🥝🥝มาลาริน/ติดตามโควิด19ค่ะ คนไทยป่วย โควิด-19 เพิ่มอีก 3 ราย ไม่ใช่ซูเปอร์สเปรดเดอร์ พบผู้ป่วยปกปิดข้อมูลจากรพ.เอกชน

พบคนไทยป่วย โควิด-19 เพิ่มอีก 3 ราย ไม่ใช่ซูเปอร์สเปรดเดอร์



กระทรวงสาธารณสุข แถลงความคืบหน้า สถานการณ์ โรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 พบคนไทยป่วย โควิด-19 เพิ่มอีก 3 ราย ยืนยัน ไม่ใช่ซูเปอร์สเปรดเดอร์

26 กุมภาพันธ์ 2563  นายอนุทิน​ ชาญวีรกูล​ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) และคณะผู้บริหาร สธ. แถลงความคืบหน้าสถานการณ์ โรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 หรือ โควิด-19 (COVID-19) ณ สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข

นายอนุทิน กล่าวถึงเหตุประกาศ “โควิด-19” เป็นโรคติดต่อร้ายแรงที่ 14 ย้ำ เพราะต้องการให้คนตระหนักมากขึ้น และให้ความร่วมมือเพื่อยับยั้ง ซูเปอร์สเปรดเดอร์คือบุคคลที่สามารถแพร่เชื้อให้แก่ผู้อื่นได้จำนวนมากในครั้งเดียว เหมือนกับเกาหลีใต้ให้เจ้าหน้าที่มีอำนาจในการบังคับผู้เข้าข่ายติดเชื้อให้มาตรวจที่โรงพยาบาล โดยบ่ายวันนี้น่าจะสามารถเซ็นเพื่อนำไปประกาศในราชกิจจานุเบกษาได้ใน 1 - 2 วันต่อไป

              โดยเมื่อวานนี้ พบนักท่องเที่ยวที่มาจากเรือไดมอนด์ พรินเซสส์ เดินทางมาประเทศไทย ทางเราได้ใช้ประกาศดังกล่าวอธิบายเพื่อขอให้เดินทางกลับโดยไม่ได้บังคับใช้ ก.ม. ยืนยัน ประสิทธิภาพการตรวจคัดกรอง การแพร่ระบาดในประเทศไทยยังอยู่ในระยะที่ 2 ซึ่งเราสามารถติดตามผู้สัมผัสใกล้ชิดได้ 100%
 
              นายแพทย์ สุขุม กาญจนพิมาย ปลัดกระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า ผู้ป่วย โควิด-19 หายป่วยกลับบ้านแล้ว 24 ราย โดยพบผู้ป่วยเพิ่ม 3 ราย รายแรก ชายไทย อายุ 65 ปี ไปเที่ยวฮอกไกโด เข้ารักษาที่ รพ.เอกชน ตรวจสอบพบเป็นบวก ปอดอักเสบ รายที่สองเป็น ภรรยา ไปเที่ยวด้วยกัน กลับมาเป็น ไข้ ไอ รายที่สาม เด็กชายไทย อายุ 8 ปี ไม่ได้เดินทางไปเที่ยวด้วย แต่อยู่ใกล้ชิดปู่ย่า อาการน้อย

https://www.komchadluek.net/news/regional/419151?utm_source=homepage&utm_medium=internal_referral&utm_campaign=พบคนไทยป่วย โควิด-19 เพิ่มอีก 3 ราย ไม่ใช่ซูเปอร์สเปรดเดอร์

โรงพยาบาล บี.แคร์ เมดิคอลเซ็นเตอร์ ชี้แจงกรณีผู้ป่วย โควิด-19 ปกปิดประวัติเดินทาง ทำบุคลากรการแพทย์ 30 คนเสี่ยงต่อการติดเชื้อไวรัส


 
              เมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2563 ผู้ป่วยชายไทย มาด้วยอาการ ไข้ ไอ ผู้ป่วยปฏิเสธประวัติการเดินทางไปต่างประเทศ เบื้องต้นได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นปอดอักเสบ และให้รักษาตัวในโรงพยาบาล

เช้าวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2563 แพทย์อายุรกรรมผู้เชี่ยวชาญด้านโรคปอด ได้เข้าตรวจอาการผู้ป่วยและสอบถามประวัติการเดินทางไปต่างประเทศอีกครั้ง ผู้ป่วยปฏิเสธ
              ช่วงสาย ผู้ป่วยได้เปิดเผยประวัติว่าได้เดินทางไปประเทศกลุ่มเสี่ยง
 
              เมื่อผู้ป่วยแจ้งประวัติ โรงพยาบาลฯ ได้ติดต่อสถาบันป้องกันควบคุมโรคเขตเมือง (สปคม.) ซึ่งได้ระบุว่า ผู้ป่วยรายนี้เข้ากลุ่มเสี่ยง (Patient Under Investigation) และย้ายผู้ป่วยเข้าพักรักษาตัวในห้องความดันลบ (Negative Pressure Room) และส่งตรวจ PCR for COVID-19 ทันที
              ช่วงค่ำของวันที่ 24 กุมภาพันธ์ ผลตรวจ PCR เบื้องต้น พบเชื้อ COVID-19 (Detected) โรงพยาบาล บี.แคร์ ฯ ได้แจ้ง สปคม. ทันที

              ปัจจุบันผู้ป่วยได้รับการส่งตัวไปรักษาต่อที่โรงพยาบาลของรัฐเป็นที่เรียบร้อยแล้ว
              จากการที่ผู้ป่วยปกปิดและปฏิเสธประวัติการเดินทางไปต่างประเทศ ส่งผลให้บุคลากรทั้งแพทย์
พยาบาล และเจ้าหน้าที่ของโรงพยาบาลฯ ในกลุ่มที่สัมผัสใกล้ชิดกับผู้ป่วย เสี่ยงต่อการติดเชื้อ COVID-19
จำนวน 30 คน ซึ่งโรงพยาบาลฯ ร่วมกับ สปคม. ได้ดำเนินการดังนี้
              1. บุคลากรที่สัมผัสกับผู้ป่วยทุกคน ได้รับการตรวจ PCR for COVID-19 และ ตรวจเลือดเพื่อหา Antibody ของ Vius เบื้องต้น ผลตรวจ PCR for COVID-19 ของบุคลากรทุกคนที่สัมผัสกับผู้ป่วย
เป็นลบ คือไม่พบเชื้อไวรัส แต่ยังต้องตรวจซ้ำในช่วงเวลา 7-14 วัน
              2. ให้บุคลากรดังกล่าวหยุดงาน (Self quarantine) สังเกตอาการที่บ้าน และปฏิบัติตามแนวทางของกรมควบคุมโรค
              3. ทำการ Deep Clean ด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อโรค และงดรับผู้ปวยในหอผู้ป่วย
 
              "เบื้องต้น ผลการตรวจ PCR for COVID-19 ของบุคลากรโรงพยาบาลทั้ง 30 คน ตรวจไม่พบเชื้อไวรัส"
              ขอความร่วมมือผู้รับบริการทุกท่าน แจ้งประวัติที่เป็นความจริง เพื่อเข้าสู่กระบวนการการคัดกรอง การวินิจฉัย การแยกโรคตามมาตรฐาน ดังนี้

              1. หากท่านมีประวัติการเดินทางไปต่างประเทศในกลุ่มเสี่ยงตามประกาศของกรมควบคุมโรค หรือมีประวัติสัมผัสกับผู้ที่เดินทางไปต่างประเทศในกลุ่มดังกล่าว ร่วมกับมีอาการ ไข้ ไอ จาม อ่อนเพลีย ให้แจ้งที่จุดคัดกรองของโรงพยาบาลฯ ซึ่งได้จัดให้มีทุกประตูเข้าออกของโรงพยาบาล
              2. โรงพยาบาลฯ จะนำท่านไปยังห้องตรวจแยกโรค แรงดันลบ (Negative Pressure) ทันที และติดต่อประสาน สปคม. เพื่อให้ สปคม. พิจารณาว่าเข้าเกณฑ์กลุ่มเสี่ยง (Patient Under Investigation)
              3. หากเข้าเกณฑ์ ท่านจะได้รับการตรวจ PCR for COVID-19 และพักรักษาตัวในห้องความดันลบ (Negative Pressure) ของโรงพยาบาลฯ เพื่อรอผลตรวจ ซึ่งใช้เวลาประมาณ 6-8 ชั่วโมง
              4. หากผลตรวจพบเชื้อ ทาง สปคม. จะดำเนินการรับตัวท่านไปรักษาต่อที่โรงพยาบาลภาครัฐต่อไป

              การปกปิดข้อมูลเป็นผลเสีย มีผลกระทบทำให้เกิดความเสียหายต่อสังคม ต่อผู้อื่น และต่อครอบครัวของท่านเอง
              ทั้งนี้ โรงพยาบาล บี.แคร์ เมดิคอลเซ็นเตอร์ ขอยืนยันว่า โรงพยาบาลฯ มีการเฝ้าระวัง และคัดกรองโรคที่เป็นมาตรฐาน และขอความร่วมมือจากประชาชนอย่าเพิ่งตื่นตระหนก หรือแชร์ข่าวที่ยังไม่ผ่านการตรวจสอบสถานการณ์ที่แน่นอนจากโรงพยาบาลฯ โดยหากมีความเคลื่อนไหวหรือมีสถานการณ์ใดๆ ที่ต้องเฝ้าระวัง โรงพยาบาลฯ จะแจ้งให้ทราบเป็นระยะ จึงขอแจ้งมา ณ โอกาสนี้

              วันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2563

              โรงพยาบาล บี.แคร์ เมดิคอลเซ็นเตอร์




https://www.komchadluek.net/news/regional/419130?utm_source=tiein&utm_medium=internal_referral

อ่านแล้วก็น่าเป็นห่วงบุคลากรทางการแพทย์ค่ะ

เพราะผู้ป่วยปกปิดข้อมูล  อันตรายที่สุด

รัฐบาลจึงต้องประกาศเป็นโรคอันตรายลำดับที่ 14



เป็นการประกาศเพื่อให้การทำงานของเจ้าหน้าที่จะสามารถชะลอหรือยืดระยะเวลาการเข้าสู่ระยะที่ 3 ไว้ให้ได้นานที่สุด และเกิดประโยชน์อย่างมากสำหรับประเทศไทย โดยจะมีผลหลังจากประกาศในราชกิจจานุเบกษา

เพราะผู้ป่วยอาจปกปิดข้อมูล เป็นอุปสรรคในการให้การรักษา

เช่นนี้เองค่ะ

ขอให้กำลังใจ บุคลากรทางการแพทย์ทุกๆท่านนะคะ



แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่