ภาพถ่ายสุดสวยจากอวกาศ

ภาพถ่ายจักรวาลเป็นภาพที่งดงามเสมอ
ดังนั้นภายในระยะเวลาหนึ่งปี
จะมีภาพทรงคุณค่าให้ต้องตัดสินใจเลือกมากมาย
นี่คือภาพบางส่วนที่เป็นเหตุการณ์สำคัญในปี 2556


กระแสพายุหมุนวนขั้วโลกเหนือดาวเสาร์
ถ่ายจากอวกาศยาน NASA's Cassini
เส้นผ่าศูนย์กลาง(ดวงตา) ประมาณการ
มีระยะทาง 1,250 ไมล์(2,011.25 กิโลเมตร) Pm
หมุนวนอยู่ท่ามกลางก้อนเมฆ
ด้วยความเร็วไม่น้อยกว่า 330 ไมล์(530.97 กิโลเมตร) ต่อชั่วโมง


แสงสีที่เหมือนเปลวไฟ(แสง aurora)
ที่ Arctic National Wildlife Refuge ใน North Slope รัฐ Alaska
เมื่อวันที่ 28 สิงหาคม 2556 พร่างพรายแสงบนฟ้ายามฤดูร้อน
น่าจะมาจากเหตุผลครบรอบจุดสูงสุด 11 ปีของวัฏจักรสุริยะ


เนบิวลาหัวหน้าแม่มด (The Witch Head nebula)
ภาพจากหน่วยงานสำรวจอินฟราเรดพื้นที่กว้างขวาง
NASA's Wide-field Infrared Survey Explorer (WISE)
นักดาราศาสตร์เชื่อว่าลูกคลื่นก้อนเมฆเนบิวลา
คือดาวอายุน้อยมากหลายดวงที่กำลังขึ้นรูป
(เริ่มต้นกระบวนการก่อตัวขึ้นเป็นดาวดวงใหม่
ต้องใช้ระยะเวลายาวนานพอสมควร
แต่ดาวบางดวงเท่าที่อ่านพบ ตายก่อนเกิด)
จากแรงกดดันของมวลสารดาวที่มีอายุมากกว่าหลายดวง


ระยะทางเกือบ 200, 000 ปีแสงจากโลก
มีกลุ่มเมฆแมกแจนลานิคขนาดใหญ่(Large Magellanic Cloud)
ดาวบริวารของแกแลคซีทางช้างเผือก(Milky Way)
แรงโน้มถ่วงของแกแลคซีทางช้างเผือก
มีผลกระทบบ้างเล็กน้อย
กับพื้นที่เพื่อนบ้าน/ข้างเคียง
กับบรรดาฝุ่นและก๊าซ
ที่กำลังก่อตัว/ขึ้นรูปเป็นดาวดวงใหม่
เป็นผลให้ก๊าซที่ล้อมรอบกลายเป็นแสงสีลานตา


ภูเขายอดราบ(ด้านบนเป็นที่ราบ)
ตั้งอยู่ท่ามกลาง Hebes Chasma บนดาวอังคาร
เมื่อขึ้นบนที่สูงดูเหมือนว่าเป็นที่ราบ
รอบ ๆ ภูเขายอดราบมีร่องรอยการกัดกร่อนด้วยลมและน้ำ
ร่องรอยรอบ ๆ ภูเขานี้บ่งบอกว่า
พื้นที่แห่งนี้ค่อนข้างเปราะบางและถูกกัดเซาะได้โดยง่าย


ทะเลทรายเกลือ Dasht-e Lut ในตะวันออกเฉียงใต้ของอิหร่าน
เมื่อมองจากอวกาศบ่อยครั้งที่ถูกเรียกว่า สถานที่ร้อนที่สุดบนพื้นโลก
ด้วยเหตุผลหลัก อุณหภูมิพื้นผิวที่ดินที่เคยบันทึกไว้ในปี 2548
จากดาวเทียม NASA's Aqua บันทึกค่าที่อ่านได้ 160ºF (71.1ºC)


ภาพดาว Eta Carinae  
ที่มีมวลขนาดมหิมา
จับภาพที่น่าตกตะลึงได้จาก
กล้องโทรทรรศน์อวกาศฮับเบิล
NASA Hubble Space Telescope
มีลูกคลื่นก้อนเมฆจากก๊าซและฝุ่น
ที่มีขนาดมใหญ่โตมาก


ใจกลางเนบิวลา Orion
กลุ่มเมฆประกอบด้วยก๊าซและฝุ่น
มีชื่อที่รู้จักกันเรียกทั่วไปว่า M42


อวกาศยาน Soyuz TMA-10M พุ่งทะยานสู่ท้องฟ้า
จากฐานปล่อยอวกาศยาน Baikonur ที่ Kazakhstan
เมื่อวันที่ 26 กันยายน  2556
พานักบินอวกาศรัสเซีย Sergey Ryazanskiy กับ Oleg Kotov
และนักบินอวกาศนาซ่า Mike Hopkins
ไปยังสถานีอวกาศนานาชาติ (International Space Station (ISS))


เครื่อง Four RS-25 อยู่ระหว่างการทดสอบความร้อนจากเปลวไฟ
ตามขั้นตอนหลักตามระบบการปล่อยอวกาศยาน
NASA's Space Launch System (SLS)
อเมริกามีแผนสร้างกระสวยบรรทุกของขนาดหนัก
แต่เดิมใช้กระสวยอวกาศเป็นเครื่องยนต์หลัก
RS-25 จะเริ่มทำการทดสอบในปี 2557
ที่ศูนย์อวกาศ NASA's Stennis (Space Center)


กลุ่มประเทศพันธมิตรอวกาศยาน
ปล่อยจรวดนำอวกาศยาน Atlas V
เพื่อทำการสำรวจชั้นบรรยากาศดาวอังคาร
(NASA’s Mars Atmosphere)
และวิวัฒนาการสารระเหย
(Volatile EvolutioN (MAVEN))
อวกาศยานพุ่งขึ้นจากสถานีร่วมปล่อยอวกาศยาน
ที่แหลม Canaveral (Cape Canaveral)
(Air Force Station Space Launch Complex)
เมื่อวันที่ 18 พฤศจิกายน 2556


การระเบิดของพื้นผิวด้านซ้ายมือดวงอาทิตย์
หรือที่เรียกกันว่า การปะทุที่เด่นชัด
ภาพนี้รวมสามภาพประกอบเข้าด้วยกัน
จาก หน่วยงานตรวจสอบการเคลื่อนไหวดวงอาทิตย์(นาซา)
(NASA’s Solar Dynamics Observatory)
จับภาพได้วันที่  3 พฤษภาคม 2556 เวลา 1:45 หลังเที่ยง EDT


อายุขัยของดาวจากภาพอินฟราเรด
ของกล้องโทรทรรศน์อวกาศ Spitzer
(NASA's Spitzer Space Telescope)
ในเขต W5 ที่ดาวหลายดาวกำลังขึ้นรูป
ดาวที่เก่าแก่ที่สุดหลายดวงจะเป็นจุดสีฟ้า
ดาวที่อ่อนกว่าจะอยู่ที่ขอบรอบ ๆ ดาวเก่า
บางดวงจะเห็นเป็นจุดสีชมพูที่ปลายสุดงวงช้างเหมือนเสาหิน
พื้นที่สีขาวที่เป็นปุ่มปมคือ ดาวที่อายุน้อยที่สุดกำลังขึ้นรูป
ดาวสีแดงแสดงถึงฝุ่นผงที่ลุกไหม้
ดาวสีเขียวแสดงถึงกลุ่มก้อนเมฆ


ภาพมุมมองใหม่ของเนบิวลาหัวม้า Horsehead
จากกล้องโทรทรรศน์อวกาศฮับเบิล
(Hubble Space Telescope)
ที่คลื่นความยาวอินฟราเร็ต
เนบิวลามีร่มเงาแสงที่มองเห็นได้
แสดงความโปร่งใสและเปราะบาง
เมื่อมองผ่านระบบอินฟราเรด
ตามเฉดสีที่มองเห็นได้


ดาวเทียมนาโนสามดวง Cubesats
ถูกปล่อยเมื่อวันที่ 19 พฤศจิกายน 2556
จากดาวเทียมโคจรกางปีกขนาดเล็ก
(Small Satellite Orbital Deployer (SSOD))
เพื่อเชื่อมต่อกับแขนกลหุ่นยนต์
บนสถานีอวกาศนานาชาติ


เมื่อวันที่ 19 กรกฎาคม 2556 อวกาศยาน NASA's Cassini
สามารถเล็ดรอดเข้าไปถึงเขตร่มเงาดาวเสาร์
แล้วถ่ายภาพ ดาวเสาร์ วงแหวน ดวงจันทร์ 7 ดวง
จากด้านหลัง ร่องรอยสีฟ้าคือพื้นผิว
ภาพนี้ได้เผยแพร่วันที่ 13  พฤศจิกายน 2556
ด้วยการประกอบภาพอย่างระมัดระวัง
จากภาพประกอบชิ้นเล็กชิ้นน้อย(mosaic) 141 ภาพ
(เหมือนงานกระเบื้องโมเสค)
ระยะทางจากด้านหนึ่งไปยังอีกด้านหนึ่ง
ยาวประมาณถึง 404,880 ไมล์ (651,591 กิโลเมตร)


สีสรรค์ของดาวพุธ
ที่อยู่ในสุดของระบบสุริยะจักรวาล
ปรากฎในภาพนี้จากข้อมูลของ
อวกาศยานผู้ส่งสาส์นโคจรสู่ดาวพุธ
(NASA's Mercury-orbiting MESSENGER spacecraft)


พื้นที่โดดเด่นจากลมพัดเถ้าขี้ฝุ่น
น่าจะมาจากเถ้าถ่านภูเขาไฟ
กระจายจากปล่องภูเขาไฟ Becquerel
ไปยังปล่องภูเขาไฟใกล้เคียงบนดาวอังคาร
แนวกระจายเถ้าถ่านตามพื้นที่โดยรอบ
คล้ายกับว่ามีพายุหมุนขนาดย่อมบนที่นี้


วันที่ 22 กันยายน 2556
วันศารทวิษุวัต (autumnal equinox)
เวลากลางวันเท่ากับเวลากลางคืน
วันเริ่มต้นฤดูใบไม้ร่วงในเขตซีกโลกเหนือ
ฤดูกาลเก็บเกี่ยวจะเริ่มต้นขึ้นกับภูมิอากาศที่รุนแรง
ทางด้านภาคตะวันออกของ Kazakhstan
ในวันที่ 9 กันยายน 2556
ดาวเทียม Landsat 8 ได้ถ่ายภาพนี้
ท้องทุ่งนาหลายแห่งเตียนโล่ง
พื้นที่สีเขียวเข้มเป็นทุ่งหญ้าเลี้ยงสัตว์
หรือพืชผลที่สุกงอมเต็มที่แล้ว


ทะเลคาริบเบียน  The Caribbean Sea
ถ่ายจากสถานีอวกาศนานาชาติ
เมื่อวันที่ 13 สิงหาคม 2556


The Noctis Labyrinthus ในเขตของดาวอังคาร
อยู่บนที่สูงของหุบเขาผาชัน Valles Marineris
ภาพนี้ถ่ายเมื่อวันที่ 26 กันยายน 2556
แสดงขอบสีของเนินเขาที่เป็นหินแข็ง
เช่นเดียวกับการตกตะกอนจากลมพัดพาบนภูเขาสองลูก


Cygnus ยานขนส่งสินค้าเชิงพาณิชย์ไร้คนขับของสหรัฐอเมริกา
กำลังมุ่งหน้าไปยังสถานีอวกาศนานาชาติ
เมื่อวันที่ 29 กันยายน 2556
เป็นการเสร็จสิ้นการทดลองภาระกิจการบินครั้งแรก
ก่อนการเริ่มต้นขนส่งเสบียง/สัมภาระ
ให้กับสถานีอวกาศนานาชาติในเดือนธันวาคม


เกาะสองเกาะบนมหาสมุทรแปซิฟิค
ได้รับผลกระทบครั้งใหญ่จากท้องฟ้า
โดยก้อนเมฆที่อยู่เหนือเกาะ/ท้องทะเล
มีลวดลายคดโค้งเหมือนขนนก
กระจายตัวเป็นระยะทาง 175 ไมล์(281.57 กิโลเมตร)


นักบินอวกาศบนสถานีอวกาศนานาชาติ
ได้ถ่ายภาพภูเขาไฟ Pavlof
เมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม 2556
ภูเขาไฟได้พ่นลาวาขึ้นไปบนท้องฟ้า
พ่นเถ้าถ่านสูงถึง  20,000 ฟุต


กลุ่มเมฆสีดำคือ ดาวดวงใหม่กำลังขึ้นรูป
ภายในกลุ่มดาวที่สุกใส
ที่ได้พัฒนาจากดาวที่เป็นสีฝุ่นในระยะแรก
กลุ่มดาวกลุ่มนี้อยู่ในกลุ่มดาวแมงป่อง
รู้จักกันในชื่อว่า Lupus 3
มีระยะทาง 600 ปีแสงจากโลก


ฝนดาวตก Perseid ประจำปี
ตกเหนือโบสถ์ Garioch ใกล้กับ Aberdeen สก็อตแลนด์
เมื่อวันที่ 12  สิงหาคม  2556


ภาพนี้เป็นการผสมผสาน
ภาพการสังเกตการณ์กาแลคซี M 106
จากกล้องโทรทรรศน์อวกาศฮับเบิล
(Hubble Space telescope)
กับข้อมูลภาพนักดาราศาสตร์สมัครเล่น
Robert Gendler  กับ  Jay GaBany


ดาวเสาร์กับวงแหวน
สร้างขึ้นมาจากภาพต้นแบบ(templates) 12 ภาพ
เป็นภาพประกอบชิ้นเล็กชิ้นน้อย(mosaic)
ที่มีสีแดง สีน้ำเงิน และ สีเขียว
ภาพถ่ายโดยอวกาศยาน Cassini (NASA's Cassini spacecraft)
เมื่อวันที่ 10 ตุลาคม 2556


ภาพดาวหาง ISON ถ่ายเมื่อวันที่ 10 เมษายน 2556
ระยะทางห่างจากโลก 394 ล้านไมล์(ุ633.94 ล้านกิโลเมตร)
โดยกล้องโทรทรรศน์อวกาศฮับเบิล


ดวงจันทร์ขนาดยักษ์(Supermoon) ขึ้นด้านหลัง
อนุสาวรีย์วอชิงตัน(Washington Monument)
เมื่อวันที่  23 มิถุนายน 2556 ใน  Washington D.C.
ปีนี้ดวงจันทร์มีขนาดใหญ่กว่าปกติถึง 13.5% และสว่างกว่า 30%
จากดวงจันทร์เต็มดวงตามปรกติ
เหตุผลจากวงโคจรดวงจันทร์ที่ใกล้โลกมากที่สุด


เรียบเรียงจาก
http://science.time.com/2013/12/10/the-years-most-beautiful-photos-from-space/photo/001-monthinspace-may-2/
http://translate.google.com
http://dict.longdo.com

ผิดพลาดขออภัย  โปรดชี้แนะ  
จะรีบกลับมาแก้ไขโดยพลัน
ขอบคุณล่วงหน้าครับ
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่