เมื่อเข้าสู่ปี 1996 N64 ก็พร้อมที่จะลงสนามและออกวางจำหน่ายครั้งแรกในเดือนกรกฎาคมที่ญี่ปุ่นปีเดียวกัน
ปีนั้น ps มีเกมออกใหม่ที่ตลาดญี่ปุ่นทั้งสิ้น 263 เกม และ 186 เกมที่อเมริกา โดย ps ได้เกมใหม่ที่โดดเด่นและเป็นที่รู้จักจนถึงปัจจุบัน เช่น
Biohazard หรือ Resident Evil ซีรี่ย์ เกมที่กลายเป็นต้นแบบของเกมแนว survival horror ยุคใหม่รวมถึงเป็นแม่แบบแนวทางของหลาย ๆ เกมดังที่เกิดหลังจากนี้
Persona ซีรีย์ ภาคแรกของ Persona ที่แตกย่อยออกมาจากซีรี่ย์ Megami Tensei ซึ่งปัจจุบันดูเหมือนจะดังกว่าภาคหลักเสียแล้ว
Rock man 8 หรือ Mega man 8 ภาคต่อของเกมซีรี่ย์ดังของ Capcom และเป็น Rockman ภาคแรกที่ก้าวเข้าสู่ยุค 32Bit
รวมถึงภาคต่อของเกมต่อสู้ชื่อดังอย่าง Tekken 2 ที่ระบบเกมเริ่มเข้าที่เข้าทางมากขึ้นแล้ว
ขณะที่ Saturn มีเกมออกใหม่วางจำหน่ายที่ญี่ปุ่นมากถึง 305 เกมซึ่งมากกว่า ps 43 เกม แต่ที่อเมริกากลับมีเกมออกเพียง 119 เกม โดยมีเกมที่โดดเด่นเช่น
Panzer Dragoon II Zwei ภาคต่อขอเกมขี่มังกรที่โด่งดัง
Street Fighter Alpha และ Street Fighter Alpha 2
Guardian Heroes เกมแนวแอคชั่นลุยด่านที่ผสมความเป็น RPG เข้าไปด้วย ทำให้ทุกการตัดสินใจและการกระทำมีผลต่อฉากจบ
โดยสาเหตุที่เกมในอเมริกามีน้อยเนื่องจากบริษัทผู้ผลิตเกมในอเมริกาปฏิเสธที่จะสร้างผลงานลง Saturn ด้วย 2 สาเหตุหลักคือ การพัฒนาเกมบน Saturn ยาก และ Saturn ไม่ได้เป็นที่นิยมเหมือนเมื่อก่อนอีกต่อไป ถ้าหากนับเฉพาะเกมที่วางตลาดแค่ที่อเมริกาแล้ว Saturn มีเกมออกใหม่และวางจำหน่ายในปี 1996 เพียง 21 เกมขณะที่ ps มีถึง 91 เกม
ส่วนเกมที่ออกในญี่ปุ่นนั้น เมื่อตรวจสอบรายชื่อเกมจะพบข้อสังเกตว่าเริ่มมีเกมที่มีเนื้อหาสำหรับผู้ใหญ่หรือแนว Adventure แบบญี่ปุ่นที่เป็นเกม 18+ และเคยลง PC มาก่อน ปรับเนื้อหาแล้วมาลงเครื่อง Saturn
ซึ่งนี่ไม่ใช่สัญญาณที่ดี
ในยุคนั้นเครื่องเกมที่ใกล้จะพ่ายแพ้การแข่งขัน ทั้ง PC-FX และ 3DO มักมีทิศทางแบบเดียวกันคือจะเริ่มมีเกม 18+ หรือเกมที่เคยเป็น 18+ มาลงเครื่อง
ส่วน N64 มีเกมออกในปีนั้นเพียง 15 เกมแต่ก็นำโดยเกมคุณภาพสูงที่ต่อมาเป็นเกมยอดฮิตที่ติด Top10 ยอดขายสูงสุดของ N64 เช่น Mario 64 และ Mario Kart
เมื่อเข้าสู่ปี 1997 Saturn มีเกมใหม่วางขายที่ญี่ปุ่น 331 เกม ขณะที่ ps ก็ไล่ตีตื้นขึ้นมาเรื่อย ๆ ด้วยจำนวนเกมใหม่ที่วางขาย 308 เกม ส่วนที่อเมริกา ps มีเกมใหม่ 184 เกม แต่ Saturn มีแค่ 70 เกม
จะเห็นว่าตลาดที่อเมริกา Saturn เริ่มขาดกระสุนและนี่ทำให้ Saturn เริ่มเสียพื้นที่ให้กับ ps ขึ้นเรื่อย ๆ
ส่วนตลาดที่ญี่ปุ่น Saturn ก็เริ่มมีเกมที่มีเนื้อหาสำหรับผู้ใหญ่, แนว Adventure แบบญี่ปุ่นที่เคยเป็นเกม 18+ มาก่อนและเกมเฉพาะทางที่ขายได้เฉพาะญี่ปุ่น เช่น เกมไพ่นกกระจอกออกวางขายมากขึ้นเรื่อย ๆ เกมดี ๆ ที่ขายได้ในระดับ World Wide ถึงมีอยู่แต่เริ่มขาดหาย ซึ่งน่าแปลกว่าพอมาไล่ชื่อเกมที่ออกในปี 1997 แล้วเกมดังที่เป็นที่รู้จักจนถึงปัจจุบันแทบไม่มีออกมาเลย เกมที่ออกบน Saturn ในปีนั้นแล้วยังรู้จักกันดีจนถึงปัจจุบันก็เช่น
Dead or Alive ซีรี่ย์ที่พึ่งมาแปลงลงเครื่องคอนโซลเป็นครั้งแรก
Grandia ที่เปิดตัวครั้งแรกบนเครื่อง Saturn
Princess Crown อีกเกมคุณภาพสำหรับแนว 2D Action RPG ซึ่งเป็นพื้นฐานแนวต่อยอดให้กับเกม 2D Action RPG ที่จะเกิดในอนาคต Odin Sphere
และถึงปีนี้จะมี Biohazard หรือ Resident Evil มาลง Saturn แต่ก็เป็นเกมเก่าจากเมื่อปีที่แล้วและก็เหมือนที่เคยเกิดกับเกมอื่น ๆ คือ Biohazard หรือ Resident Evil ภาคต่อไม่มีการนำมาลง Saturn อีก
ส่วน ps ในปีนั้น เริ่มมีเกมภาคต่อและเกมเกิดใหม่ที่รู้จักกันดีถึงปัจจุบันมาลงเป็นจำนวนมากและอย่างต่อเนื่อง เช่น
Armor Core
Ace Combat 2
Toshinden 3
Dynasty Warriors
Rock Man X4
Soul Edge ที่เป็นภาคเริ่มต้นของ Soulcalibur ซีรี่ย์
รวมถึงตำนานแห่งบทเพลงรัตติกาลผู้บัญญัติศัพท์ Metroidvania ลงในรายการประเภทของเกม
Castlevania: Symphony of the Night
ส่วน N64 ก็ไม่น้อยหน้า อาศัยศักยภาพของ 3D ที่เหนือว่าเข้าสู้ รวมถึงการเริ่มบุกเบิกตลาดเกมประเภท FPS บนเครื่องเกมคอนโซล ในปีนั้น N64 มีเกมแนว FPS ที่โดดเด่นลงเครื่อง N64 เยอะมาก ไม่ว่าจะเป็น
GoldenEye 007 ที่เป็นเกมที่มียอดขายสูงเป็นอันดับ 3 รองจาก Mario 64 และ Mario Kart เท่านั้น
สุดยอดเกม FPS ตลอดกาลอย่าง Doom
Shake it baby ไปกับ Duke Nukem 64
รวมไปถึงเกมภาคต่อของเกมดังจากเครื่อง SNES เช่น Star Fox 64 และ Bomber man 64
ซึ่งในปีนี้เองที่ความผิดพลาดของ Nintendo ที่ผ่านมาเกือบทั้งหมดย้อนกลับมาเล่นงานตัวเองพร้อม ๆ กัน
ไม่ว่าจะเป็นนโยบายที่แข็งกร้าวต่อบริษัทผู้ผลิตเกม
แนวทางการพัฒนาเครื่องเกมคอนโซลที่ไม่ฟังใคร
การยึดติดกับ Loading Time และสื่อบรรจุเกมที่ละเมิดลิขสิทธิ์ได้ยาก
ทั้งหมดนี้นอกจากจะทำให้หลายบริษัทที่สร้างเกมให้กับ Nintendo มาอย่างยาวนานรวมถึงบริษัทใหม่ ๆ นอกจากจะหันไปสร้างเกมลงเครื่องของคู่แข่งแล้วเกมที่ออกมายังมีคุณภาพที่สูง อีกทั้งนโยบายของตนเองยังมีผลให้การพัฒนาเกมของบริษัทต้องติดขัดล่าช้าอีกด้วย
ตัวอย่างเช่น Zelda Ocarina of Time ที่ถือเป็นเซลด้าภาคที่ดีที่สุดตลอดกาลภาคหนึ่งที่ไม่สามารถลงสนามได้ในปี 1997 และกว่าจะลงสนามได้ก็ล่วงเข้าปี 1998 อันเป็นผลจากขีดจำกัดความจุของตลับเกมที่จำกัดจินตนาการและความคิดสร้างสรรค์ของนักพัฒนา
ไม่ว่าจะเป็นการเคลื่อนไหวของ Link ใน Zelda Ocarina of Time ที่สร้างด้วยเทคนิค Motion capture ซึ่งถือว่าเป็นแนวความคิดที่ก้าวหน้ามากในสมัยนั้นหรือการใช้ Real Time Render ในเกมรวมถึงฉาก cut screen ในเกมด้วย ซึ่งทำให้ Zelda ภาคนี้มีความเป็นเกม 3D ที่ใกล้เคียงกับเกมในปัจจุบันมากที่สุดในยุคนั้น
นอกจากขีดจำกัดของสื่อบรรจุเกมแล้ว ความซับซ้อนของการเขียนโปรแกรมเกมบน N64 ทำให้แผนงานยิ่งล่าช้าออกไปอีกแม้ว่าทีมโปรแกรมเมอร์ของ Nintendo จะเก่งกาจมากก็ตาม โปรแกรมเมอร์จากบริษัทเกมยักษ์ใหญ่เจ้าอื่นเคยให้สัมภาษณ์ยอมรับว่าตนเองไม่สามารถสร้างเกมแบบ Mario 64 หรือ Zelda Ocarina of Time บน N64 ได้
นี่ยังไม่รวมถึงแผนการตลาดที่จะให้ Zelda ภาคนี้ลงในสื่อบรรจุเกมแบบใหม่ที่จะใช้กับ N64 Add-on ซึ่งทำให้ Zelda Ocarina of Time ออกสู่ตลาดไม่ทัน 1997
และนี่กลายเป็นโอกาสทองสำหรับ Sony
เพราะในปีนั้น Sony ได้รับกระสุนที่ผลิตโดยอดีตพันธมิตรเหนี่ยวแน่นของ Nintendo รายหนึ่งที่ทนไม่ไหวกับนโยบายของ Nintendo แล้วหันมาสร้างเกมลง ps แทน
ทุกไอเดียที่ผู้สร้างเกมเคยร่างเก็บไว้ คิดจะใช้ อยากจะลองหรือจะทำแต่ทำไม่ได้บนเครื่องของ Nintendo ล้วนถูกนำมาใส่ในตัวเกมอย่างเต็มที่ด้วยอิสระจากพื้นที่สื่อบรรจุเกมแบบตลับที่คับแคบมาเป็นแบบ CD ที่ใหญ่ถึง 650MB แต่กระนั้นก็ยังไม่พอจนตัวเกมต้องใช้ CD ถึง 3 แผ่นถึงจะจุเกมทั้งหมดลงได้
ประสิทธิภาพเครื่องของ ps เองก็ถูกรีดออกมาอย่างถึงที่สุดเพื่อเกมนี้เช่นกันโดยมีฝ่าย Support ของ Sony คอยช่วยอย่างเต็มที่ชนิดที่ถ้าทำแบบเดียวกันกับ Nintendo คงโดนด่ากลับมา
ผลที่ได้คือกระสุนแห่งจิตนาการที่เปลี่ยน ps ให้กลายเป็น Big gun ที่ทรงพลังที่สุดแห่งยุค
ผลจากกระสุนนี้เองทำให้ทิศทางและโฉมหน้าของสงครามนี้รวมถึงความนิยมของตลาดเปลี่ยนไปตลอดกาล
ความเป็นมาของ “กระสุนนัดนี้” จำเป็นต้องเล่าย้อนกลับไปในช่วงครึ่งแรกของยุค 90s
เรื่องราวทั้งหมดเริ่มมาจากการสาธิต The Interactive CG Game ในการประชุมด้านคอมพิวเตอร์กราฟิกส์ ซิกกราฟ (SIGGRAPH) ที่จัดขึ้นเมื่อปี 1995
ต่อมาภาพจากการสาธิตนี้ก็กระจายไปทั่วและถูกตีพิมพ์ลงในนิตยสารเกมทุกฉบับ
จุดเริ่มต้นของจุดจบเกิดขึ้นที่งานนี้เอง
to be continued in “The Last Day of Allies”
ปล.ตอนนี้ผมได้เปิด Facebook Page “บทความตามใจฉัน”
โดยบทความจะหลายหลากคละประเภทกันไปความตามความสนใจนั้นขณะนั้น ถ้าสนใจก็กดติดตามได้ครับ
https://www.facebook.com/uptomejournal/
บทความตามใจฉัน “32War” Part 5
ปีนั้น ps มีเกมออกใหม่ที่ตลาดญี่ปุ่นทั้งสิ้น 263 เกม และ 186 เกมที่อเมริกา โดย ps ได้เกมใหม่ที่โดดเด่นและเป็นที่รู้จักจนถึงปัจจุบัน เช่น
Biohazard หรือ Resident Evil ซีรี่ย์ เกมที่กลายเป็นต้นแบบของเกมแนว survival horror ยุคใหม่รวมถึงเป็นแม่แบบแนวทางของหลาย ๆ เกมดังที่เกิดหลังจากนี้
Persona ซีรีย์ ภาคแรกของ Persona ที่แตกย่อยออกมาจากซีรี่ย์ Megami Tensei ซึ่งปัจจุบันดูเหมือนจะดังกว่าภาคหลักเสียแล้ว
Rock man 8 หรือ Mega man 8 ภาคต่อของเกมซีรี่ย์ดังของ Capcom และเป็น Rockman ภาคแรกที่ก้าวเข้าสู่ยุค 32Bit
รวมถึงภาคต่อของเกมต่อสู้ชื่อดังอย่าง Tekken 2 ที่ระบบเกมเริ่มเข้าที่เข้าทางมากขึ้นแล้ว
ขณะที่ Saturn มีเกมออกใหม่วางจำหน่ายที่ญี่ปุ่นมากถึง 305 เกมซึ่งมากกว่า ps 43 เกม แต่ที่อเมริกากลับมีเกมออกเพียง 119 เกม โดยมีเกมที่โดดเด่นเช่น
Panzer Dragoon II Zwei ภาคต่อขอเกมขี่มังกรที่โด่งดัง
Street Fighter Alpha และ Street Fighter Alpha 2
Guardian Heroes เกมแนวแอคชั่นลุยด่านที่ผสมความเป็น RPG เข้าไปด้วย ทำให้ทุกการตัดสินใจและการกระทำมีผลต่อฉากจบ
โดยสาเหตุที่เกมในอเมริกามีน้อยเนื่องจากบริษัทผู้ผลิตเกมในอเมริกาปฏิเสธที่จะสร้างผลงานลง Saturn ด้วย 2 สาเหตุหลักคือ การพัฒนาเกมบน Saturn ยาก และ Saturn ไม่ได้เป็นที่นิยมเหมือนเมื่อก่อนอีกต่อไป ถ้าหากนับเฉพาะเกมที่วางตลาดแค่ที่อเมริกาแล้ว Saturn มีเกมออกใหม่และวางจำหน่ายในปี 1996 เพียง 21 เกมขณะที่ ps มีถึง 91 เกม
ส่วนเกมที่ออกในญี่ปุ่นนั้น เมื่อตรวจสอบรายชื่อเกมจะพบข้อสังเกตว่าเริ่มมีเกมที่มีเนื้อหาสำหรับผู้ใหญ่หรือแนว Adventure แบบญี่ปุ่นที่เป็นเกม 18+ และเคยลง PC มาก่อน ปรับเนื้อหาแล้วมาลงเครื่อง Saturn
ซึ่งนี่ไม่ใช่สัญญาณที่ดี
ในยุคนั้นเครื่องเกมที่ใกล้จะพ่ายแพ้การแข่งขัน ทั้ง PC-FX และ 3DO มักมีทิศทางแบบเดียวกันคือจะเริ่มมีเกม 18+ หรือเกมที่เคยเป็น 18+ มาลงเครื่อง
ส่วน N64 มีเกมออกในปีนั้นเพียง 15 เกมแต่ก็นำโดยเกมคุณภาพสูงที่ต่อมาเป็นเกมยอดฮิตที่ติด Top10 ยอดขายสูงสุดของ N64 เช่น Mario 64 และ Mario Kart
เมื่อเข้าสู่ปี 1997 Saturn มีเกมใหม่วางขายที่ญี่ปุ่น 331 เกม ขณะที่ ps ก็ไล่ตีตื้นขึ้นมาเรื่อย ๆ ด้วยจำนวนเกมใหม่ที่วางขาย 308 เกม ส่วนที่อเมริกา ps มีเกมใหม่ 184 เกม แต่ Saturn มีแค่ 70 เกม
จะเห็นว่าตลาดที่อเมริกา Saturn เริ่มขาดกระสุนและนี่ทำให้ Saturn เริ่มเสียพื้นที่ให้กับ ps ขึ้นเรื่อย ๆ
ส่วนตลาดที่ญี่ปุ่น Saturn ก็เริ่มมีเกมที่มีเนื้อหาสำหรับผู้ใหญ่, แนว Adventure แบบญี่ปุ่นที่เคยเป็นเกม 18+ มาก่อนและเกมเฉพาะทางที่ขายได้เฉพาะญี่ปุ่น เช่น เกมไพ่นกกระจอกออกวางขายมากขึ้นเรื่อย ๆ เกมดี ๆ ที่ขายได้ในระดับ World Wide ถึงมีอยู่แต่เริ่มขาดหาย ซึ่งน่าแปลกว่าพอมาไล่ชื่อเกมที่ออกในปี 1997 แล้วเกมดังที่เป็นที่รู้จักจนถึงปัจจุบันแทบไม่มีออกมาเลย เกมที่ออกบน Saturn ในปีนั้นแล้วยังรู้จักกันดีจนถึงปัจจุบันก็เช่น
Dead or Alive ซีรี่ย์ที่พึ่งมาแปลงลงเครื่องคอนโซลเป็นครั้งแรก
Grandia ที่เปิดตัวครั้งแรกบนเครื่อง Saturn
Princess Crown อีกเกมคุณภาพสำหรับแนว 2D Action RPG ซึ่งเป็นพื้นฐานแนวต่อยอดให้กับเกม 2D Action RPG ที่จะเกิดในอนาคต Odin Sphere
และถึงปีนี้จะมี Biohazard หรือ Resident Evil มาลง Saturn แต่ก็เป็นเกมเก่าจากเมื่อปีที่แล้วและก็เหมือนที่เคยเกิดกับเกมอื่น ๆ คือ Biohazard หรือ Resident Evil ภาคต่อไม่มีการนำมาลง Saturn อีก
ส่วน ps ในปีนั้น เริ่มมีเกมภาคต่อและเกมเกิดใหม่ที่รู้จักกันดีถึงปัจจุบันมาลงเป็นจำนวนมากและอย่างต่อเนื่อง เช่น
Armor Core
Ace Combat 2
Toshinden 3
Dynasty Warriors
Rock Man X4
Soul Edge ที่เป็นภาคเริ่มต้นของ Soulcalibur ซีรี่ย์
รวมถึงตำนานแห่งบทเพลงรัตติกาลผู้บัญญัติศัพท์ Metroidvania ลงในรายการประเภทของเกม
Castlevania: Symphony of the Night
ส่วน N64 ก็ไม่น้อยหน้า อาศัยศักยภาพของ 3D ที่เหนือว่าเข้าสู้ รวมถึงการเริ่มบุกเบิกตลาดเกมประเภท FPS บนเครื่องเกมคอนโซล ในปีนั้น N64 มีเกมแนว FPS ที่โดดเด่นลงเครื่อง N64 เยอะมาก ไม่ว่าจะเป็น
GoldenEye 007 ที่เป็นเกมที่มียอดขายสูงเป็นอันดับ 3 รองจาก Mario 64 และ Mario Kart เท่านั้น
สุดยอดเกม FPS ตลอดกาลอย่าง Doom
Shake it baby ไปกับ Duke Nukem 64
รวมไปถึงเกมภาคต่อของเกมดังจากเครื่อง SNES เช่น Star Fox 64 และ Bomber man 64
ซึ่งในปีนี้เองที่ความผิดพลาดของ Nintendo ที่ผ่านมาเกือบทั้งหมดย้อนกลับมาเล่นงานตัวเองพร้อม ๆ กัน
ไม่ว่าจะเป็นนโยบายที่แข็งกร้าวต่อบริษัทผู้ผลิตเกม
แนวทางการพัฒนาเครื่องเกมคอนโซลที่ไม่ฟังใคร
การยึดติดกับ Loading Time และสื่อบรรจุเกมที่ละเมิดลิขสิทธิ์ได้ยาก
ทั้งหมดนี้นอกจากจะทำให้หลายบริษัทที่สร้างเกมให้กับ Nintendo มาอย่างยาวนานรวมถึงบริษัทใหม่ ๆ นอกจากจะหันไปสร้างเกมลงเครื่องของคู่แข่งแล้วเกมที่ออกมายังมีคุณภาพที่สูง อีกทั้งนโยบายของตนเองยังมีผลให้การพัฒนาเกมของบริษัทต้องติดขัดล่าช้าอีกด้วย
ตัวอย่างเช่น Zelda Ocarina of Time ที่ถือเป็นเซลด้าภาคที่ดีที่สุดตลอดกาลภาคหนึ่งที่ไม่สามารถลงสนามได้ในปี 1997 และกว่าจะลงสนามได้ก็ล่วงเข้าปี 1998 อันเป็นผลจากขีดจำกัดความจุของตลับเกมที่จำกัดจินตนาการและความคิดสร้างสรรค์ของนักพัฒนา
ไม่ว่าจะเป็นการเคลื่อนไหวของ Link ใน Zelda Ocarina of Time ที่สร้างด้วยเทคนิค Motion capture ซึ่งถือว่าเป็นแนวความคิดที่ก้าวหน้ามากในสมัยนั้นหรือการใช้ Real Time Render ในเกมรวมถึงฉาก cut screen ในเกมด้วย ซึ่งทำให้ Zelda ภาคนี้มีความเป็นเกม 3D ที่ใกล้เคียงกับเกมในปัจจุบันมากที่สุดในยุคนั้น
นอกจากขีดจำกัดของสื่อบรรจุเกมแล้ว ความซับซ้อนของการเขียนโปรแกรมเกมบน N64 ทำให้แผนงานยิ่งล่าช้าออกไปอีกแม้ว่าทีมโปรแกรมเมอร์ของ Nintendo จะเก่งกาจมากก็ตาม โปรแกรมเมอร์จากบริษัทเกมยักษ์ใหญ่เจ้าอื่นเคยให้สัมภาษณ์ยอมรับว่าตนเองไม่สามารถสร้างเกมแบบ Mario 64 หรือ Zelda Ocarina of Time บน N64 ได้
นี่ยังไม่รวมถึงแผนการตลาดที่จะให้ Zelda ภาคนี้ลงในสื่อบรรจุเกมแบบใหม่ที่จะใช้กับ N64 Add-on ซึ่งทำให้ Zelda Ocarina of Time ออกสู่ตลาดไม่ทัน 1997
และนี่กลายเป็นโอกาสทองสำหรับ Sony
เพราะในปีนั้น Sony ได้รับกระสุนที่ผลิตโดยอดีตพันธมิตรเหนี่ยวแน่นของ Nintendo รายหนึ่งที่ทนไม่ไหวกับนโยบายของ Nintendo แล้วหันมาสร้างเกมลง ps แทน
ทุกไอเดียที่ผู้สร้างเกมเคยร่างเก็บไว้ คิดจะใช้ อยากจะลองหรือจะทำแต่ทำไม่ได้บนเครื่องของ Nintendo ล้วนถูกนำมาใส่ในตัวเกมอย่างเต็มที่ด้วยอิสระจากพื้นที่สื่อบรรจุเกมแบบตลับที่คับแคบมาเป็นแบบ CD ที่ใหญ่ถึง 650MB แต่กระนั้นก็ยังไม่พอจนตัวเกมต้องใช้ CD ถึง 3 แผ่นถึงจะจุเกมทั้งหมดลงได้
ประสิทธิภาพเครื่องของ ps เองก็ถูกรีดออกมาอย่างถึงที่สุดเพื่อเกมนี้เช่นกันโดยมีฝ่าย Support ของ Sony คอยช่วยอย่างเต็มที่ชนิดที่ถ้าทำแบบเดียวกันกับ Nintendo คงโดนด่ากลับมา
ผลที่ได้คือกระสุนแห่งจิตนาการที่เปลี่ยน ps ให้กลายเป็น Big gun ที่ทรงพลังที่สุดแห่งยุค
ผลจากกระสุนนี้เองทำให้ทิศทางและโฉมหน้าของสงครามนี้รวมถึงความนิยมของตลาดเปลี่ยนไปตลอดกาล
ความเป็นมาของ “กระสุนนัดนี้” จำเป็นต้องเล่าย้อนกลับไปในช่วงครึ่งแรกของยุค 90s
เรื่องราวทั้งหมดเริ่มมาจากการสาธิต The Interactive CG Game ในการประชุมด้านคอมพิวเตอร์กราฟิกส์ ซิกกราฟ (SIGGRAPH) ที่จัดขึ้นเมื่อปี 1995
ต่อมาภาพจากการสาธิตนี้ก็กระจายไปทั่วและถูกตีพิมพ์ลงในนิตยสารเกมทุกฉบับ
จุดเริ่มต้นของจุดจบเกิดขึ้นที่งานนี้เอง
to be continued in “The Last Day of Allies”
ปล.ตอนนี้ผมได้เปิด Facebook Page “บทความตามใจฉัน”
โดยบทความจะหลายหลากคละประเภทกันไปความตามความสนใจนั้นขณะนั้น ถ้าสนใจก็กดติดตามได้ครับ
https://www.facebook.com/uptomejournal/