คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 5
การค้าส่งออกข้าวจากสยามไปเมืองจึนปรากฏโดดเด่นมากสมัยในอยุทธยาตอนปลายตั้งแต่รัชกาลพระเจ้าท้ายสระเป็นต้นมาครับ เนื่องจากช่วงปลายรัชศกคังซีเป็นต้นมา ขาดแคลนข้าวอย่างหนักในหลายมณฑลทางตะวันออกเฉียงใต้ของจีน ทั้งฝูเจี้ยน กว่างตง และเจ้อเจียง ซึ่งมีสาเหตุหลักมาจากการเพิ่มขึ้นของประชากรที่มากเป็นประวัติการณ์ในคริสต์ศตวรรษที่ ๑๘ แม้ราชสำนักต้าชิงพยายามจะแก้ปัญหาหลายประการก็ยังมีข้าวสำรองในประเทศไม่เพียงพอ จึงมีการผลักดันให้เปิดเมืองท่าและฟื้นฟูการค้าทางทะเลเพื่อส่งเสริมให้นำเข้าข้าวจากต่างประเทศเป็นการบรรเทาทุกข์ ทำให้การค้าข่าวระหวางสยามกับต้าชิงขยายตัวขึ้นมาก
รายละเอียดอ่านเพิ่มเติมที่บทความ การค้าข้าวระหว่างต้าชิงและกรุงศรีอยุทธยา ในยุคทองคัง-เฉียน
https://www.facebook.com/WipakHistory/posts/1901348896595238
ก่อนหน้านั้น กรุงศรีอยุทธยาก็ทำการค้ากับจีนมานานแล้ว และเป็นอาณาจักรในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่ส่งบรรณาการไปจิ้มก้องจีนบ่อยมาก
ช่วง ค.ศ. ๑๓๗๑-๑๓๙๑ (พ.ศ. ๑๙๑๔-๑๙๓๔) สมัยราชวงศ์หมิงตอนต้น สยามส่งคณะทูตไปจิ้มก้องเป็นประจำทุกปี โดยใน ค.ศ. ๑๓๗๔ (พ.ศ. ๑๙๑๗) พบว่าส่งไปมากสุดคือ ๔ ชุด โดย ๒ ชุดเป็นของสมเด็จพระบรมราชาธิราช (ขุนหลวงพ่องั่ว) อีก ๒ ชุดเป็นของพระราชมารดาสมเด็จพระราเมศวร นอกจากนี้ก็มีบางปีที่ส่งไป ๒-๓ ชุด
หลังจากนั้นพบว่ามีการส่งคณะทูตมาอีกใน ค.ศ. ๑๓๙๓ (พ.ศ. ๑๙๓๖) ค.ศ. ๑๓๙๕ (พ.ศ. ๑๙๓๘) ค.ศ. ๑๓๙๗ (พ.ศ. ๑๙๔๐) ค.ศ. ๑๓๙๘ (พ.ศ. ๑๙๔๑) หลังจากนั้นจึงเว้นไปถึง ค.ศ. ๑๔๐๓ (พ.ศ. ๑๙๔๖) เนื่องจากจีนกำลังเกิดความวุ่นวายจากการแย่งชิงราชสมบัติระหว่างจักรพรรดิเจี้ยนเหวินและพระปิตุลาคือจักรพรรดิหย่งเล่อ
ช่วง ค.ศ. ๑๔๐๓-๑๔๐๗ (พ.ศ. ๑๙๔๖-๑๙๕๐) ก่อนที่กองเรือมหาสมบัติของเจิ้งเหอจะเดินทางเข้ามา สยามส่งคณะทูตไปถึงเมืองจีน ๘ ชุด เฉลี่ย ๓ ชุดทุกๆ ๒ ปี เป็นอัตราที่สูงกว่าในรัชสมัยจักรพรรดิหงอู่ หลังจากนั้นก็พบว่าส่งคณะทูตมาเป็นประจำทุกปีจนถึงช่วง ค.ศ. ๑๔๒๔-๑๔๒๖ (พ.ศ. ๑๙๖๗-๑๙๖๙) ที่หยุดไปโดยสันนิษฐานว่าเป็นช่วงที่สมเด็จพระนครอินทร์สวรรคต และเกิดศึกแย่งชิงราชสมบัติ หลังจากนี้ก็มีบางช่วงที่เว้นการส่งคณะทูตไปบ้าง ซึ่งมีการวิเคราะห์ว่าเกิดจากความวุ่นวายภายในของสยาม และการเตรียมการทำสงครามกับอาณาจักรอื่น รวมถึงการค้าของเอกชนที่เฟื่องฟูขึ้น โดยในช่วง ค.ศ. ๑๔๓๙-๑๔๙๗ (พ.ศ. ๑๙๘๒-๒๐๔๐) มีการส่งคณะทูตไปเพียง ๑๕ ชุด เฉลี่ย ๑ ชุดต่อ ๔ ปี
ช่วง ค.ศ. ๑๕๐๐-๑๕๗๙ (พ.ศ. ๒๐๔๓-๒๑๒๒) กรุงศรีอยุทธยามีสงครามหลายครั้งรวมถึงสงครามใหญ่กับหงสาวดี ทำให้จำนวนคณะทูตไปเมืองจีนน้อยลงไปมาก ตลอดเวลา ๘๐ ปีมีการส่งคณะทูตไปเพียง ๑๔ ชุด เฉลี่ย ๑ ชุดต่อ ๖ ปี
ช่วง ค.ศ. ๑๕๘๐-๑๖๑๙ (พ.ศ. ๒๑๒๓-๒๑๖๒) ยังคงมีสงครามอีกหลายครั้ง บวกกับสยามเริ่มติดต่อกับญี่ปุ่น ทำให้สามารถซื้อสินค้าจีนจากญี่ปุ่นได้ มีการส่งคณะทูตไปเมืองจีนเพียง ๕ ชุดเท่านั้น เฉลี่ย ๑ ชุดต่อ ๑๐ ปี ถือว่าต่ำที่สุดยิ่งกว่าสมัยใดๆ
ช่วง ค.ศ. ๑๖๒๐-๑๖๕๕ (พ.ศ. ๒๑๖๓-๒๑๙๘) อัตราการส่งคณะทูตเพิ่มขึ้นเท่าตัว มีการส่งคณะทูตไป ๗ ชุด เฉลี่ย ๑ ชุดต่อ ๕ ปี
ช่วง ค.ศ. ๑๖๕๖-๑๖๘๘ (พ.ศ. ๒๑๙๙-๒๒๓๑) รัชกาลสมเด็จพระนารายณ์ อัตราการส่งคณะทูตเพิ่มขึ้นไปอีก มีการส่งคณะทูตไป ๑๒ ชุด เฉลี่ย ๑ ชุดต่อ ๓ ปี มีการวิเคราะห์ว่าเกิดการนโยบายการผูกขาดของพระคลังสินค้า และความมั่นคงทางการปกครอง ทำให้สยามส่งคณะทูตได้บ่อยมากขึ้น
หลังสิ้นรัชกาลสมเด็จพระนารายณ์ สยามหยุดส่งคณะทูตไปเมืองจีนหลายปีจนถึง ค.ศ. ๑๗๐๘ (พ.ศ. ๒๒๕๑) ในรัชกาลพระเจ้าเสือ ซึ่งเชื่อว่าเพราะเกิดเหตุการณ์กบฏต่อต้านสมเด็จพระเพทราชาหลายครั้ง รวมถึงศึกชิงอำนาจในราชสำนัก ทำให้การค้ากับจีนซบเซาลงไป
ช่วง ค.ศ. ๑๗๒๐-๑๗๖๖ (พ.ศ. ๒๒๖๓-๒๓๐๙) ตั้งแต่รัชกาลสมเด็จพระเจ้าท้ายสระจนเสียกรุงศรีอยุทธยา มีความถี่ของการส่งคณะทูตไปเมืองจีนมากขึ้นซึ่งเป็นผลมาจากการขยายตัวของการค้าข้าว แม้ว่าอาจจะไม่ได้มากเท่าในสมัยอยุทธยาตอนต้น แต่ก็ถือว่าเฟื่องฟูขึ้นจากสมัยสมเด็จพระเพทราชาและพระเจ้าเสือ โดยในช่วงเวลาดังกล่าวมีการส่งคณะทูตไป ๑๓ ชุด
ในสมัยกรุงธนบุรีมีการส่งคณะทูตไป ๒ ครั้งในช่วงปลายรัชกาล คือ ค.ศ. ๑๗๗๗ (พ.ศ. ๒๓๒๐) และ ค.ศ. ๑๗๘๑ (พ.ศ. ๒๓๒๔)
ในสมัยรัตนโกสินทร์รัชกาลที่ ๑-๓ ตั้งแต่ ค.ศ. ๑๗๘๒ (พ.ศ. ๒๓๒๕) มาจนถึง ค.ศ. ๑๘๕๓ (พ.ศ. ๒๓๙๖) สยามส่งคณะทูตไปเมืองจีนเป็นประจำแทบทุกปี
อย่างไรก็ตามช่วงต้นกรุงสยามไม่ได้ผลกำไรจากการค้าระบบบรรณาการมากนัก ในสมัยรัชกาลที่ ๑ มีบันทึกว่าได้กำไรพอจับจ่ายใช้ราชการแผ่นดินพอเป็นปีๆ ไป แต่ไม่พอจ่ายเป็นเบี้ยหวัด ครั้งหนึ่งกรมพระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาททูลรัชกาลที่ ๑ ว่าเงินที่พระราชทานไปปีละ ๑๐๐๐ ชั่งไม่พอแจกเบี้ยหวัดข้าราชการในวังหน้า จะขอพระราชทานเพิ่ม
รัชกาลที่ ๑ จึงดำรัสว่า "เงินเดิมได้มาแต่ส่วยอากรก็พอใช้ทำนุบำรุงแผ่นดิน เหลือก็เอามาแจกเบี้ยหวัดก็ไม่พอ ต้องเอาเงินตกแต่งค่าสำเภามาเพิ่มเติมอีก ก็พอใช้ไปได้ปีหนึ่งๆ เงินคงคลังที่สะสมก็ไม่มี" ทำให้กรมพระราชวังบวรฯ ทรงขัดเคืองไม่เสด็จมาเฝ้าอยู่ระยะหนึ่ง
สมัยรัชกาลที่ ๒ ยิ่งมีปัญหา เพราะนอกจากภาษีอากรยังมีน้อย การขยายตัวทางการค้าทำให้มีเรือเอกชนมาค้าขายแข่งกับสำเภาหลวงด้วย เป็นการแย่งชิงผลกำไรไปทางหนึ่ง การค้าสำเภาก็ไม่ได้กำไรเนื่องจากมีการฉ้อราษฎร์บังหลวง รัชกาลที่ ๔ ทรงมีพระบรมราชาธิบายว่า "ถ้าเปนคราวเรือเสียหายก็ฅาดพระราชทรัพยไปมาก แลผู้แต่งสำเภาหลวงทั้งปวงก็รู้จักอุบายที่จะยักยอกบอกขาดฑุนมากไป จนกำไรที่จะไช้ราชการก็ไม่มี"
พระราชพงศาวดารบันทึกว่า "แต่งสำเภาไปค้าขายได้เงินมาใช้สอยราชการแผ่นดินก็ไม่พอจ่ายแจกเบี้ยหวัด ลางปีก็ได้เต็ม ลางปีสามส่วนลดส่วนหนึ่งบ้าง ลางปีลดกึ่งบ้าง ลางปีก็เติมผ้าลายให้บ้าง" คือบางปีเงินไม่พอจนต้องเอาผ้าลายมาจ่ายแทนเงิน
สมัยรัชกาลที่ ๓ จึงแก้ปัญหาด้วยการเปลี่ยนแหล่งรายได้หลักมาเป็นการเก็บภาษีอากรแทน โดยตั้งภาษีใหม่ ๓๘ ชนิด นอกจากนี้ยังสนับสนุนการค้าแบบเสรีมากขึ้นด้วย ส่วนหนึ่งเป็นผลจากการขยายตัวของระบบเศรษฐกิจการค้าระหว่างจีนกับโลกตะวันตกที่กระตุ้นให้การผลิตภายในประเทศและการค้าของสยามขยายตัวตามไปด้วยเพื่อผลิตสินค้าป้อนตลาดโลก ทำให้ราชสำนักมีรายได้สูงขึ้นและมีเงินแจกเบี้ยหวัดให้ข้าราชการได้มาก
เมื่อจีนแพ้ชาติตะวันตกในสงครามฝิ่นครั้งที่หนึ่ง ใน พ.ศ. ๒๓๘๕ จีนถูกบังคับให้ทำสนธิสัญญาที่ไม่เป็นธรรมและต้องเปิดเมืองท่าให้ตะวันตก สถานะ “อธิราช” ของจีนเสื่อมถอยทำให้ระเบียบโลกของจีนที่เคยมีอิทธิพลเหนือภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้พังทลายลง
สยามส่งบรรณาการไปจิ้มก้องครั้งสุดท้ายในรัชกาลที่ ๔ พ.ศ. ๒๓๙๖ หลังจากนั้นสองปีคือ พ.ศ. ๒๓๙๘ สยามทำสนธิสัญญาเบาว์ริง (Bowring Treaty) กับอังกฤษ เป็นการเข้าสู่ระบบการค้าเสรีที่เชื่อมโยงกับระบบเศรษฐกิจโลกโดยตรง แม้จีนจะส่งสำเภามา “ทวงก้อง” อีกหลายครั้งก็ไม่ได้รับการตอบรับจากสยาม ภายหลังสยามอ้างสาเหตุที่ไม่สามารถส่งจิ้มก้องต่อจีนว่าเพราะคณะทูตไทยชุดสุดท้ายที่ส่งไปถูกโจรปล้นแต่อุปราชมณฑลกวางตุ้ง-กวางสีไม่สามารถจับตัวคนร้ายมาชำระโทษได้จนฝ่ายไทยอ้างว่าทำให้ “กรุงพระมหานครศรีอยุธยาก็ได้ความอัประยศ” และเนื่องจากจีนมีความวุ่นวายภายในจากกบฏไท่ผิงเทียนกั๋ว และสงครามฝิ่นครั้งที่สอง ทำให้คณะทูตไทยเดินทางไปปักกิ่งลำบาก จะรอให้เหตุการณ์สงบแล้วจึงจะไปถวายบรรณาการ
นอกจากเหตุผลข้างต้นแล้ว ชนชั้นนำสยามยังมองว่าผลจากกบฏในภาคใต้ของจีนยังทำให้สยามไม่สามารถส่งคณะทูตไปที่กวางตุ้งได้เหมือนในอดีต หากจะส่งทูตไปเมืองเทียนจินที่มีระยะทางไกลกว่ามากต้องใช้เรือกลไฟ หรือเรือใบที่โตใหญ่จึงจะไปได้ ต้องลงทุนมากขึ้นแต่ไม่คุ้มทุน เพราะการค้ากับจีนไม่ได้กำไรมากเหมือนอดีตแล้ว นอกจากนี้รัชกาลที่ ๔ ยังมองว่าความสัมพันธ์ระหว่างจีนกับสยามในระบบบรรณาการไม่ได้เท่าเทียมกัน เพราะจีนมองสยามเป็นเมืองขึ้น เป็นสาเหตุทำให้เลิกส่งบรรณาการในที่สุดครับ
เรื่องผลกำไรจากการค้าในระบบบรรณาการมีรายละเอียดมาก แนะนำให้ศึกษาจาก ความสัมพันธ์ในระบบบรรณาการระหว่างจีนกับไทย ของ สืบแสง พรหมบุญ (http://www.openbase.in.th/files/tbpj141.pdf) กับ จิ้มก้องและกำไร: การค้าไทย-จีน 2195-2396 ของ สารสิน วีระผล ครับ
รายละเอียดอ่านเพิ่มเติมที่บทความ การค้าข้าวระหว่างต้าชิงและกรุงศรีอยุทธยา ในยุคทองคัง-เฉียน
https://www.facebook.com/WipakHistory/posts/1901348896595238
ก่อนหน้านั้น กรุงศรีอยุทธยาก็ทำการค้ากับจีนมานานแล้ว และเป็นอาณาจักรในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่ส่งบรรณาการไปจิ้มก้องจีนบ่อยมาก
ช่วง ค.ศ. ๑๓๗๑-๑๓๙๑ (พ.ศ. ๑๙๑๔-๑๙๓๔) สมัยราชวงศ์หมิงตอนต้น สยามส่งคณะทูตไปจิ้มก้องเป็นประจำทุกปี โดยใน ค.ศ. ๑๓๗๔ (พ.ศ. ๑๙๑๗) พบว่าส่งไปมากสุดคือ ๔ ชุด โดย ๒ ชุดเป็นของสมเด็จพระบรมราชาธิราช (ขุนหลวงพ่องั่ว) อีก ๒ ชุดเป็นของพระราชมารดาสมเด็จพระราเมศวร นอกจากนี้ก็มีบางปีที่ส่งไป ๒-๓ ชุด
หลังจากนั้นพบว่ามีการส่งคณะทูตมาอีกใน ค.ศ. ๑๓๙๓ (พ.ศ. ๑๙๓๖) ค.ศ. ๑๓๙๕ (พ.ศ. ๑๙๓๘) ค.ศ. ๑๓๙๗ (พ.ศ. ๑๙๔๐) ค.ศ. ๑๓๙๘ (พ.ศ. ๑๙๔๑) หลังจากนั้นจึงเว้นไปถึง ค.ศ. ๑๔๐๓ (พ.ศ. ๑๙๔๖) เนื่องจากจีนกำลังเกิดความวุ่นวายจากการแย่งชิงราชสมบัติระหว่างจักรพรรดิเจี้ยนเหวินและพระปิตุลาคือจักรพรรดิหย่งเล่อ
ช่วง ค.ศ. ๑๔๐๓-๑๔๐๗ (พ.ศ. ๑๙๔๖-๑๙๕๐) ก่อนที่กองเรือมหาสมบัติของเจิ้งเหอจะเดินทางเข้ามา สยามส่งคณะทูตไปถึงเมืองจีน ๘ ชุด เฉลี่ย ๓ ชุดทุกๆ ๒ ปี เป็นอัตราที่สูงกว่าในรัชสมัยจักรพรรดิหงอู่ หลังจากนั้นก็พบว่าส่งคณะทูตมาเป็นประจำทุกปีจนถึงช่วง ค.ศ. ๑๔๒๔-๑๔๒๖ (พ.ศ. ๑๙๖๗-๑๙๖๙) ที่หยุดไปโดยสันนิษฐานว่าเป็นช่วงที่สมเด็จพระนครอินทร์สวรรคต และเกิดศึกแย่งชิงราชสมบัติ หลังจากนี้ก็มีบางช่วงที่เว้นการส่งคณะทูตไปบ้าง ซึ่งมีการวิเคราะห์ว่าเกิดจากความวุ่นวายภายในของสยาม และการเตรียมการทำสงครามกับอาณาจักรอื่น รวมถึงการค้าของเอกชนที่เฟื่องฟูขึ้น โดยในช่วง ค.ศ. ๑๔๓๙-๑๔๙๗ (พ.ศ. ๑๙๘๒-๒๐๔๐) มีการส่งคณะทูตไปเพียง ๑๕ ชุด เฉลี่ย ๑ ชุดต่อ ๔ ปี
ช่วง ค.ศ. ๑๕๐๐-๑๕๗๙ (พ.ศ. ๒๐๔๓-๒๑๒๒) กรุงศรีอยุทธยามีสงครามหลายครั้งรวมถึงสงครามใหญ่กับหงสาวดี ทำให้จำนวนคณะทูตไปเมืองจีนน้อยลงไปมาก ตลอดเวลา ๘๐ ปีมีการส่งคณะทูตไปเพียง ๑๔ ชุด เฉลี่ย ๑ ชุดต่อ ๖ ปี
ช่วง ค.ศ. ๑๕๘๐-๑๖๑๙ (พ.ศ. ๒๑๒๓-๒๑๖๒) ยังคงมีสงครามอีกหลายครั้ง บวกกับสยามเริ่มติดต่อกับญี่ปุ่น ทำให้สามารถซื้อสินค้าจีนจากญี่ปุ่นได้ มีการส่งคณะทูตไปเมืองจีนเพียง ๕ ชุดเท่านั้น เฉลี่ย ๑ ชุดต่อ ๑๐ ปี ถือว่าต่ำที่สุดยิ่งกว่าสมัยใดๆ
ช่วง ค.ศ. ๑๖๒๐-๑๖๕๕ (พ.ศ. ๒๑๖๓-๒๑๙๘) อัตราการส่งคณะทูตเพิ่มขึ้นเท่าตัว มีการส่งคณะทูตไป ๗ ชุด เฉลี่ย ๑ ชุดต่อ ๕ ปี
ช่วง ค.ศ. ๑๖๕๖-๑๖๘๘ (พ.ศ. ๒๑๙๙-๒๒๓๑) รัชกาลสมเด็จพระนารายณ์ อัตราการส่งคณะทูตเพิ่มขึ้นไปอีก มีการส่งคณะทูตไป ๑๒ ชุด เฉลี่ย ๑ ชุดต่อ ๓ ปี มีการวิเคราะห์ว่าเกิดการนโยบายการผูกขาดของพระคลังสินค้า และความมั่นคงทางการปกครอง ทำให้สยามส่งคณะทูตได้บ่อยมากขึ้น
หลังสิ้นรัชกาลสมเด็จพระนารายณ์ สยามหยุดส่งคณะทูตไปเมืองจีนหลายปีจนถึง ค.ศ. ๑๗๐๘ (พ.ศ. ๒๒๕๑) ในรัชกาลพระเจ้าเสือ ซึ่งเชื่อว่าเพราะเกิดเหตุการณ์กบฏต่อต้านสมเด็จพระเพทราชาหลายครั้ง รวมถึงศึกชิงอำนาจในราชสำนัก ทำให้การค้ากับจีนซบเซาลงไป
ช่วง ค.ศ. ๑๗๒๐-๑๗๖๖ (พ.ศ. ๒๒๖๓-๒๓๐๙) ตั้งแต่รัชกาลสมเด็จพระเจ้าท้ายสระจนเสียกรุงศรีอยุทธยา มีความถี่ของการส่งคณะทูตไปเมืองจีนมากขึ้นซึ่งเป็นผลมาจากการขยายตัวของการค้าข้าว แม้ว่าอาจจะไม่ได้มากเท่าในสมัยอยุทธยาตอนต้น แต่ก็ถือว่าเฟื่องฟูขึ้นจากสมัยสมเด็จพระเพทราชาและพระเจ้าเสือ โดยในช่วงเวลาดังกล่าวมีการส่งคณะทูตไป ๑๓ ชุด
ในสมัยกรุงธนบุรีมีการส่งคณะทูตไป ๒ ครั้งในช่วงปลายรัชกาล คือ ค.ศ. ๑๗๗๗ (พ.ศ. ๒๓๒๐) และ ค.ศ. ๑๗๘๑ (พ.ศ. ๒๓๒๔)
ในสมัยรัตนโกสินทร์รัชกาลที่ ๑-๓ ตั้งแต่ ค.ศ. ๑๗๘๒ (พ.ศ. ๒๓๒๕) มาจนถึง ค.ศ. ๑๘๕๓ (พ.ศ. ๒๓๙๖) สยามส่งคณะทูตไปเมืองจีนเป็นประจำแทบทุกปี
อย่างไรก็ตามช่วงต้นกรุงสยามไม่ได้ผลกำไรจากการค้าระบบบรรณาการมากนัก ในสมัยรัชกาลที่ ๑ มีบันทึกว่าได้กำไรพอจับจ่ายใช้ราชการแผ่นดินพอเป็นปีๆ ไป แต่ไม่พอจ่ายเป็นเบี้ยหวัด ครั้งหนึ่งกรมพระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาททูลรัชกาลที่ ๑ ว่าเงินที่พระราชทานไปปีละ ๑๐๐๐ ชั่งไม่พอแจกเบี้ยหวัดข้าราชการในวังหน้า จะขอพระราชทานเพิ่ม
รัชกาลที่ ๑ จึงดำรัสว่า "เงินเดิมได้มาแต่ส่วยอากรก็พอใช้ทำนุบำรุงแผ่นดิน เหลือก็เอามาแจกเบี้ยหวัดก็ไม่พอ ต้องเอาเงินตกแต่งค่าสำเภามาเพิ่มเติมอีก ก็พอใช้ไปได้ปีหนึ่งๆ เงินคงคลังที่สะสมก็ไม่มี" ทำให้กรมพระราชวังบวรฯ ทรงขัดเคืองไม่เสด็จมาเฝ้าอยู่ระยะหนึ่ง
สมัยรัชกาลที่ ๒ ยิ่งมีปัญหา เพราะนอกจากภาษีอากรยังมีน้อย การขยายตัวทางการค้าทำให้มีเรือเอกชนมาค้าขายแข่งกับสำเภาหลวงด้วย เป็นการแย่งชิงผลกำไรไปทางหนึ่ง การค้าสำเภาก็ไม่ได้กำไรเนื่องจากมีการฉ้อราษฎร์บังหลวง รัชกาลที่ ๔ ทรงมีพระบรมราชาธิบายว่า "ถ้าเปนคราวเรือเสียหายก็ฅาดพระราชทรัพยไปมาก แลผู้แต่งสำเภาหลวงทั้งปวงก็รู้จักอุบายที่จะยักยอกบอกขาดฑุนมากไป จนกำไรที่จะไช้ราชการก็ไม่มี"
พระราชพงศาวดารบันทึกว่า "แต่งสำเภาไปค้าขายได้เงินมาใช้สอยราชการแผ่นดินก็ไม่พอจ่ายแจกเบี้ยหวัด ลางปีก็ได้เต็ม ลางปีสามส่วนลดส่วนหนึ่งบ้าง ลางปีลดกึ่งบ้าง ลางปีก็เติมผ้าลายให้บ้าง" คือบางปีเงินไม่พอจนต้องเอาผ้าลายมาจ่ายแทนเงิน
สมัยรัชกาลที่ ๓ จึงแก้ปัญหาด้วยการเปลี่ยนแหล่งรายได้หลักมาเป็นการเก็บภาษีอากรแทน โดยตั้งภาษีใหม่ ๓๘ ชนิด นอกจากนี้ยังสนับสนุนการค้าแบบเสรีมากขึ้นด้วย ส่วนหนึ่งเป็นผลจากการขยายตัวของระบบเศรษฐกิจการค้าระหว่างจีนกับโลกตะวันตกที่กระตุ้นให้การผลิตภายในประเทศและการค้าของสยามขยายตัวตามไปด้วยเพื่อผลิตสินค้าป้อนตลาดโลก ทำให้ราชสำนักมีรายได้สูงขึ้นและมีเงินแจกเบี้ยหวัดให้ข้าราชการได้มาก
เมื่อจีนแพ้ชาติตะวันตกในสงครามฝิ่นครั้งที่หนึ่ง ใน พ.ศ. ๒๓๘๕ จีนถูกบังคับให้ทำสนธิสัญญาที่ไม่เป็นธรรมและต้องเปิดเมืองท่าให้ตะวันตก สถานะ “อธิราช” ของจีนเสื่อมถอยทำให้ระเบียบโลกของจีนที่เคยมีอิทธิพลเหนือภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้พังทลายลง
สยามส่งบรรณาการไปจิ้มก้องครั้งสุดท้ายในรัชกาลที่ ๔ พ.ศ. ๒๓๙๖ หลังจากนั้นสองปีคือ พ.ศ. ๒๓๙๘ สยามทำสนธิสัญญาเบาว์ริง (Bowring Treaty) กับอังกฤษ เป็นการเข้าสู่ระบบการค้าเสรีที่เชื่อมโยงกับระบบเศรษฐกิจโลกโดยตรง แม้จีนจะส่งสำเภามา “ทวงก้อง” อีกหลายครั้งก็ไม่ได้รับการตอบรับจากสยาม ภายหลังสยามอ้างสาเหตุที่ไม่สามารถส่งจิ้มก้องต่อจีนว่าเพราะคณะทูตไทยชุดสุดท้ายที่ส่งไปถูกโจรปล้นแต่อุปราชมณฑลกวางตุ้ง-กวางสีไม่สามารถจับตัวคนร้ายมาชำระโทษได้จนฝ่ายไทยอ้างว่าทำให้ “กรุงพระมหานครศรีอยุธยาก็ได้ความอัประยศ” และเนื่องจากจีนมีความวุ่นวายภายในจากกบฏไท่ผิงเทียนกั๋ว และสงครามฝิ่นครั้งที่สอง ทำให้คณะทูตไทยเดินทางไปปักกิ่งลำบาก จะรอให้เหตุการณ์สงบแล้วจึงจะไปถวายบรรณาการ
นอกจากเหตุผลข้างต้นแล้ว ชนชั้นนำสยามยังมองว่าผลจากกบฏในภาคใต้ของจีนยังทำให้สยามไม่สามารถส่งคณะทูตไปที่กวางตุ้งได้เหมือนในอดีต หากจะส่งทูตไปเมืองเทียนจินที่มีระยะทางไกลกว่ามากต้องใช้เรือกลไฟ หรือเรือใบที่โตใหญ่จึงจะไปได้ ต้องลงทุนมากขึ้นแต่ไม่คุ้มทุน เพราะการค้ากับจีนไม่ได้กำไรมากเหมือนอดีตแล้ว นอกจากนี้รัชกาลที่ ๔ ยังมองว่าความสัมพันธ์ระหว่างจีนกับสยามในระบบบรรณาการไม่ได้เท่าเทียมกัน เพราะจีนมองสยามเป็นเมืองขึ้น เป็นสาเหตุทำให้เลิกส่งบรรณาการในที่สุดครับ
เรื่องผลกำไรจากการค้าในระบบบรรณาการมีรายละเอียดมาก แนะนำให้ศึกษาจาก ความสัมพันธ์ในระบบบรรณาการระหว่างจีนกับไทย ของ สืบแสง พรหมบุญ (http://www.openbase.in.th/files/tbpj141.pdf) กับ จิ้มก้องและกำไร: การค้าไทย-จีน 2195-2396 ของ สารสิน วีระผล ครับ
แสดงความคิดเห็น
จิ้มก้อง กรุงศรีอยุธยา กับ รัตนโกสินทร์ ทำการค้ากับจีนได้สร้างรายได้มากน้อยแค่ไหนครับ? ไม่ใช่การบ้านนะครับ
เห็นว่าประเทศจีนสมัยราชวงศ์หมิง หรือ ชิง เกิดภาวะภัยแล้งยาวนาน ทางสยามน่าจะส่งของจำพวกข้าวเจ้าไปให้เยอะอยู่นะ
และทาง สยาม จัดว่าจิ้มก้อง บ่อยมากไหมครับ หากเทียบกับประเทศอื่นๆ ไม่รวม เกาหลี เพราะอยู่ใกล้ติดแผ่นดินจีน ส่วนทาง สยาม ต้องส่งไปทางเรือ