ดาวแฝดของโลก
องค์การบริหารการบินและอวกาศแห่งชาติสหรัฐฯหรือนาซาเปิดเผยการค้นพบดาวเคราะห์ที่มีลักษณะคล้ายโลกมากที่สุด โดยนาซาระบุว่าดาวเคราะห์ดวงนี่เปรียบเสมือนกับ "ดาวคู่แฝด" ของโลกและอาจมีสิ่งมีชีวิตอาศัยอยู่
นักวิทยาศาสตร์ขององค์การนาซาใช้กล้องเคปเลอร์ (Kepler) ซึ่งเป็นกล้องโทรทรรศน์มีกำลังขยายสูง สำรวจพบดาวเคราะห์ในกลุ่มดาวซิกนัส (Cygnus) หรือกลุ่มดาวหงส์ซึ่งมีลักษณะคล้ายโลกมากที่สุดและตั้งชื่อว่า "เคปเลอร์ 452b" (Kepler-452b) นาซายังระบุอีกว่าดาวเคราะห์ที่เปรียบเสมือนกับดาวคู่แฝดของโลกนี้อยู่ในโซนของกลุ่มดาวที่เอื้อต่อการอยู่อาศัยของสิ่งมีชีวิต
Kepler-452b มีขนาดใหญ่กว่าโลกถึงร้อยละ 60 นอกจากนี้ยังมีอายุมากกว่าโลก อยู่ห่างจากโลกประมาณ 1,400 ปีแสง โดยโคจรอยู่รอบดาวที่มีลักษณะคล้ายกับดวงอาทิตย์และมีระยะการโคจรเท่าๆ กับโลก รวมทั้งมีความเป็นไปได้ว่าอาจมีภูเขาไฟที่ยังคุกรุ่น มีทะเล แสงแดดเหมือนกับโลกและอาจมีสิ่งมีชีวิตอาศัยอยู่
ข้อมูลที่น่าสนใจคือ ดาว Kepler-452b ใช้เวลา 385 วัน ในการโคจรรอบดาวฤกษ์ ถือว่าใกล้เคียงกับโลกมากๆที่ใช้เวลา 365 วัน และมีอายุของดาวประมาณ 6 พันล้านปีมากกว่าโลกของเราที่มีอายุ 4.6 พันล้านปีด้วย มีการคาดเดากันว่า ตัวดาวน่าจะเต็มไปด้วยภูเขาไฟที่ยังร้อนระอุ แต่ก็ยังมีน้ำทะเลอยู่ สำหรับระยะห่างที่ 1,400 ปีแสงถือได้ว่าเป็นระยะที่ไกลมากๆ เพราะเมื่อเทียบกับดาวพลูโตที่มีระยะห่างแค่ 4.5 ชั่วโมงแสง
ก่อนหน้านี้นาซาเคยประกาศการค้นพบดาวเคราะห์คล้ายโลกมาแล้วหลายครั้ง แต่ดาวเคราะห์ที่พบส่วนใหญ่ยังขาดคุณสมบัติบางอย่างที่ใกล้เคียงกับโลก เช่น บางดวงมีสภาพอากาศที่ร้อนจัดเกินกว่าที่สิ่งมีชีวิตจะดำรงชีวิตอยู่ได้ ต่างจากดาวเคราะห์เคปเลอร์ 452b ซึ่งนักวิทยาศาสตร์ของนาซาระบุว่าเป็นดาวคู่แฝดของโลกจึงตั้งชื่อเล่นให้ว่า “โลกแฝด” หรือ "Earth 2.0"
(และดาวเคราะห์นอกระบบสุริยะอีก 7 ดวง ที่นักดาราศาสตร์จัดให้อยู่ในหมู่ของดาวเคราะห์ที่คล้ายกับโลกมากที่สุด ได้แก่ Kepler-22b ,Gliese 370b,
Gliese 581g, Gliese 581d, Gliese 667Cc, Gliese 163c และ HD 40307g )
ที่มา NASA
Cr.
https://news.thaipbs.or.th/content/3825
Cr.
https://www.techhub.in.th/nasa-kepler-452b-mission-discovers-bigger-older-cousin-to-earth/
Cr.wintaza2541.wordpress.com/เรื่องน่ารู้/ฝาแฝดของโลก/
ดาวแฝดดวงอาทิตย์
HD186302 (จุดกลางภาพ) เป็นดาวฤกษ์ที่คล้ายดวงอาทิตย์มาก อาจเคยเป็นดาวคู่แฝดกับดวงอาทิตย์เมื่อครั้งแรกกำเนิด
Cr.CDS Portal/Simbad
นักดาราศาสตร์พบว่าราว 85 เปอร์เซ็นต์ของดาวฤกษ์ทั้งหมดอยู่กันเป็นคู่ เรียกว่าดาวคู่ โคจรรอบกันและกันในระยะใกล้ บางกรณีอาจเป็นระบบดาวสามดวง หรือแม้แต่ระบบสี่ดวง ประมาณว่ากว่าครึ่งหนึ่งของดาวฤกษ์ที่คล้ายดวงอาทิตย์อยู่ในระบบดาวคู่ แต่ดวงอาทิตย์เป็นดาวฤกษ์เดี่ยว จึงนับว่าแปลก
ไม่นานมานี้มีงานวิจัยหนึ่งชี้ว่า ดาวฤกษ์ทุกดวงหรือเกือบทุกดวงเกิดขึ้นมาเป็นดาวคู่ แม้แต่ดาวที่ปัจจุบันเป็นดาวเดี่ยวก็เกิดมามีคู่ แต่เมื่อเวลาผ่านไป ดาวทั้งคู่จะแยกออกจากกันกลายเป็นดาวดวงเดี่ยวเช่นดวงอาทิตย์ หากเป็นจริงก็หมายความว่า ดวงอาทิตย์ของเราน่าจะมีคู่แฝดเหมือนกัน แต่คู่แฝดนั้นได้แยกทางออกจากดวงอาทิตย์ไปนานแล้ว
การมองหาดาวคู่แฝดของดวงอาทิตย์เป็นเรื่องยากยิ่งเนื่องจากในดาราจักรทางช้างเผือกมีดาวอยู่มากมาย จนถึงปัจจุบัน นักดาราศาสตร์พบดาวเพียงไม่กี่ดวงที่เข้าข่ายน่าจะเป็นคู่แฝดดวงอาทิตย์ นักวิจัยคณะหนึ่งจากสถาบันฟิสิกส์ดาราศาสตร์และวิทยาศาสตร์อวกาศในโปรตุเกส ได้ค้นหาดาวคู่แฝดของดวงอาทิตย์ด้วยเทคโนโลยีล้ำสมัยและข้อมูลที่แม่นยำสุดยอด จนเชื่อว่าได้พบกับดาวดวงนั้นแล้ว อยู่ห่างออกไป 184 ปีแสงชื่อว่าดาว HD186302
ดาวดวงนี้เกิดขึ้นมาจากกลุ่มแก๊สในอวกาศก้อนเดียวกันกับดวงอาทิตย์ และมีลักษณะเกือบเหมือนกันทุกอย่าง เป็นดาวในแถบลำดับหลักเหมือนกัน เป็นดาวชนิดสเปกตรัมจีเช่นเดียวกันแต่มีขนาดใหญ่กว่าดวงอาทิตย์เล็กน้อย มีกำลังส่องสว่างและอุณหภูมิพื้นผิวเท่ากัน องค์ประกอบและสัดส่วนธาตุในดาวเกือบเหมือนกัน และมีอายุไล่เลี่ยกันคือประมาณ 4.5 พันล้านปีจึงถูกเรียกว่า "ดวงอาทิตย์ 2.0"
HD186302 เหมือนดวงอาทิตย์มากยิ่งกว่าดาว HD162826 ที่เคยคิดว่าอาจเป็นคู่แฝดของดวงอาทิตย์ที่ค้นพบในปี 2557 และการที่พบดาวที่เกือบเหมือนดวงอาทิตย์แสดงว่าดาวดวงนี้มีระบบดาวเคราะห์ ซึ่งมีดาวเคราะห์ที่มีลักษณะคล้ายโลกย่อมต้องมีสิ่งมีชีวิตในระบบดาวเคราะห์นี้ด้วยโดยอาจเรียกให้ชวนคิดได้ว่า มี "โลก 2.0 ในระบบของดวงอาทิตย์ 2.0"
ที่มา
Astronomers May Have Just Discovered Our Sun's Long-Lost Identical Twin - sciencealert.com
Cr.
http://thaiastro.nectec.or.th/news/3332/
ดาวแฝดพลูโต
นักดาราศาสตร์ของนาซ่าค้นพบดวงดาวฝาแฝดพลูโต แต่มีขนาดเล็กกว่า อยู่ห่างจากดวงอาทิตย์มากกว่าเนปจูน 20 เท่า ได้รับอนุมัติโค้ดเนมจากสหพันธ์ดาราศาสตร์สากลว่า 2015 RR245 มีเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 435 ไมล์ มีวงโคจรรอบดวงอาทิตย์เป็นรูปวงรี ระยะห่างของวงโคจรที่ใกล้ดวงอาทิตย์มากที่สุด ประมาณ 3.1 พันล้านไมล์ และวงโคจรที่ไกลจากดวงอาทิตย์ที่สุดจะห่างออกไปถึง 7.5 พันล้านไมล์ ซึ่งเป็นจุดที่ดาวดวงนี้จะโคจรไปถึงในปี 2096 ใช้เวลาในการโคจร 1 รอบ ถึง 700 ปี
อาศัยระบบคอมพิมเตอร์ที่มีพลังประมวลผลค่อนข้างสูงในโครงการ OSSOS นักดาราศาสตร์ JJ Kavelaars ซึ่งเป็นหนึ่งในทีมงานได้ระบุการพบ 2015 RR245 จากลักษณะการเคลื่อนที่แบบช้าๆผ่านดาวฉากหลังในภาพถ่ายดาวในเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา Kavelaars ได้คาดการว่าในการเคลื่อนทีลักษณะนี้ อย่างน้อยตำแหน่งของ 2015 RR245 ในขณะที่ค้นพบน่าจะอยู่ห่างไกลโลกกว่าดาวเนปจูนไม่ต่ำกว่า 2 เท่า
ดาวดวงนี้ถูกค้นพบโดยทีมนักดาราศาสตร์ JJ Kavelaars อาศัยระบบคอมพิวเตอร์ที่มีพลังประมวลผลค่อนข้างสูงในโครงการ OSSOS ผ่านกล้อง Canada-France-Hawaii Telescope (CFHT) ที่ Maunakea, Hawaii จากลักษณะการเคลื่อนที่แบบช้าๆผ่านดาวฉากหลังในภาพถ่ายดาวที่ถูกถ่ายไว้ตั้งแต่เดือนกันยายน 2015
Kavelaars คาดการว่าในการเคลื่อนทีลักษณะนี้อย่างน้อยตำแหน่งของ 2015 RR245 ในขณะที่ค้นพบน่าจะอยู่ห่างไกลโลกกว่าดาวเนปจูนไม่ต่ำกว่า 2 เท่า การค้นพบนี้ถูกนำไปวิเคราะห์ในเดือนกุมภาพันธ์ 2016 และแถลงอย่างเป็นทางการในวันที่ 11 กรกฎาคม 2016 ทาง Minor Planet Electronic Circular
มีการค้นพบวัตถุที่อยู่ไกลโพ้นวงโคจรดาวเนปจูนมากขึ้นเรื่อยๆ จึงเป็นอีกเหตุผลว่าทำไมดาวพลูโตโดนปลดจากดาวเคราะห์ดวงที่ 9 เพราะมีดาวที่มีขนาดใกล้เคียงพลูโตอีกจำนวนมากรอให้พบอยู่ในระบบสุริยะชั้นนอก ถ้าจะนับดาวที่พบเหล่านี้เป็นดาวเคราะห์ทั้งหมดจะทำให้ระบบสุริยะจะมีดาวเคราะห์มากจนจำไม่ได้ ดังนั้นดาวที่มีขนาดใกล้เคียงพลูโตจึงถูกแยกกลุ่มไปตั้งเป็น “ดาวเคราะห์แคระ”
ที่มา
https://www.sciencedaily.com/releases/2016/07/160711150825.htm
Cr.ภาพ Alex Parker, OSSOS / rt.com/
Cr.
https://stem.in.th/พบดาวเคราะห์แคระดวงใหม/ เรียบเรียงโดย @MrVop
แฝดของทางช้างเผือก
NGC 6744 หรือ Caldwell 101 จัดเป็นดาราจักรชนิดก้นหอย ที่อยู่ห่างจากโลกประมาณ 30 ล้านปีแสง เยื้องลงมาทางใต้ของกลุ่มดาวนกยูง มันได้รับการพิจารณาให้เป็นคู่แฝดของกาแล็กซีทางช้างเผือกเนื่องจากมันมีลักษณะโดยรวมคล้ายกันมาก เพียงแต่มีขนาดใหญ่กว่าทางช้างเผือกประมาณ 2 เท่า ถูกค้นพบเป็นครั้งแรกใน Parramatta ของออสเตรเลีย โดย James Dunlop นักดาราศาสตร์ชาวสกอตแลนด์เมื่อปี 1826
กาแลคซีมีอายุประมาณ 175,000 ปีแสง ซึ่งใหญ่กว่าทางช้างเผือกทำให้ NGC 6744 เป็นเหมือนพี่ใหญ่ของทางช้างเผือกโดยมีแกนที่ยืดออกและแขนเกลียวที่ไม่แตกต่างกัน แขนก้นหอยนั้นเป็นที่ตั้งของการก่อตัวของดาวภายในกาแลคซีที่มีฝุ่นมาก ฝุ่นในบริเวณที่ก่อตัวเป็นดาวค่อนข้างอุ่นมีอุณหภูมิหลายร้อยเคลวิน
กาแล็กซี่สีสันสดใสนี้ครอบคลุมพื้นที่ขนาดเชิงมุมของพระจันทร์เต็มดวง แกนกลางสีเหลืองของกาแลคซีขนาดยักษ์นี้ถูกครอบงำโดยแสงจากดาวฤกษ์เก่าแก่ที่เย็นจัด นอกเหนือจากแกนกลางแล้วแขนก้นหอยที่เต็มไปด้วยกระจุกดาวสีฟ้าอ่อนและบริเวณที่ก่อตัวเป็นดาวสีชมพู กวาดผ่านกาแลคซีบริวารขนาดเล็กที่ด้านล่างซ้ายชวนให้นึกถึงดาราจักรบริวารของทางช้างเผือกเมฆแมกเจลแลนใหญ่
Cr.ภาพ ESO
Cr.
https://hi-in.facebook.com/myscitv/posts/10157281524776123/ MySci
Cr.
https://www.hansonastronomy.com/ngc-6744
ดาวแฝดของยูเรนัส
(ดาวยูเรนัส และเนปจูน : สองยักษ์น้ำแข็งแห่งระบบสุริยะ)
ดาวยูเรนัส มีขนาดใหญ่กว่าดาวเนปจูนเล็กน้อย ทั้งสองมีรัศมีใหญ่กว่าโลกราว 4 เท่า แต่เนื่องจากดาวเคราะห์ทั้งสองดวงนี้อยู่ห่างจากดวงอาทิตย์มาก เมื่อเทียบกับระยะทางจากดาวเสาร์ถึงดวงอาทิตย์ ดาวยูเรนัสโคจรห่างจากดวงอาทิตย์ราว 2 เท่า ส่วนดาวเนปจูนห่างจากดวงอาทิตย์ราว 3 เท่า ระยะห่างระดับนี้ทำให้การศึกษาดาวเคราะห์ทั้งสองจากบนโลกทำได้ยากมาก
ผู้ค้นพบดาวยูเรนัส คือ Sir William Herschel ในปี ค.ศ. 1781 ต่อมาในปีค.ศ. 1977 นักดาราศาสตร์จากหอดูดาวไคเปอร์แอร์บอร์น (James L. Elliot, Edward W. Dunham, and Douglas J. Mink using the Kuiper Airborne Observatory) พบว่า ดาวยูเรนัสมีวงแหวนจางๆโดยรอบ และได้เห็นรายละเอียดของดาวยูเรนัสพร้อมทั้งวงแหวน และดวงจันทร์บริวารในปีค.ศ. 1986 เมื่อยาน Voyager 2 เคลื่อนผ่าน
อุณหภูมิของดาวเคราะห์ทั้งสองต่ำมากพอกัน คือ ราวๆ -200 องศาเซลเซียส องค์ประกอบของชั้นบรรยากาศดาวทั้งสอง คือ แก๊สไฮโดรเจน รองลงมาคือ ฮีเลียม คล้ายกับดาวพฤหัสฯและดาวเสาร์ อันดับสามคือแก๊สมีเทน ซึ่งดูดกลืนสีแดงและรังสีอินฟราเรด ทำให้ดาวยูเรนัสปรากฏเป็นสีน้ำเงินอมเขียว ส่วนดาวเนปจูนเป็นสีน้ำเงิน นอกจากนี้ ทั้งดาวยูเรนัสและเนปจูนมีวงแหวน จะเห็นได้ว่าดาวเคราะห์ทั้งสองดวงนี้มีอะไรคล้ายกันหลายอย่างราวกับเป็นฝาแฝด
ดาวยูเรนัสใช้เวลาโคจรรอบดวงอาทิตย์ 84 ปี ส่วนดาวเนปจูนใช้เวลา 165 ปี ระยะเวลาในการโคจรรอบดวงอาทิตย์ทำให้ฤดูกาลบนดาวเคราะห์ทั้งสองนี้ยาวนานมาก ตั้งแต่การค้นพบมาถึงวันนี้ ดาวเนปจูนเพิ่งโคจรไปได้เพียง 1 รอบเท่านั้น ทำให้การศึกษาผลของฤดูกาลทำได้ยากเช่นกัน ที่ผ่านมามีเพียง ยานอวกาศวอยเอเจอร์ 2 เท่านั้นที่โคจรโฉบดาวเคราะห์ทั้งสองดวงนี้เพื่อเก็บข้อมูล
ในช่วงที่ยานวอยเอเจอร์ 2 โคจรโฉบเข้าใกล้ดาวเคราะห์ทั้งสองดวงในปี1989 ผิวดาวยูเรนัสปรากฏราบเรียบจนแทบไม่เห็นรายละเอียด ส่วนดาวเนปจูนมีแถบเมฆปรากฏ และเห็นพายุสีน้ำเงินเข้มขนาดใหญ่ (Great Dark Spot) คล้ายกับจุดแดงใหญ่บนดาวพฤหัสฯแต่เล็กกว่า
ต่อมาในปี 1994 กล้องโทรทรรศน์ฮับเบิลศึกษาดาวเนปจูนพบว่าพายุสีน้ำเงินเข้มนั้นหายไป แต่กลับพบพายุขนาดเล็กปรากฏในอีกซีกของดาวแทน พายุบนดาวเนปจูนนั้นมีความเร็วลมสูงมากที่สุดในระบบสุริยะ ซึ่งอาจเร็วที่สุดมากถึง 2,200 กม./ชั่วโมง
เรื่องโดย อาจวรงค์ ป๋องแป๋ง จันทมาศ
Cr.
https://th-th.facebook.com/ardwarong/posts/2805452139575946/
(ขอขอบคุณที่มาของข้อมูลทั้งหมดและขออนุญาตนำมา)
ดวงดาวฝาแฝดในจักรวาล
นักวิทยาศาสตร์ขององค์การนาซาใช้กล้องเคปเลอร์ (Kepler) ซึ่งเป็นกล้องโทรทรรศน์มีกำลังขยายสูง สำรวจพบดาวเคราะห์ในกลุ่มดาวซิกนัส (Cygnus) หรือกลุ่มดาวหงส์ซึ่งมีลักษณะคล้ายโลกมากที่สุดและตั้งชื่อว่า "เคปเลอร์ 452b" (Kepler-452b) นาซายังระบุอีกว่าดาวเคราะห์ที่เปรียบเสมือนกับดาวคู่แฝดของโลกนี้อยู่ในโซนของกลุ่มดาวที่เอื้อต่อการอยู่อาศัยของสิ่งมีชีวิต
Kepler-452b มีขนาดใหญ่กว่าโลกถึงร้อยละ 60 นอกจากนี้ยังมีอายุมากกว่าโลก อยู่ห่างจากโลกประมาณ 1,400 ปีแสง โดยโคจรอยู่รอบดาวที่มีลักษณะคล้ายกับดวงอาทิตย์และมีระยะการโคจรเท่าๆ กับโลก รวมทั้งมีความเป็นไปได้ว่าอาจมีภูเขาไฟที่ยังคุกรุ่น มีทะเล แสงแดดเหมือนกับโลกและอาจมีสิ่งมีชีวิตอาศัยอยู่
ข้อมูลที่น่าสนใจคือ ดาว Kepler-452b ใช้เวลา 385 วัน ในการโคจรรอบดาวฤกษ์ ถือว่าใกล้เคียงกับโลกมากๆที่ใช้เวลา 365 วัน และมีอายุของดาวประมาณ 6 พันล้านปีมากกว่าโลกของเราที่มีอายุ 4.6 พันล้านปีด้วย มีการคาดเดากันว่า ตัวดาวน่าจะเต็มไปด้วยภูเขาไฟที่ยังร้อนระอุ แต่ก็ยังมีน้ำทะเลอยู่ สำหรับระยะห่างที่ 1,400 ปีแสงถือได้ว่าเป็นระยะที่ไกลมากๆ เพราะเมื่อเทียบกับดาวพลูโตที่มีระยะห่างแค่ 4.5 ชั่วโมงแสง
ก่อนหน้านี้นาซาเคยประกาศการค้นพบดาวเคราะห์คล้ายโลกมาแล้วหลายครั้ง แต่ดาวเคราะห์ที่พบส่วนใหญ่ยังขาดคุณสมบัติบางอย่างที่ใกล้เคียงกับโลก เช่น บางดวงมีสภาพอากาศที่ร้อนจัดเกินกว่าที่สิ่งมีชีวิตจะดำรงชีวิตอยู่ได้ ต่างจากดาวเคราะห์เคปเลอร์ 452b ซึ่งนักวิทยาศาสตร์ของนาซาระบุว่าเป็นดาวคู่แฝดของโลกจึงตั้งชื่อเล่นให้ว่า “โลกแฝด” หรือ "Earth 2.0"
(และดาวเคราะห์นอกระบบสุริยะอีก 7 ดวง ที่นักดาราศาสตร์จัดให้อยู่ในหมู่ของดาวเคราะห์ที่คล้ายกับโลกมากที่สุด ได้แก่ Kepler-22b ,Gliese 370b,
Gliese 581g, Gliese 581d, Gliese 667Cc, Gliese 163c และ HD 40307g )
ที่มา NASA
Cr.https://news.thaipbs.or.th/content/3825
Cr.https://www.techhub.in.th/nasa-kepler-452b-mission-discovers-bigger-older-cousin-to-earth/
Cr.wintaza2541.wordpress.com/เรื่องน่ารู้/ฝาแฝดของโลก/
ไม่นานมานี้มีงานวิจัยหนึ่งชี้ว่า ดาวฤกษ์ทุกดวงหรือเกือบทุกดวงเกิดขึ้นมาเป็นดาวคู่ แม้แต่ดาวที่ปัจจุบันเป็นดาวเดี่ยวก็เกิดมามีคู่ แต่เมื่อเวลาผ่านไป ดาวทั้งคู่จะแยกออกจากกันกลายเป็นดาวดวงเดี่ยวเช่นดวงอาทิตย์ หากเป็นจริงก็หมายความว่า ดวงอาทิตย์ของเราน่าจะมีคู่แฝดเหมือนกัน แต่คู่แฝดนั้นได้แยกทางออกจากดวงอาทิตย์ไปนานแล้ว
การมองหาดาวคู่แฝดของดวงอาทิตย์เป็นเรื่องยากยิ่งเนื่องจากในดาราจักรทางช้างเผือกมีดาวอยู่มากมาย จนถึงปัจจุบัน นักดาราศาสตร์พบดาวเพียงไม่กี่ดวงที่เข้าข่ายน่าจะเป็นคู่แฝดดวงอาทิตย์ นักวิจัยคณะหนึ่งจากสถาบันฟิสิกส์ดาราศาสตร์และวิทยาศาสตร์อวกาศในโปรตุเกส ได้ค้นหาดาวคู่แฝดของดวงอาทิตย์ด้วยเทคโนโลยีล้ำสมัยและข้อมูลที่แม่นยำสุดยอด จนเชื่อว่าได้พบกับดาวดวงนั้นแล้ว อยู่ห่างออกไป 184 ปีแสงชื่อว่าดาว HD186302
ดาวดวงนี้เกิดขึ้นมาจากกลุ่มแก๊สในอวกาศก้อนเดียวกันกับดวงอาทิตย์ และมีลักษณะเกือบเหมือนกันทุกอย่าง เป็นดาวในแถบลำดับหลักเหมือนกัน เป็นดาวชนิดสเปกตรัมจีเช่นเดียวกันแต่มีขนาดใหญ่กว่าดวงอาทิตย์เล็กน้อย มีกำลังส่องสว่างและอุณหภูมิพื้นผิวเท่ากัน องค์ประกอบและสัดส่วนธาตุในดาวเกือบเหมือนกัน และมีอายุไล่เลี่ยกันคือประมาณ 4.5 พันล้านปีจึงถูกเรียกว่า "ดวงอาทิตย์ 2.0"
HD186302 เหมือนดวงอาทิตย์มากยิ่งกว่าดาว HD162826 ที่เคยคิดว่าอาจเป็นคู่แฝดของดวงอาทิตย์ที่ค้นพบในปี 2557 และการที่พบดาวที่เกือบเหมือนดวงอาทิตย์แสดงว่าดาวดวงนี้มีระบบดาวเคราะห์ ซึ่งมีดาวเคราะห์ที่มีลักษณะคล้ายโลกย่อมต้องมีสิ่งมีชีวิตในระบบดาวเคราะห์นี้ด้วยโดยอาจเรียกให้ชวนคิดได้ว่า มี "โลก 2.0 ในระบบของดวงอาทิตย์ 2.0"
ที่มา
Astronomers May Have Just Discovered Our Sun's Long-Lost Identical Twin - sciencealert.com
Cr.http://thaiastro.nectec.or.th/news/3332/
ที่มา https://www.sciencedaily.com/releases/2016/07/160711150825.htm
Cr.ภาพ Alex Parker, OSSOS / rt.com/
Cr.https://stem.in.th/พบดาวเคราะห์แคระดวงใหม/ เรียบเรียงโดย @MrVop
แฝดของทางช้างเผือก
กาแลคซีมีอายุประมาณ 175,000 ปีแสง ซึ่งใหญ่กว่าทางช้างเผือกทำให้ NGC 6744 เป็นเหมือนพี่ใหญ่ของทางช้างเผือกโดยมีแกนที่ยืดออกและแขนเกลียวที่ไม่แตกต่างกัน แขนก้นหอยนั้นเป็นที่ตั้งของการก่อตัวของดาวภายในกาแลคซีที่มีฝุ่นมาก ฝุ่นในบริเวณที่ก่อตัวเป็นดาวค่อนข้างอุ่นมีอุณหภูมิหลายร้อยเคลวิน
กาแล็กซี่สีสันสดใสนี้ครอบคลุมพื้นที่ขนาดเชิงมุมของพระจันทร์เต็มดวง แกนกลางสีเหลืองของกาแลคซีขนาดยักษ์นี้ถูกครอบงำโดยแสงจากดาวฤกษ์เก่าแก่ที่เย็นจัด นอกเหนือจากแกนกลางแล้วแขนก้นหอยที่เต็มไปด้วยกระจุกดาวสีฟ้าอ่อนและบริเวณที่ก่อตัวเป็นดาวสีชมพู กวาดผ่านกาแลคซีบริวารขนาดเล็กที่ด้านล่างซ้ายชวนให้นึกถึงดาราจักรบริวารของทางช้างเผือกเมฆแมกเจลแลนใหญ่
Cr.ภาพ ESO
Cr.https://hi-in.facebook.com/myscitv/posts/10157281524776123/ MySci
Cr.https://www.hansonastronomy.com/ngc-6744
ผู้ค้นพบดาวยูเรนัส คือ Sir William Herschel ในปี ค.ศ. 1781 ต่อมาในปีค.ศ. 1977 นักดาราศาสตร์จากหอดูดาวไคเปอร์แอร์บอร์น (James L. Elliot, Edward W. Dunham, and Douglas J. Mink using the Kuiper Airborne Observatory) พบว่า ดาวยูเรนัสมีวงแหวนจางๆโดยรอบ และได้เห็นรายละเอียดของดาวยูเรนัสพร้อมทั้งวงแหวน และดวงจันทร์บริวารในปีค.ศ. 1986 เมื่อยาน Voyager 2 เคลื่อนผ่าน
อุณหภูมิของดาวเคราะห์ทั้งสองต่ำมากพอกัน คือ ราวๆ -200 องศาเซลเซียส องค์ประกอบของชั้นบรรยากาศดาวทั้งสอง คือ แก๊สไฮโดรเจน รองลงมาคือ ฮีเลียม คล้ายกับดาวพฤหัสฯและดาวเสาร์ อันดับสามคือแก๊สมีเทน ซึ่งดูดกลืนสีแดงและรังสีอินฟราเรด ทำให้ดาวยูเรนัสปรากฏเป็นสีน้ำเงินอมเขียว ส่วนดาวเนปจูนเป็นสีน้ำเงิน นอกจากนี้ ทั้งดาวยูเรนัสและเนปจูนมีวงแหวน จะเห็นได้ว่าดาวเคราะห์ทั้งสองดวงนี้มีอะไรคล้ายกันหลายอย่างราวกับเป็นฝาแฝด
ดาวยูเรนัสใช้เวลาโคจรรอบดวงอาทิตย์ 84 ปี ส่วนดาวเนปจูนใช้เวลา 165 ปี ระยะเวลาในการโคจรรอบดวงอาทิตย์ทำให้ฤดูกาลบนดาวเคราะห์ทั้งสองนี้ยาวนานมาก ตั้งแต่การค้นพบมาถึงวันนี้ ดาวเนปจูนเพิ่งโคจรไปได้เพียง 1 รอบเท่านั้น ทำให้การศึกษาผลของฤดูกาลทำได้ยากเช่นกัน ที่ผ่านมามีเพียง ยานอวกาศวอยเอเจอร์ 2 เท่านั้นที่โคจรโฉบดาวเคราะห์ทั้งสองดวงนี้เพื่อเก็บข้อมูล
ในช่วงที่ยานวอยเอเจอร์ 2 โคจรโฉบเข้าใกล้ดาวเคราะห์ทั้งสองดวงในปี1989 ผิวดาวยูเรนัสปรากฏราบเรียบจนแทบไม่เห็นรายละเอียด ส่วนดาวเนปจูนมีแถบเมฆปรากฏ และเห็นพายุสีน้ำเงินเข้มขนาดใหญ่ (Great Dark Spot) คล้ายกับจุดแดงใหญ่บนดาวพฤหัสฯแต่เล็กกว่า
ต่อมาในปี 1994 กล้องโทรทรรศน์ฮับเบิลศึกษาดาวเนปจูนพบว่าพายุสีน้ำเงินเข้มนั้นหายไป แต่กลับพบพายุขนาดเล็กปรากฏในอีกซีกของดาวแทน พายุบนดาวเนปจูนนั้นมีความเร็วลมสูงมากที่สุดในระบบสุริยะ ซึ่งอาจเร็วที่สุดมากถึง 2,200 กม./ชั่วโมง
เรื่องโดย อาจวรงค์ ป๋องแป๋ง จันทมาศ
Cr.https://th-th.facebook.com/ardwarong/posts/2805452139575946/