ESA ค้นพบน้ำค้างแข็งบนดาวอังคาร

เมื่อวานที่ผ่านมา ESA หรือ องค์การอวกาศยูโรป (European Space Agency) ได้เผยแพร่ผลจากศึกษาข้อมูลที่ได้จากอุปกรณ์ CaSSIS (Color and Stereo Surface Imaging System) บนยาน ExoMars และ MarsExpress

ผลการวิเคราะห์ข้อมูลพบว่าบริเวณปากปล่องภูเขาไฟ Olympus Mons มีน้ำค้างแข็งอยู่

น้ำค้างแข็งเหล่านี้ปกคลุมพื้นที่เป็นบริเวณกว้าง จนกลายเป็นแผ่นน้ำแข็งที่มีความหนาเพียง 100 ไมโครเมตร คิดเป็นน้ำปริมาณ 150,000 ตัน เทียบเท่าสระว่ายน้ำโอลิมปิก 60 สระ

แผ่นน้ำค้างแข็งนี้จะปรากฏเพียง 2 ชั่วโมงหลังพระอาทิตย์ขึ้นเท่านั้น หลังจากนั้นจะละเหยเป็นไอน้ำขึ้นสู่ชั้นบรรยากาศของดาวอังคาร และวนซ้ำกลับมาเป็นน้ำค้างอีกครั้งในเช้าวันถัดไป และจะซ้ำแบบนี้ไปเรื่อยๆในชั้นบรรยากาศของดาวอังคารในช่วงฤดูหนาว







ข้อมูลจากเว็บไซต์ ESA : https://www.esa.int/Science_Exploration/Space_Science/Mars_Express/Frosty_volcanoes_discovered_in_Mars_s_tropics?fbclid=IwZXh0bgNhZW0CMTEAAR3H4Yd5ow3aTyK4dwYiINgIZp0JPn_WAukdzWJLxNP_Kz6Lls7pX4nd0QM_aem_ARosVK5A9G5IAEzMqDOlj05TIpdKbKiYvsrvuija71CtRzZT60-2CAzPIsJ1LFt3G-5bGit8obu3OvfgVKkE65ZW
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่