พ่อค้า แม่ค้าจ๋า นมข้นหวานเขาคำนวณต้นทุนด้วยน้ำหนัก ไม่ใช่ปริมาณนะ ผมแปลงหน่วยมาให้แล้ว สามารถใช้เป็นแนวทางได้เลย

กระทู้สนทนา
ากที่ผมต้องทำเครื่องดื่มบ่อยๆ  ใครก็รู้ว่าผมทำชาเย็น 555 ...และต้องคำนวณราคาของนมข้นหวาน  
จนไปค้นเจอกระทู้เก่าของพันทิปเมื่อหลายปีก่อน  และไปเจอคำตอบในเวปไซต์ต่างประเทศ 
เลยนำมาแชร์เป็นแนวทางครับ  (เพราะยังมีคำตอบจากหลายคน หรือจากคนที่เรียกตัวเองว่าอาจารย์ สอนกันผิดๆ ตอบกันผิดๆ อยู่)
.
เรื่องนี้ คงเป็นที่ปวดหัวของเพื่อนๆ หลายคนใช่ไหมครับ โดยเฉพาะพ่อค้าแม่ขาย ที่ต้องคำนวณต้นทุนเป๊ะๆ อย่างถูกต้อง เพื่อจะได้ตั้งราคาขายให้เหมาะสม ไม่เข้าเนื้อ ไม่ขาดทุน
.
หลายคนอาจจะรู้แล้ว .. แต่ก็มีอีกไม่น้อยที่ยังไม่รู้ #แถมบางคนไปรู้แนวทางผิดๆมาอีก อาจารย์บางท่านว่า ไม่เป็นไรหรอก มันก็เหมือนๆ กัน .. หรือบางท่านก็ว่า มันต่างกันนิดหน่อย อย่าซีเรียส
.
ถ้าคำนวณราคา เฉลี่ยที่ใช้ "ต่อแก้ว" ผมไม่เถียงครับ มันต่างกันไม่ถึง 50 สตางค์/แก้ว แต่ถ้าต้องใช้เยอะๆ หรือขายต่อวันเป็นร้อยแก้ว หรือชงทีละเยอะๆ ทำเบรค ..ใส่ขวดขาย อันนี้เป็นเรื่องที่ #ไม่ควรมองข้าม
.
นมข้นหวานในท้องตลาดบ้านเรา ไม่ว่าจะมาเป็นถุง หรือมาเป็นกระป๋อง ทุกยี่ห้อ เขาจะบอกมาเป็นน้ำหนัก #ไม่ใช่ปริมาตร อย่างที่หลายคนเข้าใจผิด .. แต่เวลาที่เราทำเครื่องดื่ม เราตวงนมข้นหวานโดยปริมาตรใช่ไหมครับ โดยเฉพาะหน่วย "มิลลิลิตร" หรือ "ออนซ์"
.
ฉะนั้นตอนคำนวณต้นทุนจะคำนวณโดยน้ำหนักไม่ได้
.
เพราะนมข้นหวาน 2,000 กรัม ไม่เท่ากับ 2,000 มิลลิลิตร
มันไม่เหมือนน้ำ มันมีความเข้มข้นและน้ำหนักที่แตกต่างครับ
.
อ้าว !! แล้วจะคิดยังไง ต้องลองเทดูงั้นหรือ
ถ้าซื้อมา 1 กระป๋อง ขนาด 380 กรัม เราอาจจะนำมาเทใส่แก้วตวง แล้วดูปริมาตร มันก็ไม่ยากครับ แต่ถ้าถุง 2 กิโลกรัม จะให้มาเททั้งหมดคงยาก
.
ผมไปแปลงค่าสูตรมาให้เพื่อนๆ แล้วครับ จากเวป convert-to.com
หรือเพื่อนๆ จะนำไปแปลงค่าเองก็ได้นะครับ โดยใช้คำค้นว่า Condensed Milk มาดูกันครับ (ดูหน่วยอ้างอิงจากในภาพที่ผมแนบมาได้เลยนะครับ)
.
นมข้นหวาน ขนาด 2 กก. (ถุง) = 1,546.33 มล.
นมข้นหวาน ขนาด 505 กรัม (กระป๋องใหญ่) = 390.45 มล.
นมข้นหวาน ขนาด 380 กรัม (กระป๋องเล็ก) = 293.80 มล.
.
ฉะนั้น เครื่องดื่ม 1 แก้ว หากเราใช้นมข้นหวาน 30 มล.
ถ้าเราคำนวณ โดยใช้ราคาแบบถุง 2,000 กรัม ราคา 105 บาท
แบบใช้หน่วยที่ไม่แปลงค่า
คือ (30 มล. x 105 บาท) / 2,000 กรัม = 1.575 บาท/30 มล.
.
แต่ถ้าแปลงค่าแล้ว คือ 1,546 มล.
คือ (30 มล. x 105 บาท) / 1,546 มล. = 2.037 บาท/30 มล.
.
เห็นไหมครับว่า ค่าต่างกัน 0.462 บาท ต่อแก้ว
ถ้าขายวันละ 100 แก้ว ค่าจะคลาดเคลื่อนไป 46.2 บาท
และขายแบบนี้ทุกวัน 30 วัน ค่าจะคลาดเคลื่อนไป 1,386 บาท
(ที่เราบอกว่า ไม่เป็นไรหรอก ต่างกันนิดเดียว) เห็นอะไรไหมครับ..ถ้าขายได้น้อยกว่านี้ไม่เป็นไร แต่ถ้ามากกว่านี้ล่ะ ???
.
ฉะนั้น อยากฝากไว้ครับ การทำธุรกิจ ละเอียดใส่ใจกับเรื่องพวกนี้ด้วยครับ หรือถ้าจะบอกว่าไม่เป็นไร .. ก็ต้องทำให้เห็นแนวทางที่ถูกต้องด้วยครับ อย่าแนะนำกันแบบผิดๆ เลยตามเลย
.
เรื่องนี้ไม่ใช่เรื่องหยุมหยิม นะครับ แต่เป็นเรื่องที่ทุกคน ต้องรู้ ต้องเข้าใจให้ถูกต้องก่อน ส่วนใครจะนำไปใช้มากน้อยขนาดไหน นั่นเป็นอีกเรื่องครับ #อร่อยกับบอย //  midori_illusion

แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่