ข่าวจาก มติชน วันที่ 6 พ.ค.64
อ่านแล้วเศร้า กลุ่มทัวร์ท่องเที่ยว ถ้านับรวมๆแล้ว ก็ปิดมา 1 ปีเต็มๆ และยังไม่รุ้ว่าว่าจะกลับมาเป็นปกติเมื่อไหร่ ซึ่งค่านิยมในการเดินทางท่องเที่ยวแบบ New normal เปลี่ยนไปใช้รถส่วนตัวเป็นส่วนใหญ่ อยากให้รัฐเข้าไปช่วยเหลือบ้าง ออกมาตราการช่วยเหลือบ้าง ถ้าไม่ช่วยตายหมดแน่
เนื้อหาข่าว
‘ทัวร์นำเที่ยว’ ปิดกิจการแล้ว 20,000 บริษัท โควิดระลอก 3 ทำรายได้วูบ 95% สูญ 5 หมื่นลบ./เดือน
นายวสุเชษฐ์ โสภณเสถียร นายกสมาคมผู้ประกอบการรถขนส่งทั่วไป (สปข.) รองประธานสภาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (สทท.)
เปิดเผยว่า อุตสาหกรรมธุรกิจทัวร์นำเที่ยว ได้รับผลกระทบจากการระบาดโควิด-19 ตั้งแต่รอบแรก ช่วงเดือนมีนาคม 2563 ก่อนจะทำท่าฟื้นตัวได้บ้างในช่วงเดือนสิงหาคม-กันยายน 2563
และทรุดตัวลงอีกครั้ง หลังจากเกิดการระบาดระลอก 2 ช่วงปลายปี 2563 ต่อเนื่องจนถึง 2 เดือนแรก (มกราคม-กุมภาพันธ์) ปี 2564
โดยผลกระทบจากการระบาดโควิดระลอก 2 ที่ผ่านมา ทำให้ธุรกิจไม่สามารถฟื้นตัวได้ แม้จะเห็นการเดินทางทยอยกลับมาในช่วงเดือนมีนาคม ที่ผ่านมา เพราะรัฐบาลผ่อนคลายมาตรการต่างๆ และสถานการณ์การระบาดไวรัสดูดีขึ้น
แต่ต้องยอมรับว่า ธุรกิจทัวร์นำเที่ยวยังไม่ได้รับอานิสงส์จากการกลับมาเดินทางเพิ่มขึ้น เนื่องจากพฤติกรรมของคนไทยไม่นิยมเดินทางท่องเที่ยวผ่านทัวร์ เพราะสามารถพูดคุยสื่อสารด้วยตัวเองได้
รวมถึงนิยมเดินทางด้วยรถยนต์ส่วนบุคคลมากขึ้น จึงเรียกได้ว่า ตั้งแต่เริ่มต้นปี 2564 มาจนถึงปัจจุบัน ธุรกิจทัวร์นำเที่ยวแทบไม่เหลืออะไรแล้ว เพราะขณะนี้รายได้หายไปกว่า 95% หรือคิดเป็นเม็ดเงินที่หายไปไม่ต่ำกว่า 50,000 ล้านบาทต่อเดือน
ทั้งนี้ แม้ธุรกิจทัวร์นำเที่ยวจะได้รับผลกระทบจากโควิดมากว่า 1 ปีเต็มแล้ว แต่ยังไม่ได้รับการช่วยเหลือเยียวยาจากมาตรการของรัฐบาลนั้นสิ้น ขออะไรไปก็ไม่เคยได้ จึงต้องการให้รัฐบาลเร่งช่วยเหลือผู้ประกอบการทัวร์นำเที่ยวเพิ่มเติม แม้จะยังไม่มั่นใจว่ารัฐบาลจะสามารถออกมาตรการอะไรมาช่วยเหลือภาครถขนส่งโดยสารบ้าง ทั้งจากกรมการขนส่งทางบก กระทรวงคมนาคม หรือกระทรวงการคลัง
เนื่องจากข้อเรียกร้องที่เคยขอไปนั้น ยังไม่ได้รับการตอบรับกลับมาจากภาครัฐเลย จึงมองว่ามาตรการโกดังเก็บหนี้ หรือ Asset Warehousing ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) หากสามารถนำทะเบียนรถที่มีอยู่
ซึ่งยังไม่ได้ติดภาระหนี้สินต่างๆ นำเข้าเป็นหลักทรัพย์ค้ำประกัน โดยไม่ต้องประเมินราคาในระดับสูงมากนักก็ได้ เบื้องต้นขอแค่ 7-8 แสนบาทต่อคันเท่านั้น เพื่อให้ผู้ประกอบการสามารถนำเงินสดออกมาใช้หมุนเวียนในธุรกิจก่อน รวมถึงการซ่อมบำรุงรถที่จอดสนิทอยู่ร่วม 1 ปีเต็มด้วย เพราะรถที่จอดอยู่นิ่งๆ ไม่สามารถนำมาใช้งานทันทีได้ ซึ่งราคาในการซ่อมบำรุงรถแต่ละคัน ตกอยู่ประมาณ 2-3 แสนบาท
ที่ผ่านมาผู้ประกอบการทัวร์นำเที่ยวในตลาดรวม มีจำนวนประมาณ 50,000 ราย ขณะนี้เหลืออยู่เพียง 40% หรือ 20,000 ราย เท่านั้น ที่หากมีงานกลับมาก็สามารถดำเนินธุรกิจต่อได้ในภาวะที่เกิดวิกฤตขึ้น แต่ยังไม่มีมาตรการออกมาช่วยเหลือจากรัฐบาลเช่นนี้ ส่วนอีก 40% หรือ 20,000 ราย ปิดธุรกิจแบบถาวรไปแล้ว ส่วนอีก 20% หรือ 10,000 ราย อยู่ก้ำกึ่งระหว่างการปิดชั่วคราวและปิดถาวร
ซึ่งเมื่อธุรกิจทัวร์นำเที่ยวปิดตัวลงจำนวนมาก ส่งผลให้แรงงานในธุรกิจทัวร์นำเที่ยว ถูกเลิกจ้างไปจำนวนมากเช่นกัน จากทั้งระบบมีประมาณ 1 แสนคน ขณะนี้คาดว่าเหลือไม่ถึง 20% เพราะการช่วยเหลือต่างๆ อาทิ สำนักงานประกันสังคม ยังไม่สามารถช่วยเหลือในการพยุงการจ้างงานได้ โดยที่ผ่านมาได้เสนอให้รัฐบาลช่วยเหลือในเรื่องการพักต่อทะเบียนรถ พักการตรวจสภาพรถ รวมถึงการขอวงเงินในการซ่อมแซมบำรุงรักษารถขนส่งที่มีอยู่ ซึ่งทุกอย่างเหล่านี้ถือเป็นค่าใช้จ่ายหมด แต่ยังไม่ได้รับการพิจารณาและตอบรับในการช่วยเหลือแม้แต่รายการเดียว
“อยากเรียกร้องให้รัฐบาล หันมามองธุรกิจนี้บ้าง เนื่องจากหากนักท่องเที่ยวต่างชาติกลับมาท่องเที่ยวในประเทศไทย ระบบขนส่งจะมีปัญหาแน่นอน เพราะผู้ประกอบการไม่เหลือรอดรอให้บริการในวันที่นักท่องเที่ยวต่างชาติกลับมาแล้ว ซึ่งจะเป็นการเปิดโอกาสให้นายทุนต่างชาติเข้ามาฮุบธุรกิจ และควบรวมธุรกิจในหลายบริการ เกิดเป็นผู้เล่นรายใหญ่กินส่วนแบ่งในตลาดที่ผู้เล่นเดิมไม่สามารถแข่งขันด้วยได้” นายวสุเชษฐ์ กล่าว
https://www.matichon.co.th/economy/news_2708839
ทัวร์นำเที่ยว ปิดกิจการแล้ว 20,000 บริษัท โควิดระลอก 3 ทำรายได้วูบ 95% สูญ 5หมื่นลบ./เดือน
อ่านแล้วเศร้า กลุ่มทัวร์ท่องเที่ยว ถ้านับรวมๆแล้ว ก็ปิดมา 1 ปีเต็มๆ และยังไม่รุ้ว่าว่าจะกลับมาเป็นปกติเมื่อไหร่ ซึ่งค่านิยมในการเดินทางท่องเที่ยวแบบ New normal เปลี่ยนไปใช้รถส่วนตัวเป็นส่วนใหญ่ อยากให้รัฐเข้าไปช่วยเหลือบ้าง ออกมาตราการช่วยเหลือบ้าง ถ้าไม่ช่วยตายหมดแน่
เนื้อหาข่าว
‘ทัวร์นำเที่ยว’ ปิดกิจการแล้ว 20,000 บริษัท โควิดระลอก 3 ทำรายได้วูบ 95% สูญ 5 หมื่นลบ./เดือน
นายวสุเชษฐ์ โสภณเสถียร นายกสมาคมผู้ประกอบการรถขนส่งทั่วไป (สปข.) รองประธานสภาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (สทท.)
เปิดเผยว่า อุตสาหกรรมธุรกิจทัวร์นำเที่ยว ได้รับผลกระทบจากการระบาดโควิด-19 ตั้งแต่รอบแรก ช่วงเดือนมีนาคม 2563 ก่อนจะทำท่าฟื้นตัวได้บ้างในช่วงเดือนสิงหาคม-กันยายน 2563
และทรุดตัวลงอีกครั้ง หลังจากเกิดการระบาดระลอก 2 ช่วงปลายปี 2563 ต่อเนื่องจนถึง 2 เดือนแรก (มกราคม-กุมภาพันธ์) ปี 2564
โดยผลกระทบจากการระบาดโควิดระลอก 2 ที่ผ่านมา ทำให้ธุรกิจไม่สามารถฟื้นตัวได้ แม้จะเห็นการเดินทางทยอยกลับมาในช่วงเดือนมีนาคม ที่ผ่านมา เพราะรัฐบาลผ่อนคลายมาตรการต่างๆ และสถานการณ์การระบาดไวรัสดูดีขึ้น
แต่ต้องยอมรับว่า ธุรกิจทัวร์นำเที่ยวยังไม่ได้รับอานิสงส์จากการกลับมาเดินทางเพิ่มขึ้น เนื่องจากพฤติกรรมของคนไทยไม่นิยมเดินทางท่องเที่ยวผ่านทัวร์ เพราะสามารถพูดคุยสื่อสารด้วยตัวเองได้
รวมถึงนิยมเดินทางด้วยรถยนต์ส่วนบุคคลมากขึ้น จึงเรียกได้ว่า ตั้งแต่เริ่มต้นปี 2564 มาจนถึงปัจจุบัน ธุรกิจทัวร์นำเที่ยวแทบไม่เหลืออะไรแล้ว เพราะขณะนี้รายได้หายไปกว่า 95% หรือคิดเป็นเม็ดเงินที่หายไปไม่ต่ำกว่า 50,000 ล้านบาทต่อเดือน
ทั้งนี้ แม้ธุรกิจทัวร์นำเที่ยวจะได้รับผลกระทบจากโควิดมากว่า 1 ปีเต็มแล้ว แต่ยังไม่ได้รับการช่วยเหลือเยียวยาจากมาตรการของรัฐบาลนั้นสิ้น ขออะไรไปก็ไม่เคยได้ จึงต้องการให้รัฐบาลเร่งช่วยเหลือผู้ประกอบการทัวร์นำเที่ยวเพิ่มเติม แม้จะยังไม่มั่นใจว่ารัฐบาลจะสามารถออกมาตรการอะไรมาช่วยเหลือภาครถขนส่งโดยสารบ้าง ทั้งจากกรมการขนส่งทางบก กระทรวงคมนาคม หรือกระทรวงการคลัง
เนื่องจากข้อเรียกร้องที่เคยขอไปนั้น ยังไม่ได้รับการตอบรับกลับมาจากภาครัฐเลย จึงมองว่ามาตรการโกดังเก็บหนี้ หรือ Asset Warehousing ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) หากสามารถนำทะเบียนรถที่มีอยู่
ซึ่งยังไม่ได้ติดภาระหนี้สินต่างๆ นำเข้าเป็นหลักทรัพย์ค้ำประกัน โดยไม่ต้องประเมินราคาในระดับสูงมากนักก็ได้ เบื้องต้นขอแค่ 7-8 แสนบาทต่อคันเท่านั้น เพื่อให้ผู้ประกอบการสามารถนำเงินสดออกมาใช้หมุนเวียนในธุรกิจก่อน รวมถึงการซ่อมบำรุงรถที่จอดสนิทอยู่ร่วม 1 ปีเต็มด้วย เพราะรถที่จอดอยู่นิ่งๆ ไม่สามารถนำมาใช้งานทันทีได้ ซึ่งราคาในการซ่อมบำรุงรถแต่ละคัน ตกอยู่ประมาณ 2-3 แสนบาท
ที่ผ่านมาผู้ประกอบการทัวร์นำเที่ยวในตลาดรวม มีจำนวนประมาณ 50,000 ราย ขณะนี้เหลืออยู่เพียง 40% หรือ 20,000 ราย เท่านั้น ที่หากมีงานกลับมาก็สามารถดำเนินธุรกิจต่อได้ในภาวะที่เกิดวิกฤตขึ้น แต่ยังไม่มีมาตรการออกมาช่วยเหลือจากรัฐบาลเช่นนี้ ส่วนอีก 40% หรือ 20,000 ราย ปิดธุรกิจแบบถาวรไปแล้ว ส่วนอีก 20% หรือ 10,000 ราย อยู่ก้ำกึ่งระหว่างการปิดชั่วคราวและปิดถาวร
ซึ่งเมื่อธุรกิจทัวร์นำเที่ยวปิดตัวลงจำนวนมาก ส่งผลให้แรงงานในธุรกิจทัวร์นำเที่ยว ถูกเลิกจ้างไปจำนวนมากเช่นกัน จากทั้งระบบมีประมาณ 1 แสนคน ขณะนี้คาดว่าเหลือไม่ถึง 20% เพราะการช่วยเหลือต่างๆ อาทิ สำนักงานประกันสังคม ยังไม่สามารถช่วยเหลือในการพยุงการจ้างงานได้ โดยที่ผ่านมาได้เสนอให้รัฐบาลช่วยเหลือในเรื่องการพักต่อทะเบียนรถ พักการตรวจสภาพรถ รวมถึงการขอวงเงินในการซ่อมแซมบำรุงรักษารถขนส่งที่มีอยู่ ซึ่งทุกอย่างเหล่านี้ถือเป็นค่าใช้จ่ายหมด แต่ยังไม่ได้รับการพิจารณาและตอบรับในการช่วยเหลือแม้แต่รายการเดียว
“อยากเรียกร้องให้รัฐบาล หันมามองธุรกิจนี้บ้าง เนื่องจากหากนักท่องเที่ยวต่างชาติกลับมาท่องเที่ยวในประเทศไทย ระบบขนส่งจะมีปัญหาแน่นอน เพราะผู้ประกอบการไม่เหลือรอดรอให้บริการในวันที่นักท่องเที่ยวต่างชาติกลับมาแล้ว ซึ่งจะเป็นการเปิดโอกาสให้นายทุนต่างชาติเข้ามาฮุบธุรกิจ และควบรวมธุรกิจในหลายบริการ เกิดเป็นผู้เล่นรายใหญ่กินส่วนแบ่งในตลาดที่ผู้เล่นเดิมไม่สามารถแข่งขันด้วยได้” นายวสุเชษฐ์ กล่าว
https://www.matichon.co.th/economy/news_2708839