ปรากฏการณ์ดังกล่าวเกิดขึ้นเมื่ออนุภาคมีพลังงานสูง เช่น จากพายุสริยะ พุ่งเข้าสู่ชั้นบรรยากาศบริเวณใกล้กับขั้วสนามแม่เหล็กของดาวเคราะห์ และปะทะเข้ากับอะตอมหรือโมเลกุลของก๊าซ โดยบนโลกของเรามีชื่อเรียกออโรราว่าเป็นแสงเหนือ/แสงใต้ ขึ้นอยู่กับบริเวณที่สังเกตเห็น
ดาวพฤหัสบดีก็มีการเกิดออโรรา ตามข้อมูลที่มียานอวกาศเคยสำรวจได้ก่อนหน้านี้ โดยออโรราบนดาวพฤหัสฯ มีขนาดใหญ่กว่าบนโลก และมีพลังงานรุนแรงกว่าในบรรยากาศโลกถึง 100 เท่า โดยสนามแม่เหล็กอันทรงพลังของดาวเคราะห์ก๊าซดวงนี้ ยังได้จับอนุภาคมีพลังงานสูงที่ปลดปล่อยจากดวงจันทร์ไอโอ เป็นส่วนหนึ่งของวัตถุดิบที่ทำให้เกิดแสงเหนือเช่นกัน
ล่าสุดนักดาราศาสตร์ได้ใช้อุปกรณ์NIRCam บนกล้องโทรทรรศน์อวกาศเจมส์ เว็บบ์ บันทึกภาพความเปลี่ยนแปลงของออโรราบนดาวพฤหัสฯ เรียกว่าถ่ายเป็นวิดีโออย่างต่อเนื่อง (ชมคลิปได้ในคอมเมนต์) จนสังเกตเห็นความเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วของแสงเหนือบนดาวเคราะห์ก๊าซยักษ์ดวงนี้
นอกจากนี้ ระหว่างการเปรียบเทียบข้อมูลของกล้องเจมส์ เว็บบ์ กับกล้องฮับเบิล นักดาราศาสตร์พบว่าจุดที่สว่างที่สุดที่กล้องเจมส์ เว็บบ์ บันทึกได้นั้น ไม่ตรงกับส่วนใดที่พบจากกล้องฮับเบิล ซึ่งบันทึกภาพด้วยอุปกรณ์ในช่วงคลื่นอัลตราไวโอเลต กลายเป็นปริศนาที่ต้องมีการศึกษาเพิ่มเติมถึงที่มาของแสงดังกล่าว และกระบวนการที่เกิดขึ้นในบรรยากาศชั้นบนของดาวพฤหัสฯ
งานวิจัยดังกล่าว ภายใต้การนำของ Jonathan Nichols จากมหาวิทยาลัยเลสเตอร์ ได้รับการตีพิมพ์ในวารสาร Nature Communications เมื่อวันที่ 12 พฤษภาคมที่ผ่านมา
เครดิตจากเพจKornKT
NASA เผยภาพถ่าย (และวิดีโอ) การเกิดแสงเหนือ หรือ อโรราขนาดยักษ์บนดาวพฤหัสบดีพร้อมกับพบรายละเอียดและข้อมูลใหม่ๆที่น่าสนใจ
ปรากฏการณ์ดังกล่าวเกิดขึ้นเมื่ออนุภาคมีพลังงานสูง เช่น จากพายุสริยะ พุ่งเข้าสู่ชั้นบรรยากาศบริเวณใกล้กับขั้วสนามแม่เหล็กของดาวเคราะห์ และปะทะเข้ากับอะตอมหรือโมเลกุลของก๊าซ โดยบนโลกของเรามีชื่อเรียกออโรราว่าเป็นแสงเหนือ/แสงใต้ ขึ้นอยู่กับบริเวณที่สังเกตเห็น
ดาวพฤหัสบดีก็มีการเกิดออโรรา ตามข้อมูลที่มียานอวกาศเคยสำรวจได้ก่อนหน้านี้ โดยออโรราบนดาวพฤหัสฯ มีขนาดใหญ่กว่าบนโลก และมีพลังงานรุนแรงกว่าในบรรยากาศโลกถึง 100 เท่า โดยสนามแม่เหล็กอันทรงพลังของดาวเคราะห์ก๊าซดวงนี้ ยังได้จับอนุภาคมีพลังงานสูงที่ปลดปล่อยจากดวงจันทร์ไอโอ เป็นส่วนหนึ่งของวัตถุดิบที่ทำให้เกิดแสงเหนือเช่นกัน
ล่าสุดนักดาราศาสตร์ได้ใช้อุปกรณ์NIRCam บนกล้องโทรทรรศน์อวกาศเจมส์ เว็บบ์ บันทึกภาพความเปลี่ยนแปลงของออโรราบนดาวพฤหัสฯ เรียกว่าถ่ายเป็นวิดีโออย่างต่อเนื่อง (ชมคลิปได้ในคอมเมนต์) จนสังเกตเห็นความเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วของแสงเหนือบนดาวเคราะห์ก๊าซยักษ์ดวงนี้
นอกจากนี้ ระหว่างการเปรียบเทียบข้อมูลของกล้องเจมส์ เว็บบ์ กับกล้องฮับเบิล นักดาราศาสตร์พบว่าจุดที่สว่างที่สุดที่กล้องเจมส์ เว็บบ์ บันทึกได้นั้น ไม่ตรงกับส่วนใดที่พบจากกล้องฮับเบิล ซึ่งบันทึกภาพด้วยอุปกรณ์ในช่วงคลื่นอัลตราไวโอเลต กลายเป็นปริศนาที่ต้องมีการศึกษาเพิ่มเติมถึงที่มาของแสงดังกล่าว และกระบวนการที่เกิดขึ้นในบรรยากาศชั้นบนของดาวพฤหัสฯ
งานวิจัยดังกล่าว ภายใต้การนำของ Jonathan Nichols จากมหาวิทยาลัยเลสเตอร์ ได้รับการตีพิมพ์ในวารสาร Nature Communications เมื่อวันที่ 12 พฤษภาคมที่ผ่านมา
เครดิตจากเพจKornKT