💘มาลาริน/ติดตามโควิด19 เช้าไปไหม...วช.สรุปสถานการณ์ ป่วย ตาย หาย สธ.ปรับแนวทางดูแลผู้ติดโควิด-19



ผู้ป่วยเข้าเกณฑ์สอบสวนโรค (PUI) คือ....

มีไข้ (อุณหภูมิ 37.5 องศาเซลเซียส (อาการทางเดินหายใจ ไอ น้ำมูก เจ็บคอ หายใจเหนื่อย หรือ หายใจลำบาก )เป็นคนที่เดินทางมาจากพื้นที่เสี่ยง และเฝ้าระวังของกระทรวงสาธารณสุข

มีจำนวน 21,603 ราย กำลังกักเก็บตัวอยู่ทั้งประเทศ

รักษาตัวในโรงพยาบาล  2,835 ราย



https://www.matichon.co.th/covid19/covid19-alert/news_2115202



ติดโควิด-19 อาการต่าง สธ.ปรับแนวทางดูแลรักษาใหม่

สธ.ปรับแนวทางดูแลผู้ติดโควิด-19 ทุกรายต้องรับดูแลในรพ.ก่อน 2-7 วัน ไม่มีอาการส่งเข้าฮอสพิเทล ขณะที่วันเดียวผู้ป่วยกลับบ้าน 215 ราย 15 จังหวัดปลอดผู้ป่วยโควิดรายใหม่รอบ 14 วัน อีก 4 จังหวัดรอบ 7 วัน ย้ำยังคงต้องเข้มมาตรการติดตามคนเข้าพื้นที่เข้มงวด

เมื่อเวลา 11.00 น. วันที่ 31 มีนาคม 2563 ที่กระทรวงสาธารณสุขในการแถลงข่าวสถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโควิด-19 (COVID-19) นายแพทย์สกานต์ บุนนาค ผู้อำนวยการสถาบันเวชศาสตร์สมเด็จพระสังฆราชญาณสังวรเพื่อผู้สูงอายุ กรมการแพทย์ กล่าวว่า ในการดูแลรักษาผู้ติดโควิด-19 จะแบ่งเป็น 5 กลุ่ม
 
ได้แก่ กลุ่มที่ 1 ไม่มีอาการ ซึ่งมีราว 20% ของผู้พบเชื้อ จะต้องรับไว้สังเกตอาการในโรงพยาบาล 2-7 วัน หากไม่มีอาการ จะส่งเข้ารับการสังเกตอาการต่อในหอผู้ป่วยเฉพาะ หรือโรงพยาบาลเฉพาะกิจ เช่น โรงแรมที่เรียกว่า ฮอสพิเทล (Hospitel) จนครบอย่างน้อย 14 วันนับจากตรวจพบเชื้อ เมื่อหายกลับบ้าน สามารถกลับไปทำงานได้ตามปกติ แต่จะต้องใส่หน้ากากอนามัยตลอดเวลาที่ออกไปนอกบ้าน แยกตัวเองจากบุคคลอี่นอยู่ห่าง 2 เมตร แยกห้องทำงาน ไม่กินอาหารร่วมกัน จนครบ 1 เดือน

กลุ่มที่ 2 อาการไม่รุนแรงคล้ายไข้หวัด ภาพถ่ายรังสีปอดปกติ ไม่มีปัจจัยเสี่ยง คือ อายุมากกว่า 60 ปี มีโรคประจำตัว เช่น ภาวะอ้วน ภูมิคุ้มกันต่ำ โรคปอดเรื้อรังหรือถุงลมโป่งพอง โรคไตวายเรื้อรัง ตับแข็ง โรคเบาหวารที่ควบคุมไม่ได้ โรคหลอดเลือดหัวใจตีบ โรคหลอดเลือดสมองตีบ หรืออัมพาต รักษาตามอาการหรือพิจารณาให้ยารักษาไวรัสในโรงพยาบาล 2-7 วัน จากนั้นจะส่งเข้าสังเกตอาการต่อในฮอสพิเทล (Hospitel) จนครบอย่างน้อย 14 วันนับจากมีอาการ และเมื่อหายกลับบ้านจะต้องปฏิบัติเช่นเดียวกับกลุ่ม 1

กลุ่มที่ 3 อาการไม่รุนแรงคล้ายไข้หวัด ภาพถ่ายรังสีปอดปกติ แต่มีปัจจัยเสี่ยง ให้ยารักษาไวรัสในโรงพยาบาลและติดตามภาพถ่ายรังสีปอด หากภาพถ่ายรังสีปอดปกติ วัน จากนั้นจะส่งเข้าสังเกตอาการต่อในฮอสพิเทล (Hospitel) จนครบอย่างน้อย 14 วันนับจากมีอาการ และเมื่อหายกลับบ้านจะต้องปฏิบัติเช่นเดียวกับกลุ่ม 1 และ2 

กลุ่มที่ 4 ปอดอักเสบไม่รุนแรง ซึ่งมีราว 12 %ของผู้พบเชื้อ ให้ยารักษาไวรัสในโรงพยาบาล และ

กลุ่มที่ 5 ปอดอักเสบรุนแรงพบราว 3% ของผู้พบเชื้อ ให้ยารักษาไวรัสในห้องไอซียู 

ด้านนายแพทย์สุขุม กาญจนพิมาย ปลัดกระทรวงสาธารณสุขกล่าวว่า ผู้ป่วยที่รักษาหายกลับบ้านได้ 215 ราย รวมมีผู้ป่วยรักษาหายแล้วทั้งหมด 342 ราย ยังรักษาในโรงพยาบาล 1,299 ราย เสียชีวิตรวม 10 ราย ทั้งนี้ จากข้อมูลของผู้ติดเชื้อมากกว่า 50% อยู่ในช่วงอายุ 20-50 ปี และในกลุ่มผู้เสียชีวิตมีจำนวนหนึ่งที่อยู่ในช่วงอายุ 50 ปี ยังไม่เกิน60-70 ปี อีกกลุ่มคือมีโรคประจำตัว และอีกกลุ่มเกิดจากการรับเชื้อมากเกินไป เพราะฉะนั้นการที่ไปอยู่ในสถานที่ที่แนะนำว่าไม่ควรเข้า เช่น ผับ สถานที่แออัด แคบ หรือไปในที่ชุมชนบ่อยๆ โอกาสรับเชื้อมากก็จะเสียชีวิตได้

นายแพทย์สุขุม กล่าวอีกว่า ข้อมูล ณ วันที่ 30 มีนาคม 2563 จังหวัดที่ไม่พบผู้ป่วยรายใหม่ในช่วง 7 วัน มี 4 จังหวัด ได้แก่ เพชรบูรณ์ ยโสธร ลพบุรี และสุโขทัย และ 15 จังหวัดที่ไม่พบผู้ป่วยรายใหม่ใน 14 วันล่าสุด ได้แก่ กำแพงเพชร ชัยนาท ตราด นครนายก น่าน พังงา พิจิตร ระนอง ลำปาง สกลนคร บึงกาฬ สตูล สมุทรสงคราม อ่างทอง และสิงห์บุรี

“สถานการณ์ประเทศไทยตอนนี้ไม่เหมือนสหรัฐอเมริกาที่มีผู้ป่วยเพิ่มขึ้นเท่าตัวใน 2 วัน และสถานการณ์ไม่น่าจะไปแบบสหรัฐอเมริกาและยุโรป แต่ยังไม่ไว้วางใจไม่ได้เพราะยังไม่สามารถกดผู้ป่วยให้เป็นแบบสิงคโปร์ ญี่ปุ่น และไต้หวันได้ เพราะฉะนั้นถ้าคนไทยช่วยกันปรับพฤติกรรมดำเนินการตามมาตรการรักษาระยะห่าง ไม่จำเป็นอย่าออกจากบ้าน อยู่บ้านก็ไม่สังสรรค์ให้ได้ 90% ก็จะช่วยลดผู้ป่วยลง” นายแพทย์สุขุมกล่าว

นายแพทย์สุขุม กล่าวด้วยว่า ในส่วนของการรักษา เตียงรองรับผู้ป่วย ในกรุงเทพฯ เตียงในโรงพยาบาลและโรงแรมที่ใช้สำหรับดูแลผู้ป่วยที่มีอาการน้อย ประมาณ 2,000 เตียง ขณะนี้มีผู้ป่วยรักษาอยู่ราว 700 ราย มีทั้งผู้ป่วยอาการหนักและอาการเบา โดยกลุ่มอาการหนักเตรียมเครื่องช่วยหายใจราว 300 เครื่อง ใช้รักษาผู้ป่วยอยู่ 20 ราย พื้นที่ต่างจังหวัดมีเตียงทั้งหมด 1.2 แสนเตียง ใช้รองรับผู้ป่วยโควิด-19เป็นการเฉพาะ 10,000 เตียง ขณะนี้ใช้รักษาผู้ป่วย 500 เตียง มีเครื่องช่วยหายใจ 1,000 เครื่อง ซึ่งอุปกรณ์เหล่านี้ไม่เพียงพอแน่นอนหากเกิดการระบาดหนักๆ เพราะฉะนั้นประชาชนต้องช่วยกันอย่าให้ป่วยหรือไม่ให้มีจำนวนผู้ป่วยเพิ่มมากขึ้นพร้อมๆกันจำนวนมาก
 
นายแพทย์ธนรักษ์ ผลพัฒน์ รองอธิบดีกรมควบคุมโรค (คร.) กล่าวว่า จังหวัดที่ไม่พบผู้ป่วยรายใหม่ในรอบ 7 วันและ 14 วัน เนื่องจากเป็นจังหวัดที่พบผู้ป่วยจำนวนน้อยและการสอบสวนโรคสามารถตามผู้สัมผัสผู้ป่วยได้ทั้งหมดทุกคน แม้จะพบผู้สัมผัสติดเชื้อภายหลังแต่ก็อยู่ในระบบรักษาและเฝ้าระวัง จึงไม่ไปแพร่เชื้อให้ใครต่อ เป็นการค้นหาผู้ป่วยได้โดยเร็ว อย่างไรก็ตาม จังหวัดเหล่านี้จะต้องคงมาตรการที่เข้มงวดต่อไป โดยจังหวัดที่ไม่พบผู้ป่วยรายใหม่ในรอบ 7 วัน จะต้องค้นหาผู้ป่วยเชิงรุกในกลุ่มเสี่ยงและในพื้นที่ที่เกี่ยวข้องกับผู้ป่วย 7-14 วันก่อนหน้านี้ ส่วนจังหวัดที่ไม่มีผู้ป่วยรายใหม่ในรอบ 14 วัน จะต้องเน้นมาตรการ เฝ้าระวังเชิงรุกค้นหากลุ่มก้อนของไข้หวัดในชุมชน และติดตามคนที่เข้ามาใหม่ในพื้นที่อย่างเข้มงวด 

“สถานการณ์ในจังหวัดเหล่านี้เหมือนกับสถานการณ์ในกรุงเทพฯช่วงต้นๆที่การพบผู้ป่วยจะเกิดขึ้นจากการนำเข้ามาในพื้นที่ ในต่างจังหวัดก็เช่นกันการพบผู้ป่วยเกิดจากการที่มีคนติดเชื้อนำเข้าไปในพื้นที่ หากสามารถพบผู้ป่วยและติดตามผู้ใกล้ชิดได้หมดก็สามารถคุมสถานการณ์ไม่ให้เจอผู้ป่วยรายใหม่ได้ ส่วนผู้สัมผัสผู้ป่วยที่ต้องเฝ้าระวัง เมื่อมีอาการไข้ ไอ เจ็บคอก็สามารถนำเข้าตรวจหาเชื้อและรักษาพยาบาลได้ทันที อย่างไรก็ตาม ไม่ใช่ว่าผู้สัมผัสผู้ป่วยทุกรายจะติดเชื้อ เพราะจากข้อมูลผู้สัมผัส 100 คน จะติดเชื้อประมาณ 2-4%” นายแพทย์ธนรักษ์กล่าว

นายแพทย์ธนรักษ์ กล่าวอีกว่า ฉากทัศน์การคาดการณ์สถานการณ์ที่กระทรวงสาธารณสุขใช้เพื่อวางแผนเตรียมการอุปกรณ์ต่างๆ ซึ่งดำเนินการโดยนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรคมี 3 แบบ คือ

1.ไม่ทำอะไรเลย จะมีผู้ป่วยประมาณ 24,000-25,000 ราย 2.สามารถเพิ่มมาตรการรักษาระยะห่างได้ 50% จะมีผู้ป่วยราว 17,000 ราย และ
3.สามารถเพิ่มมาตรการรักษาระยะห่างได้ 80% มีผู้ป่วยราว 7,000 ราย
จะเห็นได้ว่าห่างจากตัวเลขที่มีการพูดถึงผู้ป่วย 3.5 แสนรายและเสียชีวิต 7,000 รายค่อนข้างมาก และสูงกว่าความเป็นจริงทุกตัว ซึ่งขณะนี้ยังไม่มีมาตรการปิดเมืองเพียงแต่ปิดสถานที่เสี่ยงบางแห่ง คนยังใช้ชีวิตประจำวันได้ และทำงานได้ ในสถานที่ราชการและเอกชนก็ยังทำงาน รถติดทุกวัน จึงต้องการให้คนออกจากบ้านน้อยกว่านี้อีกมาก เพื่อทำให้ยอดผู้ป่วยรายใหม่ลดลง
 
“การคาดการณ์ตัวเลขมากให้คนตกใจ พยายามขู่ให้คนกลัวกับโรคภัย ไม่ใช่ยุทธศาสตร์ที่ถูกต้อง เพราะเมื่อไหร่ที่คนกลัว จนเกิดความวิตกกังวล คนจะปฏิบัติตัวโดยไม่มีเหตุผล อย่างเช่น เกิดการตีตราผู้ติดเชื้อ คนไข้ปกปิดข้อมูล ไม่เปิดเผยประวัติการป่วยหรือไปในสถานที่เสี่ยงติดโรค ซึ่งเริ่มมีปรากฎแล้ว การยิ่งเพิ่มความกลัว กังวลยิ่งเพิ่มโอกาสแพร่เชื้อได้มากขึ้น วิธีที่ถูกต้องคือให้คนรู้ความจริง ให้เกิดปัญญาและสติ ให้เขาตระหนักรู้ได้ด้วยตัวเอง ระยะนี้จึงอยากบอกว่าเป็นช่วงเวลาที่ต้องขอความร่วมมือประชาชนจริงๆ เพื่อชะลอการระบาดให้ช้าที่สุดและผู้ป่วยเพิ่มขึ้นน้อยที่สุด ทุกอย่างอยู่ที่คนไทยทุกคนจริงๆ” นายแพทย์ธนรักษ์กล่าว

https://www.bangkokbiznews.com/news/detail/873682

รู้ข้อมูลข่าวสาร รู้ทันโควิด ชีวิตปลอดภัยค่ะ



ปล.แก้ไข กลุ่ม 4,5 จัดบรรทัดใหม่ และเน้นข้อความค่ะ
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่