นายวิรไท สันติประภพ ผู้ว่าการ ธปท. เปิดเผยว่า ภายหลังจากที่ ธปท. ได้ออกมาตรการช่วยเหลือลูกหนี้ไปเมื่อวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2563 สถาบันการเงินมีความคืบหน้าในการให้ความช่วยเหลือลูกหนี้เพิ่มขึ้นจากประมาณ 30,000 ราย ยอดหนี้ 234,000 ล้านบาท เมื่อวันที่ 18 มีนาคม 2563 เป็น 156,000 ราย ยอดหนี้ 310,000 ล้านบาท เมื่อวันที่ 23 มีนาคม 2563
ธปท. ได้ติดตามสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัส COVID-19 อย่างต่อเนื่อง โดยได้ประสานงานและหารือร่วมกันอย่างใกล้ชิดกับธนาคารพาณิชย์ สถาบันการเงินเฉพาะกิจ และผู้ให้บริการทางการเงินอื่นผ่านสมาคมและชมรมต่าง ๆ รวม 9 แห่ง* มีความเห็นตรงกันว่าผลกระทบจากการแพร่ระบาดของไวรัส COVID-19 ได้ขยายวงกว้างไปยังประชาชนและธุรกิจในทุกภาคส่วน จึงต้องร่วมมือกันอย่างเร่งด่วนเพื่อให้ประเทศไทยสามารถก้าวข้ามภาวะที่ยากลำบากนี้ได้ จึงตกลงร่วมกันที่จะกำหนดมาตรการขั้นต่ำเพื่อช่วยเหลือลูกหนี้ที่ใช้ผลิตภัณฑ์บัตรเครดิต สินเชื่อส่วนบุคคล เช่าซื้อ ลีสซิ่ง สินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัย และสินเชื่อธุรกิจ SMEs ซึ่งยังไม่เป็นหนี้ค้างชำระเกินกว่า 90 วัน (NPL) มีผลตั้งแต่งวดการชำระหนี้ วันที่ 1 เมษายน 2563 สรุปสาระสำคัญได้ดังนี้

มาตรการดังกล่าวเป็นเพียงมาตรการช่วยเหลือขั้นต่ำ โดยผู้ให้บริการทางการเงินแต่ละแห่งยังมีโครงการช่วยเหลือเพิ่มเติมที่ดีกว่ามาตรการขั้นต่ำดังกล่าวสำหรับลูกหนี้ในภาคธุรกิจ และประชาชนที่ได้รับผลกระทบโดยตรง เช่น ในอุตสาหกรรมท่องเที่ยว โรงแรม การบิน หรือธุรกิจที่เกี่ยวเนื่อง ทั้งนี้ ลูกหนี้สามารถศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ website หรือโทรสอบถามได้ที่ call center ของแต่ละสถาบันการเงิน
ลูกหนี้ที่ได้รับความช่วยเหลือตามมาตรการนี้ จะยังคงมีประวัติการชำระหนี้เป็นลูกหนี้ปกติในฐานข้อมูลเครดิตบูโร แต่ลูกหนี้ยังคงมีภาระการจ่ายชำระคืนหนี้ตามเงื่อนไขที่ตกลงกับผู้ให้บริการทางการเงิน
สำหรับลูกหนี้ที่ชำระหนี้ที่จะได้ตามปกติตามเงื่อนไขเดิม ผู้ให้บริการทางการเงินอาจให้สิทธิประโยชน์หรือเงื่อนไขพิเศษตามความเหมาะสม เพื่อสนับสนุนให้ลูกหนี้มีวินัยทางการเงินที่ดี
อย่างไรก็ดี ผู้ให้บริการทางการเงินจะต้องสื่อสารการให้ความช่วยเหลือขั้นต่ำตามมาตรการนี้ และโครงการให้ความช่วยเหลือเพิ่มเติมเฉพาะกลุ่มให้ลูกหนี้ทราบอย่างทั่วถึง รวมทั้งชี้แจงให้ลูกหนี้ทราบสิทธิประโยชน์ แนวทางปฏิบัติการขอรับความช่วยเหลือ และภาระหน้าที่ในการชำระหนี้ตามมาตรการการให้ความช่วยเหลือลูกหนี้ใหม่
ธนาคารแห่งประเทศไทย
25 มีนาคม 2563
ข้อมูลเพิ่มเติม : ทีมความเสี่ยงด้านเครดิต ฝ่ายนโยบายการกำกับสถาบันการเงิน
โทรศัพท์ : 0 2283 6929
E-mail : FPGCreditRiskTeam@bot.or.th
--------------------------------------
* ประกอบด้วย 1. สมาคมธนาคารไทย 2. สมาคมธนาคารนานาชาติ 3. สมาคมสถาบันการเงินของรัฐ 4. สมาคมลีสซิ่งไทย 5. สมาคมธุรกิจเช่าซื้อไทย 6. สมาคมการค้าผู้ประกอบธุรกิจสินเชื่อทะเบียนรถ 7. สมาคมธุรกิจเช่าซื้อรถจักรยานยนต์ไทย 8. ชมรมธุรกิจบัตรเครดิต-สมาคมธนาคารไทย 9. ชมรมสินเชื่อส่วนบุคคล
ที่มา
https://www.bot.or.th/Thai/PressandSpeeches/Press/2020/Pages/n1763.aspx
ข่าว ธปท. ฉบับที่ 17/2563 เรื่อง มาตรการช่วยเหลือด้านสินเชื่อสำหรับลูกหนี้ที่ได้รับผลกระทบจาก COVID-19
นายวิรไท สันติประภพ ผู้ว่าการ ธปท. เปิดเผยว่า ภายหลังจากที่ ธปท. ได้ออกมาตรการช่วยเหลือลูกหนี้ไปเมื่อวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2563 สถาบันการเงินมีความคืบหน้าในการให้ความช่วยเหลือลูกหนี้เพิ่มขึ้นจากประมาณ 30,000 ราย ยอดหนี้ 234,000 ล้านบาท เมื่อวันที่ 18 มีนาคม 2563 เป็น 156,000 ราย ยอดหนี้ 310,000 ล้านบาท เมื่อวันที่ 23 มีนาคม 2563
ธปท. ได้ติดตามสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัส COVID-19 อย่างต่อเนื่อง โดยได้ประสานงานและหารือร่วมกันอย่างใกล้ชิดกับธนาคารพาณิชย์ สถาบันการเงินเฉพาะกิจ และผู้ให้บริการทางการเงินอื่นผ่านสมาคมและชมรมต่าง ๆ รวม 9 แห่ง* มีความเห็นตรงกันว่าผลกระทบจากการแพร่ระบาดของไวรัส COVID-19 ได้ขยายวงกว้างไปยังประชาชนและธุรกิจในทุกภาคส่วน จึงต้องร่วมมือกันอย่างเร่งด่วนเพื่อให้ประเทศไทยสามารถก้าวข้ามภาวะที่ยากลำบากนี้ได้ จึงตกลงร่วมกันที่จะกำหนดมาตรการขั้นต่ำเพื่อช่วยเหลือลูกหนี้ที่ใช้ผลิตภัณฑ์บัตรเครดิต สินเชื่อส่วนบุคคล เช่าซื้อ ลีสซิ่ง สินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัย และสินเชื่อธุรกิจ SMEs ซึ่งยังไม่เป็นหนี้ค้างชำระเกินกว่า 90 วัน (NPL) มีผลตั้งแต่งวดการชำระหนี้ วันที่ 1 เมษายน 2563 สรุปสาระสำคัญได้ดังนี้

มาตรการดังกล่าวเป็นเพียงมาตรการช่วยเหลือขั้นต่ำ โดยผู้ให้บริการทางการเงินแต่ละแห่งยังมีโครงการช่วยเหลือเพิ่มเติมที่ดีกว่ามาตรการขั้นต่ำดังกล่าวสำหรับลูกหนี้ในภาคธุรกิจ และประชาชนที่ได้รับผลกระทบโดยตรง เช่น ในอุตสาหกรรมท่องเที่ยว โรงแรม การบิน หรือธุรกิจที่เกี่ยวเนื่อง ทั้งนี้ ลูกหนี้สามารถศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ website หรือโทรสอบถามได้ที่ call center ของแต่ละสถาบันการเงิน
ลูกหนี้ที่ได้รับความช่วยเหลือตามมาตรการนี้ จะยังคงมีประวัติการชำระหนี้เป็นลูกหนี้ปกติในฐานข้อมูลเครดิตบูโร แต่ลูกหนี้ยังคงมีภาระการจ่ายชำระคืนหนี้ตามเงื่อนไขที่ตกลงกับผู้ให้บริการทางการเงิน
สำหรับลูกหนี้ที่ชำระหนี้ที่จะได้ตามปกติตามเงื่อนไขเดิม ผู้ให้บริการทางการเงินอาจให้สิทธิประโยชน์หรือเงื่อนไขพิเศษตามความเหมาะสม เพื่อสนับสนุนให้ลูกหนี้มีวินัยทางการเงินที่ดี
อย่างไรก็ดี ผู้ให้บริการทางการเงินจะต้องสื่อสารการให้ความช่วยเหลือขั้นต่ำตามมาตรการนี้ และโครงการให้ความช่วยเหลือเพิ่มเติมเฉพาะกลุ่มให้ลูกหนี้ทราบอย่างทั่วถึง รวมทั้งชี้แจงให้ลูกหนี้ทราบสิทธิประโยชน์ แนวทางปฏิบัติการขอรับความช่วยเหลือ และภาระหน้าที่ในการชำระหนี้ตามมาตรการการให้ความช่วยเหลือลูกหนี้ใหม่
ธนาคารแห่งประเทศไทย
25 มีนาคม 2563
ข้อมูลเพิ่มเติม : ทีมความเสี่ยงด้านเครดิต ฝ่ายนโยบายการกำกับสถาบันการเงิน
โทรศัพท์ : 0 2283 6929
E-mail : FPGCreditRiskTeam@bot.or.th
--------------------------------------
* ประกอบด้วย 1. สมาคมธนาคารไทย 2. สมาคมธนาคารนานาชาติ 3. สมาคมสถาบันการเงินของรัฐ 4. สมาคมลีสซิ่งไทย 5. สมาคมธุรกิจเช่าซื้อไทย 6. สมาคมการค้าผู้ประกอบธุรกิจสินเชื่อทะเบียนรถ 7. สมาคมธุรกิจเช่าซื้อรถจักรยานยนต์ไทย 8. ชมรมธุรกิจบัตรเครดิต-สมาคมธนาคารไทย 9. ชมรมสินเชื่อส่วนบุคคล
ที่มา
https://www.bot.or.th/Thai/PressandSpeeches/Press/2020/Pages/n1763.aspx