‘ลอย ชุนพงษ์ทอง’ย้ำ 6.3 ล้านเสียงต้องไม่ตกน้ำ หากยุบ อนค.
https://voicetv.co.th/read/FP_SLXNv9
นักคณิตศาสตร์มองคดียุบพรรคอนาคตใหม่อาจเกิดเดดล็อก เพราะการเลือกตั้งแบบนี้ไม่ได้เขียนมาให้ยุบหรือย้ายพรรค กกต. ต้องหาทางออกไม่ให้ 6.3 ล้านเสียงที่เลือก อนค. ตกน้ำ
อาจารย์
ลอย ชุนพงษ์ทอง นักคณิตศาสตร์และนักดาราศาสตร์ แสดงความคิดเห็นต่อกรณีศาลรัฐธรรมนูญจะมีการตัดสินคดีเงินกู้ 191 ล้านบาทของพรรคอนาคตใหม่ หากมีคำตัดสินยุบพรรคและตัดสิทธิ์กรรมการบริหารพรรค ซึ่งจะเกิดคำถามต่อมาคือจะส่งผลอย่างไรต่อคะแนนเลือกตั้งของพรรคอนาคตใหม่ แม้ว่าในรัฐธรรมนูญ มาตรา 94 จะระบุว่าถ้าไม่มีการทุจริตเลือกตั้ง จะไม่กระทบต่อการคำนวณ ส.ส. แบบบัญชีรายชื่อ แต่นั่นหมายความว่าการยุบพรรคอนาคตใหม่ ก็อื่นๆ ก็ย่อมจะไม่ได้ผลประโยชน์ด้วย กล่าวคือ ส.ส. พึงมีของพรรคอื่นๆ ก็จะมีเท่าเดิม จะมี 2 พรรคเท่านั้นที่จำนวน ส.ส. เปลี่ยนไปคือ พรรคที่ถูกยุบ และพรรคที่ ส.ส. ของอนาคตใหม่จะย้ายเข้าไปอยู่ใหม่
ทั้งนี้ อาจารย์
ลอย กล่าวว่า คะแนนต้องมาก่อน ส.ส. เพราะมีคะแนนจึงทำให้เกิด ส.ส. ไม่ใช่ ส.ส. ทำให้เกิดคะแนน ดังนั้นหากยุบพรรคอนาคตใหม่ก็ตัดสิทธิ์กรรมการบริหารพรรค แล้วจะส่งผลอย่างไรต่อคะแนนเสียงของประชาชน 6.3 ล้านเสียงที่เลือกพรรคอนาคตใหม่ จะโยนทิ้งน้ำก็ไม่ได้ จะให้ประชาชนที่เลือกพรรคอนาคตใหม่ลงมติใหม่ก็ไม่ได้ ตนเห็นว่าพรรคการเมืองก็เปรียบเสมือนมูลนิธิที่มีคนมาบริจาคเงิน แล้วให้กรรมการมูลนิธินั้นบริหารเงิน ดังนั้นกรรมการบริหารพรรคก็ควรจะต้องเป็นคนลงมติตัดสินว่าจะให้คะแนนไปไหน จึงจะดูต่อได้ว่า ส.ส. จะไปไหน ดังนั้นหากตนเป็น กกต. ก็จะให้กรรมการบริหารพรรคอนาคตใหม่ลงมติไว้ก่อนมีคำตัดสินของศาลว่าจะให้คะแนนไปไหน หรือกรรมการบริหารพรรคก็ควรลงมติไว้ล่วงหน้าว่าจะให้คะแนนไปอยู่ที่ไหน หรือจะให้ติดตัว ส.ส. ที่จะย้ายไปพรรคใดก็ได้ แล้วจึงนำมาคำนวณ ส.ส. พึงมีของพรรคที่ ส.ส. จะย้ายเข้าไปอยู่ใหม่นั้นได้ แต่ทั้งนี้ตนเห็นว่ารัฐธรรมนูญ ฉบับนี้ ไม่ได้เขียนมาเพื่อให้มีการย้ายหรือยุบพรรค
“การเลือกตั้งแบบ proportionate representative หรือการเลือกตั้งตัวแทนตามสัดส่วนของคะแนนเสียง แบบบัตรเดียวกาครั้งเดียว ไม่ได้ออกแบบมาให้ย้ายหรือยุบพรรค เพราะคะแนนเสียงเป็นของพรรคไม่ใช่ของคน”
เตือน กกต. ระวังพรรคอื่นได้ประโยชน์ มี ส.ส. เกินจำนวนพึงมี หากมีงูเห่าย้ายพรรค
ขณะเดียวกันกรณีที่เกิดงูเห่า หรือ ส.ส. ที่ย้ายพรรคใหม่โดยไม่เป็นไปตามมติของพรรค หลังเกิดเหตุการณ์ยุบพรรคอนาคตใหม่ ส.ส. คนนั้นก็จะขนคะแนนไปไม่ได้ หากไม่ได้รับอนุญาตจากกรรมการบริหารพรรคก่อน ในทางกลับกัน หากจะย้ายไปอยู่พรรคใหม่ เช่น หากย้ายไปพรรคภูมิใจไทยที่มี ส.ส. พึงมี 51 คน ก็ต้องเอา ส.ส. ที่มีอยู่ออก 1 คนก่อนรับคนใหม่เข้ามา เพื่อให้ไม่เกินจำนวน ส.ส. พึงมี เนื่องจาก ส.ส. คนนั้นที่ย้ายเข้ามาไม่มีสิทธิ์ขนคะแนนมาด้วย ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 94 ไม่เช่นนั้นจะถือว่าจำนวน ส.ส. เกินกว่า ส.ส. พึงมี ตามที่ได้กล่าวไว้ว่าไม่ใช่พรรคอนาคตใหม่แล้วพรรคภูมิใจไทยจะได้ประโยชน์ อาจารย์ลอยยกตัวอย่าง ส่วนกรณีของนาย
ไพบูลย์ นิติตะวัน ส.ส. บัญชีรายชื่อพรรคประชาชนปฏิรูป แม้กรรมการบริหารพรรคจะลงมติแล้วว่าคะแนนที่ได้ก็ขนไปอยู่พรรคพลังประชารัฐด้วย แต่ถ้าถามว่า ส.ส. พึงมีของพรรคพลังประชารัฐจะได้เพิ่มหรือไม่ เพราะคะแนน ส.ส. บัญชีรายชื่อของพรรคคนสุดท้ายไม่ใช่แค่ 45,000 คะแนน แต่ 71,000 กว่าคะแนนเสียง อาจจะขัดกับมาตรา 94 ดังนั้น กกต. ต้องแสดงการคำนวณให้ดูกว่าเพิ่มคะแนนของพรรคประชาชนปฏิรูปไปแล้ว พรรคพลังประชารัฐได้ ส.ส. เพิ่มจริงหรือไม่
นอกจากนี้หากตัดสิทธิ์กรรมการบริหารพรรคอนาคตใหม่ จะทำให้ ส.ส. บัญชีรายชื่อที่เป็นกรรมการบริหารพรรคด้วย หายไป 10 คน อาจารย์
ลอย เห็นว่า หากปล่อยให้จำนวน ส.ส. รวมลดลงจาก 500 คนเหลือ 490 คน จะสร้างความไม่มีเสถียรภาพ หากไม่ตัดสินยุบพรรคด้วยก็ควรให้มีการเลื่อนผู้สมัคร ส.ส. แบบบัญชีรายชื่อของพรรคอนาคตใหม่ขึ้น แต่หากตัดสินยุบพรรคด้วยก็ควรเลื่อนผู้สมัคร ส.ส. แบบบัญชีรายชื่อของพรรคใหม่ที่ย้ายไปขึ้นมาเป็น ส.ส. แทน หากกรรมการบริหารพรรคอนาคตใหม่มีมติให้คะแนนของพรรคไปอยู่กับพรรคนั้น แต่ถ้าไม่เป็นเช่นนี้จะผิดเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญ เพราะพรรคอื่นจะได้รับประโยชน์ เพราะยอดคะแนนขั้นต่ำของ ส.ส. 1 คนจะลดลง อาจทำให้ ส.ส. พรรคอื่นๆ ได้เข้าสภาด้วย และการคำนวณจะยุ่งยากขึ้นไปอีก
กกต. ติดกระดุมเม็ดแรกผิด ทำให้การคำนวณยุ่งยาก
ทั้งนี้ อาจารย์
ลอย ย้ำว่า กกต. ติดกระดุมผิดเม็ดแรกคือการนำจำนวน ส.ส. แบบบัญชีรายชื่อของพรรคเพื่อไทยไปคำนวณผิด จากติดลบกลายเป็น 0 จึงส่งผลต่อการคำนวณในขั้นตอนอื่นๆ ให้ผิดตามไปด้วย อีกทั้งการจัดสรรจำนวน ส.ส. พึงมีที่หากคำนวณตามขั้นตอนแรกถูกต้องก็จะมี ส.ส. เกินมาทั้งระบบ 2 คน แล้วค่อยใช้ระบบอัตราส่วนเพิ่มเกณฑ์ขั้นต่ำของคะแนน ส.ส. แต่ละคนไปเรื่อยๆ จนมีจำนวน ส.ส. ที่ผ่านเกณฑ์ พอดีก็จะได้ ส.ส. ทั้งหมด 16 พรรคเข้าสภา แต่ กกต. กลับใช้วิธีลดคะแนนพรรคละ 14% จนทำให้จำนวน ส.ส. รวมขาดแล้วค่อยปัดเศษขึ้น ทำให้มีถึง 26 พรรคที่มี ส.ส. เข้าสภา ทั้งที่ตาม พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการได้มาซึ่ง ส.ส. มาตรา 131 (5) และรัฐธรรมนูญ มาตรา 91 (4) ก็บอกแล้วว่าให้เป็นไปตามอัตราส่วน ดังนั้นเมื่อการคำนวณผิดเพี้ยนไปจากอัตราส่วนเยอะ และถ้าคำนวณใหม่หลังยุบพรรคอนาคตใหม่เพี้ยนไปอีกพรรคอาจจะเพิ่มขึ้นถึง 35 พรรค
ระวังคะแนน 6.3 ล้านเสียงตกน้ำ ขัดเจตนารมณ์ รธน.
อย่างไรก็ตาม อาจารย์
ลอยเห็นว่าหากไม่มีการเตรียมการเพื่อลงมติว่าคะแนนจะย้ายไปที่ไหนก่อน และหากศาลมีคำสั่งยุบพรรคอนาคตใหม่ ย่อมเกิดเดดล็อก และเพื่อไม่ให้เกิดเดดล็อก กกต. ควรเอาเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญเป็นที่ตั้ง ต้องยุติธรรมกับประชาชน 6.3 ล้านคน เพื่อให้มีทางออกว่าจะทำอย่างไรกับคะแนนต่อไป ไม่อย่างนั้นอาจจะมีการฟ้องร้อง กกต. ได้ ขณะเดียวกัน กกต. เองก็ต้องอธิบายว่าที่ตัดสินแบบนี้เพราะอะไร ไม่ใช่เงียบๆ แล้วโผล่มามีแต่ตัวเลข แล้วไม่อธิบาย แต่ กกต. ต้องแสดงเจตนารมณ์อันบริสุทธิ์ของตัวเองออกมา เช่น เวลาคำนวณของพรรคประชาชนปฏิรูปกับพรรคพลังประชารัฐก็ต้องแสดงการคำนวณว่าพรรคพลังประชารัฐเมื่อมีคะแนนของพรรคประชาชนปฏิรูปเข้ามาเพิ่มแล้วมีจำนวน ส.ส. พึงมีเพิ่มจริงหรือไม่
ขณะที่อาจมีข้อโต้แย้งได้ว่า หากไม่มีการเลือก ส.ส. บัญชีรายชื่อขึ้นมาแทน 10 ตำแหน่งที่ว่างลงก็ไม่ถือว่าเป็นคะแนนตกน้ำ เพราะการเลือกตั้งนั้น ก็เป็นการเลือก ส.ส. แบบเขตไปด้วยในตัว อาจารย์
ลอย เห็นต่างไปว่า ส.ส. เขต เกิดจากคะแนนที่ชนะการเลือกตั้ง แต่คะแนน 6.3 ล้านเสียงของพรรคอนาคตใหม่ยังรวมไปถึงคะแนนของผู้สมัคร ส.ส. ที่สอบตกด้วย กกต. จึงต้องตอบว่าแล้วคะแนนเหล่านี้จะไปอยู่ที่ไหน และไม่มีสิทธิ์เอาไปเฉลี่ยแจกทุกพรรค ด้วยเกณฑ์คะแนนของ ส.ส. ต่อ 1 คนลดลง
ถึงเวลาแก้ รธน. ให้ไม่คลุมเคลือ
สุดท้าย อาจารย์
ลอย กล่าวว่า สิ่งที่อยากจะบอกกับคนไทย คือ รัฐธรรมนูญและการคำนวณแบบนี้มีช่องโหว่เยอะ และควรแก้ไข โดยจะปล่อยให้ตีความกันแบบปิดรัฐธรรมนูญแล้วถือว่า กกต. และศาลรัฐธรรมนูญเป็นรัฐธรรมนูญเสียเองไม่ได้ ต้องอุดช่องโหว่ก่อน ยกเว้นถ้าไม่มีทางออกแล้วถึงจะไปรบกวนศาลให้วินิจฉัย ไม่ใช่ตีความภาษา 1 คำไม่ได้ก็ให้ศาลวินิจฉัย ขณะเดียวกันยังเสนอว่าสูตรการคำนวณ ส.ส. ควรเขียนเป็น ซูโดโคว้ท (Pseudo Code) แค่ 6 บันทัดก็จบแล้ว ไม่ต้องไปเขียนเป็นคำบรรยายเป็นหน้าๆ แล้วตีความไม่รู้จักจบ นอกจากนี้ยังต้องถามประชาชนว่าเรายังอยากได้เลือกตั้งแบบใบเดียวไหม เพราะมันไม่ได้ออกแบบมาเพื่อให้ย้ายพรรคหรือยุบพรรค และถ้าจะมีย้ายหรือยุบพรรคต้องบอกว่าคะแนนจะไปไหน ซึ่งในกฎหมายไม่มีบอกส่วนนี้ ทั้งนี้ตนหวังว่าการแก้ไขรัฐธรรมนูญจะไม่ยืดเยื้อหรือเตะถ่วงกัน ไม่อยากให้นักการเมืองเล่นเกมการเมือง เพราะประชาชนเขาเฝ้าดูอยู่ ยิ่งยืดเยื้อก็ยิ่งเปลืองภาษีของประชาชนที่ต้องจ่ายไปทุกครั้งที่เข้าประชุมสภาและกรรมาธิการ
นิพิฏฐ์ลุยฟ้อง 7 กกต. ปมส.ส.ภูมิใจไทยรอดคดีซื้อเสียง เตรียมเปิดคลิปแฉ
https://www.khaosod.co.th/politics/news_3608187
นิพิฏฐ์ ลุยฟ้อง 7 กกต. ปมส.ส.ภูมิใจไทยรอดคดีซื้อเสียง เตรียมเปิดคลิปแฉ
นิพิฏฐ์ / เมื่อวันที่ 19 ก.พ. นาย
นิพิฏฐ์ อินทรสมบัติ รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ และอดีตส.ส.พัทลุง เปิดเผยว่า จากการที่ตนยื่นคำร้องต่อกกต.ว่านาย
ฉลอง เทอดวีระพงศ์ ส.ส.เขต 2 จ.พัทลุง พรรคภูมิใจไทย จ่ายเงินซื้อเสียง ซึ่งมีพยานบุคคลและหลักฐาน เป็นคลิปวีดีโอบันทึกภาพและเสียง การหยิบเงินมาจ่ายและพูดโน้มน้าวให้ลงคะแนนเลือกนั้น
นาย
นิพิฏฐ์กล่าวอีกว่า ล่าสุดได้รับแจ้งเป็นการภายในว่า กกต.มีมติยกคำร้องดังกล่าว ทั้งที่ก่อนหน้านี้คณะอนุกรรมการวินิจฉัยคำร้องมีมติให้ใบแดงแก่นาย
ฉลอง โดยขณะนี้กกต.ชุดใหญ่กำลังเขียนคำวินิจฉัย ซึ่งตนอยากรู้ว่าเขาจะเขียนออกมาอย่างไร เพราะในเมื่อมีพยานหลักฐานยืนยันการจ่ายเงินซื้อเสียงอย่างชัดเจน แต่กลับวินิจฉัยให้ใบขาว
“
ผมเตรียมจะยื่นฟ้องร้องต่อศาลอาญาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบกลาง เพื่อเอาผิดกกต.ทั้งคณะจากการยกคำร้องดังกล่าว ผมเปิดหน้าพร้อมตัดสินใจฟ้องร้องเอาผิดกกต. เพราะถือว่าการซื้อสิทธิ์ขายเสียงในการเลือกตั้งเป็นเรื่องใหญ่ อยากให้เรื่องนี้เป็นตัวอย่างแก่นักการเมืองและประชาชนทุกคนว่าอย่ายอมจำนนต่อการใช้อำนาจหน้าที่โดยมิชอบ ต้องสู้กับเจ้าหน้าที่รัฐหรือองค์กรอิสระแห่งใดก็ตามที่ใช้อำนาจหน้าที่โดยมิชอบ” นาย
นิพิฎฐ์กล่าว
นาย
นิพิฏฐ์ กล่าวอีกว่า ขณะเดียวกันจะแถลงข่าวพร้อมนำคลิปที่บันทึกภาพและเสียงการจ่ายเงินซื้อเสียงมาเปิดให้สื่อมวลชนได้ชมในเร็วๆนี้ เพื่อให้เห็นว่า เมื่อมีหลักฐานปรากฏการกระทำทุจริตชัดเจนขนาดนี้ แต่ถูกปล่อยให้รอดได้อีก ต่อไปเราคงไม่ต้องพึ่งหวังกกต.อีกแล้ว
JJNY : ลอย ชุนพงษ์ทองย้ำ 6.3ล้านเสียงต้องไม่ตกน้ำ/นิพิฏฐ์ลุยฟ้อง7กกต./40พปชร.พบป้อมไล่วิรัชพ้นปธ.วิป/โควิด-19คร่า 2,125
https://voicetv.co.th/read/FP_SLXNv9
นักคณิตศาสตร์มองคดียุบพรรคอนาคตใหม่อาจเกิดเดดล็อก เพราะการเลือกตั้งแบบนี้ไม่ได้เขียนมาให้ยุบหรือย้ายพรรค กกต. ต้องหาทางออกไม่ให้ 6.3 ล้านเสียงที่เลือก อนค. ตกน้ำ
อาจารย์ลอย ชุนพงษ์ทอง นักคณิตศาสตร์และนักดาราศาสตร์ แสดงความคิดเห็นต่อกรณีศาลรัฐธรรมนูญจะมีการตัดสินคดีเงินกู้ 191 ล้านบาทของพรรคอนาคตใหม่ หากมีคำตัดสินยุบพรรคและตัดสิทธิ์กรรมการบริหารพรรค ซึ่งจะเกิดคำถามต่อมาคือจะส่งผลอย่างไรต่อคะแนนเลือกตั้งของพรรคอนาคตใหม่ แม้ว่าในรัฐธรรมนูญ มาตรา 94 จะระบุว่าถ้าไม่มีการทุจริตเลือกตั้ง จะไม่กระทบต่อการคำนวณ ส.ส. แบบบัญชีรายชื่อ แต่นั่นหมายความว่าการยุบพรรคอนาคตใหม่ ก็อื่นๆ ก็ย่อมจะไม่ได้ผลประโยชน์ด้วย กล่าวคือ ส.ส. พึงมีของพรรคอื่นๆ ก็จะมีเท่าเดิม จะมี 2 พรรคเท่านั้นที่จำนวน ส.ส. เปลี่ยนไปคือ พรรคที่ถูกยุบ และพรรคที่ ส.ส. ของอนาคตใหม่จะย้ายเข้าไปอยู่ใหม่
ทั้งนี้ อาจารย์ลอย กล่าวว่า คะแนนต้องมาก่อน ส.ส. เพราะมีคะแนนจึงทำให้เกิด ส.ส. ไม่ใช่ ส.ส. ทำให้เกิดคะแนน ดังนั้นหากยุบพรรคอนาคตใหม่ก็ตัดสิทธิ์กรรมการบริหารพรรค แล้วจะส่งผลอย่างไรต่อคะแนนเสียงของประชาชน 6.3 ล้านเสียงที่เลือกพรรคอนาคตใหม่ จะโยนทิ้งน้ำก็ไม่ได้ จะให้ประชาชนที่เลือกพรรคอนาคตใหม่ลงมติใหม่ก็ไม่ได้ ตนเห็นว่าพรรคการเมืองก็เปรียบเสมือนมูลนิธิที่มีคนมาบริจาคเงิน แล้วให้กรรมการมูลนิธินั้นบริหารเงิน ดังนั้นกรรมการบริหารพรรคก็ควรจะต้องเป็นคนลงมติตัดสินว่าจะให้คะแนนไปไหน จึงจะดูต่อได้ว่า ส.ส. จะไปไหน ดังนั้นหากตนเป็น กกต. ก็จะให้กรรมการบริหารพรรคอนาคตใหม่ลงมติไว้ก่อนมีคำตัดสินของศาลว่าจะให้คะแนนไปไหน หรือกรรมการบริหารพรรคก็ควรลงมติไว้ล่วงหน้าว่าจะให้คะแนนไปอยู่ที่ไหน หรือจะให้ติดตัว ส.ส. ที่จะย้ายไปพรรคใดก็ได้ แล้วจึงนำมาคำนวณ ส.ส. พึงมีของพรรคที่ ส.ส. จะย้ายเข้าไปอยู่ใหม่นั้นได้ แต่ทั้งนี้ตนเห็นว่ารัฐธรรมนูญ ฉบับนี้ ไม่ได้เขียนมาเพื่อให้มีการย้ายหรือยุบพรรค
“การเลือกตั้งแบบ proportionate representative หรือการเลือกตั้งตัวแทนตามสัดส่วนของคะแนนเสียง แบบบัตรเดียวกาครั้งเดียว ไม่ได้ออกแบบมาให้ย้ายหรือยุบพรรค เพราะคะแนนเสียงเป็นของพรรคไม่ใช่ของคน”
เตือน กกต. ระวังพรรคอื่นได้ประโยชน์ มี ส.ส. เกินจำนวนพึงมี หากมีงูเห่าย้ายพรรค
ขณะเดียวกันกรณีที่เกิดงูเห่า หรือ ส.ส. ที่ย้ายพรรคใหม่โดยไม่เป็นไปตามมติของพรรค หลังเกิดเหตุการณ์ยุบพรรคอนาคตใหม่ ส.ส. คนนั้นก็จะขนคะแนนไปไม่ได้ หากไม่ได้รับอนุญาตจากกรรมการบริหารพรรคก่อน ในทางกลับกัน หากจะย้ายไปอยู่พรรคใหม่ เช่น หากย้ายไปพรรคภูมิใจไทยที่มี ส.ส. พึงมี 51 คน ก็ต้องเอา ส.ส. ที่มีอยู่ออก 1 คนก่อนรับคนใหม่เข้ามา เพื่อให้ไม่เกินจำนวน ส.ส. พึงมี เนื่องจาก ส.ส. คนนั้นที่ย้ายเข้ามาไม่มีสิทธิ์ขนคะแนนมาด้วย ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 94 ไม่เช่นนั้นจะถือว่าจำนวน ส.ส. เกินกว่า ส.ส. พึงมี ตามที่ได้กล่าวไว้ว่าไม่ใช่พรรคอนาคตใหม่แล้วพรรคภูมิใจไทยจะได้ประโยชน์ อาจารย์ลอยยกตัวอย่าง ส่วนกรณีของนายไพบูลย์ นิติตะวัน ส.ส. บัญชีรายชื่อพรรคประชาชนปฏิรูป แม้กรรมการบริหารพรรคจะลงมติแล้วว่าคะแนนที่ได้ก็ขนไปอยู่พรรคพลังประชารัฐด้วย แต่ถ้าถามว่า ส.ส. พึงมีของพรรคพลังประชารัฐจะได้เพิ่มหรือไม่ เพราะคะแนน ส.ส. บัญชีรายชื่อของพรรคคนสุดท้ายไม่ใช่แค่ 45,000 คะแนน แต่ 71,000 กว่าคะแนนเสียง อาจจะขัดกับมาตรา 94 ดังนั้น กกต. ต้องแสดงการคำนวณให้ดูกว่าเพิ่มคะแนนของพรรคประชาชนปฏิรูปไปแล้ว พรรคพลังประชารัฐได้ ส.ส. เพิ่มจริงหรือไม่
นอกจากนี้หากตัดสิทธิ์กรรมการบริหารพรรคอนาคตใหม่ จะทำให้ ส.ส. บัญชีรายชื่อที่เป็นกรรมการบริหารพรรคด้วย หายไป 10 คน อาจารย์ลอย เห็นว่า หากปล่อยให้จำนวน ส.ส. รวมลดลงจาก 500 คนเหลือ 490 คน จะสร้างความไม่มีเสถียรภาพ หากไม่ตัดสินยุบพรรคด้วยก็ควรให้มีการเลื่อนผู้สมัคร ส.ส. แบบบัญชีรายชื่อของพรรคอนาคตใหม่ขึ้น แต่หากตัดสินยุบพรรคด้วยก็ควรเลื่อนผู้สมัคร ส.ส. แบบบัญชีรายชื่อของพรรคใหม่ที่ย้ายไปขึ้นมาเป็น ส.ส. แทน หากกรรมการบริหารพรรคอนาคตใหม่มีมติให้คะแนนของพรรคไปอยู่กับพรรคนั้น แต่ถ้าไม่เป็นเช่นนี้จะผิดเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญ เพราะพรรคอื่นจะได้รับประโยชน์ เพราะยอดคะแนนขั้นต่ำของ ส.ส. 1 คนจะลดลง อาจทำให้ ส.ส. พรรคอื่นๆ ได้เข้าสภาด้วย และการคำนวณจะยุ่งยากขึ้นไปอีก
กกต. ติดกระดุมเม็ดแรกผิด ทำให้การคำนวณยุ่งยาก
ทั้งนี้ อาจารย์ลอย ย้ำว่า กกต. ติดกระดุมผิดเม็ดแรกคือการนำจำนวน ส.ส. แบบบัญชีรายชื่อของพรรคเพื่อไทยไปคำนวณผิด จากติดลบกลายเป็น 0 จึงส่งผลต่อการคำนวณในขั้นตอนอื่นๆ ให้ผิดตามไปด้วย อีกทั้งการจัดสรรจำนวน ส.ส. พึงมีที่หากคำนวณตามขั้นตอนแรกถูกต้องก็จะมี ส.ส. เกินมาทั้งระบบ 2 คน แล้วค่อยใช้ระบบอัตราส่วนเพิ่มเกณฑ์ขั้นต่ำของคะแนน ส.ส. แต่ละคนไปเรื่อยๆ จนมีจำนวน ส.ส. ที่ผ่านเกณฑ์ พอดีก็จะได้ ส.ส. ทั้งหมด 16 พรรคเข้าสภา แต่ กกต. กลับใช้วิธีลดคะแนนพรรคละ 14% จนทำให้จำนวน ส.ส. รวมขาดแล้วค่อยปัดเศษขึ้น ทำให้มีถึง 26 พรรคที่มี ส.ส. เข้าสภา ทั้งที่ตาม พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการได้มาซึ่ง ส.ส. มาตรา 131 (5) และรัฐธรรมนูญ มาตรา 91 (4) ก็บอกแล้วว่าให้เป็นไปตามอัตราส่วน ดังนั้นเมื่อการคำนวณผิดเพี้ยนไปจากอัตราส่วนเยอะ และถ้าคำนวณใหม่หลังยุบพรรคอนาคตใหม่เพี้ยนไปอีกพรรคอาจจะเพิ่มขึ้นถึง 35 พรรค
ระวังคะแนน 6.3 ล้านเสียงตกน้ำ ขัดเจตนารมณ์ รธน.
อย่างไรก็ตาม อาจารย์ลอยเห็นว่าหากไม่มีการเตรียมการเพื่อลงมติว่าคะแนนจะย้ายไปที่ไหนก่อน และหากศาลมีคำสั่งยุบพรรคอนาคตใหม่ ย่อมเกิดเดดล็อก และเพื่อไม่ให้เกิดเดดล็อก กกต. ควรเอาเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญเป็นที่ตั้ง ต้องยุติธรรมกับประชาชน 6.3 ล้านคน เพื่อให้มีทางออกว่าจะทำอย่างไรกับคะแนนต่อไป ไม่อย่างนั้นอาจจะมีการฟ้องร้อง กกต. ได้ ขณะเดียวกัน กกต. เองก็ต้องอธิบายว่าที่ตัดสินแบบนี้เพราะอะไร ไม่ใช่เงียบๆ แล้วโผล่มามีแต่ตัวเลข แล้วไม่อธิบาย แต่ กกต. ต้องแสดงเจตนารมณ์อันบริสุทธิ์ของตัวเองออกมา เช่น เวลาคำนวณของพรรคประชาชนปฏิรูปกับพรรคพลังประชารัฐก็ต้องแสดงการคำนวณว่าพรรคพลังประชารัฐเมื่อมีคะแนนของพรรคประชาชนปฏิรูปเข้ามาเพิ่มแล้วมีจำนวน ส.ส. พึงมีเพิ่มจริงหรือไม่
ขณะที่อาจมีข้อโต้แย้งได้ว่า หากไม่มีการเลือก ส.ส. บัญชีรายชื่อขึ้นมาแทน 10 ตำแหน่งที่ว่างลงก็ไม่ถือว่าเป็นคะแนนตกน้ำ เพราะการเลือกตั้งนั้น ก็เป็นการเลือก ส.ส. แบบเขตไปด้วยในตัว อาจารย์ลอย เห็นต่างไปว่า ส.ส. เขต เกิดจากคะแนนที่ชนะการเลือกตั้ง แต่คะแนน 6.3 ล้านเสียงของพรรคอนาคตใหม่ยังรวมไปถึงคะแนนของผู้สมัคร ส.ส. ที่สอบตกด้วย กกต. จึงต้องตอบว่าแล้วคะแนนเหล่านี้จะไปอยู่ที่ไหน และไม่มีสิทธิ์เอาไปเฉลี่ยแจกทุกพรรค ด้วยเกณฑ์คะแนนของ ส.ส. ต่อ 1 คนลดลง
ถึงเวลาแก้ รธน. ให้ไม่คลุมเคลือ
สุดท้าย อาจารย์ลอย กล่าวว่า สิ่งที่อยากจะบอกกับคนไทย คือ รัฐธรรมนูญและการคำนวณแบบนี้มีช่องโหว่เยอะ และควรแก้ไข โดยจะปล่อยให้ตีความกันแบบปิดรัฐธรรมนูญแล้วถือว่า กกต. และศาลรัฐธรรมนูญเป็นรัฐธรรมนูญเสียเองไม่ได้ ต้องอุดช่องโหว่ก่อน ยกเว้นถ้าไม่มีทางออกแล้วถึงจะไปรบกวนศาลให้วินิจฉัย ไม่ใช่ตีความภาษา 1 คำไม่ได้ก็ให้ศาลวินิจฉัย ขณะเดียวกันยังเสนอว่าสูตรการคำนวณ ส.ส. ควรเขียนเป็น ซูโดโคว้ท (Pseudo Code) แค่ 6 บันทัดก็จบแล้ว ไม่ต้องไปเขียนเป็นคำบรรยายเป็นหน้าๆ แล้วตีความไม่รู้จักจบ นอกจากนี้ยังต้องถามประชาชนว่าเรายังอยากได้เลือกตั้งแบบใบเดียวไหม เพราะมันไม่ได้ออกแบบมาเพื่อให้ย้ายพรรคหรือยุบพรรค และถ้าจะมีย้ายหรือยุบพรรคต้องบอกว่าคะแนนจะไปไหน ซึ่งในกฎหมายไม่มีบอกส่วนนี้ ทั้งนี้ตนหวังว่าการแก้ไขรัฐธรรมนูญจะไม่ยืดเยื้อหรือเตะถ่วงกัน ไม่อยากให้นักการเมืองเล่นเกมการเมือง เพราะประชาชนเขาเฝ้าดูอยู่ ยิ่งยืดเยื้อก็ยิ่งเปลืองภาษีของประชาชนที่ต้องจ่ายไปทุกครั้งที่เข้าประชุมสภาและกรรมาธิการ
นิพิฏฐ์ลุยฟ้อง 7 กกต. ปมส.ส.ภูมิใจไทยรอดคดีซื้อเสียง เตรียมเปิดคลิปแฉ
https://www.khaosod.co.th/politics/news_3608187
นิพิฏฐ์ ลุยฟ้อง 7 กกต. ปมส.ส.ภูมิใจไทยรอดคดีซื้อเสียง เตรียมเปิดคลิปแฉ
นิพิฏฐ์ / เมื่อวันที่ 19 ก.พ. นายนิพิฏฐ์ อินทรสมบัติ รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ และอดีตส.ส.พัทลุง เปิดเผยว่า จากการที่ตนยื่นคำร้องต่อกกต.ว่านายฉลอง เทอดวีระพงศ์ ส.ส.เขต 2 จ.พัทลุง พรรคภูมิใจไทย จ่ายเงินซื้อเสียง ซึ่งมีพยานบุคคลและหลักฐาน เป็นคลิปวีดีโอบันทึกภาพและเสียง การหยิบเงินมาจ่ายและพูดโน้มน้าวให้ลงคะแนนเลือกนั้น
นายนิพิฏฐ์กล่าวอีกว่า ล่าสุดได้รับแจ้งเป็นการภายในว่า กกต.มีมติยกคำร้องดังกล่าว ทั้งที่ก่อนหน้านี้คณะอนุกรรมการวินิจฉัยคำร้องมีมติให้ใบแดงแก่นายฉลอง โดยขณะนี้กกต.ชุดใหญ่กำลังเขียนคำวินิจฉัย ซึ่งตนอยากรู้ว่าเขาจะเขียนออกมาอย่างไร เพราะในเมื่อมีพยานหลักฐานยืนยันการจ่ายเงินซื้อเสียงอย่างชัดเจน แต่กลับวินิจฉัยให้ใบขาว
“ผมเตรียมจะยื่นฟ้องร้องต่อศาลอาญาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบกลาง เพื่อเอาผิดกกต.ทั้งคณะจากการยกคำร้องดังกล่าว ผมเปิดหน้าพร้อมตัดสินใจฟ้องร้องเอาผิดกกต. เพราะถือว่าการซื้อสิทธิ์ขายเสียงในการเลือกตั้งเป็นเรื่องใหญ่ อยากให้เรื่องนี้เป็นตัวอย่างแก่นักการเมืองและประชาชนทุกคนว่าอย่ายอมจำนนต่อการใช้อำนาจหน้าที่โดยมิชอบ ต้องสู้กับเจ้าหน้าที่รัฐหรือองค์กรอิสระแห่งใดก็ตามที่ใช้อำนาจหน้าที่โดยมิชอบ” นายนิพิฎฐ์กล่าว
นายนิพิฏฐ์ กล่าวอีกว่า ขณะเดียวกันจะแถลงข่าวพร้อมนำคลิปที่บันทึกภาพและเสียงการจ่ายเงินซื้อเสียงมาเปิดให้สื่อมวลชนได้ชมในเร็วๆนี้ เพื่อให้เห็นว่า เมื่อมีหลักฐานปรากฏการกระทำทุจริตชัดเจนขนาดนี้ แต่ถูกปล่อยให้รอดได้อีก ต่อไปเราคงไม่ต้องพึ่งหวังกกต.อีกแล้ว