อีกปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกที่จะใช้ Disk แทน CD นั้นคือการละเมิดลิขสิทธิ์เกม
ในอดีต การมาของ Famicom Disk System นั้นแทนที่จะช่วยเรื่องการลดต้นทุนสื่อบรรจุเกมอย่างที่ Nintendo คาดไว้กลับกลายเป็นช่องทางให้ผู้เล่นเอา Quick Disk ที่ราคาถูกและมีขายตามท้องตลาดมาดัดแปลงแล้วก๊อปปี้เกมไว้เล่น, ขายหรือแจกจ่ายกันเอง
แถม Add-on นี้ยังไปช่วยจุดประกายไอเดียให้แก่กลุ่มคนหรือบริษัทในการพัฒนาต่อยอดและสร้าง Add-on เครื่อง Famicom ของตนเองที่สามารถแก้ไขข้อเสียของ Famicom Disk System เรื่องการโหลดได้โดยการเพิ่มหน่วยความจำให้มากพอที่จะโหลดข้อมูลเกมทั้งหมดลงไปเก็บไว้แล้วทำตัวเองเป็นตลับให้เครื่องอ่านข้อมูล ทำให้ผู้เล่นเสียเวลาโหลดเกมเพียงครั้งเดียวก็สามารถเล่นเกมได้ต่อเนื่องไม่แตกต่างจากการใช้ตลับ
แต่กระนั้น Nintendo และบริษัทผู้พัฒนาเกมเองก็ยังพอจะสามารถรับมือกับการละเมิดลิขสิทธิ์เกมได้ด้วยวิธีการต่าง ๆ เช่น เขียนโปรแกรมให้ตรวจเช็คคุณสมบัติ Hardware ของตลับเกมว่าตรงกับสเปกตามผลิตจากโรงงานรึไม่ หรือ การสร้างเกมที่มีการใช้งาน Enhancement Chip เฉพาะทาง ทำให้หัวโปรที่ไม่มีชิปดังกล่าวไม่สามารถเล่นเกมได้ เป็นต้น
ผู้อ่านสามารถอ่านเพิ่มเติมเกี่ยวกับ Enhancement Chip และ “หัวโปร” ที่ผู้เขียนเคยกล่าวถึงไปแล้วได้ใน Link ข้างล่าง
https://www.facebook.com/pg/uptomejournal/photos/?tab=album&album_id=566283783951963
ผู้ที่สนใจสามารถอ่านบทความย้อนหลังเกี่ยวกับ Famicom Disk System ได้ใน Link ข้างล่าง
Part1
https://www.facebook.com/pg/uptomejournal/photos/?tab=album&album_id=405967743316902
Part2
https://www.facebook.com/pg/uptomejournal/photos/?tab=album&album_id=407768636470146
แต่เมื่อสื่อบรรจุเกมเปลี่ยนเป็น CD เทคนิคเหล่านี้ก็ใช้ไม่ได้อีกต่อไปและผู้เขียนคาดว่าในเวลานั้น Nintendo ไม่มีความรู้หรือทักษะในการป้องกันการละเมิดลิขสิทธิ์เกมบน CD เลย ไม่เหมือน SEGA ที่มีประสบการณ์มาบ้างแล้วจาก Sega CD Add-on และ Sony ซึ่งเป็นผู้พัฒนาและผลิต CD เอง
อีกทั้ง CD นั้นยังก๊อปปี้ข้อมูลได้ง่าย แผ่น CD เปล่าสำหรับเขียนข้อมูลลงไปก็ราคาถูกและหาซื้อได้ทั่วไป ถึงแม้ว่า CD writer ในขณะนั้นจะยังมีราคาสูงอยู่จนยังไม่มีการนำมาใช้ตามบ้านแต่ก็สามารถนำแผ่น CD ไปให้ร้านที่มีบริการ Backup ข้อมูลลง CD ทำให้ได้
ความเป็นไปได้อีกทางหนึ่งคือ Nintendo อาจกลัวว่าจะมีใครที่ยอมลงทุนซื้อ CD Writer หรือแม้แต่ร้านรับ Backup ข้อมูลลง CD เองที่จะเข้ามาหารายได้จากการก๊อปปี้เกมละเมิดลิขสิทธิ์ขาย ซึ่งวิธีนี้มีคนทำจริง ๆ ผู้เขียนเคยเห็นร้านรับ Backup ข้อมูลลง CD มาก๊อปปี้เกมขายในไทยเมื่อช่วงปี 1996 ถึงต้นปี 2000 ในห้างขายอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ชื่อดัง บางร้านก็ใช้ CD Writer แบบ Home used ก๊อปปี้เกมขายโดยพบมากในช่วงตั้งแต่ปี 2000 เป็นต้นไป
ขณะที่ Zip Disk ซึ่งจากข้อมูลระบุว่าราคาต้นทุนถูกกว่าตลับแต่แพงกว่า CD จึงอนุมาณว่า Zip Disk อาจจะมีต้นทุนการผลิตอยู่ที่ 5 USD ต่อแผ่น ส่วนราคาขายปลีกของ Disk ขนาด 100 MB ในปี 1994 อยู่ที่ 20 USD ต่อแผ่น ด้วยราคาขายปลีกต่อแผ่นที่สูงกว่าแผ่น CD เปล่าและ Diskette หลายเท่าอีกทั้ง Disk ที่ใช้ยังเป็น Disk ที่ออกแบบพิเศษไม่มีขายตามท้องตลาด Nintendo คงคาดว่านี่จะช่วยลดการละเมิดลิขสิทธิ์เกมลงได้ตามประสบการณ์ที่เจอมากับ Famicom Disk System
แต่กระนั้นเกมของ N64 ก็ยังถูกละเมิดลิขสิทธิ์อยู่ดีด้วยวิธีการเดียวกันกับสมัยเครื่อง SNES นั้นคือหัวโปรสำหรับ N64 ซึ่งเริ่มมีการวางขายตั้งแต่ปีแรกที่ N64 วางตลาดเลยทีเดียว
นี่ทำให้ข้อเด่นของ Nintendo ที่ว่าป้องกันเกมละเมิดลิขสิทธิ์ได้หายไปอย่างรวดเร็ว
ผู้อ่านสามารถดู VDO การแยกชิ้นส่วน DD Disk ได้ที่ Link ข้างล่างง
https://www.youtube.com/watch?v=yBtH1y1xbEI
เมื่อเริ่มเข้าปี 1997 สถานการณ์ก็เปลี่ยนไปอีก
Final Fantasy 7 ออกวางจำหน่ายครั้งแรกที่ญี่ปุ่นเมื่อวันที่ 31 มกราคม 1997 และได้รับความนิยมอย่างสูงมาก นี่ทำให้ทั้งผู้เล่น, เหล่าร้านค้าปลีกและบริษัทผู้พัฒนาเกมเริ่มให้ความสนใจในเครื่อง ps ของ Sony ส่วนแบ่งตลาดของ ps เองก็เพิ่มสูงอย่างรวดเร็วจากความต้องการเล่น ff7 ด้วยเช่นกัน
ต่อมาเมื่อวันที่ 30 พฤษภาคม 1997 สถานการณ์ยิ่งเลวร้ายเมื่อ Nintendo ประสบปัญหาบางอย่างในการพัฒนา DD ซึ่งยังไม่พบข้อมูลว่าเกิดจากอะไร ทำให้ Nintendo ต้องประกาศเลื่อนการวางจำหน่าย DD อีกครั้งไปเป็นเดือนมีนาคม 1998
ซึ่งการประกาศนี้ส่งผลกระทบต่อหลายฝ่ายรวมถึง Nintendo เองด้วย
เกมหลาย ๆ เกมของ Nintendo ที่ออกแบบไว้สำหรับ DD ไม่สามารถรอได้อีกต่อไป จึงมีการตัดเนื้อหา, บีบอัดข้อมูลหรือถ้าไม่ได้จริง ๆ ก็ยอมลดกำไรเพิ่มต้นทุนขยายความจุของตลับเพื่อใส่เกมลงในตลับให้ได้ นี่ทำให้หลาย ๆ เกมรวมถึงเกมดังที่ถูกมองว่าเป็นคู่ต่อกรกับ ff7 อย่าง Zelda กว่าจะลงสนามได้ก็ล่วงเข้าปลายเดือนพฤษจิกายน ปี 1998 ปล่อยให้ ps มีเวลาเพิ่มยอดขายและชิงส่วนแบ่งตลาดไปเกือบ 2 ปี
แถมระหว่างนั้นทาง Sony ก็ได้กำลังเสริมสำคัญในช่วงคริสมาสปี 1997 นั้นคือเกม Gran Turismo ที่มียอดขายรวมเป็นอันดับ 1 ในบรรดาเกมของ ps1 ทั้งหมด ยอดขายทั่วโลกรวมทั้งสิ้น 10.85 ล้านชุด ชนะแม้แต่ ff7
เมื่อ Zelda ออกวางจำหน่ายในปี 1998 ก็ยังออกมาช้ากว่า Metal Gear Solid ซึ่งเป็นเกมที่ต่อมากลายเป็นเกมชื่อดังและถูกใช้จำกัดความเกมประเภท Stealth Action ในอนาคตถึง 3 เดือน
โชคดีว่า Metal Gear Solid ไม่ค่อยประสบความสำเร็จในญี่ปุ่นนักแต่โชคร้ายคือเกมนี้ดังระเบิดในตลาดต่างประเทศโดยเฉพาะประเทศแถบตะวันตก ทำยอดขายร่วมได้ 6.03 ล้านชุดโดยมีขายที่ญี่ปุ่นเพียงประมาณ 1 ล้านชุด นี่ทำให้ยอดขายทั่วโลกของ ps ทิ้งห่าง N64 ออกไปอีก
เหล่าบริษัทผู้สร้างเกมหลายแห่งเองก็เลือกที่จะเลิกรอ DD หันไปสร้างเกมลงเครื่อง ps ของ Sony ที่ได้พิสูจน์ตัวเองแล้วว่ามีดีจริง, ต้นทุนสื่อบรรจุข้อมูลต่ำกว่า, ผลิตเกมได้เร็วกว่าและส่วนแบ่งตลาดกำลังเพิ่มอย่างรวดเร็วจากความต้องการเล่นเกมที่มีบนเครื่อง ps
ส่วน DD ยังคงประสบปัญหาเลื่อนวันวางจำหน่ายอย่างต่อเนื่อง กว่าที่จะออกสู่ตลาดครั้งแรกที่ญี่ปุ่นได้จริงก็ล่วงเข้าปลายปี 1999 แล้ว ผู้เขียนคิดว่าสาเหตุที่เลื่อนนั้นอาจเป็นเพราะว่าทาง Nintendo รู้ตัวแล้วว่าออกไปก็ไม่ช่วยแก้สถานะการณ์ที่เกินเยียวยาแล้วกลับมาได้แล้วจึงไม่อยากลงทุนผลิต DD ออกมาให้เสียเงินเปล่า ๆ แต่ Hiroshi Yamauchi ประธานของ Nintendo คงไม่ยอมเพราะ DD มีความฝันสูงสุดของตนเองอยู่ในนั้น
ส่วนวิธีการวางจำหน่าย DD นั้นทาง Nintendo ขายผ่านการสมัครใช้บริการ Randnet ของ Nintendo แทน
Randnet เป็น online service ที่รวมบริการหลาย ๆ อย่างเข้าด้วยกัน เช่น E-mail, Chat, เล่นเกมแบบ Online, จัดการไฟล์ใน Disk และเข้าถึงบริการข่าวของ Nintendo ได้
ผู้สมัครใช้บริการจะได้รับ Key Board และ Mouse, Modem, Add-on โมดูลเพิ่มขนาด Ram ของ N64, ตัว Add-on N64 Disk Drive และ Disk เกมอีก 6 เกม
หาก DD มีการวางขายแยกเฉพาะเครื่อง มีการประเมินกันว่า DD น่าจะมีราคาขายต่อเครื่องอยู่ที่ประมาณ 90 USD
จุดที่น่าสนใจของ DD คือมีการให้ Modem เพื่อต่อออก internet มาด้วย โดย Modem ดังกล่าวอยู่ในรูปของตลับเกมติดตั้งโดยการเสียบเข้าไปในช่องเสียบตลับ จุดประสงค์เพื่อให้สามารถเล่นเกมกับเพื่อน ๆ แบบ on-line ได้รวมถึงทำให้สามารถอัพเดทตัวเกมได้อีกด้วย ถือว่าเป็นแนวคิดที่ก้าวหน้ามากแต่ปัญหาคือมาเร็วไป ในยุคนั้น internet ตามบ้านมีความเร็วเพียง 56K เท่านั้น หนำซ้ำโมเด็มที่ให้มายังมีความเร็วแค่ 28K อีก
การมาของ DD นั้นผู้เขียนมองว่า Nintendo รู้อยู่แก่ใจว่ามันมาช้าเกินไปจนไม่มีทางที่จะขายออกจึงเลือกที่จะไม่ขายปลีกแต่ใช้วิธีขาย Bundle พร้อมกับบริการ Randnet แทน เป้าหมายคือเพื่อทดสอบในการใช้งานจริง, เก็บข้อมูลและรวบรวมผลตอบรับจากผู้ใช้โดยเน้นไปในด้านการเชื่อมต่อและเล่นเกมผ่าน internet ซึ่งเป็นความฝันสูงสุดของ Hiroshi Yamauchi ประธานของ Nintendo ในขณะนั้น ก่อนที่จะลอยแพอุปกรณ์นี้ในที่สุด
DD ยุติการผลิตเมื่อวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2001 ทำให้อุปกรณ์นี้มีอายุเพียง 1 ปี กว่า ๆ เท่านั้น ส่วนบริการ Randnet เองก็ยุติการให้บริการในวันเดียวกัน ตลอดอายุของ DD มี Disk ออกมาทั้งสิ้น 10 Disk เป็นเกมเสีย 5 Disk, Creative Game ซีรีย์ Mario Artist 3 Disk, Mario Artist: Communication Kit สำหรับแชร์ผลงานที่สร้างจาก Mario Artist อีก 1 Disk และ Disk สุดท้ายเป็น Utility โปรแกรม จากเกมทั้งหมด 5 เกม (ผู้เขียนไม่ขอนับ Mario Artist เนื่องจากมองว่าเป็น Creative program มากกว่า) มีอยู่ 2 เกมที่ไม่ใช่เกมตัวเต็มแต่เป็น Expansion ที่ต้องใช้ตัวเกมหลักที่เป็นตลับหรือ Disk ในการเล่นด้วย นั้นคือ F-Zero X Expansion Kit และ Doshin the Giant: Tinkling Toddler Liberation Front! Assemble!
คาดกันว่าจำนวน DD ที่ถูกส่งมอบให้กับผู้สมัครบริการ Randnet น่าอยู่ที่ประมาณ 15,000 เครื่อง ซึ่งทำให้ DD ในปัจจุบันกลายเป็นเครื่องหายากและเป็นที่ต้องการในหมู่นักสะสม ผู้เขียนลองค้นหาดูพบว่า DD ในปัจจุบันมีราคาขายต่ออยู่ที่ประมาณ 5 หมื่นบาท (มือสอง)
เจ้าเป็นผู้ถูกเลือก เจ้าควรจะเป็นผู้นำการเลิกใช้ตลับ ไม่ใช่เข้าร่วม นำมิติใหม่มาสู่วงการเกม ไม่ใช่ทิ้งไว้ในความมืด
ข้าเกลียดท่าน
ฟังเสียงภาษาไทยโดย ชาคริต แย้มนาม ได้ที่
https://www.youtube.com/watch?v=mYMQ8uESW8U
นาทีที่ 4.13
เจ้าเป็นคนนำข้าสู่วงการนี้ อนาคิน
ข้ารักเจ้า
ต่อมา N64 ก็ยุติการผลิตไปเมื่อวันที่ 30 เมษายน 2001 เพียงไม่กี่เดือนหลังจาก DD ยุติการผลิตโดยทำยอดขายทั่วโลกรวมทั้งสิ้นประมาณ 32.93 ล้านเครื่อง ที่น่าแปลกใจคือ n64 ที่ญี่ปุ่นขายได้เพียง 5.54 ล้านเครื่องเท่านั้น ลูกค้ารายใหญ่ของ N64 กลับเป็นอเมริกาที่มียอดขายถึง 20.63 ล้านเครื่อง
ขณะที่ ps ยังมีความต้องการต่อเนื่องจนมีการออกเครื่อง slim ที่มีขนาดเล็กกว่าและราคาถูกกว่ามาขายทำตลาดต่อยาวนานถึงวันที่ 23 มีนาคม 2006 จึงยุติการผลิต รวมยอดขายทั่วโลกของ ps สูงถึง 102.49 ล้านเครื่อง ครองอันดับ 4 เครื่องเกมคอนโซลที่ขายดีที่สุดตลอดกาล (ณ ปี 2020)
วงการเกมคอนโซลไม่เหมือนเดิมอีกต่อไป
We're living in an era of unprecedented change, and I want to be a part of documenting it.
“เรากำลังอยู่ในยุคแห่งการเปลี่ยนแปลงที่เป็นประวัติการณ์และฉันต้องการเป็นส่วนหนึ่งในการบันทึกมัน”
Ron Fournier อดีตบรรณาธิการของ National Journal กล่าวเมื่อกำลังจะลงจากตำแหน่งบรรณาธิการ
to be continued in “GoC Summary of 32”
ปล.ตอนนี้ผมได้เปิด Facebook Page “บทความตามใจฉัน”
โดยบทความจะหลายหลากคละประเภทกันไปความตามความสนใจนั้นขณะนั้น ถ้าสนใจก็กดติดตามได้ครับ
https://www.facebook.com/uptomejournal/
บทความตามใจฉัน “The False Hope” Part 2
ในอดีต การมาของ Famicom Disk System นั้นแทนที่จะช่วยเรื่องการลดต้นทุนสื่อบรรจุเกมอย่างที่ Nintendo คาดไว้กลับกลายเป็นช่องทางให้ผู้เล่นเอา Quick Disk ที่ราคาถูกและมีขายตามท้องตลาดมาดัดแปลงแล้วก๊อปปี้เกมไว้เล่น, ขายหรือแจกจ่ายกันเอง
แถม Add-on นี้ยังไปช่วยจุดประกายไอเดียให้แก่กลุ่มคนหรือบริษัทในการพัฒนาต่อยอดและสร้าง Add-on เครื่อง Famicom ของตนเองที่สามารถแก้ไขข้อเสียของ Famicom Disk System เรื่องการโหลดได้โดยการเพิ่มหน่วยความจำให้มากพอที่จะโหลดข้อมูลเกมทั้งหมดลงไปเก็บไว้แล้วทำตัวเองเป็นตลับให้เครื่องอ่านข้อมูล ทำให้ผู้เล่นเสียเวลาโหลดเกมเพียงครั้งเดียวก็สามารถเล่นเกมได้ต่อเนื่องไม่แตกต่างจากการใช้ตลับ
แต่กระนั้น Nintendo และบริษัทผู้พัฒนาเกมเองก็ยังพอจะสามารถรับมือกับการละเมิดลิขสิทธิ์เกมได้ด้วยวิธีการต่าง ๆ เช่น เขียนโปรแกรมให้ตรวจเช็คคุณสมบัติ Hardware ของตลับเกมว่าตรงกับสเปกตามผลิตจากโรงงานรึไม่ หรือ การสร้างเกมที่มีการใช้งาน Enhancement Chip เฉพาะทาง ทำให้หัวโปรที่ไม่มีชิปดังกล่าวไม่สามารถเล่นเกมได้ เป็นต้น
ผู้อ่านสามารถอ่านเพิ่มเติมเกี่ยวกับ Enhancement Chip และ “หัวโปร” ที่ผู้เขียนเคยกล่าวถึงไปแล้วได้ใน Link ข้างล่าง
https://www.facebook.com/pg/uptomejournal/photos/?tab=album&album_id=566283783951963
ผู้ที่สนใจสามารถอ่านบทความย้อนหลังเกี่ยวกับ Famicom Disk System ได้ใน Link ข้างล่าง
Part1
https://www.facebook.com/pg/uptomejournal/photos/?tab=album&album_id=405967743316902
Part2
https://www.facebook.com/pg/uptomejournal/photos/?tab=album&album_id=407768636470146
แต่เมื่อสื่อบรรจุเกมเปลี่ยนเป็น CD เทคนิคเหล่านี้ก็ใช้ไม่ได้อีกต่อไปและผู้เขียนคาดว่าในเวลานั้น Nintendo ไม่มีความรู้หรือทักษะในการป้องกันการละเมิดลิขสิทธิ์เกมบน CD เลย ไม่เหมือน SEGA ที่มีประสบการณ์มาบ้างแล้วจาก Sega CD Add-on และ Sony ซึ่งเป็นผู้พัฒนาและผลิต CD เอง
อีกทั้ง CD นั้นยังก๊อปปี้ข้อมูลได้ง่าย แผ่น CD เปล่าสำหรับเขียนข้อมูลลงไปก็ราคาถูกและหาซื้อได้ทั่วไป ถึงแม้ว่า CD writer ในขณะนั้นจะยังมีราคาสูงอยู่จนยังไม่มีการนำมาใช้ตามบ้านแต่ก็สามารถนำแผ่น CD ไปให้ร้านที่มีบริการ Backup ข้อมูลลง CD ทำให้ได้
ความเป็นไปได้อีกทางหนึ่งคือ Nintendo อาจกลัวว่าจะมีใครที่ยอมลงทุนซื้อ CD Writer หรือแม้แต่ร้านรับ Backup ข้อมูลลง CD เองที่จะเข้ามาหารายได้จากการก๊อปปี้เกมละเมิดลิขสิทธิ์ขาย ซึ่งวิธีนี้มีคนทำจริง ๆ ผู้เขียนเคยเห็นร้านรับ Backup ข้อมูลลง CD มาก๊อปปี้เกมขายในไทยเมื่อช่วงปี 1996 ถึงต้นปี 2000 ในห้างขายอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ชื่อดัง บางร้านก็ใช้ CD Writer แบบ Home used ก๊อปปี้เกมขายโดยพบมากในช่วงตั้งแต่ปี 2000 เป็นต้นไป
ขณะที่ Zip Disk ซึ่งจากข้อมูลระบุว่าราคาต้นทุนถูกกว่าตลับแต่แพงกว่า CD จึงอนุมาณว่า Zip Disk อาจจะมีต้นทุนการผลิตอยู่ที่ 5 USD ต่อแผ่น ส่วนราคาขายปลีกของ Disk ขนาด 100 MB ในปี 1994 อยู่ที่ 20 USD ต่อแผ่น ด้วยราคาขายปลีกต่อแผ่นที่สูงกว่าแผ่น CD เปล่าและ Diskette หลายเท่าอีกทั้ง Disk ที่ใช้ยังเป็น Disk ที่ออกแบบพิเศษไม่มีขายตามท้องตลาด Nintendo คงคาดว่านี่จะช่วยลดการละเมิดลิขสิทธิ์เกมลงได้ตามประสบการณ์ที่เจอมากับ Famicom Disk System
แต่กระนั้นเกมของ N64 ก็ยังถูกละเมิดลิขสิทธิ์อยู่ดีด้วยวิธีการเดียวกันกับสมัยเครื่อง SNES นั้นคือหัวโปรสำหรับ N64 ซึ่งเริ่มมีการวางขายตั้งแต่ปีแรกที่ N64 วางตลาดเลยทีเดียว
นี่ทำให้ข้อเด่นของ Nintendo ที่ว่าป้องกันเกมละเมิดลิขสิทธิ์ได้หายไปอย่างรวดเร็ว
ผู้อ่านสามารถดู VDO การแยกชิ้นส่วน DD Disk ได้ที่ Link ข้างล่างง
https://www.youtube.com/watch?v=yBtH1y1xbEI
เมื่อเริ่มเข้าปี 1997 สถานการณ์ก็เปลี่ยนไปอีก
Final Fantasy 7 ออกวางจำหน่ายครั้งแรกที่ญี่ปุ่นเมื่อวันที่ 31 มกราคม 1997 และได้รับความนิยมอย่างสูงมาก นี่ทำให้ทั้งผู้เล่น, เหล่าร้านค้าปลีกและบริษัทผู้พัฒนาเกมเริ่มให้ความสนใจในเครื่อง ps ของ Sony ส่วนแบ่งตลาดของ ps เองก็เพิ่มสูงอย่างรวดเร็วจากความต้องการเล่น ff7 ด้วยเช่นกัน
ต่อมาเมื่อวันที่ 30 พฤษภาคม 1997 สถานการณ์ยิ่งเลวร้ายเมื่อ Nintendo ประสบปัญหาบางอย่างในการพัฒนา DD ซึ่งยังไม่พบข้อมูลว่าเกิดจากอะไร ทำให้ Nintendo ต้องประกาศเลื่อนการวางจำหน่าย DD อีกครั้งไปเป็นเดือนมีนาคม 1998
ซึ่งการประกาศนี้ส่งผลกระทบต่อหลายฝ่ายรวมถึง Nintendo เองด้วย
เกมหลาย ๆ เกมของ Nintendo ที่ออกแบบไว้สำหรับ DD ไม่สามารถรอได้อีกต่อไป จึงมีการตัดเนื้อหา, บีบอัดข้อมูลหรือถ้าไม่ได้จริง ๆ ก็ยอมลดกำไรเพิ่มต้นทุนขยายความจุของตลับเพื่อใส่เกมลงในตลับให้ได้ นี่ทำให้หลาย ๆ เกมรวมถึงเกมดังที่ถูกมองว่าเป็นคู่ต่อกรกับ ff7 อย่าง Zelda กว่าจะลงสนามได้ก็ล่วงเข้าปลายเดือนพฤษจิกายน ปี 1998 ปล่อยให้ ps มีเวลาเพิ่มยอดขายและชิงส่วนแบ่งตลาดไปเกือบ 2 ปี
แถมระหว่างนั้นทาง Sony ก็ได้กำลังเสริมสำคัญในช่วงคริสมาสปี 1997 นั้นคือเกม Gran Turismo ที่มียอดขายรวมเป็นอันดับ 1 ในบรรดาเกมของ ps1 ทั้งหมด ยอดขายทั่วโลกรวมทั้งสิ้น 10.85 ล้านชุด ชนะแม้แต่ ff7
เมื่อ Zelda ออกวางจำหน่ายในปี 1998 ก็ยังออกมาช้ากว่า Metal Gear Solid ซึ่งเป็นเกมที่ต่อมากลายเป็นเกมชื่อดังและถูกใช้จำกัดความเกมประเภท Stealth Action ในอนาคตถึง 3 เดือน
โชคดีว่า Metal Gear Solid ไม่ค่อยประสบความสำเร็จในญี่ปุ่นนักแต่โชคร้ายคือเกมนี้ดังระเบิดในตลาดต่างประเทศโดยเฉพาะประเทศแถบตะวันตก ทำยอดขายร่วมได้ 6.03 ล้านชุดโดยมีขายที่ญี่ปุ่นเพียงประมาณ 1 ล้านชุด นี่ทำให้ยอดขายทั่วโลกของ ps ทิ้งห่าง N64 ออกไปอีก
เหล่าบริษัทผู้สร้างเกมหลายแห่งเองก็เลือกที่จะเลิกรอ DD หันไปสร้างเกมลงเครื่อง ps ของ Sony ที่ได้พิสูจน์ตัวเองแล้วว่ามีดีจริง, ต้นทุนสื่อบรรจุข้อมูลต่ำกว่า, ผลิตเกมได้เร็วกว่าและส่วนแบ่งตลาดกำลังเพิ่มอย่างรวดเร็วจากความต้องการเล่นเกมที่มีบนเครื่อง ps
ส่วน DD ยังคงประสบปัญหาเลื่อนวันวางจำหน่ายอย่างต่อเนื่อง กว่าที่จะออกสู่ตลาดครั้งแรกที่ญี่ปุ่นได้จริงก็ล่วงเข้าปลายปี 1999 แล้ว ผู้เขียนคิดว่าสาเหตุที่เลื่อนนั้นอาจเป็นเพราะว่าทาง Nintendo รู้ตัวแล้วว่าออกไปก็ไม่ช่วยแก้สถานะการณ์ที่เกินเยียวยาแล้วกลับมาได้แล้วจึงไม่อยากลงทุนผลิต DD ออกมาให้เสียเงินเปล่า ๆ แต่ Hiroshi Yamauchi ประธานของ Nintendo คงไม่ยอมเพราะ DD มีความฝันสูงสุดของตนเองอยู่ในนั้น
ส่วนวิธีการวางจำหน่าย DD นั้นทาง Nintendo ขายผ่านการสมัครใช้บริการ Randnet ของ Nintendo แทน
Randnet เป็น online service ที่รวมบริการหลาย ๆ อย่างเข้าด้วยกัน เช่น E-mail, Chat, เล่นเกมแบบ Online, จัดการไฟล์ใน Disk และเข้าถึงบริการข่าวของ Nintendo ได้
ผู้สมัครใช้บริการจะได้รับ Key Board และ Mouse, Modem, Add-on โมดูลเพิ่มขนาด Ram ของ N64, ตัว Add-on N64 Disk Drive และ Disk เกมอีก 6 เกม
หาก DD มีการวางขายแยกเฉพาะเครื่อง มีการประเมินกันว่า DD น่าจะมีราคาขายต่อเครื่องอยู่ที่ประมาณ 90 USD
จุดที่น่าสนใจของ DD คือมีการให้ Modem เพื่อต่อออก internet มาด้วย โดย Modem ดังกล่าวอยู่ในรูปของตลับเกมติดตั้งโดยการเสียบเข้าไปในช่องเสียบตลับ จุดประสงค์เพื่อให้สามารถเล่นเกมกับเพื่อน ๆ แบบ on-line ได้รวมถึงทำให้สามารถอัพเดทตัวเกมได้อีกด้วย ถือว่าเป็นแนวคิดที่ก้าวหน้ามากแต่ปัญหาคือมาเร็วไป ในยุคนั้น internet ตามบ้านมีความเร็วเพียง 56K เท่านั้น หนำซ้ำโมเด็มที่ให้มายังมีความเร็วแค่ 28K อีก
การมาของ DD นั้นผู้เขียนมองว่า Nintendo รู้อยู่แก่ใจว่ามันมาช้าเกินไปจนไม่มีทางที่จะขายออกจึงเลือกที่จะไม่ขายปลีกแต่ใช้วิธีขาย Bundle พร้อมกับบริการ Randnet แทน เป้าหมายคือเพื่อทดสอบในการใช้งานจริง, เก็บข้อมูลและรวบรวมผลตอบรับจากผู้ใช้โดยเน้นไปในด้านการเชื่อมต่อและเล่นเกมผ่าน internet ซึ่งเป็นความฝันสูงสุดของ Hiroshi Yamauchi ประธานของ Nintendo ในขณะนั้น ก่อนที่จะลอยแพอุปกรณ์นี้ในที่สุด
DD ยุติการผลิตเมื่อวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2001 ทำให้อุปกรณ์นี้มีอายุเพียง 1 ปี กว่า ๆ เท่านั้น ส่วนบริการ Randnet เองก็ยุติการให้บริการในวันเดียวกัน ตลอดอายุของ DD มี Disk ออกมาทั้งสิ้น 10 Disk เป็นเกมเสีย 5 Disk, Creative Game ซีรีย์ Mario Artist 3 Disk, Mario Artist: Communication Kit สำหรับแชร์ผลงานที่สร้างจาก Mario Artist อีก 1 Disk และ Disk สุดท้ายเป็น Utility โปรแกรม จากเกมทั้งหมด 5 เกม (ผู้เขียนไม่ขอนับ Mario Artist เนื่องจากมองว่าเป็น Creative program มากกว่า) มีอยู่ 2 เกมที่ไม่ใช่เกมตัวเต็มแต่เป็น Expansion ที่ต้องใช้ตัวเกมหลักที่เป็นตลับหรือ Disk ในการเล่นด้วย นั้นคือ F-Zero X Expansion Kit และ Doshin the Giant: Tinkling Toddler Liberation Front! Assemble!
คาดกันว่าจำนวน DD ที่ถูกส่งมอบให้กับผู้สมัครบริการ Randnet น่าอยู่ที่ประมาณ 15,000 เครื่อง ซึ่งทำให้ DD ในปัจจุบันกลายเป็นเครื่องหายากและเป็นที่ต้องการในหมู่นักสะสม ผู้เขียนลองค้นหาดูพบว่า DD ในปัจจุบันมีราคาขายต่ออยู่ที่ประมาณ 5 หมื่นบาท (มือสอง)
เจ้าเป็นผู้ถูกเลือก เจ้าควรจะเป็นผู้นำการเลิกใช้ตลับ ไม่ใช่เข้าร่วม นำมิติใหม่มาสู่วงการเกม ไม่ใช่ทิ้งไว้ในความมืด
ข้าเกลียดท่าน
ฟังเสียงภาษาไทยโดย ชาคริต แย้มนาม ได้ที่ https://www.youtube.com/watch?v=mYMQ8uESW8U
นาทีที่ 4.13
เจ้าเป็นคนนำข้าสู่วงการนี้ อนาคิน
ข้ารักเจ้า
ต่อมา N64 ก็ยุติการผลิตไปเมื่อวันที่ 30 เมษายน 2001 เพียงไม่กี่เดือนหลังจาก DD ยุติการผลิตโดยทำยอดขายทั่วโลกรวมทั้งสิ้นประมาณ 32.93 ล้านเครื่อง ที่น่าแปลกใจคือ n64 ที่ญี่ปุ่นขายได้เพียง 5.54 ล้านเครื่องเท่านั้น ลูกค้ารายใหญ่ของ N64 กลับเป็นอเมริกาที่มียอดขายถึง 20.63 ล้านเครื่อง
ขณะที่ ps ยังมีความต้องการต่อเนื่องจนมีการออกเครื่อง slim ที่มีขนาดเล็กกว่าและราคาถูกกว่ามาขายทำตลาดต่อยาวนานถึงวันที่ 23 มีนาคม 2006 จึงยุติการผลิต รวมยอดขายทั่วโลกของ ps สูงถึง 102.49 ล้านเครื่อง ครองอันดับ 4 เครื่องเกมคอนโซลที่ขายดีที่สุดตลอดกาล (ณ ปี 2020)
วงการเกมคอนโซลไม่เหมือนเดิมอีกต่อไป
We're living in an era of unprecedented change, and I want to be a part of documenting it.
“เรากำลังอยู่ในยุคแห่งการเปลี่ยนแปลงที่เป็นประวัติการณ์และฉันต้องการเป็นส่วนหนึ่งในการบันทึกมัน”
Ron Fournier อดีตบรรณาธิการของ National Journal กล่าวเมื่อกำลังจะลงจากตำแหน่งบรรณาธิการ
to be continued in “GoC Summary of 32”
ปล.ตอนนี้ผมได้เปิด Facebook Page “บทความตามใจฉัน”
โดยบทความจะหลายหลากคละประเภทกันไปความตามความสนใจนั้นขณะนั้น ถ้าสนใจก็กดติดตามได้ครับ
https://www.facebook.com/uptomejournal/