หุ้นไทยร่วงท้ายตลาด เหตุ นักลงทุน ถล่มขายกลุ่มบริหารสินทรัพย์ กังวลติดแคซบาลานซ์ ส่วน "หุ้นโรงไฟฟ้า" ร่วงต่อเนื่อง ผวางบปี 62 แย่ ทั้งราคาเริ่มแพง หันปรับพอร์ตซื้อ "กลุ่มสื่อสาร" ด้าน "ยูเอ็น" ขึ้นแบล็กลิสต์ "อินโดรามา" พบโรงงานตั้งในเขตเวสต์แบงก์
ความเคลื่อนไหวดัชนีตลาดหุ้นไทยวานนี้ (14ก.พ.) ปรับตัวลดลงแรงช่วงท้ายตลาดจากแรงขายหุ้นกลุ่มบริหารสินทรัพย์ หลังมีกระแสข่าวจะติดแคชบาลานซ์หลังราคาปรับตัวเพิ่มขึ้นแรงจึงเทขาย หลังปิดตลาดพบว่าหุ้นที่ติดแคชบาลานซ์ มีเพียง บมจ.ชโย กรุ๊ป (CHAYO) ตั้งแต่ 17 ก.พ. 2563 27 มี.ค. 2563 ประกอบกับแรงขายหุ้นกลุ่มโรงไฟฟ้ากังวลผลกระทบภัยแล้ง ราคาหุ้นแพงหันไปซื้อหุ้นกลุ่มอื่น กดดัชนีปิดที่ 1526.30 จุด ลดลง 6.47% หรือ 0.42% มูลค่าการซื้อขาย 61,837.84 ล้านบาท
นายกิติชาญ ศิริสุขอาชา ผู้อำนวยการอาวุโสฝ่ายวิจัย (บล.) บริษัทหลักทรัพย์ ซีจีเอส-ซีไอเอ็มบี (ประเทศไทย) จำกัด เปิดเผยว่า ในช่วงท้ายตลาดประมาณ 16.00น.มีกระแสข่าวออกมาว่าหุ้นกลุ่มบริหารสินทรัพย์ จะถูกให้ซื้อหลักทรัพย์ด้วยบัญชี Cash Balance (แคชบาลานซ์ ) จากระหว่างวันราคาหุ้นดังกล่าวปรับตัวเพิ่มขึ้น ทำให้มีแรงขายหุ้น บมจ.บริษัท ชโย กรุ๊ป (CHAYO), บมจ.เจ เอ็ม ที เน็ทเวอร์ค เซอร์วิสเซ็ส (JMT),บมจ.บริษัทบริหารสินทรัพย์ กรุงเทพพาณิชย์ (BAM)
ประกอบกับนักลงทุนมีแรงขายหุ้นกลุ่มโรงไฟฟ้าจากความกังวลเรื่องภัยแล้งที่จะกระทบต่อผลการดำเนินงาน ประกอบกับราคาหุ้นกลุ่มโรงไฟฟ้าก่อนหน้าที่ปรับตัวเพิ่มขึ้นสูงกว่าปัจจัยพื้นฐาน ทำให้นักลงทุนมีการขายเพื่อนำเงินไปลงทุนในหุ้นกลุ่มอื่นที่มีแนวโน้มให้ผลกตอบแทนดีกว่าเช่น กลุ่มสื่อสาร เพราะคาดว่าการประมูล 5G ในวันนี้ การแข่งขันจะไม่รุนแรง คือราคาประมูลอยู่ที่ประมาณ 20% ของราคาประมูลตั้งต้น
'ดัชนีหุ้นไทยวานนี้ปรับตัวลดลงในช่วงท้ายตลาดจากแรงขายหุ้น2 กลุ่ม คือกลุ่มบริหารสินทรัพย์ จากกระแสข่าวที่ติดแคชบาลานซ์ และแรงขายหุ้นกลุ่มโรงไฟฟ้าจากังวลเรื่องภัยแล้ง และราคาหุ้นกลุ่มดังกล่าวถือว่าแพงทำให้นักลงทุนขายไปลงทุนหุ้นกลุ่มอื่นที่ให้ผลตอบแทนดีกว่าเช่น กลุ่มสื่อสาร ประกอบกับเป็นวันศุกร์ทำให้นักลงทุนชะลอลงทุนเพื่อรอดูสถานการณ์การแพร่ระบาดไวรัสโควิด-19 ทำให้หุ้นระหว่างวันที่ปรับตัวเพิ่มขึ้นแรง ถูกขายทำกำไรออกท้ายตลาด เช่น บมจ. บิวตี้ คอมมูนิตี้ (BEAUTY)' นายกิติชาญกล่าว
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้ใส่ข้อความ
ด้านราคาบมจ.อินโดรามา เวนเจอร์ส (IVL) วานนี้ปรับตัวลดลงแรงในช่วงเช้าจากมีรายงานข่าวว่าสำนักงานด้านสิทธิมนุษยชนประจำสหประชาชาติ หรือ UN ได้ประกาศรายชื่อบริษัทจำนวน 112 แห่ง ที่ทำธุรกิจเกี่ยวข้องกับการตั้งถิ่นฐานผิดกฎหมายของชาวยิวในเขตเวสต์แบงก์ พบว่ามีชื่อบริษัทชั้นนำซึ่งเป็นที่รู้จักไปทั่วโลก รวมถึง Airbnb, Expedia, Motorola, General Mills รวมถึงบริษัทย่อยของ IVL คือ Avgol Industries 1953 Ltd. ดันราคาหุ้นร่วงต่ำสุดที่28.50 บาท ลดลง 8.8% ก่อนรีบาว์ดมาปิดตลาดที่ระดับ29.75 บาท ดลลง 1.50 บาท หรือ 4.80 % มูลค่าซื้อขาย 1,850 ล้านบาท
แหล่งข่าวจาก บมจ.อินโดรามา เวนเจอร์ส (IVL) ระบุ ข่าวดังกล่าวนั้นไม่มีผลกระทบต่อผลการดำเนินงานของบริษัท เพราะ โรงงานดังกล่าวมีขนาดไม่ใหญ่ ขณะที่บริษัทมีโรงงานถึง 120 แห่งทั่วโลก รวมถึงบริษัทมีแผนที่จะปิดโรงงานดังกล่าวอยู่แล้วตั้งแต่ปลายปี 2562 เพื่อย้ายไปรวมอีกโรงงานหนึ่งในในประเทศอิสราเอล ซึ่งหากบริษัทมีการดำเนินการปิดโรงงานดังกล่าวและย้ายโรงงานเสร็จ เชื่อว่าจะหลุดจากขึ้นบัญชีดังกล่าว ส่วนราคาหุ้นของบริษัทที่ปรับตัวลดลงมานั้น เชื่อว่าเกิดจากนักลงทุนมีความกังวลจากข่าวดังกล่าวทำให้มีการขายหุ้นออกมา
นายโซวิค รอย เชาว์ดูรี่ เลขานุการบริษัท IVL ได้แจ้งตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) ว่า ที่ประชุมคณะกรรมการ (บอร์ด) บริษัท Avgol Industries 1953 Ltd. ซึ่งเป็นบริษัทย่อยของ IVL ที่ตั้งอยู่ในประเทศอิสราเอล ได้มีมติย้ายโรงงานผลิตที่ตั้งอยู่ในเขต Barkan (เวสต์แบงค์ – West Bank) ไปยังโรงงานอีกแห่งหนึ่งที่มีอยู่เดิมในประเทศอิสราเอล ซึ่งจะดำเนินการแล้วเสร็จภายในปี 2563
ทั้งนี้ แผนการย้ายโรงงานในเขตเวสต์แบงค์แห่งนี้เป็นส่วนหนึ่งของแผนการปฏิรูปธุรกิจไฟเบอร์ที่กำลังดำเนินการอยู่ อีกทั้งยังเป็นการลดต้นทุนภายในกลุ่มผลิตภัณฑ์ด้านสุขอนามัยของธุรกิจไฟเบอร์ของ IVL ซึ่งการย้ายโรงงานผลิตในครั้งนี้คาดว่าจะส่งผลดีต่อการดำเนินงานของ Avgol นอกจากนี้ Avgol ไม่ได้เป็นเจ้าของที่ดินในโรงงานในเขต Barkan แห่งนี้ แต่เป็นเพียงการเช่าที่ดินซึ่งสัญญาเช่าจะสิ้นสุดลงในเดือน ธ.ค. 2563 นี้
นายจักรพงศ์ เชวงศรี นักวิเคราะห์หลักทรัพย์ บล.กสิกรไทย กล่าวว่า การปรับตัวลดลงมาของหุ้น IVL น่าจะเป็นโอกาสของการเข้าลงทุนมากกว่า เนื่องจากเมื่อพิจารณาจากกรณีเลวร้ายสุดที่น่าจะกระทบต่อราคาหุ้น คือ บริษัทต้องตั้งสำรองเงินลงทุนในส่วนนี้เต็มจำนวน คือ ประมาณ 300 ล้านดอลลาร์ จะกระทบต่อราคาหุ้นราว 1.6-1.7 บาท ขณะที่ราคาหุ้น IVL ก็ปรับตัวลดลงมาในระดับนั้น
ทั้งนี้ หากพิจารณาดูแล้วจะเห็นว่าบริษัทที่ถูกขึ้นแบล็กลิสต์จริงๆ แล้วเป็นบริษัทย่อยที่ตั้งอยู่ในอิสราเอล ซึ่ง IVL ถือหุ้นอยู่ 66% มีกำลังการผลิตรวม 2 แสนตันต่อปี กระจายในโรงงาน 6 แห่ง ซึ่ง 2 แห่ง ตั้งอยู่ในประเทศอิสราเอล และอีก 4 แห่ง อยู่ในสหรัฐ จีน อินเดีย และรัสเซีย
“โดยรวมแล้วการปรับตัวลงของราคาหุ้นน่าจะเป็นโอกาสมากกว่า ในกรณีเลวร้ายสุด กำลังการผลิตของบริษัทย่อยนี้คิดเป็นเพียงประมาณ 1.3% ของกำลังการผลิตรวมเท่านั้น และคิดเป็นประมาณ 2% ของกำไรของ IVL จึงน่าจะมีผลกระทบไม่มากนัก”
นอกจากนี้ IVL ได้ตัดสินใจที่จะย้ายหนึ่งในโรงงานดังกล่าวที่ตั้งอยู่ในเขตเวสต์แบงก์ออกจากพื้นที่ ซึ่งหากนับเฉพาะโรงงานนี้ มีกำลังการผลิตเพียง 3 หมื่นตันต่อปีเท่านั้น
https://www.bangkokbiznews.com/news/detail/866426?utm_source=homepage&utm_medium=internal_referral&utm_campaign=finance ช่วงนี้อากาศเปลี่ยนแปลงบ่อยทั้งฝนทั้งหนาว ดูแลสุขภาพด้วยน่ะครับ
หุ้น 'บริหารหนี้-โรงไฟฟ้า' ร่วง กดดัชนีดิ่งท้ายตลาด กังวลติดแคชบาลานซ์
ความเคลื่อนไหวดัชนีตลาดหุ้นไทยวานนี้ (14ก.พ.) ปรับตัวลดลงแรงช่วงท้ายตลาดจากแรงขายหุ้นกลุ่มบริหารสินทรัพย์ หลังมีกระแสข่าวจะติดแคชบาลานซ์หลังราคาปรับตัวเพิ่มขึ้นแรงจึงเทขาย หลังปิดตลาดพบว่าหุ้นที่ติดแคชบาลานซ์ มีเพียง บมจ.ชโย กรุ๊ป (CHAYO) ตั้งแต่ 17 ก.พ. 2563 27 มี.ค. 2563 ประกอบกับแรงขายหุ้นกลุ่มโรงไฟฟ้ากังวลผลกระทบภัยแล้ง ราคาหุ้นแพงหันไปซื้อหุ้นกลุ่มอื่น กดดัชนีปิดที่ 1526.30 จุด ลดลง 6.47% หรือ 0.42% มูลค่าการซื้อขาย 61,837.84 ล้านบาท
นายกิติชาญ ศิริสุขอาชา ผู้อำนวยการอาวุโสฝ่ายวิจัย (บล.) บริษัทหลักทรัพย์ ซีจีเอส-ซีไอเอ็มบี (ประเทศไทย) จำกัด เปิดเผยว่า ในช่วงท้ายตลาดประมาณ 16.00น.มีกระแสข่าวออกมาว่าหุ้นกลุ่มบริหารสินทรัพย์ จะถูกให้ซื้อหลักทรัพย์ด้วยบัญชี Cash Balance (แคชบาลานซ์ ) จากระหว่างวันราคาหุ้นดังกล่าวปรับตัวเพิ่มขึ้น ทำให้มีแรงขายหุ้น บมจ.บริษัท ชโย กรุ๊ป (CHAYO), บมจ.เจ เอ็ม ที เน็ทเวอร์ค เซอร์วิสเซ็ส (JMT),บมจ.บริษัทบริหารสินทรัพย์ กรุงเทพพาณิชย์ (BAM)
ประกอบกับนักลงทุนมีแรงขายหุ้นกลุ่มโรงไฟฟ้าจากความกังวลเรื่องภัยแล้งที่จะกระทบต่อผลการดำเนินงาน ประกอบกับราคาหุ้นกลุ่มโรงไฟฟ้าก่อนหน้าที่ปรับตัวเพิ่มขึ้นสูงกว่าปัจจัยพื้นฐาน ทำให้นักลงทุนมีการขายเพื่อนำเงินไปลงทุนในหุ้นกลุ่มอื่นที่มีแนวโน้มให้ผลกตอบแทนดีกว่าเช่น กลุ่มสื่อสาร เพราะคาดว่าการประมูล 5G ในวันนี้ การแข่งขันจะไม่รุนแรง คือราคาประมูลอยู่ที่ประมาณ 20% ของราคาประมูลตั้งต้น
'ดัชนีหุ้นไทยวานนี้ปรับตัวลดลงในช่วงท้ายตลาดจากแรงขายหุ้น2 กลุ่ม คือกลุ่มบริหารสินทรัพย์ จากกระแสข่าวที่ติดแคชบาลานซ์ และแรงขายหุ้นกลุ่มโรงไฟฟ้าจากังวลเรื่องภัยแล้ง และราคาหุ้นกลุ่มดังกล่าวถือว่าแพงทำให้นักลงทุนขายไปลงทุนหุ้นกลุ่มอื่นที่ให้ผลตอบแทนดีกว่าเช่น กลุ่มสื่อสาร ประกอบกับเป็นวันศุกร์ทำให้นักลงทุนชะลอลงทุนเพื่อรอดูสถานการณ์การแพร่ระบาดไวรัสโควิด-19 ทำให้หุ้นระหว่างวันที่ปรับตัวเพิ่มขึ้นแรง ถูกขายทำกำไรออกท้ายตลาด เช่น บมจ. บิวตี้ คอมมูนิตี้ (BEAUTY)' นายกิติชาญกล่าว
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
https://www.bangkokbiznews.com/news/detail/866426?utm_source=homepage&utm_medium=internal_referral&utm_campaign=finance ช่วงนี้อากาศเปลี่ยนแปลงบ่อยทั้งฝนทั้งหนาว ดูแลสุขภาพด้วยน่ะครับ