้รับเอกสารสำคัญหลังจากการโอนกรรมสิทธิ์และชำระเงินเรียบร้อย คือ

-สัญญาซื้อขาย (ธนาคารเราจะเก็บสำเนาไว้ 1 ชุด)
-สำเนาโฉนดห้อง (ธนาคารจะเก็บตัวจริงไป)
-กุญแจห้อง หรือ คีย์การ์ดที่ผู้ขายมอบให้กับผู้ซื้อ

ทั้งนี้สำหรับคนที่กำลังคิดจะซื้อคอนโดมือสอง นอกจากเรื่องของเอกสารสำคัญต่างๆ แล้ว สิ่งสำคัญที่ผู้ซื้อจะต้องตรวจสอบอันดับแรกก่อนทำการซื้อขายนอกเหนือจากการเช็คสภาพห้องก็คือเรื่องของความเสี่ยงในการซื้อคอนโดมือสอง เนื่องจากการโอนกรรมสิทธิ์ไม่ได้โอนกับทางคอนโดโดยตรง แต่จะเปลี่ยนเป็นการทำสัญญากันระหว่างผู้ซื้อและผู้ขาย

ดังนั้นสิ่งสำคัญคือความน่าเชื่อถือของผู้ขาย ผู้ซื้อควรตรวจสอบประวัติ เอกสารสำคัญ โฉนดคอนโดว่าตรงตามชื่อจริง (สามารถนำโฉนดไปตรวจสอบได้กับกรมที่ดิน) หรือ เคยขายคอนโดมือสองมาก่อนหรือไม่ รวมไปถึงเหตุผลในการขาย เพราะหากไม่ตรวจเช็คให้ดีผู้ที่ซื้อคอนโดมือสองไปอาจเจอแจ็กพ็อตได้ห้องชุดไม่สมประกอบมาก็เป็นได้

ที่มา : https://www.ddproperty.com/คู่มือซื้อขาย/เตรียมตัวซื้อคอนโดมือสอง-6781
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่