ในโลกนี้มีเชื้อโรคมากมาย แต่ไม่สามารถเข้าสู่ร่างกายของเราได้ เพราะมีเกราะชั้นแรกคอยคุ้มกันอยู่ นั่นคือ ผิวหนังที่ห่อหุ้มตัวเราไว้ แต่อย่างไรก็ตาม ก็ยังมีช่องที่เชื้อโรคจะเข้าไปในร่างกายของเราได้ นั่นคือ ทางเยื่อเมือกทั้งหลาย ได้แก่ บริเวณดวงตา บริเวณภายในจมูก และภายในช่องปากของเรา จุดต่าง ๆ เหล่านี้ เป็นจุดที่เชื้อโรคจะเข้าไปได้ง่ายที่สุด
สำหรับโควิด 19 ตามที่มีรายงานออกมาช่วงแรก ๆ เชื้อที่ติดจากคนสู่คนส่วนมาก จะเกิดขึ้นตอนที่มีการใกล้ชิดกับคนที่ติดเชื้อโควิด 19 โดยช่องทางหลักจะผ่าน droplete ซึ่งเกิดตอนคนที่ติดเชื้อไอหรือจาม เจ้า droplete ตัวนี้จะลอยไปตกลงในปาก จมูก หรือตา ของคนที่อยู่ใกล้ ๆ หรืออาจจะถูกสูดหายใจเข้าไปในปอดของคนที่อยู่ใกล้ชิด ส่วนอากาศที่ออกมากับลมหายใจ หรือบางครั้งเรียกว่า aerosols หรือ droplet nuclei จะทำให้คนที่อยู่ใกล้ ๆ ติดหรือไม่นั้น อันนี้ยังไม่แน่ใจ แต่ว่า สำหรับการติดต่อผ่านละอองเล็ก ๆ มาก ๆ ที่เรียกว่า airborne โดยคนสู่คนที่อยู่ไกลกันนั้น ไม่น่าจะเป็นไปได้ [1]
ในความเห็นส่วนตัว ผมคิดว่าการติดเชื้อส่วนมาก น่าจะมาจากการสัมผัส เช่น เราเอามือไปสัมผัสลูกบิดประตู ราวประตู ก๊อกน้ำ โต๊ะ แล้วในสิ่งของพวกนี้ถ้าอยู่ในที่ทำงาน ที่บ้าน ก็ต้องมีคนเคยจับมาก่อนเรา เราไม่รู้ว่าคนเหล่านี้มีเชื้อไวรัสติดอยู่ที่มือหรือเปล่า เพราะถ้าเขาเป็นคนที่มีเชื้อ แล้วเขาไอ หรือเอามือขยี้ตา หรือแคะจมูก เชื้อก็จะอยู่ที่มือเขา ถ้าเขาไม่ล้างมือ แล้วจับราวประตูห้องน้ำ จับก๊อกน้ำ จับโต๊ะ ก็มีโอกาสที่เชื้อจากมือเขาจะปนเปื้อนอยู่กับสิ่งเหล่านี้ เมื่อเราไปจับต่อ เชื้อก็จะมาอยู่บนมือเรา พอมือเราไปจับอย่างอื่น เช่น โทรศัพท์มือถือ แป้นพิมพ์คอมพิวเตอร์ หรือประตูบ้าน เชื้อก็อาจจะไปอยู่กับสิ่งเหล่านั้น แล้วถ้ามีสักครั้งที่เราเอามือขึ้นมาขี้ตา หรือหยิบขนมของกินเข้าไปในปาก มันก็มีโอกาสที่เชื้อที่ปนเปื้อนอยู่จะเข้าไปในร่างกายของเรา
ดังนั้น เหตุการณ์ที่เป็นไปได้มากที่สุด ที่จะทำให้เราติดโรค นั่นก็คือ เราเอาเชื้อ (ที่อยู่บนมือของเรา) เข้าไปในร่างกายของเราเอง
ผู้ทำให้เราติดโรค
สำหรับโควิด 19 ตามที่มีรายงานออกมาช่วงแรก ๆ เชื้อที่ติดจากคนสู่คนส่วนมาก จะเกิดขึ้นตอนที่มีการใกล้ชิดกับคนที่ติดเชื้อโควิด 19 โดยช่องทางหลักจะผ่าน droplete ซึ่งเกิดตอนคนที่ติดเชื้อไอหรือจาม เจ้า droplete ตัวนี้จะลอยไปตกลงในปาก จมูก หรือตา ของคนที่อยู่ใกล้ ๆ หรืออาจจะถูกสูดหายใจเข้าไปในปอดของคนที่อยู่ใกล้ชิด ส่วนอากาศที่ออกมากับลมหายใจ หรือบางครั้งเรียกว่า aerosols หรือ droplet nuclei จะทำให้คนที่อยู่ใกล้ ๆ ติดหรือไม่นั้น อันนี้ยังไม่แน่ใจ แต่ว่า สำหรับการติดต่อผ่านละอองเล็ก ๆ มาก ๆ ที่เรียกว่า airborne โดยคนสู่คนที่อยู่ไกลกันนั้น ไม่น่าจะเป็นไปได้ [1]
ในความเห็นส่วนตัว ผมคิดว่าการติดเชื้อส่วนมาก น่าจะมาจากการสัมผัส เช่น เราเอามือไปสัมผัสลูกบิดประตู ราวประตู ก๊อกน้ำ โต๊ะ แล้วในสิ่งของพวกนี้ถ้าอยู่ในที่ทำงาน ที่บ้าน ก็ต้องมีคนเคยจับมาก่อนเรา เราไม่รู้ว่าคนเหล่านี้มีเชื้อไวรัสติดอยู่ที่มือหรือเปล่า เพราะถ้าเขาเป็นคนที่มีเชื้อ แล้วเขาไอ หรือเอามือขยี้ตา หรือแคะจมูก เชื้อก็จะอยู่ที่มือเขา ถ้าเขาไม่ล้างมือ แล้วจับราวประตูห้องน้ำ จับก๊อกน้ำ จับโต๊ะ ก็มีโอกาสที่เชื้อจากมือเขาจะปนเปื้อนอยู่กับสิ่งเหล่านี้ เมื่อเราไปจับต่อ เชื้อก็จะมาอยู่บนมือเรา พอมือเราไปจับอย่างอื่น เช่น โทรศัพท์มือถือ แป้นพิมพ์คอมพิวเตอร์ หรือประตูบ้าน เชื้อก็อาจจะไปอยู่กับสิ่งเหล่านั้น แล้วถ้ามีสักครั้งที่เราเอามือขึ้นมาขี้ตา หรือหยิบขนมของกินเข้าไปในปาก มันก็มีโอกาสที่เชื้อที่ปนเปื้อนอยู่จะเข้าไปในร่างกายของเรา
ดังนั้น เหตุการณ์ที่เป็นไปได้มากที่สุด ที่จะทำให้เราติดโรค นั่นก็คือ เราเอาเชื้อ (ที่อยู่บนมือของเรา) เข้าไปในร่างกายของเราเอง