ผบ.ตร.แจงกมธ.กฎหมายยืนยันจนท.ไม่ได้เป็นคู่ขัดแย้งมวลชน
https://www.tnnthailand.com/content/29343
ผบ.ตร.เข้าชี้แจงคณะกรรมาธิการกฎหมายยืนยันเจ้าหน้าที่ปฏิบัติตามกฎหมาย ไม่ได้เป็นคู่ขัดแย้งของมวลชน
วันนี้ (19ก.พ.63) พล.ต.อ.
จักรทิพย์ ชัยจินดา ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ (ผบ.ตร.) เข้าชี้แจงคณะกรรมาธิการกฎหมาย ที่มีนาย
ปิยบุตร แสงกนกกุล เป็นประธานฯ ต่อประเด็นการจัดกิจกรรมวิ่งไล่ลุง หลังมีผู้ร้องเรียนถูกฝ่ายความมั่นคงคุกคาม โดยยืนยันว่า การรักษาความสงบเรียบร้อยนั้น ต้องการให้ประชาชนเกิดความปลอดภัยที่สุด ไม่อยากให้เกิดการใช้อาวุธปะทะกันระหว่างมวลชน ไม่เคารพกฎหมายเหมือนในอดีต เนื่องจาก การชุมนุมส่วนใหญ่เกิดขึ้นจาก 2 ประเภท คือม็อบจัดตั้ง และม็อบปากท้อง พร้อมย้ำว่า เจ้าหน้าที่ปฏิบัติตามกฎหมาย ไม่ได้เป็นคู่ขัดแย้งของมวลชน
ขณะที่ นาย
ปิยบุตร ได้ชี้แจงสาเหตุการเชิญผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ มาชี้แจงต่อกรรมาธิการว่า เพื่อต้องการให้เกิดจุดร่วม และความสมดุล ระหว่างผู้ร่วมชุมนุม กับเจ้าหน้าที่ของรัฐ พร้อมเชิญชวนให้กรรมาธิการ ปรบมือแสดงความชื่นชมผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ ที่สละเวลามาชี้แจงต่อกรรมาธิการ
'นายพล-พ.อ.พิเศษ'เกษียณ อยู่บ้านหลวงเกือบ100คน
https://www.dailynews.co.th/politics/758337
รองผบ.ทบ. เผยมีนายพล-พันเอกพิเศษเกษียณฯอยู่บ้านหลวงเกือบ 100 คน ขีดเส้นย้ายออกมี.ค.นี้ รับผ่อนผันเป็นกรณี ตามเหตุจำเป็น ยันไม่ได้กระทบทหารชั้นประทวน
เมื่อวันที่ 19 ก.พ. ที่กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร (กอ.รมน.) พล.อ.
ณัฐพล นาคพาณิชย์ รองผู้บัญชาการทหารบก (รองผบ.ทบ.) เปิดเผยถึงกรณีทหารเกษียณอายุราชการที่อยู่บ้านหลวงจำนวน ว่า กำลังให้ทางหน่วยสรุปเข้ามาว่ามีจำนวนเท่าไหร่ ซึ่งขีดเส้นว่าเดือนมี.ค.นี้ต้องเรียบร้อย โดยเราแจ้งไปว่าขอให้ส่งคืนด้วย แต่ขอให้เข้าใจว่าในสังคมไทยนั้นยืดหยุ่นได้ แต่ก็ต้องขีดเส้นเป็นระยะๆไป ในบางกรณีที่ต้องผ่อนผันก็ต้องมีกรอบเวลา ซึ่งในอดีตยอมรับว่ามีการผ่อนผันหลายปี เช่น ทหารที่ทำงานตามชายแดนเกษียณฯแล้วไม่มีบ้านพัก จึงต้องพิจารณาตามกรณี อย่างไรก็ตาม จำนวนบ้านพักทั้งหมดในส่วนกลางมีไม่เกิน 100 หลัง
สำหรับระดับชั้นนายพล พันเอกพิเศษ ซึ่งระหว่างดำเนินการก็คาดว่าจะมีคนทยอยออกไปเพิ่มขึ้นด้วย ส่วนใหญ่ที่เกิดปัญหาคือทหารที่มีภูมิลำเนาอยู่ต่างจังหวัดและเข้ามาทำงานในกทม. ส่วนที่อยู่ในต่างจังหวัดไม่ค่อยมีปัญหา เพราะเขามีบ้านอยู่แล้ว ทั้งนี้ในส่วนของส.ว.ยังไม่เห็นรายชื่อว่ามีอยู่จำนวนเท่าไหร่
ส่วนการตั้งคำถามของสังคมว่า เหตุใดนายทหารระดับสูงซึ่งมีเงินเดือนสูงจึงไม่มีกำลังทรัพย์ซื้อบ้านเป็นของตนเอง แต่มาอยู่บ้านหลวง พล.อ.
ณัฐพล กล่าวว่า เรื่องนี้เป็นเรื่องส่วนตัว ต้องไปถามแต่ละคน ซึ่งอาจมองได้ว่ายังมีงานที่ต้องรับใช้ประเทศชาติอยู่ จึงอยากฝากสื่อมวลชนว่า ไม่ต้องเป็นห่วง เพราะนายพลที่ยังอยู่บ้านหลวงก็กระทบกับบ้านของชั้นนายพลด้วยกัน ไม่ใช่นายพลจะไปอยู่บ้านนายสิบ จนทำให้ทหารชั้นผู้น้อยไม่มีบ้านอยู่ ซึ่งเป็นคนละส่วนกัน.
ท่องเที่ยววูบ แรงงานกว่า 7.7 ล้านคน "ระส่ำ"
https://www.tnnthailand.com/content/29317
จับตา "ธุรกิจท่องเที่ยววูบ" โจทย์หินที่รัฐบาลต้องเร่งปลดล็อก หลัง "โควิด-19" กระทบหลายบริษัทเสี่ยงขาดสภาพคล่อง
วันนี้( 19 ก.พ.3) การแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ หรือ “
โควิด-19” ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจไทย “
รุนแรง” กว่าที่หลาย สำนักวิจัยทางเศรษฐกิจได้คาดการณ์เอาไว้ โดยเฉพาะหลังจากที่ทางการจีนมีคำสั่งให้บริษัททัวร์ “
หยุดขาย” ผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยวทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็น ตั๋วเครื่องบิน โรงแรม ที่พักอาศัยต่างๆ รวมไปถึงการห้ามนักท่องเที่ยวกลุ่มเสี่ยงเดินทางออกนอกประเทศ เพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของไวรัสดังกล่าว
คำสั่งของทางการจีนในครั้งนี้ส่งผลกระทบต่อการท่องเที่ยวของไทยโดยตรง เพราะที่ผ่านมานักท่องเที่ยวชาวจีน คิดเป็นสัดส่วนเกือบ 1 ใน 3 ของจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติทั้งหมด นอกจากนี้ยังมีบางประเทศ เช่น เกาหลีใต้ และ ไต้หวัน มีคำสั่งเพิ่มความระมัดระวังการเดินทางมาเที่ยวประเทศไทย หลังพบจำนวนผู้ติดเชื้อในไทยทยอยเพิ่มขึ้น แม้ในจำนวนนี้มีที่รักษาหายจนและสามารถกลับไปใช้ชีวิตได้ตามปกติ
สถานการณ์ที่นักท่องเที่ยวจีนวูบหายไป ส่งผลกระทบโดยตรงต่อ “
ธุรกิจท่องเที่ยว” ซึ่งเวลานี้ผลกระทบเริ่มชัดเจนขึ้นเรื่อยๆ โดยเริ่มเห็นการ “
ยกเลิก” การจองห้องพักตามแหล่งท่องเที่ยวสำคัญในหลายๆ จังหวัด ไม่ว่าจะเป็น ภูเก็ต หาดใหญ่ พัทยา เชียงใหม่ หรือแม้แต่ใน กรุงเทพมหานคร ซึ่งนอกจากธุรกิจโรงแรมแล้ว ยังเชื่อมโยงไปธุรกิจที่เกี่ยวเนื่องด้วย เช่น ร้านอาหาร สปา หรือแม้แต่ธุรกิจเดินรถที่รับนักท่องเที่ยว ก็พลอยได้รับผลกระทบไปด้วย
การแพร่ระบาดของเชื้อโควดิด-19 ครั้งนี้ สภาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (สทท.) ถือเป็นเหตุการณ์ที่กระทบต่อภาคอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวของไทยหนักที่สุดเป็นประวัติการณ์ โดยทำให้ผู้ประกอบการท่องเที่ยวและผู้ที่เกี่ยวข้องในวงจรภาคท่องเที่ยว ซึ่งเป็นภาคบริการที่มีซัพพลายเชนมากกว่า 50,000 บริษัท และบุคลากรในอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวกว่า 4 ล้านคน (จากสำนักงานสถิติ กระทรวงการท่องเที่ยวฯ) ได้รับผลกระทบทันที
ขณะที่ ข้อมูลจากการสำรวจแรงงานของประชากร สำนักงานสถิติแห่งชาติ พบว่า “
ภาคการท่องเที่ยว” มีสัดส่วนการจ้างงานที่สูงถึง 20% ของการจ้างงานทั้งหมด หรือประมาณ 7.7 ล้านคน เป็นแรงงานในภาคการท่องเที่ยว 5 แสนคน และแรงงานที่อยู่ในธุรกิจเกี่ยวเนื่องกับภาคการท่องเที่ยว 7.2 ล้านคน และภาคการท่องเที่ยวมีสัดส่วนต่อ “
จีดีพี” สูงถึงประมาณ 20% ดังนั้นผลกระทบจากภาคการท่องเที่ยว จึงส่งผลต่อเศรษฐกิจในวงกว้าง
แต่ประเด็นที่น่าห่วงมากที่สุดในขณะนี้ คือ ปัญหา “
สภาพคล่อง” ของภาคธุรกิจการท่องเที่ยว หากสถานการณ์การแพร่ระบาดของไว้รัสโควิด-19 “
ลากยาว” เกินกว่าเดือนมี.ค.หรือเม.ย.ของปีนี้ และภาคท่องเที่ยวไม่รับการช่วยเหลือหรือดูแลให้ดีอาจรุนแรงถึงขั้นเป็น “
วิกฤติสภาพคล่อง" ถ้าเป็นเช่นนั้นหลายบริษัทคงต้อง “
ปิดกิจการ” ลามไปสู่ปัญหา “
การเลิกจ้าง” กระทบถึง “
ภาคการบริโภค” และลามไปสู่ปัญหา “
หนี้ครัวเรือน” ในท้ายที่สุด
ทั้งนี้ หากเจาะลึกธุรกิจต่างๆ ที่เกี่ยวเนื่องกับภาคท่องเที่ยวที่คาดว่าจะได้รับผลกระทบมากที่สุดจากการที่รายได้นักท่องเที่ยวชาวจีนลดลงมากที่สุดพบว่า 4 อันดับแรก ได้แก่ ธุรกิจค้าปลีก ธุรกิจที่พักแรม ธุรกิจร้านอาหารและเครื่องดื่ม และธุรกิจขนส่ง โดยศูนย์วิจัยธนาคารออมสิน ได้ศึกษาถึงผลกระทบเชิงลึกจากการหดตัวของนักท่องเที่ยวชาวจีน พบว่า ธุรกิจค้าปลีก จะสูญเสียรายได้ประมาณ 25,000 – 54,000 ล้านบาท
จากการจับจ่ายซื้อสินค้าของนักท่องเที่ยวจีนที่หายไป โดยธุรกิจที่ได้รับผลกระทบหลัก อาทิ กลุ่มค้าปลีกสมัยใหม่ เช่น มินิมาร์ท , ไฮเปอร์มาร์เก็ต/ซุปเปอร์มาร์เก็ต , ธุรกิจขายเครื่องสำอาง/ผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพและความงาม ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร ,กลุ่มร้านขายอาหารและเครื่องดื่ม/ผลิตภัณฑ์ขึ้นชื่อในท้องถิ่นของที่ระลึก ซึ่งในจังหวัดท่องเที่ยวยอดนิยมของชาวจีนมีผู้ประกอบการ ในกลุ่มนี้อยู่ประมาณ 7,538 ราย โดยจังหวัดที่มีผู้ประกอบการกลุ่มนี้อยู่เป็นจำนวนมาก ได้แก่ กรุงเทพฯ ชลบุรีเชียงใหม่ และภูเก็ต
ส่วนธุรกิจที่พักแรม/โรงแรม คาดว่าจะสูญเสียรายได้ประมาณ 21,000 – 45,000 ล้านบาท โดยเฉพาะที่พักแรมระดับราคาไม่สูงมากจนถึงระดับปานกลาง และมีตลาดหลักเป็นลูกค้าที่เป็นนักท่องเที่ยวจีน ซึ่งในจังหวัดท่องเที่ยวยอดนิยมของชาวจีนมีผู้ประกอบการในกลุ่มนี้อยู่ประมาณ 5,622ราย โดยจังหวัดที่มีผู้ประกอบการกลุ่มนี้อยู่เป็นจำนวนมาก ได้แก่ กรุงเทพฯ สุราษฎร์ธานี และภูเก็ต
ขณะที่ธุรกิจร้านอาหารและเครื่องดื่ม คาดว่าจะสูญเสียรายได้ประมาณ 16,000 – 34,000 ล้านบาทโดยเฉพาะร้านอาหารและเครื่องดื่มที่ขึ้นชื่อของแต่ละจังหวัด ซึ่งในจังหวัดท่องเที่ยวยอดนิยมของชาวจีนมีผู้ประกอบการในกลุ่มนี้อยู่ประมาณ 7,708 ราย1/ โดยจังหวัดที่มีผู้ประกอบการกลุ่มนี้อยู่เป็นจำนวนมาก ได้แก่ กรุงเทพฯ ชลบุรี และสุราษฎร์ธานี
นอกจากนี้ผู้ประกอบการที่ได้รับผลกระทบยังรวมถึงร้าน Street Food อีกกว่า 105,000 ราย (ส่วนใหญ่ไม่เป็นนิติบุคคล) กระจายตามจังหวัดท่องเที่ยวสำคัญ และธุรกิจขนส่งคาดว่าจะสูญเสียรายได้ประมาณ 7,500 – 16,000 ล้านบาท โดยเฉพาะบริการรถหรือเรือนำเที่ยว รวมถึงบริการการขนส่งสาธารณะอื่น ๆ ในพื้นที่ ซึ่งในจังหวัดท่องเที่ยวยอดนิยมของชาวจีนมีผู้ประกอบการที่เป็น SMEs กลุ่มนี้อยู่ประมาณ 6,742 ราย โดยจังหวัดที่มีผู้ประกอบการกลุ่มนี้อยู่เป็นจำนวนมาก ได้แก่ กรุงเทพฯ ชลบุรี และภูเก็ต
ผลกระทบดังกล่าว ทำให้รัฐบาลต้องเร่งหามาตรการช่วยเหลือธุรกิจท่องเที่ยว โดย ดร.
สมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี ซึ่งรับผิดชอบดูแลงานด้านเศรษฐกิจ ต้องเรียก “
ประชุมด่วน” ผู้บริหารจากทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ไม่ว่าจะเป็น กระทรวงการคลัง กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา กระทรวงแรงงาน ธนาคารแห่งประเทศไทย รวมไปถึงหน่วยงานภาคเอกชน เช่น สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย และ สมาคมธนาคารไทย เพื่อระดมสมอง เร่งหาแนวทางช่วยเหลือผู้ประกอบที่ได้รับผลกระทบเมื่อกลางสัปดาห์ที่ผ่านมา
ข้อสรุปเบื้องต้นที่ได้จากการประชุมในครั้งนี้ แบ่งออกเป็น “
2 มาตรการใหญ่” คือ “
มาตรการด้านภาษี” และ “
มาตรการด้านการเงิน”
โดย “
มาตรการด้านภาษี” เน้นเรื่องการเสริมสภาพคล่องให้กับผู้ประกอบการภาคท่องเที่ยว เพื่อชะลอการเลิกจ้างแรงงาน รวมไปถึงการ “
จูงใจ” ให้คนไทยหันมาเที่ยวในประเทศเพิ่มมากขึ้น เช่น อาจกำหนดให้ผู้สูงอายุเกิน 60 ปี หากเดินทางท่องเที่ยวในวันธรรมดา สามารถนำรายจ่ายที่เกิดขึ้นให้ลูกหลานมาหักลดหย่อนภาษีได้
ส่วน “
มาตรการด้านการเงิน” ได้ขอให้ ธนาคารแห่งประเทศไทย (แบงก์ชาติ)ไปหารือ กับสมาคมธนาคารไทยว่า จะมีแนวทางในการออกมาตรการผ่อนปรนสินเชื่อให้กับผู้ประกอบการท่องเที่ยวได้อย่างไรบ้าง รวมไปถึงการพิจารณา “
ลดดอกเบี้ย” บัตรเครดิตให้กับแรงงาน เพื่อช่วยบรรเทาภาระในส่วนนี้
ด้าน ดร.อุตตม สาวนายน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ระบุว่า ได้ขอให้แบงก์ชาติไปดูเพิ่มเติมว่า มีแนวทางใดบ้างที่สามารถเข้ามาช่วยดูแลผู้ประกอบการกลุ่มนี้เพิ่มเติม โดยหนึ่งในนั้น คือ การขอให้ไปศึกษาความเป็นไปได้การออกโครงการสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำ หรือ “ซอฟท์โลน” รวมทั้งขอให้ แบงก์ชาติช่วยผ่อนคลายกฎเกณฑ์ในบ้างเรื่อง เพื่อเอื้อให้ธนาคารพาณิชย์นำสภาพคล่องออกมาช่วยเหลือภาคธุรกิจมากขึ้น
ส่วนข้อสรุปและแนวทางการช่วยเหลือต่างๆ รัฐบาล จะเร่งทำการรวบรวมเพื่อจัดทำเป็น “
มาตรการชุดใหญ่” ให้แล้วเสร็จและส่งเข้าที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ครม.) พิจารณาอนุมัติภายในเดือนมี.ค.นี้ โดยมั่นใจว่ามาตรการต่างๆ จะสามารถนำมาใช้ได้ก่อนเดือนเม.ย.แน่นอน
หลังจากนี้ต้องติดตามดูว่า
“มาตรการชุดใหญ่” ที่รัฐบาลเตรียมผลักดันออกมา เพียงพอที่จะช่วยภาคท่องเที่ยว และเศรษฐกิจไทย
“รอดพ้น” จากภาวะเศรษฐกิจ
“ถดถอย” ได้หรือไม่ สถานการณ์ในคราวนี้จึงนับเป็น
“โจทย์หิน” ที่วัดฝีมือรัฐบาล
JJNY : ผบ.ตร.แจงกมธ.กม./นายพล-พ.อ.เกษียณอยู่บ้านหลวงเกือบ100/ท่องเที่ยววูบแรงงานระส่ำ/สสว.คาดเอสเอ็มอีอ่วม/ฝุ่นพิษ4เขต
https://www.tnnthailand.com/content/29343
ผบ.ตร.เข้าชี้แจงคณะกรรมาธิการกฎหมายยืนยันเจ้าหน้าที่ปฏิบัติตามกฎหมาย ไม่ได้เป็นคู่ขัดแย้งของมวลชน
วันนี้ (19ก.พ.63) พล.ต.อ.จักรทิพย์ ชัยจินดา ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ (ผบ.ตร.) เข้าชี้แจงคณะกรรมาธิการกฎหมาย ที่มีนายปิยบุตร แสงกนกกุล เป็นประธานฯ ต่อประเด็นการจัดกิจกรรมวิ่งไล่ลุง หลังมีผู้ร้องเรียนถูกฝ่ายความมั่นคงคุกคาม โดยยืนยันว่า การรักษาความสงบเรียบร้อยนั้น ต้องการให้ประชาชนเกิดความปลอดภัยที่สุด ไม่อยากให้เกิดการใช้อาวุธปะทะกันระหว่างมวลชน ไม่เคารพกฎหมายเหมือนในอดีต เนื่องจาก การชุมนุมส่วนใหญ่เกิดขึ้นจาก 2 ประเภท คือม็อบจัดตั้ง และม็อบปากท้อง พร้อมย้ำว่า เจ้าหน้าที่ปฏิบัติตามกฎหมาย ไม่ได้เป็นคู่ขัดแย้งของมวลชน
ขณะที่ นายปิยบุตร ได้ชี้แจงสาเหตุการเชิญผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ มาชี้แจงต่อกรรมาธิการว่า เพื่อต้องการให้เกิดจุดร่วม และความสมดุล ระหว่างผู้ร่วมชุมนุม กับเจ้าหน้าที่ของรัฐ พร้อมเชิญชวนให้กรรมาธิการ ปรบมือแสดงความชื่นชมผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ ที่สละเวลามาชี้แจงต่อกรรมาธิการ
'นายพล-พ.อ.พิเศษ'เกษียณ อยู่บ้านหลวงเกือบ100คน
https://www.dailynews.co.th/politics/758337
รองผบ.ทบ. เผยมีนายพล-พันเอกพิเศษเกษียณฯอยู่บ้านหลวงเกือบ 100 คน ขีดเส้นย้ายออกมี.ค.นี้ รับผ่อนผันเป็นกรณี ตามเหตุจำเป็น ยันไม่ได้กระทบทหารชั้นประทวน
เมื่อวันที่ 19 ก.พ. ที่กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร (กอ.รมน.) พล.อ.ณัฐพล นาคพาณิชย์ รองผู้บัญชาการทหารบก (รองผบ.ทบ.) เปิดเผยถึงกรณีทหารเกษียณอายุราชการที่อยู่บ้านหลวงจำนวน ว่า กำลังให้ทางหน่วยสรุปเข้ามาว่ามีจำนวนเท่าไหร่ ซึ่งขีดเส้นว่าเดือนมี.ค.นี้ต้องเรียบร้อย โดยเราแจ้งไปว่าขอให้ส่งคืนด้วย แต่ขอให้เข้าใจว่าในสังคมไทยนั้นยืดหยุ่นได้ แต่ก็ต้องขีดเส้นเป็นระยะๆไป ในบางกรณีที่ต้องผ่อนผันก็ต้องมีกรอบเวลา ซึ่งในอดีตยอมรับว่ามีการผ่อนผันหลายปี เช่น ทหารที่ทำงานตามชายแดนเกษียณฯแล้วไม่มีบ้านพัก จึงต้องพิจารณาตามกรณี อย่างไรก็ตาม จำนวนบ้านพักทั้งหมดในส่วนกลางมีไม่เกิน 100 หลัง
สำหรับระดับชั้นนายพล พันเอกพิเศษ ซึ่งระหว่างดำเนินการก็คาดว่าจะมีคนทยอยออกไปเพิ่มขึ้นด้วย ส่วนใหญ่ที่เกิดปัญหาคือทหารที่มีภูมิลำเนาอยู่ต่างจังหวัดและเข้ามาทำงานในกทม. ส่วนที่อยู่ในต่างจังหวัดไม่ค่อยมีปัญหา เพราะเขามีบ้านอยู่แล้ว ทั้งนี้ในส่วนของส.ว.ยังไม่เห็นรายชื่อว่ามีอยู่จำนวนเท่าไหร่
ส่วนการตั้งคำถามของสังคมว่า เหตุใดนายทหารระดับสูงซึ่งมีเงินเดือนสูงจึงไม่มีกำลังทรัพย์ซื้อบ้านเป็นของตนเอง แต่มาอยู่บ้านหลวง พล.อ.ณัฐพล กล่าวว่า เรื่องนี้เป็นเรื่องส่วนตัว ต้องไปถามแต่ละคน ซึ่งอาจมองได้ว่ายังมีงานที่ต้องรับใช้ประเทศชาติอยู่ จึงอยากฝากสื่อมวลชนว่า ไม่ต้องเป็นห่วง เพราะนายพลที่ยังอยู่บ้านหลวงก็กระทบกับบ้านของชั้นนายพลด้วยกัน ไม่ใช่นายพลจะไปอยู่บ้านนายสิบ จนทำให้ทหารชั้นผู้น้อยไม่มีบ้านอยู่ ซึ่งเป็นคนละส่วนกัน.
ท่องเที่ยววูบ แรงงานกว่า 7.7 ล้านคน "ระส่ำ"
https://www.tnnthailand.com/content/29317
จับตา "ธุรกิจท่องเที่ยววูบ" โจทย์หินที่รัฐบาลต้องเร่งปลดล็อก หลัง "โควิด-19" กระทบหลายบริษัทเสี่ยงขาดสภาพคล่อง
วันนี้( 19 ก.พ.3) การแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ หรือ “โควิด-19” ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจไทย “รุนแรง” กว่าที่หลาย สำนักวิจัยทางเศรษฐกิจได้คาดการณ์เอาไว้ โดยเฉพาะหลังจากที่ทางการจีนมีคำสั่งให้บริษัททัวร์ “หยุดขาย” ผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยวทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็น ตั๋วเครื่องบิน โรงแรม ที่พักอาศัยต่างๆ รวมไปถึงการห้ามนักท่องเที่ยวกลุ่มเสี่ยงเดินทางออกนอกประเทศ เพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของไวรัสดังกล่าว
คำสั่งของทางการจีนในครั้งนี้ส่งผลกระทบต่อการท่องเที่ยวของไทยโดยตรง เพราะที่ผ่านมานักท่องเที่ยวชาวจีน คิดเป็นสัดส่วนเกือบ 1 ใน 3 ของจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติทั้งหมด นอกจากนี้ยังมีบางประเทศ เช่น เกาหลีใต้ และ ไต้หวัน มีคำสั่งเพิ่มความระมัดระวังการเดินทางมาเที่ยวประเทศไทย หลังพบจำนวนผู้ติดเชื้อในไทยทยอยเพิ่มขึ้น แม้ในจำนวนนี้มีที่รักษาหายจนและสามารถกลับไปใช้ชีวิตได้ตามปกติ
สถานการณ์ที่นักท่องเที่ยวจีนวูบหายไป ส่งผลกระทบโดยตรงต่อ “ธุรกิจท่องเที่ยว” ซึ่งเวลานี้ผลกระทบเริ่มชัดเจนขึ้นเรื่อยๆ โดยเริ่มเห็นการ “ยกเลิก” การจองห้องพักตามแหล่งท่องเที่ยวสำคัญในหลายๆ จังหวัด ไม่ว่าจะเป็น ภูเก็ต หาดใหญ่ พัทยา เชียงใหม่ หรือแม้แต่ใน กรุงเทพมหานคร ซึ่งนอกจากธุรกิจโรงแรมแล้ว ยังเชื่อมโยงไปธุรกิจที่เกี่ยวเนื่องด้วย เช่น ร้านอาหาร สปา หรือแม้แต่ธุรกิจเดินรถที่รับนักท่องเที่ยว ก็พลอยได้รับผลกระทบไปด้วย
การแพร่ระบาดของเชื้อโควดิด-19 ครั้งนี้ สภาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (สทท.) ถือเป็นเหตุการณ์ที่กระทบต่อภาคอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวของไทยหนักที่สุดเป็นประวัติการณ์ โดยทำให้ผู้ประกอบการท่องเที่ยวและผู้ที่เกี่ยวข้องในวงจรภาคท่องเที่ยว ซึ่งเป็นภาคบริการที่มีซัพพลายเชนมากกว่า 50,000 บริษัท และบุคลากรในอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวกว่า 4 ล้านคน (จากสำนักงานสถิติ กระทรวงการท่องเที่ยวฯ) ได้รับผลกระทบทันที
ขณะที่ ข้อมูลจากการสำรวจแรงงานของประชากร สำนักงานสถิติแห่งชาติ พบว่า “ภาคการท่องเที่ยว” มีสัดส่วนการจ้างงานที่สูงถึง 20% ของการจ้างงานทั้งหมด หรือประมาณ 7.7 ล้านคน เป็นแรงงานในภาคการท่องเที่ยว 5 แสนคน และแรงงานที่อยู่ในธุรกิจเกี่ยวเนื่องกับภาคการท่องเที่ยว 7.2 ล้านคน และภาคการท่องเที่ยวมีสัดส่วนต่อ “จีดีพี” สูงถึงประมาณ 20% ดังนั้นผลกระทบจากภาคการท่องเที่ยว จึงส่งผลต่อเศรษฐกิจในวงกว้าง
แต่ประเด็นที่น่าห่วงมากที่สุดในขณะนี้ คือ ปัญหา “สภาพคล่อง” ของภาคธุรกิจการท่องเที่ยว หากสถานการณ์การแพร่ระบาดของไว้รัสโควิด-19 “ลากยาว” เกินกว่าเดือนมี.ค.หรือเม.ย.ของปีนี้ และภาคท่องเที่ยวไม่รับการช่วยเหลือหรือดูแลให้ดีอาจรุนแรงถึงขั้นเป็น “วิกฤติสภาพคล่อง" ถ้าเป็นเช่นนั้นหลายบริษัทคงต้อง “ปิดกิจการ” ลามไปสู่ปัญหา “การเลิกจ้าง” กระทบถึง “ภาคการบริโภค” และลามไปสู่ปัญหา “หนี้ครัวเรือน” ในท้ายที่สุด
ทั้งนี้ หากเจาะลึกธุรกิจต่างๆ ที่เกี่ยวเนื่องกับภาคท่องเที่ยวที่คาดว่าจะได้รับผลกระทบมากที่สุดจากการที่รายได้นักท่องเที่ยวชาวจีนลดลงมากที่สุดพบว่า 4 อันดับแรก ได้แก่ ธุรกิจค้าปลีก ธุรกิจที่พักแรม ธุรกิจร้านอาหารและเครื่องดื่ม และธุรกิจขนส่ง โดยศูนย์วิจัยธนาคารออมสิน ได้ศึกษาถึงผลกระทบเชิงลึกจากการหดตัวของนักท่องเที่ยวชาวจีน พบว่า ธุรกิจค้าปลีก จะสูญเสียรายได้ประมาณ 25,000 – 54,000 ล้านบาท
จากการจับจ่ายซื้อสินค้าของนักท่องเที่ยวจีนที่หายไป โดยธุรกิจที่ได้รับผลกระทบหลัก อาทิ กลุ่มค้าปลีกสมัยใหม่ เช่น มินิมาร์ท , ไฮเปอร์มาร์เก็ต/ซุปเปอร์มาร์เก็ต , ธุรกิจขายเครื่องสำอาง/ผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพและความงาม ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร ,กลุ่มร้านขายอาหารและเครื่องดื่ม/ผลิตภัณฑ์ขึ้นชื่อในท้องถิ่นของที่ระลึก ซึ่งในจังหวัดท่องเที่ยวยอดนิยมของชาวจีนมีผู้ประกอบการ ในกลุ่มนี้อยู่ประมาณ 7,538 ราย โดยจังหวัดที่มีผู้ประกอบการกลุ่มนี้อยู่เป็นจำนวนมาก ได้แก่ กรุงเทพฯ ชลบุรีเชียงใหม่ และภูเก็ต
ส่วนธุรกิจที่พักแรม/โรงแรม คาดว่าจะสูญเสียรายได้ประมาณ 21,000 – 45,000 ล้านบาท โดยเฉพาะที่พักแรมระดับราคาไม่สูงมากจนถึงระดับปานกลาง และมีตลาดหลักเป็นลูกค้าที่เป็นนักท่องเที่ยวจีน ซึ่งในจังหวัดท่องเที่ยวยอดนิยมของชาวจีนมีผู้ประกอบการในกลุ่มนี้อยู่ประมาณ 5,622ราย โดยจังหวัดที่มีผู้ประกอบการกลุ่มนี้อยู่เป็นจำนวนมาก ได้แก่ กรุงเทพฯ สุราษฎร์ธานี และภูเก็ต
ขณะที่ธุรกิจร้านอาหารและเครื่องดื่ม คาดว่าจะสูญเสียรายได้ประมาณ 16,000 – 34,000 ล้านบาทโดยเฉพาะร้านอาหารและเครื่องดื่มที่ขึ้นชื่อของแต่ละจังหวัด ซึ่งในจังหวัดท่องเที่ยวยอดนิยมของชาวจีนมีผู้ประกอบการในกลุ่มนี้อยู่ประมาณ 7,708 ราย1/ โดยจังหวัดที่มีผู้ประกอบการกลุ่มนี้อยู่เป็นจำนวนมาก ได้แก่ กรุงเทพฯ ชลบุรี และสุราษฎร์ธานี
นอกจากนี้ผู้ประกอบการที่ได้รับผลกระทบยังรวมถึงร้าน Street Food อีกกว่า 105,000 ราย (ส่วนใหญ่ไม่เป็นนิติบุคคล) กระจายตามจังหวัดท่องเที่ยวสำคัญ และธุรกิจขนส่งคาดว่าจะสูญเสียรายได้ประมาณ 7,500 – 16,000 ล้านบาท โดยเฉพาะบริการรถหรือเรือนำเที่ยว รวมถึงบริการการขนส่งสาธารณะอื่น ๆ ในพื้นที่ ซึ่งในจังหวัดท่องเที่ยวยอดนิยมของชาวจีนมีผู้ประกอบการที่เป็น SMEs กลุ่มนี้อยู่ประมาณ 6,742 ราย โดยจังหวัดที่มีผู้ประกอบการกลุ่มนี้อยู่เป็นจำนวนมาก ได้แก่ กรุงเทพฯ ชลบุรี และภูเก็ต
ผลกระทบดังกล่าว ทำให้รัฐบาลต้องเร่งหามาตรการช่วยเหลือธุรกิจท่องเที่ยว โดย ดร.สมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี ซึ่งรับผิดชอบดูแลงานด้านเศรษฐกิจ ต้องเรียก “ประชุมด่วน” ผู้บริหารจากทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ไม่ว่าจะเป็น กระทรวงการคลัง กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา กระทรวงแรงงาน ธนาคารแห่งประเทศไทย รวมไปถึงหน่วยงานภาคเอกชน เช่น สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย และ สมาคมธนาคารไทย เพื่อระดมสมอง เร่งหาแนวทางช่วยเหลือผู้ประกอบที่ได้รับผลกระทบเมื่อกลางสัปดาห์ที่ผ่านมา
ข้อสรุปเบื้องต้นที่ได้จากการประชุมในครั้งนี้ แบ่งออกเป็น “2 มาตรการใหญ่” คือ “มาตรการด้านภาษี” และ “มาตรการด้านการเงิน”
โดย “มาตรการด้านภาษี” เน้นเรื่องการเสริมสภาพคล่องให้กับผู้ประกอบการภาคท่องเที่ยว เพื่อชะลอการเลิกจ้างแรงงาน รวมไปถึงการ “จูงใจ” ให้คนไทยหันมาเที่ยวในประเทศเพิ่มมากขึ้น เช่น อาจกำหนดให้ผู้สูงอายุเกิน 60 ปี หากเดินทางท่องเที่ยวในวันธรรมดา สามารถนำรายจ่ายที่เกิดขึ้นให้ลูกหลานมาหักลดหย่อนภาษีได้
ส่วน “มาตรการด้านการเงิน” ได้ขอให้ ธนาคารแห่งประเทศไทย (แบงก์ชาติ)ไปหารือ กับสมาคมธนาคารไทยว่า จะมีแนวทางในการออกมาตรการผ่อนปรนสินเชื่อให้กับผู้ประกอบการท่องเที่ยวได้อย่างไรบ้าง รวมไปถึงการพิจารณา “ลดดอกเบี้ย” บัตรเครดิตให้กับแรงงาน เพื่อช่วยบรรเทาภาระในส่วนนี้
ด้าน ดร.อุตตม สาวนายน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ระบุว่า ได้ขอให้แบงก์ชาติไปดูเพิ่มเติมว่า มีแนวทางใดบ้างที่สามารถเข้ามาช่วยดูแลผู้ประกอบการกลุ่มนี้เพิ่มเติม โดยหนึ่งในนั้น คือ การขอให้ไปศึกษาความเป็นไปได้การออกโครงการสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำ หรือ “ซอฟท์โลน” รวมทั้งขอให้ แบงก์ชาติช่วยผ่อนคลายกฎเกณฑ์ในบ้างเรื่อง เพื่อเอื้อให้ธนาคารพาณิชย์นำสภาพคล่องออกมาช่วยเหลือภาคธุรกิจมากขึ้น
ส่วนข้อสรุปและแนวทางการช่วยเหลือต่างๆ รัฐบาล จะเร่งทำการรวบรวมเพื่อจัดทำเป็น “มาตรการชุดใหญ่” ให้แล้วเสร็จและส่งเข้าที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ครม.) พิจารณาอนุมัติภายในเดือนมี.ค.นี้ โดยมั่นใจว่ามาตรการต่างๆ จะสามารถนำมาใช้ได้ก่อนเดือนเม.ย.แน่นอน
หลังจากนี้ต้องติดตามดูว่า “มาตรการชุดใหญ่” ที่รัฐบาลเตรียมผลักดันออกมา เพียงพอที่จะช่วยภาคท่องเที่ยว และเศรษฐกิจไทย “รอดพ้น” จากภาวะเศรษฐกิจ “ถดถอย” ได้หรือไม่ สถานการณ์ในคราวนี้จึงนับเป็น “โจทย์หิน” ที่วัดฝีมือรัฐบาล