ธปท. ออก พ.ร.ก. ตั้งกองทุน 4 แสนล้านบาท อุ้มหนี้เอกชน เหมือนประวัติศาสตร์กำลังย้อนรอยวิกฤตต้มยำกุ้ง
หลังจาก ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) เห็นชอบให้ ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ออกพระราชกำหนด (พ.ร.ก.) เสริมสภาพคล่องเพื่อดูแลเสถียรภาพตลาดตราสารหนี้ภาคเอกชน?? โดยการจัดตั้งกองทุนเสริมสภาพคล่องตลาดตราสารหนี้ภาคเอกชน?(Corporate Bond Stabilization Fund: BSF) วงเงินรวม 4 แสนล้านบาท ?เพื่อเป็นแหล่งเงินสำรองชั่วคราว (bridge financing) สำหรับเข้าไปซื้อตราสารหนี้ที่ออกโดยบริษัทที่มีคุณภาพดีที่มีตราสารหนี้ครบกำหนดชำระในช่วงปี 2563–2564 ซึ่งบริษัทที่ขอรับความช่วยเหลือจากกองทุนฯ มีเงื่อนไขว่า
1. จะต้องชำระอัตราดอกเบี้ยที่สูงกว่าอัตราตลาด
2. ต้องระดมทุนส่วนใหญ่ได้จากแหล่งเงินทุนอื่น เช่น การกู้เงินธนาคารพาณิชย์หรือการเพิ่มทุน
3. ต้องมีแผนการจัดหาทุนในระยะยาวที่ชัดเจน
4. ต้องผ่านเกณฑ์และปฏิบัติตามเงื่อนไขที่คณะกรรมการกำกับกองทุนกำหนด
5. หากผู้ออกตราสารหนี้เสนอขายตราสารหนี้ต่อนักลงทุนทั่วไปและมีการให้หลักประกันแก่ผู้ถือ ตราสารหนี้ที่กองทุน BFS จะลงทุนในคราวเดียวกันต้องมีหลักประกันไม่ด้อยกว่าหลักประกันที่ให้แก่ผู้ถือตราสารหนี้อื่น
นายวิรไท สันติประภพ ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) กล่าวว่า ปัจจุบันตลาดตราสารหนี้ภาคเอกชนของไทย มียอดคงค้างประมาณ 3.6 ล้านล้านบาท หรือกว่า 20% ของจีดีพี
ดังนั้นหากกลไกตลาดตราสารหนี้ภาคเอกชนไม่สามารถทำงานได้ปกติ หรือผู้ลงทุนขาดความเชื่อมั่นในการลงทุน การระดมทุนหรือต่ออายุหนี้ (rollover) ของธุรกิจจะทำได้ยาก แม้ธุรกิจที่มั่นคงก็อาจจะไม่สามารถระดมทุนได้ หรือต้องระดมทุนด้วยต้นทุนที่สูงขึ้นมาก จึงมีความเสี่ยงที่ปัญหาการขาดสภาพคล่องจะลุกลามในวงกว้าง เป็นปัญหาเชิงระบบตามมา ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อประชาชนที่ออมเงินผ่านตัวกลางต่างๆ ที่ลงทุนในตราสารหนี้ภาคเอกชน อาทิ กองทุนรวมตราสารหนี้ กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ สหกรณ์ออมทรัพย์ กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ และกองทุนประกันสังคมด้วย
มาตรการของ ธปท. หนีไม่พ้นว่า เป็นการอุ้มหนี้ภาคเอกชน การดำเนินการดังกล่าวเป็นหน้าที่ของ ธปท. หรือไม่ และมีอะไรยืนยันว่าจะไม่เกิดความเสีบหายขึ้น รวมถึงมาตรการที่ออกมาจะเอาอยู่
ก่อนหน้านี้ ธปท. ขอความร่วมมือรวมทั้งปลดล็๋อกให้ธนาคารพาณิชย์ไปซื่อจตราสารหนี้เอกชนได้โดยตรง และให้นำตราสารหนี้นั้นมาวางเป็นหลักประกันกู้เงินจาก ธปท. ในอัตราดอกเบี้ย 0.50% เท่านั้น แต่ธนาพาณิชย์ ยังเมินเพราะกลัวความเสี่ยงได้ไม่คุ้มเสีย และทำไม ธปท. ที่กล้าลุยไฟลงไปเล่นเอง
นอกจากนี้ ที่ผ่านมามีกองทุนตราสารหนี้ต้องปิดหลายกองทุน เพราะนักลงทุนแห่ขายหน่วยลงทุน จนผลตอบแทนจะติดลบ ทำให้ต้องปิดก่อนทุนก่อนเสียหายใหญ่กับผู้ถือหน่วย โดยที่ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องไม่เคยบอกว่า ตราสารหนี้ที่ใกล้ครบกำหนด และไม่มีคนสนใจซื้อมีจำนวนเท่าไร
แต่วันนี้ หลังจาก ธปท. ออกพ.ร.ก. ตั้งกองทุน 4 แสนล้านบาท ก็ประมาณการได้ว่า ในช่วง 2 ปี นับจากนี้ จะมีตราสารหนี้ภาคเอกชนที่ครบกำหนดและไม่มีนักลงทุนสนใจซื้อมากกว่า 4 แสนล้านบาท
อนุสรณ์ ธรรมใจ อดีตกรรมการนโยบายและกำกับการบริหารหนี้สาธารณะ กระทรวงการคลัง และอดีตกรรมการ ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ตั้งข้อสังเกตของ ธปท. ไว้อย่างน่าสนใจว่า การจะออก พ.ร.ก.ให้อำนาจ ธปท.ซื้อตราสารหนี้ที่จะครบกำหนดไถ่ถอน ต้องเป็นตราสารที่ผู้ออกมีคุณภาพดีและต้องมุ่งไปที่การดูแลนักลงทุนรายย่อย หรือ นักลงทุนสถาบันที่เกี่ยวกับการบริหารผลประโยชน์การลงทุนให้กับผู้ออมที่เป็นประชาชนส่วนใหญ่ การดำเนินการภายใต้ พ.ร.ก. ดังกล่าวต้องมีกลไกและคณะกรรมการในการพิจารณาที่ยึดหลักธรรมาภิบาลในการดำเนินการซื้อตราสารหนี้ที่จะครบกำหนดไถ่ถอน ซึ่งคาดหวังว่า ธปท.ต้องมีการดำเนินการอย่างเป็นอิสระโดยปราศจากการแทรกแซงของอำนาจรัฐที่อาจทำให้เกิดผลประโยชน์ทับซ้อนได้ และ ต้องก่อให้ความเป็นธรรมต่อผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย (Stakeholder) อย่างเสมอภาค
ทั้งนี้ การทำมาตรการ QE ควรซื้อเฉพาะพันธบัตรรัฐบาลเท่านั้นและการทำการขยายฐานเงินเพื่อสนับสนุนนโยบายการคลังต้องทำให้เกิดการจ้างงานและการผลิตในภาคเศรษฐกิจจริงจัง เศรษฐกิจถึงเติบโตได้อย่างยั่งยืน ไม่เช่นนั้นจะทำได้เพียงพยุงตลาดการเงินและราคาสินทรัพย์สินทางการเงินเท่านั้น
อนุสรณ์ กล่าวว่า การลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายช้าเกินไป การปล่อยให้เงินบาทแข็งค่าจากการไหลเข้ามาลงทุนตลาดตราสารหนี้จากการเคลื่อนย้ายเงินทุนระยะสั้นเก็งกำไรมาอย่างต่อเนื่องกว่า 3 ปี ทำให้เกิดฟองสบู่ในตลาดตราสารหนี้และตลาดหุ้น ราคาปรับขึ้นไปเกินปัจจัยพื้นฐาน เมื่อเจอกับวิกฤติโรค Covic19 เกิดความตื่นตระหนกและการขาดทุน ควรเป็นเรื่องที่นักลงทุนควรต้องรับความเสี่ยงเองระดับหนึ่ง ตราบเท่าที่ยังไม่กระทบต่อเสถียรภาพของระบบการเงินและความมั่นคงทางเศรษฐกิจของประชาชน ธปท. ไม่จำเป็นต้องเข้าแทรกแซง หากเกิดความผิดผลาดในการดำเนินการอาจเกิดความเสียหายจำนวนมากแบบกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาสถาบันการเงินในยุควิกฤตการณ์เศรษฐกิจการเงินปี 2540 ได้
สำหรับ ตราสารหนี้ของเอกชนรายใหญ่หรือตราสารหนี้ของธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ เราต้องทำความเข้าใจก่อนว่า ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ได้ออกตราสารหนี้จำนวนมากเป็นกลุ่มได้ประโยชน์จากกระแสเงินทุนไหลเข้าระยะสั้นอันเป็นผลจากการไม่ลดดอกเบี้ยและเงินบาทแข็ง แล้วก็เอาเงินทุนที่ระดมได้ไปลงทุนสร้างคอนโดรองรับการเข้ามาเก็งกำไรของนักลงทุนต่างชาติโดยเฉพาะกลุ่มทุนจีน ความเฟื่องฟูของ EEC ก่อนหน้านี้กระตุ้นให้เกิดการเก็งกำไรในอสังหาริมทรัพย์จำนวนมากในเขตจังหวัดชลบุรี ระยองและฉะเชิงเทรา รวมทั้งเมืองท่องเที่ยวทั้งหลายอย่างเชียงใหม่ ภูเก็ต สมุย เป็นต้น สัญญาณของปัญหาอสังหาริมทรัพย์แบบปี 2540 เริ่มชัดขึ้นแต่ขณะนี้ยังไม่กระทบต่อฐานะของระบบสถาบันการเงินมากนัก เพราะธุรกิจอสังหาริมทรัพย์กู้จากธนาคารน้อยลง กู้ด้วยการออกหุ้นกู้มากขึ้น สถานการณ์ในปี 2563 หากเกิดปัญหาหนี้เสียอสังหาริมทรัพย์จะกระทบต่อตลาดตราสารหนี้มากกว่าธนาคาร แต่ธนาคารและสถาบันการเงินอื่นก็หลีกเลี่ยงผลกระทบไม่ได้อยู่ดี
โรค Covic19 ส่งผลกระทบต่อตลาดอสังหาริมทรัพย์อย่างฉับพลัน มาตรการควบคุมการระบาดก็เข้ามาซ้ำเติมให้สถานการณ์การทรุดตัวลงของอุปสงค์ในธุรกิจอสังหาริมทรัพย์เชื่อมโยงกับการท่องเที่ยวรุนแรงขึ้นและน่าจะติดลบยืดเยื้อยาวนานไม่ต่ำกว่า 1 ปี จึงทำให้บางบริษัทอาจจะไม่สามารถชำระหนี้เมื่อตราสารหนี้ครบกำหนดได้ ฉะนั้นปัญหาที่เกิดขึ้นจึงไม่ใช่ประเด็นเรื่องการเทขายจากความตื่นตระหนกอย่างเดียว มันมีเรื่องของปัจจัยพื้นฐานเรื่องความเสี่ยงในการไม่สามารถชำระหนี้ได้รวมอยู่ด้วย
"รัฐบาลและ ธปท.ต้องให้ธุรกิจต่างๆ และธุรกิจอสังหาริมทรัพย์แก้ปัญหาของตนเองก่อนในเบื้องต้น ด้วยการเพิ่มทุน หรือขายกิจการหรือขายอสังหาริมทรัพย์ในราคาส่วนลดตามสภาวะเศรษฐกิจหดตัว หรือทำการปรับโครงสร้างหนี้ผ่านกลไกของระบบธนาคารพาณิชย์ก่อนเพื่อให้นักธุรกิจ นักลงทุนในประเทศ โดยเฉพาะนักลงทุนต่างชาติต้องรับผลขาดทุนตามสัดส่วนที่เป็นธรรมและความเสี่ยงที่ตัวเองต้องรับผิดชอบไปก่อน แล้ว ธปท. ค่อยนำเงินสาธารณะมาสร้างเสถียรภาพต่อตลาดการเงินด้วยการซื้อตราสารหนี้ หากไม่ทำอย่างที่ ที่แนะนำ สถานการณ์จะคล้ายกับสถานการณ์ที่กองทุนฟื้นฟูและพัฒนาสถาบันการเงิน นำเงินสาธารณะ ไปซื้อตราสารหนี้ของเอกชน หรือ ไปเพิ่มทุนให้บรรดาบริษัทเงินทุนและธนาคารบางแห่งโดยเฉพาะธนาคารกรุงเทพพาณิชยการ ก่อนวิกฤตการณ์การเงินปี 2540 การดำเนินการดังกล่าวได้สร้างภาระหนี้ก้อนโตให้กับประชาชนผู้เสียภาษีในเวลาต่อมา หากเวลานั้น ให้เอกชนพยายามเพิ่มทุนด้วยตัวเองก่อน หรือลดทุนก่อนแล้วจึงเพิ่มทุนให้ ความเสียหายและหนี้สาธารณะจะน้อยลงมาก ตอนนี้หนี้ของกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาสถาบันการเงินยังใช้ไม่หมดเลย เวลาผ่านมากว่า 23 ปีแล้ว หากไม่ดำเนินการอย่างระมัดระวังและยึดหลักธรรมาภิบาลอย่างเคร่งครัดแล้ว คณะกรรมการและผู้บริหารแบงก์ชาติอาจจะเสี่ยงต่อการถูกดำเนินคดีเช่นในอดีตแม้นจะออกเป็น พรก ให้อำนาจกับแบงก์ชาติแล้วก็ตาม" นายอนุสรณ์ กล่าว
นายอนุสรณ์ กล่าวว่า แม้น ธปท. ยังยืนยันถึงความมีเสถียรภาพและความเข้มแข็งของระบบสถาบันการเงินและตลาดการเงินของประเทศ แต่หากปัญหาการทรุดตัวของอุปสงค์ลงอย่างรุนแรงจาก พ.ร.ก. ฉุกเฉิน อัตราการเติบโตติดลบของการท่องเที่ยวและภาคการผลิตยังดำเนินต่อไปจนถึงปลายปี ประกอบกับการมีการลงทุนส่วนเกินและเก็งกำไรในอสังหาริมทรัพย์ใน EEC พัทยา ภูเก็ต กรุงเทพและปริมณฑล อาจทำให้เกิดปัญหาฟองสบู่อสังหาริมทรัพย์แตกได้เช่นเดียวกับปี 2540 ส่งผลให้เกิดหนี้เสียจำนวนมากและกระทบต่อฐานะของสถาบันการเงินได้ ธปท. จึงควรมีมาตรการเชิงรุกเตรียมป้องกันไว้ก่อน
เมื่อเหตุผลของ ธปท. สวนทางกับนักวิชาการ เวลาเท่านั้นจะเป็นเครื่องพิสูจน์ว่า การอุ้มหนี้ภาคเอกชนจะมาถูกทางหรือไม่ จะทำให้ประเทศเสียหายเป็นภาระผู้เสียภาษีเหมือนวิกฤตต้มยำกุ้งหรือไม่เช่นกัน
https://www.posttoday.com/finance-stock/news/620190
ทุ่ม4แสนล้านอุ้มหนี้เอกชน ผวาวิกฤตต้มยำกุ้ง
หลังจาก ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) เห็นชอบให้ ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ออกพระราชกำหนด (พ.ร.ก.) เสริมสภาพคล่องเพื่อดูแลเสถียรภาพตลาดตราสารหนี้ภาคเอกชน?? โดยการจัดตั้งกองทุนเสริมสภาพคล่องตลาดตราสารหนี้ภาคเอกชน?(Corporate Bond Stabilization Fund: BSF) วงเงินรวม 4 แสนล้านบาท ?เพื่อเป็นแหล่งเงินสำรองชั่วคราว (bridge financing) สำหรับเข้าไปซื้อตราสารหนี้ที่ออกโดยบริษัทที่มีคุณภาพดีที่มีตราสารหนี้ครบกำหนดชำระในช่วงปี 2563–2564 ซึ่งบริษัทที่ขอรับความช่วยเหลือจากกองทุนฯ มีเงื่อนไขว่า
1. จะต้องชำระอัตราดอกเบี้ยที่สูงกว่าอัตราตลาด
2. ต้องระดมทุนส่วนใหญ่ได้จากแหล่งเงินทุนอื่น เช่น การกู้เงินธนาคารพาณิชย์หรือการเพิ่มทุน
3. ต้องมีแผนการจัดหาทุนในระยะยาวที่ชัดเจน
4. ต้องผ่านเกณฑ์และปฏิบัติตามเงื่อนไขที่คณะกรรมการกำกับกองทุนกำหนด
5. หากผู้ออกตราสารหนี้เสนอขายตราสารหนี้ต่อนักลงทุนทั่วไปและมีการให้หลักประกันแก่ผู้ถือ ตราสารหนี้ที่กองทุน BFS จะลงทุนในคราวเดียวกันต้องมีหลักประกันไม่ด้อยกว่าหลักประกันที่ให้แก่ผู้ถือตราสารหนี้อื่น
นายวิรไท สันติประภพ ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) กล่าวว่า ปัจจุบันตลาดตราสารหนี้ภาคเอกชนของไทย มียอดคงค้างประมาณ 3.6 ล้านล้านบาท หรือกว่า 20% ของจีดีพี
ดังนั้นหากกลไกตลาดตราสารหนี้ภาคเอกชนไม่สามารถทำงานได้ปกติ หรือผู้ลงทุนขาดความเชื่อมั่นในการลงทุน การระดมทุนหรือต่ออายุหนี้ (rollover) ของธุรกิจจะทำได้ยาก แม้ธุรกิจที่มั่นคงก็อาจจะไม่สามารถระดมทุนได้ หรือต้องระดมทุนด้วยต้นทุนที่สูงขึ้นมาก จึงมีความเสี่ยงที่ปัญหาการขาดสภาพคล่องจะลุกลามในวงกว้าง เป็นปัญหาเชิงระบบตามมา ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อประชาชนที่ออมเงินผ่านตัวกลางต่างๆ ที่ลงทุนในตราสารหนี้ภาคเอกชน อาทิ กองทุนรวมตราสารหนี้ กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ สหกรณ์ออมทรัพย์ กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ และกองทุนประกันสังคมด้วย
มาตรการของ ธปท. หนีไม่พ้นว่า เป็นการอุ้มหนี้ภาคเอกชน การดำเนินการดังกล่าวเป็นหน้าที่ของ ธปท. หรือไม่ และมีอะไรยืนยันว่าจะไม่เกิดความเสีบหายขึ้น รวมถึงมาตรการที่ออกมาจะเอาอยู่
ก่อนหน้านี้ ธปท. ขอความร่วมมือรวมทั้งปลดล็๋อกให้ธนาคารพาณิชย์ไปซื่อจตราสารหนี้เอกชนได้โดยตรง และให้นำตราสารหนี้นั้นมาวางเป็นหลักประกันกู้เงินจาก ธปท. ในอัตราดอกเบี้ย 0.50% เท่านั้น แต่ธนาพาณิชย์ ยังเมินเพราะกลัวความเสี่ยงได้ไม่คุ้มเสีย และทำไม ธปท. ที่กล้าลุยไฟลงไปเล่นเอง
นอกจากนี้ ที่ผ่านมามีกองทุนตราสารหนี้ต้องปิดหลายกองทุน เพราะนักลงทุนแห่ขายหน่วยลงทุน จนผลตอบแทนจะติดลบ ทำให้ต้องปิดก่อนทุนก่อนเสียหายใหญ่กับผู้ถือหน่วย โดยที่ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องไม่เคยบอกว่า ตราสารหนี้ที่ใกล้ครบกำหนด และไม่มีคนสนใจซื้อมีจำนวนเท่าไร
แต่วันนี้ หลังจาก ธปท. ออกพ.ร.ก. ตั้งกองทุน 4 แสนล้านบาท ก็ประมาณการได้ว่า ในช่วง 2 ปี นับจากนี้ จะมีตราสารหนี้ภาคเอกชนที่ครบกำหนดและไม่มีนักลงทุนสนใจซื้อมากกว่า 4 แสนล้านบาท
อนุสรณ์ ธรรมใจ อดีตกรรมการนโยบายและกำกับการบริหารหนี้สาธารณะ กระทรวงการคลัง และอดีตกรรมการ ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ตั้งข้อสังเกตของ ธปท. ไว้อย่างน่าสนใจว่า การจะออก พ.ร.ก.ให้อำนาจ ธปท.ซื้อตราสารหนี้ที่จะครบกำหนดไถ่ถอน ต้องเป็นตราสารที่ผู้ออกมีคุณภาพดีและต้องมุ่งไปที่การดูแลนักลงทุนรายย่อย หรือ นักลงทุนสถาบันที่เกี่ยวกับการบริหารผลประโยชน์การลงทุนให้กับผู้ออมที่เป็นประชาชนส่วนใหญ่ การดำเนินการภายใต้ พ.ร.ก. ดังกล่าวต้องมีกลไกและคณะกรรมการในการพิจารณาที่ยึดหลักธรรมาภิบาลในการดำเนินการซื้อตราสารหนี้ที่จะครบกำหนดไถ่ถอน ซึ่งคาดหวังว่า ธปท.ต้องมีการดำเนินการอย่างเป็นอิสระโดยปราศจากการแทรกแซงของอำนาจรัฐที่อาจทำให้เกิดผลประโยชน์ทับซ้อนได้ และ ต้องก่อให้ความเป็นธรรมต่อผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย (Stakeholder) อย่างเสมอภาค
ทั้งนี้ การทำมาตรการ QE ควรซื้อเฉพาะพันธบัตรรัฐบาลเท่านั้นและการทำการขยายฐานเงินเพื่อสนับสนุนนโยบายการคลังต้องทำให้เกิดการจ้างงานและการผลิตในภาคเศรษฐกิจจริงจัง เศรษฐกิจถึงเติบโตได้อย่างยั่งยืน ไม่เช่นนั้นจะทำได้เพียงพยุงตลาดการเงินและราคาสินทรัพย์สินทางการเงินเท่านั้น
อนุสรณ์ กล่าวว่า การลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายช้าเกินไป การปล่อยให้เงินบาทแข็งค่าจากการไหลเข้ามาลงทุนตลาดตราสารหนี้จากการเคลื่อนย้ายเงินทุนระยะสั้นเก็งกำไรมาอย่างต่อเนื่องกว่า 3 ปี ทำให้เกิดฟองสบู่ในตลาดตราสารหนี้และตลาดหุ้น ราคาปรับขึ้นไปเกินปัจจัยพื้นฐาน เมื่อเจอกับวิกฤติโรค Covic19 เกิดความตื่นตระหนกและการขาดทุน ควรเป็นเรื่องที่นักลงทุนควรต้องรับความเสี่ยงเองระดับหนึ่ง ตราบเท่าที่ยังไม่กระทบต่อเสถียรภาพของระบบการเงินและความมั่นคงทางเศรษฐกิจของประชาชน ธปท. ไม่จำเป็นต้องเข้าแทรกแซง หากเกิดความผิดผลาดในการดำเนินการอาจเกิดความเสียหายจำนวนมากแบบกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาสถาบันการเงินในยุควิกฤตการณ์เศรษฐกิจการเงินปี 2540 ได้
สำหรับ ตราสารหนี้ของเอกชนรายใหญ่หรือตราสารหนี้ของธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ เราต้องทำความเข้าใจก่อนว่า ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ได้ออกตราสารหนี้จำนวนมากเป็นกลุ่มได้ประโยชน์จากกระแสเงินทุนไหลเข้าระยะสั้นอันเป็นผลจากการไม่ลดดอกเบี้ยและเงินบาทแข็ง แล้วก็เอาเงินทุนที่ระดมได้ไปลงทุนสร้างคอนโดรองรับการเข้ามาเก็งกำไรของนักลงทุนต่างชาติโดยเฉพาะกลุ่มทุนจีน ความเฟื่องฟูของ EEC ก่อนหน้านี้กระตุ้นให้เกิดการเก็งกำไรในอสังหาริมทรัพย์จำนวนมากในเขตจังหวัดชลบุรี ระยองและฉะเชิงเทรา รวมทั้งเมืองท่องเที่ยวทั้งหลายอย่างเชียงใหม่ ภูเก็ต สมุย เป็นต้น สัญญาณของปัญหาอสังหาริมทรัพย์แบบปี 2540 เริ่มชัดขึ้นแต่ขณะนี้ยังไม่กระทบต่อฐานะของระบบสถาบันการเงินมากนัก เพราะธุรกิจอสังหาริมทรัพย์กู้จากธนาคารน้อยลง กู้ด้วยการออกหุ้นกู้มากขึ้น สถานการณ์ในปี 2563 หากเกิดปัญหาหนี้เสียอสังหาริมทรัพย์จะกระทบต่อตลาดตราสารหนี้มากกว่าธนาคาร แต่ธนาคารและสถาบันการเงินอื่นก็หลีกเลี่ยงผลกระทบไม่ได้อยู่ดี
โรค Covic19 ส่งผลกระทบต่อตลาดอสังหาริมทรัพย์อย่างฉับพลัน มาตรการควบคุมการระบาดก็เข้ามาซ้ำเติมให้สถานการณ์การทรุดตัวลงของอุปสงค์ในธุรกิจอสังหาริมทรัพย์เชื่อมโยงกับการท่องเที่ยวรุนแรงขึ้นและน่าจะติดลบยืดเยื้อยาวนานไม่ต่ำกว่า 1 ปี จึงทำให้บางบริษัทอาจจะไม่สามารถชำระหนี้เมื่อตราสารหนี้ครบกำหนดได้ ฉะนั้นปัญหาที่เกิดขึ้นจึงไม่ใช่ประเด็นเรื่องการเทขายจากความตื่นตระหนกอย่างเดียว มันมีเรื่องของปัจจัยพื้นฐานเรื่องความเสี่ยงในการไม่สามารถชำระหนี้ได้รวมอยู่ด้วย
"รัฐบาลและ ธปท.ต้องให้ธุรกิจต่างๆ และธุรกิจอสังหาริมทรัพย์แก้ปัญหาของตนเองก่อนในเบื้องต้น ด้วยการเพิ่มทุน หรือขายกิจการหรือขายอสังหาริมทรัพย์ในราคาส่วนลดตามสภาวะเศรษฐกิจหดตัว หรือทำการปรับโครงสร้างหนี้ผ่านกลไกของระบบธนาคารพาณิชย์ก่อนเพื่อให้นักธุรกิจ นักลงทุนในประเทศ โดยเฉพาะนักลงทุนต่างชาติต้องรับผลขาดทุนตามสัดส่วนที่เป็นธรรมและความเสี่ยงที่ตัวเองต้องรับผิดชอบไปก่อน แล้ว ธปท. ค่อยนำเงินสาธารณะมาสร้างเสถียรภาพต่อตลาดการเงินด้วยการซื้อตราสารหนี้ หากไม่ทำอย่างที่ ที่แนะนำ สถานการณ์จะคล้ายกับสถานการณ์ที่กองทุนฟื้นฟูและพัฒนาสถาบันการเงิน นำเงินสาธารณะ ไปซื้อตราสารหนี้ของเอกชน หรือ ไปเพิ่มทุนให้บรรดาบริษัทเงินทุนและธนาคารบางแห่งโดยเฉพาะธนาคารกรุงเทพพาณิชยการ ก่อนวิกฤตการณ์การเงินปี 2540 การดำเนินการดังกล่าวได้สร้างภาระหนี้ก้อนโตให้กับประชาชนผู้เสียภาษีในเวลาต่อมา หากเวลานั้น ให้เอกชนพยายามเพิ่มทุนด้วยตัวเองก่อน หรือลดทุนก่อนแล้วจึงเพิ่มทุนให้ ความเสียหายและหนี้สาธารณะจะน้อยลงมาก ตอนนี้หนี้ของกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาสถาบันการเงินยังใช้ไม่หมดเลย เวลาผ่านมากว่า 23 ปีแล้ว หากไม่ดำเนินการอย่างระมัดระวังและยึดหลักธรรมาภิบาลอย่างเคร่งครัดแล้ว คณะกรรมการและผู้บริหารแบงก์ชาติอาจจะเสี่ยงต่อการถูกดำเนินคดีเช่นในอดีตแม้นจะออกเป็น พรก ให้อำนาจกับแบงก์ชาติแล้วก็ตาม" นายอนุสรณ์ กล่าว
นายอนุสรณ์ กล่าวว่า แม้น ธปท. ยังยืนยันถึงความมีเสถียรภาพและความเข้มแข็งของระบบสถาบันการเงินและตลาดการเงินของประเทศ แต่หากปัญหาการทรุดตัวของอุปสงค์ลงอย่างรุนแรงจาก พ.ร.ก. ฉุกเฉิน อัตราการเติบโตติดลบของการท่องเที่ยวและภาคการผลิตยังดำเนินต่อไปจนถึงปลายปี ประกอบกับการมีการลงทุนส่วนเกินและเก็งกำไรในอสังหาริมทรัพย์ใน EEC พัทยา ภูเก็ต กรุงเทพและปริมณฑล อาจทำให้เกิดปัญหาฟองสบู่อสังหาริมทรัพย์แตกได้เช่นเดียวกับปี 2540 ส่งผลให้เกิดหนี้เสียจำนวนมากและกระทบต่อฐานะของสถาบันการเงินได้ ธปท. จึงควรมีมาตรการเชิงรุกเตรียมป้องกันไว้ก่อน
เมื่อเหตุผลของ ธปท. สวนทางกับนักวิชาการ เวลาเท่านั้นจะเป็นเครื่องพิสูจน์ว่า การอุ้มหนี้ภาคเอกชนจะมาถูกทางหรือไม่ จะทำให้ประเทศเสียหายเป็นภาระผู้เสียภาษีเหมือนวิกฤตต้มยำกุ้งหรือไม่เช่นกัน
https://www.posttoday.com/finance-stock/news/620190