ประเภทของกองทุนก็เป็นหนึ่งในเรื่องสำคัญที่ต้องคำนึงถึงในการลงทุน ทางทีม SCB SME จึงได้มีภาคต่อที่เกี่ยวกับการเลือกลงทุนในกองทุน โดยในครั้งนี้จะมาเจาะลึกประเภทของกองทุน ซึ่งผู้ประกอบการเอสเอ็มอีควรทำความเข้าใจก่อนการเลือกซื้อกองทุนต่าง ๆ เพื่อให้เหมาะสมกับรูปแบบธุรกิจ ผลตอบแทน และความเสี่ยงที่สามารถจะรับได้ซึ่งตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยได้แบ่งประเภทการลงทุนในกองทุนรวมตามนโยบายการลงทุนออกเป็น 12 ประเภท ดังนี้
เครดิต
https://goo.gl/IeNl79
1. กองทุนรวมตลาดเงิน เป็นกองทุนรวมที่มีนโยบายการลงทุนในเงินฝากและตราสารหนี้ สามารถไถ่ถอนได้ได้ตามต้องการ เหมาะสำหรับการลงทุนระยะสั้น มีความเสี่ยงต่ำ
2. กองทุนรวมตราสารหนี้ เป็นกองทุนรวมที่มีนโยบายการลงทุนในเงินฝากและตราสารหนี้ประเภทต่าง ๆ ซึ่งได้แก่ พันธบัตรรัฐบาล พันธบัตรรัฐวิสาหกิจ ตั๋วเงินคลัง บัตรเงิน ฝากของธนาคาร ตั๋ว สัญญาใช้เงิน ตั๋วแลกเงิน ตลอดจนหุ้นกู้ของภาคเอกชน เหมาะสำหรับผู้ลงทุนที่ยอมรับความเสี่ยงได้น้อย เพราะตราสารหนี้จะให้ผลตอบแทนในรูปแบบของดอกเบี้ยที่มีความสม่ำเสมอ กองทุนรวมตราสารหนี้ สามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภท คือ กองทุนรวมตราสารหนี้ระยะสั้น และกองทุนรวมตราสารหนี้ระยะยาว ซึ่งทั้ง 2 ประเภท ต่างกันที่ระยะเวลาในการลงทุน
3. กองทุนรวมผสม เป็นกองทุนที่ลงทุนในหลักทรัพย์หรือทรัพย์สินได้ทุกประเภท ไม่ว่าจะเป็นเงินฝาก ตราสารหนี้ ตราสารทุน หรือตราสารอื่น ๆ แต่จะต้องมีสัดส่วนการลงทุนในตราสารทุนในขณะใดขณะหนึ่ง ไม่น้อยกว่า 35% และไม่เกินกว่า 65% ของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุนรวมนั้น กองทุนประเภทนี้เหมาะสำหรับผู้ลงทุนที่ยอมรับความเสี่ยงได้ปานกลาง
4. กองทุนรวมผสมยืดหยุ่น เป็นกองทุนที่ลงทุนได้ทุกประเภทเช่นกัน แต่ไม่มีข้อจำกัดเรื่องสัดส่วนการลงทุนในตราสารทุน กองทุนประเภทนี้เหมาะสำหรับผู้ลงทุนที่ยอมรับความเสี่ยงได้ปานกลาง
5. กองทุนรวมหน่วยลงทุน เป็นกองทุนที่ลงทุนในหน่วยลงทุนและใบสำคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหน่วยลงทุนของกองทุน ไม่น้อยกว่า 65% ของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิ ข้อดีของกองทุนรวมหน่วยลงทุน คือ มีต้นทุนเฉลี่ยต่ำ มีการกระจายความเสี่ยงที่มากกว่ากองทุนประเภทอื่น ๆ เพราะกระจายการลงทุนไปในหลายกองทุน และหลายบริษัทจัดการ ส่วนข้อเสียของกองทุนรวมหน่วยลงทุน คือ มีค่าธรรมเนียมในการจัดการและค่าใช้จ่ายอื่น ๆ ที่ซ้ำซ้อน
6. กองทุนรวมตราสารทุน เป็นกองทุนที่ลงทุนในหุ้นประเภทต่าง ๆ เช่น หุ้นสามัญ หุ้นบุริมสิทธิ ใบสำคัญแสดงสิทธิในการซื้อหลักทรัพย์ (Warrant) รวมถึงหน่วยลงทุนของกองทุนรวมอื่น ๆ โดยตรงลงทุนในหุ้นไม่น้อยกว่า 65% ของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุนรวม กองทุนรวมประเภทนี้เหมาะสำหรับผู้ลงทุนที่ยอมรับความเสี่ยงได้สูง
7. กองทุนรวมใบสำคัญแสดงสิทธิ เป็นกองทุนที่ลงทุนในใบสำคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้น หุ้นกู้ หน่วยลงทุน หรือหุ้นเพิ่มทุน โดยเฉลี่ยแล้วไม่น้อยกว่า 65% ของมูลค่าทรัพย์สินของกองทุน กองทุนประเภทนี้มีความเสี่ยงสูงมาก
8. กองทุนรวมกลุ่มธุรกิจ เป็นกองทุนที่ลงทุนในหุ้นของกลุ่มบริษัทในธุรกิจเดียวกัน โดยเฉลี่ยแล้วไม่น้อยกว่า 65% ของมูลค่าทรัพย์สิน เนื่องจากกองทุนรวมประเภทนี้มีการลงทุนแบบกระจุกตัว จึงมีความเสี่ยงสูงกว่ากองทุนประเภทอื่น
9. กองทุนรวมคุ้มครองเงินต้น เป็นกองทุนที่ลงทุนในพันธบัตรรัฐบาลหรือตราสารหนี้ที่มีความเสี่ยงต่ำ เพื่อคุ้มครองเงินต้น (Principle) ของผู้ลงทุน กองทุนประเภทนี้ จะได้รับผลตอบแทนไม่ต่ำกว่าเงินลงทุนเบื้องต้นที่ได้ลงทุนไป
10. กองทุนรวมแบบมีประกัน เป็นกองทุนที่มีการรับประกันว่า เมื่อมีการถือหน่วยลงทุนจนครบตามระยะเวลาประกันที่กำหนดแล้ว หากผลตอบแทนไม่ได้ตามเป้าหมาย บลจ. จะจ่ายเงินลงทุนและผลตอบแทน คืนแก่ผู้ลงทุน ทั้งหมด หรือบางส่วน จึงเป็นการลงทุนที่ปลอดภัยที่สุดประเภทหนึ่ง
11. กองทุนรวมที่ลงทุนในต่างประเทศ เป็นกองทุนที่ลงทุนในหลักทรัพย์ต่างประเทศไม่น้อยกว่า 80% ของมูลค่าทรัพย์สิน
12. กองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ เป็นกองทุนที่ลงทุนซื้อหรือเช่าอสังหาริมทรัพย์ เช่น อาคารสำนักงาน โรงงาน โรงแรม ห้างสรรพสินค้า สนามบิน ที่อยู่อาศัย อพาร์ตเมนต์ หรือหลักทรัพย์ที่เกี่ยวข้องกับอสังหาริมทรัพย์ โดยมีเป้าหมายเพื่อบริหารอสังหาริมทรัพย์ที่ลงทุนนั้นให้ได้รับผลตอบแทนที่สม่ำเสมอ
เครดิต
https://goo.gl/IeNl79
กองทุนไหนเหมาะสมกับ SMEs
เครดิต https://goo.gl/IeNl79
1. กองทุนรวมตลาดเงิน เป็นกองทุนรวมที่มีนโยบายการลงทุนในเงินฝากและตราสารหนี้ สามารถไถ่ถอนได้ได้ตามต้องการ เหมาะสำหรับการลงทุนระยะสั้น มีความเสี่ยงต่ำ
2. กองทุนรวมตราสารหนี้ เป็นกองทุนรวมที่มีนโยบายการลงทุนในเงินฝากและตราสารหนี้ประเภทต่าง ๆ ซึ่งได้แก่ พันธบัตรรัฐบาล พันธบัตรรัฐวิสาหกิจ ตั๋วเงินคลัง บัตรเงิน ฝากของธนาคาร ตั๋ว สัญญาใช้เงิน ตั๋วแลกเงิน ตลอดจนหุ้นกู้ของภาคเอกชน เหมาะสำหรับผู้ลงทุนที่ยอมรับความเสี่ยงได้น้อย เพราะตราสารหนี้จะให้ผลตอบแทนในรูปแบบของดอกเบี้ยที่มีความสม่ำเสมอ กองทุนรวมตราสารหนี้ สามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภท คือ กองทุนรวมตราสารหนี้ระยะสั้น และกองทุนรวมตราสารหนี้ระยะยาว ซึ่งทั้ง 2 ประเภท ต่างกันที่ระยะเวลาในการลงทุน
3. กองทุนรวมผสม เป็นกองทุนที่ลงทุนในหลักทรัพย์หรือทรัพย์สินได้ทุกประเภท ไม่ว่าจะเป็นเงินฝาก ตราสารหนี้ ตราสารทุน หรือตราสารอื่น ๆ แต่จะต้องมีสัดส่วนการลงทุนในตราสารทุนในขณะใดขณะหนึ่ง ไม่น้อยกว่า 35% และไม่เกินกว่า 65% ของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุนรวมนั้น กองทุนประเภทนี้เหมาะสำหรับผู้ลงทุนที่ยอมรับความเสี่ยงได้ปานกลาง
4. กองทุนรวมผสมยืดหยุ่น เป็นกองทุนที่ลงทุนได้ทุกประเภทเช่นกัน แต่ไม่มีข้อจำกัดเรื่องสัดส่วนการลงทุนในตราสารทุน กองทุนประเภทนี้เหมาะสำหรับผู้ลงทุนที่ยอมรับความเสี่ยงได้ปานกลาง
5. กองทุนรวมหน่วยลงทุน เป็นกองทุนที่ลงทุนในหน่วยลงทุนและใบสำคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหน่วยลงทุนของกองทุน ไม่น้อยกว่า 65% ของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิ ข้อดีของกองทุนรวมหน่วยลงทุน คือ มีต้นทุนเฉลี่ยต่ำ มีการกระจายความเสี่ยงที่มากกว่ากองทุนประเภทอื่น ๆ เพราะกระจายการลงทุนไปในหลายกองทุน และหลายบริษัทจัดการ ส่วนข้อเสียของกองทุนรวมหน่วยลงทุน คือ มีค่าธรรมเนียมในการจัดการและค่าใช้จ่ายอื่น ๆ ที่ซ้ำซ้อน
6. กองทุนรวมตราสารทุน เป็นกองทุนที่ลงทุนในหุ้นประเภทต่าง ๆ เช่น หุ้นสามัญ หุ้นบุริมสิทธิ ใบสำคัญแสดงสิทธิในการซื้อหลักทรัพย์ (Warrant) รวมถึงหน่วยลงทุนของกองทุนรวมอื่น ๆ โดยตรงลงทุนในหุ้นไม่น้อยกว่า 65% ของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุนรวม กองทุนรวมประเภทนี้เหมาะสำหรับผู้ลงทุนที่ยอมรับความเสี่ยงได้สูง
7. กองทุนรวมใบสำคัญแสดงสิทธิ เป็นกองทุนที่ลงทุนในใบสำคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้น หุ้นกู้ หน่วยลงทุน หรือหุ้นเพิ่มทุน โดยเฉลี่ยแล้วไม่น้อยกว่า 65% ของมูลค่าทรัพย์สินของกองทุน กองทุนประเภทนี้มีความเสี่ยงสูงมาก
8. กองทุนรวมกลุ่มธุรกิจ เป็นกองทุนที่ลงทุนในหุ้นของกลุ่มบริษัทในธุรกิจเดียวกัน โดยเฉลี่ยแล้วไม่น้อยกว่า 65% ของมูลค่าทรัพย์สิน เนื่องจากกองทุนรวมประเภทนี้มีการลงทุนแบบกระจุกตัว จึงมีความเสี่ยงสูงกว่ากองทุนประเภทอื่น
9. กองทุนรวมคุ้มครองเงินต้น เป็นกองทุนที่ลงทุนในพันธบัตรรัฐบาลหรือตราสารหนี้ที่มีความเสี่ยงต่ำ เพื่อคุ้มครองเงินต้น (Principle) ของผู้ลงทุน กองทุนประเภทนี้ จะได้รับผลตอบแทนไม่ต่ำกว่าเงินลงทุนเบื้องต้นที่ได้ลงทุนไป
10. กองทุนรวมแบบมีประกัน เป็นกองทุนที่มีการรับประกันว่า เมื่อมีการถือหน่วยลงทุนจนครบตามระยะเวลาประกันที่กำหนดแล้ว หากผลตอบแทนไม่ได้ตามเป้าหมาย บลจ. จะจ่ายเงินลงทุนและผลตอบแทน คืนแก่ผู้ลงทุน ทั้งหมด หรือบางส่วน จึงเป็นการลงทุนที่ปลอดภัยที่สุดประเภทหนึ่ง
11. กองทุนรวมที่ลงทุนในต่างประเทศ เป็นกองทุนที่ลงทุนในหลักทรัพย์ต่างประเทศไม่น้อยกว่า 80% ของมูลค่าทรัพย์สิน
12. กองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ เป็นกองทุนที่ลงทุนซื้อหรือเช่าอสังหาริมทรัพย์ เช่น อาคารสำนักงาน โรงงาน โรงแรม ห้างสรรพสินค้า สนามบิน ที่อยู่อาศัย อพาร์ตเมนต์ หรือหลักทรัพย์ที่เกี่ยวข้องกับอสังหาริมทรัพย์ โดยมีเป้าหมายเพื่อบริหารอสังหาริมทรัพย์ที่ลงทุนนั้นให้ได้รับผลตอบแทนที่สม่ำเสมอ
เครดิต https://goo.gl/IeNl79