การปรับเปลี่ยนสื่อบรรจุตัวเกมจากตลับสู่ CD ของ Nintendo นั้นมีการพูดถึงมานานแล้วตั้งแต่สมัยเครื่อง Super Famicom หรือ Super Nintendo Entertainment System (SNES) ถึงขั้นมีการสร้าง Add-on ต้นแบบที่ทำให้ SNES สามารถเล่นเกมด้วย CD ได้แต่สุดท้ายโครงการก็ยุติไปในขั้นตอนการสร้างต้นแบบของ Add-on ดังกล่าว
ต่อมาเมื่อมีการพูดถึง Project Reality หรือก็คือโครงการสร้างเครื่องเกมคอนโซลรุ่นใหม่ N64 ในปี 1993 ตอนนั้นก็มีการพูดถึงสื่อบรรจุเกมว่า Nintendo อาจจะใช้ CD หรือสื่อบรรจุข้อมูลแบบอื่นกับเครื่องเกมใหม่ของตน
เมื่อเข้าปี 1994 Howard Lincoln ประธานของ Nintendo อเมริกาก็ได้ตอบคำถามเกี่ยวกับเครื่องเกมรุ่นใหม่แก่หนังสือพิมพ์ Billboard ฉบับเดือนมิถุนายน 1994 ไว้ดังนี้
"Right now, cartridges offer faster access time and more speed of movement and characters than CDs. So, we'll introduce our new hardware with cartridges. But eventually, these problems with CDs will be overcome. When that happens, you'll see Nintendo using CD as the software storage medium for our 64-bit system."
สรุปคือ Nintendo จะยังใช้ตลับอยู่เพราะความเร็วในเข้าถึงข้อมูลที่สูงกว่าทำให้การเคลื่อนไหวของตัวละครรวดเร็วกว่า
แต่เมื่อปัญหาของ CD หมดไป (ความเร็วในเข้าถึงข้อมูลสูงพอ) Nintendo ก็จะใช้ CD เป็นสื่อบรรจุข้อมูลเกมกับเครื่อง N64
คำตอบนี้ทำให้หลาย ๆ บริษัทผู้สร้างเกมวางใจและเลือกที่จะสร้างเกมลงเครื่องของ Nintendo ต่อไป หลาย ๆ เกมถูกออกแบบและสร้างบนพื้นฐานที่ว่า Nintendo จะออก Add-on ที่ทำให้ N64 ใช้ CD ที่มีความจุสูงกว่าแต่ต้นทุนถูกกว่าตลับในการบรรจุข้อมูลเกมอย่างแน่นอน
ตามแผนเดิมที่วางไว้ Add-on ตัวนี้จะออกวางจำหน่ายในช่วงปลายปี 1996 ในชื่อการตลาดว่า N64 Disk Drive (N64 DD ซึ่งต่อไปนี้จะขอใช้ชื่อย่อว่า DD) แต่สุดท้ายก็ไม่เป็นไปตามแผน DD ประสบปัญหาความล่าช้าในการพัฒนาจนไม่สามารถวางจำหน่ายได้ตามแผนที่วางไว้
โดยในงาน Shoshinkai trade show เมื่อเดือนพฤษจิกายน 1996 Nintendo ได้นำเครื่องต้นแบบของ DD ที่ในขณะนั้นตัวเครื่องพึ่งสรุปสเปกและข้อกำหนดของ Hardware เสร็จได้ไม่นานมาแสดงในงานด้วยพร้อมประกาศกำหนดการวางตลาดของ DD ใหม่โดยตั้งไว้ที่ช่วงปลายปี 1997
ปัญหาคือต้นแบบของ DD ที่โชว์ในงานครั้งนั้น การใช้ CD เป็นสื่อบรรจุข้อมูลที่ทาง Nintendo บอกและให้ความหวังแก่เหล่าบริษัทผู้สร้างเกมถูกกลับแทนที่ด้วย Magnetic Disk หรือ Super floppy Disk ที่มีความจุสูง floppy Disk 3.5” ที่เรา ๆ รู้จักแทน
คาดว่านี่คงทำให้หลาย ๆ บริษัทคับแค้นและปวดหัวไม่น้อยที่โดยหักหลังเพราะแม้ว่าต้นทุนของ Disk จะถูกกว่าตลับแต่ก็ยังสูงกว่า CD อยู่พอสมควรแถมความจุของ Disk ก็สูงไม่เท่า CD อีกด้วย
แล้วทำไม Nintendo ถึงไม่ใช้ CD แล้วกลับไปเลือกใช้ Magnetic Disk แบบนี้แทน
ผู้เขียนคาดว่าเกิดมาจากหลาย ๆ ปัจจัย โดยมีทั้งปัจจัยที่พอจะน่าเชื่อถือได้เพราะมีการอ้างถึงตัวบุคคลผู้เกี่ยวข้องในการพัฒนา DD แล้วและปัจจัยที่มาจากการปะติดปะต่อและคาดการณ์ของผู้เขียนเอง
เรามาดูในส่วนของปัจจัยที่พอจะน่าเชื่อถือได้กันก่อน นั้นคือทำไมถึงไม่ใช้ CD
ข้อมูลนี้มาจาก Alex S Kasten ผู้เขียนหนังสือ "Off-Computer" เมื่อปี 1997 เล่าถึงการที่ Jim Merrick ซึ่งเป็น software engineering manager ของ Nintendo กล่าวเตือน(คิดว่าน่าจะเป็นการพูดกับแหล่งข้อมูลของ Alex ผู้แต่งหนังสือ)ไว้ว่า
"We're very sensitive to the cost of the console. We could get an eight-speed CD-ROM mechanism in the unit, but in the under-$200 console market, it would be hard to pull that off."
“เราอ่อนไหวต่อต้นทุนของคอนโซลมาก ถึงเราจะสามารถเอาหัวอ่าน CD-ROM ความเร็ว 8x ใส่ลงไปได้ก็ตามแต่เมื่อเราตั้งเป้าราคาขายเครื่องไว้ต่ำกว่า 200 USD แล้ว มันก็ยากที่จะเป็นไปได้”
ตรงนี้เราพอจะเห็นได้ว่าความเร็วในการอ่านข้อมูลจาก CD ที่ Nintendo ต้องการนั้นน่าจะอยู่ที่ 8x ซึ่งในสมัยนั้น ทั้ง Saturn, ps หรือแม้แต่ Neo-Geo CD ยังใช้หัวอ่าน CD ความเร็วแค่ 1-2x เท่านั้น ถึงแม้ว่าทางเทคนิคจะสามารถทำได้แต่ด้วยข้อจำกัดของต้นทุนและราคาขายต่อเครื่องจึงไม่สามารถใช้หัวอ่าน 8x ได้ ในที่สุด Nintendo ก็เลือกที่จะไม่ใช้ CD แล้วหันไปใช้ Magnetic Disk ที่อ่านข้อมูลได้เร็วกว่าแทน
เพื่ออ้างอิงผู้เขียนจึงค้นข้อมูลย้อนหลังเกี่ยวกับราคาของ CD Drive และพบแผ่นพับโฆษณาขายชิ้นส่วนคอมพิวเตอร์ของร้านแห่งหนึ่งในอเมริกาในช่วงปี 1995 จะเห็นว่าราคาขายของ CD Drive ความเร็ว 4x นั้นอยู่ที่ 185-199 USD หรือราคาเกือบ 5,000 บาทในช่วงปี 2538 ซึ่งเป็นราคาที่สูงไม่น้อย
ความพยายามที่ทำให้ราคาของ Add-on ต่ำกว่า 200 USD ผู้เขียนเชื่อว่าเพราะ Nintendo ต้องการไม่ให้เกิดกำแพงราคาที่จะกีดกันลูกค้าจากการซื้อเครื่อง N64 ที่ในอนาคตเกมต่าง ๆ จะขายในรูปแบบ Disk เกือบทั้งหมด เพราะเมื่อวันนั้นมาถึงหากลูกค้าจะซื้อ N64 พร้อม Add-on ลูกค้าจะต้องจ่ายเงินรวมทั้งหมดเกือบ 400 USD ซึ่งแพงกว่าเครื่องของคู่แข่งอย่างไม่ต้องสงสัย
โดยสรุปคือมันเป็นเรื่องของประสิทธิภาพต่อต้นทุนและปัญหาของราคาขายเมื่อซื้อเป็นชุด (เครื่อง + Add-on) ที่ทำให้ Nintendo เลือกใช้ Disk แทน
ซึ่งการที่ Nintendo เลือกใช้ Magnetic Disk แทน CD ย่อมต้องมีคำถามตามมาอีกข้อ
นั้นคือความจุของ Disk นั้นสู้ CD ที่ขณะนั้นจุข้อมูลได้ถึง 650 MB ได้รึ
คำตอบคือเป็นไปได้
ตรงนี้ผู้เขียนอาศัยการเทียบเคียงจากเทคโนโลยีที่มีความใกล้เคียงกับ Disk ที่ Nintendo เลือกใช้ในขณะนั้น
นั้นคือ Zip Disk
Zip Disk ถูกสร้างขึ้นโดยบริษัท Iomega ในฐานะของอุปกรณ์ Backup ข้อมูลใช้คู่กับเครื่องอ่านและเขียน Disk ที่ชื่อว่า Zip Drive โดย Zip Disk มีความจุเมื่อเปิดตัวอยู่ที่ 100 MB ออกวางจำหน่ายครั้งแรกเมื่อปี 1994 และได้รับความนิยมอย่างมาก
มีข้อสังเกตที่น่าสนใจอยู่ 2 ข้อ
1. Zip Disk นั้นสามารถถูกพัฒนาให้มีความจุที่สูงขึ้นอีกได้ ในช่วงท้ายอายุของ Zip Disk พบว่ามี Disk ที่วางขายมีความจุสูงสุดอยู่ที่ 750 MB ซึ่งสูงกว่า CD มาตรฐานทั่วไป
2. Zip Drive มีความเร็วในการอ่านและส่งข้อมูลสูงถึง 1.4 เมกกะบิตต่อวินาที (0.175 เมกกะไบต์) ซึ่งเป็นความเร็วที่เทียบเท่า CD Drive ความเร็ว 8x ตามที่ Jim Merrick เคยพูดถึง
2 ปัจจัยนี้ทำให้เข้าใจได้ว่าทำไหม Nintendo ถึงเลือกที่จะใช้ Disk กับ Add-on ของ N64 แทน CD
ผู้เขียนเชื่อว่าสาเหตุที่ Nintendo ยึดติดกับความเร็วในการอ่านและส่งข้อมูลของสื่อบรรจุข้อมูลนั้นมาจากปัญหาและความล้มเหลวของ Famicom Disk System ที่สร้างออกมาเมื่อปี 1986 โดยความเร็วในการอ่าน Disk ของเครื่องนั้นต่ำจนก่อให้เกิดปัญญา Load Time ที่นานต้องโหลดบ่อยครั้งจนเกิดความยุ่งยากในการเล่นเกมและทำให้ไม่ได้รับความนิยม
to be continued in “The False Hope” Part2
ปล.ตอนนี้ผมได้เปิด Facebook Page “บทความตามใจฉัน”
โดยบทความจะหลายหลากคละประเภทกันไปความตามความสนใจนั้นขณะนั้น ถ้าสนใจก็กดติดตามได้ครับ
https://www.facebook.com/uptomejournal/
บทความตามใจฉัน “The False Hope” Part 1
ต่อมาเมื่อมีการพูดถึง Project Reality หรือก็คือโครงการสร้างเครื่องเกมคอนโซลรุ่นใหม่ N64 ในปี 1993 ตอนนั้นก็มีการพูดถึงสื่อบรรจุเกมว่า Nintendo อาจจะใช้ CD หรือสื่อบรรจุข้อมูลแบบอื่นกับเครื่องเกมใหม่ของตน
เมื่อเข้าปี 1994 Howard Lincoln ประธานของ Nintendo อเมริกาก็ได้ตอบคำถามเกี่ยวกับเครื่องเกมรุ่นใหม่แก่หนังสือพิมพ์ Billboard ฉบับเดือนมิถุนายน 1994 ไว้ดังนี้
"Right now, cartridges offer faster access time and more speed of movement and characters than CDs. So, we'll introduce our new hardware with cartridges. But eventually, these problems with CDs will be overcome. When that happens, you'll see Nintendo using CD as the software storage medium for our 64-bit system."
สรุปคือ Nintendo จะยังใช้ตลับอยู่เพราะความเร็วในเข้าถึงข้อมูลที่สูงกว่าทำให้การเคลื่อนไหวของตัวละครรวดเร็วกว่า
แต่เมื่อปัญหาของ CD หมดไป (ความเร็วในเข้าถึงข้อมูลสูงพอ) Nintendo ก็จะใช้ CD เป็นสื่อบรรจุข้อมูลเกมกับเครื่อง N64
คำตอบนี้ทำให้หลาย ๆ บริษัทผู้สร้างเกมวางใจและเลือกที่จะสร้างเกมลงเครื่องของ Nintendo ต่อไป หลาย ๆ เกมถูกออกแบบและสร้างบนพื้นฐานที่ว่า Nintendo จะออก Add-on ที่ทำให้ N64 ใช้ CD ที่มีความจุสูงกว่าแต่ต้นทุนถูกกว่าตลับในการบรรจุข้อมูลเกมอย่างแน่นอน
ตามแผนเดิมที่วางไว้ Add-on ตัวนี้จะออกวางจำหน่ายในช่วงปลายปี 1996 ในชื่อการตลาดว่า N64 Disk Drive (N64 DD ซึ่งต่อไปนี้จะขอใช้ชื่อย่อว่า DD) แต่สุดท้ายก็ไม่เป็นไปตามแผน DD ประสบปัญหาความล่าช้าในการพัฒนาจนไม่สามารถวางจำหน่ายได้ตามแผนที่วางไว้
โดยในงาน Shoshinkai trade show เมื่อเดือนพฤษจิกายน 1996 Nintendo ได้นำเครื่องต้นแบบของ DD ที่ในขณะนั้นตัวเครื่องพึ่งสรุปสเปกและข้อกำหนดของ Hardware เสร็จได้ไม่นานมาแสดงในงานด้วยพร้อมประกาศกำหนดการวางตลาดของ DD ใหม่โดยตั้งไว้ที่ช่วงปลายปี 1997
ปัญหาคือต้นแบบของ DD ที่โชว์ในงานครั้งนั้น การใช้ CD เป็นสื่อบรรจุข้อมูลที่ทาง Nintendo บอกและให้ความหวังแก่เหล่าบริษัทผู้สร้างเกมถูกกลับแทนที่ด้วย Magnetic Disk หรือ Super floppy Disk ที่มีความจุสูง floppy Disk 3.5” ที่เรา ๆ รู้จักแทน
คาดว่านี่คงทำให้หลาย ๆ บริษัทคับแค้นและปวดหัวไม่น้อยที่โดยหักหลังเพราะแม้ว่าต้นทุนของ Disk จะถูกกว่าตลับแต่ก็ยังสูงกว่า CD อยู่พอสมควรแถมความจุของ Disk ก็สูงไม่เท่า CD อีกด้วย
แล้วทำไม Nintendo ถึงไม่ใช้ CD แล้วกลับไปเลือกใช้ Magnetic Disk แบบนี้แทน
ผู้เขียนคาดว่าเกิดมาจากหลาย ๆ ปัจจัย โดยมีทั้งปัจจัยที่พอจะน่าเชื่อถือได้เพราะมีการอ้างถึงตัวบุคคลผู้เกี่ยวข้องในการพัฒนา DD แล้วและปัจจัยที่มาจากการปะติดปะต่อและคาดการณ์ของผู้เขียนเอง
เรามาดูในส่วนของปัจจัยที่พอจะน่าเชื่อถือได้กันก่อน นั้นคือทำไมถึงไม่ใช้ CD
ข้อมูลนี้มาจาก Alex S Kasten ผู้เขียนหนังสือ "Off-Computer" เมื่อปี 1997 เล่าถึงการที่ Jim Merrick ซึ่งเป็น software engineering manager ของ Nintendo กล่าวเตือน(คิดว่าน่าจะเป็นการพูดกับแหล่งข้อมูลของ Alex ผู้แต่งหนังสือ)ไว้ว่า
"We're very sensitive to the cost of the console. We could get an eight-speed CD-ROM mechanism in the unit, but in the under-$200 console market, it would be hard to pull that off."
“เราอ่อนไหวต่อต้นทุนของคอนโซลมาก ถึงเราจะสามารถเอาหัวอ่าน CD-ROM ความเร็ว 8x ใส่ลงไปได้ก็ตามแต่เมื่อเราตั้งเป้าราคาขายเครื่องไว้ต่ำกว่า 200 USD แล้ว มันก็ยากที่จะเป็นไปได้”
ตรงนี้เราพอจะเห็นได้ว่าความเร็วในการอ่านข้อมูลจาก CD ที่ Nintendo ต้องการนั้นน่าจะอยู่ที่ 8x ซึ่งในสมัยนั้น ทั้ง Saturn, ps หรือแม้แต่ Neo-Geo CD ยังใช้หัวอ่าน CD ความเร็วแค่ 1-2x เท่านั้น ถึงแม้ว่าทางเทคนิคจะสามารถทำได้แต่ด้วยข้อจำกัดของต้นทุนและราคาขายต่อเครื่องจึงไม่สามารถใช้หัวอ่าน 8x ได้ ในที่สุด Nintendo ก็เลือกที่จะไม่ใช้ CD แล้วหันไปใช้ Magnetic Disk ที่อ่านข้อมูลได้เร็วกว่าแทน
เพื่ออ้างอิงผู้เขียนจึงค้นข้อมูลย้อนหลังเกี่ยวกับราคาของ CD Drive และพบแผ่นพับโฆษณาขายชิ้นส่วนคอมพิวเตอร์ของร้านแห่งหนึ่งในอเมริกาในช่วงปี 1995 จะเห็นว่าราคาขายของ CD Drive ความเร็ว 4x นั้นอยู่ที่ 185-199 USD หรือราคาเกือบ 5,000 บาทในช่วงปี 2538 ซึ่งเป็นราคาที่สูงไม่น้อย
ความพยายามที่ทำให้ราคาของ Add-on ต่ำกว่า 200 USD ผู้เขียนเชื่อว่าเพราะ Nintendo ต้องการไม่ให้เกิดกำแพงราคาที่จะกีดกันลูกค้าจากการซื้อเครื่อง N64 ที่ในอนาคตเกมต่าง ๆ จะขายในรูปแบบ Disk เกือบทั้งหมด เพราะเมื่อวันนั้นมาถึงหากลูกค้าจะซื้อ N64 พร้อม Add-on ลูกค้าจะต้องจ่ายเงินรวมทั้งหมดเกือบ 400 USD ซึ่งแพงกว่าเครื่องของคู่แข่งอย่างไม่ต้องสงสัย
โดยสรุปคือมันเป็นเรื่องของประสิทธิภาพต่อต้นทุนและปัญหาของราคาขายเมื่อซื้อเป็นชุด (เครื่อง + Add-on) ที่ทำให้ Nintendo เลือกใช้ Disk แทน
ซึ่งการที่ Nintendo เลือกใช้ Magnetic Disk แทน CD ย่อมต้องมีคำถามตามมาอีกข้อ
นั้นคือความจุของ Disk นั้นสู้ CD ที่ขณะนั้นจุข้อมูลได้ถึง 650 MB ได้รึ
คำตอบคือเป็นไปได้
ตรงนี้ผู้เขียนอาศัยการเทียบเคียงจากเทคโนโลยีที่มีความใกล้เคียงกับ Disk ที่ Nintendo เลือกใช้ในขณะนั้น
นั้นคือ Zip Disk
Zip Disk ถูกสร้างขึ้นโดยบริษัท Iomega ในฐานะของอุปกรณ์ Backup ข้อมูลใช้คู่กับเครื่องอ่านและเขียน Disk ที่ชื่อว่า Zip Drive โดย Zip Disk มีความจุเมื่อเปิดตัวอยู่ที่ 100 MB ออกวางจำหน่ายครั้งแรกเมื่อปี 1994 และได้รับความนิยมอย่างมาก
มีข้อสังเกตที่น่าสนใจอยู่ 2 ข้อ
1. Zip Disk นั้นสามารถถูกพัฒนาให้มีความจุที่สูงขึ้นอีกได้ ในช่วงท้ายอายุของ Zip Disk พบว่ามี Disk ที่วางขายมีความจุสูงสุดอยู่ที่ 750 MB ซึ่งสูงกว่า CD มาตรฐานทั่วไป
2. Zip Drive มีความเร็วในการอ่านและส่งข้อมูลสูงถึง 1.4 เมกกะบิตต่อวินาที (0.175 เมกกะไบต์) ซึ่งเป็นความเร็วที่เทียบเท่า CD Drive ความเร็ว 8x ตามที่ Jim Merrick เคยพูดถึง
2 ปัจจัยนี้ทำให้เข้าใจได้ว่าทำไหม Nintendo ถึงเลือกที่จะใช้ Disk กับ Add-on ของ N64 แทน CD
ผู้เขียนเชื่อว่าสาเหตุที่ Nintendo ยึดติดกับความเร็วในการอ่านและส่งข้อมูลของสื่อบรรจุข้อมูลนั้นมาจากปัญหาและความล้มเหลวของ Famicom Disk System ที่สร้างออกมาเมื่อปี 1986 โดยความเร็วในการอ่าน Disk ของเครื่องนั้นต่ำจนก่อให้เกิดปัญญา Load Time ที่นานต้องโหลดบ่อยครั้งจนเกิดความยุ่งยากในการเล่นเกมและทำให้ไม่ได้รับความนิยม
to be continued in “The False Hope” Part2
ปล.ตอนนี้ผมได้เปิด Facebook Page “บทความตามใจฉัน”
โดยบทความจะหลายหลากคละประเภทกันไปความตามความสนใจนั้นขณะนั้น ถ้าสนใจก็กดติดตามได้ครับ
https://www.facebook.com/uptomejournal/