Super Wild card, Game doctor, Magicom หรือในชื่อเรียกที่รู้จักกันดีในไทยแบบเหมารวมว่า “หัวโปร” นั้นแม้จะถูกสร้างด้วยเจตนาดีที่ต้องการ Backup ตัวเกมเก็บสำรองไว้แต่ผลลัพธ์นั้นกลับกลายเป็นเครื่องมือที่ทำให้เกิดการละเมิดลิขสิทธิ์เกมอย่างแพร่หลายโดยเฉพาะกับเครื่อง Super Nintendo หรือ Super Famicom ของบริษัท Nintendo
เมื่อเข้าสู่ยุคของ N64 “หัวโปร” เองก็ยังคงตามมาหลอกหลอน Nintendo และสิ้นสุดยุคของมันไปพร้อม ๆ กับ N64 และสื่อบรรจุข้อมูลเกมแบบตลับแต่กระนั้นก็ยังติดวีรกรรมอันน่าสนใจไว้ให้ได้ชม
ก่อนอื่นเรามาดูกันว่า “หัวโปร” ของ N64 นั้นเป็นอย่างไรและทำงานแบบไหน
หัวโปรของ Famicom และ Super Famicom นั้นใช้วิธีสวมลงไปในช่องเสียบตลับของตัวเครื่อง แต่หัวโปรของ N64 นั้นไปเชื่อมต่อกับตัวเครื่องผ่าน Expansion port ของ N64 แทนซึ่ง Port นี้มีไว้เพื่อรองรับ N64 Disk Drive หรือ Add-on ที่ทำให้เล่นเกมจาก Disk แม่เหล็กได้ และเนื่องจากเกมในยุคนั้นมีขนาดใหญ่เกินไปที่จะ Backup ลงใน Floppy Disk ที่จุได้เพียง 1.44 เมกกะไบต์ทำให้หัวโปรของ N64 ติดตั้ง CD Drive สำหรับอ่านข้อมูลเกมแทนโดย CD Drive นั้นก็เอามาจาก CD Drive สำหรับติดตั้งใช้ในคอมพิวเตอร์ PC มาดัดแปลงใช้งาน
นอกจากจะโหลดเกมจาก CD มาเล่นได้แล้วหัวโปรบางตัวยังรองรับการก๊อปปี้ข้อมูลจากตลับเกมมาเก็บไว้ในหน่วยความจำของหัวโปรได้อีกด้วยรวมถึงมีช่องต่อกับ PC เพื่อก๊อปปี้ไฟล์ข้อมูลเข้าไปในคอมพิวเตอร์อีกทอด
ส่วนระบบป้องกันนั้นในช่วงแรกใช้วิธีการเสียบตลับเกม N64 ของจริงลงไปในหัวโปรหรือไม่ก็ช่องเสียบตลับของเครื่องเองโดยเสียบผ่านตัวแปลงของหัวโปรเพื่อหลอกระบบว่าเป็นเกมถูกลิขสิทธิ์
แต่ใครจะคิดว่าหัวโปรในยุคสุดท้ายของมันจะถูกใช้เป็นเครื่องมือในการพัฒนาเกม
เนื่องจากหัวโปรมีช่องที่ต่อเข้ากับ PC ได้ทำให้ผู้พัฒนาเกม N64 เกิดไอเดียว่าถ้าเราปรับปรุงโปรแกรมของหัวโปรให้สามารถเอาไฟล์เกม N64 ที่กำลังพัฒนาอยู่จากเครื่อง PC โหลดลงไปในหน่วยความจำของหัวโปรได้ ก็เท่ากับว่าเราสามารถใช้หัวโปรในการทดสอบและพัฒนาเกมได้ด้วยสิ และมันทำได้จริง ๆ
สาเหตุที่ผู้พัฒนาเกมต้องการจะใช้หัวโปรในการพัฒนาเกมนั้นมาจากการที่ทาง Nintendo มีเครื่องมือสำหรับใช้ในการพัฒนาเกมที่ไม่หลากหลายโดยมีแค่แบบเดียวและราคาขายสูงมาก ตกเครื่องละประมาณ 3000-4000 เหรียญ US สมมุติว่าหากจะซื้อเครื่องมือมาประจำโต๊ะของนักพัฒนาจำนวน 10 คนก็เท่ากับว่าบริษัทผู้พัฒนาจะต้องจ่ายราว ๆ 30k-40k USD เลยทีเดียว ขณะที่ราคาของหัวโปรอยู่ที่ราว ๆ 400-500 USD เท่านั้น ถึงจะบวกค่าเครื่อง N64 เข้าไปด้วยราคาก็ยังไม่ถึงครึ่งของราคาเครื่องมือที่ Nintendo ขาย
นี่ทำให้บริษัทผู้พัฒนาเกมเองกลายมาเป็นผู้ซื้ออุปกรณ์ดังกล่าวเสียเองและทำให้ผู้สร้างหัวโปรเริ่มทำการโฆษณาขายหัวโปรในฐานะเครื่องมือพัฒนาโปรแกรมเกมแทน
ส่วนทาง Nintendo แม้จะพยายามฟ้องผู้ผลิตเพื่อให้ยุติการผลิตหัวโปรได้สำเร็จแต่ก็ได้ผลเพียงชั่วคราวเพราะไม่นานก็จะมีบริษัทเกิดใหม่นำสินค้าที่คล้ายคลึงกันแต่มีความเข้ากันได้กับหัวโปรรุ่นที่ถูกฟ้องมาขายใหม่ แน่นอนว่าบริษัทดังกล่าวนั้นปฏิเสธความเกี่ยวข้องระหว่างกันอย่างสิ้นเชิง
และเมื่อยุคของ N64 จบลง ยุคของหัวโปรเองก็จบลงไปพร้อม ๆ กับยุคของตลับเกมด้วยเช่นเดียวกัน
แต่แม้ว่ายุคของหัวโปรจะจบลงแล้วแต่ก็แค่กับเครื่องรุ่นใหม่ที่ออกมาต่อหลังจากนั้น
ยังคงมีหัวโปรสำหรับเครื่องรุ่นเก่าตั้งแต่ยุค Famicom, Super Famicom และ N64 ถูกผลิตออกมาอยู่และปรับเปลี่ยนไปตามเทคโนโลยี จาก Floppy Disk หรือ CD ก็กลายมาเป็น Flash Drive หรือไม่ก็ถูกย่อยขนาดลงเหลือเพียงตลับเกมเพียงตลับเดียวแต่จุทุกอย่างที่หัวโปรเคยมีไว้ในนั้น
ปล.ตอนนี้ผมได้เปิด Facebook Page “บทความตามใจฉัน”
โดยบทความจะหลายหลากคละประเภทกันไปความตามความสนใจนั้นขณะนั้น ถ้าสนใจก็กดติดตามได้ครับ
https://www.facebook.com/uptomejournal/
GoC32 Side Story “The End of หัวโปร”
เมื่อเข้าสู่ยุคของ N64 “หัวโปร” เองก็ยังคงตามมาหลอกหลอน Nintendo และสิ้นสุดยุคของมันไปพร้อม ๆ กับ N64 และสื่อบรรจุข้อมูลเกมแบบตลับแต่กระนั้นก็ยังติดวีรกรรมอันน่าสนใจไว้ให้ได้ชม
ก่อนอื่นเรามาดูกันว่า “หัวโปร” ของ N64 นั้นเป็นอย่างไรและทำงานแบบไหน
หัวโปรของ Famicom และ Super Famicom นั้นใช้วิธีสวมลงไปในช่องเสียบตลับของตัวเครื่อง แต่หัวโปรของ N64 นั้นไปเชื่อมต่อกับตัวเครื่องผ่าน Expansion port ของ N64 แทนซึ่ง Port นี้มีไว้เพื่อรองรับ N64 Disk Drive หรือ Add-on ที่ทำให้เล่นเกมจาก Disk แม่เหล็กได้ และเนื่องจากเกมในยุคนั้นมีขนาดใหญ่เกินไปที่จะ Backup ลงใน Floppy Disk ที่จุได้เพียง 1.44 เมกกะไบต์ทำให้หัวโปรของ N64 ติดตั้ง CD Drive สำหรับอ่านข้อมูลเกมแทนโดย CD Drive นั้นก็เอามาจาก CD Drive สำหรับติดตั้งใช้ในคอมพิวเตอร์ PC มาดัดแปลงใช้งาน
นอกจากจะโหลดเกมจาก CD มาเล่นได้แล้วหัวโปรบางตัวยังรองรับการก๊อปปี้ข้อมูลจากตลับเกมมาเก็บไว้ในหน่วยความจำของหัวโปรได้อีกด้วยรวมถึงมีช่องต่อกับ PC เพื่อก๊อปปี้ไฟล์ข้อมูลเข้าไปในคอมพิวเตอร์อีกทอด
ส่วนระบบป้องกันนั้นในช่วงแรกใช้วิธีการเสียบตลับเกม N64 ของจริงลงไปในหัวโปรหรือไม่ก็ช่องเสียบตลับของเครื่องเองโดยเสียบผ่านตัวแปลงของหัวโปรเพื่อหลอกระบบว่าเป็นเกมถูกลิขสิทธิ์
แต่ใครจะคิดว่าหัวโปรในยุคสุดท้ายของมันจะถูกใช้เป็นเครื่องมือในการพัฒนาเกม
เนื่องจากหัวโปรมีช่องที่ต่อเข้ากับ PC ได้ทำให้ผู้พัฒนาเกม N64 เกิดไอเดียว่าถ้าเราปรับปรุงโปรแกรมของหัวโปรให้สามารถเอาไฟล์เกม N64 ที่กำลังพัฒนาอยู่จากเครื่อง PC โหลดลงไปในหน่วยความจำของหัวโปรได้ ก็เท่ากับว่าเราสามารถใช้หัวโปรในการทดสอบและพัฒนาเกมได้ด้วยสิ และมันทำได้จริง ๆ
สาเหตุที่ผู้พัฒนาเกมต้องการจะใช้หัวโปรในการพัฒนาเกมนั้นมาจากการที่ทาง Nintendo มีเครื่องมือสำหรับใช้ในการพัฒนาเกมที่ไม่หลากหลายโดยมีแค่แบบเดียวและราคาขายสูงมาก ตกเครื่องละประมาณ 3000-4000 เหรียญ US สมมุติว่าหากจะซื้อเครื่องมือมาประจำโต๊ะของนักพัฒนาจำนวน 10 คนก็เท่ากับว่าบริษัทผู้พัฒนาจะต้องจ่ายราว ๆ 30k-40k USD เลยทีเดียว ขณะที่ราคาของหัวโปรอยู่ที่ราว ๆ 400-500 USD เท่านั้น ถึงจะบวกค่าเครื่อง N64 เข้าไปด้วยราคาก็ยังไม่ถึงครึ่งของราคาเครื่องมือที่ Nintendo ขาย
นี่ทำให้บริษัทผู้พัฒนาเกมเองกลายมาเป็นผู้ซื้ออุปกรณ์ดังกล่าวเสียเองและทำให้ผู้สร้างหัวโปรเริ่มทำการโฆษณาขายหัวโปรในฐานะเครื่องมือพัฒนาโปรแกรมเกมแทน
ส่วนทาง Nintendo แม้จะพยายามฟ้องผู้ผลิตเพื่อให้ยุติการผลิตหัวโปรได้สำเร็จแต่ก็ได้ผลเพียงชั่วคราวเพราะไม่นานก็จะมีบริษัทเกิดใหม่นำสินค้าที่คล้ายคลึงกันแต่มีความเข้ากันได้กับหัวโปรรุ่นที่ถูกฟ้องมาขายใหม่ แน่นอนว่าบริษัทดังกล่าวนั้นปฏิเสธความเกี่ยวข้องระหว่างกันอย่างสิ้นเชิง
และเมื่อยุคของ N64 จบลง ยุคของหัวโปรเองก็จบลงไปพร้อม ๆ กับยุคของตลับเกมด้วยเช่นเดียวกัน
แต่แม้ว่ายุคของหัวโปรจะจบลงแล้วแต่ก็แค่กับเครื่องรุ่นใหม่ที่ออกมาต่อหลังจากนั้น
ยังคงมีหัวโปรสำหรับเครื่องรุ่นเก่าตั้งแต่ยุค Famicom, Super Famicom และ N64 ถูกผลิตออกมาอยู่และปรับเปลี่ยนไปตามเทคโนโลยี จาก Floppy Disk หรือ CD ก็กลายมาเป็น Flash Drive หรือไม่ก็ถูกย่อยขนาดลงเหลือเพียงตลับเกมเพียงตลับเดียวแต่จุทุกอย่างที่หัวโปรเคยมีไว้ในนั้น
ปล.ตอนนี้ผมได้เปิด Facebook Page “บทความตามใจฉัน”
โดยบทความจะหลายหลากคละประเภทกันไปความตามความสนใจนั้นขณะนั้น ถ้าสนใจก็กดติดตามได้ครับ
https://www.facebook.com/uptomejournal/