นี่เป็นโพสแรกของผมเลย ผิดถูกอย่างไรขออภัยไว้ล่วงหน้าด้วยครับ
ผมทำงานให้องค์กรเพื่อมนุษยธรรมชื่อดังระดับโลกแห่งนึง องค์กรระหว่างประเทศนี้ตั้งอยู่ในไทยมา 40 กว่าปีตั้งแต่สมัยยุคเขมรแดง
ผมเป็นลูกจ้างประจำโดนหักภาษีทุกเดือนตามปกติ
(แต่องค์กรนี้ไม่ทำประกันสังคมให้ลูกจ้างนะครับ)
มีสัญญาจ้างงานปลายเปิด ไม่มีกำหนดอายุสัญญาเหมือนบริษัททั่วๆไป
อายุงานผมเกือบ 5 ปี ได้ประเมินผลงานประจำปี “ดีมาก” ทุกปี ไม่เคยทำผิดกฎใดๆในองค์กร...
แต่เพิ่งมารู้ตัวว่า! ทำงานให้นายจ้างเถื่อน อยู่นอกกฎหมายไทยมาตลอด ก็ตอนที่ตัวผมโดนเลิกจ้างเอาเสียดื้อๆนั่นแหล่ะครับ
เงินค่าชดเชยเลิกจ้างก็ไม่ยอมจ่าย ไปฟ้องศาลแรงงานก็ไม่รับฟ้อง เพราะองค์กรนี้ ไม่มีตัวตนทางกฎหมายในประเทศไทย !!
เรื่องมันเริ่มเมื่อต้นเดือนธันวาคม 2562 ที่ผ่านมา ตลกร้ายมาก วันนั้นเป็นวันครบรอบวันเกิดอายุ 37 ปีของผมพอดี
เหมือนได้ของขวัญวันเกิดแบบเซอร์ไพรส์สุดขีด555 อยู่ๆก็โดนเรียกไปแจ้งว่า
องค์กรต้องปรับโครงสร้างเพราะมีปัญหาด้านการเงิน จึงขอให้ผมออกจากงาน
(แต่ทั้งองค์กรเอาผมออกคนเดียวด้วยเหตุผลนี้นะ อืมมม)
ฝ่ายบุคคลก็พยายามชักจูงให้ผมเซ็นต์ใบลาออกเอง อ้างว่าจะดูดีกว่าในประวัติการทำงานผม
และชี้แจงว่าทางองค์กรจะให้เงินช่วยเหลือเป็นกรณีพิเศษจำนวน 2 เดือน
แล้วให้ผมเซ็นต์ “หนังสือปลดเปลื้องความรับผิดและสละสิทธิเรียกร้อง” ภายในวันที่โดนเลิกจ้างเลย
(ถ้าเซ็นต์แปลว่า ผมห้ามเรียกร้องใดๆกับเหตุการณ์ครั้งนี้)
ผมตกใจมาก มือไม้สั่นทำอะไรไม่ถูก แต่ที่แน่ๆผมคิดได้ว่า ไม่เซ็นต์ใบลาออกเองแน่นอน
(ถ้าวันนั้นมึนๆเซนต์ใบลาออกไป ก็คงเสียสิทธิทุกอย่าง)
และผมก็ปฏิเสธที่จะเซ็นต์หนังสือสละสิทธิเรียกร้องในวันนั้น เพื่อขอเวลามาตั้งหลัก ดูเอกสาร หาข้อมูลเพิ่มเติมก่อน
ผมมารู้ทีหลังว่าด้วยอายุงานผม เงินชดเชยตามกฎหมายแรงงานที่ควรจะได้คืออย่างน้อย 6 เดือน ไม่ใช่ 2 เดือนตามที่ฝ่ายบุคคลแจ้ง
และยังต้องมีค่าบอกกล่าวล่วงหน้าตามกฎหมายอีก ผมจึงท้วงติงไป
ภายในเย็นวันนั้นฝ่ายบุคคลเรียกผมไปคุยอีกรอบ บอกต้องเซ็นต์ “หนังสือปลดเปลื้องความรับผิดและสละสิทธิเรียกร้อง”
ในตอนนั้นและเดี๋ยวนั้น
ถ้าไม่เซ็นต์ วันรุ่งขึ้นก็ไม่ต้องมาทำงานที่ออฟฟิศอีกต่อไป
(ถึงแม้ผมจะยังมีสภาพเป็นพนักงานอยู่จนถึงสิ้นเดือนธันวาคมก็ตาม)
แต่ผมยังคงปฎิเสธที่จะเซ็นต์ ตอนนั้นเป็นเวลาเลิกงานแล้ว ผมออกจากห้องฝ่ายบุคคล แทบไม่เจอใครให้บอกลา
บอกตามตรงตอนนั้นผมจุกอกไปหมด ได้แต่เดินไปเก็บของแล้วกลับบ้านแบบมึนๆเศร้าๆ จะบอกที่บ้านว่ายังไง
จะไม่ได้ทำงานหรือส่งมอบงานให้ใครอีกแล้วหรือ
(ถือกล่องกระดาษแบบในหนังเลย ไม่ทันได้ตั้งตัว กระเป๋าไม่มี T T )
คืนนั้นผมนอนไม่หลับ นึกขึ้นได้ว่าฝ่ายบุคคลสั่งปากเปล่า ไม่มีเอกสารใดให้ผมหยุดงานทันที
มีแต่เอกสารยืนยันว่าผมยังมีสภาพเป็นพนักงานถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2562
ผมกังวลว่าจะกลายเป็นขาดงานติดต่อกันเกิน 3 วัน แล้วอาจพ้นสภาพพนักงานทันที วันรุ่งขึ้นจึงไปทำงานตามปกติ
ฝ่ายบุคคลเลยออกหนังสืออีกฉบับ เป็นหลักฐานว่าได้ “สั่ง” ให้ผมหยุดมาทำงานตั้งแต่วันนั้น ผมจึงต้องกลับบ้านทันที
,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,
กลายเป็นคนตกงานแบบโดนเลิกจ้างไม่เป็นธรรม >>> ก็ต้องไปขอความช่วยเหลือจากนิติกรแรงงานที่ศาลแรงงานตามระเบียบ
นิติกรแรงงานทุกท่านน่ารักมากๆ ผมขอขอบคุณจากใจเลยครับ ใครโดนเลิกจ้างแบบไม่ถูกต้องไปปรึกษาพี่เค้าโลด พี่ๆทุกคนพยายามช่วยเหลือผมเต็มที่
ปัญหาแรกที่เจอคือ..การเขียนคำร้องฟ้องศาลในการระบุตัวตนของนายจ้าง ผมเพิ่งมารู้ว่า
การจะฟ้องร้องใคร คนนั้นต้องมีตัวตน
มีสถานะตามกฎหมายไทย ขั้นตอนนี้ผมวิ่งวุ่นติดต่ออาจารย์นิติศาสตร์มหาวิทยาลัยต่างๆ ติดต่อหน่วยราชการ
เพื่อหาคำตอบให้ได้ว่า
องค์กรระหว่างประเทศที่ผมทำงานด้วยนั้น อาศัยอำนาจใดในการมาตั้งอยู่ในประเทศไทย
ยิ่งหายิ่งมึน เพราะไม่มีคำตอบไหนที่ชัดเจนเลย สุดท้ายก็ต้องฟ้องร้องไปตามชื่อในสัญญาว่าจ้าง เพราะเป็นชื่อทางการขององค์กร
หลังจากยื่นฟ้องไป ทางศาลแจ้งวันนัดไกล่เกลี่ยกัน คือ วันแห่งความรัก 14 กุมภาพันธ์ 2563
ขั้นตอนนี้ผมเริ่มมีความหวังว่าจะได้รับความยุติธรรมในฐานะลูกจ้างไทยคนนึง รอประมาณเดือนนึง
แต่แล้ววันที่ 13 กุมภาพันธ์ ศาลก็แจ้งว่ากรณี
ผมโดนยกฟ้อง เพราะองค์กรนี้ไม่มีสถานะเป็นนิติบุคคลตามกฎหมายไทย
ผมไม่สามารถฟ้องร้องที่ศาลไทยได้ …. และแล้ววันแห่งความรัก ก็เป็นอีกวันที่ผมใจสลาย T T
หลังจากห่อเหี่ยวกับคำยกฟ้องของศาล ผมงงมาก ว่านายจ้างแบบนี้มาอยู่ในประเทศไทยได้ยังไง
หน่วยงานไหนปล่อยให้องค์กรแบบนี้มาอยู่ในไทยตั้ง 40 กว่าปี การไม่มีตัวตนแบบนี้แปลว่า..
แม้องค์กรนี้จะไม่จ่ายเงินเดือน โกงเงิน หรือผิดสัญญากับใคร คู่กรณีแบบผมก็ไม่สามารถเรียกร้องเอาผิดอะไรได้
ไม่รู้ว่าจะเรียกร้องให้กฎหมายไทยคุ้มครองได้ยังไง พนักงานคนไทยที่ยังทำงานกับองค์กรนี้ 100 กว่าชีวิต วันดีคืนดีอาจโดนเลิกจ้างดื้อๆแบบผมเลยก็ได้
ที่เจ็บใจที่สุดคือ ผมเป็นลูกจ้างคนแรกในไทยที่ฟ้องร้ององค์กรนี้
สิ่งที่ผมพยายามทำไปทั้งหมด กลับกลายเป็นใบเบิกทางให้ผู้บริหารชาวต่างชาติในองค์กรเพื่อมนุษยธรรมแห่งนี้
นึกอยากจะไล่ใครออกก็ได้ตามใจชอบ เพราะรู้ว่าถึงพนักงานฟ้องร้องก็โดนยกฟ้องอยู่ดี เนื่องจากองค์กรไม่มีตัวตนในไทย
ซึ่งหลังจากที่ผมโดนยกฟ้อง เพื่อนพนักงานอีกคนที่อายุงานสิบกว่าปี ก็โดนบีบให้เซ็นต์ใบลาออก
(เพื่อนยอมเซ็นต์ไปเพราะเห็นผมเป็นตัวอย่าง สู้ไปก็ไร้ประโยชน์)
ผมได้ร้องเรียนไปในเพจFB ประยุทธ์ จันทร์โอชา Prayut Chan-o-cha เพราะไม่รู้จะหันหน้าไปพึ่งใคร
แต่ก็เข้าใจว่าช่วงที่ผ่านมามีหลายปัญหามาก คงได้แต่พิมพ์ระบายความทุกข์ร้องเรียนไป ตอนนั้นซึมๆเศร้าๆ เพราะไม่รู้จะไปพึ่งทางไหน
ผมเขียนโพสนี้ขึ้นมา เพื่อเตือนใจเพื่อนๆให้ดูข้อมูลนายจ้างดีๆ การทำงานกับองค์กรระหว่างประเทศไม่ได้สวยหรู
คนไทยเราเป็นเหมือนประชากรชั้นล่างสุดในองค์กร ถึงแม้จะบอกว่าสิทธิมนุษยชนเท่าเทียมกัน ตำแหน่งเท่ากันในองค์กรก็ตาม
แต่ที่แย่สุดคือ
คนไทยที่ทำงานกับองค์กรพวกนี้ อาจไม่ได้สิทธิความคุ้มครองทางกฎหมายแรงงานที่ทัดเทียมกับลูกจ้างของบริษัททั่วไป
ผมเชื่อว่าลูกจ้างที่ทำงานในองค์กรระหว่างประเทศแบบผม ไม่ได้ตระหนักถึงแง่นี้
ในอีกมุมนึง องค์กรระหว่างประเทศที่ผมทำงานด้วยก็เอาเปรียบนายจ้างองค์กรอื่นๆ ตรงที่สามารถดูดทรัพยากรบุคคลในประเทศไทยไปทำงานให้
แล้วไม่ต้องรับผิดชอบอะไร ไม่เหมือนนายจ้างไทยปกติที่ต้องแบกรับต้นทุนในการดูแลพนักงานของตน
ไหนจะเรื่องเงินบริจาค ที่ผู้คนทั่วโลกรวมถึงรัฐบาลไทยได้มอบให้องค์กรนี้เป็นประจำทุกปี
ผมเห็นการใช้เงินของผู้บริหารชาวต่างชาติแล้ว ทุกข์ใจ น้ำท่วมปาก พูดอะไรไม่ออก
มีเพียงคำถามวนเวียนอยู่ในหัวว่า
“นี่หรือ คือเงินที่คนตั้งใจบริจาคมา.. เอามาใช้แบบนี้น่ะหรือ?” …
เอาละครับ! ถ้าโดนเลิกจ้างแบบนี้ต้องทำยังไง ???
1. เข้าใจว่าช็อค แต่อย่ารีบตัดสินใจนะครับ ค่อยๆคิด อย่าเซ็นต์เอกสารใดๆ หากเรายังไม่เข้าใจเนื้อหาในเอกสารอย่างถ่องแท้
ต้องอ่านเอกสารที่เค้าอยากให้เซ็นต์ให้จบก่อน ย้ำนะครับ!
2. เท่าที่ผมคุยกับจนท.แรงงาน มีหลายรายที่พอบอกเลิกจ้างแล้ว นายจ้างพูดปากเปล่าให้หยุดงานเลยทันที ให้ระวังครับ!
อาจกลายเป็นว่าเราขาดงานติดต่อกันเกิน 3 วัน แล้วโดนไล่ออกได้ทันทีโดยนายจ้างไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยใดๆ (ตามกฎหมายแรงงาน)
สิ่งที่ต้องทำคือ ให้คุณขอเอกสารจากนายจ้าง ยืนยันว่าสั่งให้คุณหยุดงานทันที เซ็นต์รับรองครบถ้วน แล้วขอเอกสารเก็บไว้เป็นหลักฐานด้วย
3. ความเชื่อที่ว่า “เซนต์ใบลาออกเองจะดูดีกว่าโดนให้ออกจากงาน” นั้น ผมไม่เชื่อแบบนั้นนะ
นายจ้างไม่ต้องการเราแล้ว ไม่ได้แปลว่าเราล้มเหลว ไม่มีคุณค่า หรือไม่มีความสามารถในการทำงาน
คุณแค่ต้องนำความสามารถไปใช้ที่อื่นที่เหมาะกับคุณมากกว่า ...ที่สำคัญ! ห้ามคิดเด็ดขาดว่าเราไร้ค่า ล้มแล้วลุกขึ้นใหม่ได้ครับ
นี่อาจเป็นโอกาสอันดี ในการทำสิ่งใหม่ๆ นอกกรอบเดิม
ใครมีเคสไหนอยากแชร์ข้อมูลกันเพื่อเป็นประโยชน์กับคนโดนเลิกจ้าง ก็แบ่งปันเรื่องราวกันได้นะครับ
ขอบคุณที่อ่านมาถึงตรงนี้ ต่อจากนี้ไป ผมก็คงติดต่อหน่วยงานรัฐเพื่อดำเนินการร้องเรียนต่อไปครับ
เตือนภัยคนหางาน มนุษย์เงินเดือน! แชร์ประสบการณ์โดนองค์กรระหว่างประเทศชื่อดังระดับโลกเลิกจ้างไม่เป็นธรรม
ผมทำงานให้องค์กรเพื่อมนุษยธรรมชื่อดังระดับโลกแห่งนึง องค์กรระหว่างประเทศนี้ตั้งอยู่ในไทยมา 40 กว่าปีตั้งแต่สมัยยุคเขมรแดง
ผมเป็นลูกจ้างประจำโดนหักภาษีทุกเดือนตามปกติ (แต่องค์กรนี้ไม่ทำประกันสังคมให้ลูกจ้างนะครับ)
มีสัญญาจ้างงานปลายเปิด ไม่มีกำหนดอายุสัญญาเหมือนบริษัททั่วๆไป
อายุงานผมเกือบ 5 ปี ได้ประเมินผลงานประจำปี “ดีมาก” ทุกปี ไม่เคยทำผิดกฎใดๆในองค์กร...
แต่เพิ่งมารู้ตัวว่า! ทำงานให้นายจ้างเถื่อน อยู่นอกกฎหมายไทยมาตลอด ก็ตอนที่ตัวผมโดนเลิกจ้างเอาเสียดื้อๆนั่นแหล่ะครับ
เงินค่าชดเชยเลิกจ้างก็ไม่ยอมจ่าย ไปฟ้องศาลแรงงานก็ไม่รับฟ้อง เพราะองค์กรนี้ ไม่มีตัวตนทางกฎหมายในประเทศไทย !!
เรื่องมันเริ่มเมื่อต้นเดือนธันวาคม 2562 ที่ผ่านมา ตลกร้ายมาก วันนั้นเป็นวันครบรอบวันเกิดอายุ 37 ปีของผมพอดี
เหมือนได้ของขวัญวันเกิดแบบเซอร์ไพรส์สุดขีด555 อยู่ๆก็โดนเรียกไปแจ้งว่า
องค์กรต้องปรับโครงสร้างเพราะมีปัญหาด้านการเงิน จึงขอให้ผมออกจากงาน (แต่ทั้งองค์กรเอาผมออกคนเดียวด้วยเหตุผลนี้นะ อืมมม)
ฝ่ายบุคคลก็พยายามชักจูงให้ผมเซ็นต์ใบลาออกเอง อ้างว่าจะดูดีกว่าในประวัติการทำงานผม
และชี้แจงว่าทางองค์กรจะให้เงินช่วยเหลือเป็นกรณีพิเศษจำนวน 2 เดือน
แล้วให้ผมเซ็นต์ “หนังสือปลดเปลื้องความรับผิดและสละสิทธิเรียกร้อง” ภายในวันที่โดนเลิกจ้างเลย
(ถ้าเซ็นต์แปลว่า ผมห้ามเรียกร้องใดๆกับเหตุการณ์ครั้งนี้)
ผมตกใจมาก มือไม้สั่นทำอะไรไม่ถูก แต่ที่แน่ๆผมคิดได้ว่า ไม่เซ็นต์ใบลาออกเองแน่นอน (ถ้าวันนั้นมึนๆเซนต์ใบลาออกไป ก็คงเสียสิทธิทุกอย่าง)
และผมก็ปฏิเสธที่จะเซ็นต์หนังสือสละสิทธิเรียกร้องในวันนั้น เพื่อขอเวลามาตั้งหลัก ดูเอกสาร หาข้อมูลเพิ่มเติมก่อน
ผมมารู้ทีหลังว่าด้วยอายุงานผม เงินชดเชยตามกฎหมายแรงงานที่ควรจะได้คืออย่างน้อย 6 เดือน ไม่ใช่ 2 เดือนตามที่ฝ่ายบุคคลแจ้ง
และยังต้องมีค่าบอกกล่าวล่วงหน้าตามกฎหมายอีก ผมจึงท้วงติงไป
ภายในเย็นวันนั้นฝ่ายบุคคลเรียกผมไปคุยอีกรอบ บอกต้องเซ็นต์ “หนังสือปลดเปลื้องความรับผิดและสละสิทธิเรียกร้อง” ในตอนนั้นและเดี๋ยวนั้น
ถ้าไม่เซ็นต์ วันรุ่งขึ้นก็ไม่ต้องมาทำงานที่ออฟฟิศอีกต่อไป (ถึงแม้ผมจะยังมีสภาพเป็นพนักงานอยู่จนถึงสิ้นเดือนธันวาคมก็ตาม)
แต่ผมยังคงปฎิเสธที่จะเซ็นต์ ตอนนั้นเป็นเวลาเลิกงานแล้ว ผมออกจากห้องฝ่ายบุคคล แทบไม่เจอใครให้บอกลา
บอกตามตรงตอนนั้นผมจุกอกไปหมด ได้แต่เดินไปเก็บของแล้วกลับบ้านแบบมึนๆเศร้าๆ จะบอกที่บ้านว่ายังไง
จะไม่ได้ทำงานหรือส่งมอบงานให้ใครอีกแล้วหรือ (ถือกล่องกระดาษแบบในหนังเลย ไม่ทันได้ตั้งตัว กระเป๋าไม่มี T T )
คืนนั้นผมนอนไม่หลับ นึกขึ้นได้ว่าฝ่ายบุคคลสั่งปากเปล่า ไม่มีเอกสารใดให้ผมหยุดงานทันที
มีแต่เอกสารยืนยันว่าผมยังมีสภาพเป็นพนักงานถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2562
ผมกังวลว่าจะกลายเป็นขาดงานติดต่อกันเกิน 3 วัน แล้วอาจพ้นสภาพพนักงานทันที วันรุ่งขึ้นจึงไปทำงานตามปกติ
ฝ่ายบุคคลเลยออกหนังสืออีกฉบับ เป็นหลักฐานว่าได้ “สั่ง” ให้ผมหยุดมาทำงานตั้งแต่วันนั้น ผมจึงต้องกลับบ้านทันที
,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,
กลายเป็นคนตกงานแบบโดนเลิกจ้างไม่เป็นธรรม >>> ก็ต้องไปขอความช่วยเหลือจากนิติกรแรงงานที่ศาลแรงงานตามระเบียบ
นิติกรแรงงานทุกท่านน่ารักมากๆ ผมขอขอบคุณจากใจเลยครับ ใครโดนเลิกจ้างแบบไม่ถูกต้องไปปรึกษาพี่เค้าโลด พี่ๆทุกคนพยายามช่วยเหลือผมเต็มที่
ปัญหาแรกที่เจอคือ..การเขียนคำร้องฟ้องศาลในการระบุตัวตนของนายจ้าง ผมเพิ่งมารู้ว่า การจะฟ้องร้องใคร คนนั้นต้องมีตัวตน
มีสถานะตามกฎหมายไทย ขั้นตอนนี้ผมวิ่งวุ่นติดต่ออาจารย์นิติศาสตร์มหาวิทยาลัยต่างๆ ติดต่อหน่วยราชการ
เพื่อหาคำตอบให้ได้ว่า องค์กรระหว่างประเทศที่ผมทำงานด้วยนั้น อาศัยอำนาจใดในการมาตั้งอยู่ในประเทศไทย
ยิ่งหายิ่งมึน เพราะไม่มีคำตอบไหนที่ชัดเจนเลย สุดท้ายก็ต้องฟ้องร้องไปตามชื่อในสัญญาว่าจ้าง เพราะเป็นชื่อทางการขององค์กร
หลังจากยื่นฟ้องไป ทางศาลแจ้งวันนัดไกล่เกลี่ยกัน คือ วันแห่งความรัก 14 กุมภาพันธ์ 2563
ขั้นตอนนี้ผมเริ่มมีความหวังว่าจะได้รับความยุติธรรมในฐานะลูกจ้างไทยคนนึง รอประมาณเดือนนึง
แต่แล้ววันที่ 13 กุมภาพันธ์ ศาลก็แจ้งว่ากรณีผมโดนยกฟ้อง เพราะองค์กรนี้ไม่มีสถานะเป็นนิติบุคคลตามกฎหมายไทย
ผมไม่สามารถฟ้องร้องที่ศาลไทยได้ …. และแล้ววันแห่งความรัก ก็เป็นอีกวันที่ผมใจสลาย T T
หลังจากห่อเหี่ยวกับคำยกฟ้องของศาล ผมงงมาก ว่านายจ้างแบบนี้มาอยู่ในประเทศไทยได้ยังไง
หน่วยงานไหนปล่อยให้องค์กรแบบนี้มาอยู่ในไทยตั้ง 40 กว่าปี การไม่มีตัวตนแบบนี้แปลว่า..
แม้องค์กรนี้จะไม่จ่ายเงินเดือน โกงเงิน หรือผิดสัญญากับใคร คู่กรณีแบบผมก็ไม่สามารถเรียกร้องเอาผิดอะไรได้
ไม่รู้ว่าจะเรียกร้องให้กฎหมายไทยคุ้มครองได้ยังไง พนักงานคนไทยที่ยังทำงานกับองค์กรนี้ 100 กว่าชีวิต วันดีคืนดีอาจโดนเลิกจ้างดื้อๆแบบผมเลยก็ได้
ที่เจ็บใจที่สุดคือ ผมเป็นลูกจ้างคนแรกในไทยที่ฟ้องร้ององค์กรนี้
สิ่งที่ผมพยายามทำไปทั้งหมด กลับกลายเป็นใบเบิกทางให้ผู้บริหารชาวต่างชาติในองค์กรเพื่อมนุษยธรรมแห่งนี้
นึกอยากจะไล่ใครออกก็ได้ตามใจชอบ เพราะรู้ว่าถึงพนักงานฟ้องร้องก็โดนยกฟ้องอยู่ดี เนื่องจากองค์กรไม่มีตัวตนในไทย
ซึ่งหลังจากที่ผมโดนยกฟ้อง เพื่อนพนักงานอีกคนที่อายุงานสิบกว่าปี ก็โดนบีบให้เซ็นต์ใบลาออก
(เพื่อนยอมเซ็นต์ไปเพราะเห็นผมเป็นตัวอย่าง สู้ไปก็ไร้ประโยชน์)
ผมได้ร้องเรียนไปในเพจFB ประยุทธ์ จันทร์โอชา Prayut Chan-o-cha เพราะไม่รู้จะหันหน้าไปพึ่งใคร
แต่ก็เข้าใจว่าช่วงที่ผ่านมามีหลายปัญหามาก คงได้แต่พิมพ์ระบายความทุกข์ร้องเรียนไป ตอนนั้นซึมๆเศร้าๆ เพราะไม่รู้จะไปพึ่งทางไหน
ผมเขียนโพสนี้ขึ้นมา เพื่อเตือนใจเพื่อนๆให้ดูข้อมูลนายจ้างดีๆ การทำงานกับองค์กรระหว่างประเทศไม่ได้สวยหรู
คนไทยเราเป็นเหมือนประชากรชั้นล่างสุดในองค์กร ถึงแม้จะบอกว่าสิทธิมนุษยชนเท่าเทียมกัน ตำแหน่งเท่ากันในองค์กรก็ตาม
แต่ที่แย่สุดคือ คนไทยที่ทำงานกับองค์กรพวกนี้ อาจไม่ได้สิทธิความคุ้มครองทางกฎหมายแรงงานที่ทัดเทียมกับลูกจ้างของบริษัททั่วไป
ผมเชื่อว่าลูกจ้างที่ทำงานในองค์กรระหว่างประเทศแบบผม ไม่ได้ตระหนักถึงแง่นี้
ในอีกมุมนึง องค์กรระหว่างประเทศที่ผมทำงานด้วยก็เอาเปรียบนายจ้างองค์กรอื่นๆ ตรงที่สามารถดูดทรัพยากรบุคคลในประเทศไทยไปทำงานให้
แล้วไม่ต้องรับผิดชอบอะไร ไม่เหมือนนายจ้างไทยปกติที่ต้องแบกรับต้นทุนในการดูแลพนักงานของตน
ไหนจะเรื่องเงินบริจาค ที่ผู้คนทั่วโลกรวมถึงรัฐบาลไทยได้มอบให้องค์กรนี้เป็นประจำทุกปี
ผมเห็นการใช้เงินของผู้บริหารชาวต่างชาติแล้ว ทุกข์ใจ น้ำท่วมปาก พูดอะไรไม่ออก
มีเพียงคำถามวนเวียนอยู่ในหัวว่า “นี่หรือ คือเงินที่คนตั้งใจบริจาคมา.. เอามาใช้แบบนี้น่ะหรือ?” …
เอาละครับ! ถ้าโดนเลิกจ้างแบบนี้ต้องทำยังไง ???
1. เข้าใจว่าช็อค แต่อย่ารีบตัดสินใจนะครับ ค่อยๆคิด อย่าเซ็นต์เอกสารใดๆ หากเรายังไม่เข้าใจเนื้อหาในเอกสารอย่างถ่องแท้
ต้องอ่านเอกสารที่เค้าอยากให้เซ็นต์ให้จบก่อน ย้ำนะครับ!
2. เท่าที่ผมคุยกับจนท.แรงงาน มีหลายรายที่พอบอกเลิกจ้างแล้ว นายจ้างพูดปากเปล่าให้หยุดงานเลยทันที ให้ระวังครับ!
อาจกลายเป็นว่าเราขาดงานติดต่อกันเกิน 3 วัน แล้วโดนไล่ออกได้ทันทีโดยนายจ้างไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยใดๆ (ตามกฎหมายแรงงาน)
สิ่งที่ต้องทำคือ ให้คุณขอเอกสารจากนายจ้าง ยืนยันว่าสั่งให้คุณหยุดงานทันที เซ็นต์รับรองครบถ้วน แล้วขอเอกสารเก็บไว้เป็นหลักฐานด้วย
3. ความเชื่อที่ว่า “เซนต์ใบลาออกเองจะดูดีกว่าโดนให้ออกจากงาน” นั้น ผมไม่เชื่อแบบนั้นนะ
นายจ้างไม่ต้องการเราแล้ว ไม่ได้แปลว่าเราล้มเหลว ไม่มีคุณค่า หรือไม่มีความสามารถในการทำงาน
คุณแค่ต้องนำความสามารถไปใช้ที่อื่นที่เหมาะกับคุณมากกว่า ...ที่สำคัญ! ห้ามคิดเด็ดขาดว่าเราไร้ค่า ล้มแล้วลุกขึ้นใหม่ได้ครับ
นี่อาจเป็นโอกาสอันดี ในการทำสิ่งใหม่ๆ นอกกรอบเดิม
ใครมีเคสไหนอยากแชร์ข้อมูลกันเพื่อเป็นประโยชน์กับคนโดนเลิกจ้าง ก็แบ่งปันเรื่องราวกันได้นะครับ
ขอบคุณที่อ่านมาถึงตรงนี้ ต่อจากนี้ไป ผมก็คงติดต่อหน่วยงานรัฐเพื่อดำเนินการร้องเรียนต่อไปครับ