ภาพแสงออโรราที่สวยงามและน่าทึ่งที่ขั้วเหนือของดาวเสาร์จากกล้องฮับเบิล
ดาวเสาร์นอกจากจะมีวงแหวนที่ทำให้มันโดดเด่นเหนือดาวเคราะห์ดวงอื่นในระบบสุริยะแล้ว มันยังมีแสงออโรราคล้ายกับบนโลกด้วย ภาพล่าสุดจากกล้อง
อวกาศฮับเบิลเผยให้เห็นแสงออโรราสีฟ้าสดใสที่ทั้งสวยงามและน่าทึ่งบนขั้วเหนือของดาวเสาร์
ตลอดเวลา 7 เดือนของปี 2017กล้องโทรทรรศน์อวกาศฮับเบิลได้ใช้อุปกรณ์ถ่ายภาพแบบพิเศษ Space Telescope Imaging Spectrograph ศึกษาแสงออโรราบนซีกเหนือของดาวเสาร์ ในช่วงก่อนและหลังวันครีษมายัน (Summer Solstice) ซึ่งเป็นช่วงเวลาดีที่สุดสำหรับการสังเกต ที่บนโลกแสงออโรราเกิดจากลมสุริยะมีปฏิกิริยากับอนุภาคที่มีประจุไฟฟ้า (ส่วนใหญ่เป็นโปรตอนและอิเล็กตรอน) ในสนามแม่เหล็กโลก อนุภาคที่มีประจุเหล่านี้พัดเข้าสู่ชั้นบรรยากาศไอโอโนสเฟียร์และเดินทางไปตามแนวเส้นสนามแม่เหล็กไปขั้วโลกที่ซึ่งเกิดปฏิกิริยากับอนุภาคอื่นๆ เช่น ออกซิเจนและไนโตรเจนกลายเป็นแสงสีสวยวิ่งไปมาบนท้องฟ้า
แสงออโรราไม่ได้มีเฉพาะที่บนโลก ดาวเคราะห์อื่นในระบบสุริยะก็มีแสงออโรราด้วย ได้แก่ ดาวพฤหัสบดี ดาวเสาร์ ดาวยูเรนัส และดาวเนปจูน รวมทั้งดาวเคราะห์นอกระบบสุริยะก็ได้แสดงหลักฐานว่ามีแสงออโรราด้วยเช่นกัน
แสงออโรราที่บนดาวพฤหัสบดีไม่เหมือนกับบนโลกเพราะว่าไม่ได้เกิดจากลมสุริยะ แต่กลไกการเกิดอันลึกลับยังไม่ถูกค้นพบ ส่วนบนดาวเสาร์ดูเหมือนว่าเกิดจากลมสุริยะแต่ยังมีอีกหลายอย่างที่เรายังไม่รู้ และแสงออโรราบนดาวเสาร์ (รวมทั้งบนดาวพฤหัสบดี ดาวยูเรนัส และดาวเนปจูน) ต่างจากบนโลกตรงที่มันไม่สามารถมองเห็นได้ด้วยสายตา แต่อุปกรณ์พิเศษบนกล้องฮับเบิลสามารถเห็นได้ในแสงอัลตราไวโอเลต
“การแปรปรวนของแสงออโรราเป็นผลมาจากทั้งลมสุริยะและความเร็วในการหมุนรอบตัวเองของดาวเสาร์ ซึ่งใช้เวลาราว 11 ชม.เท่านั้น” ทีมงานของ
กล้องฮับเบิลกล่าว
ภาพหายาก-การเกิดแสงเหนือแสงใต้พร้อมกันที่สองขั้วของดาวเสาร์
กล้องอวกาศยฮับเบิลบันทึกภาพนี้ได้เมื่อปี 2009 เป็นภาพการเกิดแสงเหนือ-แสงใต้ที่ขั้วดาวเสาร์ทั้ง 2 ด้านพร้อมกัน ซึ่ง เป็นเหตุการ์ณที่พบได้ยาก ปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นนี้เป็นปรากฏการณ์เดียวกันกับที่เกิดขึ้นบริเวณขั้วโลก โดยเกิดจากอนุภาคมีประจุเข้าปะทะสนามแม่เหล็กของดาวเคราะห์ และกระตุ้นให้ก๊าซในชั้นบรรยากาศเกิดการเรืองแสงขึ้น
ข้อมูลและภาพจาก sciencealert, space
Cr.
https://www.takieng.com/stories/11200
Cr.
https://mrvop.wordpress.com/2011/01/03/saturnaurora/ By Mr.VOP
แสงออโรราเหนือ “ดาวพฤหัสบดี”
(ภาพแสงออโราบนขั้วเหนือของดาวพฤหัสที่บันทึกด้วยกล้องฮับเบิล Handout / NASA, ESA, J. Nichols (University of Leicester) / AF)
นาซาเผยภาพแสงออโรราบนขั้ว “ดาวพฤหัส” บันทึกด้วยกล้องฮับเบิล ขณะที่ยานอวกาศจูโนมุ่งห้นาสู่วงโคจรดาวเคราะห์ก๊าซขนาดยักษ์ของระบบสุริยะ
องค์การบริหารการบินอวกาศสหรัฐฯ (นาซา) เผยภาพแสงออโรราในชั้นบรรยากาศบนขั้วเหนือของดาวพฤหัสบดี ซึ่งเป็นดาวเคราะห์ก๊าซดวงใหญ่ในระบบสุริยะ เมื่อ 30 มิ.ย.2016
ภาพดังกล่าวบันทึกด้วยกล้องโทรทรรศน์อวกาศฮับเบิล (Hubble Space Telescope) ในความร่วมมือของนาซาและองค์การอวกาศยุโรป (อีซา) ซึ่งนักดาราศาสตร์ต้องการใช้ภาพเพื่อศึกษาแสงออโรราบนดาวพฤหัสฯ
โครงการสำรวจแสงออโรรานี้ได้รับการสนับสนุนข้อมูลการวัดจากยานจูโน (Juno) ของนาซา ซึ่งเข้าสู่วงโคจรของดาวพฤหัสฯ ได้สำเร็จเมื่อวันที่ 5 ก.ค.2016
ดาวพฤหัสขึ้นชื่อเรื่องพายุที่มีสีสันสวยงาม โดยพายุที่มีชื่อเสียงมากที่สุดคือ “จุดแดงใหญ่” (Great Red Spot) ซึ่งเห็นเป็นจุดสีส้มขนาดใหญ่บริเวณเส้นศูนย์สูตรของดาวเคราะห์ นักดาราศาสตร์กำลังให้ความสนใจในลักษณะที่งดงามอื่นๆ บนดาวพฤหัสฯ โดยใช้อุปกรณ์สำรวจในย่านรังสีอัลตราไวโอเลตของฮับเบิล
นอกจากภาพแสงออโรราบนดาวพฤหัสแล้วเอเอฟพียังได้รับภาพดาวพฤหัสจากหอดูดาวซีกฟ้าใต้แห่งยุโรป (Eurpean Southern Observatory) หรือ อีโซ (ESO) ซึ่งบันทึกด้วยย่านแสงอินฟราเรดโดยกล้องโทรทรรศน์เวรีลาร์จ (Very Large Telescope) ของอีโซ ในกิจกรรมรณรงค์สร้างแผนที่ความละเอียดสูงของดาวพฤหัสฯ เพื่อเป็นข้อมูลในการทำงานของยานจูโนในการสำรวจดาวเคราะห์ยักษ์ด้วย
NASA ได้ดำเนินโปรแกรมสังเกตการณ์แสงออโร่ราบนดาวพฤหัสบดีแบบวันต่อวันมาเป็นเวลา 1 เดือนแล้ว โดยได้นำชุดภาพจากกล้องโทรทรรศน์อวกาศฮับเบิลมาทำเป็นวีดีโอแสดงการเคลื่อนไหวของปรากฏการณ์แสงออโรร่าขนาดใหญ่กว่าดาวเคราะห์โลก
การบันทึกภาพแสงออโรร่าบนดาวพฤหัสบดีมีจุดประสงค์เพื่อตรวจสอบว่าส่วนประกอบต่างๆของออโรร่าบนดาวพฤหัสบดีตอบสนองต่อสถานะที่แตกต่างกันของลมสุริยะซึ่งเป็นกระแสของอนุภาคที่มีประจุพุ่งมาจากดวงอาทิตย์ได้อย่างไร
ขอบคุณที่มา NASA.gov Video, HubbleESA
เรียบเรียงโดย Boxza
Cr.
https://jarm.com/news/60913 / By Herr Forscher Jarm
Cr.
https://mgronline.com/science/detail/9590000067157 โดย: MGR Online
วงแหวนเรืองแสงอบอุ่นของดาวยูเรนัส
(Credit : UC Berkeley image by Edward Molter and Imke de Pater)
ดาวยูเรนัสอาจมองเห็นได้ยากด้วยตาเปล่า แต่เมื่อเร็วๆนี้นักดาราศาสตร์ก็ได้ภาพที่แสดงให้เห็นความร้อนของดาวยูเรนัส โดยใช้กล้อง โทรทรรศน์ขนาดยักษ์ 2 ตัวคือกล้องอัลมา (Atacama Large Millimeter/sub-millimeter Array-ALMA) และกล้องวีแอลที (Very Large Telescope) ที่ตั้งอยู่ ในประเทศชิลี ซึ่งทำให้นักดาราศาสตร์มองเห็นแสงอุ่นๆออกมาจากวงแหวนที่แปลกประหลาดของดาวเคราะห์ดวงนี้
นักดาราศาสตร์จากมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย เบิร์กลีย์ ในสหรัฐอเมริกา เผยว่า สามารถวัดอุณห-ภูมิของวงแหวนที่เย็นจัดติดลบ 195 องศาเซลเซียส และพบการเรืองแสงที่มีความอุ่นแสดงให้เห็นว่าวงแหวนเอปไซลอน (epsilon) เป็นวงแหวนที่สว่างและหนาแน่นที่สุด ของดาวยูเรนัส มันแตกต่าง จากระบบวงแหวนอื่นๆในระบบสุริยะของเรา เช่น วงแหวนดาวเสาร์ วงแหวนดาวพฤหัสบดี หรือวงแหวนดาวเนปจูน
วงแหวนของดาวยูเรนัสนั้นแคบมากเมื่อเทียบกับวงแหวนของดาวเสาร์ วงแหวนเอปไซลอนกว้างที่สุดคือ 20-100 กิโลเมตร ในขณะที่ดาวเสาร์นั้นกว้าง 100-10,000 กิโลเมตร ปัจจุบันนักดาราศาสตร์ได้พิจารณาว่ามีวงแหวนทั้งหมด 13 วงรอบดาวยูเรนัสและมีฝุ่นระหว่างวงแหวนของดาวเคราะห์ การได้ภาพเรืองแสงจากวงแหวนก็อาจนำไปสู่ความเข้าใจที่ลึกซึ้งยิ่งขึ้นเกี่ยวกับดาวยูเรนัสนั่นเอง.
Cr.
https://www.thairath.co.th/news/foreign/1601520
ปรากฏการณ์แสงเหนือแสงใต้ บนดาวแคระน้ำตาล
ดาวแคระน้ำตาล เป็นดาว (กึ่งดาวฤกษ์) ในลำดับสุดท้ายของแถบลำดับหลัก ที่ส่องแสงริบหรี่สุดๆเพราะมีพลังงานน้อยเกินว่าจะจุดระเบิดตัวเองให้ลุกจ้าแบบดวงอาทิตย์เรา นั่นคือไม่อาจปฏิกิริยาฟิวชันที่แกนดาวแบบดาวฤกษ์อื่น แต่ก็ยังมีแการแผ่ความร้อนออกมาได้เนื่องจากยังเผาผลาญดิวทอเรียมได้
เนื่องด้วยดาวแคระน้ำตาลดูคล้ายดาวเคระาห์แก้สยักษ์มากๆ การแยกแยะก็เลยยังตกลงกันไม่ได้ บางแนวคิดก็ให้ยึดมวลดาวเป็นหลักว่าต้องมากเกิน 13 เท่ามวลของดาวพฤหัส บางแนวคิดก็ให้ดูว่าดาวนั้นต้องเคยมีอดีตที่โชติช่วง คือเคยมีปฏิกิริยาฟิวชันที่แกนดาวมาก่อน แต่มาร่วงโรยลงในภายหลัง
ล่าสุด มีการพบแสงเหนือหรือแสงออโรรา ปรากฏออกมาจากดาวแคระน้ำตาล LSR J1835+3259 ในทิศทางของกลุ่มดาวพิณ ห่างจากโลกราวๆ 18-20 ปีแสง โดยทีมงานของ Gregg Hallinan จากสถาบันเทคโนโลยีแคลิฟอเนีย และได้มีการตีพิม์ลงวารสาร nature
ถือเป็นครั้งแรกที่พบแสงออโรรานอกระบบสุริยะ
ถือเป็นครั้งแรกที่พบแสงออโรราจากดาวแคระน้ำตาล
แสงออโรราที่เกิดบนโลกเรานั้น เกิดโดยการที่อนุภาคมีประจุจากดวงอาทิตย์เดินทางมาชนกับโมเลกุลของแก้สในบรรยากาศชั้นบนของโลก แสงออโรราของโลกตามปกติจะเกิดใน 2 บริเวณ คือถ้าไม่เกิดในแถบซีกโลกเหนือ (แสงเหนือ) ก็จะเกิดในซีกโลกใต้ (แสงใต้) นั่นเพราะสนามแม่เหล็กของโลกจะทำให้เกิดการเบี่ยงทิศของอนุภาคจากลมสุริยะให้เอียงออกจากเส้นศูนย์สูตรไปเข้าทางขั้วโลก
เราพบแสงออโรราในดาวเคราะห์ชั้นนอกทั้ง 4 ดวงของระบบสุริยะคือดาวพฤหัส เสาร์ ยูเรนัส และเนปจูน ซึ่งทั้ง 4 ดวงต่างก็มีสนามแม่เหล็กเหมือนกับโลกเรา แต่ที่พิเศษกว่าการเกิดแสงออโรราบนโลกคือ แสงออโรราที่พบในดาวเคราะห์แก้สทั้ง 4 นี้ ปล่อยสัญญาณคลื่นวิทยุออกมาด้วย
สัญญาณวิทยุนี้แหละคือตัวที่ทีมงานของ Hallinan ตรวจพบการเกิดแสงออโรรานอกระบบสุริยะจากดาวแคระน้ำตาล LSR J1835+3259 ซึ่งเมื่อก่อนหน้านี้ไม่นานมีผู้พบสนามแม่เหล็กของดาวแคระน้ำตาลดวงนี้ด้วยในความเข้มสูงถึง 2-3 พันเกาส์
หลังจากนั้นได้มีการใช้เครื่องมือศึกษาจนพบแสงออโรราบนดาวแคระน้ำตาลดวงนี้ แสงออโรรที่ตรวจจับได้มีความสวา่งกว่าที่เกิดในระบบสุริยะเรานับพันเท่า และมีสีออกไปทางแดง (แสงออโรราที่เกิดบนโลกเราที่เกิดเป็นแสงสีเขียว-ม่วง ทั้งนี้เนื่องจากองค์ประกอบธาตุในโมเลกุลของบรรยากาศแตกต่างกัน)
อ้างอิง
http://www.nature.com/nature/journal/v523/n7562/full/nature14619.html
http://www.eurekalert.org/pub_releases/2015-07/nrao-adp072715.php
http://www.bbc.com/news/science-environment-33711161
http://arxiv.org/abs/1503.06964
Cr.
https://stem.in.th/พบปรากฏการณ์แสงเหนือแส/ เรียบเรียงโดย @MrVop
สดร. มอบ “เพชรแห่งห้วงอวกาศ” แทนรักและกำลังใจคนไทย-ชาวโคราช
สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) (สดร.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม เปิดเผยภาพ วัตถุท้องฟ้าประเภทกระจุกดาว แทนรักและกำลังใจให้ชาวโคราชและชาวไทยเข้มแข็ง แข็งแกร่งดั่งเพชรในวันวาเลนไทน์
โดย กระจุกดาวรูปเพชร (Diamond Cluster, NGC 2516, Caldwell 96) เป็นวัตถุท้องฟ้าประเภทกระจุกดาวเปิดที่สวยงามและสว่างมากแห่งหนึ่งบนฟ้าซีกโลกใต้ อยู่ในกลุ่มดาวกระดูกงูเรือ ห่างออกไปประมาณ 1,300 ปีแสง มีอันดับความสว่าง 3.8 จัดเป็นกระจุกดาวที่สว่างที่สุด 10 อันดับแรกบนท้องฟ้า จึงสามารถมองเห็นได้ง่ายด้วยตาเปล่า ภายในกระจุกดาวมีดาวฤกษ์สมาชิกประมาณ 80 ดวง ดาวที่สว่างที่สุดในกระจุกเป็นดาวยักษ์แดง 2 ดวง ท่ามกลางดาวฤกษ์สีน้ำเงินมากมาย
กระจุกดาวรูปเพชร มักถูกเรียกว่ากระจุกดาวรวงผึ้งทางใต้ (Southern Beehive Cluster) เนื่องจากมีความคล้ายคลึงกับกระจุกดาวรวงผึ้ง (Beehive Cluster, M44) ที่สามารถเห็นได้จากซีกโลกเหนือ ค้นพบเมื่อปี พ.ศ. 2294 – 2295 โดย นิกอลา หลุยส์ เดอ ลากาย (Nicolas Louis de Lacaille) นักดาราศาสตร์ชาวฝรั่งเศส
บันทึกและประมวลผลภาพโดย นายตระกูลจิตร จิตตไสยะพันธ์ และนายกีรติ คำคงอยู่ ด้วยกล้องโทรทรรศน์ทางไกลอัตโนมัติ ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 0.5 เมตร ของสดร.ติดตั้ง ณ หอดูดาวสปริงบรู๊ค ประเทศออสเตรเลีย
Cr.
https://www.matichon.co.th/local/quality-life/news_1969865 โดย มติชนออนไลน์
(ขอขอบคุณที่มาของข้อมูลทั้งหมดและขออนุญาตนำมา)
แสงแห่งดาวในอวกาศ
ดาวเสาร์นอกจากจะมีวงแหวนที่ทำให้มันโดดเด่นเหนือดาวเคราะห์ดวงอื่นในระบบสุริยะแล้ว มันยังมีแสงออโรราคล้ายกับบนโลกด้วย ภาพล่าสุดจากกล้อง
อวกาศฮับเบิลเผยให้เห็นแสงออโรราสีฟ้าสดใสที่ทั้งสวยงามและน่าทึ่งบนขั้วเหนือของดาวเสาร์
ตลอดเวลา 7 เดือนของปี 2017กล้องโทรทรรศน์อวกาศฮับเบิลได้ใช้อุปกรณ์ถ่ายภาพแบบพิเศษ Space Telescope Imaging Spectrograph ศึกษาแสงออโรราบนซีกเหนือของดาวเสาร์ ในช่วงก่อนและหลังวันครีษมายัน (Summer Solstice) ซึ่งเป็นช่วงเวลาดีที่สุดสำหรับการสังเกต ที่บนโลกแสงออโรราเกิดจากลมสุริยะมีปฏิกิริยากับอนุภาคที่มีประจุไฟฟ้า (ส่วนใหญ่เป็นโปรตอนและอิเล็กตรอน) ในสนามแม่เหล็กโลก อนุภาคที่มีประจุเหล่านี้พัดเข้าสู่ชั้นบรรยากาศไอโอโนสเฟียร์และเดินทางไปตามแนวเส้นสนามแม่เหล็กไปขั้วโลกที่ซึ่งเกิดปฏิกิริยากับอนุภาคอื่นๆ เช่น ออกซิเจนและไนโตรเจนกลายเป็นแสงสีสวยวิ่งไปมาบนท้องฟ้า
แสงออโรราไม่ได้มีเฉพาะที่บนโลก ดาวเคราะห์อื่นในระบบสุริยะก็มีแสงออโรราด้วย ได้แก่ ดาวพฤหัสบดี ดาวเสาร์ ดาวยูเรนัส และดาวเนปจูน รวมทั้งดาวเคราะห์นอกระบบสุริยะก็ได้แสดงหลักฐานว่ามีแสงออโรราด้วยเช่นกัน
แสงออโรราที่บนดาวพฤหัสบดีไม่เหมือนกับบนโลกเพราะว่าไม่ได้เกิดจากลมสุริยะ แต่กลไกการเกิดอันลึกลับยังไม่ถูกค้นพบ ส่วนบนดาวเสาร์ดูเหมือนว่าเกิดจากลมสุริยะแต่ยังมีอีกหลายอย่างที่เรายังไม่รู้ และแสงออโรราบนดาวเสาร์ (รวมทั้งบนดาวพฤหัสบดี ดาวยูเรนัส และดาวเนปจูน) ต่างจากบนโลกตรงที่มันไม่สามารถมองเห็นได้ด้วยสายตา แต่อุปกรณ์พิเศษบนกล้องฮับเบิลสามารถเห็นได้ในแสงอัลตราไวโอเลต
“การแปรปรวนของแสงออโรราเป็นผลมาจากทั้งลมสุริยะและความเร็วในการหมุนรอบตัวเองของดาวเสาร์ ซึ่งใช้เวลาราว 11 ชม.เท่านั้น” ทีมงานของ
กล้องฮับเบิลกล่าว
ภาพหายาก-การเกิดแสงเหนือแสงใต้พร้อมกันที่สองขั้วของดาวเสาร์
กล้องอวกาศยฮับเบิลบันทึกภาพนี้ได้เมื่อปี 2009 เป็นภาพการเกิดแสงเหนือ-แสงใต้ที่ขั้วดาวเสาร์ทั้ง 2 ด้านพร้อมกัน ซึ่ง เป็นเหตุการ์ณที่พบได้ยาก ปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นนี้เป็นปรากฏการณ์เดียวกันกับที่เกิดขึ้นบริเวณขั้วโลก โดยเกิดจากอนุภาคมีประจุเข้าปะทะสนามแม่เหล็กของดาวเคราะห์ และกระตุ้นให้ก๊าซในชั้นบรรยากาศเกิดการเรืองแสงขึ้น
ข้อมูลและภาพจาก sciencealert, space
Cr.https://www.takieng.com/stories/11200
Cr.https://mrvop.wordpress.com/2011/01/03/saturnaurora/ By Mr.VOP
แสงออโรราเหนือ “ดาวพฤหัสบดี”
(ภาพแสงออโราบนขั้วเหนือของดาวพฤหัสที่บันทึกด้วยกล้องฮับเบิล Handout / NASA, ESA, J. Nichols (University of Leicester) / AF)
นาซาเผยภาพแสงออโรราบนขั้ว “ดาวพฤหัส” บันทึกด้วยกล้องฮับเบิล ขณะที่ยานอวกาศจูโนมุ่งห้นาสู่วงโคจรดาวเคราะห์ก๊าซขนาดยักษ์ของระบบสุริยะ
องค์การบริหารการบินอวกาศสหรัฐฯ (นาซา) เผยภาพแสงออโรราในชั้นบรรยากาศบนขั้วเหนือของดาวพฤหัสบดี ซึ่งเป็นดาวเคราะห์ก๊าซดวงใหญ่ในระบบสุริยะ เมื่อ 30 มิ.ย.2016
ภาพดังกล่าวบันทึกด้วยกล้องโทรทรรศน์อวกาศฮับเบิล (Hubble Space Telescope) ในความร่วมมือของนาซาและองค์การอวกาศยุโรป (อีซา) ซึ่งนักดาราศาสตร์ต้องการใช้ภาพเพื่อศึกษาแสงออโรราบนดาวพฤหัสฯ
โครงการสำรวจแสงออโรรานี้ได้รับการสนับสนุนข้อมูลการวัดจากยานจูโน (Juno) ของนาซา ซึ่งเข้าสู่วงโคจรของดาวพฤหัสฯ ได้สำเร็จเมื่อวันที่ 5 ก.ค.2016
ดาวพฤหัสขึ้นชื่อเรื่องพายุที่มีสีสันสวยงาม โดยพายุที่มีชื่อเสียงมากที่สุดคือ “จุดแดงใหญ่” (Great Red Spot) ซึ่งเห็นเป็นจุดสีส้มขนาดใหญ่บริเวณเส้นศูนย์สูตรของดาวเคราะห์ นักดาราศาสตร์กำลังให้ความสนใจในลักษณะที่งดงามอื่นๆ บนดาวพฤหัสฯ โดยใช้อุปกรณ์สำรวจในย่านรังสีอัลตราไวโอเลตของฮับเบิล
นอกจากภาพแสงออโรราบนดาวพฤหัสแล้วเอเอฟพียังได้รับภาพดาวพฤหัสจากหอดูดาวซีกฟ้าใต้แห่งยุโรป (Eurpean Southern Observatory) หรือ อีโซ (ESO) ซึ่งบันทึกด้วยย่านแสงอินฟราเรดโดยกล้องโทรทรรศน์เวรีลาร์จ (Very Large Telescope) ของอีโซ ในกิจกรรมรณรงค์สร้างแผนที่ความละเอียดสูงของดาวพฤหัสฯ เพื่อเป็นข้อมูลในการทำงานของยานจูโนในการสำรวจดาวเคราะห์ยักษ์ด้วย
NASA ได้ดำเนินโปรแกรมสังเกตการณ์แสงออโร่ราบนดาวพฤหัสบดีแบบวันต่อวันมาเป็นเวลา 1 เดือนแล้ว โดยได้นำชุดภาพจากกล้องโทรทรรศน์อวกาศฮับเบิลมาทำเป็นวีดีโอแสดงการเคลื่อนไหวของปรากฏการณ์แสงออโรร่าขนาดใหญ่กว่าดาวเคราะห์โลก
การบันทึกภาพแสงออโรร่าบนดาวพฤหัสบดีมีจุดประสงค์เพื่อตรวจสอบว่าส่วนประกอบต่างๆของออโรร่าบนดาวพฤหัสบดีตอบสนองต่อสถานะที่แตกต่างกันของลมสุริยะซึ่งเป็นกระแสของอนุภาคที่มีประจุพุ่งมาจากดวงอาทิตย์ได้อย่างไร
ขอบคุณที่มา NASA.gov Video, HubbleESA
เรียบเรียงโดย Boxza
Cr.https://jarm.com/news/60913 / By Herr Forscher Jarm
Cr.https://mgronline.com/science/detail/9590000067157 โดย: MGR Online
วงแหวนเรืองแสงอบอุ่นของดาวยูเรนัส
(Credit : UC Berkeley image by Edward Molter and Imke de Pater)
ดาวยูเรนัสอาจมองเห็นได้ยากด้วยตาเปล่า แต่เมื่อเร็วๆนี้นักดาราศาสตร์ก็ได้ภาพที่แสดงให้เห็นความร้อนของดาวยูเรนัส โดยใช้กล้อง โทรทรรศน์ขนาดยักษ์ 2 ตัวคือกล้องอัลมา (Atacama Large Millimeter/sub-millimeter Array-ALMA) และกล้องวีแอลที (Very Large Telescope) ที่ตั้งอยู่ ในประเทศชิลี ซึ่งทำให้นักดาราศาสตร์มองเห็นแสงอุ่นๆออกมาจากวงแหวนที่แปลกประหลาดของดาวเคราะห์ดวงนี้
นักดาราศาสตร์จากมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย เบิร์กลีย์ ในสหรัฐอเมริกา เผยว่า สามารถวัดอุณห-ภูมิของวงแหวนที่เย็นจัดติดลบ 195 องศาเซลเซียส และพบการเรืองแสงที่มีความอุ่นแสดงให้เห็นว่าวงแหวนเอปไซลอน (epsilon) เป็นวงแหวนที่สว่างและหนาแน่นที่สุด ของดาวยูเรนัส มันแตกต่าง จากระบบวงแหวนอื่นๆในระบบสุริยะของเรา เช่น วงแหวนดาวเสาร์ วงแหวนดาวพฤหัสบดี หรือวงแหวนดาวเนปจูน
วงแหวนของดาวยูเรนัสนั้นแคบมากเมื่อเทียบกับวงแหวนของดาวเสาร์ วงแหวนเอปไซลอนกว้างที่สุดคือ 20-100 กิโลเมตร ในขณะที่ดาวเสาร์นั้นกว้าง 100-10,000 กิโลเมตร ปัจจุบันนักดาราศาสตร์ได้พิจารณาว่ามีวงแหวนทั้งหมด 13 วงรอบดาวยูเรนัสและมีฝุ่นระหว่างวงแหวนของดาวเคราะห์ การได้ภาพเรืองแสงจากวงแหวนก็อาจนำไปสู่ความเข้าใจที่ลึกซึ้งยิ่งขึ้นเกี่ยวกับดาวยูเรนัสนั่นเอง.
Cr.https://www.thairath.co.th/news/foreign/1601520
ปรากฏการณ์แสงเหนือแสงใต้ บนดาวแคระน้ำตาล
ดาวแคระน้ำตาล เป็นดาว (กึ่งดาวฤกษ์) ในลำดับสุดท้ายของแถบลำดับหลัก ที่ส่องแสงริบหรี่สุดๆเพราะมีพลังงานน้อยเกินว่าจะจุดระเบิดตัวเองให้ลุกจ้าแบบดวงอาทิตย์เรา นั่นคือไม่อาจปฏิกิริยาฟิวชันที่แกนดาวแบบดาวฤกษ์อื่น แต่ก็ยังมีแการแผ่ความร้อนออกมาได้เนื่องจากยังเผาผลาญดิวทอเรียมได้
เนื่องด้วยดาวแคระน้ำตาลดูคล้ายดาวเคระาห์แก้สยักษ์มากๆ การแยกแยะก็เลยยังตกลงกันไม่ได้ บางแนวคิดก็ให้ยึดมวลดาวเป็นหลักว่าต้องมากเกิน 13 เท่ามวลของดาวพฤหัส บางแนวคิดก็ให้ดูว่าดาวนั้นต้องเคยมีอดีตที่โชติช่วง คือเคยมีปฏิกิริยาฟิวชันที่แกนดาวมาก่อน แต่มาร่วงโรยลงในภายหลัง
ล่าสุด มีการพบแสงเหนือหรือแสงออโรรา ปรากฏออกมาจากดาวแคระน้ำตาล LSR J1835+3259 ในทิศทางของกลุ่มดาวพิณ ห่างจากโลกราวๆ 18-20 ปีแสง โดยทีมงานของ Gregg Hallinan จากสถาบันเทคโนโลยีแคลิฟอเนีย และได้มีการตีพิม์ลงวารสาร nature
ถือเป็นครั้งแรกที่พบแสงออโรรานอกระบบสุริยะ
ถือเป็นครั้งแรกที่พบแสงออโรราจากดาวแคระน้ำตาล
แสงออโรราที่เกิดบนโลกเรานั้น เกิดโดยการที่อนุภาคมีประจุจากดวงอาทิตย์เดินทางมาชนกับโมเลกุลของแก้สในบรรยากาศชั้นบนของโลก แสงออโรราของโลกตามปกติจะเกิดใน 2 บริเวณ คือถ้าไม่เกิดในแถบซีกโลกเหนือ (แสงเหนือ) ก็จะเกิดในซีกโลกใต้ (แสงใต้) นั่นเพราะสนามแม่เหล็กของโลกจะทำให้เกิดการเบี่ยงทิศของอนุภาคจากลมสุริยะให้เอียงออกจากเส้นศูนย์สูตรไปเข้าทางขั้วโลก
เราพบแสงออโรราในดาวเคราะห์ชั้นนอกทั้ง 4 ดวงของระบบสุริยะคือดาวพฤหัส เสาร์ ยูเรนัส และเนปจูน ซึ่งทั้ง 4 ดวงต่างก็มีสนามแม่เหล็กเหมือนกับโลกเรา แต่ที่พิเศษกว่าการเกิดแสงออโรราบนโลกคือ แสงออโรราที่พบในดาวเคราะห์แก้สทั้ง 4 นี้ ปล่อยสัญญาณคลื่นวิทยุออกมาด้วย
สัญญาณวิทยุนี้แหละคือตัวที่ทีมงานของ Hallinan ตรวจพบการเกิดแสงออโรรานอกระบบสุริยะจากดาวแคระน้ำตาล LSR J1835+3259 ซึ่งเมื่อก่อนหน้านี้ไม่นานมีผู้พบสนามแม่เหล็กของดาวแคระน้ำตาลดวงนี้ด้วยในความเข้มสูงถึง 2-3 พันเกาส์
หลังจากนั้นได้มีการใช้เครื่องมือศึกษาจนพบแสงออโรราบนดาวแคระน้ำตาลดวงนี้ แสงออโรรที่ตรวจจับได้มีความสวา่งกว่าที่เกิดในระบบสุริยะเรานับพันเท่า และมีสีออกไปทางแดง (แสงออโรราที่เกิดบนโลกเราที่เกิดเป็นแสงสีเขียว-ม่วง ทั้งนี้เนื่องจากองค์ประกอบธาตุในโมเลกุลของบรรยากาศแตกต่างกัน)
อ้างอิง http://www.nature.com/nature/journal/v523/n7562/full/nature14619.html
http://www.eurekalert.org/pub_releases/2015-07/nrao-adp072715.php
http://www.bbc.com/news/science-environment-33711161
http://arxiv.org/abs/1503.06964
Cr.https://stem.in.th/พบปรากฏการณ์แสงเหนือแส/ เรียบเรียงโดย @MrVop
สดร. มอบ “เพชรแห่งห้วงอวกาศ” แทนรักและกำลังใจคนไทย-ชาวโคราช
สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) (สดร.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม เปิดเผยภาพ วัตถุท้องฟ้าประเภทกระจุกดาว แทนรักและกำลังใจให้ชาวโคราชและชาวไทยเข้มแข็ง แข็งแกร่งดั่งเพชรในวันวาเลนไทน์
โดย กระจุกดาวรูปเพชร (Diamond Cluster, NGC 2516, Caldwell 96) เป็นวัตถุท้องฟ้าประเภทกระจุกดาวเปิดที่สวยงามและสว่างมากแห่งหนึ่งบนฟ้าซีกโลกใต้ อยู่ในกลุ่มดาวกระดูกงูเรือ ห่างออกไปประมาณ 1,300 ปีแสง มีอันดับความสว่าง 3.8 จัดเป็นกระจุกดาวที่สว่างที่สุด 10 อันดับแรกบนท้องฟ้า จึงสามารถมองเห็นได้ง่ายด้วยตาเปล่า ภายในกระจุกดาวมีดาวฤกษ์สมาชิกประมาณ 80 ดวง ดาวที่สว่างที่สุดในกระจุกเป็นดาวยักษ์แดง 2 ดวง ท่ามกลางดาวฤกษ์สีน้ำเงินมากมาย
กระจุกดาวรูปเพชร มักถูกเรียกว่ากระจุกดาวรวงผึ้งทางใต้ (Southern Beehive Cluster) เนื่องจากมีความคล้ายคลึงกับกระจุกดาวรวงผึ้ง (Beehive Cluster, M44) ที่สามารถเห็นได้จากซีกโลกเหนือ ค้นพบเมื่อปี พ.ศ. 2294 – 2295 โดย นิกอลา หลุยส์ เดอ ลากาย (Nicolas Louis de Lacaille) นักดาราศาสตร์ชาวฝรั่งเศส
บันทึกและประมวลผลภาพโดย นายตระกูลจิตร จิตตไสยะพันธ์ และนายกีรติ คำคงอยู่ ด้วยกล้องโทรทรรศน์ทางไกลอัตโนมัติ ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 0.5 เมตร ของสดร.ติดตั้ง ณ หอดูดาวสปริงบรู๊ค ประเทศออสเตรเลีย
Cr.https://www.matichon.co.th/local/quality-life/news_1969865 โดย มติชนออนไลน์
(ขอขอบคุณที่มาของข้อมูลทั้งหมดและขออนุญาตนำมา)