JPL หรือ Jet Propulsion Laboratory หรือ ชื่อภาษาไทยคือ ห้องปฏิบัติการแรงขับเคลื่อนไอพ่น เป็นหน่วยงานภายใต้สังกัดของ NASA และ สถาบันเทคโนโลยีแห่งแคลิฟอร์เนีย หรือ Caltech
หลายคนอาจเคยดูภาพยนตร์เรื่อง The Martian ที่ มาร์ค วัตนี ได้พูดถึงกลุ่มนักศึกษาที่ทำการทดสอบจรวดจนไฟเกือบไหม้วอดทั้งหอพัก ซึ่งนั่นละคือคือเรื่องราวของ JPL ที่จะได้กล่าวต่อไป
ผลงานเด่นของ JPL ที่เรารู้จักกันคือ
ยาน Voyager 1 และ 2 สำรวจระบบสุริยะ และพื้นที่ว่างระหว่างดวงดาว (Interstellar Medium)
ยาน Lunar Reconnaissance Orbiter (LRO) ยานสำรวจดวงจันทร์
ยาน Mariner 1, 2, 3, 4, 5, 6, 7, 8, 9, 10
ยาน Viking ยาน Lander สำรวจพื้นผิวดาวอังคาร
ยาน Phoenix ยาน Lander สำรวจพื้นผิวดาวอังคาร
ยาน insight เป็นยาน Lander สำรวจพื้นผิวดาวอังคาร(เก็บข้อมูลทางธรณีวิทยา ตรวจวัดคลื่นแผ่นดินไหว)
ยาน Mars Odyssey ยานโคจรรอบดาวอังคาร
ยาน Mars Reconnaissance Orbiter (MRO) ยานโคจรรอบดาวอังคาร สำรวจพื้นผิว ทำแผนที่ดาวอังคาร และทำหน้าที่เป็นตัวกลางในการติดต่อระหว่างโลกและยานสำรวจภาคพื้นดาวอังคาร
ยาน Spirit รถ Rover สำรวจดาวอังคาร
ยาน Opportunity รถ Rover สำรวจดาวอังคาร
ยาน Curiosity รถ Rover สำรวจพื้นผิวดาวอังคาร
ยาน Perseverance เป็นรถ Rover สำรวจพื้นผิวดาวอังคาร
เฮลิคอปเตอร์ Ingenuity เฮลิคอปเตอร์สำรวจภาคพื้นดาวอังคาร
ภาพบรรยากาศการทำงานในห้องควบคุมที่ JPL หลังยาน Perceverance ลงจอดบนดาวอังคารสำเร็จ
วินาทียานไวกิงลงจอดบนดาวอังคาร และกลายเป็นยานอวกาศลำแรกที่ลงจอดบนดาวอังคารสำเร็จ
จุดเริ่มต้นของ JPL นั้น เริ่มจาก ปี ค.ศ. 1980 ศาสตราจารย์ Theodore von Kármán แห่ง Caltech ที่ทำหน้าที่งานด้านการบุกเบิกและวิจัยจรวด และได้มีการสอนในการวิจัยจรวดในระดับปริญญาเอก
จุดสำคัญนั้นเริ่มจากกลุ่มนักศึกษาปริญญาเอกที่เป็นลูกศิษย์ของ ศาสตราจารย์ Theodore von Kármán นำโดย Rudolph Schott, Apollo MO Smith, Frank Malina, Edward Forman, Jack Parsons ได้ทำการทดลองจรวด แล้วเกิดความผิดพลาดจรวดระเบิดจนไฟเกือบไหม้วอดทั้งหอพัก และเป็นอันตรายต่อนักศึกษาหลายคน ทางมหาวิทยาลัย (Caltech) จึงสั่งให้พวกเขาย้ายออกไปที่อื่น (ไม่ได้ไล่ออกแต่ให้ไปทดลองที่อื่น)
ภาพกลุ่มนักศึกษากำลังทดสอบเครื่องยนต์จรวดเชื้อเพลิงแอลกอฮอล์ ณ บริเวณพื้นที่ Pasadena อันเป็นที่ตั้งของ JPL ในปัจจุบัน
ท้ายที่สุดพวกเขาย้ายมาอยู่พื้นที่บริเวณหุบเขาที่เรียกว่า Pasadena อันเป็นที่ตั้งของ JPL ในปัจจุบัน การทดสอบแรกของพวกเขาหลังจากย้ายมา Pasadena คือ การทดสอบเครื่องยนต์จรวดที่ใช้เชื้อเพลิงแอลกอฮอล์ และในขณะนั้น ศาสตราจารย์ Theodore von Kármán ดำรงตำแหน่งที่ปรึกษาทางด้านวิทยาศาสตร์ให้กับกองทัพอากาศสหรัฐ ได้โน้มน้าวให้กองทัพจัดสรรเงินทุนเพื่อพัฒนาเครื่องบิน(จรวด) ในท้ายที่สุด JPL ก็ได้แผลงฤทธิ์ สร้างผลงานเด่นในสงครามโลกครั้งที่สอง ด้วยการพัฒนาและวิจัยจรวดให้กับกองทัพสหรัฐฯ
ภาพการทดสอบ ขีปนาวุธ Corporal E ในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง ซึ่งวิจัยและพัฒนาโดย JPL ภายใต้สังกัดกองทัพสหรัฐฯ
จุดเริ่มต้นของงานด้านอวกาศของ JPL นั้น เริ่มจาก สหภาพโซเวียต ส่งดาวเทียม Sputnik 1 ขึ้นสู่อวกาศ สำเร็จ ทำให้กองทัพสหรัฐฯเกรงกลัวต่อภัยความมั่นคงทางอากาศ จึงได้พัฒนาและส่งดาวเทียม Explorer 1 ขึ้นสู่อวกาศสำเร็จ ในวันที่ 31 ม.ค. ปี 1958 ภายใต้การวิจัยและพัฒนาโดย JPL ด้วยความสำเร็จนี้จึงได้มีการผลักดันให้มีการก่อตั้งหน่วยด้านอวกาศขึ้นเป็นการเฉพาะ อันเป็นจุดเริ่มต้นของการก่อตั้ง NASA ซึ่งขึ้นตรงต่อรัฐบาลกลาง หลังจากที่ NASA ก่อตั้งได้ 2 เดือน JPL ก็ถูกโอนจากหน่วยงานในสังกัดกองทัพสหรัฐฯ มาเป็นหน่วยงานภายใต้การกำกับดูแลของ NASA
หลังจากนั้น JPL ก็ได้สร้างผลงานกระหึ่มโลกมากมาย เช่น ยาน Voyager ยานอวกาศลำแรกที่เดินทางออกสู่ Interstellar Medium หรือพื้นที่มวลสารระหว่างดาวฤกษ์สำเร็จ ยาน Viking ยานอวกาศลำแรกที่ลงจอดบนดาวอังคารสำเร็จ เป็นต้น
ที่ต้องเขียนบทความนี้ก็เพื่อต้องการให้เห็น ทัศนคติ มุมมองความคิดของ JPL ที่นำพาพวกเขาให้กลายมาเป็น JPL หน่วยงานทางด้านอวกาศที่ประสบความสำเร็จมากที่สุด อันจะเป็นแรงบันดาลใจให้กับนักเรียน นักศึกษา ที่สนใจในด้านนี้ ได้มีแรงใจในการศึกษาค้นคว้าต่อไป
สุดท้ายขอฝากสุภาษิตภาษาละตินไว้ว่า
"Ad Astra per aspera"
"การไปสู่ดวงดาวนั้นเต็มไปด้วยอุปสรรค"
ปล. ศาสตราจารย์ Theodore von Kármán เป็นคนแรกที่คำนวณระดับความสูงของชั้นบรรยากาศโลกที่เบาบางมากจนอากาศยานไม่สามารถบินได้ว่าอยู่ที่ระดับความสูง 80 ±10 กม.อันเป็นที่มาของเส้นแบ่งเขตแดนระหว่างอวกาศกับชั้นบรรยากาศโลก ที่เรียกว่าเส้น Karman Line
ข้อมูลจาก JPL : https://www.jpl.nasa.gov/who-we-are/history/
กว่าจะเป็น JPL หน่วยงานอวกาศที่ประสบความสำเร็จมากที่สุด
หลายคนอาจเคยดูภาพยนตร์เรื่อง The Martian ที่ มาร์ค วัตนี ได้พูดถึงกลุ่มนักศึกษาที่ทำการทดสอบจรวดจนไฟเกือบไหม้วอดทั้งหอพัก ซึ่งนั่นละคือคือเรื่องราวของ JPL ที่จะได้กล่าวต่อไป
ผลงานเด่นของ JPL ที่เรารู้จักกันคือ
ยาน Voyager 1 และ 2 สำรวจระบบสุริยะ และพื้นที่ว่างระหว่างดวงดาว (Interstellar Medium)
ยาน Lunar Reconnaissance Orbiter (LRO) ยานสำรวจดวงจันทร์
ยาน Mariner 1, 2, 3, 4, 5, 6, 7, 8, 9, 10
ยาน Viking ยาน Lander สำรวจพื้นผิวดาวอังคาร
ยาน Phoenix ยาน Lander สำรวจพื้นผิวดาวอังคาร
ยาน insight เป็นยาน Lander สำรวจพื้นผิวดาวอังคาร(เก็บข้อมูลทางธรณีวิทยา ตรวจวัดคลื่นแผ่นดินไหว)
ยาน Mars Odyssey ยานโคจรรอบดาวอังคาร
ยาน Mars Reconnaissance Orbiter (MRO) ยานโคจรรอบดาวอังคาร สำรวจพื้นผิว ทำแผนที่ดาวอังคาร และทำหน้าที่เป็นตัวกลางในการติดต่อระหว่างโลกและยานสำรวจภาคพื้นดาวอังคาร
ยาน Spirit รถ Rover สำรวจดาวอังคาร
ยาน Opportunity รถ Rover สำรวจดาวอังคาร
ยาน Curiosity รถ Rover สำรวจพื้นผิวดาวอังคาร
ยาน Perseverance เป็นรถ Rover สำรวจพื้นผิวดาวอังคาร
เฮลิคอปเตอร์ Ingenuity เฮลิคอปเตอร์สำรวจภาคพื้นดาวอังคาร
ภาพบรรยากาศการทำงานในห้องควบคุมที่ JPL หลังยาน Perceverance ลงจอดบนดาวอังคารสำเร็จ
วินาทียานไวกิงลงจอดบนดาวอังคาร และกลายเป็นยานอวกาศลำแรกที่ลงจอดบนดาวอังคารสำเร็จ
จุดเริ่มต้นของ JPL นั้น เริ่มจาก ปี ค.ศ. 1980 ศาสตราจารย์ Theodore von Kármán แห่ง Caltech ที่ทำหน้าที่งานด้านการบุกเบิกและวิจัยจรวด และได้มีการสอนในการวิจัยจรวดในระดับปริญญาเอก
จุดสำคัญนั้นเริ่มจากกลุ่มนักศึกษาปริญญาเอกที่เป็นลูกศิษย์ของ ศาสตราจารย์ Theodore von Kármán นำโดย Rudolph Schott, Apollo MO Smith, Frank Malina, Edward Forman, Jack Parsons ได้ทำการทดลองจรวด แล้วเกิดความผิดพลาดจรวดระเบิดจนไฟเกือบไหม้วอดทั้งหอพัก และเป็นอันตรายต่อนักศึกษาหลายคน ทางมหาวิทยาลัย (Caltech) จึงสั่งให้พวกเขาย้ายออกไปที่อื่น (ไม่ได้ไล่ออกแต่ให้ไปทดลองที่อื่น)
ภาพกลุ่มนักศึกษากำลังทดสอบเครื่องยนต์จรวดเชื้อเพลิงแอลกอฮอล์ ณ บริเวณพื้นที่ Pasadena อันเป็นที่ตั้งของ JPL ในปัจจุบัน
ท้ายที่สุดพวกเขาย้ายมาอยู่พื้นที่บริเวณหุบเขาที่เรียกว่า Pasadena อันเป็นที่ตั้งของ JPL ในปัจจุบัน การทดสอบแรกของพวกเขาหลังจากย้ายมา Pasadena คือ การทดสอบเครื่องยนต์จรวดที่ใช้เชื้อเพลิงแอลกอฮอล์ และในขณะนั้น ศาสตราจารย์ Theodore von Kármán ดำรงตำแหน่งที่ปรึกษาทางด้านวิทยาศาสตร์ให้กับกองทัพอากาศสหรัฐ ได้โน้มน้าวให้กองทัพจัดสรรเงินทุนเพื่อพัฒนาเครื่องบิน(จรวด) ในท้ายที่สุด JPL ก็ได้แผลงฤทธิ์ สร้างผลงานเด่นในสงครามโลกครั้งที่สอง ด้วยการพัฒนาและวิจัยจรวดให้กับกองทัพสหรัฐฯ
ภาพการทดสอบ ขีปนาวุธ Corporal E ในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง ซึ่งวิจัยและพัฒนาโดย JPL ภายใต้สังกัดกองทัพสหรัฐฯ
จุดเริ่มต้นของงานด้านอวกาศของ JPL นั้น เริ่มจาก สหภาพโซเวียต ส่งดาวเทียม Sputnik 1 ขึ้นสู่อวกาศ สำเร็จ ทำให้กองทัพสหรัฐฯเกรงกลัวต่อภัยความมั่นคงทางอากาศ จึงได้พัฒนาและส่งดาวเทียม Explorer 1 ขึ้นสู่อวกาศสำเร็จ ในวันที่ 31 ม.ค. ปี 1958 ภายใต้การวิจัยและพัฒนาโดย JPL ด้วยความสำเร็จนี้จึงได้มีการผลักดันให้มีการก่อตั้งหน่วยด้านอวกาศขึ้นเป็นการเฉพาะ อันเป็นจุดเริ่มต้นของการก่อตั้ง NASA ซึ่งขึ้นตรงต่อรัฐบาลกลาง หลังจากที่ NASA ก่อตั้งได้ 2 เดือน JPL ก็ถูกโอนจากหน่วยงานในสังกัดกองทัพสหรัฐฯ มาเป็นหน่วยงานภายใต้การกำกับดูแลของ NASA
หลังจากนั้น JPL ก็ได้สร้างผลงานกระหึ่มโลกมากมาย เช่น ยาน Voyager ยานอวกาศลำแรกที่เดินทางออกสู่ Interstellar Medium หรือพื้นที่มวลสารระหว่างดาวฤกษ์สำเร็จ ยาน Viking ยานอวกาศลำแรกที่ลงจอดบนดาวอังคารสำเร็จ เป็นต้น
ที่ต้องเขียนบทความนี้ก็เพื่อต้องการให้เห็น ทัศนคติ มุมมองความคิดของ JPL ที่นำพาพวกเขาให้กลายมาเป็น JPL หน่วยงานทางด้านอวกาศที่ประสบความสำเร็จมากที่สุด อันจะเป็นแรงบันดาลใจให้กับนักเรียน นักศึกษา ที่สนใจในด้านนี้ ได้มีแรงใจในการศึกษาค้นคว้าต่อไป
สุดท้ายขอฝากสุภาษิตภาษาละตินไว้ว่า
"Ad Astra per aspera"
"การไปสู่ดวงดาวนั้นเต็มไปด้วยอุปสรรค"
ปล. ศาสตราจารย์ Theodore von Kármán เป็นคนแรกที่คำนวณระดับความสูงของชั้นบรรยากาศโลกที่เบาบางมากจนอากาศยานไม่สามารถบินได้ว่าอยู่ที่ระดับความสูง 80 ±10 กม.อันเป็นที่มาของเส้นแบ่งเขตแดนระหว่างอวกาศกับชั้นบรรยากาศโลก ที่เรียกว่าเส้น Karman Line
ข้อมูลจาก JPL : https://www.jpl.nasa.gov/who-we-are/history/