คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 3
เครื่องเบญจรงค์ในสมัยโบราณ เป็นเครื่องกระเบื้อง “ให้อย่าง” (made to order) คือกำหนดให้มีการผลิตและเขียนลายแบบไทยโดยสั่งทำจากเมืองจีน ซึ่งปรากฏหลักฐานว่ามีการสั่งทำเครื่องกระเบื้องจากเมืองจีนมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุทธยา
“เบญจรงค์” แปลมาจากภาษาจีนว่า “อู๋ไฉ่” (五彩) หมายถึงเครื่องกระเบื้องเคลือบห้าสี ได้แก่ สีแดง เหลือง เขียวอ่อน เขียวแก่ และสีม่วงอมดำ บางทีมีสีครามเขียนเป็นลายกำกับอยู่ใต้เคลือบอีกทีหนึ่ง เป็นกรรมวิธีเขียนสีประดับเครื่องกระเบื้องจีนที่มีมาตั้งแต่สมัยราชวงศ์หมิง และได้พัฒนาจนเป็นเลิศในสมัยจักรพรรดิคังซี (康熙) แห่งราชวงศ์ชิง ลักษณะสีเคลือบเป็นสีใส ซึ่งทางตะวันตกเรียกการเคลือบแบบนี้ที่มีสีเขียวโดดเด่นว่า famille verte (ภาษาอังกฤษคือ green family)
แม้คำว่าเบญจรงค์มีที่มาจาก “อู๋ไฉ่” แต่เครื่องเบญจรงค์ของไทยส่วนใหญ่ที่พบไม่ได้เคลือบสีด้วยวิธีนี้ หากเคลือบด้วยเทคนิคสีนุ่มนวลที่เรียกว่า “เฝินไฉ่” (粉彩) ซึ่งได้เริ่มพัฒนาขึ้นในรัชสมัยจักรพรรดิยงเจิ้ง (雍正) ต่อเนื่องไปจนถึงรัชสมัยจักรพรรดิเฉียนหลง (乾隆)
คุณชาญชัย สุพานิชวรภาชน์ ผู้เชี่ยวชาญเครื่องกระเบื้องของไทย ตั้งข้อสังเกตว่าเครื่องเบญจรงค์ที่สยามสั่งซื้อสมัยอยุทธยาจำนวนมากวาดลายด้วยสีที่นูนออกมาไม่เรียบเป็นเนื้อเดียวกับพื้นภาชนะ เสมือนผสมสีลงในน้ำเคลือบขาวแล้ววาดออกมาเป็นลายเหนือเคลือบชั้นแรกอีกชั้นหนึ่ง อาจเป็นกรรมวิธีเดียวกับการเคลือบสีอ่อนอมขาวเลียนแบบ “เฝินไฉ่” ยุคแรกๆ ของเตาเอกชน
เครื่องกระเบื้องที่มีสีชมพูอมขาว และสีอ่อนอื่นๆ ที่ผสมสีขาว ลักษณะสีทึบไม่โปร่งแสง ซึ่งเป็นลักษณะของ “เฝินไฉ่” เป็นเครื่องกระเบื้องที่ผลิตแพร่หลายในช่วงรัชศกยงเจิ้งหรือราว พ.ศ. ๒๒๖๓ (ค.ศ. ๑๗๒๐) เป็นต้นมา เครื่องเบญจรงค์ของไทยที่พบในลักษณะนี้จึงเป็นของที่ผลิตในช่วงรัชกาลสมเด็จพระเจ้าท้ายสระลงมาถึงสมัยรัตนโกสินทร์
ทั้งนี้ เครื่องเบญจรงค์ในสมัยอยุทธยาบางใบมีลักษณะการเขียนสีคล้ายคลึงกับของที่สำเภาจีนส่งไปขายปัตตาเวียกลางคริสต์ศตวรรษที่ ๑๘-๑๙ จากรัชกาลสมเด็จพระเจ้าท้ายสระถึงสมัยรัชกาลที่ ๓ สะท้อนให้เห็นความเชื่อมโยงระหว่างการค้าสำเภาของสยามกับปัตตาเวีย
การที่พบเครื่องกระเบื้องที่สยามสั่งทำจากจีนจำนวนมากในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ ๑๘ เป็นการสะท้อนให้เห็นถึงสภาพการค้าทางทะเลระหว่างสยามกับจีนที่เฟื่องฟูมากขึ้นตั้งแต่รัชกาลสมเด็จพระเจ้าท้ายสระเป็นต้นมา
เนื่องจากเกิดปัญหาภัยธรมชาติในจีนต่อเนื่องมาตั้งแต่ปลายรัชศกคังซีทำให้ขาดแคลนข้าวอย่างหนัก แต่สยามเป็นแหล่งส่งออกข้าวสำคัญที่ราคาถูก ราชสำนักต้าชิงจึงอนุญาตให้ขนข้าว ๓๐๐,๐๐๐ หาบ ไปขายที่มณฑลกวางตุ้ง (廣東) เอ้ห (廈門) และหนิงปอ (寧波) โดยไม่ต้องเสียภาษีเป็นกรณีพิเศษใน พ.ศ. ๒๒๖๕ (ค.ศ. ๑๗๒๒) ปีสุดท้ายของรัชศกคังซี และยังได้รับอนุญาตให้ทำการค้ากับจีนนอกเหนือระบบบรรณาการด้วย นอกจากนี้ยังอนุญาตให้ลูกเรือชาวจีนโพ้นทะเลที่อยู่ในสยาม (ซึ่งถือว่าผิดกฎหมาย) สามารถกลับไปกับเรือสยามได้โดยไม่ถูกกักตัว หลังจากนั้นเรือของสยามจึงได้เข้ามาทำการค้ากับจีนมากขึ้น และยังคงมีการนำเข้าจำนวนมหาศาลจากสยามเรื่อยมาจนถึงสมัยรัตนโกสินทร์
โดยเมื่อราชสำนักอยุทธยานำเครื่องบรรณาการไปจิ้มก้องในรัชศกยงเจิ้ง พ.ศ. ๒๒๖๗ (ค.ศ. ๑๗๒๔) จักรพรรดิยงเจิ้งทรงมีพระราชโองการให้พระราชทานของตอบแทนแก่กรุงศรีอยุทธยามากขึ้น โดยมีเครื่องกระเบื้องหลวงของราชวงศ์ชิงซึ่งเป็นศิลปวัตถุชั้นสูง สงวนไว้พระราชทานในโอกาสอันทรงเกียรติ เช่นตอบแทนพระราชไมตรีของพระประมุข และเนื่องจากอยุทธยาส่งข้าวไปขายในมณฑลฮกเกี้ยนยามขาดแคลนเป็นประจำ ใน พ.ศ. ๒๒๗๒ (พ.ศ. ๑๗๒๙) เมื่อคณะทูตกรุงศรีอยุทธยาเดินทางไปถวายบรรณาการที่ปักกิ่ง ก็มีการพระราชทานเครื่องกระเบื้องหลวงเป็นการตอบแทนพระราชไมตรีของสมเด็จพระเจ้าท้ายสระเช่นเดียวกัน จนถึงรัชสมัยสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศและสมเด็จพระเจ้าเอกทัศก็ยังได้รับเครื่องกระเบื้องหลวงพระราชทานจากจักรพรรดิเฉียนหลงอีกหลายครั้ง
การที่เครื่องกระเบื้องหลวงประเภท “เฝินไฉ่” ซึ่งเป็นที่นิยมอยู่ในเมืองจีนอยู่มาก และได้มีการพระราชทานให้ราชสำนักอยุทธยาอยู่หลายครั้งตลอดรัชศกยงเจิ้งและเฉียนหลง เป็นไปได้จะส่งผลต่อรูปแบบของเครื่องถ้วยที่อยุทธยาสั่งซื้อจากจีน และอาจนำมาสู่ความต้องการสั่งทำเครื่องกระเบื้องที่มีลวดลายแบบไทยด้วย
ซึ่งการที่เครือข่ายพาณิชย์นาวีระหว่างสยามและจีนเฟื่องฟูในยุคนั้น เป็นช่องทางที่ทำให้กรุงศรีอยุทธยาสามารถสั่งทำเครื่องกระเบื้องแบบไทยจากจีนได้สะดวก และอุตสาหกรรมเครื่องกระเบื้องในสมัยต้นราชวงศ์ชิงได้พัฒนาจนมีความสวยงามมากขึ้น สามารถตอบสนองความต้องการของลูกค้าต่างประเทศได้ดีกว่าสมัยราชวงศ์หมิง ทำให้พบเครื่องกระเบื้องลายแบบไทยหลากสีสันอย่างเครื่องเบญจรงค์ในสมัยอยุทธยาตอนปลายจำนวนมาก
สำหรับวิธีการสั่งทำเครื่องกระเบื้อง “ให้อย่าง” สมัยปลายอยุทธยาช่วงคริสต์ศตวรรษที่ ๑๘ เมื่อเรือเดินทางไปถึงเมืองกว่างโจว (廣州) มณฑลกวางตุ้ง (กว่างตง 廣東) พ่อค้าต่างชาติสามารถสั่งซื้อเครื่องกระเบื้องได้สองช่องทาง คือ ผ่านห้างที่เป็นสมาชิกองค์กรการค้าของจีนซึ่งได้รับมอบหมายให้ทำการค้ากับชาวต่างชาติ เรียกว่า กงหัง (Co Hong 公行) หรือซื้อผ่านร้านขายเครื่องกระเบื้องที่ตั้งเรียงรายอยู่หน้ากำแพงเมืองกวางตุ้ง เครื่องกระเบื้องเป็นสินค้าอันดับแรกที่พ่อค้ารีบสั่งซื้อเมื่อเดินเรือมาถึงเมืองจีน เพราะต้องใช้เวลาในการผลิตตามแบบที่นำมา และเป็นสินค้าที่ต้องลำเลียงลงเรือก่อนสินค้าอื่นเพราะเป็น “อับเฉา”
แหล่งทำเครื่องกระเบื้องเคลือบสีที่สำคัญมีอยู่หลายแห่ง ที่สำคัญที่สุดอยู่ที่เมืองจิ่งเต๋อเจิ้น (景德镇) มณฑลเจียงซี (江西) ซึ่งเป็นเตาหลวงผลิตเครื่องกระเบื้องสำคัญตั้งแต่สมัยราชวงศ์หมิง ทั้งเครื่องกระเบื้องที่ตั้งเป็นเครื่องบูชาในพระราชพิธี และสำหรับพระราชทานตอบแทนพระราชไมตรีแก่ราชสำนักต่างประเทศที่มาถวายเครื่องบรรณาการ รวมถึงผลิตสำหรับส่งออกไปขายยังตลาดโลกด้วย
คนไทยเรียกเครื่องกระเบื้องที่ผลิตจากจิ่งเต๋อเจิ้นว่า “กังไส” ตามสำเนียงที่ชาวแต้จิ๋วเรียกมณฑลเจียงซี
นอกจากนี้ก็ยังพบว่าเครื่องกระเบื้องสมัยอยุทธยาจำนวนมากเป็นถ้วยชามที่ผลิตในเตาท้องถิ่นหลายแห่งในมณฑลฮกเกี้ยน (ฝูเจี้ยน 福建) เตาหลงฉวน (龍泉) ในมณฑลเจ้อเจียง และจากเตาท้องถิ่นของมณฑลกวางตุ้ง ซึ่งคุณภาพของกระเบื้องที่ผลิตจากเตาท้องถิ่นในมณฑลชายฝั่งทะเลจะไม่ดีเท่าเครื่องกระเบื้องจิ่งเต๋อเจิ้น แต่ก็เป็นสินค้าสำเภาที่นิยมเพราะราคาถูก การขนส่งสะดวก เนื่องจากแหล่งผลิตตั้งอยู่ใกล้เมืองท่าส่งออกที่สำคัญในสมัยนั้น คือ ฉวนโจว (泉州) เยว่กัง (月港) จางโจว (漳州) เอ้ห (เซี่ยเหมิน 廈門) ในมณฑลฮกเกี้ยน และกว่างโจวในมณฑลกวางตุ้ง
ระยะเวลาสั่งทำเครื่องกระเบื้องสีที่เมืองกว่างโจวใช้เวลาเพียง ๒-๓ สัปดาห์ ในขณะที่การทำเครื่องกระเบื้องตามแบบต่างชาติที่จิ่งเต๋อเจิ้นต้องใช้เวลาอย่างน้อย ๓ เดือน เน่องจากต้องส่งลายไปวาดครามใต้เคลือบถึงเมืองจิ่งเจ๋อเจิ้น ดังนั้นจะพบว่าเครื่องกระเบื้องจีนที่ผลิตส่งเพื่อออกจำนวนมากเป็นเครื่องกระเบื้องที่เขียนลายในเมืองกว่างโจว
สำหรับเครื่องเบญจรงค์สมัยอยุทธยา สันนิษฐานว่าน่าจะเขียนสีลายไทยหลายแห่ง ได้แก่
๑. จิ่งเต๋อเจิ้น
๒. กว่างโจว ซึ่งเป็นแหล่งเคลือบสีตามแบบที่ชาวตะวันตก “ให้อย่าง”
๓. เอ้ห เมืองท่าที่พ่อค้าสยามเดือนเรือไปส่งข้าวเป็นประจำ เนื่องจากขาดแคลนข้างอยู่เสมอ
๔. อาจเคลือบสีในสยาม ซึ่งชาญชัย สุพานิขวรภาชน์ ผู้เชี่ยวชาญงานผลิตเครื่องกระเบื้องของไทยในปัจจุบันกล่าวว่า ถ้ารู้กรรมวิธีก็ไม่ใช่เรื่องยาก แต่หากไม่รู้ก็เป็นเรื่องยากที่จะคุมให้สีออกมาดีได้
เครื่องเบญจรงค์มีการเขียนลายหลายแบบ ส่วนใหญ่เขียนลายเทพนมนรสิงห์ พบชามลายนี้อยู่ในซากเรือที่จมในรัชกาลสมเด็จพระเจ้าท้ายสระในอ่าวไทย ประมาณปี พ.ศ. ๒๒๗๑ (ค.ศ. ๑๗๒๘) ปัจจุบันเก็บรักษาไว้ที่พิพิธภัณฑ์ประเทศเนเธอร์แลนด์ (Princesseh of Ceremics Museum) เมืองเลวาร์เดิน (Leeuwarden) ลายนี้เป็นลายที่สยามส่งทำซ้ำกันหลายรุ่นนับตั้งแต่รัชกาลสมเด็จพระเจ้าท้ายสระจนถึงรัชกาลที่ ๖ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ อนึ่งลายเทพพนมนรสิงห์นี้ แต่เดิมเมื่อแรกสั่งทำ ช่างจีนบางคนวาดได้ถูกต้องเป็นครึ่งคนครึ่งสิงห์ แต่เมื่อผลิตซ้ำไปซ้ำมาลายได้เพี้ยนไปเป็นครึ่งคนครึ่งกวาง
สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงอธิบายเกี่ยวกับการเขียนลายไทยบนเครื่องกระเบื้องเอาไว้ว่า
“ลายไทยที่ให้อย่างไปเขียนเครื่องถ้วยครั้งกรุงเก่ามีหลายอย่าง มีลายก้านขดและลายก้านแย่งเป็นต้น บางทีมีภาพลายกระหนก บางทีเป็นภาพเทพพนม อย่างนี้มีทั้งชามและโถ บางทีเป็นภาพเทพพนมนรสิงห์ อย่างนี้ของเก่าเห็นมีมากแต่ขาม พิเคราะห์ดูลวดลายที่เขียนเครื่องถ้วยครั้งกรุงเก่า ประกอบกับสถานที่ที่พบถ้วยชามนั้น ๆ เข้าใจว่าลักษณะที่สั่งของเหล่านี้ สั่งเมื่อครั้งกรุงเก่า ก็เห็นจะทำนองเดียวกับที่มาสั่งในชั้นกรุงรัตนโกสินทร์ คือแรกคิดอย่างและให้ลายนั้น คงเป็นฝีมือช่างหลวงให้อย่างสั่งออกไปทำของหลวงเข้ามาใช้ราชการ หรือมิฉะนั้นเป็นของผู้มีบรรดาศักดิ์สูงสั่งเข้ามาใช้สอย ของนั้นสิ่งใดมีคนชอบจึงมีผู้เอาถ้วยชามปูนแรกเป็นตัวอย่างส่งให้พ่อค้าสั่งออกไปทำเข้ามาอีก พ่อค้าเลยสั่งเข้ามาขายด้วย ครั้นขายดีก็ส่งปูน ๒ ออกไปให้ทำอีกจนเป็นของขายในท้องตลาด ส่วนลวดลายเมื่อถ่ายต่อ ๆ กันหลายชั้นเข้าก็เลือนเลวลงทุกที จนปูนหลัง ๆ เกือบจะรู้ไม่ได้ว่าเป็นลายไทย ของอย่างนี้มีมาตั้งแต่ครั้งกรุงเก่า ลายไทยที่คนชอบกันมากในชั้นกรุงเก่านั้น เห็นจะเป็นลายเทพพนมนรสิงห์ เพราะชามนรสิงห์ยังพบได้ที่ไหนๆ แม้ตามหัวเมืองไกล ถ้าเป็นบ้านที่ตั้งมาเก่าแก่ เช่นที่เมืองกำแพงเพชรและบ้านหัวเวียงเมืองไชยา ห่างไกลกันถึงเพียงเท่านั้นยังพบชามเทพนมนรสิงห์มีอยู่ เวลาเจ้านายผู้มีบรรดาศักดิ์ไปถึงที่นั้น สำรับที่ชาวบ้านหามาเลี้ยง เขายังมีชามเบญจรงค์เทพนมนรสิงห์ครั้งกรุงเก่าแห่งละมากๆ เห็นจะเป็นของสั่งเข้ามาขายกันแพร่หลายมาก จึงมีออกไปถึงที่ห่างไกลเห็นปานนั้น”
เครื่องกระเบื้องแบบอยุทธยา ยังคงถูกคัดลอกทำต่อมาในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น ดังที่สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงพระนิพนธ์ไว้ในตำนานเครื่องโต๊ะแลถ้วยปั้นว่า
“มาในชั้นกรุงรัตนโกสินทร์ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกทรงทำนุบำรุงช่างไทย ที่ทรุดโทรมมาแต่ครั้งเสียกรุงเก่า พึ่งมามีฝีมือดีกลับขึ้นเมื่อในรัชกาลที่ ๑ ปรากฏฝีมือมีอยู่จนบัดนี้หลายอย่าง พิเคราะห์ดูเครื่องถ้วยอันเป็นของไทยสั่งปูนเก่าในครั้งกรุงรัตนโกสินทร์ เข้าใจมาว่าจนถึงในรัชกาลที่ ๑ ถ้วยชามที่สั่งไปทำเมืองจีน จึงได้ให้ช่างหลวงเขียนลายตัวอย่างขึ้นใหม่แต่ดำเนินตามตัวอย่างที่ดีครั้งกรุงเก่าเป็นพื้น เป็นลายไทยเขียนสีบนพื้นถ้วยขาวบ้าง เขียนเบญจรงค์บ้าง เช่นลายก้านขดเขียนสีบนพื้นถ้วยมีรูปครุฑบ้าง ราชสีห์บ้าง เทพพนมบ้าง ของชนิดนี้มีน้อย ด้วยสั่งเป็นของหลวง ผู้อื่นเห็นจะไม่ได้ใช้โดยทั่วไป”
รายละเอียดอ่านเพิ่มเติมที่ https://www.facebook.com/WipakHistory/posts/1622352941161503
เครื่องเบญจรงค์ในสมัยโบราณ เป็นเครื่องกระเบื้อง “ให้อย่าง” (made to order) คือกำหนดให้มีการผลิตและเขียนลายแบบไทยโดยสั่งทำจากเมืองจีน ซึ่งปรากฏหลักฐานว่ามีการสั่งทำเครื่องกระเบื้องจากเมืองจีนมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุทธยา
“เบญจรงค์” แปลมาจากภาษาจีนว่า “อู๋ไฉ่” (五彩) หมายถึงเครื่องกระเบื้องเคลือบห้าสี ได้แก่ สีแดง เหลือง เขียวอ่อน เขียวแก่ และสีม่วงอมดำ บางทีมีสีครามเขียนเป็นลายกำกับอยู่ใต้เคลือบอีกทีหนึ่ง เป็นกรรมวิธีเขียนสีประดับเครื่องกระเบื้องจีนที่มีมาตั้งแต่สมัยราชวงศ์หมิง และได้พัฒนาจนเป็นเลิศในสมัยจักรพรรดิคังซี (康熙) แห่งราชวงศ์ชิง ลักษณะสีเคลือบเป็นสีใส ซึ่งทางตะวันตกเรียกการเคลือบแบบนี้ที่มีสีเขียวโดดเด่นว่า famille verte (ภาษาอังกฤษคือ green family)
แม้คำว่าเบญจรงค์มีที่มาจาก “อู๋ไฉ่” แต่เครื่องเบญจรงค์ของไทยส่วนใหญ่ที่พบไม่ได้เคลือบสีด้วยวิธีนี้ หากเคลือบด้วยเทคนิคสีนุ่มนวลที่เรียกว่า “เฝินไฉ่” (粉彩) ซึ่งได้เริ่มพัฒนาขึ้นในรัชสมัยจักรพรรดิยงเจิ้ง (雍正) ต่อเนื่องไปจนถึงรัชสมัยจักรพรรดิเฉียนหลง (乾隆)
คุณชาญชัย สุพานิชวรภาชน์ ผู้เชี่ยวชาญเครื่องกระเบื้องของไทย ตั้งข้อสังเกตว่าเครื่องเบญจรงค์ที่สยามสั่งซื้อสมัยอยุทธยาจำนวนมากวาดลายด้วยสีที่นูนออกมาไม่เรียบเป็นเนื้อเดียวกับพื้นภาชนะ เสมือนผสมสีลงในน้ำเคลือบขาวแล้ววาดออกมาเป็นลายเหนือเคลือบชั้นแรกอีกชั้นหนึ่ง อาจเป็นกรรมวิธีเดียวกับการเคลือบสีอ่อนอมขาวเลียนแบบ “เฝินไฉ่” ยุคแรกๆ ของเตาเอกชน
เครื่องกระเบื้องที่มีสีชมพูอมขาว และสีอ่อนอื่นๆ ที่ผสมสีขาว ลักษณะสีทึบไม่โปร่งแสง ซึ่งเป็นลักษณะของ “เฝินไฉ่” เป็นเครื่องกระเบื้องที่ผลิตแพร่หลายในช่วงรัชศกยงเจิ้งหรือราว พ.ศ. ๒๒๖๓ (ค.ศ. ๑๗๒๐) เป็นต้นมา เครื่องเบญจรงค์ของไทยที่พบในลักษณะนี้จึงเป็นของที่ผลิตในช่วงรัชกาลสมเด็จพระเจ้าท้ายสระลงมาถึงสมัยรัตนโกสินทร์
ทั้งนี้ เครื่องเบญจรงค์ในสมัยอยุทธยาบางใบมีลักษณะการเขียนสีคล้ายคลึงกับของที่สำเภาจีนส่งไปขายปัตตาเวียกลางคริสต์ศตวรรษที่ ๑๘-๑๙ จากรัชกาลสมเด็จพระเจ้าท้ายสระถึงสมัยรัชกาลที่ ๓ สะท้อนให้เห็นความเชื่อมโยงระหว่างการค้าสำเภาของสยามกับปัตตาเวีย
การที่พบเครื่องกระเบื้องที่สยามสั่งทำจากจีนจำนวนมากในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ ๑๘ เป็นการสะท้อนให้เห็นถึงสภาพการค้าทางทะเลระหว่างสยามกับจีนที่เฟื่องฟูมากขึ้นตั้งแต่รัชกาลสมเด็จพระเจ้าท้ายสระเป็นต้นมา
เนื่องจากเกิดปัญหาภัยธรมชาติในจีนต่อเนื่องมาตั้งแต่ปลายรัชศกคังซีทำให้ขาดแคลนข้าวอย่างหนัก แต่สยามเป็นแหล่งส่งออกข้าวสำคัญที่ราคาถูก ราชสำนักต้าชิงจึงอนุญาตให้ขนข้าว ๓๐๐,๐๐๐ หาบ ไปขายที่มณฑลกวางตุ้ง (廣東) เอ้ห (廈門) และหนิงปอ (寧波) โดยไม่ต้องเสียภาษีเป็นกรณีพิเศษใน พ.ศ. ๒๒๖๕ (ค.ศ. ๑๗๒๒) ปีสุดท้ายของรัชศกคังซี และยังได้รับอนุญาตให้ทำการค้ากับจีนนอกเหนือระบบบรรณาการด้วย นอกจากนี้ยังอนุญาตให้ลูกเรือชาวจีนโพ้นทะเลที่อยู่ในสยาม (ซึ่งถือว่าผิดกฎหมาย) สามารถกลับไปกับเรือสยามได้โดยไม่ถูกกักตัว หลังจากนั้นเรือของสยามจึงได้เข้ามาทำการค้ากับจีนมากขึ้น และยังคงมีการนำเข้าจำนวนมหาศาลจากสยามเรื่อยมาจนถึงสมัยรัตนโกสินทร์
โดยเมื่อราชสำนักอยุทธยานำเครื่องบรรณาการไปจิ้มก้องในรัชศกยงเจิ้ง พ.ศ. ๒๒๖๗ (ค.ศ. ๑๗๒๔) จักรพรรดิยงเจิ้งทรงมีพระราชโองการให้พระราชทานของตอบแทนแก่กรุงศรีอยุทธยามากขึ้น โดยมีเครื่องกระเบื้องหลวงของราชวงศ์ชิงซึ่งเป็นศิลปวัตถุชั้นสูง สงวนไว้พระราชทานในโอกาสอันทรงเกียรติ เช่นตอบแทนพระราชไมตรีของพระประมุข และเนื่องจากอยุทธยาส่งข้าวไปขายในมณฑลฮกเกี้ยนยามขาดแคลนเป็นประจำ ใน พ.ศ. ๒๒๗๒ (พ.ศ. ๑๗๒๙) เมื่อคณะทูตกรุงศรีอยุทธยาเดินทางไปถวายบรรณาการที่ปักกิ่ง ก็มีการพระราชทานเครื่องกระเบื้องหลวงเป็นการตอบแทนพระราชไมตรีของสมเด็จพระเจ้าท้ายสระเช่นเดียวกัน จนถึงรัชสมัยสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศและสมเด็จพระเจ้าเอกทัศก็ยังได้รับเครื่องกระเบื้องหลวงพระราชทานจากจักรพรรดิเฉียนหลงอีกหลายครั้ง
การที่เครื่องกระเบื้องหลวงประเภท “เฝินไฉ่” ซึ่งเป็นที่นิยมอยู่ในเมืองจีนอยู่มาก และได้มีการพระราชทานให้ราชสำนักอยุทธยาอยู่หลายครั้งตลอดรัชศกยงเจิ้งและเฉียนหลง เป็นไปได้จะส่งผลต่อรูปแบบของเครื่องถ้วยที่อยุทธยาสั่งซื้อจากจีน และอาจนำมาสู่ความต้องการสั่งทำเครื่องกระเบื้องที่มีลวดลายแบบไทยด้วย
ซึ่งการที่เครือข่ายพาณิชย์นาวีระหว่างสยามและจีนเฟื่องฟูในยุคนั้น เป็นช่องทางที่ทำให้กรุงศรีอยุทธยาสามารถสั่งทำเครื่องกระเบื้องแบบไทยจากจีนได้สะดวก และอุตสาหกรรมเครื่องกระเบื้องในสมัยต้นราชวงศ์ชิงได้พัฒนาจนมีความสวยงามมากขึ้น สามารถตอบสนองความต้องการของลูกค้าต่างประเทศได้ดีกว่าสมัยราชวงศ์หมิง ทำให้พบเครื่องกระเบื้องลายแบบไทยหลากสีสันอย่างเครื่องเบญจรงค์ในสมัยอยุทธยาตอนปลายจำนวนมาก
สำหรับวิธีการสั่งทำเครื่องกระเบื้อง “ให้อย่าง” สมัยปลายอยุทธยาช่วงคริสต์ศตวรรษที่ ๑๘ เมื่อเรือเดินทางไปถึงเมืองกว่างโจว (廣州) มณฑลกวางตุ้ง (กว่างตง 廣東) พ่อค้าต่างชาติสามารถสั่งซื้อเครื่องกระเบื้องได้สองช่องทาง คือ ผ่านห้างที่เป็นสมาชิกองค์กรการค้าของจีนซึ่งได้รับมอบหมายให้ทำการค้ากับชาวต่างชาติ เรียกว่า กงหัง (Co Hong 公行) หรือซื้อผ่านร้านขายเครื่องกระเบื้องที่ตั้งเรียงรายอยู่หน้ากำแพงเมืองกวางตุ้ง เครื่องกระเบื้องเป็นสินค้าอันดับแรกที่พ่อค้ารีบสั่งซื้อเมื่อเดินเรือมาถึงเมืองจีน เพราะต้องใช้เวลาในการผลิตตามแบบที่นำมา และเป็นสินค้าที่ต้องลำเลียงลงเรือก่อนสินค้าอื่นเพราะเป็น “อับเฉา”
แหล่งทำเครื่องกระเบื้องเคลือบสีที่สำคัญมีอยู่หลายแห่ง ที่สำคัญที่สุดอยู่ที่เมืองจิ่งเต๋อเจิ้น (景德镇) มณฑลเจียงซี (江西) ซึ่งเป็นเตาหลวงผลิตเครื่องกระเบื้องสำคัญตั้งแต่สมัยราชวงศ์หมิง ทั้งเครื่องกระเบื้องที่ตั้งเป็นเครื่องบูชาในพระราชพิธี และสำหรับพระราชทานตอบแทนพระราชไมตรีแก่ราชสำนักต่างประเทศที่มาถวายเครื่องบรรณาการ รวมถึงผลิตสำหรับส่งออกไปขายยังตลาดโลกด้วย
คนไทยเรียกเครื่องกระเบื้องที่ผลิตจากจิ่งเต๋อเจิ้นว่า “กังไส” ตามสำเนียงที่ชาวแต้จิ๋วเรียกมณฑลเจียงซี
นอกจากนี้ก็ยังพบว่าเครื่องกระเบื้องสมัยอยุทธยาจำนวนมากเป็นถ้วยชามที่ผลิตในเตาท้องถิ่นหลายแห่งในมณฑลฮกเกี้ยน (ฝูเจี้ยน 福建) เตาหลงฉวน (龍泉) ในมณฑลเจ้อเจียง และจากเตาท้องถิ่นของมณฑลกวางตุ้ง ซึ่งคุณภาพของกระเบื้องที่ผลิตจากเตาท้องถิ่นในมณฑลชายฝั่งทะเลจะไม่ดีเท่าเครื่องกระเบื้องจิ่งเต๋อเจิ้น แต่ก็เป็นสินค้าสำเภาที่นิยมเพราะราคาถูก การขนส่งสะดวก เนื่องจากแหล่งผลิตตั้งอยู่ใกล้เมืองท่าส่งออกที่สำคัญในสมัยนั้น คือ ฉวนโจว (泉州) เยว่กัง (月港) จางโจว (漳州) เอ้ห (เซี่ยเหมิน 廈門) ในมณฑลฮกเกี้ยน และกว่างโจวในมณฑลกวางตุ้ง
ระยะเวลาสั่งทำเครื่องกระเบื้องสีที่เมืองกว่างโจวใช้เวลาเพียง ๒-๓ สัปดาห์ ในขณะที่การทำเครื่องกระเบื้องตามแบบต่างชาติที่จิ่งเต๋อเจิ้นต้องใช้เวลาอย่างน้อย ๓ เดือน เน่องจากต้องส่งลายไปวาดครามใต้เคลือบถึงเมืองจิ่งเจ๋อเจิ้น ดังนั้นจะพบว่าเครื่องกระเบื้องจีนที่ผลิตส่งเพื่อออกจำนวนมากเป็นเครื่องกระเบื้องที่เขียนลายในเมืองกว่างโจว
สำหรับเครื่องเบญจรงค์สมัยอยุทธยา สันนิษฐานว่าน่าจะเขียนสีลายไทยหลายแห่ง ได้แก่
๑. จิ่งเต๋อเจิ้น
๒. กว่างโจว ซึ่งเป็นแหล่งเคลือบสีตามแบบที่ชาวตะวันตก “ให้อย่าง”
๓. เอ้ห เมืองท่าที่พ่อค้าสยามเดือนเรือไปส่งข้าวเป็นประจำ เนื่องจากขาดแคลนข้างอยู่เสมอ
๔. อาจเคลือบสีในสยาม ซึ่งชาญชัย สุพานิขวรภาชน์ ผู้เชี่ยวชาญงานผลิตเครื่องกระเบื้องของไทยในปัจจุบันกล่าวว่า ถ้ารู้กรรมวิธีก็ไม่ใช่เรื่องยาก แต่หากไม่รู้ก็เป็นเรื่องยากที่จะคุมให้สีออกมาดีได้
เครื่องเบญจรงค์มีการเขียนลายหลายแบบ ส่วนใหญ่เขียนลายเทพนมนรสิงห์ พบชามลายนี้อยู่ในซากเรือที่จมในรัชกาลสมเด็จพระเจ้าท้ายสระในอ่าวไทย ประมาณปี พ.ศ. ๒๒๗๑ (ค.ศ. ๑๗๒๘) ปัจจุบันเก็บรักษาไว้ที่พิพิธภัณฑ์ประเทศเนเธอร์แลนด์ (Princesseh of Ceremics Museum) เมืองเลวาร์เดิน (Leeuwarden) ลายนี้เป็นลายที่สยามส่งทำซ้ำกันหลายรุ่นนับตั้งแต่รัชกาลสมเด็จพระเจ้าท้ายสระจนถึงรัชกาลที่ ๖ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ อนึ่งลายเทพพนมนรสิงห์นี้ แต่เดิมเมื่อแรกสั่งทำ ช่างจีนบางคนวาดได้ถูกต้องเป็นครึ่งคนครึ่งสิงห์ แต่เมื่อผลิตซ้ำไปซ้ำมาลายได้เพี้ยนไปเป็นครึ่งคนครึ่งกวาง
สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงอธิบายเกี่ยวกับการเขียนลายไทยบนเครื่องกระเบื้องเอาไว้ว่า
“ลายไทยที่ให้อย่างไปเขียนเครื่องถ้วยครั้งกรุงเก่ามีหลายอย่าง มีลายก้านขดและลายก้านแย่งเป็นต้น บางทีมีภาพลายกระหนก บางทีเป็นภาพเทพพนม อย่างนี้มีทั้งชามและโถ บางทีเป็นภาพเทพพนมนรสิงห์ อย่างนี้ของเก่าเห็นมีมากแต่ขาม พิเคราะห์ดูลวดลายที่เขียนเครื่องถ้วยครั้งกรุงเก่า ประกอบกับสถานที่ที่พบถ้วยชามนั้น ๆ เข้าใจว่าลักษณะที่สั่งของเหล่านี้ สั่งเมื่อครั้งกรุงเก่า ก็เห็นจะทำนองเดียวกับที่มาสั่งในชั้นกรุงรัตนโกสินทร์ คือแรกคิดอย่างและให้ลายนั้น คงเป็นฝีมือช่างหลวงให้อย่างสั่งออกไปทำของหลวงเข้ามาใช้ราชการ หรือมิฉะนั้นเป็นของผู้มีบรรดาศักดิ์สูงสั่งเข้ามาใช้สอย ของนั้นสิ่งใดมีคนชอบจึงมีผู้เอาถ้วยชามปูนแรกเป็นตัวอย่างส่งให้พ่อค้าสั่งออกไปทำเข้ามาอีก พ่อค้าเลยสั่งเข้ามาขายด้วย ครั้นขายดีก็ส่งปูน ๒ ออกไปให้ทำอีกจนเป็นของขายในท้องตลาด ส่วนลวดลายเมื่อถ่ายต่อ ๆ กันหลายชั้นเข้าก็เลือนเลวลงทุกที จนปูนหลัง ๆ เกือบจะรู้ไม่ได้ว่าเป็นลายไทย ของอย่างนี้มีมาตั้งแต่ครั้งกรุงเก่า ลายไทยที่คนชอบกันมากในชั้นกรุงเก่านั้น เห็นจะเป็นลายเทพพนมนรสิงห์ เพราะชามนรสิงห์ยังพบได้ที่ไหนๆ แม้ตามหัวเมืองไกล ถ้าเป็นบ้านที่ตั้งมาเก่าแก่ เช่นที่เมืองกำแพงเพชรและบ้านหัวเวียงเมืองไชยา ห่างไกลกันถึงเพียงเท่านั้นยังพบชามเทพนมนรสิงห์มีอยู่ เวลาเจ้านายผู้มีบรรดาศักดิ์ไปถึงที่นั้น สำรับที่ชาวบ้านหามาเลี้ยง เขายังมีชามเบญจรงค์เทพนมนรสิงห์ครั้งกรุงเก่าแห่งละมากๆ เห็นจะเป็นของสั่งเข้ามาขายกันแพร่หลายมาก จึงมีออกไปถึงที่ห่างไกลเห็นปานนั้น”
เครื่องกระเบื้องแบบอยุทธยา ยังคงถูกคัดลอกทำต่อมาในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น ดังที่สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงพระนิพนธ์ไว้ในตำนานเครื่องโต๊ะแลถ้วยปั้นว่า
“มาในชั้นกรุงรัตนโกสินทร์ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกทรงทำนุบำรุงช่างไทย ที่ทรุดโทรมมาแต่ครั้งเสียกรุงเก่า พึ่งมามีฝีมือดีกลับขึ้นเมื่อในรัชกาลที่ ๑ ปรากฏฝีมือมีอยู่จนบัดนี้หลายอย่าง พิเคราะห์ดูเครื่องถ้วยอันเป็นของไทยสั่งปูนเก่าในครั้งกรุงรัตนโกสินทร์ เข้าใจมาว่าจนถึงในรัชกาลที่ ๑ ถ้วยชามที่สั่งไปทำเมืองจีน จึงได้ให้ช่างหลวงเขียนลายตัวอย่างขึ้นใหม่แต่ดำเนินตามตัวอย่างที่ดีครั้งกรุงเก่าเป็นพื้น เป็นลายไทยเขียนสีบนพื้นถ้วยขาวบ้าง เขียนเบญจรงค์บ้าง เช่นลายก้านขดเขียนสีบนพื้นถ้วยมีรูปครุฑบ้าง ราชสีห์บ้าง เทพพนมบ้าง ของชนิดนี้มีน้อย ด้วยสั่งเป็นของหลวง ผู้อื่นเห็นจะไม่ได้ใช้โดยทั่วไป”
รายละเอียดอ่านเพิ่มเติมที่ https://www.facebook.com/WipakHistory/posts/1622352941161503
แสดงความคิดเห็น
หมวกยศและตราตั้งที่ทางจีนมอบให้แก่รัตนโกสินทร์ยังมีอยู่ไหมครับในปัจจุบัน
ที่ซึ่งทางจีนจะมอบตราตั้ง และหมวกยศให้แก่ประเทศที่มาติดต่อค้าขาย หรือจิ้มก้อง ทางไทยยังมีอยู่ไหมครับ และในประเทศอื่นๆ
ขอถามนอกกระทู้ทางสยามเคยมีการทำเครื่องลายครามเลียนแบบจีนบ้างไหม คล้ายๆ กัน หรือว่าสั่งให้ทางจีนทำเครื่องลายในรูปแบบไทยอะไรทำนองนี้รึเปล่าครับ และได้รับความรู้วิชาการ สิ่งของอะไรบ้างรึเปล่าครับ อย่างการทำกระเบื้องอะไรทำนองนั้นครับ