พื้นที่ที่มีรูปร่างเป็นเอกลักษณ์บนดาวอังคาร

By เหมียวศรัทธา - 21 April 2020

“มังกร” ในหุบเขาบนดาวอังคาร 


ดาวอังคารนั้น เป็นดาวเพื่อนบ้านของโลกมาอย่างยาวนาน แต่จนถึงปัจจุบันก็ยังคงถือว่าเป็นดาวที่เต็มไปด้วยความงดงามสุดลึกลับและเรื่องราวที่เราไม่เคยทราบมาก่อนมากมายหลายเรื่อง
ล่าสุด ด้วยความช่วยเหลือของกล้องถ่ายภาพความละเอียดสูง “HiRISE” บนยานอวกาศมาร์สรีคอนเนสเซนซ์ออร์บิเตอร์ของนาซา ทีมนักดาราศาสตร์ได้ภาพสุดน่าสนใจของดาวอังคารกลับมาให้โลกได้เห็นอีกครั้ง เมื่อพวกเขาได้มีโอกาสพบกับภาพของ “มังกร” ตัวหนึ่ง ซ่อนอยู่ภายในหุบเขามารินาริสของดาวอังคาร

มังกรที่เห็นอยู่นี้ เป็นพื้นที่หินทางตะวันตกเฉียงใต้ของหุบเขามารินาริส โดยพื้นที่ดังกล่าวมีชื่อเฉพาะว่า “Melas Chasma” และมีจุดเด่นอยู่ที่รูปร่างของพื้นที่ ที่บังเอิญไปเหมือนกับมังกรแบบจีน
อ้างอิงจากรายงานที่ออกมา ภาพที่เห็นนี้เดิมทีแล้วเป็นส่วนหนึ่งของภาพถ่ายขนาดใหญ่กว่าของหุบเขามารินาริสซึ่งถูกถ่ายไว้แบบไม่มีสีโดยกล้อง HiRISE เมื่อวันที่ 4 กรกฎาคม 2007 จากระดับความสูง 258 กิโลเมตร

อย่างไรก็ตามด้วยความช่วยเหลือจากนักวิทยาศาสตร์จากมหาวิทยาลัยแอริโซนา พื้นที่หินดังกล่าวจึงถูกค้นพบ และถูกเผยแพร่ผ่านทางทวิตเตอร์ของทางนาซาในภายหลัง โดยสำหรับนักวิทยาศาสตร์แล้ว จุดที่สำคัญที่สุดของมังกรตัวนี้ จะอยู่ที่ร่องรอยของแนวหินสีสว่างของมัน   เพราะด้วยลักษณะของแนวหินนี้ ในทางวิทยาศาสตร์ “แสดงให้เห็นถึงร่องรอยการสึกกร่อนมาก่อน” ทำให้มันเป็นอีกหลักฐานอย่างดีที่สนับสนุนว่าบนดาวดวงนี้เคยมีลมหรือน้ำมาก่อนนั่นเอง



ภาพพื้นที่คล้ายมังกรที่ถูกถ่ายมาในครั้งนี้ ไม่ใช่ภาพพื้นที่ที่มีรูปร่างเป็นเอกลักษณ์ภาพแรกที่ถูกถ่ายไว้บนดาวอังคาร  เพราะที่ผ่านๆ มาบนดาวดวงนี้นักวิทยาศาสตร์ก็เคยพบทั้ง หินที่เหมือนโลโก้ “Star Trek” และตัว “แพ็ก-แมน” 
Cr.  https://www.catdumb.tv/dragon-of-mars-378/  By เหมียวศรัทธา - 21 April 2020




พื้นผิวดาวอังคาร ที่มีรูปร่างคล้ายโลโก้ “Star Trek”




เมื่อวันที่ 12 มิถุนายน 2019 องค์การบริหารการบินและอวกาศแห่งชาติสหรัฐ หรือ NASA ได้เผยภาพถ่ายดาวเทียมของยานสำรวจรอบวงโคจรดาวอังคาร Mars Reconnaissance Orbiter (MRO) ที่แสดงให้เห็นถึงพื้นผิวของดาวอังคาร ที่มีลักษณะคล้ายคลึงกับโลโก้ขององค์กร Starfleet ที่อยู่ในภาพยนตร์อวกาศชื่อดัง Star Trek

Star Trek คือภาพยนตร์แนว Sci-fi ที่เกี่ยวกับการสำรวจอวกาศ สานสัมพันธ์ทางการทูตกับสิ่งมีชีวิตต่างดาว และรักษาสันติภาพในกาแล๊กซี่
นาซ่าอธิบายถึงการค้นพบสุดแปลกประหลาดนี้ว่า พื้นผิวที่มีลักษณะคล้ายกับโลโก้ในภาพยนตร์นี้ เกิดจากปรากฎการณ์ลมและลาวาที่เคลื่อนตัวผ่านเนินทรายบริเวณ Hellas Planitia ซึ่งเป็นที่ราบลุ่มทางภาคตะวันออกเฉียงใต้ของดาวอังคาร มิน่าใช่ฝีมือของมนุษย์หรือมนุษย์ต่างดาวแต่อย่างใด

ซึ่งเดิมทีนั้น เนินทรายขนาดใหญ่แห่งนี้เคยมีรูปร่างคล้ายพระจันทร์ครึ่งเสี้ยวอยู่ก่อนแล้ว แต่หลังจากเกิดการระเบิดของลาวาจนทำให้แข็งตัวและถูกกระแสลมพัดเอาทรายออกไป จึงเผยให้เห็นเป็นสัญลักษณ์ดังกล่าวนั่นเอง

สำหรับ มาร์ส-รีคอนเนสเซนซ์-ออร์บิเตอร์ (เอ็มอาร์โอ) ถูกส่งขึ้นจากพื้นโลก เมื่อวันที่ 12 สิงหาคม 2005 โดยมีภารกิจศึกษาและทำความเข้าใจเกี่ยวกับดาวอังคารอย่างละเอียด โดยภารกิจหลักของยานมีกำหนด 4 ปี แต่ดูเหมือนว่ายานจะอึดมากกว่านั้น เพราะมันจะถูกใช้สื่อสารกับภารกิ0ของ NASA ในปี 2020 ด้วยเช่นกัน
Cr.https://www.flagfrog.com/mars-star-trek/ โดย ManoshFiz 
 



 ‘โอลิมปัส’ ภูเขาไฟที่ใหญ่ที่สุดในระบบสุริยะ


นี่คือภาพภูเขาไฟโอลิมปัส (olympus Mons)  เป็นภูเขาไฟรูปโล่ที่ใหญ่ที่สุดในระบบสุริยะจักรวาล  ตั้งอยู่บน"ดาวอังคาร" ขนาดของมันใหญ่โตจนน่าสะพรึงกันเลยทีเดียว  (พิกัดภูมิศาสตร์ 18°39′N 226°12′E / 18.65°N 226.2°E )  ถ้าอยู่บนโลกฐานจะกินเนื้อที่ตั้งแต่ลอสแองเจลิสไปจนถึงซานฟรานซิสโกของอเมริกา

จากการสำรวจพบว่าปากปล่องภูเขาไฟมีความกว้างถึง 60 กิโลเมตร  มีฐานภูเขาไฟเป็นที่ราบกว้างทอดยาว 374 ไมล์ หรือ (624 กม.) - ประมาณขนาดของรัฐแอริโซนา  มีความสูงถึง 25 กิโลเมตร หรือราว 3 เท่า  ของภูเขาเอเวอร์เรสต์ที่สูงที่สุดในโลก

ที่มันใหญ่และสูง  เพราะบนดาวอังคารมีแรงดึงดูดน้อยมากชั้นลาวาจึงสามารถก่อตัวได้ง่าย  และเมื่อมีแรงดึงดูดกระทำต่อเปลือกของดาวน้อย ทำให้แผ่นเปลือกดาวไม่เกิดการขยับจึงไม่เกิดแผ่นดินไหว   ลาวาที่ไหลออกมาเลยสามารถทับถมกันโดยที่ไม่ถล่มลงมา   ทำให้สามารถเพิ่มขนาดของมันขึ้นได้เรื่อยๆทุกครั้งที่มีลาวาไหลออกมา

Olympus Mons ยังคงเป็นภูเขาไฟที่ค่อนข้างใหม่ แม้ว่าจะใช้เวลาหลายพันล้านปีในการก่อตัว แต่บางพื้นที่ของภูเขาอาจมีอายุเพียงไม่กี่ล้านปีเท่านั้นซึ่งค่อนข้างเล็กในช่วงอายุของระบบสุริยะ ดังนั้น Olympus Mons อาจยังคงเป็นภูเขาไฟที่ยังปะทุอยู่   แม้ปัจจุบันมีการค้นพบแอ่งรีอาซิลเวีย ที่ว่ากันว่า สูงกว่าภูเขาไฟลูกนี้ แต่ความชัดเจนของข้อมูลยังมีน้อยมาก 



ใบหน้าบนดาวอังคาร (Face on Mars) 


 ภาพใบหน้าบนดาวอังคาร ในบริเวณพื้นที่ ‘ไซโดเนีย’ (Cydonia) นี้ ถูกถ่ายครั้งแรกโดยยานไวกิ้ง 1 เมื่อ 25 กรกฎาคม ค.ศ. 1976 ในวงโคจรดาวอังคาร เมื่อภาพนี้ถูกเผยแพร่ออกไป ก็เกิดเป็นกระแสไปอย่างแพร่หลาย เช่น มันเป็นอารยธรรมของมนุษย์ดาวอังคาร แต่บ้างก็เชื่อว่า มันเป็นเพียงภูเขาที่ถูกแสงและเงาตกกระทบ
แต่ความจริงแล้วภาพนี้เป็นเพียงอาการของ ‘แพริโดเลีย’ (Pareidolia) เท่านั้น ที่ทำให้เรามองว่า มันได้ไปคล้ายกับใบหน้าของมนุษย์ ซึ่งอันที่จริง มันเป็นเพียงแสงและเงาที่ตกกระกันบนภูเขาบนดาวอังคาร แต่ยานอวกาศใหม่ Mars Reconnaissance Orbiter ไปเก็บภาพที่ตำแหน่งเดิมออกมาแบบไฮเดฟฯ ก็เห็นเป็นแค่ภูเขาธรรมดาๆ
ที่มา สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ Fan Page
Cr.https://www.facebook.com/NARITpage/posts/964433686953579/ 




เกาะรูปร่างเหมือนวาฟเฟิล


เกาะรูปร่างเหมือนวาฟเฟิล  เป็นภาพจากดาวเทียมสำรวจดาวอังคาร เก็บภาพนี้ได้ในปลายปี 2014 เป็นเกาะทรงกลมรูปร่างแปลกๆ คล้ายวาฟเฟิล บนพื้นผิวดาวอังคาร ซึ่งจริงๆ แล้วพื้นที่แปลกๆ ที่กว้างราว 1.2 ไมล์นี้เป็นพื้นที่ๆ ได้รับผลกระทบจากลาวาที่อาจมาจากใต้พื้นผิวของดาวอังคารเท่านั้น




ร่องรอยการไหลของน้ำ


 องค์การอวกาศยุโรป (ESA)  เผยภาพนี้ออกมาเมื่อวันที่ 26 กันยายน 2559 ระบุว่า ภาพถ่ายสีจากพื้นผิวดาวอังคารภาพนี้ เป็นภาพถ่ายบริเวณหุบเขาที่เรียกว่า Mawrth Vallis หนึ่งในเขตหุบเขาที่กว้างที่สุดบนดาวอังคาร และปรากฏร่องรอยการไหลของน้ำ ย้ำให้เห็นว่าครั้งหนึ่งดาวอังคารมีน้ำและน่าจะเอื้อต่อการมีสิ่งมีชีวิต มีสภาวะแวดล้อมที่อาศัยได้
 
สำหรับภาพถ่ายดังกล่าวครอบคลุมพื้นที่ 330,000 ตารางกิโลเมตร นักวิทยาศาสตร์เผยว่าร่องรอยการไหลของน้ำดังกล่าว กำลังบอกเราว่าครั้งหนึ่งเคยมีน้ำไหลผ่านบริเวณนี้ในปริมาณมาก และนอกจากสภาพพื้นที่แล้ว การพบหลักฐานกลุ่มแร่ฟิลโลซิลิเกตบนพื้นผิว ก็ยังเป็นอีกหนึ่งอย่างที่บ่งชี้ว่าดาวอังคารเคยมีน้ำในรูปแบบของเหลว และมีความเป็นไปได้ว่าจะมีสภาพอาศัยได้ในช่วงก่อน 3.6 พันล้านปีที่ผ่านมา
          
รายงานยังระบุด้วยว่า พื้นหินที่เปื้อนสีดำบนดาว ซึ่งเกิดจากเถ้าถ่านภูเขาไฟในอดีต ถูกปกคลุมไปด้วยดินซึ่งอาจจะช่วยปกป้องจุลชีพดึกดำบรรพ์จากรังสีและการกัดกร่อน และนั่นทำให้ Mawrth Vallis เป็นหนึ่งในพื้นที่บนดาวอังคารที่น่าสนใจมาก ๆ สำหรับนักธรณีวิทยาและนักชีวดาราศาสตร์ นอกจากนี้ก็ยังเป็นพื้นที่เป้าหมายในการลงจอดของโครงการ ExoMars 2020 ซึ่งเป็นโครงการสำรวจชีวิตบนดาวอังคารขององค์การอวกาศยุโรปและรัสเซียด้วย




 หลุมน้ำแข็งยักษ์บนดาวอังคาร

ตลอดเวลา 15 ปี  ตั้งแต่ที่มีการปล่อยกล้องออกไปในปี 2003   กล้องสเตอริโอความละเอียดสูงของ “Mars Express” ก็ได้ลอยลำอยู่ที่ดาวอังคาร และเก็บภาพสำคัญๆ สำหรับดาวสีแดงดวงนี้กลับมาให้คนบนโลกได้ดูเป็นจำนวนมาก  และในช่วงใกล้วันคริสต์มาส  2018  Mars Express ได้เผยภาพของหลุมขนาดใหญ่ที่เต็มไปด้วยน้ำแข็งบนดาวอังคาร
 
นี่เป็นภาพของหลุมที่มีชื่อว่า “โคโรเลฟ” (ได้ชื่อมาจากเซียร์เกย์ โคโรเลฟ วิศวกรและนักออกแบบยานอวกาศของโซเวียต) ซึ่งมีขนาดความกว้าง 82 กิโลเมตร ความลึกร่วม 1.8 กิโลเมตร และเก็บเอาน้ำแข็งสีขาวเอาไว้ถึง 2,200 ลูกบาศก์กิโลเมตร   เพราะความลึกของพื้นผิวหลุมมันสูงมากจนทำให้อากาศที่อยู่ข้างใต้เย็นอยู่ตลอดเวลา แถมยังแผ่ออกไปรอบๆ จนเกิดเป็นหลุมน้ำแข็งอย่างที่เห็นไปในที่สุด
 
องค์การอวกาศยุโรปหรือ ESA ผู้เป็นเจ้าของโครงการ Mars Express บอกว่าภาพที่เห็นนี้มาจากการถ่ายภาพในมุมต่างๆ กัน 5 “แถบ” ก่อนที่จะนำมารวมกันเป็นภาพขนาดใหญ่เพียงหนึ่งภาพ   และมีการตกแต่งเล็กน้อยเพื่อให้ง่ายต่อการมอง
ที่มา ladbible และ telegraph
Cr. https://www.catdumb.com/crater-filled-with-ice-on-mars-378/  By เหมียวศรัทธา 

( ขอขอบคุณที่มาของข้อมูลทั้งหมดและขออนุญาตนำมา)
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่