อาหารเหนือลำแต้ๆ จ้าว เห็ดเผาะ (เห็ดถอบ) น้ำพริกแมงมัน ผักส้มเสี้ยน

เพี้ยนปูเสื่อ

           พอดีเป็นคนหนึ่งที่ชอบกิน "เห็ดเผอะ" หรือคนเหนือเรียกว่า "เห็ดถอบ" จะมีในช่วงฤดูฝนเท่านั้นนะจ๊ะ ส่วนน้ำพริกแมงมัน ดูหน้าตาหน้ากินแบบนี้แล้ว คงสงสัยกันว่า "แมงมัน" มันคือตัวอะไร!! แต่ทางภาคเหนือและภาคอีสานรู้จักกันดี และถือว่าเป็นเมนูอาหารที่หาทานไม่ง่ายเลย อีกทั้งยังมีราคาแพงอีกตังหาก (ในภาพเป็นน้ำพริกแมงมันแบบแห้ง)


เห็ดถอบต้ม ใส่เกลือนิดๆ ให้ความหอมของเห็ดเฉพาะตัว ทั้งนี้ เนื่องจากเห็ดชนิดนี้จะมีรสชาติจืด จึงต้องต้มในน้ำเกลือเพื่อเพิ่มรสชาติเค็มๆ มันๆ
ส่วนน้ำพริกแมงมัน ตำเหมือนน้ำพริกตาแดงเลย แต่ใส่แมงมันลงไปเป็นวัตถุดิบหลัก


            เห็ดเผาะ (Barometer Earthstars) เป็นลูกกลมๆ พบมากทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคเหนือของประเทศไทย เจริญเติบโตได้ดีในช่วงฤดูฝน “เห็ดเผาะ” หรือชาวล้านนาเรียกว่า”เห็ดถอบ” เป็นหนึ่งในเห็ดที่มีคุณค่าและรสชาติที่อร่อย ได้ชื่อว่าเห็ดเผาะ มาจากเวลาเคี้ยวเห็ดชนิดนี้จะมีความมัน กรอบ ส่วนภายในของเห็ดจะกลวง เมื่อเคี้ยวแล้วจะเกิดเสียงดังเผาะๆ ทำให้เรียกกันว่าเห็ดเผาะ เห็ดชนิดนี้จะไม่มีรากและลำต้น มีเปลือก 2 ชั้น ดอกเห็ดโตจะเป็นรูปดาว ผิวจะมีสีขาวนวลเรียบ และเปื้อนดิน


การเลือกซื้อเห็ดเผาะ
            เห็ดเผาะที่สดจะต้องไม่แช่หรือล้างน้ำมาก่อน ชอบแบบเคี้ยวกรุบ ๆ ควรเลือกเห็ดอ่อน จะเป็นเห็ดลูกเล็กๆ ที่เปลือกภายนอก สีจะออกขาวไล่ไปจนถึงน้ำตาลอ่อน เคี้ยวแล้วเนื้อในจะมีน้ำเห็ดไหลอยู่ในปาก ถ้าหากชอบแบบเนื้อเหนียวควรเลือกเห็ดแก่ ลูกจะใหญ่เป็นระยะสุดท้ายของเห็ด เปลือกภายนอกสีน้ำตาลดำ เมื่อเอานิ้วบีบลงไปจะรู้สึกถึงความแข็งและเหนียวได้อย่างชัดเจน

การเก็บรักษาเห็ดเผาะ
             หากยังไม่นำมาประกอบอาหารอย่าเพิ่งล้างเพราะจะทำให้เห็ดเสียได้ง่าย ให้ห่อด้วยกระดาษหนังสือพิมพ์แล้วแช่ตู้เย็นไว้ หรือจะล้างทำความสะอาด เอาดินที่ติดอยู่ออกให้หมด จากนั้นจึงนำไปต้มในน้ำเกลือ ต้มจนสุกในน้ำที่เดือดจัดทิ้งไว้สักครู่ จากนั้นรีบตักเห็ดที่ยังร้อนอยู่แช่ในน้ำเย็นจัดเพื่อความกรอบของเห็ด นำขึ้นมาสะเด็ดน้ำ ใส่ถุงพลาสติก แบ่งเก็บไว้แต่ละถุงพอสำหรับประกอบอาหาร 1 มื้อ สามารถถนอมอาหารโดยแช่ไว้ในช่องแช่แข็งจะเก็บไว้ได้นานค่ะ (ขอบคุณข้อมูลจาก https://www.hongthongrice.com/v2/blog/beauty-health/barometer-earthstars/)

น้ำพริกแมงมัน
วิธีการทำน้ำพริกแมงมัน และส่วนผสมของน้ำพริกแมงมัน 
          1. คั่วแมงมันให้สุก หรือจนปีกเกรียมหลุดออกจากตัว ใส่กระชอนห่าง ๆ ร่อนเศษปีกออก
          2. ส่วนผสมน้ำพริก ให้ล้างพริกแห้งให้สะอาด คั่วไปพร้อมๆ กับ ข่า หอม กระเทียม บนเตาไฟด้วยไฟอ่อนๆ จนหอม
          3. ใส่แมงมันลงไปตำพร้อมกับส่วนผสมของน้ำพริก
          4. ปรุงรสด้วยเกลือ น้ำปลาเล็กน้อย (บางสูตรจะใส่มะเขือเทศสุกลงไปด้วย)

มาทำความรู้จักแมงมันกันหน่อย เคยเห็นกันหรือยัง!!

                 หลังฝนตกห่าแรกของปี ในแถบดินแดนล้านนาบ้านเฮา จะมีแมลงชนิดหนึ่งที่ออกมาจากพื้นดินหลังฝนตก คนเมืองล้านนาเรียกแมลงนี้ว่า “แมงมัน” แมงมัน เป็นชื่อเรียกของมดชนิดหนึ่ง ซึ่งทำหน้าที่เป็นมดราชินี สามารถนำมารับประทานเป็นอาหารได้ และมีชื่อวิทยาศาสตร์คือ Carebara castanea เป็นแมลงอยู่ในตระกูล แตน แมงมันเป็นอาหารตามฤดูกาล ที่หากินได้ยากอยู่เหมือนกัน แมงมันที่กินได้คือ แมงมันตัวเมีย มีสีแดงคล้ำ ตัวใหญ่ มีรสมันนิยมนำมาบริโภคเป็นอาหาร เรียกกันทั่วไปว่า “แมงมันแม่” ส่วนแมงมันตัวผู้ มีสีเหลือง ตัวเล็กกว่าแมงมันตัวเมีย ไม่นิยมนำมารับประทานเพราะมีรสขม เรียกกันทั่วไปว่า “แมงมันปู๊” หรือ “แมงมันคา”


               เนื่องจากแมงมัน เป็นอาหารตามฤดูกาล ที่หาได้ยาก จึงเป็นที่ต้องการของชุมชน ที่นิยมรับประทานทั้งไข่ และลูกแมงมันเฉพาะตัวเมีย ดังนั้นแมงมันจึงมีราคาสูงถึง กิโลกรัมละ 2,000 บาท ซึ่งก่อนที่จะออกมาเป็นแมงมัน ไข่ของแมงมันที่อยู่ในดิน ก็ขุดขึ้นมาขาย ขายเป็นช้อนเล็ก ๆ ช้อนละ 20 บาท ทำเมนู “แมงมันจ่อม” คนทางเหนือจะรู้จักดี วิธีการทำ นำไข่แมงมันมาดองกับน้ำซาวข้าว 1-2 คืน แล้วนำมายำกับพริกแห้ง ใส่ต้นหอมผักชีโรยหน้า ส่วนแมงมันตัวผู้ไม่นิยมนำมากิน แต่จะใช้เป็นเหยื่อตกเบ็ดปลาช่อน, ปลาสลิดได้

ผักส้มเสี้ยน (ผักเสี้ยนดอง)

              “ผักเสี้ยน” ภาคเหนือเรียก “ผักส้มเสี้ยน” เป็นวัชพืชขึ้นตามธรรมชาติบริเวณริมทางที่รกร้าง ชอบดินชื้น ไม่นิยมกินสดเพราะมีสารไฮโดรไซยาไนด์ ซึ่งเป็นพิษต่อประสาทส่วนกลาง ต้องนำไปดองเสียก่อนสารพิษนี้จึงละลายไป ผักเสี้ยนสดมีรสขม ดังนั้น ในการทำเป็นอาหารจึงเหมาะสำหรับนำมาดองเปรี้ยว ซึ่งให้รสชาติดีที่สุด เมื่อเปรียบเทียบกับการนำไปปรุงด้วยวิธีอื่น

                ผักเสี้ยนดอง นับเป็นผักดองที่นิยมกินกันทุกภาคและมีขายตลอดทั้งปี ผักเสี้ยนสามารถนำไปต้มหรือลวกให้สุกเพื่อให้หายขมและหมดกลิ่นเหม็นแล้วนำไปเป็นผักจิ้มน้ำพริกก็ได้ แต่ไม่นิยมกัน ผักเสี้ยนดองมีรสเปรียวร้อน คนใต้จะกินเป็นผักร่วมกับขนมจีนน้ำยา จิ้มน้ำพริกต่างๆ หรือนำไปทำแกงส้มใส่กุ้งหรือปลา และยังมำเมนูผักเสี้ยนดองผัดไข่ ผักเสี้ยนดองต้มกับปลา เป็นต้น



                 “ผักเสี้ยน” เป็นไม้ล้มลุกสูง 1-3 ฟุต แตกกิ่งก้านสาขาที่ไม่ยาวมากรอบต้น ตามลำต้นมีขนอ่อนๆ ปกคลุม จับดูจะเหนียวมือ ใบ เป็นใบประกอบมี 5 ใบย่อย ใบย่อยรูปไข่กลับหรือรูปใบหอกกลับ โคนใบรูปลิ่ม ปลายใบแหลมมน ผิวใบเรียบหรือจักฟันเลื่อย เส้นใบ 5-9 คู่ ก้านใบยาว 3-8 เซนติเมตรดอก เป็นแบบดอกช่อกระจะ ออกที่ปลายยอด ดอกสีขาวหรือมีแต้มสีม่วง กลีบดอกรูปรีหรือรูปช้อน มีส่วนคล้ายก้านกลีบ ก้านชูเกสรร่วมยาว 8-23 มิลลิเมตร เปลี่ยนเป็นเกลี้ยง เกสรตัวผู้ 6 อันผล เป็นแบบผลแห้งแตก รูปทรงกระบอก มีสองลิ้น จะงอย แตกจากโคนผลทั้งต้น ต้มน้ำดื่ม บำรุงกำลัง (ขอบคุณภาพและข้อมูลจาก https://www.technologychaoban.com/thai-local-wisdom/article_111586)

เพี้ยนปักหมุด

อันนี้ เพจรีวิวอาหาร "แวะกินข้างถนน" แวะไปทักทายกันได้ ลิงค์นี้เลยจ้า https://www.facebook.com/EatOnStreetFood/
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่