ในเรื่องของการกระจายสินค้านั้น เพื่อให้เห็นภาพที่ชัดเจนขึ้นผู้เขียนจึงขอสมมุติเมืองขึ้นมาเมืองหนึ่ง
สมมุติว่าเมืองนี้ชื่อ “สารขัณฑ์” (ขอดักแก่สักหน่อย) ตัวเมืองมีการวางผังเมืองเป็นบล็อกรูป 6 เหลี่ยมเรียงกันสวยงาม
โดยเมืองนี้มีร้านขายเกมและเครื่องเล่นเกมกระจายอยู่ทั่วเมือง (จุดสีส้ม) ร่วมทั้งสิ้น 10 สาขา
ทีนี้สมมุติว่ามีเกมออกใหม่ 2 เกมโดยทั้งคู่คือเกมภาคล่าสุดของซีรีย์ชื่อดัง นั้นคือเกม Z เล่นบนเครื่องของ Nintendo เป็นเกมแบบตลับและ F เล่นบนเครื่องของ Sony เป็นเกมแบบ CD โดยทั้งสองฝ่ายมีเงินทุนการผลิตเกมคนละ 10,000,000 USD เท่า ๆ กันและให้ต้นทุนการผลิตเกมตลับอยู่ที่ 10 USD และ CD อยู่ที่ 1 USD
ด้วยผลของต้นทุนการผลิต ทำให้เกม Z ที่เป็นตลับสามารถผลิตออกมาได้ 1,000,000 ชุดแต่เกม F ที่เป็น CD จะผลิตออกมาได้ มากถึง 10,000,000 ชุด
แล้วมันเกี่ยวกับการกระจายสินค้ายังไง
ถ้าเกมถูกกระจายไปยังร้านค้าต่าง ๆ อย่างทั่วถึงและเท่า ๆ กัน นั้นหมายความว่าแต่ละร้านจะได้รับเกม Z ร้านละ 100,000 ชุดและเกม F ร้านละ 1,000,000 ชุด
เมื่อเกมออกวางจำหน่ายแน่นอนว่าย่อมต้องมีผู้มาซื้อจำนวนมาก ยกตัวอย่างเช่นกรณีของ Zelda Ocarina of time ที่ขายได้มากกว่า 1 ล้านชุดภายใน 1 สัปดาห์ ถ้าทั้ง 2 เกมมียอดขายในระดับเดียวกันกับ Zelda Ocarina of time นั้นจะหมายความว่าเกม Z จะขายหมดเกลี้ยงจากตลาดในภายใน 1 สัปดาห์ขณะที่เกม F ยังคงเหลืออยู่ในตลาดมากถึง 9 ล้านชุดพร้อมรองรับความต้องการซื้อที่จะตามมาภายในสัปดาห์ต่อ ๆ ไปได้อีกทั้งยังช่วยซื้อเวลาเพื่อการสั่งผลิตเกม lot ต่อได้อีกด้วย
นั้นคือในมุมมองของตัวเลขสินค้าคงคลัง
ทีนี้เรามามองในมุมมองของลูกค้าผู้มาซื้อเกมบ้าง
ในยุค 90s ถือเป็นยุคที่การขายเกมแบบ Digital Copy ผ่าน internet ยังไม่เกิด การซื้อขายเกมแบบ Online ยังถือเป็นดินแดนลึกลับที่ผู้ซื้อยังไม่มีความเชื่อมั่นเหมือนสมัยนี้ที่ซื้อกันจนเป็นเรื่องปกติ อีกทั้งการจ่ายเงินซื้อเกมแล้วต้องรอให้เกมมาส่งที่บ้านนั้นเป็นสิ่งที่ทรมานใจนักเล่นเกมอย่างมาก คตินักเล่นเกมสมัยนั้นคือซื้อเกมวันไหนก็ต้องได้เล่นวันนั้น นี่ทำให้เมื่อจะซื้อเกมผู้เล่นก็จะออกไปซื้อถึงร้านแทน
สมมุติว่าผู้เล่นต้องการจะซื้อเกม Z สิ่งที่ผู้เล่นส่วนใหญ่จะพบก็คือเกมถูกขายหมดเกลี้ยง โดยมีผู้เล่นเพียงส่วนน้อยเท่านั้นที่จะได้เกมไป เมื่อผู้เล่นพบว่าของหมดก็จะไปร้านอื่นเพื่อหาซื้อ
แต่อย่าลืมว่าในกรณีสมมุตินี้เกม Z ถูกผลิตออกมาเพียง 1 ล้านชุดและขายหมดเกลี้ยงไปแล้ว
นั้นหมายความว่าสิ่งผู้เล่นคนนี้จะเจอคือความสิ้นหวังที่ชื่อว่า “ไม่มีเกมที่อยากเล่นขาย”
ร้านแรกผ่านไป ร้านสองและร้านสามค่อย ๆ ผ่านไป
นักเล่นเกมส่วนใหญ่จะมีนิสัยเหมือนจอมยุทธอยู่บางส่วนคือ กระบี่ชักออกมาแล้วต้องได้ดื่มเลือด หรือ ออกมาซื้อเกมแล้วต้องได้เกมไปเล่น
ซึ่งผลออกมาได้ 2 ทาง
1.ผู้เล่นก็จะมองหาเกมอื่นแทน อย่าลืมว่าในขณะนั้นเกม F ยังคงเหลือในตลาดถึง 9 ล้านชุด เฉลี่ยตกร้านละ 9 แสนชุด
นี่ทำให้เกม Z เสียโอกาสทางธุรกิจไปให้กับเกม F และหลายครั้งก็ยังทำให้เครื่องเล่นเกมของ Sony ขายออกจนส่วนแบ่งตลาดของเครื่องเพิ่มขึ้นอีกด้วย
2. ผู้เล่นก็จะมองหาเกม Z จากทุกแหล่งที่สามารถเข้าถึงได้ ซึ่งเกมละเมิดลิขสิทธิ์ก็เป็นหนึ่งในทางเลือกนั้น
ตรงนี้ผู้อ่านอาจจะสงสัยว่าเกมของ N64 ก๊อปได้ด้วยรึ คำตอบคือ ใช่ แม้ Nintendo จะยังคงใช้ตลับเพื่อป้องกันการละเมิดลิขสิทธิ์แต่ผลออกมาชัดเจนว่ามันไม่สามารถป้องกันได้และเมื่อเกมของทั้ง 2 ฝ่ายต่างถูกละเมิดลิขสิทธิ์ได้ด้วยกันทั้งคู่ คำถามที่จะตามมาคือการใช้ตลับหรือ CD แบบไหนเสียหายน้อยกว่ากัน
คำตอบนั้นไม่ใช่ตลับเพราะทุกครั้งที่ผู้เล่นไปซื้อเกมละเมิดเท่ากับว่าผู้พัฒนาเกมจะขาดทุนแล้วอย่างน้อย 10 USD จากต้นทุนการผลิตขณะที่เกม CD จะขาดทุนจากต้นทุนการผลิตเพียง 1 USD
นี่ทำให้ข้อดีของการใช้ CD เป็นสื่อบรรจุเกมในมุมของต้นทุนและความเร็วในผลิตและรวมถึงการกระจายสินค้าถูกแสดงออกมาให้บริษัทเกมต่าง ๆ ได้เห็นอย่างชัดเจน
ข้อกังขาที่บริษัทเกมต่าง ๆ เคยกังขา ps ไว้ ไม่ว่าจะเป็นประสิทธิภาพเครื่อง, เครื่องมือพัฒนาเกม, ส่วนแบ่งตลาด, ต้นทุนการผลิต ฯลฯ ถูกเป่ากระเด็นด้วยกระสุนปืนใหญ่ที่ชื่อ ff7 ถึงจุดนี้บริษัทต่าง ๆ ทั้งที่ทำเกมลง Saturn และ N64 ก็เริ่มหันไปทำเกมลง ps ของ Sony มากขึ้นเรื่อย ๆ
แต่ก็ไม่ใช่ว่า Nintendo จะยอมแพ้ไปโดยไม่สู้
เมื่อเข้าสู่ปี 1998 ที่ญี่ปุ่นนั้น ps มีเกมออกใหม่ทั้งสิ้น 358 เกม ขณะที่ N64 มีเกมออกใหม่เพียง 97 เกมซึ่งน้อยกว่ามาก
ส่วน Saturn มีเกมออกใหม่ในปีนั้นรวมทั้งสิ้น 225 เกม ลดลงจากปีที่แล้วที่มีเกมออกใหม่ถึง 330 เกมถึง 105 เกมหรือคิดเป็น 31% ซึ่งสามารถมองได้ว่าบริษัทที่จะสร้างเกมลง Saturn เปลี่ยนแผนไปสร้างเกมลง ps ที่ส่วนแบ่งตลาดเยอะกว่า Saturn แล้ว
แต่ถึงจะมีเกมออกใหม่เพียง 97 เกมแต่ Nintendo เองก็ไม่ใช่ว่าจะหมดฤทธิ์เดชง่าย ๆ เพราะปีนั้นเอง Zelda Ocarina of Time ซึ่งถือเป็นหนึ่งใน Zelda ภาคที่ดีที่สุดตลอดกาลก็ได้วางตลาดทั่วโลกเมื่อเดือนพฤศจิกายน 1998 ซึ่งคาดว่าเกมนี้มีส่วนทำให้ยอดขายของ N64 ทั่วโลกพุ่งสูงถึง 9.42 ล้านเครื่อง เพิ่มขึ้น 62% เมื่อเทียบกับยอดขายทั่วโลกเมื่อปี 1997 ซึ่งขายไปได้ 5.8 ล้านเครื่อง
แต่นั้นก็ไม่ได้ช่วยตีตื้นให้ปริมาณส่วนแบ่งตลาดเครื่องเกมคอนโซลของ N64 เข้าใกล้ยอดที่ ps ทำได้มากนัก
ข้อเท็จจริงที่ว่าบริษัทผู้พัฒนาเกมเลิกสนใจ N64 แล้วหันไปสร้างเกมลง ps นั้นทำให้ Nintendo แม้จะมีเกมคุณภาพแต่ก็ยังเสียเปรียบอย่างมากในด้านปริมาณของเกม
เมื่อเข้าสู่ปี 1999 ข้อเสียเปรียบเรื่องจำนวนเกมของ N64 ก็ยิ่งชัดเจนยิ่งขึ้น N64 มีเกมออกใหม่ที่ญี่ปุ่นทั้งสิ้น 124 เกมขณะที่ ps มีเกมออกใหม่ในปีนั้นมากถึง 369 เกมส่วน Saturn มีเกมใหม่ออกเพียง 17 เกมและในปี 2000 ก็มีเกมออกใหม่เพียงแค่ 3 เกม การต่อสู้ของ Saturn จบลงพร้อม ๆ กับ Y2K
ถึงตรงนี้ทาง Nintendo เองแทบไม่เหลือบริษัทผู้พัฒนาเกมรายอื่น ๆ มาสร้างเกมลง N64 แล้ว เกมส่วนใหญ่จึงถูกสร้างด้วยตัว Nintendo เองและบริษัทลูกของ Nintendo เช่น Rare เป็นต้น โดยยังมีขาประจำที่ทำเกมแบบไม่ยึดติดค่ายอย่าง Konami และ Capcom ที่ยังนำเกมมาลง N64 ให้อยู่
โดยเกมที่น่าสนใจที่สุดคือเกม Resident Evil 2 ของ Capcom ที่แปลงมาลง N64 เป็นครั้งแรกของซีรียนี้
จากเกมที่ต้องใช้ถึง 2 CD เพื่อบรรจุตัวเกมใน ps บริษัท Angel Studios ที่รับหน้าที่แปลงเกมลง N64 ต้องใช้เทคนิคและวิธีการต่าง ๆ มากมาย ไม่ว่าจะเป็นลดขนาดและความละเอียดของ Texture ลง, ลดขนาดและความละเอียดของ Background ลง, บีบอัดและลงความละเอียดของเพลงประกอบ, เสียงพูด, Sound effect และ VDO Cut screen ลงเพื่อให้ไฟล์มีขนาดเล็กที่สุด แต่กระนั้นตัวเกมก็ยังจำเป็นต้องใช้ตลับแบบความจุสูงพิเศษถึง 64 MB เพื่อที่จะใส่เกมลงไปได้
ผู้อ่านสามารถดู VDO เปรียบเทียบ Resident Evil 2 N64 และ ps ได้ที่ Link ข้างล่าง
https://www.youtube.com/watch?v=M9ztLZJhCaQ
Resident Evil 2 ของ N64 กลายเป็นกรณีตัวอย่างที่ชัดเจนที่สุดว่ายุคของเกมแบบตลับนั้นผ่านไปแล้ว ต่อไปนี้คือยุคของ CD
มันจบแล้วอนาคิน
You Underestimate My Power
1 ธันวาคม 1999 Nintendo วางจำหน่าย N64 Add-on เป็นครั้งแรก
to be continued in “The False hope” Part1
ปล.ตอนนี้ผมได้เปิด Facebook Page “บทความตามใจฉัน”
โดยบทความจะหลายหลากคละประเภทกันไปความตามความสนใจนั้นขณะนั้น ถ้าสนใจก็กดติดตามได้ครับ
https://www.facebook.com/uptomejournal/
บทความตามใจฉัน “Dethrone” Part 3
สมมุติว่าเมืองนี้ชื่อ “สารขัณฑ์” (ขอดักแก่สักหน่อย) ตัวเมืองมีการวางผังเมืองเป็นบล็อกรูป 6 เหลี่ยมเรียงกันสวยงาม
โดยเมืองนี้มีร้านขายเกมและเครื่องเล่นเกมกระจายอยู่ทั่วเมือง (จุดสีส้ม) ร่วมทั้งสิ้น 10 สาขา
ทีนี้สมมุติว่ามีเกมออกใหม่ 2 เกมโดยทั้งคู่คือเกมภาคล่าสุดของซีรีย์ชื่อดัง นั้นคือเกม Z เล่นบนเครื่องของ Nintendo เป็นเกมแบบตลับและ F เล่นบนเครื่องของ Sony เป็นเกมแบบ CD โดยทั้งสองฝ่ายมีเงินทุนการผลิตเกมคนละ 10,000,000 USD เท่า ๆ กันและให้ต้นทุนการผลิตเกมตลับอยู่ที่ 10 USD และ CD อยู่ที่ 1 USD
ด้วยผลของต้นทุนการผลิต ทำให้เกม Z ที่เป็นตลับสามารถผลิตออกมาได้ 1,000,000 ชุดแต่เกม F ที่เป็น CD จะผลิตออกมาได้ มากถึง 10,000,000 ชุด
แล้วมันเกี่ยวกับการกระจายสินค้ายังไง
ถ้าเกมถูกกระจายไปยังร้านค้าต่าง ๆ อย่างทั่วถึงและเท่า ๆ กัน นั้นหมายความว่าแต่ละร้านจะได้รับเกม Z ร้านละ 100,000 ชุดและเกม F ร้านละ 1,000,000 ชุด
เมื่อเกมออกวางจำหน่ายแน่นอนว่าย่อมต้องมีผู้มาซื้อจำนวนมาก ยกตัวอย่างเช่นกรณีของ Zelda Ocarina of time ที่ขายได้มากกว่า 1 ล้านชุดภายใน 1 สัปดาห์ ถ้าทั้ง 2 เกมมียอดขายในระดับเดียวกันกับ Zelda Ocarina of time นั้นจะหมายความว่าเกม Z จะขายหมดเกลี้ยงจากตลาดในภายใน 1 สัปดาห์ขณะที่เกม F ยังคงเหลืออยู่ในตลาดมากถึง 9 ล้านชุดพร้อมรองรับความต้องการซื้อที่จะตามมาภายในสัปดาห์ต่อ ๆ ไปได้อีกทั้งยังช่วยซื้อเวลาเพื่อการสั่งผลิตเกม lot ต่อได้อีกด้วย
นั้นคือในมุมมองของตัวเลขสินค้าคงคลัง
ทีนี้เรามามองในมุมมองของลูกค้าผู้มาซื้อเกมบ้าง
ในยุค 90s ถือเป็นยุคที่การขายเกมแบบ Digital Copy ผ่าน internet ยังไม่เกิด การซื้อขายเกมแบบ Online ยังถือเป็นดินแดนลึกลับที่ผู้ซื้อยังไม่มีความเชื่อมั่นเหมือนสมัยนี้ที่ซื้อกันจนเป็นเรื่องปกติ อีกทั้งการจ่ายเงินซื้อเกมแล้วต้องรอให้เกมมาส่งที่บ้านนั้นเป็นสิ่งที่ทรมานใจนักเล่นเกมอย่างมาก คตินักเล่นเกมสมัยนั้นคือซื้อเกมวันไหนก็ต้องได้เล่นวันนั้น นี่ทำให้เมื่อจะซื้อเกมผู้เล่นก็จะออกไปซื้อถึงร้านแทน
สมมุติว่าผู้เล่นต้องการจะซื้อเกม Z สิ่งที่ผู้เล่นส่วนใหญ่จะพบก็คือเกมถูกขายหมดเกลี้ยง โดยมีผู้เล่นเพียงส่วนน้อยเท่านั้นที่จะได้เกมไป เมื่อผู้เล่นพบว่าของหมดก็จะไปร้านอื่นเพื่อหาซื้อ
แต่อย่าลืมว่าในกรณีสมมุตินี้เกม Z ถูกผลิตออกมาเพียง 1 ล้านชุดและขายหมดเกลี้ยงไปแล้ว
นั้นหมายความว่าสิ่งผู้เล่นคนนี้จะเจอคือความสิ้นหวังที่ชื่อว่า “ไม่มีเกมที่อยากเล่นขาย”
ร้านแรกผ่านไป ร้านสองและร้านสามค่อย ๆ ผ่านไป
นักเล่นเกมส่วนใหญ่จะมีนิสัยเหมือนจอมยุทธอยู่บางส่วนคือ กระบี่ชักออกมาแล้วต้องได้ดื่มเลือด หรือ ออกมาซื้อเกมแล้วต้องได้เกมไปเล่น
ซึ่งผลออกมาได้ 2 ทาง
1.ผู้เล่นก็จะมองหาเกมอื่นแทน อย่าลืมว่าในขณะนั้นเกม F ยังคงเหลือในตลาดถึง 9 ล้านชุด เฉลี่ยตกร้านละ 9 แสนชุด
นี่ทำให้เกม Z เสียโอกาสทางธุรกิจไปให้กับเกม F และหลายครั้งก็ยังทำให้เครื่องเล่นเกมของ Sony ขายออกจนส่วนแบ่งตลาดของเครื่องเพิ่มขึ้นอีกด้วย
2. ผู้เล่นก็จะมองหาเกม Z จากทุกแหล่งที่สามารถเข้าถึงได้ ซึ่งเกมละเมิดลิขสิทธิ์ก็เป็นหนึ่งในทางเลือกนั้น
ตรงนี้ผู้อ่านอาจจะสงสัยว่าเกมของ N64 ก๊อปได้ด้วยรึ คำตอบคือ ใช่ แม้ Nintendo จะยังคงใช้ตลับเพื่อป้องกันการละเมิดลิขสิทธิ์แต่ผลออกมาชัดเจนว่ามันไม่สามารถป้องกันได้และเมื่อเกมของทั้ง 2 ฝ่ายต่างถูกละเมิดลิขสิทธิ์ได้ด้วยกันทั้งคู่ คำถามที่จะตามมาคือการใช้ตลับหรือ CD แบบไหนเสียหายน้อยกว่ากัน
คำตอบนั้นไม่ใช่ตลับเพราะทุกครั้งที่ผู้เล่นไปซื้อเกมละเมิดเท่ากับว่าผู้พัฒนาเกมจะขาดทุนแล้วอย่างน้อย 10 USD จากต้นทุนการผลิตขณะที่เกม CD จะขาดทุนจากต้นทุนการผลิตเพียง 1 USD
นี่ทำให้ข้อดีของการใช้ CD เป็นสื่อบรรจุเกมในมุมของต้นทุนและความเร็วในผลิตและรวมถึงการกระจายสินค้าถูกแสดงออกมาให้บริษัทเกมต่าง ๆ ได้เห็นอย่างชัดเจน
ข้อกังขาที่บริษัทเกมต่าง ๆ เคยกังขา ps ไว้ ไม่ว่าจะเป็นประสิทธิภาพเครื่อง, เครื่องมือพัฒนาเกม, ส่วนแบ่งตลาด, ต้นทุนการผลิต ฯลฯ ถูกเป่ากระเด็นด้วยกระสุนปืนใหญ่ที่ชื่อ ff7 ถึงจุดนี้บริษัทต่าง ๆ ทั้งที่ทำเกมลง Saturn และ N64 ก็เริ่มหันไปทำเกมลง ps ของ Sony มากขึ้นเรื่อย ๆ
แต่ก็ไม่ใช่ว่า Nintendo จะยอมแพ้ไปโดยไม่สู้
เมื่อเข้าสู่ปี 1998 ที่ญี่ปุ่นนั้น ps มีเกมออกใหม่ทั้งสิ้น 358 เกม ขณะที่ N64 มีเกมออกใหม่เพียง 97 เกมซึ่งน้อยกว่ามาก
ส่วน Saturn มีเกมออกใหม่ในปีนั้นรวมทั้งสิ้น 225 เกม ลดลงจากปีที่แล้วที่มีเกมออกใหม่ถึง 330 เกมถึง 105 เกมหรือคิดเป็น 31% ซึ่งสามารถมองได้ว่าบริษัทที่จะสร้างเกมลง Saturn เปลี่ยนแผนไปสร้างเกมลง ps ที่ส่วนแบ่งตลาดเยอะกว่า Saturn แล้ว
แต่ถึงจะมีเกมออกใหม่เพียง 97 เกมแต่ Nintendo เองก็ไม่ใช่ว่าจะหมดฤทธิ์เดชง่าย ๆ เพราะปีนั้นเอง Zelda Ocarina of Time ซึ่งถือเป็นหนึ่งใน Zelda ภาคที่ดีที่สุดตลอดกาลก็ได้วางตลาดทั่วโลกเมื่อเดือนพฤศจิกายน 1998 ซึ่งคาดว่าเกมนี้มีส่วนทำให้ยอดขายของ N64 ทั่วโลกพุ่งสูงถึง 9.42 ล้านเครื่อง เพิ่มขึ้น 62% เมื่อเทียบกับยอดขายทั่วโลกเมื่อปี 1997 ซึ่งขายไปได้ 5.8 ล้านเครื่อง
แต่นั้นก็ไม่ได้ช่วยตีตื้นให้ปริมาณส่วนแบ่งตลาดเครื่องเกมคอนโซลของ N64 เข้าใกล้ยอดที่ ps ทำได้มากนัก
ข้อเท็จจริงที่ว่าบริษัทผู้พัฒนาเกมเลิกสนใจ N64 แล้วหันไปสร้างเกมลง ps นั้นทำให้ Nintendo แม้จะมีเกมคุณภาพแต่ก็ยังเสียเปรียบอย่างมากในด้านปริมาณของเกม
เมื่อเข้าสู่ปี 1999 ข้อเสียเปรียบเรื่องจำนวนเกมของ N64 ก็ยิ่งชัดเจนยิ่งขึ้น N64 มีเกมออกใหม่ที่ญี่ปุ่นทั้งสิ้น 124 เกมขณะที่ ps มีเกมออกใหม่ในปีนั้นมากถึง 369 เกมส่วน Saturn มีเกมใหม่ออกเพียง 17 เกมและในปี 2000 ก็มีเกมออกใหม่เพียงแค่ 3 เกม การต่อสู้ของ Saturn จบลงพร้อม ๆ กับ Y2K
ถึงตรงนี้ทาง Nintendo เองแทบไม่เหลือบริษัทผู้พัฒนาเกมรายอื่น ๆ มาสร้างเกมลง N64 แล้ว เกมส่วนใหญ่จึงถูกสร้างด้วยตัว Nintendo เองและบริษัทลูกของ Nintendo เช่น Rare เป็นต้น โดยยังมีขาประจำที่ทำเกมแบบไม่ยึดติดค่ายอย่าง Konami และ Capcom ที่ยังนำเกมมาลง N64 ให้อยู่
โดยเกมที่น่าสนใจที่สุดคือเกม Resident Evil 2 ของ Capcom ที่แปลงมาลง N64 เป็นครั้งแรกของซีรียนี้
จากเกมที่ต้องใช้ถึง 2 CD เพื่อบรรจุตัวเกมใน ps บริษัท Angel Studios ที่รับหน้าที่แปลงเกมลง N64 ต้องใช้เทคนิคและวิธีการต่าง ๆ มากมาย ไม่ว่าจะเป็นลดขนาดและความละเอียดของ Texture ลง, ลดขนาดและความละเอียดของ Background ลง, บีบอัดและลงความละเอียดของเพลงประกอบ, เสียงพูด, Sound effect และ VDO Cut screen ลงเพื่อให้ไฟล์มีขนาดเล็กที่สุด แต่กระนั้นตัวเกมก็ยังจำเป็นต้องใช้ตลับแบบความจุสูงพิเศษถึง 64 MB เพื่อที่จะใส่เกมลงไปได้
ผู้อ่านสามารถดู VDO เปรียบเทียบ Resident Evil 2 N64 และ ps ได้ที่ Link ข้างล่าง
https://www.youtube.com/watch?v=M9ztLZJhCaQ
Resident Evil 2 ของ N64 กลายเป็นกรณีตัวอย่างที่ชัดเจนที่สุดว่ายุคของเกมแบบตลับนั้นผ่านไปแล้ว ต่อไปนี้คือยุคของ CD
มันจบแล้วอนาคิน
You Underestimate My Power
1 ธันวาคม 1999 Nintendo วางจำหน่าย N64 Add-on เป็นครั้งแรก
to be continued in “The False hope” Part1
ปล.ตอนนี้ผมได้เปิด Facebook Page “บทความตามใจฉัน”
โดยบทความจะหลายหลากคละประเภทกันไปความตามความสนใจนั้นขณะนั้น ถ้าสนใจก็กดติดตามได้ครับ
https://www.facebook.com/uptomejournal/